sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
462082
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2547
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (๑) การลงทุนภายในประเทศ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๕ (๒) การลงทุนในต่างประเทศ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุน ทั้งนี้ การกำหนดประเภทหลักทรัพย์ที่ลงทุนได้และแยกประเภทหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงและหลักทรัพย์อื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๕ (๒) (ข) และ (ค) ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ตามที่กำหนดในข้อ ๖ และข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการในการนำเงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ โดยให้สามารถนำเงินของกองทุนไปลงทุนในต่างประเทศได้ และให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนเพื่อให้กองทุนลงทุนได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ในการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนได้เพื่อให้กองทุนสามารถทำการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/จัดทำ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๗๐ ก/หน้า ๖๐/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
421471
กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2546
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ และมาตรา ๔๗/๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตราไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับแต่ไม่เกินสองแสนบาท ข้อ ๒ ผู้รับบำนาญซึ่งประสงค์จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ขอรับได้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญคนใดมิได้ขอรับภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและเลือกรับบำนาญ จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญก็ได้ ในกรณีที่ยังไม่ขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญ หากภายหลังจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ขอรับได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือข้าราชการซึ่งออกจากราชการมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญาก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดและมีสิทธิรับบำนาญ โดยให้ขอรับตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ข้อ ๔ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๔๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒๑) พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ศุภชัย/พิมพ์ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ สุนันทา/อรดา/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๕/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖
419009
กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2546
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕๗/๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตราไม่เกินสิบห้าเท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับแต่ไม่เกินสองแสนบาท ข้อ ๒ ผู้รับบำนาญซึ่งประสงค์จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ขอรับได้ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๗ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญคนใดมิได้ขอรับภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ของทุกปี สมาชิกซึ่งออกจากราชการและเลือกรับบำนาญ จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญก็ได้ ในกรณีที่ยังไม่ขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับการขอรับบำนาญ หากภายหลังจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ให้ขอรับได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ข้อ ๓ ในกรณีที่ผู้รับบำนาญหรือสมาชิกซึ่งออกจากราชการมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรืออาญาก่อนออกจากราชการ จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุดและมีสิทธิรับบำนาญ โดยให้ขอรับตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ ๒ ข้อ ๔ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๕๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนดให้ผู้รับบำนาญมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามอัตราและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ศุภชัย/พิมพ์ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ พัชรินทร์/สุมลรัตน์/ตรวจ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๒๒ ก/หน้า ๓/๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๖
340381
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2546
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ ในกฎกระทรวงนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบกิจการภายในราชอาณาจักร “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน “บริษัทจัดการกองทุน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน “กองทุนย่อย” หมายความว่า เงินของกองทุนที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนแต่ละรายรับไปดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “หลักทรัพย์” หมายความว่า ทรัพย์สินและให้หมายความรวมถึงหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ด้วย ข้อ ๓ เงินของกองทุนให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน และจะนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดเกินกว่าร้อยละสิบของเงินของกองทุน หรือเกินกว่าจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดมิได้ การลงทุนในหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามวรรคหนึ่งเมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของเงินของกองทุน ข้อ ๔ คณะกรรมการอาจแบ่งเงินของกองทุนออกเป็นกองทุนย่อย โดยแต่ละกองทุนย่อยให้มีมูลค่าตามที่กำหนดก็ได้ ในการจัดการเงินของกองทุน คณะกรรมการอาจให้ กบข. ดำเนินการจัดการเอง หรือมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุนก็ได้ ข้อ ๕ ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อย ให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนย่อยไปซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้ (๒) ต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อย (ก) เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ข) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลังหรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลัง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ช) ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ซ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออก อาวัลหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ โดยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตาม (ซ) จะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฌ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการประกันการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนของบริษัท หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการสมควร คณะกรรมการอาจให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งหลักทรัพย์ตาม (ก) ถึง (ฌ) น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อยก็ได้ แต่เมื่อรวมกับส่วนที่ กบข. เป็นผู้ดำเนินการจัดการเองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน (๓) บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนในหลักทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ ตามที่คณะกรรมการกำหนด (ก) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม (๒) (ค) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเคดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก (ข) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (ค) หุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ง) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ นอกจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้ออื่น (จ) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก (ฉ) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง สลักหลังหรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลัง หรือรับอาวัลโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จำกัดเป็นผู้ออก (ซ) อสังหาริมทรัพย์ ให้ลงทุนได้ไม่เกินร้อยละห้าของเงินของกองทุน โดยคณะกรรมการอาจกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขด้วยก็ได้ (ฌ) หลักทรัพย์อื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ (๔) บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ได้ (ก) ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือขายโดยมีสัญญาซื้อคืน ซึ่งหลักทรัพย์ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (ข) ยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนหลักทรัพย์หรือหลักทรัพย์ซึ่งกระทำผ่านระบบรับฝากหลักทรัพย์ของศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การขายโดยมีสัญญาซื้อคืน และการยืมหลักทรัพย์ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๖ การจัดการเงินของกองทุนที่ กบข. ดำเนินการจัดการเอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๕ ข้อ ๗ การตีราคาหลักทรัพย์เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้หลักทรัพย์นั้นมา โดยให้มีการปรับราคาหลักทรัพย์อย่างน้อยทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ข้อ ๘ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๕ (๒) (ข) และ (ค) ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๙ การจัดการกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ก็ได้ (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (๒) ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น (๓) จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้ง หรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว (๔) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (๕) ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิ์หรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ข้อ ๑๐ เงินสำรองตามมาตรา ๗๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินของกองทุนไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๕ ก็ได้ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนใดได้จัดการเงินของกองทุนย่อย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๓ และข้อ ๕ ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ชักช้า แต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น ข้อ ๑๒ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนปีละไม่เกินร้อยละ ๒.๕ ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนย่อยที่อยู่ภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการกองทุน (๒) ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง ข้อ ๑๓ ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ภายในวันที่ ๒๐ ของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยที่หลักเกณฑ์ในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน สมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดสัดส่วนในการนำเงินของกองทุนไปลงทุนในหลักทรัพย์บางประเภท และเพิ่มประเภทหลักทรัพย์ที่บริษัทจัดการกองทุนอาจเลือกลงทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการกำหนดขอบเขตและประเภทของหลักทรัพย์ที่จะนำเงินของกองทุนไปลงทุนและกำหนดให้บริษัทจัดการกองทุนทำธุรกรรมบางประเภทเพิ่มเติมได้เพื่อให้กองทุนลงทุนได้กว้างขวางยิ่งขึ้น และปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าตอบแทนในการจัดการกองทุนให้เป็นธรรมมากขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ สัญชัย/ปรับปรุง ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนที่ ๑๐ ก/หน้า ๗/๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
323112
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒ เงินของกองทุนให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน และจะนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดเกินกว่าร้อยละสิบของเงินของกองทุนหรือเกินกว่าจำนวนที่คณะกรรมการกำหนดมิได้” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อย ให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนย่อยไปซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้ (๒) ต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินที่มีความมั่นคงสูงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินกองทุนย่อย (ก) เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ข) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลังหรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ช) ตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้ออก รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ซ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนโดยบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ โดยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด การจัดอันดับความน่าเชื่อถือตามวรรคหนึ่งจะต้องกระทำโดยสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฌ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่มีการประกันการจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนของบริษัท หรือนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในกรณีที่เป็นการสมควร คณะกรรมการอาจให้ลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งน้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อยก็ได้ แต่เมื่อรวมกับส่วนที่คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการจัดการเองต้องไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน (๓) บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนในทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินของกองทุนย่อยหรือตามที่คณะกรรมการกำหนด (ก) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณนอกจากตราสารตาม (๒) (ค) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก (ข) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (ค) หุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ง) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ นอกจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้ออื่น (จ) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก (ฉ) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรองสลักหลัง หรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัลโดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จำกัดเป็นผู้ออก (ซ) ทรัพย์สินอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาโดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ การลงทุนในทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (๓) (ค) และ (ง) ที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ต้องไม่เกินร้อยละสองของเงินของกองทุนย่อย และเมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่หลักเกณฑ์ในการนำเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปลงทุนหาผลประโยชน์ยังไม่สอดคล้องกันสภาวการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการลงทุนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิกของกองทุน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ดังกล่าวโดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจกำหนดสัดส่วนในการนำเงินของกองทุนไปลงทุนในทรัพย์สินบางประเภท รวมทั้งเพิ่มประเภททรัพย์สินที่มีความมั่งคงสูงที่บริษัทจัดการกองทุนอาจเลือกลงทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนสามารถลงทุนในทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๘๙ ก/หน้า ๔/๒๘ กันยายน ๒๕๔๓
302217
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๖๙ วรรคสาม และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือได้รับอนุญาตให้จัดการกองทุนส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ “รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือประกาศของคณะปฏิวัติ “ธนาคาร” หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์และธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ซึ่งประกอบกิจการภายในราชอาณาจักร “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” หมายความว่า พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน “บริษัทจัดการกองทุน” หมายความว่า สถาบันการเงินที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการจัดการกองทุน “กองทุนย่อย” หมายความว่า เงินของกองทุนที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อให้บริษัทจัดการกองทุนแต่ละรายรับไปดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ “บริษัทเงินทุน” หมายความว่า บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ “หน่วยลงทุน” หมายความว่า หน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๒ เงินของกองทุนให้นำไปลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุน และจะนำไปลงทุนในหุ้น หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่ออกโดยบริษัทใดเกินกว่าร้อยละสิบของเงินของกองทุนมิได้ ข้อ ๓ คณะกรรมการอาจแบ่งเงินของกองทุนออกเป็นกองทุนย่อย โดยแต่ละกองทุนย่อยให้มีมูลค่าตามที่กำหนดก็ได้ ในการจัดการเงินของกองทุน คณะกรรมการอาจดำเนินการจัดการเอง หรืออาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุนก็ได้ ข้อ ๔ ในกรณีที่คณะกรรมการมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนเป็นผู้จัดการเงินของกองทุนย่อยให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) บริษัทจัดการกองทุนจะนำเงินของกองทุนย่อยไปซื้อหุ้น หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นของบริษัทจัดการกองทุนนั้นมิได้ (๒) ต้องลงทุนหรือมีไว้ซึ่งทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบของเงินของกองทุนย่อย (ก) เงินสด เงินฝากธนาคาร หรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ข) พันธบัตรของรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้ออก (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย (จ) ตั๋วแลกเงินที่ธนาคารเป็นผู้รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ฉ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ธนาคารเป็นผู้ออก (ญ) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และที่อยู่ในระดับตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ โดยลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย (๓) บริษัทจัดการกองทุนอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินของกองทุนย่อย (ก) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ นอกจากตราสารตาม (๒) (ค) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้ออก (ข) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน (ค) หุ้น หรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ง) หุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ นอกจากตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามที่ได้กำหนดไว้แล้วในข้ออื่น (จ) บัตรเงินฝากที่บริษัทเงินทุนเป็นผู้ออก (ฉ) ตั๋วแลกเงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์เป็นผู้รับรอง สลักหลัง หรือรับอาวัล หรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นผู้สลักหลังหรือรับอาวัล โดยไม่มีข้อจำกัดความรับผิด (ช) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์จำกัด เป็นผู้ออก (ซ) ทรัพย์สินอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา โดยอาจกำหนดหลักเกณฑ์ให้ถือปฏิบัติด้วยก็ได้ การลงทุนในทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (๓) (ค) และ (ง) ที่ออกโดยบริษัทใดบริษัทหนึ่งต้องไม่เกินร้อยละสองของเงินของกองทุนย่อย และเมื่อรวมกันทุกบริษัทต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินของกองทุนย่อย ข้อ ๕ การจัดการเงินของกองทุนที่คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินการจัดการเอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามข้อ ๔ ข้อ ๖ การตีราคาทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ให้ถือราคาทุนรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่จ่ายไปเพื่อให้ได้ทรัพย์สินนั้นมา โดยให้มีการปรับราคาทรัพย์สินอย่างน้อยทุกสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีของกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ข้อ ๗ การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน นอกจากหลักทรัพย์จดทะเบียนตามข้อ ๔ (๒) (ข) และ (ค) ต้องกระทำในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ข้อ ๘ การจัดการกองทุนนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๔ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้บริษัทจัดการกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ ตามที่เห็นสมควรก็ได้ (๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก จำนอง ปลดจำนองให้แก่ผู้จำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้ (๒) ก่อตั้งหรือระงับทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือตามกฎหมายอื่น (๓) จำหน่ายหรือทำข้อผูกพันที่จะให้จำหน่ายไปซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะมุ่งก่อตั้งหรือโอนไปซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดิน หรือที่จะให้ที่ดินปลอดจากทรัพยสิทธิดังกล่าว (๔) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ (๕) ขายหรือแลกเปลี่ยนสังหาริมทรัพย์ที่มีทะเบียนแสดงกรรมสิทธิหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ ข้อ ๙ เงินสำรองตามมาตรา ๗๒ ให้นำไปลงทุนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจก่อน แต่หากขณะใดขณะหนึ่งไม่มีตราสารดังกล่าวให้ลงทุน คณะกรรมการจะประกาศกำหนดให้นำเงินของกองทุนไปลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการในข้อ ๔ ก็ได้ ข้อ ๑๐ ในกรณีที่ปรากฏว่าบริษัทจัดการกองทุนบริษัทใดได้จัดการเงินของกองทุนย่อยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อ ๒ และข้อ ๔ ให้บริษัทจัดการกองทุนนั้นดำเนินการแก้ไขให้เป็นไปตามบทบัญญัติดังกล่าวโดยไม่ชักช้าแต่ต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ไม่เป็นไปตามนั้น ข้อ ๑๑ ให้กำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดการกองทุนไว้ ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าตอบแทนสำหรับบริษัทจัดการกองทุนปีละไม่เกินร้อยละ ๕ ของผลประโยชน์ที่กองทุนได้รับจากการลงทุน (๒) ค่าธรรมเนียมและค่าอากรแสตมป์ตามที่จ่ายจริง ข้อ ๑๒ ให้บริษัทจัดการกองทุนยื่นรายงานแสดงการจัดการกองทุนประจำเดือนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ภายในวันที่ ๒๐ ของเดือนถัดจากเดือนที่จะต้องรายงาน โดยให้ยื่นตามแบบที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๙ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้คุณสมบัติของผู้รับดำเนินการ วิธีดำเนินการ และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหาประโยชน์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เงินของกองทุนให้ลงทุนได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๔๗ ก/หน้า ๓๔/๑๒ กันยายน ๒๕๔๐
302216
กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๖๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา ๓๘ หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปี ให้นับอัตราเงินเดือนของทุกเดือนในระหว่างกลับเข้ารับราชการใหม่รวมกับอัตราเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น ๆ ก่อนออกจากราชการย้อนหลังไปทุกเดือนจนครบหกสิบเดือน เป็นอัตราเงินเดือนเฉลี่ยหกสิบเดือนสุดท้าย ในกรณีที่ไม่อาจนับอัตราเงินเดือนตามวรรคหนึ่งให้ครบหกสิบเดือนได้ ให้นำอัตราเงินเดือนที่ได้รับในเดือนแรกที่เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรกเป็นอัตราเงินเดือนเพื่อนำมารวมให้ครบหกสิบเดือน ข้อ ๒ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ อำนวย วีรวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้การคำนวณบำนาญของผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา ๓๘ หากเวลาราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ยังไม่ครบห้าปี อัตราเงินเดือนเฉลี่ยที่จะนำมาคำนวณบำนาญ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๕/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
318859
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
กฎกระทรวง กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้กำหนดอัตราเงินสะสมเป็นร้อยละสามของเงินเดือนตามมาตรา ๓๙ วรรคสี่ ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราเงินชดเชยเป็นร้อยละสองของเงินเดือนตามมาตรา ๓๙ วรรคสี่ ข้อ ๓ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ อำนวย วีรวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๔๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้สมาชิกส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง และให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๔/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
302215
กฎกระทรวง (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
กฎกระทรวง กฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ มาตรา ๓๘ วรรคสี่ และมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ สมาชิกดังต่อไปนี้มีสิทธิได้รับเงินประเดิม (๑) ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ (๒) ข้าราชการซึ่งออกจากราชการแล้วกลับเข้ารับราชการใหม่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ โดยบอกเลิกรับบำนาญเดิมเพื่อขอนับเวลาราชการต่อเนื่อง (๓) ข้าราชการซึ่งออกจากราชการไปและกลับเข้ารับราชการใหม่หลังวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ เนื่องจาก (ก) ไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ (ข) ไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (ค) ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน (ง) ถูกคำสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก และอยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ข้อ ๒ เงินประเดิมให้คำนวณโดยวิธีการดังต่อไปนี้ เงินประเดิม = ๒๕ x เงินเดือน [(๑.๐๙)เวลาราชการ - (๑.๐๘)เวลาราชการ] (๑.๐๘)เวลาราชการ-๑ เพื่อประโยชน์ในการคำนวณเงินประเดิมตามวรรคหนึ่ง (๑) เงินเดือน คือ อัตราเงินเดือนที่ข้าราชการได้รับตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการนั้น ๆ ในเดือนมีนาคม ๒๕๔๐ โดยไม่รวมเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา สำหรับประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ สำหรับการสู้รบ สำหรับการปราบปรามผู้กระทำความผิด หรือเงินเพิ่มอย่างอื่น (๒) เวลาราชการ คือ เวลาราชการที่คำนวณตามบทบัญญัติในมาตรา ๖๖ วรรคสอง และให้คำนวณเศษของปีโดยใช้ทศนิยมสี่ตำแหน่ง ทั้งนี้ ไม่รวมเวลาราชการทวีคูณ (๓) จำนวนเงินประเดิม หากมีเศษของบาทให้คิดเป็นหนึ่งบาท ข้อ ๓ ในกรณีตามข้อ ๑ (๑) ให้นับเวลาราชการตั้งแต่วันที่เริ่มเข้ารับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ต่อเนื่องกันจนถึงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ ข้อ ๔ ในกรณีตามข้อ ๑ (๒) ให้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการรวมกับเวลาราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่จนถึงวันก่อนวันเข้าเป็นสมาชิกโดยตัดเวลาระหว่างรับบำนาญออกเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณเงินประเดิม ข้อ ๕ ในกรณีตามข้อ ๑ (๓) ให้นับเวลาราชการตอนก่อนออกจากราชการรวมกับเวลาราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่จนถึงวันก่อนเข้าเป็นสมาชิก โดยรวมเวลาซึ่งออกจากราชการไปเพราะเหตุดังกล่าวด้วย เป็นเวลาราชการ และให้นำเงินเดือนที่ผู้นั้นได้รับอยู่ก่อนวันที่เข้าเป็นสมาชิก เป็นเงินเดือน สำหรับคำนวณเงินประเดิม ข้อ ๖ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ อำนวย วีรวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๓๘ วรรคสี่ และมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ กำหนดให้ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ อาจมีสิทธิได้รับเงินประเดิมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และกำหนดให้กระทรวงการคลังคำนวณเงินประเดิมสำหรับสมาชิกตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อนำส่งเข้ากองทุน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๘ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๑๕ ก/หน้า ๑/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๐
509136
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกองทุน ประกาศคณะกรรมการกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก เป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์เข้าบัญชีสมาชิก ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ และประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์เข้าบัญชีสมาชิก (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “วันคำนวณผลประโยชน์สุทธิของกองทุน” หมายความว่า วันที่ทำการคำนวณหาผลประโยชน์สุทธิของกองทุน “สินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก” หมายความว่า ต้นเงินกองกลาง ต้นเงินรอตรวจสอบ ต้นเงินสะสม ต้นเงินสมทบ ต้นเงินชดเชย ต้นเงินประเดิม และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวทั้งหมดที่ได้รับการจัดสรรแล้ว “จำนวนหน่วย” หมายความว่า จำนวนหน่วยของสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมด “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วย ซึ่งคำนวณโดยนำมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกหารด้วยจำนวนหน่วยของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมด ณ วันที่คำนวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า ณ วันที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ต้องทำการคำนวณจำนวนหน่วยเพิ่มหรือลดในรายการที่มีการรับเข้าในสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก หรือการจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนเงินเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วย ข้อ ๓ กำหนดให้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ (Par Value) ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีมูลค่า ๑๐ (สิบ) บาท ข้อ ๔ ให้กองทุนจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุนเป็นรายวัน ดังนี้ ๔.๑ ผลประโยชน์สุทธิของกองทุนรายวัน คำนวณจากผลประโยชน์จากการลงทุน รวมรายได้อื่น ๆ ทุกประเภท หักด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ณ วันนั้นโดยใช้เกณฑ์สิทธิ ๔.๒ ผลประโยชน์จากการลงทุน ให้บันทึกตามเกณฑ์สิทธิเป็นรายวันโดยรวมรายการกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าเงินลงทุน ๔.๓ รายได้อื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการลงทุน ซึ่งไม่มีนัยสำคัญ ให้บันทึกในวันทำการสุดท้ายของเดือน ๔.๔ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ให้บันทึกตามเกณฑ์สิทธิเป็นรายวัน โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายวันจากยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในงบการเงินของเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ให้ทำการปรับปรุงค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงในวันทำการสุดท้ายของเดือน ๔.๕ ผลประโยชน์สุทธิของกองทุนรายวัน ณ วันที่ทำการคำนวณ ให้จัดสรรเข้าบัญชีเงินกองทุนแต่ละประเภท ภายใน ๓ วันทำการ นับจากวันคำนวณผลประโยชน์สุทธิของกองทุน ข้อ ๕ การคำนวณมูลค่าต่อหน่วยของสิ้นวันทำการสำหรับกองทุนส่วนสมาชิกเพื่อใช้สำหรับรายการของกองทุนส่วนสมาชิก ให้ทำภายในวันทำการถัดไปนับจากวันจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ข้อ ๖ การใช้ตัวเลขทศนิยมของจำนวนหน่วย และมูลค่าต่อหน่วย ให้กองทุนดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ คำนวณจำนวนหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ตัดทิ้ง ๖.๒ คำนวณมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ใช้การปัดเศษตามหลักสากล (มีค่าตั้งแต่ ๕ ให้ปัดขึ้น) ข้อ ๗[๒] ให้กองทุนใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันทำการที่คำนวณเพื่อทำรายการสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกในวันทำการถัดไป ในกรณีที่สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ การคำนวณบัญชีรายบุคคลของสมาชิกที่พ้นจากสมาชิกภาพเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ให้คำนวณตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งถึงวันที่กองทุนได้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำร้องขอรับเงินและเอกสารหลักฐานแล้ว ข้อ ๘ ให้กองทุนประกาศมูลค่าต่อหน่วยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการปิดประกาศหน้าสำนักงาน เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบอ้างอิงได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีมูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องแตกต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๕ ขึ้นไปของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ให้ดำเนินการชดเชยมูลค่า เว้นแต่การที่มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๑๐ การชดเชยมูลค่ากรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่ำกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Understate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑๐.๑ ลดจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของกองทุนส่วนสมาชิก ๑๐.๒ จ่ายเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๑ การชดเชยมูลค่ากรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Overstate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑๑.๑ เพิ่มจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของกองทุนส่วนสมาชิก ๑๑.๒ ลดจำนวนเงินที่จ่ายสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ สำหรับการจัดสรรผลประโยชน์สุทธิและการคิดคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กองทุนยังไม่สามารถจัดสรรผลประโยชน์สุทธิรายวันเข้ากองทุนส่วนสมาชิกได้ ให้ทำการจัดสรรเข้าเป็นรายเดือนในวันทำการสุดท้ายของเดือน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ สมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ ๒)[๓] ศุภชัย/พิมพ์ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ สัญชัย/ปรับปรุง ๗ กันยายน ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๐๘/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗ [๒] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ ๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๑๒/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
562829
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน[๑] โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ซึ่งไม่ได้แสดงความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเมื่อแรกสมัครเป็นสมาชิก ให้สามารถขอส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และระบุความประสงค์ในใบสมัครสมาชิก กบข. ว่าไม่ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน หากต้องการเปลี่ยนแปลงความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้กรอกรายการให้ถูกต้องครบถ้วนในแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนท้ายประกาศนี้จำนวนสองฉบับ ๒. ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบรับรองความถูกต้องของรายการในแบบ แล้วส่งต้นฉบับไปยังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดจัดเก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ๓. การเปลี่ยนแปลงความประสงค์ของสมาชิกตามข้อ ๑ ให้มีผลนับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดได้รับแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นต้นไป เมื่อสมาชิกได้แจ้งความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว จะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์เป็นไม่ส่งเงินสะสมอีกไม่ได้ ๔. การส่งเงินเข้ากองทุนของสมาชิกตามข้อ ๑ ให้ส่วนราชการเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ได้รับแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนจากสมาชิก ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ ๕ [๒] หากสมาชิกตาม ๑. มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ให้สมาชิกกรอกรายการให้ครบถ้วนถูกต้องในแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลังท้ายประกาศนี้จำนวนสองฉบับ และยื่นผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการเช่นเดียวกับ ๒. พร้อมการยื่นแบบในวรรคก่อน ให้สมาชิกส่งเงินสะสมทั้งจำนวนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคำนวณตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ จนถึงเดือนก่อนที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดได้เริ่มหักเงินสะสมเข้ากองทุน และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมย้อนหลังนั้นโดยใช้แบบนำส่งเงินตามที่กองทุนกำหนด ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ๒. แบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ออกตาม ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๔/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ สำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับที่ ๒) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๔/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับที่ ๒)[๓] สัญชัย/จัดทำ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๐ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๔๓/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๒] ๕. เพิ่มโดยประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๔/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับที่ ๒) [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๔๑/๒๐ กันยายน ๒๕๕๐
723131
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน เพื่อเพิ่มแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “แผนการลงทุน” หมายความว่า แผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกแต่ละคน เฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ซึ่งกองทุนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเลือกลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “สัดส่วนการลงทุน” หมายความว่า สัดส่วนของหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ลงทุนในแต่ละแผนการลงทุน “ส่วนเบี่ยงเบน” หมายความว่า ขอบเขตสำหรับการเพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนที่กองทุนสามารถใช้ในการบริหารแผนการลงทุน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของกองทุน หมวด ๑ การจัดให้มีแผนการลงทุน ข้อ ๕ กองทุนจัดให้มีแผนการลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (๑) “แผนหลัก” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) “แผนผสมหุ้นทวี” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกับแผนหลัก แต่มีการลงทุนในตราสารทุนมากกว่าแผนหลัก (๓) “แผนตราสารหนี้” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าว (๔) “แผนตลาดเงิน” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าวที่จะครบกำหนดชำระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน (๕) “แผนสมดุลตามอายุ” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกับแผนหลัก แต่สัดส่วนของหลักทรัพย์ในการลงทุนปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก นโยบายและสัดส่วนการลงทุนของแต่ละแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการกำหนดส่วนเบี่ยงเบนที่เหมาะสมสำหรับแผนการลงทุนแต่ละแผนเพื่อให้กองทุนใช้ในการบริหารแผนการลงทุน ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของสมาชิกหรือกองทุน หรือเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่สมาชิกหรือกองทุน ให้กองทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนเกินไปกว่าส่วนเบี่ยงเบนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ได้ แต่ให้กองทุนปรับสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ภายในส่วนเบี่ยงเบนที่กำหนดโดยเร็วเมื่อความจำเป็นดังกล่าวสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า หมวด ๒ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิก ข้อ ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกในแผนการลงทุนใดก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จะคงอยู่ในแผนการลงทุนนั้นต่อไปจนกว่าสมาชิกจะใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๘[๒] ในการใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน สมาชิกจะต้องแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่กองทุนกำหนด แล้วจัดส่งแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวให้แก่กองทุนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือนำมายื่นให้แก่กองทุนโดยไม่ต้องผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศของกองทุน ซึ่งกองทุนจะถือเอาวันที่กองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวของสมาชิกหรือวันที่สมาชิกบันทึกข้อมูลการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนผ่านระบบสารสนเทศของกองทุนที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นวันที่ได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก ข้อ ๙ เมื่อกองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว กองทุนจะจัดการลงทุนในแผนการลงทุนตามความประสงค์ของสมาชิกในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก เว้นแต่กรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทำการของกองทุน ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการถัดไป หรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้กองทุนไม่สามารถดำเนินการในวันดังกล่าวได้ ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการแรกเมื่อเหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลง กรณีที่สมาชิกแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนหลายครั้งก่อนที่กองทุนจะจัดการลงทุนในแผนการลงทุนตามความประสงค์ของสมาชิกภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง กองทุนจะดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาครั้งหลังสุด เว้นแต่กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกกองทุนสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกก่อนดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ที่ถูกต้องของสมาชิกต่อไป[๓] ข้อ ๑๐ สมาชิกมีสิทธิเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนได้ปีละสองครั้ง สิทธิของสมาชิกในการเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนสิ้นสุดลงเมื่อกองทุนได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านระบบสารสนเทศที่กองทุนกำหนดจากส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตามกฎหมายแล้ว ข้อ ๑๑ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกรายใดสิ้นสุดลง และกองทุนยังไม่ได้จ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมาย หรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงาน หรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด กองทุนจะยังคงบริหารเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกรายนั้นในแผนการลงทุนล่าสุดต่อไปจนกว่ากองทุนจะจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมายหรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย วิกฤติเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์อื่นทำนองเดียวกันที่ทำให้กองทุนไม่สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกไว้ หรือไม่สามารถซื้อขายได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม หรือถ้ากองทุนจะซื้อขายหลักทรัพย์ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกแล้วจะส่งผลเสียหายต่อกองทุนหรือสมาชิก กองทุนอาจระงับหรือชะลอการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกแผนใดแผนหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราวได้ตามความจำเป็น และเมื่อกองทุนดำเนินการดังกล่าว กองทุนจะประกาศให้สมาชิกทราบ โดยสมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนและค่าเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการและเหตุผลความจำเป็นให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า ข้อ ๑๓ กองทุนอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนจากสมาชิกได้ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๓ การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๔ กองทุนจะจัดให้มีข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกเผยแพร่ให้สมาชิกทราบผ่านสื่อต่าง ๆ ตามที่เลขาธิการเห็นสมควร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการลงทุน (๒) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการเลือกแผนการลงทุน (๓) ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของแผนการลงทุนแต่ละแผนและหลักทรัพย์แต่ละประเภท (๔) สัดส่วนการลงทุนและส่วนเบี่ยงเบนของแผนการลงทุน หมวด ๔ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๕ การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกเข้าบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๖ บรรดามติคณะกรรมการหรือมติคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนที่เกี่ยวกับแผนการลงทุนที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๑๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๒] ข้อ ๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ข้อ ๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒๒/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
723133
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยหลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานและการดำเนินงานด้านสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ. ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ. ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ระบบอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบสารสนเทศที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการบันทึกข้อมูลสำหรับการขอรับเงินและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของสมาชิก ข้อ ๕ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้สมาชิกผู้นั้นหรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกผู้นั้นยื่นขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๖[๒] สมาชิกที่จะสิ้นสุดสมาชิกภาพอาจยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๐ (๑) ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วส่งให้แก่กองทุนได้ไม่เกินแปดเดือนก่อนวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๗ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพอาจแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนดหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเลือกใช้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน (๒) ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ (๓) ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน (๔) ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนด (๕) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนด (๖) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอฝากให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพซึ่งจะใช้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (๓) – (๖) จะต้องมีเงินในบัญชีเงินรายบุคคลส่วนที่ขอฝากให้กองทุนบริหารต่อ หรือขอทยอยรับ ณ วันที่ยื่นคำขอใช้สิทธิไม่ต่ำกว่าสามหมื่นห้าพันบาท การขอทยอยรับเงินตาม (๔) หรือ (๕) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพต้องรับเงินเป็นรายงวดเท่า ๆ กัน โดยอาจเลือกรับเงินเป็นรายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน หรือรายปีก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนเงินที่ขอรับแต่ละงวดไม่ต่ำกว่าสามพันบาท ข้อ ๘ ให้ผู้มีสิทธิรับเงินจัดทำแบบขอรับเงินจากกองทุนขึ้นเป็นสามชุด เป็นต้นฉบับหนึ่งชุดและสำเนาอีกสองชุด โดยให้ยื่นแบบดังกล่าวพร้อมกับเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๐ ต่อหัวหน้า ส่วนราชการเจ้าสังกัด เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน แล้วจัดส่งต้นฉบับไปยังกองทุน สำหรับสำเนาแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งชุดและให้ผู้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน เก็บไว้เป็นหลักฐานอีกหนึ่งชุด ข้อ ๙ การตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญหรือไม่ หรือเป็นการขอรับบำนาญในระหว่างการถูกสอบสวนความผิดทางวินัย (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน โดยสำเนาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จะต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยส่วนราชการเจ้าสังกัด สมาชิก ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน แบ่งออกเป็น ๒ กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังต่อไปนี้ (ก) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน) (ข) สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ค) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ง) สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (จ) สำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราวหรือรับรองการสอบวินัยถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล พร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้น (กรณีเลือกรับบำนาญและการสอบสวนความผิดทางวินัยถึงที่สุด) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้ว แต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ในกรณีของผู้รับพินัยกรรม ให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกด้วย การยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่ผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (ข) กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาใบมรณบัตรที่มีทายาทโดยธรรมคนหนึ่งคนใดรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีผู้ตายมีคู่สมรส) ที่มีคู่สมรสรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) แบบบันทึกการสอบปากคำ (ป.ค.๑๔) ของกรมการปกครองที่ออกโดยอำเภอหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ๕) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่ผู้มีสิทธิรับมรดกที่เป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๖) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องดำเนินการให้ผู้มีชื่อตามแบบ ป.ค. ๑๔ และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลงลายมือชื่อในแบบขอรับเงินจากกองทุนให้ถูกต้องครบถ้วนทุกราย หากผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวลงลายมือชื่อไม่ครบทุกราย กองทุนจะจ่ายเงินให้แก่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ข้อ ๑๑ เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ แล้วเสร็จ ให้จัดส่งแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้กองทุนภายในสิบห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแบบขอรับเงิน พร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร ข้อ ๑๒ ในกรณีที่กองทุนจัดให้มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขอรับเงินจากกองทุน เมื่อสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๘ และเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๐ ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดแล้ว ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานดังกล่าว หากปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดบันทึกข้อมูลของสมาชิกดังกล่าวในระบบอิเล็กทรอนิกส์และจัดเก็บแบบขอรับเงินจากกองทุน รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย ข้อ ๑๓ เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้วเสร็จ หากต่อมามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิในการรับเงินของสมาชิก หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้กองทุนทราบและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กองทุนโดยเร็ว หรือบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กองทุนทราบและจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อการตรวจสอบ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๑ หรือได้รับข้อมูลการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากส่วนราชการเจ้าสังกัดตามข้อ ๑๒ แล้ว ให้กองทุนตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน หรือข้อมูลที่ได้รับผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน ตลอดจนสอบทานข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) ด้วย เมื่อกองทุนได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กองทุนจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน หรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ หรือตามความต้องการของผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๗ ภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงและปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อ ๑๕ เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน หรือได้รับข้อมูลการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากส่วนราชการเจ้าสังกัดโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว การขอยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนจะกระทำได้เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินได้ยื่นคำขอต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และส่วนราชการเจ้าสังกัดพิจารณาแล้วเห็นควรให้ยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนได้โดยส่วนราชการ เจ้าสังกัดจะต้องจัดส่งหนังสือแจ้งยกเลิกแบบขอรับเงินจากกองทุนหรือแจ้งข้อมูลการขอยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กองทุนทราบก่อนวันที่กองทุนจัดส่งข้อมูลรายการจ่ายเงินของ ผู้มีสิทธิรับเงินไปยังธนาคารที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนให้เป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ข้อ ๑๖ กองทุนจะบริหารเงินของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๗ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ผู้ใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อ ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ปีละ สองครั้งตามปีปฏิทินตามแบบที่เลขาธิการกำหนดหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อนอกเหนือจากที่กำหนดให้เลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี[๓] การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งจะมีผลเมื่อกองทุนได้แจ้งยืนยันการเปลี่ยนแปลงให้สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ทราบแล้ว ข้อ ๑๘ กรณีที่สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ เสียชีวิต กองทุนจะจ่ายเงินที่คงเหลือตามบัญชีเงินรายบุคคลให้แก่ผู้จัดการมรดกของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่กองทุนได้รับสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้องและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้จัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้อง ข้อ ๑๙ ให้กองทุนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารในการดำเนินการจากสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ตามที่เกิดขึ้นจริง และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ บรรดาประกาศและแบบเอกสารที่เลขาธิการออกตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๔] ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๔๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๒] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๓] ข้อ ๑๗ วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๔๘/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
723137
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. 2553 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน ให้สอดคล้องกับการจัดให้มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “แผนการลงทุน” หมายความว่า แผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ “แผนหลัก” หมายความว่า แผนหลักตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยของแต่ละแผนการลงทุนซึ่งคำนวณโดยนำมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของแต่ละเเผนการลงทุนหารด้วยจำนวนหน่วยของแต่ละแผนการลงทุน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของกองทุน ข้อ ๓ เมื่อประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้กองทุน (๑) โอนจำนวนหน่วยของสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมดตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปเป็นจำนวนหน่วยของแผนหลัก (๒) กำหนดมูลค่าต่อหน่วยเริ่มต้นของแต่ละแผนการลงทุนเท่ากับมูลค่าต่อหน่วยของแผนหลัก ข้อ ๔[๒] ให้กองทุนบันทึกเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย เงินกองกลาง หรือผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่กองทุนได้รับจากส่วนราชการหรือสมาชิกเป็นจำนวนหน่วย เข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามแต่ละแผนการลงทุนหรือบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้องภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินและข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่คำนวณจากราคาปิด ณ สิ้นวันทำรายการนั้น เว้นแต่กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินประเดิมตามมาตรา ๖๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ตามที่กองทุนกำหนด ข้อ ๕[๓] ให้คำนวณดอกผลและค่าใช้จ่ายของกองทุนตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และทำการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนการลงทุนของหลักทรัพย์แต่ละประเภทให้แต่ละแผนการลงทุนตามส่วน รวมทั้งคำนวณสินทรัพย์สุทธิและมูลค่าต่อหน่วยของแต่ละแผนการลงทุนและของบัญชีอื่นเป็นรายวัน ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓ วันทำการ ข้อ ๖[๔] ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง การคำนวณเงินในบัญชีรายบุคคล ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วยที่คำนวณจากราคาปิด ณ สิ้นวันทำรายการที่กองทุนได้ตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน ข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) รวมทั้งแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อ ๗ การใช้ตัวเลขทศนิยมของจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย ให้กองทุนดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) คำนวณจำนวนหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ตัดทิ้ง (๒) คำนวณมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ใช้การปัดเศษตามหลักสากล (มีค่าตั้งแต่ ๕ ให้ปัดขึ้น) ข้อ ๘ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องโดยมีความแตกต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๕ ขึ้นไป ให้ดำเนินการชดเชยตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ หรือข้อ ๑๐ เว้นแต่กรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๙ การชดเชยกรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่ำกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Understate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ลดจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของแผนการลงทุนนั้น (๒) จ่ายเงินเพิ่มให้แก่สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๐ การชดเชยกรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Overstate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) เพิ่มจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของแผนการลงทุนนั้น (๒) ลดจำนวนเงินที่จ่ายสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๕] ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๒] ข้อ ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
723139
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. 2551 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๓๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ข้าราชการ” หมายความว่า ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่และผู้ที่เคยเป็นสมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นและโอนกลับเข้ารับราชการใหม่ ข้อ ๒ ข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา ๓๘ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้แจ้งความประสงค์ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เพื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดลงนามและนำส่งกองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ข้อ ๓ ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และได้รับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุนไปแล้ว หากประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง ให้คืนเงินที่ได้รับไปทั้งจำนวนแก่กองทุนตามจำนวนที่กองทุนแจ้ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ เว้นแต่ขณะออกจากราชการยังไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ถือว่ากองทุนได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ที่ประสงค์จะส่งเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป ให้ส่งคืนเงินดังกล่าวแก่กองทุนตามจำนวนที่กองทุนแจ้ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ เว้นแต่ขณะออกจากราชการยังไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ถือว่ากองทุนได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ข้อ ๕ ให้กองทุนแจ้งรายละเอียดยอดเงินที่ต้องนำส่งและวิธีการคืนเงินให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสมาชิกทราบภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบตามข้อ ๒ ถูกต้องครบถ้วน เมื่อกองทุนได้รับชำระเงินดังกล่าวจากสมาชิกแล้ว ให้กองทุนจัดส่งเอกสารหลักฐานการรับเงินให้แก่สมาชิกผู้นั้น พร้อมสำเนาให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานและบันทึกไว้ในสมุดหรือแฟ้มประวัติของข้าราชการรายนั้น ข้อ ๖ การคำนวณผลประโยชน์จากการคืนเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว หรือการส่งเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วจะเริ่มคำนวณนับแต่วันที่กองทุนได้รับเงินเข้าบัญชีแล้ว ข้อ ๗ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แต่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๒ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ และให้คืนเงินตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๘[๒] ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไม่สามารถคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยมิใช่ความผิดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่นั้นอาจร้องขอต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดโดยระบุเหตุขัดข้องและระยะเวลาที่ขอขยายออกไป เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดมีหนังสือแจ้งให้กองทุนพิจารณาการขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ให้แก่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่นั้นต่อไป ให้เลขาธิการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินให้แก่ข้าราชการ ซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ตามวรรคหนึ่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๓] ข้อ ๓ ให้เลขาธิการมีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยมิใช่ความผิดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ และส่วนราชการเจ้าสังกัดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ได้มีหนังสือแจ้งให้กองทุนพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๗ ให้แก่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๕๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๒] ข้อ ๘ เพิ่มโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
764672
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. 2559
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ให้ถูกต้อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖ เลขาธิการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ให้ยกเลิก ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ข้อ ๓ ให้ใช้ แบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ : แบบ กบข. ๐๐๑/๒/๒๕๕๙ ที่แนบท้ายประกาศนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชนิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๕ มกราคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๓๐๖ ง/หน้า ๔๓/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๙
762028
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์ส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม พ.ศ. 2559
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์ส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแบบแสดงความประสงค์ส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มเพื่อให้สมาชิกใช้สำหรับการแสดงเจตนาส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๕ (๑) ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๕๖ เลขาธิการ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์ส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ให้ใช้แบบแสดงความประสงค์ส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม : แบบ กบข. อพ ๐๐๑/๒๕๕๙ ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแสดงความประสงค์กำหนดหรือเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม (แบบ กบข. อพ ๐๐๑/๒๕๕๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๙๐/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
762026
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. 2559
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนเพื่อให้สมาชิกใช้สำหรับการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุนการให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๘ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน ก ารให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖ เลขาธิการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๓ ให้ใช้แบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน : แบบ กบข. ปผ ๐๐๑/๒๕๕๙ ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (แบบ กบข. ปผ ๐๐๑/๒๕๕๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๘๙/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
762024
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูล สมาชิกบรรจุใหม่ พ.ศ. 2559
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๙[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบแจ้งข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่เพื่อให้สมาชิกบรรจุใหม่ใช้สำหรับการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๔ และข้อ ๕ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖ เลขาธิการจึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง กำหนดแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๙” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกใบแจ้งข้อมูลสมาชิก กบข. (กรณีบรรจุใหม่) : แบบ กบข. ๐๐๑/๒/๒๕๕๖ ตามที่กำหนดในข้อ ๒ ของประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ ข้อ ๓ ให้ใช้แบบแจ้งข้อมูลสมาชิกบรรจุใหม่ : แบบ กบข. ๐๐๑/๒/๒๕๕๙ ตามที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งข้อมูลสมาชิกที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ (แบบ กบข. ๐๐๑/๒/๒๕๕๙) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/จัดทำ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ วิศนี/ตรวจ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๒๘๘/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
718830
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุน พ.ศ. 2556
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุน พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแบบและวิธีการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุนให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ และข้อ ๕ ของ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบและวิธีการแจ้งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุน ลงวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ข้อ ๒ ในกรณีที่มีสมาชิกบรรจุใหม่ ให้จัดทำใบแจ้งข้อมูลสมาชิกและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่มีการจัดทำข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุนโดยใช้ “ใบแจ้งข้อมูลสมาชิก กบข. (กรณีบรรจุใหม่) : แบบ กบข. 001/1/2556” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ ในกรณีที่สมาชิกประสงค์แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ให้จัดทำใบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิกและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนถัดจากเดือนที่มีการแก้ไขข้อมูลสมาชิก โดยใช้ “ใบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิก กบข. : แบบ กบข. 005/2/2556” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกซึ่งใช้ระบบนำส่งเงินของกองทุนเริ่มต้นส่งข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุนครั้งแรก ให้จัดทำแบบแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิกให้แก่กองทุนเพื่อขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการใช้งานระบบนำส่งเงินของกองทุน โดยใช้ “แบบแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. : แบบ MCS-WEB 1” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกต้องการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกและการส่งเงินเข้ากองทุนตามที่เคยแจ้งต่อกองทุนไว้แล้ว หรือการขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการใช้งานระบบนำส่งเงินของกองทุนใหม่ ให้ดำเนินการโดยใช้ “แบบ คำขอรหัสผ่านในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. : แบบ MCS-WEB 2” หรือ “แบบ แจ้งยกเลิกสิทธิผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. : แบบ MCS-WEB 3” หรือ “แบบคำขอแก้ไขผู้จัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. : แบบ MCS-WEB 4” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. ใบแจ้งข้อมูลสมาชิก กบข. (กรณีบรรจุใหม่) (แบบ กบข. 001/2/2556) ๒. ใบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิก กบข. (แบบ กบข. 005/2/2556) ๓. แบบแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. (แบบ MCS-WEB 1) ๔. แบบคำขอรหัสผ่านในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. (กรณีทำใบแจ้งรหัสผ่านหาย หรือ ลืมรหัสผ่าน) (แบบ MCS-WEB 2) ๕. แบบแจ้งยกเลิกสิทธิผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข.(แบบ MCS-WEB 3) ๖. แบบคำขอแก้ไขข้อมูลผู้จัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. (กรณีผู้จัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิก กบข. แก้ไขประวัติส่วนตัว) (แบบ MCS-WEB 4) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๗๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718821
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน เพื่อให้การรวบรวม การจัดเก็บ และการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ เป็นไปตามมาตรฐานของกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยแก่ข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวของบุคคลหรือผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน เช่น การศึกษา ฐานะ การเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม หรือประวัติการทำงาน เลขหมาย หรือรหัส รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งบอกลักษณะอย่างอื่นที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลหรือผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนได้ เช่น ลายพิมพ์นิ้วมือ รูปถ่าย หรือแผ่นบันทึกลักษณะเสียงของบุคคล และให้หมายความรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเฉพาะตัวหรือสิ่งบอกลักษณะอย่างอื่นที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลของผู้ที่ถึงแก่กรรมแล้วด้วย “กฎหมายของกองทุน” หมายความว่า พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง นโยบาย และมติที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมด้วย ข้อ ๓ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด (๑) กองทุนจะรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็นตามอำนาจหน้าที่และขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายของกองทุนกำหนดเท่านั้น และในกรณีที่เป็น (ก) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อจัดทำข้อมูลสถิติเกี่ยวกับประชากรทางเว็บไซต์กองทุนจะต้องแจ้งวัตถุประสงค์ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อน (ข) การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลนอกเหนือจากอำนาจหน้าที่และขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายของกองทุนกำหนด กองทุนจะแจ้งวัตถุประสงค์ รวมทั้งวิธีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบเพื่อให้ความยินยอมก่อน (๒) กองทุนจะรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งข้อมูลดังต่อไปนี้ (ก) เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง (ข) ส่วนราชการหรือหน่วยงานเจ้าสังกัดของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ค) ส่วนราชการหรือหน่วยงานอื่นที่มีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล (๓) กองทุนจะรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลตามประเภทและชนิดของข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น ประวัติส่วนตัว สถิติเกี่ยวกับประชากร ฐานะการเงิน ประวัติการทำงาน ข้อมูลสำหรับการติดต่อ หรือข้อมูลเชิงพฤติกรรม โดยใช้วิธีดังต่อไปนี้ (ก) กรอกข้อมูลส่วนบุคคลในเอกสารและนำส่งเป็นกระดาษ (ข) กรอกข้อมูลส่วนบุคคลและนำส่งเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเว็บไซต์หรือช่องทางสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดที่กองทุนจัดไว้ (๔) กองทุนจะจัดเก็บบันทึกข้อมูลการเข้า – ออกเว็บไซต์ (Log Files) ของผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน ซึ่งอาจมีข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนด้วยก็ได้ ข้อ ๔ คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล (๑) ข้อมูลส่วนบุคคลที่กองทุนรวบรวมและจัดเก็บไว้จะต้องมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน (๒) ในกรณีที่แหล่งข้อมูลตามข้อ ๓ (๒) ได้ให้หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลและกองทุนได้รับทราบมาด้วยวิธีการใดตามข้อ ๓ (๓) กองทุนจะพิจารณานำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปรวมเข้ากับข้อมูลส่วนบุคคลที่กองทุนมีอยู่ เพื่อให้ข้อมูลส่วนบุคคลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน ข้อ ๕ การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล (๑) กองทุนจะบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลตามนโยบายที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ และจะกำกับดูแลให้การนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เท่าที่จำเป็นในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่และขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายของกองทุนกำหนด เพื่อประโยชน์แก่ผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนหรือเพื่อพัฒนาการบริการของกองทุนในเรื่องต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเท่านั้น (๒) กองทุนจะจัดให้มีระบบการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในระดับที่เหมาะสม (๓) การกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องเป็นไปตามอำนาจหน้าที่และขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายของกองทุนกำหนดเท่านั้น (๔) การดำเนินการใดของกองทุนที่มีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์หรือนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งกระทบต่อสิทธิของผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนอย่าง มีนัยสำคัญ กองทุนจะต้องแจ้งให้ผู้ใช้บริการดังกล่าวทราบล่วงหน้าทางเว็บไซต์ที่ให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่ออื่นใดที่กองทุนใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์กิจการของกองทุน และจะต้องบันทึกสิ่งที่ดำเนินการนั้นไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๖ ข้อจำกัดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล กองทุนจะให้ความสำคัญแก่การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลโดยปฏิบัติตามแนวทางการเก็บรักษาข้อมูลความลับที่กำหนดไว้ และจะไม่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้บุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้ก่อนหรือในขณะที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เว้นแต่ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) การอนุญาตให้ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนซึ่งมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์แก่กิจการของกองทุนและจำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นในการปฏิบัติงาน (๒) การอนุญาตให้บุคคลใดสามารถใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามปกติภายใต้วัตถุประสงค์ของการจัดให้มีข้อมูลส่วนบุคคลนั้น โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (๓) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าพนักงานหรือหน่วยงานซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการเรียกให้กองทุนส่งข้อมูลส่วนบุคคล (๔) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานหรือบุคคลใดเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยโดยไม่ระบุชื่อหรือส่วนที่ทำให้ทราบว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลใด (๕) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าพนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลใด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อการระงับอันตรายที่จะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน อนามัย หรือเสรีภาพของบุคคล (๖) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าพนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลใด ซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อการสืบสวนสอบสวน หรือเพื่อการดำเนินคดีตามกฎหมาย (๗) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (๘) การเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานหรือบุคคลใดเพื่อให้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนมีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ หรือเพื่อพัฒนาการให้การบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน (๙) กรณีอื่นใดที่กองทุนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่และขอบเขตวัตถุประสงค์ที่กฎหมายของกองทุนกำหนด การอนุญาตให้ใช้ การเปิดเผย หรือการจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่หน่วยงานหรือบุคคลภายนอกจะต้องอยู่ภายใต้หลักการรู้เท่าที่จำเป็น (Need to Know Basis) และกองทุนจะต้องจัดให้มีสัญญาหรือข้อตกลงกำหนดเงื่อนไขการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสม รวมทั้งต้องกำหนดเกี่ยวกับการรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวด้วย เว้นแต่เป็นการอนุญาตให้ใช้ การเปิดเผย หรือการจัดส่งข้อมูลส่วนบุคคลแก่เจ้าพนักงาน หน่วยงาน หรือบุคคลภายนอกซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ข้อ ๗ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล กองทุนจะจัดให้มีการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนมีความมั่นคงปลอดภัย ทั้งทางกายภาพและในกระบวนการรวบรวม การจัดเก็บ การเก็บรักษา และการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้งาน โดยจะต้องมีการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม และมีการป้องกันไม่ให้บุคคลที่ไม่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึง แก้ไข เปลี่ยนแปลง ทำลาย ทำให้สูญหาย นำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยมิชอบ ข้อ ๘ การเปิดเผยและเผยแพร่การดำเนินการ แนวปฏิบัติ และนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (๑) กองทุนจะเปิดเผยและเผยแพร่การดำเนินการ แนวปฏิบัติ และนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลส่วนบุคคลที่รวบรวมและจัดเก็บไปใช้งาน ตลอดจนการแก้ไขปรับปรุงการดำเนินการ แนวปฏิบัติ และนโยบายดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ http://www.gpf.or.th ของกองทุนและผ่านสื่อที่กองทุนใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสม (๒) กองทุนจะจัดช่องทางสำหรับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้สามารถตรวจสอบความมีอยู่และความถูกต้องของข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งสามารถแก้ไขปรับปรุงข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองได้ตามความเหมาะสม เช่น เว็บไซต์ของกองทุน เจ้าหน้าที่ของกองทุน หรือช่องทางการสื่อสารอื่นที่เหมาะสม (๓) กองทุนจะจัดให้มีช่องทางให้ผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนสามารถติดต่อสอบถามหรือขอรับบริการกับเจ้าหน้าที่ของกองทุนผ่านทางเว็บไซต์หรือสถานที่ทำการของกองทุน หรือส่วนราชการเจ้าสังกัดของผู้ใช้บริการ หรือช่องทางการสื่อสารอื่นที่กองทุนจัดให้ตามความเหมาะสม ข้อ ๙ การมีส่วนร่วมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (๑) กองทุนจะแจ้งความมีอยู่ของข้อมูลส่วนบุคคลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กองทุนได้รับการร้องขอภายในระยะเวลาที่สมควร (๒) ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้แทนที่มีอำนาจตามกฎหมายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีการโต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับการรวบรวม การจัดเก็บ การเก็บรักษา การใช้งาน ความถูกต้องครบถ้วน หรือการอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล กองทุนจะต้องมีการบันทึกการโต้แย้งคัดค้านดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๑๐ ความรับผิดชอบเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล กองทุนจะกำหนดให้หน่วยงานในสังกัดของกองทุนที่มีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวม การจัดเก็บ การใช้ การอนุญาตให้ใช้ และการควบคุมดูแลข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานและใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล ต้องปฏิบัติตามนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุนที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๖๖/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718818
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบขอรับเงินจากกองทุน และแบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้แจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือขอทยอยรับเงิน
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบขอรับเงินจากกองทุน และแบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้แจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือขอทยอยรับเงิน[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ ข้อ ๑๐ (๑) (ก) และ (๒) (ก) ๑) และข้อ ๑๗ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลงวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง แบบขอรับเงินจากกองทุนและแบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้แจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือทยอยขอรับเงิน” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๑/๒๕๕๑ เรื่อง แบบแจ้งข้อมูลและขอรับเงินจากกองทุน ลงวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพนั้นยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนดขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วนส่วนที่เหลือขอทยอยรับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนด หรือขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอฝากให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน โดยใช้ “แบบขอรับเงินจากกองทุน (กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน) : แบบ กบข. รง ๐๐๘/๑/๒๕๕๕” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๕ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้ว แต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกนั้นยื่นคำขอรับเงินจากกองทุนโดยใช้ “แบบขอรับเงินจากกองทุน (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) : แบบ กบข. รง ๐๐๘/๒/๒๕๕๑” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและฝากเงินให้กองทุนบริหารต่อ หากประสงค์ จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามที่เคยแจ้งให้กองทุนทราบ ให้ยื่นคำขอต่อกองทุนตาม “แบบแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลผู้แจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือขอทยอยรับเงิน : แบบ กบข. บต ๐๐๒/๑/๒๕๕๕” ที่แนบท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๖๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718813
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ 11/2551 เรื่อง แบบแจ้งข้อมูลและขอรับเงินจากกองทุน
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๑ /๒๕๕๑ เรื่อง แบบแจ้งข้อมูลและขอรับเงินจากกองทุน[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๑๐ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ เมื่อสมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งข้อมูลและเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพตามแบบ กบข.จพ ๐๐๑/๒๕๕๑ ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ หรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิก กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย ให้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน โดยใช้แบบ กบข.รง ๐๐๘/๑/๒๕๕๑ หรือ แบบ กบข. รง ๐๐๘/๒/๒๕๕๑ ตามแต่กรณี ท้ายประกาศนี้ ข้อ ๓ สมาชิกที่ออกจากราชการและเลือกที่จะฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ หรือรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ให้แจ้งความประสงค์ตามแบบ กบข. บต ๐๐๑/๒๕๕๑ ท้ายประกาศนี้ หากภายหลังสมาชิกตามวรรคหนึ่งประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน หรือความถี่ในการขอรับเงินคืน ให้แจ้งความประสงค์ตามแบบ กบข. บต ๐๐๒/๒๕๕๑ ท้ายประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๖๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718804
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และ (๖) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๖ วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการหักเงินสะสม การเบิกจ่ายเงินสมทบ เงินชดเชย และการส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ และมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ระบบนำส่งเงินของกองทุน” หมายความว่า ระบบ MCS - WEB หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นที่กองทุนกำหนดให้ส่วนราชการผู้เบิกใช้ในการแจ้งข้อมูลสมาชิกและการนำส่งเงินให้แก่กองทุน ข้อ ๔ ในการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก ให้ส่วนราชการผู้เบิกที่ใช้ระบบการจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างประจำเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของข้าราชการและลูกจ้างประจำของกรมบัญชีกลาง ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) จัดทำใบแจ้งข้อมูลสมาชิกเฉพาะกรณีที่มีสมาชิกบรรจุใหม่ตามแบบที่เลขาธิการกำหนดและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนที่มีการบรรจุเข้ารับราชการ (๒) จัดทำใบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิกเฉพาะกรณีที่มีการแก้ไขข้อมูลสมาชิกตามแบบที่เลขาธิการกำหนดและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนถัดไป ข้อ ๕ ในการส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิก ให้ส่วนราชการผู้เบิกโดยวิธีอื่นนอกจากข้อ ๔ ใช้ระบบนำส่งเงินของกองทุนและดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ให้ส่วนราชการผู้เบิกที่เริ่มต้นส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกครั้งแรก จัดทำแบบแจ้งชื่อผู้รับผิดชอบในการจัดทำข้อมูลการนำส่งเงินสมาชิกให้แก่กองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนดเพื่อขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการใช้งานระบบนำส่งเงินของกองทุน (๒) ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกต้องการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกผู้รับผิดชอบ ในการจัดทำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเงินเข้าบัญชีสมาชิกตามที่เคยแจ้งต่อกองทุนไว้แล้ว หรือการขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านในการใช้งานระบบนำส่งเงินของกองทุนใหม่ ให้ดำเนินการโดยใช้แบบตามที่เลขาธิการกำหนด (๓) จัดทำใบแจ้งข้อมูลสมาชิกเฉพาะกรณีที่มีสมาชิกบรรจุใหม่ตามแบบที่เลขาธิการกำหนดและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนที่มีการบรรจุเข้ารับราชการ (๔) จัดทำใบขอแก้ไขข้อมูลสมาชิกเฉพาะกรณีที่มีการแก้ไขข้อมูลสมาชิกตามแบบที่เลขาธิการกำหนดและจัดส่งให้แก่กองทุนภายในเดือนถัดไป ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๖๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718802
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๓๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “เงินสะสมส่วนเพิ่ม” หมายความว่า เงินสะสมที่สมาชิกประสงค์จะส่งเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๕ สมาชิกที่มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์เป็นอัตราร้อยละของเงินเดือนที่เป็นจำนวนเต็มแบบไม่มีทศนิยม ด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (๑) ทำเป็นหนังสือตามแบบที่กองทุนกำหนดยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด (๒) ดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศของกองทุน ข้อ ๖ สมาชิกที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์ได้ปีละหนึ่งครั้งภายในเดือนธันวาคมของทุกปีด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ และให้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกผู้นั้นตั้งแต่เดือนมกราคมปีถัดไป ในกรณีที่สมาชิกประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่มก่อนเวลาตามที่กำหนดไว้ ในวรรคหนึ่ง ให้เป็นดุลยพินิจของส่วนราชการเจ้าสังกัดที่จะดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิก ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๙/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718798
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดนโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของกองทุน เพื่อธำรงรักษาความไว้วางใจของสมาชิกและสังคมต่อการบริหารกองทุน และเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่สมาชิก รวมทั้งเพื่อจรรโลงธรรมาภิบาลของกองทุนในฐานะนักลงทุนสถาบันขนาดใหญ่ของประเทศให้ปรากฏแก่ตลาดทุนและสังคม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “นโยบาย” หมายความว่า นโยบายต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “ทุจริตและประพฤติมิชอบ” หมายความว่า การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยเจตนาเพื่อแสวงหาทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือบุคคลอื่นหรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด “ผู้ปฏิบัติงาน” หมายความว่า พนักงานและลูกจ้างของกองทุน และให้หมายความรวมถึงเลขาธิการด้วย ข้อ ๔ กองทุนกำหนดนโยบายตามประกาศนี้ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้ปรากฏถึงความโปร่งใส (Transparency) และภาระรับผิดชอบ (Accountability) ในการบริหารกองทุนและเพื่อให้ตระหนักถึงภัยร้ายแรงของการทุจริตและประพฤติมิชอบที่บั่นทอนผลประกอบการ ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของสมาชิกและสังคมโดยรวม ข้อ ๕ กองทุนจะไม่ยอมรับการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ (Zero Tolerance) ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของผู้ปฏิบัติงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของกองทุน ดังนั้น กองทุนจะดำเนินการ เพื่อให้นโยบายเป็นผลในทางปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดมาตรการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบไม่ให้เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมทุกประเภทของกองทุน ซึ่งครอบคลุมถึงการกระทำของผู้ปฏิบัติงาน และคู่ค้าของกองทุน โดยกองทุนจะจัดให้มี (ก) การทำงานที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) (ข) การออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการจัดหาพัสดุ การใช้จ่ายเงินของกองทุน และการรับของขวัญหรือของกำนัล (ค) การกำกับและตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพทั้งจากภายในและภายนอก (ง) การตรวจสอบประวัติผู้ปฏิบัติงาน คู่ค้าของกองทุน อย่างละเอียดรอบคอบ (จ) การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานให้ตระหนักถึงความสำคัญของการต่อต้านการทุจริต และประพฤติมิชอบ (๒) ไม่ทำธุรกรรมกับบุคคล บริษัท หรือหน่วยงานใดที่หน่วยงานภาครัฐสอบสวนพบว่ามีการกระทำที่เป็นการทุจริตและประพฤติมิชอบ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานยึดมั่นในการปฏิบัติงานด้วยมาตรฐานสูงสุด และมีจิตสำนึกต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในการปฏิบัติงาน ข้อ ๖ กองทุนจะจัดให้มีมาตรการสำหรับการควบคุมภายในให้ครอบคลุมถึง (๑) การประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบภายในหน่วยงาน รวมทั้งการติดตามและตรวจสอบผลการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ (๒) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการควบคุมภายในอย่างเข้มงวด และสม่ำเสมอ (๓) การเก็บรักษาข้อมูลการทำธุรกรรมทั้งหมดให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของกองทุนเพื่อให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ (๔) การจัดฝึกอบรมที่ต่อเนื่องให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีสาระเกี่ยวกับการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยง ทั้งในส่วนที่เป็นการป้องกัน การกำกับดูแล การแจ้งเบาะแส การสอบสวนลงโทษ และการรายงานการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบ ข้อ ๗ กองทุนจะจัดให้มีการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพจากภายนอก ประกอบด้วย (๑) การตรวจสอบโดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตามที่กฎหมายกำหนด (๒) การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญภายนอกเป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่าระบบและมาตรการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบเป็นไปอย่างเหมาะสมและเพียงพอสำหรับกองทุน ข้อ ๘ คณะอนุกรรมการตรวจสอบจะเป็นผู้กำกับดูแลและตรวจสอบระบบและมาตรการต่าง ๆ ที่กองทุนนำมาใช้สำหรับต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบว่ามีความเหมาะสมและเพียงพอหรือไม่เพื่อให้การใช้ทรัพยากรของกองทุนเกิดประโยชน์สูงสุด ข้อ ๙ ผู้ปฏิบัติงานจะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามนโยบายโดยจะต้องปฏิบัติตน ดังต่อไปนี้ (๑) ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของกองทุนซึ่งกำหนดเกี่ยวกับวินัยและจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัดและเป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด (๒) ไม่เข้าไปมีส่วนร่วม ส่งเสริม หรือสนับสนุนการกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเด็ดขาด (๓) ละเว้นการเข้าร่วมการกระทำใดที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือบุคคลอื่น (๔) ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติงานโดยปฏิบัติตามมาตรการที่เกี่ยวกับการควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงที่ใช้สำหรับการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเคร่งครัด (๕) ใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่กิจการของกองทุน และหลีกเลี่ยงการใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินใดของกองทุนที่ขัดแย้งกับนโยบายนี้ (๖) ป้องกัน สอดส่องดูแล และรายงานหรือแจ้งเบาะแสการกระทำหรือการพยายามกระทำการใดที่เป็นการทุจริตและประพฤติมิชอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กองทุนกำหนดโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติงานคนใดกระทำหรือละเว้นการกระทำตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ หรือมีส่วนสนับสนุนการกระทำใดที่ขัดกับข้อกำหนดตามประกาศนี้ กองทุนจะดำเนินการทางวินัย ต่อผู้ปฏิบัติงานดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ข้อ ๑๐ กองทุนได้จัดให้มีช่องทางการแจ้งเบาะแส และกำหนดกระบวนการสอบสวนลงโทษสำหรับการกระทำของผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบไว้แล้ว และกองทุนจะดำเนินการสอบสวนลงโทษผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบตามข้อบังคับ และระเบียบที่กองทุนกำหนดโดยเคร่งครัด ข้อ ๑๑ ในกรณีที่การกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบของผู้ปฏิบัติงานและบุคคลใดเป็นการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายต่อกองทุน กองทุนจะดำเนินการร้องทุกข์ กล่าวโทษ หรือส่งเรื่องไปยังส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย ในกรณีที่การกระทำทุจริตและประพฤติมิชอบของผู้ปฏิบัติงานและบุคคลใดก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงเกียรติคุณของกองทุน กองทุนจะใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้นั้น ข้อ ๑๒ กองทุนจะร่วมและให้การสนับสนุนบุคคลและองค์กรใด ๆ ที่มีวัตถุประสงค์ ในการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อสร้างสังคมและสภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศไทย ที่ปราศจากการทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างยั่งยืนต่อไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๕/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718795
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักการคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิสำหรับการจัดสรรผลประโยชน์และบันทึกบัญชีเงินรายบุคคล โดยใช้ราคาปิดของหลักทรัพย์ ณ สิ้นวันทำการที่ได้รับคำสั่งซื้อขาย (Forward Pricing) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๕ และมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๑๑/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ให้กองทุนบันทึกเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย เงินกองกลาง หรือผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่กองทุนได้รับจากส่วนราชการหรือสมาชิกเป็นจำนวนหน่วย เข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามแต่ละแผนการลงทุนหรือบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้องภายใน ๓ วันทำการนับแต่วันที่ได้รับเงินและข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วยที่คำนวณจากราคาปิด ณ สิ้นวันทำรายการนั้น เว้นแต่กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินประเดิมตามมาตรา ๖๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ตามที่กองทุนกำหนด” ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ให้คำนวณดอกผลและค่าใช้จ่ายของกองทุนตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และทำการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนการลงทุนของหลักทรัพย์แต่ละประเภทให้แต่ละแผนการลงทุนตามส่วน รวมทั้งคำนวณสินทรัพย์สุทธิและมูลค่าต่อหน่วยของแต่ละแผนการลงทุนและของบัญชีอื่นเป็นรายวัน ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓ วันทำการ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง การคำนวณเงินในบัญชีรายบุคคล ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วยที่คำนวณจากราคาปิด ณ สิ้นวันทำรายการที่กองทุนได้ตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน ข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) รวมทั้งแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718790
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน ให้สอดคล้องกับการจัดให้มีแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “แผนการลงทุน” หมายความว่า แผนการลงทุนตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ “แผนหลัก” หมายความว่า แผนหลักตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วยของแต่ละแผนการลงทุนซึ่งคำนวณโดยนำมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของแต่ละเเผนการลงทุนหารด้วยจำนวนหน่วยของแต่ละแผนการลงทุน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของกองทุน ข้อ ๓ เมื่อประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้กองทุน (๑) โอนจำนวนหน่วยของสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมดตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ และประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ ของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ไปเป็นจำนวนหน่วยของแผนหลัก (๒) กำหนดมูลค่าต่อหน่วยเริ่มต้นของแต่ละแผนการลงทุนเท่ากับมูลค่าต่อหน่วยของแผนหลัก ข้อ ๔ ให้กองทุนบันทึกเงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย เงินกองกลาง หรือผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่กองทุนได้รับจากส่วนราชการหรือสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยเข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกตามแต่ละแผนการลงทุนหรือบัญชีอื่นที่เกี่ยวข้องภายใน ๓ วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเงินและข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้ว โดยใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่บันทึกรายการนั้น เว้นแต่กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงเงินประเดิมตามมาตรา ๖๗/๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ตามที่กองทุนกำหนด ข้อ ๕ ให้คำนวณดอกผลและค่าใช้จ่ายของกองทุนตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และทำการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนการลงทุนของหลักทรัพย์แต่ละประเภทให้แต่ละแผนการลงทุนตามส่วน รวมทั้งคำนวณสินทรัพย์สุทธิและมูลค่าต่อหน่วยของแต่ละแผนการลงทุนและของบัญชีอื่นเป็นรายวัน ให้เสร็จสิ้นภายใน ๓ วันทำการ เพื่อใช้สำหรับการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วยของแผนการลงทุนในวันทำการถัดไป ข้อ ๖ ในกรณีที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง การคำนวณเงินในบัญชีรายบุคคล ให้ใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ วันที่กองทุนได้ตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน ข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) รวมทั้งแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อ ๗ การใช้ตัวเลขทศนิยมของจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย ให้กองทุนดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) คำนวณจำนวนหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ตัดทิ้ง (๒) คำนวณมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ใช้การปัดเศษตามหลักสากล (มีค่าตั้งแต่ ๕ ให้ปัดขึ้น) ข้อ ๘ ในกรณีที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องโดยมีความแตกต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๕ ขึ้นไป ให้ดำเนินการชดเชยตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ หรือข้อ ๑๐ เว้นแต่กรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๙ การชดเชยกรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่ำกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Understate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ลดจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของแผนการลงทุนนั้น (๒) จ่ายเงินเพิ่มให้แก่สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๐ การชดเชยกรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Overstate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) เพิ่มจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของแผนการลงทุนนั้น (๒) ลดจำนวนเงินที่จ่ายสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๕๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718788
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ. ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลงวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ สมาชิกที่จะสิ้นสุดสมาชิกภาพอาจยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๐ (๑) ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วส่งให้แก่กองทุนได้ไม่เกินแปดเดือนก่อนวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๗ วรรคหนึ่ง ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลงวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๗ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ผู้ใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อ ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ปีละ สองครั้งตามปีปฏิทินตามแบบที่เลขาธิการกำหนดหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกองทุน เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อนอกเหนือจากที่กำหนดให้เลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี” ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๔๘/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718786
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยหลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงานและการดำเนินงานด้านสมาชิกของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ. ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ. ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “ระบบอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ระบบสารสนเทศที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการบันทึกข้อมูลสำหรับการขอรับเงินและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของสมาชิก ข้อ ๕ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้สมาชิกผู้นั้นหรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกผู้นั้นยื่นขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๖ สมาชิกที่จะสิ้นสุดสมาชิกภาพอาจยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๑๐ (๑) ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนแล้วส่งให้แก่กองทุนได้ไม่เกินเก้าสิบวันก่อนวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๗ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพอาจแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนดหรือผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเลือกใช้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (๑) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน (๒) ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ การออกจากงานหรือการชราภาพ (๓) ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน (๔) ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนด (๕) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับโดยให้กองทุนแบ่งจ่ายให้เป็นงวดตามที่กำหนด (๖) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอฝากให้กองทุนบริหารต่อทั้งจำนวน สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพซึ่งจะใช้สิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดตาม (๓) – (๖) จะต้องมีเงินในบัญชีเงินรายบุคคลส่วนที่ขอฝากให้กองทุนบริหารต่อ หรือขอทยอยรับ ณ วันที่ยื่นคำขอใช้สิทธิไม่ต่ำกว่าสามหมื่นห้าพันบาท การขอทยอยรับเงินตาม (๔) หรือ (๕) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพต้องรับเงินเป็นรายงวดเท่า ๆ กัน โดยอาจเลือกรับเงินเป็นรายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน หรือรายปีก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนเงินที่ขอรับแต่ละงวดไม่ต่ำกว่าสามพันบาท ข้อ ๘ ให้ผู้มีสิทธิรับเงินจัดทำแบบขอรับเงินจากกองทุนขึ้นเป็นสามชุด เป็นต้นฉบับหนึ่งชุดและสำเนาอีกสองชุด โดยให้ยื่นแบบดังกล่าวพร้อมกับเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๐ ต่อหัวหน้า ส่วนราชการเจ้าสังกัด เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน แล้วจัดส่งต้นฉบับไปยังกองทุน สำหรับสำเนาแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเก็บไว้เป็นหลักฐานหนึ่งชุดและให้ผู้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน เก็บไว้เป็นหลักฐานอีกหนึ่งชุด ข้อ ๙ การตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญหรือไม่ หรือเป็นการขอรับบำนาญในระหว่างการถูกสอบสวนความผิดทางวินัย (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน โดยสำเนาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จะต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยส่วนราชการเจ้าสังกัด สมาชิก ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน แบ่งออกเป็น ๒ กรณี ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังต่อไปนี้ (ก) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน) (ข) สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ค) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ง) สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (จ) สำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราวหรือรับรองการสอบวินัยถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล พร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้น (กรณีเลือกรับบำนาญและการสอบสวนความผิดทางวินัยถึงที่สุด) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (๒) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้ว แต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ในกรณีของผู้รับพินัยกรรม ให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกด้วย การยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่ผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (ข) กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังต่อไปนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาใบมรณบัตรที่มีทายาทโดยธรรมคนหนึ่งคนใดรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีผู้ตายมีคู่สมรส) ที่มีคู่สมรสรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) แบบบันทึกการสอบปากคำ (ป.ค.๑๔) ของกรมการปกครองที่ออกโดยอำเภอหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ๕) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร) ที่ผู้มีสิทธิรับมรดกที่เป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๖) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องดำเนินการให้ผู้มีชื่อตามแบบ ป.ค. ๑๔ และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลงลายมือชื่อในแบบขอรับเงินจากกองทุนให้ถูกต้องครบถ้วนทุกราย หากผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวลงลายมือชื่อไม่ครบทุกราย กองทุนจะจ่ายเงินให้แก่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ข้อ ๑๑ เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ แล้วเสร็จ ให้จัดส่งแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานทั้งหมดให้กองทุนภายในสิบห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแบบขอรับเงิน พร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร ข้อ ๑๒ ในกรณีที่กองทุนจัดให้มีการใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการขอรับเงินจากกองทุน เมื่อสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๘ และเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๐ ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดแล้ว ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานดังกล่าว หากปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดบันทึกข้อมูลของสมาชิกดังกล่าวในระบบอิเล็กทรอนิกส์และจัดเก็บแบบขอรับเงินจากกองทุน รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อการตรวจสอบด้วย ข้อ ๑๓ เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามข้อ ๑๑ หรือข้อ ๑๒ แล้วเสร็จ หากต่อมามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิทธิในการรับเงินของสมาชิก หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้กองทุนทราบและจัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กองทุนโดยเร็ว หรือบันทึกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงในระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กองทุนทราบและจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เพื่อการตรวจสอบ แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๔ เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานตามข้อ ๑๑ หรือได้รับข้อมูลการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากส่วนราชการเจ้าสังกัดตามข้อ ๑๒ แล้ว ให้กองทุนตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน หรือข้อมูลที่ได้รับผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แล้วแต่กรณี รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน ตลอดจนสอบทานข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) ด้วย เมื่อกองทุนได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กองทุนจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน หรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพ หรือตามความต้องการของผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๗ ภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงและปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อ ๑๕ เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐาน หรือได้รับข้อมูลการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จากส่วนราชการเจ้าสังกัดโดยถูกต้องครบถ้วนแล้ว การขอยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนจะกระทำได้เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินได้ยื่นคำขอต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และส่วนราชการเจ้าสังกัดพิจารณาแล้วเห็นควรให้ยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนได้โดยส่วนราชการ เจ้าสังกัดจะต้องจัดส่งหนังสือแจ้งยกเลิกแบบขอรับเงินจากกองทุนหรือแจ้งข้อมูลการขอยกเลิกการขอรับเงินจากกองทุนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้กองทุนทราบก่อนวันที่กองทุนจัดส่งข้อมูลรายการจ่ายเงินของ ผู้มีสิทธิรับเงินไปยังธนาคารที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนให้เป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ข้อ ๑๖ กองทุนจะบริหารเงินของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๗ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ผู้ใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อ ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ปีละหนึ่งครั้งตามปีปฏิทินตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในการให้กองทุนบริหารเงินต่อนอกเหนือจากที่กำหนด ให้เลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งจะมีผลเมื่อกองทุนได้แจ้งยืนยันการเปลี่ยนแปลงให้สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ทราบแล้ว ข้อ ๑๘ กรณีที่สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ เสียชีวิต กองทุนจะจ่ายเงินที่คงเหลือตามบัญชีเงินรายบุคคลให้แก่ผู้จัดการมรดกของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ เท่านั้น ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่กองทุนได้รับสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้องและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้จัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้อง ข้อ ๑๙ ให้กองทุนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารในการดำเนินการจากสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและแจ้งความประสงค์ต่อกองทุนตามข้อ ๗ ตามที่เกิดขึ้นจริง และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด ข้อ ๒๐ บรรดาประกาศและแบบเอกสารที่เลขาธิการออกตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๔๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718781
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) มาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๖๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๓ ในประกาศนี้ “ผู้แจ้งความประสงค์” หมายความว่า ผู้ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพจากการเป็นสมาชิกและประสงค์ให้กองทุนบริหารเงินส่วนของตนต่อไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ข้อ ๔ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการดังนี้ (๑) แจ้งข้อมูลและเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกให้กองทุนทราบทันทีหรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (๒) แจ้งให้สมาชิกผู้นั้น หรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกผู้นั้น ยื่นขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๕ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากราชการมีสิทธิเลือกดังนี้ (๑) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน (๒) ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ (๓) ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อ (๔) ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ (๕) ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับ การใช้สิทธิเลือกตาม (๓) หรือ (๔) ต้องมีเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่าสามหมื่นห้าพันบาท ณ วันที่ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน การใช้สิทธิเลือกตาม (๕) ต้องมีเงินส่วนที่ขอทยอยรับในบัญชีไม่ต่ำกว่าสามหมื่นห้าพันบาท ณ วันที่ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน การขอทยอยรับเงินตาม (๔) หรือ (๕) ต้องรับเป็นรายงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน โดยอาจเลือกรับเป็นรายเดือน รายสามเดือน รายหกเดือน หรือรายปี ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำรายงวดไม่ต่ำกว่างวดละสามพันบาท ให้ผู้ขอใช้สิทธิเลือกตาม (๓) (๔) หรือ (๕) แจ้งความประสงค์ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๖ แบบขอรับเงินจากกองทุนและแบบแจ้งความประสงค์ ให้จัดทำขึ้นเป็นสองชุด เป็นต้นฉบับหนึ่งชุด และสำเนาอีกหนึ่งชุด โดยให้ยื่นแบบดังกล่าวพร้อมกับเอกสารหลักฐานตามข้อ ๘ ต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน แล้วส่งต้นฉบับไปยังกองทุน สำหรับสำเนาแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเก็บไว้เป็นหลักฐาน และสำเนาแบบแจ้งความประสงค์ ให้ผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๗ การตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการ ดังนี้ (๑) ตรวจสอบว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญหรือไม่ หรือขอรับบำนาญในระหว่างสอบสวนทางวินัย (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน โดยสำเนาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จะต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือสมาชิก หรือผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ข้อ ๘ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินดังนี้ (ก) แบบขอรับเงินจากกองทุน (กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน) (ข) สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ค) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) ที่สมาชิกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ง) สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (จ) สำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราวหรือรับรองการสอบวินัยถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล พร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้น (กรณีเลือกรับบำนาญและการสอบสวนทางวินัยถึงที่สุด) ที่มีเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง (ฉ) แบบแจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อหรือขอทยอยรับเงิน กรณีมีผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) แล้วแต่กรณี (๒) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้ว แต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน และในกรณีของผู้รับพินัยกรรม ให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกด้วย โดยการยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินดังนี้ (ก) กรณีเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) ที่ผู้จัดการมรดกหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (ข) กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้ ๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน (กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย) ๒) สำเนาใบมรณบัตรที่มีทายาทโดยธรรมคนหนึ่งคนใดรับรองสำเนาถูกต้อง ๓) สำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีผู้ตายมีคู่สมรส) ที่มีคู่สมรสรับรองสำเนาถูกต้อง ๔) แบบบันทึกการสอบปากคำ (ป.ค.๑๔) ของกรมการปกครองที่ออกโดยอำเภอหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร ๕) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) ที่ผู้มีสิทธิรับมรดก ที่เป็นเจ้าของบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัดรับรองสำเนาถูกต้อง ๖) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ทั้งนี้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องดำเนินการให้ผู้มีชื่อตามแบบ ป.ค.๑๔ และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลงลายมือชื่อในแบบขอรับเงินจากกองทุนให้ถูกต้องครบถ้วนทุกราย หากผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวลงลายมือชื่อไม่ครบทุกราย กองทุน จะจ่ายเงินให้แก่ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ข้อ ๙ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามข้อ ๖ ข้อ ๗ และข้อ ๘ ให้แล้วเสร็จและส่งแบบขอรับเงินจากกองทุนให้กองทุนภายในสิบห้าวันทำการ นับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงและได้รับแบบขอรับเงิน พร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควร เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานจากส่วนราชการเจ้าสังกัดถูกต้องครบถ้วนแล้ว การขอยกเลิกแบบขอรับเงินจากกองทุนจะกระทำได้เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินได้ยื่นคำขอต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด และส่วนราชการเจ้าสังกัดพิจารณาแล้วให้ยกเลิกแบบขอรับเงินจากกองทุนได้ โดยส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องส่งหนังสือแจ้งยกเลิกแบบขอรับเงินจากกองทุนไปถึงกองทุนก่อนวันที่กองทุนส่งข้อมูลรายการจ่ายเงินของผู้มีสิทธิรับเงินไปยังธนาคารที่ได้รับมอบหมายจากกองทุนให้เป็นผู้จ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ข้อ ๑๐ เมื่อกองทุนได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานจากส่วนราชการเจ้าสังกัดตามข้อ ๙ แล้ว ให้กองทุนตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของแบบขอรับเงินจากกองทุนและเอกสารหลักฐานดังกล่าว นอกจากนี้ให้กองทุนตรวจสอบข้อมูลการนำส่งเงินเข้ากองทุน รวมทั้งสอบทานข้อมูลเกี่ยวกับเงินประเดิม (ถ้ามี) เมื่อกองทุนได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งและปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้กองทุนจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน หรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพตามความต้องการของผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) ภายในเจ็ดวันทำการ ข้อ ๑๑ กองทุนจะบริหารเงินของผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๒ ผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) ผู้ใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจำนวนเงิน หรือความถี่ในการขอรับเงินคืน ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ปีละหนึ่งครั้งตามปีปฏิทินตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินและหรือความถี่ในการขอรับเงินคืน นอกเหนือจากที่กำหนด ให้เลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่งจะมีผลเมื่อกองทุนได้แจ้งยืนยันการเปลี่ยนแปลงให้ผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) ทราบ ข้อ ๑๓ กรณีที่ผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) เสียชีวิต กองทุนจะจ่ายเงินที่คงเหลือตามบัญชีเงินรายบุคคลให้แก่ผู้จัดการมรดกของผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) เท่านั้น ทั้งนี้ ภายในเจ็ดวันทำการ นับแต่วันที่กองทุนได้รับสำเนาคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดกที่มีเจ้าพนักงานศาลรับรองสำเนาถูกต้องและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากของผู้จัดการมรดกที่ผู้จัดการมรดกรับรองสำเนาถูกต้อง ข้อ ๑๔ ให้กองทุนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธนาคารในการดำเนินการจากผู้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๕ (๓) (๔) หรือ (๕) ตามที่เกิดขึ้นจริง และอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมอื่นได้ตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด ข้อ ๑๕ บรรดาประกาศและแบบเอกสารที่เลขาธิการออกตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งยกเลิกโดยประกาศฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับได้ต่อไปจนกว่าจะมีการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๓๕/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718779
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ ให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๔) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนในต่างประเทศ” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “การลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ (๑) หลักทรัพย์ที่เป็นสกุลต่างประเทศซึ่งผู้ออกมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยและจำหน่ายหรือซื้อขายหรือรับฝากในต่างประเทศ หรือ (๒) เงินฝากสกุลต่างประเทศ “หน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า หลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวม กองทุนส่วนบุคคล หรือกองทุนอื่นใดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายในต่างประเทศ ซึ่งหมายความรวมถึง (๑) กองทุนรวมอีทีเอฟ (Exchange Traded Fund : ETF) (๒) หลักทรัพย์ประเภท Trust ได้แก่ Trust, Investment Trust, Common Trust หรือ Common Trust Fund (๓) หน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในกองทุนอื่น (Fund of Funds) (๔) หลักทรัพย์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับ (๑) - (๓) ข้อ ๕ หลักทรัพย์ที่ลงทุนได้มีดังต่อไปนี้ (๑) หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ (ก) เงินฝากหรือบัตรเงินฝากของธุรกิจสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย (ข) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (ค) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่อ้างอิงราคา ผลตอบแทน หรือดัชนีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ ที่มีความมั่นคงสูง และให้หมายความรวมถึงตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่อ้างอิงอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Linked Bond) หรืออัตราดอกเบี้ยด้วย (ง) ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) - (ค) (จ) หน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศประเภทตราสารหนี้ระยะสั้น (Money Market Fund) (ฉ) หน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศที่ลงทุนในหลักทรัพย์เฉพาะตาม (ก) - (จ) หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงตาม (ก) - (ค) และ (จ) ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่ตัวหลักทรัพย์นั้น ผู้รับฝากเงิน หรือผู้ออกหลักทรัพย์ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับน่าลงทุน (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และกรณีที่หลักทรัพย์ใด ผู้รับฝากเงิน หรือผู้ออกหลักทรัพย์รายใดถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนต่ำกว่าระดับดังกล่าว ให้ถือว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์อื่น และให้ดำเนินการตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนดและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ (๒) หลักทรัพย์อื่น ได้แก่ (ก) ตราสารทุน (ข) ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน (ค) ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือการเข้าลงทุนเพื่อแบ่งสรรผลประโยชน์ (Contribution Participation หรือ Interest) แบบจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นที่มีลักษณะเดียวกัน (ง) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่อ้างอิงราคา ผลตอบแทน หรือดัชนีที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์อื่น รวมถึงตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่อ้างอิงราคา ผลตอบแทน หรือดัชนีที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้นหรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้นได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ น่าลงทุน (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และในกรณีที่ตราสารแสดงสิทธิในหนี้นั้นหรือผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้รายใดถูกปรับลดอันดับ ความน่าเชื่อถือจนต่ำกว่าระดับดังกล่าว ให้ดำเนินการตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนดและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ (จ) ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) - (ง) หรือตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในราคา ผลตอบแทน หรือดัชนีที่เกี่ยวกับสินค้าโภคภัณฑ์ (ฉ) หน่วยลงทุนของกองทรัสต์อสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ (Real Estate Investment Trusts : REITs) ซึ่งรวมถึงหลักทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกัน (ช) หน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนในต่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนใน ๑) อสังหาริมทรัพย์ ๒) สินค้าโภคภัณฑ์ ๓) หลักทรัพย์ตาม (๑) ซึ่งมีการลงทุนบางส่วนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับน่าลงทุน (Below Investment Grade) โดยสัดส่วน การลงทุนต้องเป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด ๔) หลักทรัพย์ตาม (๒) หรือกองทุนผสมระหว่างหลักทรัพย์ตาม (๑) และ (๒) ซึ่งอาจมีการลงทุนบางส่วนในตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับน่าลงทุน (Below Investment Grade) โดยสัดส่วนการลงทุนต้องเป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด ข้อ ๖ การลงทุนในต่างประเทศของกองทุนตามข้อ ๕ ต้องลงทุนในประเทศซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) หรือในประเทศซึ่งมีหน่วยงานกำกับดูแลเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเห็นชอบ ในกรณีที่มีการลงทุนนอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ดังกล่าว จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศ (Global Real Estate) นิติบุคคลร่วมลงทุนในต่างประเทศ (Global Private Equity) หรือโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ (Infrastructure) ไม่ต้องอยู่ภายใต้ข้อจำกัดตามวรรคหนึ่ง ข้อ ๗ คณะกรรมการโดยข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนอาจอนุมัติให้ลงทุนในหลักทรัพย์นอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ ๕ ได้ โดยให้กำหนดด้วยว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือเป็นหลักทรัพย์อื่น ข้อ ๘ ในการลงทุนในต่างประเทศ กองทุนอาจทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนดังต่อไปนี้ได้ โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ (๑) ธุรกรรมเพื่อป้องกันความเสี่ยง (๒) ธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives) (๓) ธุรกรรมยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Borrowing and Lending) (๔) ธุรกรรมขายหลักทรัพย์ที่ไม่ได้ถือครอง (Short Sell) (๕) ซื้อโดยมีสัญญาขายคืนหรือขายโดยมีสัญญาซื้อคืนของหลักทรัพย์ในข้อ ๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๓๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718776
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในอนุพันธ์
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในอนุพันธ์[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การลงทุนในอนุพันธ์ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับ ข้อ ๕ (๑) (ฎ) ข้อ ๕ (๒) (ฌ) และข้อ ๕ (๕) (ค) และ (ง) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในอนุพันธ์” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ลงวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “สินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset)” หมายความว่า สินค้าโภคภัณฑ์ หรือหลักทรัพย์ประเภทตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ตราสารทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน หรือกลุ่มของสินค้าหรือหลักทรัพย์ดังกล่าว “ตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable)” หมายความว่า ราคาของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา อัตราดอกเบี้ย ดัชนีหลักทรัพย์ ดัชนีของกลุ่มหลักทรัพย์ ดัชนีทางการเงินที่เป็นที่ยอมรับของนักลงทุนสถาบันหรือหน่วยงานกำกับ หรืออันดับความน่าเชื่อถือหรือเหตุการณ์ที่มีผลต่อการชำระหนี้ของตราสารแสดงสิทธิในหนี้ อนุพันธ์ ผู้ออกตราสาร หรือคู่สัญญา “อนุพันธ์” หมายความว่า ธุรกรรมหรือสัญญาที่ก่อกำเนิดจากหรือผันแปรตามสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ซึ่งโดยทั่วไปจะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน โดยธุรกรรมหรือสัญญาดังกล่าวอาจมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (๑) ฟิวเจอร์ส (Futures) หรือฟอร์เวิร์ด (Forward) หรือ สวอปส์ (Swaps) ซึ่งเป็นสัญญาที่มีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะดังต่อไปนี้ (ก) สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ชำระราคา ณ เวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตเป็นจำนวนและราคาตามที่กำหนดไว้ ในสัญญา (ข) สัญญาที่กำหนดให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับชำระเงินหรือต้องชำระเงินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับจำนวนที่คำนวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ที่กำหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญา (๒) ออปชั่นส์ (Options) ซึ่งเป็นสัญญาที่กำหนดให้สิทธิแก่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งที่จะเรียกให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือชำระราคาของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือชำระเงินที่คำนวณได้จากส่วนต่างระหว่างราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ที่กำหนดไว้ในสัญญากับราคาหรือมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ที่เป็นอยู่ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งหรือช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคตตามที่กำหนดไว้ในสัญญา (๓) อนุพันธ์แบบผสม (Hybrid Derivatives) ที่เกิดจากการรวมกันของ (๑) - (๒) (๔) อนุพันธ์อย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกับ (๑) – (๓) (๕) อนุพันธ์อย่างอื่นตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนให้ความเห็นชอบ ข้อ ๕ อนุพันธ์ตามประกาศนี้ไม่รวมถึง (๑) ธุรกรรมหรือสัญญาซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยมีข้อตกลงว่าจะขายหรือซื้อคืนซึ่งหลักทรัพย์ดังกล่าว (๒) พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Inflation-linked Bond) (๓) ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) (๔) ตราสารทางการเงินที่มีโครงสร้างเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ (Structured Product) (๕) การลงทุนในนิติบุคคลเอกชนที่ถือเป็นการลงทุนทางเลือกตามหลักเกณฑ์ของกองทุน ข้อ ๖ การลงทุนในอนุพันธ์ของกองทุนต้องอยู่ภายใต้วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) เพื่อลดหรือป้องกันความเสี่ยงของกองทุน (Hedging) เช่น ลดขนาดความเสี่ยง (Risk Magnitude) เปลี่ยนแปลงประเภทความเสี่ยง (Underlying Risk) หรือปรับความเสี่ยงของกองทุนเทียบกับดัชนีอ้างอิง (๒) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของกองทุนด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ (ก) ปรับสัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามนโยบายการจัดสรรการลงทุน (Strategic Asset Allocation : SAA หรือ Tactical Asset Allocation : TAA) หรือตามนโยบายของแผนทางเลือกลงทุนของสมาชิก (ข) บริหารผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาระหว่างตลาดซื้อขายปัจจุบันกับตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Arbitrage) กรณีราคาของหลักทรัพย์นั้นไม่เป็นไปตามหลักวิชาการอันเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของตลาด (ค) บริหารกระแสเงินสดรับ (Equitizing Cash Flows) ที่มีกำหนดเวลาและจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น รายรับในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก ดอกเบี้ยรับ หรือเงินปันผล (ง) เป็นทางเลือกเพื่อทดแทนหรือปรับระดับความเสี่ยงการลงทุนในหลักทรัพย์ กลุ่มหลักทรัพย์ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ (จ) วิธีการอื่นตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด (๓) เพื่อสร้างผลตอบแทนที่สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงเป้าหมาย (Enhance Return) ข้อ ๗ การลงทุนในอนุพันธ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายการลงทุนของกองทุน โดยอนุพันธ์ที่ลงทุนต้องอ้างอิงกับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิง (Underlying Variable) ที่สอดคล้องกับสินทรัพย์หรือกระแสเงินสดของกองทุน (๒) ต้องกระทำในศูนย์ซื้อขายที่จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือกระทำกับผู้ลงทุนสถาบัน สถาบันการเงิน ผู้เก็บรักษาทรัพย์สิน คู่ค้าที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับน่าลงทุน (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หรือคู่ค้าที่ผ่านหลักเกณฑ์การคัดเลือกตามคู่มือการลงทุนด้านเครดิต (๓) การลงทุนในอนุพันธ์ต้องไม่ก่อให้เกิดหนี้หรือภาระผูกพันที่มีนัยสำคัญจนทำให้สถานะเงินลงทุนสุทธิ (Net Exposure) แสดงมูลค่าสูงเกินกว่าทรัพย์สินสุทธิของเงินกองทุน (NAV) อันเป็นผลมาจากอนุพันธ์ดังกล่าว (Gearing) เว้นแต่เป็นการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารกระแสเงินสดรับ (Equitizing Cash Flows) ที่มีกำหนดเวลาและจำนวนเงินที่แน่นอน เช่น รายรับในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก ดอกเบี้ยรับ หรือเงินปันผล (๔) ห้ามก่อภาระผูกพันโดยไม่มีกระแสเงินสด หรือโดยไม่มีสินทรัพย์ที่มีลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน (Proxy Asset) ไว้รองรับ ในจำนวนที่เพียงพอต่อมูลค่าสุทธิที่กองทุนอาจมีภาระที่ต้องส่งมอบ หรือชำระราคา (๕) ต้องกระทำภายใต้แนวนโยบายการลงทุนและการควบคุมความเสี่ยงตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ข้อ ๘ การนับสถานะการลงทุน ให้ถือหลักการวัดมูลค่ายุติธรรม (Mark to Market) และการจัดประเภทสินทรัพย์ ให้นับตามประเภทสินทรัพย์ที่อนุพันธ์นั้นไปอ้างอิงอยู่ ข้อ ๙ การควบคุมความเสี่ยงให้ถือหลักการวัดมูลค่าความเสี่ยงตามฐานความเสี่ยง (Risk Based) ข้อ ๑๐ ให้กองทุนรายงานสถานะการลงทุนในอนุพันธ์แบบสุทธิ (Net) และแบบรวม (Gross) ต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเพื่อทราบด้วย ข้อ ๑๑ ในกรณีที่มีเงินส่วนต่างที่เกิดขึ้นจากการลงทุนในอนุพันธ์ระหว่างจำนวนที่จ่ายจริง (Margin) กับวงเงินรวม (Notional) ให้นำเงินส่วนต่างดังกล่าวไปลงทุนได้เฉพาะในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงตามกฎกระทรวงและตามประกาศคณะกรรมการที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงดังกล่าวตามวรรคหนึ่งต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงหรือ มีลักษณะอื่นตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนให้ความเห็นชอบ ข้อ ๑๒ ให้กองทุนนำหลักเกณฑ์และวิธีการลงทุนในอนุพันธ์ตามประกาศนี้ไปใช้สำหรับการลงทุนในอนุพันธ์ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนดให้เป็นหลักทรัพย์ที่กองทุนอาจลงทุนได้ตามข้อ ๕ (๓) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยอนุโลม ข้อ ๑๓ บรรดาการลงทุนในอนุพันธ์ที่กระทำก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ และการลงทุนดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดอายุของการลงทุนในอนุพันธ์นั้น ให้ยังคงการลงทุนต่อไปได้จนครบกำหนดอายุของการลงทุนในอนุพันธ์นั้น โดยคำนึงถึงประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ ข้อ ๑๔ บรรดาประกาศ ระเบียบ มติคณะกรรมการ หรือมติคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนที่ใช้บังคับอยู่ก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒๖/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718773
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ และมาตรา ๓๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ให้เพิ่มเติมความดังต่อไปนี้เป็นข้อ ๘ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑ “ข้อ ๘ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไม่สามารถคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยมิใช่ความผิดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่นั้นอาจร้องขอต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดโดยระบุเหตุขัดข้องและระยะเวลาที่ขอขยายออกไป เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดมีหนังสือแจ้งให้กองทุนพิจารณาการขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ให้แก่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่นั้นต่อไป ให้เลขาธิการเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินให้แก่ข้าราชการ ซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ตามวรรคหนึ่ง” ข้อ ๓ ให้เลขาธิการมีอำนาจพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ หรือข้อ ๗ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑ ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไม่สามารถคืนเงินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้โดยมิใช่ความผิดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ และส่วนราชการเจ้าสังกัดของข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ได้มีหนังสือแจ้งให้กองทุนพิจารณาขยายระยะเวลาการคืนเงินตามข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๗ ให้แก่ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718771
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๕/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๘ ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๘ ในการใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน สมาชิกจะต้องแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่กองทุนกำหนด แล้วจัดส่งแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวให้แก่กองทุนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือนำมายื่นให้แก่กองทุนโดยไม่ต้องผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือดำเนินการผ่านระบบสารสนเทศของกองทุน ซึ่งกองทุนจะถือเอาวันที่กองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวของสมาชิกหรือวันที่สมาชิกบันทึกข้อมูลการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนผ่านระบบสารสนเทศของกองทุนที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นวันที่ได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ วรรคสอง ของประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “กรณีที่สมาชิกแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนหลายครั้งก่อนที่กองทุนจะจัดการลงทุนในแผนการลงทุนตามความประสงค์ของสมาชิกภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง กองทุนจะดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาครั้งหลังสุด เว้นแต่กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกกองทุนสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกก่อนดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ที่ถูกต้องของสมาชิกต่อไป” ประกาศ ณ วันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๒๒/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718768
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. 2556
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน เพื่อเพิ่มแผนการลงทุนให้สมาชิกเลือก อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๕ และครั้งที่ ๒/๒๕๕๖ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ ข้อ ๔ ในประกาศนี้ “แผนการลงทุน” หมายความว่า แผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกแต่ละคน เฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ซึ่งกองทุนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเลือกลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “สัดส่วนการลงทุน” หมายความว่า สัดส่วนของหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ลงทุนในแต่ละแผนการลงทุน “ส่วนเบี่ยงเบน” หมายความว่า ขอบเขตสำหรับการเพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนที่กองทุนสามารถใช้ในการบริหารแผนการลงทุน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของกองทุน หมวด ๑ การจัดให้มีแผนการลงทุน ข้อ ๕ กองทุนจัดให้มีแผนการลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนดังต่อไปนี้ (๑) “แผนหลัก” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) “แผนผสมหุ้นทวี” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกับแผนหลัก แต่มีการลงทุนในตราสารทุนมากกว่าแผนหลัก (๓) “แผนตราสารหนี้” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าว (๔) “แผนตลาดเงิน” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าวที่จะครบกำหนดชำระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน (๕) “แผนสมดุลตามอายุ” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกับแผนหลัก แต่สัดส่วนของหลักทรัพย์ในการลงทุนปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก นโยบายและสัดส่วนการลงทุนของแต่ละแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๖ ให้คณะกรรมการกำหนดส่วนเบี่ยงเบนที่เหมาะสมสำหรับแผนการลงทุนแต่ละแผนเพื่อให้กองทุนใช้ในการบริหารแผนการลงทุน ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของสมาชิกหรือกองทุน หรือเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่สมาชิกหรือกองทุน ให้กองทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนเกินไปกว่าส่วนเบี่ยงเบนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ได้ แต่ให้กองทุนปรับสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ภายในส่วนเบี่ยงเบนที่กำหนดโดยเร็วเมื่อความจำเป็นดังกล่าวสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า หมวด ๒ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิก ข้อ ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๗๐ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกในแผนการลงทุนใดก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ จะคงอยู่ในแผนการลงทุนนั้นต่อไปจนกว่าสมาชิกจะใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๘ ในการใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน สมาชิกจะต้องแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่เลขาธิการกำหนด แล้วจัดส่งแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวให้แก่กองทุนทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือนำมายื่นให้แก่กองทุนโดยไม่ต้องผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด ซึ่งกองทุนจะถือเอาวันที่กองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวของสมาชิกที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นวันที่ได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก ข้อ ๙ เมื่อกองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว กองทุนจะจัดการลงทุนในแผนการลงทุนตามความประสงค์ของสมาชิกในวันที่ยี่สิบห้าของเดือนถัดจากเดือนที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก เว้นแต่กรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทำการของกองทุน ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการถัดไป หรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้กองทุนไม่สามารถดำเนินการในวันดังกล่าวได้ ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการแรกเมื่อเหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลง กรณีที่สมาชิกจัดส่งแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่ถูกต้องครบถ้วนหลายฉบับ กองทุนจะดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาครั้งหลังสุด เว้นแต่กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกกองทุนสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกก่อนดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ที่ถูกต้องของสมาชิกต่อไป ข้อ ๑๐ สมาชิกมีสิทธิเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนได้ปีละสองครั้ง สิทธิของสมาชิกในการเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนสิ้นสุดลงเมื่อกองทุนได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านระบบสารสนเทศที่กองทุนกำหนดจากส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตามกฎหมายแล้ว ข้อ ๑๑ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกรายใดสิ้นสุดลง และกองทุนยังไม่ได้จ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมาย หรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงาน หรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด กองทุนจะยังคงบริหารเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกรายนั้นในแผนการลงทุนล่าสุดต่อไปจนกว่ากองทุนจะจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมายหรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด ข้อ ๑๒ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย วิกฤติเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์อื่นทำนองเดียวกันที่ทำให้กองทุนไม่สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกไว้ หรือไม่สามารถซื้อขายได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม หรือถ้ากองทุนจะซื้อขายหลักทรัพย์ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกแล้วจะส่งผลเสียหายต่อกองทุนหรือสมาชิก กองทุนอาจระงับหรือชะลอการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกแผนใดแผนหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราวได้ตามความจำเป็น และเมื่อกองทุนดำเนินการดังกล่าว กองทุนจะประกาศให้สมาชิกทราบ โดยสมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนและค่าเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการและเหตุผลความจำเป็นให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า ข้อ ๑๓ กองทุนอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนจากสมาชิกได้ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๓ การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๔ กองทุนจะจัดให้มีข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกเผยแพร่ให้สมาชิกทราบผ่านสื่อต่าง ๆ ตามที่เลขาธิการเห็นสมควร ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการลงทุน (๒) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการเลือกแผนการลงทุน (๓) ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของแผนการลงทุนแต่ละแผนและหลักทรัพย์แต่ละประเภท (๔) สัดส่วนการลงทุนและส่วนเบี่ยงเบนของแผนการลงทุน หมวด ๔ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๕ การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกเข้าบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๖ บรรดามติคณะกรรมการหรือมติคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนที่เกี่ยวกับแผนการลงทุนที่มีอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีผลใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๑๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718765
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุนการให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุนและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. 2553
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรออกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๐ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓” ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “เงินสะสม” หมายความว่า เงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุนตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ทั้งส่วนที่สมาชิกสะสมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงและส่วนที่สมาชิกส่งเกินกว่าอัตราดังกล่าว (ถ้ามี) “แผนการลงทุน” หมายความว่า แผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกแต่ละคน เฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว ซึ่งกองทุนจัดให้มีขึ้นเพื่อให้สมาชิกแต่ละคนมีสิทธิเลือกลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ “สัดส่วนการลงทุน” หมายความว่า สัดส่วนของหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ที่ลงทุนในแต่ละแผนการลงทุน “ส่วนเบี่ยงเบน” หมายความว่า ขอบเขตสำหรับการเพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนที่กองทุนสามารถใช้ในการบริหารแผนการลงทุน “ตราสารทุน” หมายความว่า ตราสารที่บริษัทจำกัดออกให้แก่ผู้ถือเพื่อแสดงสิทธิของความเป็นเจ้าของในกิจการนั้น เช่น หุ้นสามัญ (Common Stocks หรือ Ordinary Shares) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stocks) ใบสำคัญแสดงสิทธิในหุ้น (Stock Warrants) หน่วยลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุน และตราสารแสดงสิทธิ์ในอนุพันธ์ที่มีหลักทรัพย์อ้างอิงเป็นหุ้น (Stock Options & Futures) เป็นต้น “ตราสารแสดงสิทธิในหนี้” หมายความว่า ตราสารทางการเงินที่แสดงความเป็นหนี้ระหว่างกันที่สามารถเปลี่ยนมือได้ เช่น พันธบัตร ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หุ้นกู้ รวมทั้งตราสารอื่น ๆ ที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน “วันทำการ” หมายความว่า วันทำการของกองทุน หมวด ๑ การจัดให้มีแผนการลงทุน ข้อ ๓ กองทุนจัดให้มีแผนการลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุน ดังนี้ (๑) “แผนหลัก” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ (๒) “แผนผสมหุ้นทวี” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่นเดียวกับแผนหลัก แต่มีการลงทุนในตราสารทุนมากกว่าแผนหลัก (๓) “แผนตราสารหนี้” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าว (๔) “แผนตลาดเงิน” เป็นแผนการลงทุนที่มีการลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์อันเป็นหรือเกี่ยวข้องกับเงินฝาก ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ รวมทั้งธุรกรรมทางการเงินอื่นที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์ดังกล่าวที่จะครบกำหนดชำระคืนไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงทุน นโยบายและสัดส่วนการลงทุนของแต่ละแผนการลงทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายประกาศนี้ ให้กองทุนจัดการเงินของกองทุนที่ลงทุนในแผนการลงทุนตาม (๒) (๓) และ (๔) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๗๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยอนุโลม ข้อ ๔ ให้คณะกรรมการกำหนดส่วนเบี่ยงเบนที่เหมาะสมสำหรับแผนการลงทุนแต่ละแผนเพื่อให้กองทุนใช้ในการบริหารแผนการลงทุน ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อรักษาประโยชน์ของสมาชิกหรือกองทุน หรือเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่สมาชิกหรือกองทุน ให้กองทุนสามารถปรับสัดส่วนการลงทุนเกินไปกว่าส่วนเบี่ยงเบนที่คณะกรรมการกำหนดไว้ได้ แต่ให้กองทุนปรับสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ภายในส่วนเบี่ยงเบนที่กำหนดโดยเร็วเมื่อความจำเป็นดังกล่าวสิ้นสุดลง ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการดังกล่าวให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า หมวด ๒ การเลือกและการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิก ข้อ ๕ เมื่อประกาศนี้มีผลใช้บังคับ กองทุนจะนำเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกทุกรายไปลงทุนในแผนหลักโดยได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตามอัตราผลตอบแทนของแผนหลักจนกว่าสมาชิกจะใช้สิทธิเลือกแผนการลงทุนตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ข้อ ๖ สมาชิกมีสิทธิแสดงเจตนาให้กองทุนนำเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของตนเฉพาะในส่วนของเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวทั้งหมดที่สมาชิกมีอยู่แล้วในวันที่แสดงเจตนาและที่จะมีขึ้นในอนาคตไปลงทุนในแผนการลงทุนแผนใดแผนหนึ่งโดยได้รับอัตราผลตอบแทนตามแต่ละแผนการลงทุน การแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิก รวมทั้งการจัดการลงทุนของกองทุนตามประกาศนี้ ถือว่ามีความเสี่ยงตามหลักการของการลงทุน ซึ่งสมาชิกอาจได้รับอัตราผลตอบแทนแตกต่างไปจากความคาดหวัง ณ วันที่สมาชิกแสดงเจตนา โดยอัตราผลตอบแทนที่จัดสรรให้แก่สมาชิกจะขึ้นอยู่กับอัตราผลตอบแทนในแต่ละแผนการลงทุน ดังนั้นการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกจะต้องมีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการตัดสินใจอย่างรอบคอบก่อนการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๗ ในการใช้สิทธิเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน สมาชิกจะต้องแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนตามแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่เลขาธิการกำหนด แล้วจัดส่งแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวให้แก่กองทุนทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือนำมายื่นให้แก่กองทุนโดยไม่ต้องผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด ซึ่งกองทุนจะถือเอาวันที่กองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์ดังกล่าวของสมาชิกที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นวันที่ได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก ข้อ ๘ เมื่อกองทุนได้รับแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกที่ถูกต้องครบถ้วนแล้ว กองทุนจะจัดการลงทุนในแผนการลงทุนตามความประสงค์ของสมาชิกในวันที่ ๒๕ ของเดือนถัดจากเดือนที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาของสมาชิก เว้นแต่กรณีที่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดทำการของกองทุน ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการถัดไป หรือกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้กองทุนไม่สามารถดำเนินการในวันดังกล่าวได้ ให้กองทุนดำเนินการในวันทำการแรกเมื่อเหตุสุดวิสัยนั้นสิ้นสุดลง กรณีที่สมาชิกจัดส่งแบบแสดงความประสงค์เลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนที่ถูกต้องครบถ้วนหลายฉบับ กองทุนจะดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกที่กองทุนได้รับการแสดงเจตนาครั้งหลังสุด เว้นแต่กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิก กองทุนสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของการแสดงเจตนาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกก่อนดำเนินการให้เป็นไปตามความประสงค์ที่ถูกต้องของสมาชิกต่อไป ข้อ ๙ สมาชิกมีสิทธิเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนได้ปีละ ๒ ครั้ง สิทธิของสมาชิกในการเลือกและเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนสิ้นสุดลงเมื่อกองทุนได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรหรือผ่านระบบสารสนเทศที่กองทุนกำหนดจากส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงตามกฎหมายแล้ว ข้อ ๑๐ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกรายใดสิ้นสุดลง และกองทุนยังไม่ได้จ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมายหรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด กองทุนจะยังคงบริหารเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกรายนั้นในแผนการลงทุนล่าสุดต่อไปจนกว่ากองทุนจะจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่ผู้ที่มีสิทธิรับเงินจากกองทุนตามกฎหมายหรือโอนเงินไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือการชราภาพตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกรายใดสิ้นสุดลง และกองทุนได้รับการแสดงเจตนาโดยปรากฏหลักฐานถูกต้องครบถ้วนจากผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินรายใดให้กองทุนบริหารเงินที่ยังไม่รับคืนต่อไป กองทุนจะนำเงินทั้งหมดที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินรายนั้นไปลงทุนในแผนหลักภายใน ๗ วันทำการ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย วิกฤติเศรษฐกิจ หรือเหตุการณ์อื่นทำนองเดียวกันที่ทำให้กองทุนไม่สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกไว้ หรือไม่สามารถซื้อขายได้ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรม หรือถ้ากองทุนจะซื้อขายหลักทรัพย์ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกแสดงเจตนาเลือกแล้วจะส่งผลเสียหายต่อกองทุนหรือสมาชิก กองทุนอาจระงับหรือชะลอการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกแผนใดแผนหนึ่งหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราวได้ตามความจำเป็น และเมื่อกองทุนดำเนินการดังกล่าว กองทุนจะประกาศให้สมาชิกทราบ โดยสมาชิกไม่มีสิทธิเรียกร้องผลประโยชน์ตอบแทนและค่าเสียหายจากการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ให้กองทุนรายงานการดำเนินการและเหตุผลความจำเป็นให้คณะกรรมการทราบโดยมิชักช้า ข้อ ๑๒ กองทุนอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับการเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนจากสมาชิกได้ตามอัตราที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๓ การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน ข้อ ๑๓ กองทุนจะจัดให้มีข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญและจำเป็นต่อการพิจารณาเลือกหรือเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุนของสมาชิกเผยแพร่ให้สมาชิกทราบผ่านสื่อต่าง ๆ ตามที่เลขาธิการเห็นสมควรซึ่งข้อมูลดังกล่าวอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ข้อมูลเกี่ยวกับแผนการลงทุน (๒) เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการเลือกแผนการลงทุน (๓) ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงของแผนการลงทุนแต่ละแผนและหลักทรัพย์แต่ละประเภท (๔) สัดส่วนการลงทุนและส่วนเบี่ยงเบนของแผนการลงทุน หมวด ๔ บทเบ็ดเตล็ด ข้อ ๑๔ การคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิของแผนการลงทุน และการบันทึกเข้าบัญชีเงินรายบุคคลตามแผนการลงทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๓ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดให้มีแผนการลงทุน การเลือกแผนการลงทุน การให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกแผนการลงทุน และการเปลี่ยนแปลงแผนการลงทุน พ.ศ. ๒๕๕๓ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๑๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
715766
รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานของผู้สอบบัญชี[๑] เสนอ สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย และของเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามลำดับ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกองทุน ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ งบรายได้ค่าใช้จ่ายรวมและงบรายได้ค่าใช้จ่ายเฉพาะกองทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิรวม และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิเฉพาะกองทุน และงบกระแสเงินสดรวม และงบกระแสเงินสดเฉพาะกองทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกัน รวมถึงหมายเหตุสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญและหมายเหตุเรื่องอื่น ๆ ความรับผิดชอบของผู้บริหารต่องบการเงิน ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำและการนำเสนองบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนเหล่านี้ โดยถูกต้องตามที่ควรตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และรับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมภายในที่ผู้บริหารพิจารณาว่าจำเป็นเพื่อให้สามารถจัดทำงบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนที่ปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ความรับผิดชอบของผู้สอบบัญชี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนดังกล่าวจากผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชี ซึ่งกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ รวมถึงวางแผนและปฏิบัติงานตรวจสอบเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนปราศจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาซึ่งหลักฐานการสอบบัญชีเกี่ยวกับจำนวนเงินและการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน วิธีการตรวจสอบที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้สอบบัญชี ซึ่งรวมถึงการประเมินความเสี่ยงจากการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญของงบการเงิน ไม่ว่าจะเกิดจากการทุจริตหรือข้อผิดพลาด ในการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวผู้สอบบัญชีพิจารณาการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำและการนำเสนองบการเงิน โดยถูกต้องตามที่ควรของกองทุน เพื่อออกแบบวิธีการตรวจสอบที่เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความเห็นต่อประสิทธิผลของการควบคุมภายในของกองทุน การตรวจสอบรวมถึงการประเมินความเหมาะสมของนโยบายการบัญชีที่ผู้บริหารใช้และความสมเหตุสมผลของประมาณการทางบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้บริหาร รวมทั้งการประเมินการนำเสนองบการเงินโดยรวม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเชื่อว่าหลักฐานการสอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับเพียงพอและเหมาะสมเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการแสดงความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ความเห็น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่า งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกองทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย และของเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามลำดับ ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ และผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกองทุนและกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกองทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันโดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน อดิศร พัววรานุเคราะห์ ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบการเงินที่ ๘ ประชุม พรบุตรไชย นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดินชำนาญการ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการกลุ่ม [เอกสารแนบท้าย] ๑. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๕ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ภีราพร/ผู้ตรวจ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๖/๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๗
679599
รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รายงานของผู้สอบบัญชี รายงานของผู้สอบบัญชี[๑] เสนอ สมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบงบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกองทุน ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๓ งบรายได้ค่าใช้จ่ายรวมและงบรายได้ค่าใช้จ่ายเฉพาะกองทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิเฉพาะกองทุน และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกองทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย และของเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตามลำดับซึ่งผู้บริหารของกองทุนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลในงบการเงินเหล่านี้ส่วนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้รับผิดชอบในการแสดงความเห็นต่องบการเงินดังกล่าว จากผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินมิได้ตรวจสอบงบการเงินของบริษัทย่อยบางกิจการซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินรวม โดยงบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวแสดงยอดรวมสินทรัพย์ หนี้สินรายได้และค่าใช้จ่ายงวดปี ๒๕๕๔ จำนวน ๘,๒๓๒.๒๙ ล้านบาท ๒๓๐.๕๑ ล้านบาท ๗.๒๔ ล้านบาทและ ๔๖๘.๐๕ ล้านบาท ตามลำดับและงวดปี ๒๕๕๓ จำนวน ๓๔,๐๖๗.๙๐ ล้านบาท ๓๑๓.๕๗ ล้านบาท ๑,๐๘๑.๗๐ ล้านบาทและ ๕๔๔.๘๖ ล้านบาท ตามลำดับ งบการเงินของบริษัทย่อยดังกล่าวตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชีอื่น โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับรายงานของผู้สอบบัญชีนั้นและความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเงินของรายการต่าง ๆ ของบริษัทย่อยดังกล่าวซึ่งรวมอยู่ในงบการเงินรวมได้ถือตามรายงานของผู้สอบบัญชีอื่นนั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ปฏิบัติงานตรวจสอบตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่รับรองทั่วไป ซึ่งกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินต้องวางแผนและปฏิบัติงานเพื่อให้ได้ความเชื่อมั่นอย่างมีเหตุผล ว่างบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญหรือไม่ การตรวจสอบรวมถึงการใช้วิธีการทดสอบหลักฐานประกอบรายการทั้งที่เป็นจำนวนเงินและเปิดเผยข้อมูลในงบการเงิน การประเมินความเหมาะสมของหลักการบัญชีที่กองทุนใช้และประมาณการเกี่ยวกับรายการทางการเงินที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งผู้บริหารเป็นผู้จัดทำขึ้นตลอดจนการประเมินถึงความเหมาะสมของการแสดงรายการที่นำเสนอในงบการเงินโดยรวม สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเชื่อว่า การตรวจสอบดังกล่าวประกอบกับรายงานของผู้สอบบัญชีอื่นที่กล่าวถึงในวรรคแรกให้ข้อสรุปที่เป็นเกณฑ์อย่างเหมาะสมในการแสดงความเห็นของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จากผลการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและรายงานของผู้สอบบัญชีอื่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเห็นว่างบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกองทุนข้างต้นนี้แสดงฐานะการเงินรวมและฐานะการเงินเฉพาะกองทุน ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๓ ผลการดำเนินงานรวมและผลการดำเนินงานเฉพาะกองทุนและกระแสเงินสดรวมและกระแสเงินสดเฉพาะกองทุนสำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปีของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย และของเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โดยถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป รุ่งนภา เจริญคุณวิวัฏ ผู้อำนวยการสำนัก มนัสนันท์ ปราบศากุน ผู้อำนวยการกลุ่ม [เอกสารแนบท้าย] ๑. งบแสดงฐานะการเงินรวมและงบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกองทุน ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ และ ๒๕๕๓ งบรายได้ค่าใช้จ่ายรวมและงบรายได้ค่าใช้จ่ายเฉพาะกองทุนงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิรวมและงบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิเฉพาะกองทุน และงบกระแสเงินสดรวมและงบกระแสเงินสดเฉพาะกองทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันเดียวกันของแต่ละปี ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและบริษัทย่อย และของเฉพาะกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โชติกานต์/ผู้จัดทำ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๑๘ มกราคม ๒๕๕๖ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๑๔๘ ง/หน้า ๔/๒๗ ธันวาคม ๒๕๕๕
649769
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์ที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจลงทุนได้
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์ที่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจลงทุนได้[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๓) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ กำหนดให้หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ เป็นหลักทรัพย์อื่นตามข้อ ๕ (๓) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๓ และถือเป็นหลักทรัพย์ตามข้อ ๕ (๒) ซึ่งลงทุนได้ไม่เกินร้อยละสี่สิบของเงินกองทุน (๑) ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์หรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (๒) ตราสารหนี้ที่อ้างอิงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (๓) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์หรือหลักทรัพย์ตาม (๑) หรือ (๒) ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๔๐/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔
642836
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๑๖) พ.ศ. ๒๔๙๔ และมาตรา ๕๘ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงกำหนดแบบและวิธีการแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ ให้ข้าราชการหรือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญจัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบ ๑ ท้ายประกาศนี้ จำนวนสองฉบับมีข้อความตรงกัน ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ แล้วแต่กรณี หากไม่สามารถไปยื่นด้วยตนเองได้ให้ทำหนังสือมอบฉันทะตามแบบท้ายประกาศนี้ เพื่อให้ผู้รับมอบฉันทะไปยื่นแทนได้ หนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่งต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ชื่อ และนามสกุลของผู้รับบำเหน็จตกทอดให้ชัดเจน ในกรณีที่แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดเกินหนึ่งคน ให้กำหนดส่วนที่ผู้รับบำเหน็จตกทอดแต่ละคนจะมีสิทธิได้รับให้ชัดเจนด้วย หากไม่ได้กำหนดส่วนไว้ ให้ถือว่าผู้รับบำเหน็จตกทอดทุกคนที่ระบุไว้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดในส่วนที่เท่ากัน ข้อ ๓ ให้หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลในหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด แล้วลงลายมือชื่อในหนังสือแสดงเจตนาทั้งสองฉบับ ณ วันที่มีการยื่นหนังสือแสดงเจตนานั้น ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้ข้าราชการในสังกัดรับผิดชอบเพื่อดำเนินการดังกล่าวแทนก็ได้ ข้อ ๔ หนังสือแสดงเจตนาที่ได้ดำเนินการตามข้อ ๓ แล้ว ให้ผู้แสดงเจตนาเก็บรักษาไว้หนึ่งฉบับ ส่วนอีกฉบับหนึ่งให้เก็บรักษาไว้ในสมุดประวัติ แฟ้มประวัติ หรือแฟ้มข้อมูลการรับเบี้ยหวัดบำนาญของผู้นั้น เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณาสั่งจ่ายบำเหน็จตกทอดต่อไป หากมีการโอนเบี้ยหวัดบำนาญไปเบิกจ่ายที่ใด ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญส่งหนังสือแสดงเจตนาพร้อมแฟ้มข้อมูลให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญแห่งใหม่เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๕ ข้าราชการหรือผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขหนังสือแสดงเจตนาที่ได้ทำไว้แล้ว ให้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามแบบ ๒ ท้ายประกาศนี้จำนวนสองฉบับมีข้อความตรงกัน ยื่นต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดหรือต่อส่วนราชการผู้เบิกเบี้ยหวัดบำนาญ แล้วแต่กรณี และให้ดำเนินการตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ต่อไป ข้อ ๖ ในกรณีที่ผู้รับการแสดงเจตนารายใดถึงแก่ความตายก่อนผู้แสดงเจตนา ให้นำส่วนของผู้รับการแสดงเจตนานั้นไปแบ่งให้แก่ผู้รับการแสดงเจตนาที่ยังมีชีวิตอยู่ ตามส่วนที่กำหนดไว้ในหนังสือแสดงเจตนา ข้อ ๗ การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดตามข้อ ๒ และข้อ ๕ ให้มีผลนับแต่วันที่ได้ยื่นหนังสือแสดงเจตนา ข้อ ๘ หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดที่ได้ทำตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ลงวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๓๙ ไว้ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ ให้ใช้บังคับได้ต่อไปตามประกาศนี้ แต่ถ้าหนังสือดังกล่าวมีเนื้อหาในสาระสำคัญขัดหรือแย้งกับประกาศนี้ ให้จัดทำหนังสือแสดงเจตนาใหม่ตามประกาศนี้ ข้อ ๙[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ กรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด (แบบ ๑) ๒. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด (แบบ ๒) ๓. ใบมอบฉันทะ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔ ณัฐวดี/ตรวจ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๔ ง/หน้า ๒๑/๑๔ มกราคม ๒๕๕๔
617049
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชชการของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการคืนเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ของข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ และมาตรา ๓๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “ข้าราชการ” หมายความว่า ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่และผู้ที่เคยเป็นสมาชิกซึ่งโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นและโอนกลับเข้ารับราชการใหม่ ข้อ ๒ ข้าราชการที่กลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา ๓๘ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับให้แจ้งความประสงค์ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เพื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดลงนามและนำส่งกองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการใหม่ ข้อ ๓ ข้าราชการซึ่งได้รับหรือมีสิทธิได้รับบำนาญ และได้รับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุนไปแล้ว หากประสงค์จะนับเวลาราชการต่อเนื่อง ให้คืนเงินที่ได้รับไปทั้งจำนวนแก่กองทุนตามจำนวนที่กองทุนแจ้ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ เว้นแต่ขณะออกจากราชการยังไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ถือว่ากองทุนได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ข้อ ๔ ข้าราชการซึ่งกลับเข้ารับราชการใหม่ที่ประสงค์จะส่งเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วแก่กองทุนเพื่อให้กองทุนนำไปลงทุนหาผลประโยชน์ต่อไป ให้ส่งคืนเงินดังกล่าวแก่กองทุนตามจำนวนที่กองทุนแจ้ง ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ เว้นแต่ขณะออกจากราชการยังไม่ได้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ถือว่ากองทุนได้รับเงินจำนวนดังกล่าวแล้ว ข้อ ๕ ให้กองทุนแจ้งรายละเอียดยอดเงินที่ต้องนำส่งและวิธีการคืนเงินให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดและสมาชิกทราบภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบตามข้อ ๒ ถูกต้องครบถ้วน เมื่อกองทุนได้รับชำระเงินดังกล่าวจากสมาชิกแล้ว ให้กองทุนจัดส่งเอกสารหลักฐานการรับเงินให้แก่สมาชิกผู้นั้น พร้อมสำเนาให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเพื่อจัดเก็บเป็นหลักฐานและบันทึกไว้ในสมุดหรือแฟ้มประวัติของข้าราชการรายนั้น ข้อ ๖ การคำนวณผลประโยชน์จากการคืนเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว หรือการส่งเงินสะสม เงินสมทบและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวที่ได้รับไปแล้วจะเริ่มคำนวณนับแต่วันที่กองทุนได้รับเงินเข้าบัญชีแล้ว ข้อ ๗ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการและกลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ แต่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้แจ้งความประสงค์ตามข้อ ๒ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ ใช้บังคับ และให้คืนเงินตามข้อ ๓ และข้อ ๔ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๕๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617047
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๖๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เว้นแต่จะกำหนดไว้ในข้อนั้น ๆ “ผู้แจ้งความประสงค์” หมายความว่า ผู้ที่สิ้นสุดสมาชิกภาพจากการเป็นสมาชิก และประสงค์ให้กองทุนบริหารเงินส่วนของตนต่อไป ข้อ ๓ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการดังนี้ (๑) แจ้งข้อมูลและเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกให้กองทุนทราบทันที หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด (๒) แจ้งให้สมาชิกผู้นั้น หรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกผู้นั้น ยื่นขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๔ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากราชการ มีสิทธิเลือกดังนี้ ๔.๑ ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับทั้งจำนวน ๔.๒ ขอโอนเงินที่มีสิทธิได้รับไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการออกจากงานหรือการชราภาพ ๔.๓ ขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อ ๔.๔ ขอทยอยรับเงินที่มีสิทธิได้รับ ๔.๕ ขอรับเงินที่มีสิทธิได้รับบางส่วน ส่วนที่เหลือขอทยอยรับ ในการขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ ๔.๓ และข้อ ๔.๔ ต้องมียอดเงินในบัญชีไม่ต่ำกว่า ๓๕,๐๐๐ บาท ณ วันที่ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ในการขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ ๔.๕ ต้องมียอดเงินส่วนที่เหลือขอทยอยรับในบัญชีไม่ตํ่ากว่า ๓๕,๐๐๐ บาท ณ วันที่ยื่นคำขอ โดยมีเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วน การขอทยอยรับ ต้องรับเป็นรายงวด ๆ ละเท่า ๆ กัน โดยอาจเลือกรับเป็นราย ๑ เดือน ๓ เดือน ๖ เดือน หรือ ๑ ปี ก็ได้ แต่ต้องมีจำนวนเงินขั้นต่ำรายงวดไม่ต่ำกว่างวดละ ๓,๐๐๐ บาท ให้ผู้ขอใช้สิทธิเลือกตามข้อ ๔.๓ - ๔.๕ แจ้งความประสงค์ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๕ แบบขอรับเงินจากกองทุนและแบบแจ้งความประสงค์ ให้จัดทำขึ้นเป็นสองชุด เป็นต้นฉบับ ๑ ชุด และสำเนา ๑ ชุด โดยให้ยื่นแบบดังกล่าวพร้อมกับเอกสารหลักฐานตามข้อ ๗ ที่กำหนดในประกาศนี้ ต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัดเพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน แล้วส่งต้นฉบับไปยังกองทุน สำหรับสำเนาแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเก็บไว้เป็นหลักฐานและสำเนาแบบแจ้งความประสงค์ให้ผู้แจ้งความประสงค์เก็บไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๖ การตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการ ดังนี้ (๑) ตรวจสอบว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จ หรือบำนาญหรือไม่ หรือขอรับบำนาญในระหว่างสอบสวนทางวินัย (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน โดยสำเนาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จะต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือสมาชิก หรือผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ข้อ ๗ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุนดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังนี้ (๑.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกเป็นผู้ขอรับเงิน (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๑.๒) สำเนาคำสั่ง หรือประกาศออกจากราชการ (๑.๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) (๑.๔) สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) (๑.๕) สำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราว หรือรับรองการสอบวินัยถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลพร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้น (กรณีเลือกรับบำนาญและการสอบสวนทางวินัยถึงที่สุด) (๑.๖) แบบแจ้งความประสงค์ให้กองทุนบริหารต่อ หรือขอทยอยรับเงิน (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด กรณีผู้แจ้งความประสงค์ตาม ๔.๓ - ๔.๕ แล้วแต่กรณี) (๒) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้วแต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน และในกรณีของผู้รับพินัยกรรมให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกด้วย โดยการยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินดังนี้ (๒.๑) กรณีเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้ (๒.๑.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๒.๑.๒) คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก (๒.๑.๓) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๒.๒) กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐานดังนี้ (๒.๒.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกถึงแก่ความตาย (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๒.๒.๒) สำเนาใบมรณบัตร (๒.๒.๓) สำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีผู้ตายมีคู่สมรส) (๒.๒.๔) แบบบันทึกสอบปากคำ (ป.ค. ๑๔) ที่ออกโดยกรมการปกครองหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร (๒.๒.๕) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ทั้งนี้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องดำเนินการให้ผู้มีชื่อตามแบบ ป.ค. ๑๔ และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลงลายมือชื่อในแบบขอรับเงินจากกองทุนให้ถูกต้องครบถ้วนทุกราย หากผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าวลงลายมือชื่อไม่ครบทุกราย กองทุนจะจ่ายเงินให้ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ข้อ ๘ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตาม ข้อ ๕ ข้อ ๖ และข้อ ๗ ให้แล้วเสร็จ และส่งแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้กองทุนภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบขอรับเงินพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควร เพื่อให้กองทุนจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามแบบขอรับเงินต่อไป ข้อ ๙ กองทุนจะบริหารเงินของผู้แจ้งความประสงค์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การบริหารเงินของผู้แจ้งความประสงค์ตามวรรคหนึ่ง กองทุนจะดำเนินการภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบขอรับเงินจากกองทุนและแบบแจ้งความประสงค์พร้อมเอกสารหลักฐานถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อ ๑๐ ผู้แจ้งความประสงค์ตาม ๔.๓ - ๔.๕ ผู้ใดมีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินหรือความถี่ในการขอรับเงินคืน ให้แจ้งเปลี่ยนแปลงได้ปีละหนึ่งครั้งตามปีปฏิทิน ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินและหรือความถี่ในการขอรับเงินคืนนอกเหนือจากที่กำหนด ให้เลขาธิการพิจารณาเป็นรายกรณี การเปลี่ยนแปลงตามวรรคหนึ่ง จะมีผลเมื่อกองทุนได้แจ้งยืนยันการเปลี่ยนแปลงให้ผู้แจ้งความประสงค์ทราบ ข้อ ๑๑ กรณีที่ผู้แจ้งความประสงค์เสียชีวิต กองทุนจะจ่ายเงินที่คงเหลือตามบัญชีเงินรายบุคคลภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับหลักฐานถูกต้องครบถ้วนให้แก่ผู้จัดการมรดกของผู้แจ้งความประสงค์เท่านั้น ข้อ ๑๒ กองทุนจะคิดค่าธรรมเนียมธนาคารในการดำเนินการจากผู้แจ้งความประสงค์ ตามที่เกิดขึ้นจริงในกรณีที่มีค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพิ่มเติม กองทุนจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว โดยจะประกาศให้ผู้แจ้งความประสงค์ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๔๖/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617045
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับราคาหลักทรัพย์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปรับราคาหลักทรัพย์ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๗ ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่ ๑/๒๕๔๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับราคาทรัพย์สินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ลงวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๔๑ ข้อ ๒ ให้มีการปรับราคาหลักทรัพย์ของกองทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม (Fair Value) ตามมาตรฐานการบัญชีเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละครั้ง ข้อ ๓ การปรับราคาหลักทรัพย์เงินลงทุนด้วยมูลค่ายุติธรรม ให้ถือปฏิบัติ ดังนี้ ๓.๑ การปรับราคาหลักทรัพย์เงินลงทุนภายในประเทศ ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ยกเว้นเงินลงทุนใน (๒) ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ ๔๒ เรื่อง การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน (๒) เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกหรือค้ำประกันโดยรัฐบาลในส่วนที่กองทุนมีนโยบายที่จะถือจนครบกำหนดไถ่ถอน ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ ๔๐ เรื่อง การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน ๓.๒ การปรับราคาหลักทรัพย์เงินลงทุนในต่างประเทศ ให้เป็นไปตามมาตรฐานแนวปฏิบัติสากล โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพในการควบคุมความเสี่ยง ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับราคาหลักทรัพย์ตามข้อ ๓.๑ และ ๓.๒ ให้เป็นไปตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด โดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการจัดการลงทุน ข้อ ๔ ให้กองทุนดำรงอัตราส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ให้ถูกต้องทุกวันทำการ หากอัตราส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามที่กำหนดโดยไม่ชักช้า เว้นแต่หลักทรัพย์ที่ลงทุนไว้มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงไปอันเนื่องมาจากราคาตลาด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๔๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617041
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 39 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรค ๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๓๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๐ จึงออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เงินสะสมส่วนเพิ่ม” หมายความว่า เงินสะสมที่สมาชิกประสงค์จะส่งเข้ากองทุนเกินกว่าอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรค ๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๒ สมาชิกที่มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์เป็นอัตราร้อยละของเงินเดือนที่เป็นจำนวนเต็มแบบไม่มีทศนิยมตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดและให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดหักเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับตามอัตราที่สมาชิกแจ้งและส่งเข้ากองทุนในวันที่มีการจ่ายเงินเดือนตั้งแต่เดือนถัดไป ข้อ ๓ สมาชิกที่มีความประสงค์จะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่ม ให้แจ้งความประสงค์ได้ปีละ ๑ ครั้ง ตามแบบที่เลขาธิการกำหนดต่อส่วนราชการเจ้าสังกัดในเดือนธันวาคมของทุกปี และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตามความประสงค์ของสมาชิกผู้นั้นตั้งแต่เดือนมกราคมปีถัดไป กรณีที่สมาชิกมีเหตุจำเป็นจะเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิกอัตราเงินสะสมส่วนเพิ่มแตกต่างไปจากกรณีในวรรคแรก ให้เป็นดุลยพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดที่จะดำเนินการ ข้อ ๔ การนำส่งเงินสะสมส่วนเพิ่มของส่วนราชการ ให้ดำเนินการพร้อมการส่งเงินสะสมตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรค ๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยนำส่งตามกระบวนการและขั้นตอนเดียวกับการส่งเงินสะสมและเงินสมทบตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา ๓๙ วรรค ๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ข้อ ๕ สมาชิกจะมีสิทธิได้รับเงินสะสมส่วนเพิ่มพร้อมผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวเมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๔๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617037
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิกซึ่งออกจากราชชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิก ซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๔ สมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยมีกรณี หรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยก่อนออกจากราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะหย่อนความสามารถ เพราะประพฤติตนไม่เหมาะสมเพราะบกพร่องในหน้าที่ เพราะมีมลทินมัวหมอง หรือมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา และกรณียังไม่ถึงที่สุด สามารถยื่นคำขอรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุนได้ โดยไม่ต้องรอหลักฐานการพิจารณาตอบรับทราบว่ากรณีเป็นการถึงที่สุดแล้วจากส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทั้งนี้ สมาชิกผู้นั้นจะต้องดำเนินการจัดหาทรัพย์สินมาเป็นประกันการรับเงินดังกล่าวให้แก่กองทุน ข้อ ๕ ทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นประกัน จะต้องเป็นทรัพย์สินดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือค้ำประกันของธนาคาร ซึ่งมีวงเงินสูงกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ โดยมีกำหนดเวลาค้ำประกันตลอดระยะเวลาจนกว่ากรณีถึงที่สุด โดยได้มีการตอบรับทราบการลงโทษจากส่วนราชการเจ้าสังกัดของสมาชิกและสมาชิกหมดภาระผูกพันกับกองทุนแล้ว (๒) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งมีราคามูลค่าหน้าตั๋ว (Face Value) สูงกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ และจะต้องจดทะเบียนเป็นประกันการชำระหนี้ตลอดระยะเวลาจนกว่ากรณีถึงที่สุด โดยได้มีการตอบรับทราบการลงโทษจากส่วนราชการเจ้าสังกัดของสมาชิกและสมาชิกหมดภาระผูกพันกับกองทุนแล้ว ในกรณีที่พันธบัตรตามวรรคหนึ่งมีการจ่ายดอกเบี้ยในระหว่างที่กองทุนถือครอง กองทุนจะคืนดอกเบี้ยดังกล่าวแก่สมาชิก ในกรณีที่พันธบัตรครบกำหนดคืนเงินต้น แต่กรณียังไม่ถึงที่สุดและสมาชิกมิได้จัดหาทรัพย์สินอื่นมาเป็นหลักประกันแทน กองทุนจะนำเงินที่ได้รับพร้อมดอกเบี้ยมาชำระคืนแก่กองทุนพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับแต่วันที่ได้รับเงินไป หากมีเงินคงเหลือเป็นจำนวนเท่าใด กองทุนจะคืนให้แก่สมาชิก (๓) อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ ที่ดินมีโฉนด หรือที่ดินมีโฉนดพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรืออาคารชุด หรือห้องชุด ซึ่งจะต้องจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ตลอดระยะเวลาจนกว่ากรณีถึงที่สุดและได้มีการตอบรับทราบการลงโทษจากส่วนราชการเจ้าสังกัดของสมาชิกแล้ว โดยอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาเป็นหลักประกันต้องมีราคาประเมินการเสียภาษีของทางราชการที่มีมูลค่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไม่น้อยกว่าสองเท่า กรณีที่มีสิ่งปลูกสร้างบนอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาเป็นประกัน สมาชิกจะต้องจัดให้มีการประกันภัยสิ่งปลูกสร้างบนอสังหาริมทรัพย์นั้นและระบุให้กองทุนเป็นผู้รับประโยชน์ด้วย ข้อ ๖ สมาชิกจะต้องเข้าทำสัญญาการใช้เงินคืนกับกองทุนตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๗ ในกรณีที่การออกจากราชการถึงที่สุดว่าเป็นประการใด ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดส่งสำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราว หรือรับรองการถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลพร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้นไปให้กองทุนทราบโดยเร็ว ข้อ ๘ สมาชิกที่ได้ทำสัญญาการใช้เงินคืนกับกองทุนและกรณียังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เมื่อกรณีถึงที่สุดแล้วให้ส่วนราชการดำเนินการตามข้อ ๗ ของประกาศฉบับนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. สัญญาการใช้เงินคืน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๙/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617035
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และข้อ ๒ (๒) แห่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินกองทุนย่อยไปลงทุน ลงวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า หมายถึง การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ข้อ ๒ การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องอยู่ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๒.๑ เพื่อบริหารและป้องกันความเสี่ยง (Hedging) กรณีใดกรณีหนึ่งหรือหลายกรณี ดังต่อไปนี้ ๒.๑.๑ ลดความเสี่ยงเงินของกองทุนด้านขนาดของความเสี่ยง (Risk Magnitude) หรือประเภทของความเสี่ยง (Underlying Risk) โดยลงทุนในตราสารอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ กลุ่มหลักทรัพย์ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่สอดคล้องกับสินทรัพย์ในเงินกองทุน ๒.๑.๒ ปรับมูลค่าน้ำหนักความเสี่ยงเงินของกองทุน (ค่า Beta เงินของกองทุนประเภทตราสารทุน หรือ ค่า Effective Duration เงินของกองทุนประเภทตราสารหนี้) ๒.๑.๓ บริหารกระแสเงินสดรับ (Equitizing Cash Flows) ที่มีกำหนดเวลาแน่นอนและจำนวนเงินชัดเจน เช่น เงินรับสมาชิก และเงินปันผล เป็นต้น ๒.๒ เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนให้เป็นไปตามแผนการจัดสรรการลงทุน (Asset Allocation) ๒.๓ เพื่อบริหารผลตอบแทนจากส่วนต่างของราคาระหว่างตลาดซื้อขายปัจจุบันกับตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Arbitrage) กรณีราคาของหลักทรัพย์นั้นไม่เป็นไปตามหลักทฤษฎีอันเกิดจากความไม่สมบูรณ์ของตลาด ข้อ ๓ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ลงทุนจะต้องเกี่ยวข้องกับนโยบายการลงทุน หรือตราสารที่อ้างอิงกับหลักทรัพย์ กลุ่มหลักทรัพย์ หรือดัชนีกลุ่มหลักทรัพย์ที่สอดคล้องกับเงินของกองทุน ทั้งนี้ มิให้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้วยการก่อภาระผูกพันโดยไม่มีหลักทรัพย์มารองรับหรืออ้างอิง เว้นแต่ เป็นการลงทุนโดยมีวัตุประสงค์เพื่อบริหารกระแสเงินสดรับ (Equitizing Cash Flows) ข้อ ๔ การลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะต้องมีจำนวนสัญญา หรือวงเงินไม่เกินสถานะ (Position Limit) ที่ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากำหนด ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ สัญญา หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๕ เมื่อลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแล้ว ให้รายงานผลการลงทุนต่อคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนเพื่อทราบอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๗/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617033
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน พ.ศ. 2549
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การขอรับและการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และมาตรา ๖๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การขอรับ และการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ (๒) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การขอรับ และการตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๒ เมื่อสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการดังนี้ (๑) แจ้งข้อมูลและเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกให้กองทุนทราบทันที หรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบเหตุแห่งการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิก โดยใช้แบบแจ้งสมาชิกพ้นสมาชิกภาพ ตามที่เลขาธิการกำหนด (๒) แจ้งให้สมาชิกผู้นั้น หรือผู้มีสิทธิรับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ หรือผู้จัดการมรดกของสมาชิกผู้นั้น ยื่นขอรับเงินจากกองทุนตามแบบที่เลขาธิการกำหนด ข้อ ๓ แบบขอรับเงินจากกองทุนให้สมาชิกจัดทำขึ้นเป็นสองชุด โดยให้ยื่นแบบคำขอพร้อมกับเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดในประกาศนี้อย่างครบถ้วนต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด เพื่อให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุน แล้วส่งชุดต้นฉบับไปให้สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนสำเนาให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดจัดเก็บไว้เป็นหลักฐานของหน่วยงานนั้น ข้อ ๔ การตรวจสอบสิทธิในการได้รับเงินจากกองทุนของผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการ ดังนี้ (๑) ตรวจสอบว่าผู้นั้นมีสิทธิได้รับบำเหน็จหรือบำนาญหรือไม่ หรือขอรับบำนาญในระหว่างสอบสวนทางวินัย (๒) ตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๕ โดยสำเนาเอกสารหลักฐานต่าง ๆ จะต้องมีการรับรองสำเนาถูกต้องโดยส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือสมาชิก หรือผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิก หรือทายาทของสมาชิก หรือผู้จัดการมรดก แล้วแต่กรณี ข้อ ๕ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงินจากกองทุน ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากออกจากราชการ ให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังนี้ (๑.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกขอรับเงินเอง (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๑.๒) สำเนาคำสั่งหรือประกาศออกจากราชการ (๑.๓) สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี) (๑.๔) สำเนาใบแนบหนังสือสั่งจ่ายบำนาญ (กรณีเลือกรับบำนาญ) (๒) กรณีสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงเนื่องจากถึงแก่ความตาย หรือกรณีสมาชิกซึ่งได้พ้นสมาชิกภาพไปแล้วแต่ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน หรือได้ถึงแก่ความตายไปเสียก่อนได้รับเงินจากกองทุน ให้ผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือผู้จัดการมรดกเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน และในกรณีของผู้มีสิทธิรับมรดกโดยพินัยกรรมให้มีการตั้งผู้จัดการมรดกด้วย โดยการยื่นเรื่องขอรับเงินจากกองทุนให้ใช้เอกสารหลักฐานประกอบการขอรับเงิน ดังนี้ (๒.๑) กรณีเป็นผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้ (๒.๑.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกเสียชีวิต (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๒.๑.๒) คำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก (๒.๑.๓) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) (๒.๒) กรณีที่ไม่มีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ต้องยื่นหลักฐาน ดังนี้ (๒.๒.๑) แบบขอรับเงินจากกองทุน - กรณีสมาชิกเสียชีวิต (ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด) (๒.๒.๒) สำเนาใบมรณบัตร (๒.๒.๓) สำเนาใบทะเบียนสมรส (กรณีผู้ตายมีคู่สมรส) (๒.๒.๔) แบบบันทึกสอบปากคำ (ป.ค. ๑๔) ที่ออกโดยกรมการปกครองหรือสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร (๒.๒.๕) หลักฐานเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ทั้งนี้ ส่วนราชการเจ้าสังกัดจะต้องดำเนินการให้ผู้มีชื่อตามแบบ ป.ค. ๑๔ และเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลงลายมือชื่อในแบบขอรับเงินจากกองทุนให้ถูกต้องครบถ้วนทุกราย หากผู้มีสิทธิรับมรดกดังกล่าว ลงลายมือชื่อไม่ครบทุกราย กองทุนจะจ่ายเงินให้ผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ข้อ ๖ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการตาม ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ ให้แล้วเสร็จและส่งแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้สำนักงานกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการภายในสิบห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับแบบขอรับเงินพร้อมเอกสารหลักฐานครบถ้วนแล้ว เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันสมควรเพื่อให้กองทุนจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตามแบบขอรับเงินต่อไป ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617029
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินเข้ากองทุน ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2549
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการส่งเงินเข้ากองทุน ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ การส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชย เข้ากองทุนให้แก่สมาชิก ในส่วนของเงินเดือนที่สมาชิกได้รับตั้งแต่วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ ให้ส่วนราชการส่งเข้ากองทุน โดยให้นำมาตรา ๓๙ และมาตรา ๔๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม ข้อ ๒ การส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชย เข้ากองทุนให้แก่สมาชิก ในส่วนของเงินเดือนที่สมาชิกได้รับนับแต่วันที่สมาชิกโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น จนถึงวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๒.๑ ให้สมาชิกส่งเงินสะสมทั้งจำนวนเข้ากองทุน ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยส่งผ่านส่วนราชการ ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่สมาชิกไม่อาจส่งเงินสะสมได้ทั้งจำนวนตามวรรคหนึ่ง ให้สมาชิกแสดงความประสงค์เป็นหนังสือตามแบบท้ายประกาศนี้ต่อหัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด เพื่อขอผ่อนชำระหรือยินยอมให้ส่วนราชการหักเงินสะสมจากเงินเดือนเข้ากองทุน เป็นรายงวดตามจำนวนที่แจ้งไว้ในแบบแสดงความประสงค์ที่ยื่นไว้ต่อหัวหน้าส่วนราชการ ทั้งนี้ การขอผ่อนชำระเงินสะสมดังกล่าว ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนวันสิ้นสุดสมาชิกภาพ หรืออย่างช้าที่สุดภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการเจ้าสังกัด ในการเร่งรัดให้สมาชิกดำเนินการตามข้อนี้ ๒.๒ ให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกผู้นั้น ในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมตามข้อ ๒.๑ ๒.๓ ให้ส่วนราชการส่งเงินชดเชยทั้งจำนวนเข้ากองทุนให้แก่สมาชิก ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๓ สมาชิกผู้ใดโอนไปเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นและต่อมาได้ออกจากราชการ หรือโอนกลับเป็นข้าราชการ ซึ่งอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก่อนวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ ให้ผู้นั้นส่งเงินสะสมเข้ากองทุนและให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบและเงินชดเชยเข้ากองทุนให้แก่สมาชิกตามส่วนแห่งเงินเดือนที่สมาชิกผู้นั้นได้รับสำหรับระยะเวลาดังกล่าวทั้งจำนวนภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ในกรณีที่สมาชิกตามวรรคหนึ่งออกจากราชการเพราะถึงแก่ความตาย ให้ผู้จัดการมรดกหรือทายาทดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๔ สมาชิกผู้ใดขอรับเงินกองทุนออกไปแล้วก่อนวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๔๙ แต่ยังคงมีสมาชิกภาพอยู่ต่อไปตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้สมาชิกผู้นั้นคืนเงินที่ได้รับไปแล้วทั้งจำนวนเข้ากองทุน ตามรายละเอียดท้ายประกาศนี้ ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ข้อ ๕ ในกรณีที่สมาชิกมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในประกาศนี้ ให้สมาชิกจัดทำหนังสือชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นเสนอผ่านหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อส่งให้เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. พิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือแสดงความประสงค์ผ่อนชำระเงินเข้ากองทุน/ยินยอมให้หักเงินเดือน ๒. รายละเอียดวิธีการนำส่งเงินคืนกองทุน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๓๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617023
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ (๒) ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ (๒) ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๙ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “การลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่หมายความรวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายในประเทศไทย หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกดังกล่าวเป็นผู้กระทำการแทนธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินไทย หรือเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมหรือการบริหารของนิติบุคคลไทย ข้อ ๓ การลงทุนในต่างประเทศ ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ๓.๑ ประเทศที่ลงทุนต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organization of Securities Commissions (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) ๓.๒ การลงทุนนอกเหนือจากข้อ ๓.๑ สามารถลงทุนได้หากได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ข้อ ๔ หลักทรัพย์ที่ลงทุนได้ มีดังต่อไปนี้ ๔.๑ หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ (ก) เงินฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ข) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (ค) หน่วยลงทุนและใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) หรือ (ข) หลักทรัพย์ตาม (ก) และ (ข) ต้องเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้รับฝากเงิน ผู้ออกตราสาร หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ในกรณีที่ผู้รับฝากเงิน ผู้ออกตราสาร หรือหลักทรัพย์ใดถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนต่ำกว่าระดับดังกล่าว ให้ถือว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์อื่นและให้ดำเนินการตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนดและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ๔.๒ หลักทรัพย์อื่น ได้แก่ (ก) หุ้น (ข) หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้น (ค) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ง) ตราสารอนุพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) โดยหลักทรัพย์ดังกล่าวจะต้องมีการจดทะเบียนซื้อขายหรือมีแผนที่จะจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ประเภทตราสารอนุพันธ์ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนพิจารณาอนุมัติ (จ) ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนหรือการเข้าลงทุนเพื่อแบ่งสรรผลประโยชน์ (Contribution/Participation/Interest) แบบจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วน หรือนิติบุคคลที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน (ฉ) หน่วยลงทุนหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) (ข) (ค) (ง) หรือ (จ) หรือมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนใน Real Estate Investment Trusts (REITs) หรือหลักทรัพย์ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งนี้ ให้รวมถึงหน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในกองทุนอื่นด้วย (Fund of Funds) ๔.๓ หลักทรัพย์ที่นอกเหนือจากหลักทรัพย์ตามข้อ ๔.๑ และ ๔.๒ คณะกรรมการโดยข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนอาจอนุมัติให้ลงทุนได้ โดยให้กำหนดด้วยว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือเป็นหลักทรัพย์อื่น ข้อ ๕ ในการลงทุนในต่างประเทศ อาจทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพื่อบริหารและป้องกันความเสี่ยง บริหารสภาพคล่อง และเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน ดังต่อไปนี้ได้ ๕.๑ ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ๕.๒ ธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives) ที่โยงกับตราสารที่อนุญาตให้ลงทุน ทั้งนี้ ประเภทธุรกรรมอนุพันธ์ให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนพิจารณาอนุมัติ ๕.๓ ธุรกรรมให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Lending) ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง รักษาราชการแทน ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๙/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617017
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๙[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ (๒) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔ แห่งประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ ลงวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๔ ในการลงทุนในต่างประเทศ อาจทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้ ๔.๑ ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง ๔.๒ ธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives) ที่โยงกับตราสารที่อนุญาตให้ลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน ในการนี้ ให้เสนอคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนพิจารณาอนุมัติประเภทธุรกรรมและวงเงินเป็นรายกรณี ๔.๓ ธุรกรรมให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Lending)” ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๘/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617011
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินกองทุนกรณีลงทุนในต่างประเทศ[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ (๒) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การลงทุนในต่างประเทศ” หมายความว่า การลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกตราสารมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่หมายความรวมถึงการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ในประเทศไทย หรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่ผู้ออกตราสารดังกล่าวเป็นผู้กระทำการแทนธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินไทย หรือเป็นนิติบุคคลต่างประเทศที่อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมหรือการบริหารของนิติบุคคลไทย ข้อ ๒ การลงทุนในต่างประเทศให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ ๒.๑ ประเทศที่ลงทุนต้องมีหน่วยงานกำกับดูแลด้านหลักทรัพย์และการซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกสามัญของ International Organizations of Securities Commission (IOSCO) หรือมีตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกของ World Federation of Exchanges (WFE) ๒.๒ ผู้ออกตราสารและผู้รับฝากเงินต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายของประเทศที่มีหน่วยงานตาม ๒.๑ ข้อ ๓ หลักทรัพย์ที่อาจลงทุนได้ มีดังต่อไปนี้ ๓.๑ หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ (ก) เงินฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน (ข) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ (ค) หน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) หรือ (ข) หลักทรัพย์ตามวรรคก่อนต้องเป็นหลักทรัพย์ที่ผู้รับฝากเงิน ผู้ออกตราสาร หรือหลักทรัพย์ที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรก (Investment Grade) จากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ในกรณีที่ผู้รับฝากเงิน ผู้ออกตราสาร หรือหลักทรัพย์ใดถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือจนต่ำกว่าระดับดังกล่าว ให้ถือว่าหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์อื่น และให้ดำเนินการตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนดและรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ หลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงต้องเป็นหลักทรัพย์ที่อยู่ในสกุลเงิน Australian dollar (AUD), Euro (EUR) , Canadian dollar (CAD) , Danish krone (DKK) , Japanese yen (JPY), Swedish krona (SEK) , Swiss franc (CHF) , UK pound (GBP) , US dollar (USD) หรือสกุลเงินอื่นที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด ๓.๒ หลักทรัพย์อื่น ได้แก่ (ก) หุ้นที่มีการซื้อขายหรือมีแผนที่จะมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้น ๆ (ข) หุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ (ค) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (ง) หน่วยลงทุนที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลงทุนในหลักทรัพย์ตาม (ก) (ข) หรือ (ค) การลงทุนในหน่วยลงทุนตาม (ง) ต้องได้รับอนุมัติจากคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนทั้งประเภทของหน่วยลงทุนและวงเงินเป็นรายกรณี การลงทุนในหลักทรัพย์อื่น ให้ลงทุนในประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในระดับ Investment Grade ขึ้นไป และให้ลงทุนในสกุลเงินของดัชนีเทียบวัดที่เป็นมาตรฐานสากล ในกรณีที่ประเทศและสกุลเงินใดถูกถอดถอนจากดัชนีเทียบวัด หรือถูกลดอันดับจากระดับ Investment Grade ให้ดำเนินการตามวิธีการที่คณะอนุกรรมการจัดการลงทุนกำหนด การลงทุนในหลักทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดในวรรคก่อน ให้เสนอคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนพิจารณาเป็นรายกรณี และรายงานคณะกรรมการเพื่อทราบ ๓.๓ หลักทรัพย์ที่นอกเหนือจากหลักทรัพย์ตาม ๓.๑ และ ๓.๒ คณะกรรมการโดยข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนอาจอนุมัติให้ลงทุนได้ ในการนี้ ให้กำหนดด้วยว่าได้จัดให้หลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือเป็นหลักทรัพย์อื่น ข้อ ๔ ในการลงทุนในต่างประเทศ อาจทำธุรกรรมดังต่อไปนี้ด้วยก็ได้ ๔.๑ ธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยง ๔.๒ ธุรกรรมอนุพันธ์ (Derivatives) ที่โยงกับตราสารที่อนุญาตให้ลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุน ในการนี้ ให้เสนอคณะอนุกรรมการจัดการลงทุนพิจารณาอนุมัติประเภทธุรกรรมและวงเงินเป็นรายกรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๕/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
617003
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อขายตราสารแสดงสิทธิในหนี้และหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์การซื้อขายตราสารแสดงสิทธิในหนี้และหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงให้ออกประกาศไว้ ดังนี้ การซื้อขายตราสารแสดงสิทธิในหนี้และหุ้นกู้แปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้กระทำในศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย หรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือซื้อขายกับผู้ลงทุนสถาบัน หรือ ผู้ลงทุนรายใหญ่ ทั้งนี้ ประเภทของผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่ให้เป็นไปตามข้อกำหนดคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๗ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๔/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
616995
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของสมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวของ สมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยกรณียังไม่ถึงที่สุด[๑] อาศัยอำนาจตามความมาตรา ๒๖ (๑) มาตรา ๔๕ และมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ สมาชิกซึ่งออกจากราชการโดยมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยก่อนออกจากราชการ หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเพราะหย่อนความสามารถ เพราะประพฤติตนไม่เหมาะสม เพราะบกพร่องในหน้าที่ เพราะมีมลทินมัวหมอง หรือมีกรณีหรือต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา และกรณียังไม่ถึงที่สุด สามารถยื่นคำขอรับเงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าวจากกองทุนได้ โดยไม่ต้องรอหลักฐานการพิจารณาตอบรับทราบว่ากรณีเป็นการถึงที่สุดแล้วจากส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคล ทั้งนี้ สมาชิกผู้นั้นจะต้องดำเนินการจัดหาทรัพย์สินมาเป็นประกันการรับเงินดังกล่าวให้แก่กองทุนด้วย ข้อ ๒ ทรัพย์สินที่จะนำมาเป็นประกัน จะต้องเป็นทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) หนังสือค้ำประกันของธนาคาร ในวงเงินที่สูงกว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวนเงินที่ได้รับไป มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี (๒) พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังค้ำประกันซึ่งมีราคาตลาดสูงกว่าไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐ ของจำนวนที่ได้รับไป และจะต้องจดทะเบียนเป็นประกันการชำระหนี้ มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี (๓) อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บ้าน ที่ดิน อาคารชุด ห้องชุด ในวงเงินประกันไม่เกินร้อยละ ๗๐ ของราคาประเมินการเสียภาษีของทางราชการ ซึ่งจะต้องสูงกว่าจำนวนเงินที่ได้รับไป และจะต้องจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๓ สมาชิกผู้ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุน จะต้องจัดทำหนังสือสัญญาการใช้เงินคืนตามแบบที่กำหนดให้แก่กองทุนเพื่อเป็นหลักฐานด้วย ข้อ ๔ ในกรณีที่การออกจากราชการถึงที่สุดแล้ว ให้สมาชิกดังกล่าวทำหนังสือยืนยันพร้อมแนบสำเนาหนังสือที่แจ้งเรื่องราวหรือรับรองการถึงที่สุดของส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลพร้อมกับคำสั่งถึงที่สุดนั้นให้กองทุนทราบ ข้อ ๕ เมื่อใกล้จะครบกำหนดระยะเวลา ๓ ปี หากกรณียังไม่ถึงที่สุด ให้สมาชิกดังกล่าวดำเนินการขอขยายเวลาการใช้เงินคืนต่อไปอีกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้นี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ศุภชัย พิศิษฐวานิช ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๒/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
616989
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ 1/2541 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับราคาทรัพย์สินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑/๒๕๔๑ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับราคาทรัพย์สินลงทุน ของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการออกข้อกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้มีการตีราคาทรัพย์สินลงทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเป็นประจำทุกเดือน ข้อ ๒ การตีราคาหรือปรับราคาทรัพย์สินแต่ละประเภทเพื่อประโยชน์ในการดำรงอัตราส่วนการลงทุน ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเช่นเดียวกับกรณีการคำนวณทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมที่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ประกาศกำหนด หรือสมาคมบริษัทจัดการลงทุนประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อ ๓ ในการดำรงอัตราส่วนการลงทุนตามข้อ ๒ จะต้องดำรงอัตราส่วนให้ถูกต้อง ทุกวันทำการหากอัตราส่วนการลงทุนไม่เป็นไปตามที่กำหนดเนื่องจากการลงทุน หรือได้มาเพิ่มเติมจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามที่กำหนด ข้อ ๔ ให้เลขาธิการมีอำนาจกำหนดรายละเอียดในทางปฏิบัติตามประกาศนี้ได้ตามควรแก่กรณี ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์ที่สมาชิกจะได้รับเป็นสำคัญ ประกาศ ณ วันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ศุภชัย พิศิษฐวานิช ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ นันท์นภัสร์/ตรวจ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๕๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๒๑/๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๒
562534
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ 14/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับที่ 2)
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๑๔/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน (ฉบับที่ ๒)[๑] โดยที่เห็นเป็นการสมควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ตามประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน สำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ ๕ ของประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ลงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ “๕. หากสมาชิกตาม ๑. มีความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ ให้สมาชิกกรอกรายการให้ครบถ้วนถูกต้องในแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลังท้ายประกาศนี้จำนวนสองฉบับ และยื่นผ่านส่วนราชการเจ้าสังกัด ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๐ โดยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดดำเนินการเช่นเดียวกับ ๒. พร้อมการยื่นแบบในวรรคก่อน ให้สมาชิกส่งเงินสะสมทั้งจำนวนตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยคำนวณตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๐ จนถึงเดือนก่อนที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดได้เริ่มหักเงินสะสมเข้ากองทุน และให้ส่วนราชการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้สมาชิกผู้นั้นในจำนวนที่เท่ากันพร้อมการส่งเงินสะสมย้อนหลังนั้นโดยใช้แบบนำส่งเงินตามที่กองทุนกำหนด ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม” ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนย้อนหลัง กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๐ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๒๐ ง/หน้า ๔๑/๒๐ กันยายน ๒๕๕๐
553749
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ 2/2550 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน
ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ประกาศกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ที่ ๒/๒๕๕๐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับสมาชิกที่ประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน[๑] โดยที่กระทรวงการคลังได้อนุญาตให้สมาชิกซึ่งเป็นข้าราชการที่รับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ซึ่งไม่ได้แสดงความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเมื่อแรกสมัครเป็นสมาชิก ให้สามารถขอส่งเงินสะสมเข้ากองทุนได้ ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. ให้สมาชิกซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และระบุความประสงค์ในใบสมัครสมาชิก กบข. ว่าไม่ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน หากต้องการเปลี่ยนแปลงความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุน ให้กรอกรายการให้ถูกต้องครบถ้วนในแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนท้ายประกาศนี้จำนวนสองฉบับ ๒. ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าสังกัด หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงลายมือชื่อตรวจสอบรับรองความถูกต้องของรายการในแบบ แล้วส่งต้นฉบับไปยังกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดจัดเก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐานหนึ่งฉบับ ๓. การเปลี่ยนแปลงความประสงค์ของสมาชิกตามข้อ ๑ ให้มีผลนับตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ส่วนราชการเจ้าสังกัดได้รับแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นต้นไป เมื่อสมาชิกได้แจ้งความประสงค์จะส่งเงินสะสมเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่งแล้ว จะขอเปลี่ยนแปลงความประสงค์เป็นไม่ส่งเงินสะสมอีกไม่ได้ ๔. การส่งเงินเข้ากองทุนของสมาชิกตามข้อ ๑ ให้ส่วนราชการเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่ได้รับแบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนจากสมาชิก ทั้งนี้ ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาใช้บังคับ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ วิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบแจ้งความประสงค์ส่งเงินสะสมเข้ากองทุน กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๔๓/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
513709
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๓) (ฌ) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน ลงวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ข้อ ๒ กำหนดให้หลักทรัพย์ดังต่อไปนี้ เป็นหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนได้ (๑) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศ สถาบันการเงินของรัฐบาลต่างประเทศที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น หรือนิติบุคคลอื่นที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมายต่างประเทศ เป็นผู้ออกหรือค้ำประกันซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กำหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง โดยให้ลงทุนได้สถาบันละไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินของกองทุนและเมื่อรวมกันทุกสถาบันแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของเงินของกองทุน (๒) สัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามกฎหมายว่าด้วยสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงินลงทุนหรือเพื่อบริหารและป้องกันความเสี่ยง ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๑๑ ง/หน้า ๒/๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๙
452811
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องหลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของกรรมการ และอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของกรรมการ และอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่าตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ข้อ ๒ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายประโยชน์ตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการ ลงวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (๒) ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายประโยชน์ตอบแทนของกรรมการและอนุกรรมการ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๓ ค่าตอบแทนกรรมการและอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้จ่ายเป็นรายเดือนเฉพาะเดือนที่เข้าประชุม หากเดือนใดไม่มีการประชุมหรือมีการประชุมแต่ไม่เข้าร่วมประชุมให้งดจ่าย อัตราค่าตอบแทนให้เบิกจ่ายในอัตราแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔ ค่าตอบแทนตามประกาศนี้ของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้เบิกจ่ายจากเงินของกองทุน ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง [เอกสารแนบท้าย] ๑. อัตราค่าตอบแทน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ญาณี/พิมพ์ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ พัชรินทร์/ฐิติพงษ์/ตรวจ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๘ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๓/๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
446345
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ อาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุน[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๕ (๓) (ฌ) แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการเงินของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงกำหนดให้ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐบาลต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศหรือสถาบันการเงินระหว่างประเทศเป็นผู้ออกหรือค้ำประกัน ซึ่งได้ดำเนินการภายใต้ข้อผูกพันที่กำหนดและอนุญาตโดยกระทรวงการคลัง เป็นหลักทรัพย์อื่นที่บริษัทจัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการอาจนำเงินของกองทุนย่อยไปลงทุนได้ โดยให้ลงทุนได้สถาบันละไม่เกินร้อยละ ๑๐ ของเงินของกองทุนและเมื่อรวมกันทุกสถาบันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๓๐ ของเงินของกองทุน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ศุภชัย/พิมพ์ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ สุนันทา/นวพร/ตรวจ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๔๗ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๑/๓ กันยายน ๒๕๔๗
441274
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วย และมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ 2)
ประกาศคณะกรรมการกองทุน ประกาศคณะกรรมการกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วย และมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) (ฉบับที่ ๒) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) (๖) มาตรา ๖๗ และมาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงมีมติในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๔๗ ให้ออกประกาศไว้ ดังนี้ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุนและหลักเกณฑ์วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกเป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization) ลงวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ และให้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ให้กองทุนใช้มูลค่าต่อหน่วย ณ สิ้นวันทำการที่คำนวณเพื่อทำรายการสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกในวันทำการถัดไป ในกรณีที่สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ การคำนวณบัญชีรายบุคคลของสมาชิกที่พ้นจากสมาชิกภาพเพื่อประโยชน์ในการจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ให้คำนวณตามหลักเกณฑ์ในวรรคหนึ่งถึงวันที่กองทุนได้ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของคำร้องขอรับเงินและเอกสารหลักฐานแล้ว” ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ สมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ศุภชัย/พิมพ์ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๑๒/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
441146
ประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก เป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization)
ประกาศคณะกรรมการกองทุน ประกาศคณะกรรมการกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุน และหลักเกณฑ์ วิธีการคิดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก เป็นจำนวนหน่วยและมูลค่าต่อหน่วย (Unitization)[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) และ มาตรา ๗๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงออกประกาศไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์เข้าบัญชีสมาชิก ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ และประกาศคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง การจัดสรรผลประโยชน์เข้าบัญชีสมาชิก (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓ ข้อ ๒ ในประกาศนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ “วันคำนวณผลประโยชน์สุทธิของกองทุน” หมายความว่า วันที่ทำการคำนวณหาผลประโยชน์สุทธิของกองทุน “สินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก” หมายความว่า ต้นเงินกองกลาง ต้นเงินรอตรวจสอบ ต้นเงินสะสม ต้นเงินสมทบ ต้นเงินชดเชย ต้นเงินประเดิม และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าวทั้งหมดที่ได้รับการจัดสรรแล้ว “จำนวนหน่วย” หมายความว่า จำนวนหน่วยของสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมด “มูลค่าต่อหน่วย” หมายความว่า มูลค่าต่อหน่วย ซึ่งคำนวณโดยนำมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกหารด้วยจำนวนหน่วยของกองทุนส่วนสมาชิกทั้งหมด ณ วันที่คำนวณมูลค่าต่อหน่วยนั้น “การชดเชยมูลค่า” หมายความว่า ณ วันที่มูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้อง ต้องทำการคำนวณจำนวนหน่วยเพิ่มหรือลดในรายการที่มีการรับเข้าในสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิก หรือการจ่ายเงินซึ่งมีจำนวนเงินเท่ากับส่วนต่างของมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้องแทนการเพิ่มหรือลดจำนวนหน่วย ข้อ ๓ กำหนดให้มูลค่าต่อหน่วยที่ตราไว้ (Par Value) ณ วันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๔ มีมูลค่า ๑๐ (สิบ) บาท ข้อ ๔ ให้กองทุนจัดสรรผลประโยชน์สุทธิเข้าบัญชีเงินกองทุนเป็นรายวัน ดังนี้ ๔.๑ ผลประโยชน์สุทธิของกองทุนรายวัน คำนวณจากผลประโยชน์จากการลงทุน รวมรายได้อื่น ๆ ทุกประเภท หักด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ณ วันนั้นโดยใช้เกณฑ์สิทธิ ๔.๒ ผลประโยชน์จากการลงทุน ให้บันทึกตามเกณฑ์สิทธิเป็นรายวัน โดยรวมรายการกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการวัดมูลค่าเงินลงทุน ๔.๓ รายได้อื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการลงทุน ซึ่งไม่มีนัยสำคัญ ให้ บันทึกในวันทำการสุดท้ายของเดือน ๔.๔ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน ให้บันทึก ตามเกณฑ์สิทธิเป็นรายวัน โดยใช้ค่าเฉลี่ยรายวันจากยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงในงบการเงินของเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ให้ทำการปรับปรุงค่าใช้จ่ายตามที่เกิดขึ้นจริงในวันทำการสุดท้ายของเดือน ๔.๕ ผลประโยชน์สุทธิของกองทุนรายวัน ณ วันที่ทำการคำนวณให้จัดสรรเข้าบัญชีเงินกองทุนแต่ละประเภท ภายใน ๓ วันทำการ นับจากวันคำนวณผลประโยชน์สุทธิของกองทุน ข้อ ๕ การคำนวณมูลค่าต่อหน่วยของสิ้นวันทำการสำหรับกองทุนส่วนสมาชิก เพื่อใช้สำหรับรายการของกองทุนส่วนสมาชิก ให้ทำภายในวันทำการถัดไปนับจากวันจัดสรรผลประโยชน์สุทธิ ข้อ ๖ การใช้ตัวเลขทศนิยมของจำนวนหน่วย และมูลค่าต่อหน่วย ให้กองทุนดำเนินการ ดังต่อไปนี้ ๖.๑ คำนวณจำนวนหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ตัดทิ้ง ๖.๒ คำนวณมูลค่าต่อหน่วยเป็นตัวเลขโดยมีทศนิยมสี่ตำแหน่ง ตั้งแต่ตำแหน่งที่ห้าให้ใช้การปัดเศษตามหลักสากล (มีค่าตั้งแต่ ๕ ให้ปัดขึ้น) ข้อ ๗ ให้กองทุนใช้มูลค่าต่อหน่วยของสิ้นวันทำการที่คำนวณ เป็นมูลค่าต่อหน่วยที่ใช้สำหรับการทำรายการของกองทุนส่วนสมาชิกในวันทำการถัดไป ข้อ ๘ ให้กองทุนประกาศมูลค่าต่อหน่วยอย่างน้อยเดือนละ ๑ ครั้ง ทั้งนี้ ให้รวมถึงการปิดประกาศหน้าสำนักงาน เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบอ้างอิงได้ ข้อ ๙ ในกรณีที่มีมูลค่าต่อหน่วยไม่ถูกต้องแตกต่างจากมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ตั้งแต่ร้อยละ ๐.๕ ขึ้นไปของมูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง ให้ดำเนินการชดเชยมูลค่า เว้นแต่การที่มูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจควบคุมได้ ข้อ ๑๐ การชดเชยมูลค่ากรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องต่ำกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Understate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑๐.๑ ลดจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของกองทุนส่วนสมาชิก ๑๐.๒ จ่ายเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๑ การชดเชยมูลค่ากรณีมูลค่าต่อหน่วยที่ไม่ถูกต้องสูงกว่ามูลค่าต่อหน่วยที่ถูกต้อง (Overstate) ให้ดำเนินการ ดังนี้ ๑๑.๑ เพิ่มจำนวนหน่วยสำหรับรายการรับเข้าของกองทุนส่วนสมาชิก ๑๑.๒ ลดจำนวนเงินที่จ่ายสำหรับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพ ข้อ ๑๒ ประกาศนี้ให้มีผลบังคับใช้ สำหรับการจัดสรรผลประโยชน์สุทธิและการคิดคำนวณมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุนส่วนสมาชิกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป บทเฉพาะกาล ข้อ ๑๓ ในกรณีที่กองทุนยังไม่สามารถจัดสรรผลประโยชน์สุทธิรายวันเข้ากองทุนส่วนสมาชิกได้ ให้ทำการจัดสรรเข้าเป็นรายเดือนในวันทำการสุดท้ายของเดือน แต่ทั้งนี้ ต้องไม่เกินวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๕ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕ สมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ศุภชัย/พิมพ์ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗ นวพร/สุนันทา/ตรวจ ๒ กันยายน ๒๕๔๗ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๕๔ ง/หน้า ๑๐๘/๑๒ พฤษภาคม ๒๕๔๗
309030
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของตราสารแสดงสิทธิในหนี้
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดระดับความน่าเชื่อถือของตราสารแสดงสิทธิในหนี้ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ (๒) (ญ) ของกฎกระทรวงฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศกำหนดให้ระดับของตราสารแสดงสิทธิในหนี้ตามข้อ ๔ (๒) (ญ) คือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในสี่อันดับแรกจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือซึ่งได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕/ตอนพิเศษ ๗๓ ง/หน้า ๑๔/๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๑
318860
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการสมัครเป็นสมาชิก กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๖ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสมัครเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้าราชการซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุน ให้ยื่นใบสมัครโดยกรอกรายการในใบสมัครให้ครบถ้วนและถูกต้องตามหลักฐานของทางราชการ ตามแบบ กบข. ๐๐๑ ท้ายประกาศนี้ ข้าราชการสังกัดส่วนราชการในส่วนกลางให้ยื่นใบสมัครที่กองการเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานบริหารงานบุคคลของส่วนราชการนั้น สำหรับข้าราชการสังกัดส่วนราชการในส่วนภูมิภาคและข้าราชการสังกัดส่วนราชการในส่วนกลางแต่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาคให้ยื่นใบสมัครต่อหน้าหน่วยงานนั้น ให้หน่วยงานตามวรรคสองที่ได้รับใบสมัครเป็นสมาชิกกองทุนจัดทำทะเบียนควบคุมการรับและการส่งใบสมัครไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๒ ข้าราชการซึ่งออกจากราชการเพื่อไปปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการและข้าราชการซึ่งอยู่ในระหว่างร้องทุกข์หรืออุทธรณ์คำสั่งให้ออก ปลดออกหรือไล่ออกจากราชการ ก่อนวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ และกลับเข้ารับราชการเนื่องจากระยะเวลาไปทำการเสร็จสิ้นลง หรือได้กลับเข้ารับราชการเนื่องจากผลของการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นไป ประสงค์จะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนให้ยื่นใบสมัครตามแบบ กบข. ๐๐๑ ท้ายประกาศนี้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กลับเข้ารับราชการ การยื่นใบสมัครเป็นสมาชิกกองทุนของข้าราชการตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามข้อ ๑ โดยอนุโลม ข้อ ๓ ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือหัวหน้าหน่วยงานตามข้อ ๑ วรรคสอง เป็นผู้ตรวจสอบรับรองความถูกต้องของรายการในใบสมัครให้ตรงตามหลักฐานของทางราชการ ข้อ ๔ ให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดรวบรวมใบสมัครเป็นสมาชิกกองทุนของข้าราชการสังกัดส่วนราชการในส่วนกลาง และจัดทำใบนำส่งใบสมัครสมาชิกกองทุนตามแบบ กบข. ๐๐๒ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๒ ฉบับ โดยกรอกรายการให้ครบถ้วนถูกร้อง แล้วเก็บสำเนาไว้เป็นหลักฐาน และจัดทำหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อเพื่อนำส่งใบนำส่งตัวจริง และใบสมัครไปให้สำนักงานกองทุนโดยเร็ว ทั้งนี้ มิให้นำส่งทางไปรษณีย์ ข้อ ๕ ให้หน่วยงานสังกัดส่วนภูมิภาคและหน่วยงานสังกัดส่วนกลางแต่มีสำนักงานอยู่ในส่วนภูมิภาค รวบรวมใบสมัครเป็นสมาชิกกองทุนของข้าราชการและจัดทำใบนำส่ง ใบสมัครสมาชิกกองทุนตามแบบ กบข. ๐๐๒ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๓ ฉบับ โดยกรอกรายการให้ครบถ้วนถูกต้อง เก็บสำเนาใบนำส่งไว้เป็นหลักฐาน ๑ ฉบับ แล้วส่งใบนำส่ง จำนวน ๒ ฉบับพร้อมกับใบสมัครไปให้ส่วนราชการสังกัดโดยเร็ว เมื่อส่วนราชการเจ้าสังกัดได้รับใบนำส่งแบะใบสมัครตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้เก็บสำเนาใบนำส่งไว้เป็นหลักฐาน ๑ ฉบับ และจัดทำหนังสือประทับตราแทนการลงชื่อเพื่อนำส่งไปนำส่งฉบับตัวจริงและใบสมัครไปให้สำนักงานกองทุนโดยเร็ว ทั้งนี้ มิให้นำส่งทางไปรษณีย์ ข้อ ๖ เมื่อสำนักงานกองทุนได้รับเอกสารการสมัครเป็นสมาชิกจากส่วนราชการตามข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้ว ให้สำนักงานกองทุนลงทะเบียนรับเอกสารดังกล่าวให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสารบรรณ ข้อ ๗ ข้าราชการผู้ใดสมัครเป็นสมาชิกกองทุนแล้ว หากภายหลังพบว่าวัน เดือน ปี ที่เข้ารับราชการของข้าราชการผู้นั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงหรือมีการเปลี่ยนแปลงเงินเดือนไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงให้ข้าราชการผู้นั้นดำเนินการแก้ไขโดยใช้แบบ กบข. ๐๐๓ ท้ายประกาศนี้ แล้วส่งให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดตรวจสอบรับรองความถูกต้อง และให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดแจ้งให้สำนักงานกองทุนทราบโดยเร็ว ข้อ ๘ ใบสมัครของข้าราชการที่สำนักงานกองทุนได้รับก่อนหรือภายในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๐ ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นเป็นสมาชิกกองทุนในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ สำหรับใบสมัครของข้าราชการตามข้อ ๒ ให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นเป็นสมาชิกกองทุนตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในใบสมัครเป็นต้นไป ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในประกาศนี้ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โชติกานต์/ปรับปรุง ๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๔/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๒/๒๙ เมษายน ๒๕๔๐
723142
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2550 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงวางระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ สำหรับกรณีที่เป็นการอนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดหา การควบคุมพัสดุ การจำหน่ายพัสดุ การจ้างที่ปรึกษาและการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง “การจัดหา” หมายความว่า การซื้อ การจ้าง การเช่า การแลกเปลี่ยนและการดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา ผู้จัดการกองทุน ผู้เก็บรักษาทรัพย์สินและการจัดทำเอง “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา รวมทั้งการจ้างที่ปรึกษา เพื่อให้บริการด้านการศึกษา สำรวจ ออกแบบ ควบคุมงานและการวิจัย “กบข.” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “คณะกรรมการ กบข.” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เจ้าหน้าที่จัดหา” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสนับสนุนทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับ การแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากเลขาธิการให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดหา ข้อ ๗ การจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้สนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย ข้อ ๘ ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เว้นแต่ กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ให้ผู้มีหน้าที่บันทึกหลักฐานในการดำเนินการ พร้อมทั้งระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หมวด ๒ การจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ส่วนที่ ๑ หน่วยงานผู้รับผิดชอบและผู้มีอำนาจสั่งการ ข้อ ๙ การขออนุมัติหลักการในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้หน่วยงานที่ต้องการใช้พัสดุหรือบริการ หรือการจ้างที่ปรึกษาจัดทำใบขอจัดหา ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาในสายงานที่สังกัด เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่จัดหาเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ การดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเว้นแต่กรณีที่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือเลขาธิการได้พิจารณามอบหมายให้หน่วยงานอื่น ดำเนินการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบนี้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อหน่วยงานนั้นดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้แก่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ก่อนการดำเนินการจัดหาและจ้างที่ปรึกษาทุกครั้ง ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจัดทำรายงานเสนอเลขาธิการ หรือคณะกรรมการ กบข. แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงจะดำเนินการต่อไปได้ ในการจัดหา หรือการจ้างที่ปรึกษาที่ต้องปฏิบัติเป็นปกติประจำ ผู้มีอำนาจสั่งการอาจพิจารณาให้ความเห็นชอบในลักษณะที่เป็นหลักการก็ได้ ข้อ ๑๒[๒] การอนุมัติการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) เลขาธิการ ไม่เกินสามสิบล้านบาท เว้นแต่การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษากับบริษัทหรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติโดยไม่จำกัดวงเงิน (๒) คณะกรรมการ กบข. เกินกว่าสามสิบล้านบาท สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษ ให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาท ข้อ ๑๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ และการสั่งการในกระบวนการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้มีอำนาจสั่งการ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการจะมอบอำนาจให้แก่รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการหรือเทียบเท่าก็ได้ตามความเหมาะสม เว้นแต่ การสั่งการในการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษจะมอบอำนาจมิได้ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ในการประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามและในการพิจารณาของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ เว้นแต่ การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างตามข้อ ๒๙ วรรคสอง ต้องเป็นมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการที่มาประชุม ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่ กบข. ในการดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาจะแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มิใช่พนักงานของ กบข. ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจัดหา หรือจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ในการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการจัดหา หรือกรรมการจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการตรวจรับหรือกรรมการตรวจการจ้าง ส่วนที่ ๒ วิธีการจัดหา ข้อ ๑๔ การจัดหา กระทำได้สี่วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินไม่เกินสองแสนบาท (๒) วิธีสืบราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองแสนบาท แต่ไม่เกินสองล้านบาท (๓) วิธีแข่งขันราคา ให้ดำเนินการตาม (๓.๑) ก่อน หากไม่อาจดำเนินการได้ ให้ดำเนินการตาม (๓.๒) ต่อไป (๓.๑) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองล้านบาทและเป็นพัสดุที่มีคุณลักษณะที่สามารถกำหนดได้แน่นอน มีผู้ขายหรือผู้รับจ้างหลายรายและเป็นพัสดุที่สามารถจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ (๓.๒) วิธีประกวดราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองล้านบาท (๔) วิธีพิเศษ ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองแสนบาทและเมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใด ดังนี้ (๔.๑) การจัดหาที่เร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ กบข. (๔.๒) เป็นวัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือ เพื่อประโยชน์ของ กบข. และจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม (Repeat Order) (๔.๓) การจัดหาที่จำเป็นจะต้องจัดหาจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ หรือการจัดหาที่มีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ หรือการจัดหาเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับพัสดุหรืองานบริการที่ กบข. เคยจัดหามาก่อน (๔.๔) การจัดหาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้างพัสดุหรืองานจ้างนั้นเอง (๔.๕) การจัดหาจากห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ กบข. เป็นหุ้นส่วน หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หรือนิติบุคคลที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นทั้งหมด (๔.๖) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจเพื่อให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ในการจัดหาพัสดุที่ดำเนินการโดยฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเป็นผู้พิจารณาและระบุวิธีการจัดหา ยกเว้น ในกรณีที่หน่วยงานใดประสงค์จะใช้วิธีการจัดหาอื่น หน่วยงานนั้นจะต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจัดหาให้ชัดเจนเสนอผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ข้อ ๑๕ การจัดหาพัสดุ ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้พัสดุเป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพ การดูแลรักษา หรือการใช้ประโยชน์จากพัสดุเป็นสำคัญ หรือในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรให้สามารถจัดหาพัสดุโดยอาจไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการจัดหาก็ได้ ทั้งนี้ ให้ระบุเหตุผลในการดำเนินการให้ชัดเจน วิธีตกลงราคา ข้อ ๑๖ การจัดหาโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาต่อรองราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วสรุปผลรายงานโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของ กบข. เป็นสำคัญ เสนอตามลำดับเพื่อผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาอนุมัติและออกใบสั่งจัดหา หรือใบสั่งจ้างที่ปรึกษา หรือใบสั่งงานอื่นๆ ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด การจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคา ถ้าผู้มีอำนาจสั่งจัดหาเห็นสมควรจะจัดหาโดยวิธีสืบราคาหรือวิธีแข่งขันราคาก็ได้ กรณีที่เป็นการจัดหาที่มีวงเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือเป็นการซื้อจากห้างสรรพสินค้างานนิทรรศการ ผู้ประกอบธุรกิจประเภทค้าส่ง หรือการจัดหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการจัดหาไปก่อนโดยไม่ต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคสามแล้ว ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจสั่งการในโอกาสแรกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เมื่อผู้มีอำนาจสั่งการเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสืบราคา ข้อ ๑๗ การจัดหาโดยวิธีสืบราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาสืบราคาจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรงอย่างน้อยสามราย โดยให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างเสนอราคาตามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่จัดหากำหนดให้ ผู้เสนอราคาแต่ละราย ไม่ต้องเสนอราคาพร้อมกัน แต่เจ้าหน้าที่จัดหาต้องรักษาข้อเสนอของรายที่เสนอมาก่อนเป็นความลับ การพิจารณาตัดสินโดยปกติให้ถือคุณภาพของพัสดุ หรือบริการและราคาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีผู้ขายหรือผู้รับจ้างเสนอราคาไม่ถึงสามราย หากมีเหตุผลความจำเป็น ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหารายงานผู้มีอำนาจสั่งการต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการสืบราคาที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท จะต้องเสนอให้คณะกรรมการจัดหา โดยวิธีสืบราคาพิจารณาผลการสืบราคาซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งขึ้นพิจารณาก่อน การจัดหาพัสดุโดยวิธีสืบราคา ถ้าผู้มีอำนาจสั่งจัดหาเห็นสมควรจะจัดหาโดยวิธีแข่งขันราคาก็ได้ วิธีแข่งขันราคาโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ข้อ ๑๘ การจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (๒) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน (๓) คัดเลือกรายชื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ผ่านมาตรฐานทางเทคนิคขั้นต่ำ (๔) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป วิธีแข่งขันราคาโดยการประกวดราคา ข้อ ๑๙ การจัดหาโดยวิธีประกวดราคา ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการ เพื่อดำเนินการประกวดราคา โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคา (๒) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประกวดราคาให้ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประกวดราคาสามารถเข้าแข่งขันราคาหรือแข่งขันคุณภาพได้อย่างเสรีและเป็นธรรม (๓) ประกาศให้ผู้สนใจทราบโดยเปิดเผยอย่างน้อยห้าวันทำการ และหากเห็นควรจะส่งประกาศและเงื่อนไขการประกวดราคาไปยังผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง หรือโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาหลังปิดการประกาศให้ผู้สนใจทราบจนถึงวันก่อนรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ (๔) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผลการประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เข้าประกวดราคารายใด เสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เข้าประกวดราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผ่อนผันให้เข้าประกวดราคาโดยไม่ตัดสิทธิผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เข้าประกวดราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เข้าประกวดราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผลการประกวดราคารายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป วิธีพิเศษ ข้อ ๒๐ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษ เพื่อพิจารณาต่อรองราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๓ วิธีการจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๒๑ การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้สามวิธี คือ (๑) วิธีตกลง ได้แก่ (๑.๑) การจ้างที่ปรึกษาที่มีค่างานไม่เกินห้าแสนบาท (๑.๒) การจ้างที่เลขาธิการเห็นสมควรให้จ้างที่ปรึกษารายเดิมเพื่อทำงานต่อเนื่อง (๑.๓) การจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด หรือการจ้างในกรณีที่ต้องการรักษาความลับทางธุรกิจ หรือไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือกและเป็นการจ้างที่มีค่าจ้างไม่เกินสามล้านบาท (๑.๔) การจ้างที่คณะกรรมการ กบข. เห็นสมควรให้ใช้ที่ปรึกษารายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่งและต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตาม (๓.๑) และ (๓.๒) ดังนี้ (๓.๑) เป็นการจ้างที่ต้องกระทำโดยจำเป็นเร่งด่วน หากดำเนินการว่าจ้างตามวิธี (๑) และ (๒) จะทำให้เกิดการล่าช้า หรือเกิดความเสียหายแก่ กบข. และ (๓.๒) เป็นการจ้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและต้องการรักษาความลับทางธุรกิจ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้ว ให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ข้อ ๒๒ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้เจ้าหน้าที่จัดหาเป็นผู้ดำเนินการ ในกรณีที่เห็นสมควรเลขาธิการจะแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ และให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา ซึ่งหมายถึงคุณวุฒิและประวัติการทำงาน หรือหลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว และให้หมายความรวมถึงข้อกำหนดอื่นใดที่เจ้าหน้าที่จัดหา หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงกำหนด (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา เมื่อการดำเนินการได้ผลประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหา หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๓ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกเพื่อดำเนินการ และมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาจัดหารายชื่อที่ปรึกษา แล้วพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของที่ปรึกษาที่ตรงกับงานจ้างมากที่สุดไม่น้อยกว่าสามราย (๒) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งโดยปกติจะให้ที่ปรึกษายื่นซองข้อเสนอเป็นสองซอง คือ ซองข้อเสนอทางเทคนิคและซองข้อเสนอด้านราคา การคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อเสนอทางเทคนิค ซึ่งมีรายละเอียดเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในข้อ ๒๒ (๑) ก่อน (๓) ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาตามรายชื่อที่คัดเลือกไว้ตาม (๑) โดยแจ้งให้ทราบหลักเกณฑ์ตาม (๒) ด้วย (๔) พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับของผู้ที่ผ่านเกณฑ์ที่คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกกำหนด (๕) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่สามพร้อมกัน แล้วเลือกรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดลำดับที่หนึ่งมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก หากเจรจาไม่ได้ผล ให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดรายถัดไปตามลำดับ ทั้งนี้ อาจไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการจ้างก็ได้ โดยให้ระบุเหตุผลในการดำเนินการให้ชัดเจน (๖) เมื่อเจรจาได้ที่ปรึกษารายที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๗) เมื่อตัดสินให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง เมื่อดำเนินการได้ผลประการใด ให้คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๔ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษเพื่อต่อรองค่าจ้างกับที่ปรึกษาโดยตรง เมื่อดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๔ การทำสัญญา ข้อ ๒๕[๓] การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ให้ทำสัญญาเป็นภาษาไทยตามแบบที่เลขาธิการกำหนด โดยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้ด้วย (๑) หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา อันได้แก่ เงินสด แคชเชียร์เช็ค หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในอัตราร้อยละห้าของมูลค่าตามสัญญาหลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญาโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว (๒) กำหนดเวลาส่งมอบพัสดุ งานจ้างหรือบริการ พร้อมอัตราหรือจำนวนค่าปรับเป็นรายวัน (๓) ในกรณีที่มีการขอรับเงินล่วงหน้า ให้มีเงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตามสัญญา แต่จะต้องมีหลักประกันตาม (๑) เป็นประกันการรับเงินล่วงหน้าในจำนวนที่เท่ากันด้วย หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญา เมื่อ กบข. ได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดไว้ครบถ้วนแล้ว ในกรณีที่เป็นการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ บริษัทหรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด หรือโดยปกติประเพณีทางการค้าในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาบางประเภทที่ไม่อาจปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๓) ได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการที่จะพิจารณาให้ทำสัญญาหรือให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปล ตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีไม่อาจทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาตามแบบที่เลขาธิการกำหนดให้เป็นอำนาจของเลขาธิการอนุมัติจัดหา หรือจ้างที่ปรึกษาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ หรือหลักฐานในรูปแบบอื่นได้ที่มีผลตามกฎหมาย หรือเป็นหลักปฏิบัติทางธุรกิจ ข้อ ๒๗ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ที่มีวงเงินไม่เกินสองแสนบาท หรือในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถจัดส่งพัสดุ งานจ้างหรือบริการได้ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่สั่งจัดหา หรือสั่งจ้างที่ปรึกษา หรือในกรณีที่เลขาธิการเห็นสมควร จะทำใบสั่งจัดหาหรือใบสั่งจ้างที่ปรึกษาหรือหลักฐานอื่นแทนการทำสัญญาก็ได้ ข้อ ๒๘ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่ การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ กบข. ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ กบข. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การต่ออายุสัญญา การขยายระยะเวลา การงดหรือลดค่าปรับหรือการเลิกสัญญา ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่ถ้าการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษานั้นมีมูลค่าตั้งแต่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ต้องรายงานให้คณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ส่วนกรณีที่มูลค่าการจัดหา หรือการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้นเกินอำนาจสั่งการและอนุมัติของเลขาธิการ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. ส่วนที่ ๕ การตรวจรับพัสดุและบริการ ข้อ ๒๙ การตรวจรับพัสดุและบริการ ให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นว่าพัสดุ หรืองานบริการใดสมควรจะต้องมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง ก็ให้เสนอเลขาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างขึ้นดำเนินการ การตรวจรับพัสดุและบริการจะต้องดำเนินการทันทีที่มีการส่งมอบ และตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด เมื่อตรวจรับถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง จัดทำใบตรวจรับ หรือลงนามในหลักฐานการตรวจรับอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างหนึ่งฉบับ และฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหนึ่งฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน พร้อมรายงานเลขาธิการทราบ และส่งพัสดุให้กับฝ่ายสนับสนุนทั่วไปทันที ถ้าพัสดุหรือบริการไม่ถูกต้อง และผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการไม่สามารถส่งมอบพัสดุหรือบริการได้ตามข้อกำหนดหรือสัญญา แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเป็นผู้ตรวจรับให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปรายงานพร้อมเสนอความเห็นไปยังเลขาธิการเพื่อพิจารณาสั่งการ สำหรับกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นผู้ตรวจรับ ให้รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อให้ทำความเห็นเสนอเลขาธิการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป หมวด ๓ การควบคุมพัสดุ ข้อ ๓๐ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจัดให้มีคลังพัสดุสำหรับพัสดุที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานเป็นปกติประจำของ กบข. โดยจะต้องมีการสำรองพัสดุเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานและสอดคล้องกับการใช้งาน ข้อ ๓๑ พัสดุของ กบข. ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้เจ้าหน้าที่คลังพัสดุทำทะเบียนคุมพัสดุ ตามแบบหรือวิธีการที่เลขาธิการกำหนด โดยมีหลักฐานการรับและการเบิกจ่ายไว้ประกอบรายการให้ครบถ้วน กรณีพัสดุใช้คงรูปและมีราคาเกินกว่าห้าพันบาท หรือพัสดุอื่นที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นสมควรควบคุมเป็นรายชิ้น ให้กำหนดให้มีหมายเลขพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๓๒ พัสดุหรือทรัพย์สินใดที่เลขาธิการเห็นสมควรจัดทำสัญญาประกันวินาศภัย ก็จัดให้มีการทำสัญญาประกันวินาศภัย ข้อ ๓๓ การให้ยืม หรือนำพัสดุไปใช้ภายนอก กบข. ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ กบข. สมาชิก กบข. หรือทางราชการโดยตรง และเป็นอำนาจของเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่จะพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๓๔ ให้มีการตรวจสอบการรับ - จ่ายพัสดุ และพัสดุคงเหลือเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง หมวด ๔ การจำหน่ายพัสดุ ข้อ ๓๕ พัสดุที่หมดความจำเป็น หรือมีสภาพไม่เหมาะสมในการใช้งาน หรือหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้รับ หรือชำรุดสูญหาย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการจำหน่าย ก่อนดำเนินการจำหน่าย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการสอบข้อเท็จจริง แล้วรายงานเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อทราบและสั่งการ เว้นแต่เป็นการชำรุด หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ ก็ให้บันทึกรับรองโดยไม่ต้องสอบข้อเท็จจริงก็ได้ ข้อ ๓๖ การจำหน่ายพัสดุตามข้อ ๓๕ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปกระทำโดยวิธีการขายหรือแลกเปลี่ยน โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดหามาใช้โดยอนุโลม ส่วนการจำหน่ายโดยวิธีการบริจาค ทำลาย หรือจำหน่ายเป็นสูญ ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ เว้นแต่การจำหน่ายที่มีมูลค่าปัจจุบันตามบัญชีเกินสองแสนบาท ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๗ การจัดหาพัสดุและการจ้างที่ปรึกษาใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๔] ปริญสินีย์/ผู้จัดทำ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๓๐/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐ [๒] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ข้อ ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718759
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน พ.ศ. 2556
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน พ.ศ. ๒๕๕๖[๑] โดยที่กองทุนดำเนินงานตามภารกิจที่กฎหมายกำหนดไว้โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์และความพึงพอใจแก่สมาชิกและสังคมโดยส่วนรวมด้วยความเอาใจใส่ ดังนั้น ปัญหาของผู้ที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการดำเนินงานของกองทุน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่กองทุนจะต้องรับทราบและแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วที่สุด เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกองทุน ดังนั้น กองทุนจึงเห็นสมควรกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน โดยจัดให้มีช่องทาง กระบวนการ และหน่วยงาน ที่เหมาะสมสำหรับพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับจรรยาบรรณของพนักงานและลูกจ้างที่กองทุนกำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน พ.ศ. ๒๕๕๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “ผู้ร้องเรียน” หมายความว่า สมาชิก ส่วนราชการเจ้าสังกัด คู่ค้า ผู้มีส่วนได้เสีย หรือบุคคลอื่นใด ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือนิติบุคคล “เรื่องร้องเรียน” หมายความว่า เรื่องที่ผู้ร้องเรียนกล่าวอ้างว่าตนได้รับความเสียหาย เดือดร้อน หรือผลกระทบจากการดำเนินกิจการของกองทุนหรือจากการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร ในสังกัดของกองทุนหรือของนิติบุคคลที่กองทุนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงการร้องทุกข์ของพนักงานหรือลูกจ้างของกองทุน “หน่วยงานผู้รับผิดชอบ” หมายความว่า หน่วยงานของกองทุนซึ่งมีอำนาจหน้าที่จะต้องดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน ข้อ ๔ ภายใต้บังคับข้อ ๕ เรื่องร้องเรียนที่กองทุนรับไว้พิจารณาดำเนินการจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเรื่องที่อยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของกองทุนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย (๒) เป็นเรื่องที่ผู้ร้องเรียนมีส่วนได้เสียโดยตรงหรือที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการของกองทุน (๓) ระบุข้อมูลเกี่ยวกับผู้ร้องเรียนซึ่งเพียงพอที่จะยืนยันตัวบุคคลของผู้ร้องเรียนและให้กองทุนสามารถติดต่อกับผู้ร้องเรียนได้ ได้แก่ ชื่อสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Address) ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้ร้องเรียนที่ไม่สามารถยืนยันตัวบุคคลของ ผู้ร้องเรียนได้หรือมีลักษณะเป็นบัตรสนเท่ห์นั้น กองทุนจะรับไว้พิจารณาดำเนินการเฉพาะกรณีที่มีลักษณะตาม (๔) เท่านั้น (๔) มีข้อเท็จจริงแวดล้อมปรากฏชัดแจ้งเพียงพอที่จะดำเนินการตามเรื่องร้องเรียนได้หรือสามารถระบุพยานหลักฐานได้ (๕) เป็นเรื่องซึ่งผู้ร้องเรียนได้ใช้สิทธิร้องเรียนโดยชอบด้วยกฎหมาย ข้อ ๕ กองทุนจะไม่รับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาดำเนินการในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้ (๑) เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการยุติธรรมตามกฎหมาย (๒) เป็นเรื่องที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว (๓) เป็นเรื่องที่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือคณะบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำลังพิจารณาดำเนินการอยู่หรือมีคำวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้ว ข้อ ๖ ผู้ร้องเรียนสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนต่อกองทุนโดยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือถึงกองทุน (๒) แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกทางโทรศัพท์หมายเลข ๑๑๗๙ หรือโทรสารหมายเลข ๐ ๒๖๓๖ ๑๖๔๙ และ ๐ ๒๖๓๖ ๐๗๐๐ หรือ ณ สถานที่ทำการของฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก (๓) แจ้งทางเว็บไซต์หรือที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail Address) ของกองทุน ข้อ ๗ เมื่อผู้รับเรื่องร้องเรียนได้รับเรื่องร้องเรียนตามข้อ ๖ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่ผู้รับเรื่องร้องเรียนพิจารณาว่าเรื่องร้องเรียนเป็นการแจ้งเบาะแสการกระทำที่สงสัยว่าเข้าข่ายฝ่าฝืนหรือทุจริต (Whistle Blowing) ตามประกาศของกองทุนว่าด้วยจรรยาบรรณของพนักงานและลูกจ้าง ให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในประกาศดังกล่าว โดยส่งให้ฝ่ายตรวจสอบภายในดำเนินการต่อไป (๒) ในกรณีที่ผู้รับเรื่องร้องเรียนพิจารณาว่าเรื่องร้องเรียนเป็นเรื่องอื่นนอกจาก (๑) หรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับระบบงานหรือกระบวนการปฏิบัติงานของกองทุน ให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนส่งเรื่องร้องเรียนไปยังฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก ข้อ ๘ เมื่อฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกได้รับเรื่องร้องเรียน ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่เป็นเรื่องร้องเรียนที่กองทุนจะรับไว้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้ ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก (ก) แจ้งหน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาเรื่องร้องเรียนภายในหนึ่งวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือวันที่ทราบคำวินิจฉัยของเลขาธิการตามข้อ ๘ (๓) (ข) แจ้งผู้ร้องเรียนให้ทราบว่ากองทุนได้รับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาดำเนินการแล้วภายในหนึ่งวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือวันที่ทราบคำวินิจฉัยของเลขาธิการตามข้อ ๘ (๓) และแจ้งกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จให้ทราบด้วย (๒) ในกรณีที่เป็นเรื่องร้องเรียนที่กองทุนไม่อาจรับไว้พิจารณาดำเนินการได้ ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกแจ้งผลการพิจารณาดำเนินการและเหตุผลให้ผู้ร้องเรียนทราบภายในหนึ่งวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนหรือวันที่ทราบคำวินิจฉัยของเลขาธิการตามข้อ ๘ (๓) (๓) ในกรณีที่ไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยได้ว่ากองทุนจะสามารถรับเรื่องร้องเรียนใดไว้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้หรือไม่ ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกเสนอเรื่องร้องเรียนพร้อมความเห็นของฝ่ายกฎหมายต่อเลขาธิการเพื่อพิจารณา โดยฝ่ายกฎหมายจะต้องพิจารณาให้ความเห็นให้เสร็จสิ้นภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก และเมื่อเลขาธิการวินิจฉัยเป็นประการใดแล้ว ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกดำเนินการตาม (๑) หรือ (๒) ต่อไป ข้อ ๙ เมื่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้รับเรื่องร้องเรียนจากฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก ให้พิจารณาดำเนินการให้แล้วเสร็จและแจ้งให้ผู้ร้องเรียนทราบภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิก โดยรายงานผลการดำเนินการให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกทราบด้วย ข้อ ๑๐ ในกรณีที่เรื่องร้องเรียนเกี่ยวข้องกับนโยบายหรือมีปัญหาอุปสรรคที่ไม่อาจดำเนินการตามความประสงค์ของผู้ร้องเรียนได้ ให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบรายงานข้อเท็จจริง แนวทางดำเนินการ ข้อเสนอแนะ และเหตุผลต่อผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกลุ่มงานที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบสังกัดอยู่เพื่อพิจารณา และแจ้งให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกทราบ เพื่อให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกแจ้งความคืบหน้าของการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนและกำหนดเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จให้ผู้ร้องเรียนทราบภายในหนึ่งวันทำการนับแต่วันที่ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกได้รับแจ้งจากหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ข้อ ๑๑ ให้ผู้รับเรื่องร้องเรียนและหน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาว่าเรื่องร้องเรียนเป็นเรื่องที่อาจส่งผลเสียหายต่อบุคคลหรือหน่วยงานใดหรือไม่ ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะคำนวณเป็นเงินได้หรือไม่ก็ตาม หากพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีลักษณะดังกล่าว ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนดำเนินการในลักษณะที่เป็นความลับ ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีเรื่องร้องเรียนตามระเบียบนี้ ให้ฝ่ายบริการข้อมูลสมาชิกจัดทำรายงานสรุปเรื่องร้องเรียน สถานะ และการดำเนินการ เสนอเลขาธิการเพื่อทราบทุกเดือนและเสนอคณะอนุกรรมการตรวจสอบเพื่อทราบทุกหกเดือน ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. [เอกสารแนบท้าย] ๑. ขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๔๐/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718757
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีส่วนราชการส่งเงินเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. 2554
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีส่วนราชการส่งเงินเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรกำหนดแนวปฏิบัติกรณีส่วนราชการส่งเงินเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๗ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการถอนคืนเงินหรือการนำส่งเงินเพิ่ม กรณีส่วนราชการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยของสมาชิกเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๕๔ เลขาธิการจึงออกระเบียบดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีส่วนราชการส่งเงินเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “หน่วยงานของกองทุน” หมายความว่า หน่วยงานของกองทุนซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยเพื่อเข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก และการจ่ายเงินแก่ผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุน ข้อ ๔ เมื่อกองทุนได้รับข้อมูลการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยเพื่อเข้าบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกจากส่วนราชการผู้เบิก ให้หน่วยงานของกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ตรวจสอบข้อมูลและจำนวนเงินของสมาชิกแต่ละรายที่ส่วนราชการผู้เบิกนำส่งให้แก่กองทุนในเดือนปัจจุบันเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาดังต่อไปนี้ (ก) นำส่งเงินเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าเดือนที่ผ่านมาอย่างมีนัยสำคัญ (ข) ขาดการนำส่งเงินเข้ากองทุน หรือ (ค) มีข้อมูลอื่นใดที่ผิดปกติ (๒) ตรวจสอบข้อมูลและจำนวนเงินของสมาชิกแต่ละรายที่ส่วนราชการผู้เบิกนำส่งให้แก่กองทุนว่ามีการนำส่งเงินเข้ากองทุนซ้ำภายในเดือนเดียวกันหรือไม่ (๓) ตรวจสอบความถูกต้องในการคำนวณเงินนำส่งกรณีสมาชิกพ้นสมาชิกภาพที่ยื่นคำขอรับเงินจากกองทุนของส่วนราชการผู้เบิกก่อนการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีสมาชิกลาออกจากราชการ ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันก่อนวันถึงกำหนดลาออก แต่ถ้าถึงกำหนดลาออกแล้วยังไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก และสมาชิกผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันรับทราบหรือควรได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้ลาออก (ข) กรณีสมาชิกถูกให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันก่อนวันที่ระบุในคำสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก แต่ถ้ายังไม่ได้รับทราบคำสั่ง และสมาชิกผู้นั้นยังคงรับราชการต่อมา ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันรับทราบหรือควรได้รับทราบคำสั่งให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก (ค) กรณีสมาชิกพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุตามกฎหมาย ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันสิ้นปีงบประมาณ เว้นแต่กรณีที่ได้รับการต่อเวลาราชการ จะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันครบการต่อเวลาราชการ (ง) กรณีสมาชิกโอนไปเป็นข้าราชการประเภทอื่นที่มิใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันก่อนวันที่โอนไปเป็นข้าราชการประเภทอื่นตามที่ระบุในคำสั่งของส่วนราชการเจ้าสังกัด (จ) กรณีสมาชิกถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการ ส่วนราชการผู้เบิกจะต้องคำนวณเงินนำส่งจนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย ข้อ ๕ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อ ๔ (๑) หรือ (๒) ให้หน่วยงานของกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ประสานงานกับส่วนราชการผู้เบิกทางโทรศัพท์เพื่อสอบทานความถูกต้องของข้อมูลและจำนวนเงินนำส่งของสมาชิก หากส่วนราชการผู้เบิกยืนยันความถูกต้องแล้ว ให้บันทึกไว้ในระบบงานของกองทุน หรือ (๒) มีหนังสือถึงส่วนราชการผู้เบิกในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตาม (๑) ได้ หรือในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งทางโทรศัพท์ว่าข้อมูลหรือจำนวนเงินนำส่งของสมาชิกไม่ถูกต้อง เพื่อให้ส่วนราชการผู้เบิกสอบทานความถูกต้อง หรือดำเนินการแก้ไขข้อมูลและจำนวนเงินนำส่งของสมาชิก โดยมีหนังสือแจ้งผลการดำเนินการให้กองทุนทราบด้วย ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกแจ้งให้กองทุนทราบว่าข้อมูลหรือจำนวนเงินนำส่งของสมาชิกเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด หรือในกรณีที่หน่วยงานของกองทุนตรวจพบว่าส่วนราชการผู้เบิกคำนวณเงินนำส่งของสมาชิกเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ ๔ (๓) ให้หน่วยงานของกองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ปรับปรุงข้อมูลเงินนำส่งเฉพาะจำนวนที่ส่วนราชการผู้เบิกนำส่งเกินออกจากบัญชีสมาชิกรายบุคคลไปเข้าบัญชีเงินรอถอนคืนของกองทุนตามแผนการลงทุนของสมาชิกรายนั้น (๒) มีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการผู้เบิกตรวจสอบและขอถอนคืนเงินเฉพาะจำนวนที่นำส่งเกิน ข้อ ๗ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกไม่แจ้งผลการตรวจสอบหรือไม่ยื่นคำขอถอนคืนเงินจากกองทุนตามข้อ ๖ (๒) ภายใน ๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกองทุน ให้หน่วยงานของกองทุนคืนเงินนำส่งเกินที่ปรากฏในบัญชีเงินรอถอนคืนของกองทุนให้แก่ส่วนราชการผู้เบิกโดยวิธีการดังต่อไปนี้ (๑) โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของส่วนราชการผู้เบิก หรือ (๒) ออกเช็คขีดคร่อมในนามส่วนราชการผู้เบิก เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มีหนังสือแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับรายการเงินนำส่งเกินของสมาชิกและการคืนเงินตาม (๑) หรือ (๒) ให้ส่วนราชการผู้เบิกทราบด้วย ข้อ ๘ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๓๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718754
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. 2557
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. ๒๕๕๗[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. ๒๕๕๗” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนอาจสิ้นสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพ (๒) ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนแล้ว และกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ต่อมากองทุนได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบแล้ว และผู้มีสิทธิรับเงินไม่ได้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องได้ไปถึงผู้มีสิทธิรับเงิน ข้อ ๔ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพในกรณีดังต่อไปนี้ ยังไม่ถือเป็นผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนที่จะเริ่มนับอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๑) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากราชการซึ่งขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อ (๒) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยหรือคดีอาญาและการพิจารณายังไม่ถึงที่สุด เฉพาะส่วนของเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว (๓) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพซึ่งเป็นข้าราชการทหารรับเบี้ยหวัดและอยู่ระหว่างรอย้ายประเภทรับบำเหน็จบำนาญ ให้นำแนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับกับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพตาม (๑) (๒) และ (๓) เมื่อเกิดสิทธิในการขอรับเงินจากกองทุนแล้ว ข้อ ๕ เมื่อกองทุนได้รับแจ้งว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้มีสิทธิรับเงินไม่ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้กองทุนดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ (๑) มีหนังสือถึงผู้มีสิทธิรับเงินเพื่อแจ้งให้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนภายในหกเดือนนับแต่วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลง (๒) เมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม (๑) แล้ว ผู้มีสิทธิรับเงินยังมิได้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนอีกให้มีหนังสือถึงผู้มีสิทธิรับเงินเพื่อแจ้งให้ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนภายในสามเดือนนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาตาม (๑) ข้อ ๖ เมื่อปรากฏว่าผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้กองทุนดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้ (๑) ติดตามผู้มีสิทธิรับเงินทางโทรศัพท์ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้มีสิทธิรับเงินหรือที่ตรวจพบจากฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลางเมื่อพ้นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่กองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน (๒) เมื่อพ้นระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันที่กองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินแล้วแต่ผู้มีสิทธิรับเงินยังไม่รับเงินตามวิธีการที่แสดงความประสงค์ไว้อีก ให้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการจ่ายเงินให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบเพื่อติดต่อขอรับเงินจากกองทุนต่อไป (๓) เมื่อพ้นระยะเวลาเก้าเดือนนับแต่วันที่กองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินแล้วแต่ผู้มีสิทธิรับเงินยังไม่รับเงินตามวิธีการที่แสดงความประสงค์ไว้อีก ให้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้มีสิทธิรับเงินติดต่อขอรับเงินจากกองทุนเป็นครั้งสุดท้าย ข้อ ๗ เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ให้กองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อ ๕ ให้ปิดบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและโอนเงินทุกประเภทเข้าบัญชีเงินกองกลางภายในเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้อง (๒) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อ ๖ ให้โอนเงินจากบัญชีเงินรอจ่ายคืนสมาชิกเข้าบัญชีเงินกองกลางภายในเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้อง ข้อ ๘ หนังสือที่กองทุนมีถึงผู้มีสิทธิรับเงินตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปตามที่อยู่ของผู้มีสิทธิรับเงินซึ่งปรากฏจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง โดยระบุข้อความแจ้งเตือนการสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามกฎหมายให้ทราบด้วย ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้จัดส่งแบบแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางหรือสภากาชาดไทยไปพร้อมกับหนังสือตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๙ หากผู้มีสิทธิรับเงินแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินเข้าบัญชีเงินกองกลาง ให้กองทุนโอนเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางตามความประสงค์ของผู้มีสิทธิรับเงินที่กองทุนได้รับแจ้งในแต่ละเดือนภายในสามวันทำการของเดือนถัดไป หากผู้มีสิทธิรับเงินแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินให้แก่สภากาชาดไทย ให้กองทุนจัดทำเช็คสั่งจ่าย “สภากาชาดไทย” เมื่อมีจำนวนเงินบริจาครวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท และตามจำนวนเงินบริจาคที่ปรากฏในวันทำการสุดท้ายของแต่ละปี ข้อ ๑๐ เพื่อประโยชน์ในการติดตามให้ผู้มีสิทธิรับเงินได้รับเงินจากกองทุนนอกเหนือจากการมีหนังสือติดตามไปยังผู้มีสิทธิรับเงินแล้ว ให้กองทุนประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น รายการวิทยุหรือโทรทัศน์ เว็บไซต์ของกองทุนและส่วนราชการ การประชุมสัมมนาร่วมกับสมาชิกหรือผู้แทนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบแนวทางการติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในกำหนดอายุความ ข้อ ๑๑ เมื่อกองทุนดำเนินการตามข้อ ๗ แล้ว ภายหลังปรากฏว่า มีผู้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนหรือปรากฏข้อเท็จจริงอื่นที่ทำให้กองทุนต้องโอนเงินออกจากบัญชีเงินกองกลาง ให้กองทุนตรวจสอบสิทธิและดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กรณีผู้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนมีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อ ๕ ให้คำนวณจ่ายเงินจากบัญชีเงินกองกลางให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินโดยใช้จำนวนหน่วยที่เคยมีอยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก ณ วันโอนเงินเข้าบัญชีเงินกองกลาง และใช้มูลค่าต่อหน่วยของบัญชีเงินกองกลาง ณ วันที่ทำรายการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ทั้งนี้ ให้ทำการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ (ข) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อ ๖ ให้คำนวณจ่ายเงินจากบัญชีเงินกองกลางตามจำนวนที่โอนเข้าบัญชีเงินกองกลางตามข้อ ๗ (๒) ทั้งนี้ ให้ทำการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ (๒) กรณีผู้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนไม่มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนเนื่องจากสิ้นสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีหนังสือแจ้งปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยระบุเหตุผลและขั้นตอนการติดตามผู้มีสิทธิรับเงินของกองทุนให้ทราบด้วย (๓) กรณีเป็นผู้ได้รับคืนสถานภาพข้าราชการอันเป็นผลให้กลับคืนสมาชิกภาพของกองทุน ให้โอนเงินออกจากบัญชีเงินกองกลางไปยังบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น โดยคำนวณจากจำนวนหน่วยที่เคยมีอยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกผู้นั้น ณ วันโอนเงินเข้าบัญชีเงินกองกลาง และใช้มูลค่าต่อหน่วยของบัญชีเงินกองกลาง ณ วันที่ทำรายการโอนออกจากบัญชีเงินกองกลาง ข้อ ๑๒ กรณีมีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนที่สิ้นสิทธิการรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๓ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินให้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากกองทุน โดยระบุข้อความแจ้งเตือนการสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามกฎหมายให้ทราบด้วย หากผู้มีสิทธิรับเงินไม่ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการตามข้อ ๗ ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวันนับแต่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๑๓ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ สมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๓๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718752
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. 2554
ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่ปรากฏว่าผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินจากกองทุนภายในกำหนดสิบปีทำให้สิทธิเรียกร้องของผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนต้องสิ้นสุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และถือเป็นเงินตามบัญชีเงินรายบุคคลที่ไม่มีผู้รับซึ่งกองทุนจะต้องนำเข้าบัญชีเงินกองกลางต่อไป จึงสมควรกำหนดแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ เลขาธิการออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยแนวปฏิบัติกรณีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนไม่รับเงินภายในกำหนดอายุความ พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนอาจสิ้นสิทธิเรียกร้องในการรับเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในกรณีดังต่อไปนี้ (๑) ไม่ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันสิ้นสุดสมาชิกภาพ (๒) ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนแล้ว และกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ต่อมากองทุนได้มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบแล้ว และผู้มีสิทธิรับเงินไม่ได้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในระยะเวลาสิบปี นับแต่วันที่หนังสือแจ้งเหตุขัดข้องได้ไปถึงผู้มีสิทธิรับเงิน ข้อ ๔ สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพในกรณีดังต่อไปนี้ ยังไม่ถือเป็นผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนที่จะเริ่มนับอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (๑) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพเนื่องจากออกจากราชการซึ่งขอฝากเงินที่มีสิทธิได้รับให้กองทุนบริหารต่อ (๒) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดวินัยหรือคดีอาญา และการพิจารณายังไม่ถึงที่สุด เฉพาะส่วนของเงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว (๓) สมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพซึ่งเป็นข้าราชการทหารรับเบี้ยหวัดและอยู่ระหว่างรอย้ายประเภทรับบำเหน็จบำนาญ ให้นำแนวปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้มาใช้บังคับกับสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพตาม (๑) (๒) และ (๓) เมื่อเกิดสิทธิในการขอรับเงินจากกองทุนแล้ว ข้อ ๕ เมื่อกองทุนได้รับแจ้งว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้มีสิทธิรับเงิน ไม่ยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน ให้กองทุนมีหนังสือถึงผู้มีสิทธิรับเงินเพื่อแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุน โดยในปีที่หนึ่งให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินหนึ่งครั้ง และในปีที่สองให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินอีกหนึ่งครั้ง ข้อ ๖ เมื่อปรากฏว่าผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้กองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ติดตามผู้มีสิทธิรับเงินทางโทรศัพท์ตามข้อมูลที่ได้รับแจ้งจากผู้มีสิทธิรับเงินหรือที่ตรวจพบจากฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลาง (๒) มีหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อพ้นระยะเวลาสามเดือนนับแต่วันที่กองทุนออกเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน (๓) มีหนังสือแจ้งเหตุขัดข้องในการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ ให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบ โดยในปีที่หนึ่ง ให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินหนึ่งครั้ง และในปีที่สอง ให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินเฉพาะรายที่มีจำนวนเงินค้างจ่ายเกินกว่าหนึ่งหมื่นบาทหนึ่งครั้ง ข้อ ๗ เมื่อครบระยะเวลาเก้าปีนับแต่วันที่สมาชิกสิ้นสุดสมาชิกภาพหรือวันที่ผู้มีสิทธิรับเงินได้รับหนังสือตามข้อ ๖ (๓) แล้ว ให้กองทุนมีหนังสือแจ้งให้ผู้มีสิทธิรับเงินติดต่อขอรับเงินจากกองทุนอีกครั้งหนึ่ง ข้อ ๘ เมื่อผู้มีสิทธิรับเงินสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว ให้กองทุนดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินที่ไม่ยื่นแบบคำขอรับเงินจากกองทุน ให้ปิดบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิกที่สิ้นสุดสมาชิกภาพและโอนเงินทุกประเภทเข้าบัญชีเงินกองกลางภายในเดือนถัดจากเดือนที่ ครบกำหนดอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้อง (๒) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อ ๖ ให้โอนเงินจากบัญชีเงินรอจ่ายคืนสมาชิกเข้าบัญชี เงินกองกลางภายในเดือนถัดจากเดือนที่ครบกำหนดอายุความสิ้นสิทธิเรียกร้อง ข้อ ๙ หนังสือต่าง ๆ ที่กองทุนมีถึงผู้มีสิทธิรับเงินตามแนวปฏิบัติที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ส่งไปตามที่อยู่ของผู้มีสิทธิรับเงินซึ่งปรากฏในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยระบุข้อความแจ้งเตือนการสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามกฎหมายให้ทราบด้วย ในกรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินยื่นแบบขอรับเงินจากกองทุนและกองทุนทำการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้แล้ว แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้จัดส่งแบบแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางหรือสภากาชาดไทยไปพร้อมกับหนังสือตามวรรคหนึ่งด้วย ข้อ ๑๐ หากผู้มีสิทธิรับเงินแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินเข้าบัญชีเงินกองกลาง ให้กองทุนโอนเงินเข้าบัญชีเงินกองกลางตามความประสงค์ของผู้มีสิทธิรับเงินที่กองทุนได้รับแจ้งในแต่ละเดือนภายในสามวันทำการของเดือนถัดไป หากผู้มีสิทธิรับเงินแจ้งความประสงค์ขอบริจาคเงินให้แก่สภากาชาดไทย ให้กองทุนจัดทำเช็คสั่งจ่าย “สภากาชาดไทย” เมื่อมีจำนวนเงินบริจาครวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท และตามจำนวนเงินบริจาคที่ปรากฏในวันทำการสุดท้ายของแต่ละปี ข้อ ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการติดตามให้ผู้มีสิทธิรับเงินได้รับเงินจากกองทุนนอกเหนือจากการมีหนังสือติดตามไปยังผู้มีสิทธิรับเงินแล้ว ให้กองทุน (๑) ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการรับบำนาญของผู้มีสิทธิรับเงินจากฐานข้อมูลของกรมบัญชีกลางอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อให้ทราบแนวทางการติดต่อกับผู้มีสิทธิรับเงินตามข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลดังกล่าว (๒) ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น รายการวิทยุหรือโทรทัศน์ เว็บไซต์ของกองทุนและส่วนราชการ การประชุมสัมมนาร่วมกับสมาชิกหรือผู้แทนส่วนราชการ เพื่อให้ผู้มีสิทธิรับเงินทราบแนวทางการติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในกำหนดอายุความ ข้อ ๑๒ เมื่อกองทุนดำเนินการตามข้อ ๘ แล้ว ภายหลังปรากฏว่ามีผู้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุน ให้พิจารณาสิทธิของผู้ขอรับเงินจากกองทุนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากปรากฏว่า (๑) เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุน ให้ดำเนินการในแต่ละกรณี ดังต่อไปนี้ (ก) กรณีเป็นผู้มีสิทธิรับเงินที่ไม่ยื่นแบบคำขอรับเงินจากกองทุน ให้นำเงินทุกประเภทที่ผู้มีสิทธิรับเงินจะได้รับจากกองทุนออกจากบัญชีเงินกองกลางโดยคำนวณตามจำนวนหน่วยที่เคยมีอยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลของสมาชิก และคำนวณจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงินตามสิทธิโดยใช้มูลค่าต่อหน่วยของแผนการลงทุนที่สมาชิกเลือกไว้ก่อนพ้นสมาชิกภาพ ณ วันที่ทำรายการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน โดยให้ทำการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ (ข) กรณีที่เป็นผู้มีสิทธิรับเงินที่กองทุนไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ ให้นำเงินออกจากบัญชีเงินกองกลางตามจำนวนที่โอนเข้าบัญชีเงินกองกลาง ตามข้อ ๘ (๒) และให้ทำการจ่ายเงินตามวิธีการที่ผู้มีสิทธิรับเงินแสดงความประสงค์ไว้ (๒) เป็นผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุน ให้มีหนังสือแจ้งปฏิเสธการจ่ายเงิน โดยระบุเหตุผลและขั้นตอนการติดตามผู้มีสิทธิรับเงินกองทุนให้ทราบด้วย ข้อ ๑๓ กรณีมีผู้มีสิทธิรับเงินจากกองทุนที่สิ้นสิทธิการรับเงินจากกองทุนตามข้อ ๓ อยู่ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้มีหนังสือแจ้งผู้มีสิทธิรับเงินให้ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในสองปี นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากกองทุน โดยระบุข้อความแจ้งเตือนการสิ้นสิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนเนื่องจากครบกำหนดอายุความตามกฎหมายให้ทราบด้วย หากผู้มีสิทธิรับเงินไม่ติดต่อขอรับเงินจากกองทุนภายในกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการตามข้อ ๘ ให้เสร็จสิ้นภายในเก้าสิบวัน นับแต่พ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ข้อ ๑๔ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ โสภาวดี เลิศมนัสชัย เลขาธิการคณะกรรมการ กบข. ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๙/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718749
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติการจัดหาพัสดุหรือบริการที่ทำกับบริษัท หรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดได้โดยไม่จำกัดวงเงิน และเพื่อยกเว้นให้บริษัทหรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดไม่ต้องวางหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๕ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ การอนุมัติการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) เลขาธิการ ไม่เกินสามสิบล้านบาท เว้นแต่การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษากับบริษัทหรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด ให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติโดยไม่จำกัดวงเงิน (๒) คณะกรรมการ กบข. เกินกว่าสามสิบล้านบาท สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษ ให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติการจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาท” ข้อ ๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๕ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๕ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ให้ทำสัญญาเป็นภาษาไทยตามแบบที่เลขาธิการกำหนด โดยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้ด้วย (๑) หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา อันได้แก่ เงินสด แคชเชียร์เช็ค หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในอัตราร้อยละห้าของมูลค่าตามสัญญาหลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญาโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจาก ข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว (๒) กำหนดเวลาส่งมอบพัสดุ งานจ้างหรือบริการ พร้อมอัตราหรือจำนวนค่าปรับเป็นรายวัน (๓) ในกรณีที่มีการขอรับเงินล่วงหน้า ให้มีเงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตามสัญญา แต่จะต้องมีหลักประกันตาม (๑) เป็นประกันการรับเงินล่วงหน้าในจำนวนที่เท่ากันด้วย หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญา เมื่อ กบข. ได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดไว้ครบถ้วนแล้ว ในกรณีที่เป็นการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศ บริษัทหรือกองทุนที่ กบข. เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด หรือโดยปกติประเพณีทางการค้าในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาบางประเภทที่ไม่อาจปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๓) ได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการที่จะพิจารณาให้ทำสัญญาหรือให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปล ตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๗/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
718740
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการถอนคืนเงินหรือการนำส่งเงินเพิ่ม กรณีที่ส่วนราชการนำส่ง เงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยของสมาชิกเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. 2554
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการถอนคืนเงินหรือการนำส่งเงินเพิ่ม กรณีที่ส่วนราชการนำส่ง เงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยของสมาชิกเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๕๔[๑] โดยที่เป็นการสมควรให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการถอนคืนเงินหรือการนำส่งเงินเพิ่มกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยของสมาชิกเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ ประกอบกับข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ของระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการหักเงินสะสม การเบิกจ่ายเงินสมทบ เงินชดเชย และการส่งเงินเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๕๑ ลงวันที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการถอนคืนเงินหรือการนำส่งเงินเพิ่ม กรณีที่ส่วนราชการนำส่งเงินสะสม เงินสมทบ และเงินชดเชยของสมาชิกเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด พ.ศ. ๒๕๕๔” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกหักเงินสะสมจากสมาชิก หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชยส่งเข้ากองทุนเกินกว่าจำนวนที่กำหนด ให้ส่วนราชการผู้เบิกดำเนินการถอนคืนเงินที่เกินจำนวนดังกล่าวจากกองทุน เพื่อคืนให้แก่สมาชิกหรือนำส่งคืนคลัง แล้วแต่กรณี โดยให้ส่วนราชการผู้เบิกยื่นคำขอถอนคืนเงินตามแบบที่เลขาธิการประกาศกำหนด หรือยื่นคำขอถอนคืนเงินผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่กองทุนจัดให้ เมื่อกองทุนได้รับคำขอถอนคืนเงินจากส่วนราชการผู้เบิกตามวรรคหนึ่ง กองทุนจะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และคืนเงินเฉพาะส่วนที่ส่งเข้ากองทุนเกินกว่าจำนวนที่กำหนด โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของส่วนราชการผู้เบิกหรือโดยการสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมในนามของส่วนราชการผู้เบิก ข้อ ๔ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกไม่ได้ยื่นคำขอถอนคืนเงินจากกองทุน แต่กองทุนตรวจสอบพบโดยมีข้อมูลที่น่าเชื่อได้ว่าส่วนราชการผู้เบิกหักเงินสะสมจากสมาชิก หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชยส่งเข้ากองทุนเกินกว่าจำนวนที่กำหนด กองทุนจะมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการผู้เบิกตรวจสอบความถูกต้อง เมื่อส่วนราชการผู้เบิกได้รับหนังสือแจ้งจากกองทุน ให้ส่วนราชการผู้เบิกตรวจสอบและมีหนังสือแจ้งยืนยันความถูกต้องให้กองทุนทราบ หรือยื่นคำขอถอนคืนเงินจากกองทุนตามข้อ ๓ วรรคหนึ่ง ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากกองทุน ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกไม่ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดและภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคสอง กองทุนจะคืนเงินเฉพาะส่วนที่กองทุนเชื่อได้ว่าส่วนราชการผู้เบิกส่งเข้ากองทุนเกินกว่าจำนวนที่กำหนด โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของส่วนราชการผู้เบิกหรือโดยการสั่งจ่ายเช็คขีดคร่อมในนามของส่วนราชการผู้เบิก ข้อ ๕ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกยื่นคำขอถอนคืนเงินจากกองทุนภายหลังจากกองทุนได้รับคำขอรับเงินจากผู้มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนแล้ว กองทุนจะคืนเงินให้แก่ส่วนราชการผู้เบิกไม่เกินจำนวนเงินนำส่งคงเหลือที่กองทุนยังไม่ได้จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินเท่านั้น ข้อ ๖ ในกรณีที่ส่วนราชการผู้เบิกหักเงินสะสมจากสมาชิก หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชยส่งเข้ากองทุนต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด ให้ส่วนราชการผู้เบิกจัดทำข้อมูลสมาชิกและนำส่งเงินสะสม หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชยเข้ากองทุนโดยผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่กองทุนจัดให้ส่วนราชการผู้เบิกใช้ในการส่งข้อมูลเกี่ยวกับสมาชิกและการนำส่งเงินของสมาชิกให้แก่กองทุน หรือระบบจ่ายตรงเงินเดือน แล้วแต่กรณี ให้ครบถ้วนโดยเร็ว ในกรณีที่กองทุนตรวจสอบข้อมูลรายบุคคลของสมาชิกและมีข้อสงสัยว่าส่วนราชการผู้เบิก หักเงินสะสมจากสมาชิก หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชยส่งเข้าส่งกองทุนต่ำกว่าจำนวนที่กำหนด กองทุนจะมีหนังสือแจ้งให้ส่วนราชการผู้เบิกตรวจสอบและยืนยันความถูกต้องเป็นหนังสือให้กองทุนทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากกองทุน ข้อ ๗ หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินที่ส่วนราชการผู้เบิกหักเงินสะสมจากสมาชิก หรือเบิกเงินสมทบหรือเงินชดเชย ส่งเข้ากองทุนเกินหรือต่ำกว่าจำนวนที่กำหนดให้เป็นไปตามที่เลขาธิการประกาศกำหนด ข้อ ๘ ให้ประธานกรรมการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ รวมทั้งให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ อารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ ปริญสินีย์/ผู้ตรวจ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑/ตอนที่ ๑๓๓ ง/หน้า ๒๔/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๗
553747
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2550
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงวางระเบียบไว้ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๕๐” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ สำหรับกรณีที่เป็นการอนุมัติยกเว้น หรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดหา การควบคุมพัสดุ การจำหน่ายพัสดุ การจ้างที่ปรึกษาและการดำเนินการอื่นๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง “การจัดหา” หมายความว่า การซื้อ การจ้าง การเช่า การแลกเปลี่ยนและการดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา ผู้จัดการกองทุน ผู้เก็บรักษาทรัพย์สินและการจัดทำเอง “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา รวมทั้งการจ้างที่ปรึกษา เพื่อให้บริการด้านการศึกษา สำรวจ ออกแบบ ควบคุมงานและการวิจัย “กบข.” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “คณะกรรมการ กบข.” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เจ้าหน้าที่จัดหา” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสนับสนุนทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับ การแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากเลขาธิการให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดหา ข้อ ๗ การจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้สนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย ข้อ ๘ ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใสและเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เว้นแต่ กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ให้ผู้มีหน้าที่บันทึกหลักฐานในการดำเนินการ พร้อมทั้งระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หมวด ๒ การจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ส่วนที่ ๑ หน่วยงานผู้รับผิดชอบและผู้มีอำนาจสั่งการ ข้อ ๙ การขออนุมัติหลักการในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้หน่วยงานที่ต้องการใช้พัสดุหรือบริการ หรือการจ้างที่ปรึกษาจัดทำใบขอจัดหา ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาในสายงานที่สังกัด เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว ให้แจ้งเจ้าหน้าที่จัดหาเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ การดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเว้นแต่กรณีที่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือเลขาธิการได้พิจารณามอบหมายให้หน่วยงานอื่น ดำเนินการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบนี้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อหน่วยงานนั้นดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้แก่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ก่อนการดำเนินการจัดหาและจ้างที่ปรึกษาทุกครั้ง ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจัดทำรายงานเสนอเลขาธิการ หรือคณะกรรมการ กบข. แล้วแต่กรณี เมื่อได้รับความเห็นชอบแล้ว จึงจะดำเนินการต่อไปได้ ในการจัดหา หรือการจ้างที่ปรึกษาที่ต้องปฏิบัติเป็นปกติประจำ ผู้มีอำนาจสั่งการอาจพิจารณาให้ความเห็นชอบในลักษณะที่เป็นหลักการก็ได้ ข้อ ๑๒ การอนุมัติสั่งจัดหาหรือสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่ง ให้เป็นอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งและภายในวงเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) เลขาธิการไม่เกินสามสิบล้านบาท (๒) คณะกรรมการ กบข. เกินกว่าสามสิบล้านบาท สำหรับการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษให้เลขาธิการมีอำนาจอนุมัติสั่งจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่งในวงเงินไม่เกินสิบล้านบาท ข้อ ๑๓ การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ และการสั่งการในกระบวนการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้มีอำนาจสั่งการ การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการจะมอบอำนาจให้แก่รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือผู้อำนวยการหรือเทียบเท่าก็ได้ตามความเหมาะสม เว้นแต่ การสั่งการในการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษจะมอบอำนาจมิได้ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ในการประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสองในสามและในการพิจารณาของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ เว้นแต่ การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างตามข้อ ๒๙ วรรคสอง ต้องเป็นมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการที่มาประชุม ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่ กบข. ในการดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาจะแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มิใช่พนักงานของ กบข. ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจัดหา หรือจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ในการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาครั้งเดียวกัน ห้ามแต่งตั้งผู้ที่เป็นกรรมการจัดหา หรือกรรมการจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการตรวจรับหรือกรรมการตรวจการจ้าง ส่วนที่ ๒ วิธีการจัดหา ข้อ ๑๔ การจัดหา กระทำได้สี่วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินไม่เกินสองแสนบาท (๒) วิธีสืบราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองแสนบาท แต่ไม่เกินสองล้านบาท (๓) วิธีแข่งขันราคา ให้ดำเนินการตาม (๓.๑) ก่อน หากไม่อาจดำเนินการได้ ให้ดำเนินการตาม (๓.๒) ต่อไป (๓.๑) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองล้านบาทและเป็นพัสดุที่มีคุณลักษณะที่สามารถกำหนดได้แน่นอน มีผู้ขายหรือผู้รับจ้างหลายรายและเป็นพัสดุที่สามารถจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ (๓.๒) วิธีประกวดราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองล้านบาท (๔) วิธีพิเศษ ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่าสองแสนบาทและเมื่อมีกรณีหนึ่งกรณีใด ดังนี้ (๔.๑) การจัดหาที่เร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ กบข. (๔.๒) เป็นวัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือ เพื่อประโยชน์ของ กบข. และจำเป็นต้องจัดหาเพิ่มเติม (Repeat Order) (๔.๓) การจัดหาที่จำเป็นจะต้องจัดหาจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ หรือการจัดหาที่มีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ หรือการจัดหาเพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกับพัสดุหรืองานบริการที่ กบข. เคยจัดหามาก่อน (๔.๔) การจัดหาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งเป็นผู้ขายหรือผู้รับจ้างพัสดุหรืองานจ้างนั้นเอง (๔.๕) การจัดหาจากห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ กบข. เป็นหุ้นส่วน หรือถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบ หรือนิติบุคคลที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นทั้งหมด (๔.๖) เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจเพื่อให้ทราบความชำรุดเสียหายเสียก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ในการจัดหาพัสดุที่ดำเนินการโดยฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเป็นผู้พิจารณาและระบุวิธีการจัดหา ยกเว้น ในกรณีที่หน่วยงานใดประสงค์จะใช้วิธีการจัดหาอื่น หน่วยงานนั้นจะต้องระบุเหตุผลและความจำเป็นในการจัดหาให้ชัดเจนเสนอผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ข้อ ๑๕ การจัดหาพัสดุ ในกรณีที่วัตถุประสงค์ในการใช้พัสดุเป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพ การดูแลรักษา หรือการใช้ประโยชน์จากพัสดุเป็นสำคัญ หรือในกรณีที่มีเหตุผลอันสมควรให้สามารถจัดหาพัสดุโดยอาจไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการจัดหาก็ได้ ทั้งนี้ ให้ระบุเหตุผลในการดำเนินการให้ชัดเจน วิธีตกลงราคา ข้อ ๑๖ การจัดหาโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาต่อรองราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วสรุปผลรายงานโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของ กบข. เป็นสำคัญ เสนอตามลำดับเพื่อผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาอนุมัติและออกใบสั่งจัดหา หรือใบสั่งจ้างที่ปรึกษา หรือใบสั่งงานอื่นๆ ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด การจัดหาพัสดุโดยวิธีตกลงราคา ถ้าผู้มีอำนาจสั่งจัดหาเห็นสมควรจะจัดหาโดยวิธีสืบราคาหรือวิธีแข่งขันราคาก็ได้ กรณีที่เป็นการจัดหาที่มีวงเงินไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือเป็นการซื้อจากห้างสรรพสินค้างานนิทรรศการ ผู้ประกอบธุรกิจประเภทค้าส่ง หรือการจัดหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการจัดหาไปก่อนโดยไม่ต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคสามแล้ว ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจสั่งการในโอกาสแรกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เมื่อผู้มีอำนาจสั่งการเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสืบราคา ข้อ ๑๗ การจัดหาโดยวิธีสืบราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาสืบราคาจากผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรงอย่างน้อยสามราย โดยให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างเสนอราคาตามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่จัดหากำหนดให้ ผู้เสนอราคาแต่ละราย ไม่ต้องเสนอราคาพร้อมกัน แต่เจ้าหน้าที่จัดหาต้องรักษาข้อเสนอของรายที่เสนอมาก่อนเป็นความลับ การพิจารณาตัดสินโดยปกติให้ถือคุณภาพของพัสดุ หรือบริการและราคาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีผู้ขายหรือผู้รับจ้างเสนอราคาไม่ถึงสามราย หากมีเหตุผลความจำเป็น ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหารายงานผู้มีอำนาจสั่งการต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการสืบราคาที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท จะต้องเสนอให้คณะกรรมการจัดหา โดยวิธีสืบราคาพิจารณาผลการสืบราคาซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งขึ้นพิจารณาก่อน การจัดหาพัสดุโดยวิธีสืบราคา ถ้าผู้มีอำนาจสั่งจัดหาเห็นสมควรจะจัดหาโดยวิธีแข่งขันราคาก็ได้ วิธีแข่งขันราคาโดยการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ข้อ ๑๘ การจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (๒) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน (๓) คัดเลือกรายชื่อผู้ขายหรือผู้รับจ้างที่ผ่านมาตรฐานทางเทคนิคขั้นต่ำ (๔) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป วิธีแข่งขันราคาโดยการประกวดราคา ข้อ ๑๙ การจัดหาโดยวิธีประกวดราคา ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการ เพื่อดำเนินการประกวดราคา โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคา (๒) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประกวดราคาให้ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าประกวดราคาสามารถเข้าแข่งขันราคาหรือแข่งขันคุณภาพได้อย่างเสรีและเป็นธรรม (๓) ประกาศให้ผู้สนใจทราบโดยเปิดเผยอย่างน้อยห้าวันทำการ และหากเห็นควรจะส่งประกาศและเงื่อนไขการประกวดราคาไปยังผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง หรือโฆษณาโดยวิธีอื่นอีกด้วยก็ได้และจะต้องมีช่วงเวลาสำหรับการคำนวณราคาหลังปิดการประกาศให้ผู้สนใจทราบจนถึงวันก่อนรับซองประกวดราคาไม่น้อยกว่าห้าวันทำการ (๔) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผลการประกวดราคา ในกรณีที่ผู้เข้าประกวดราคารายใด เสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไขที่กำหนดในเอกสารประกวดราคาในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและความแตกต่างนั้นไม่มีผลทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบต่อผู้เข้าประกวดราคารายอื่น หรือเป็นการผิดพลาดเล็กน้อย ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผ่อนผันให้เข้าประกวดราคาโดยไม่ตัดสิทธิผู้เข้าประกวดราคารายนั้นออก ในการพิจารณา คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาอาจสอบถามข้อเท็จจริงจากผู้เข้าประกวดราคารายใดก็ได้ แต่จะให้ผู้เข้าประกวดราคารายใดเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญที่เสนอไว้แล้วมิได้ เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประกวดราคาพิจารณาผลการประกวดราคารายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป วิธีพิเศษ ข้อ ๒๐ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษ เพื่อพิจารณาต่อรองราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๓ วิธีการจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๒๑ การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้สามวิธี คือ (๑) วิธีตกลง ได้แก่ (๑.๑) การจ้างที่ปรึกษาที่มีค่างานไม่เกินห้าแสนบาท (๑.๒) การจ้างที่เลขาธิการเห็นสมควรให้จ้างที่ปรึกษารายเดิมเพื่อทำงานต่อเนื่อง (๑.๓) การจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด หรือการจ้างในกรณีที่ต้องการรักษาความลับทางธุรกิจ หรือไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือกและเป็นการจ้างที่มีค่าจ้างไม่เกินสามล้านบาท (๑.๔) การจ้างที่คณะกรรมการ กบข. เห็นสมควรให้ใช้ที่ปรึกษารายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ (๒) วิธีคัดเลือก (๓) วิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างที่ปรึกษาครั้งหนึ่งและต้องดำเนินการภายใต้หลักเกณฑ์ตาม (๓.๑) และ (๓.๒) ดังนี้ (๓.๑) เป็นการจ้างที่ต้องกระทำโดยจำเป็นเร่งด่วน หากดำเนินการว่าจ้างตามวิธี (๑) และ (๒) จะทำให้เกิดการล่าช้า หรือเกิดความเสียหายแก่ กบข. และ (๓.๒) เป็นการจ้างที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนและต้องการรักษาความลับทางธุรกิจ ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่าหนึ่งล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้ว ให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ข้อ ๒๒ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้เจ้าหน้าที่จัดหาเป็นผู้ดำเนินการ ในกรณีที่เห็นสมควรเลขาธิการจะแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ และให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา ซึ่งหมายถึงคุณวุฒิและประวัติการทำงาน หรือหลักฐานแสดงผลงานที่ได้เคยปฏิบัติมาแล้ว และให้หมายความรวมถึงข้อกำหนดอื่นใดที่เจ้าหน้าที่จัดหา หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงกำหนด (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา เมื่อการดำเนินการได้ผลประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหา หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๓ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกเพื่อดำเนินการ และมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาจัดหารายชื่อที่ปรึกษา แล้วพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของที่ปรึกษาที่ตรงกับงานจ้างมากที่สุดไม่น้อยกว่าสามราย (๒) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งโดยปกติจะให้ที่ปรึกษายื่นซองข้อเสนอเป็นสองซอง คือ ซองข้อเสนอทางเทคนิคและซองข้อเสนอด้านราคา การคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อเสนอทางเทคนิค ซึ่งมีรายละเอียดเช่นเดียวกับที่ระบุไว้ในข้อ ๒๒ (๑) ก่อน (๓) ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาตามรายชื่อที่คัดเลือกไว้ตาม (๑) โดยแจ้งให้ทราบหลักเกณฑ์ตาม (๒) ด้วย (๔) พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับของผู้ที่ผ่านเกณฑ์ที่คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกกำหนด (๕) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่สามพร้อมกัน แล้วเลือกรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดลำดับที่หนึ่งมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก หากเจรจาไม่ได้ผล ให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดรายถัดไปตามลำดับ ทั้งนี้ อาจไม่ต้องถือราคาต่ำสุดในการจ้างก็ได้ โดยให้ระบุเหตุผลในการดำเนินการให้ชัดเจน (๖) เมื่อเจรจาได้ที่ปรึกษารายที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๗) เมื่อตัดสินให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง เมื่อดำเนินการได้ผลประการใด ให้คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๔ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษ ให้ผู้มีอำนาจสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษเพื่อต่อรองค่าจ้างกับที่ปรึกษาโดยตรง เมื่อดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีพิเศษรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๔ การทำสัญญา ข้อ ๒๕ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ให้ทำสัญญาเป็นภาษาไทย ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด โดยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้ด้วย (๑) หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา อันได้แก่ เงินสด แคชเชียร์เช็ค หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในอัตราร้อยละห้าของมูลค่าตามสัญญา หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญาโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว (๒) กำหนดเวลาส่งมอบพัสดุ งานจ้างหรือบริการ พร้อมอัตราหรือจำนวนค่าปรับเป็นรายวัน (๓) ในกรณีที่มีการขอรับเงินล่วงหน้า ให้มีเงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตามสัญญา แต่จะต้องมีหลักประกันตาม (๑) เป็นประกันการรับเงินล่วงหน้าในจำนวนที่เท่ากันด้วย หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญา เมื่อ กบข. ได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดไว้ครบถ้วนแล้ว ในกรณีที่เป็นการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือโดยปกติประเพณีทางการค้าในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาบางประเภทที่ไม่อาจปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๓) ได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการที่จะพิจารณาให้ทำสัญญา หรือให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ข้อ ๒๖ ในกรณีไม่อาจทำหลักฐานเป็นหนังสือสัญญาตามแบบที่เลขาธิการกำหนดให้เป็นอำนาจของเลขาธิการอนุมัติจัดหา หรือจ้างที่ปรึกษาที่จะพิจารณาเห็นสมควรให้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ หรือหลักฐานในรูปแบบอื่นได้ที่มีผลตามกฎหมาย หรือเป็นหลักปฏิบัติทางธุรกิจ ข้อ ๒๗ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ที่มีวงเงินไม่เกินสองแสนบาท หรือในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถจัดส่งพัสดุ งานจ้างหรือบริการได้ภายในห้าวันทำการนับแต่วันที่สั่งจัดหา หรือสั่งจ้างที่ปรึกษา หรือในกรณีที่เลขาธิการเห็นสมควร จะทำใบสั่งจัดหาหรือใบสั่งจ้างที่ปรึกษาหรือหลักฐานอื่นแทนการทำสัญญาก็ได้ ข้อ ๒๘ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่ การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ กบข. ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ กบข. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การต่ออายุสัญญา การขยายระยะเวลา การงดหรือลดค่าปรับหรือการเลิกสัญญา ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่ถ้าการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษานั้นมีมูลค่าตั้งแต่สิบห้าล้านบาทขึ้นไป เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ต้องรายงานให้คณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ส่วนกรณีที่มูลค่าการจัดหา หรือการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้นเกินอำนาจสั่งการและอนุมัติของเลขาธิการ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. ส่วนที่ ๕ การตรวจรับพัสดุและบริการ ข้อ ๒๙ การตรวจรับพัสดุและบริการ ให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นว่าพัสดุ หรืองานบริการใดสมควรจะต้องมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง ก็ให้เสนอเลขาธิการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างขึ้นดำเนินการ การตรวจรับพัสดุและบริการจะต้องดำเนินการทันทีที่มีการส่งมอบ และตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด เมื่อตรวจรับถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง จัดทำใบตรวจรับ หรือลงนามในหลักฐานการตรวจรับอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างหนึ่งฉบับ และฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหนึ่งฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน พร้อมรายงานเลขาธิการทราบ และส่งพัสดุให้กับฝ่ายสนับสนุนทั่วไปทันที ถ้าพัสดุหรือบริการไม่ถูกต้อง และผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการไม่สามารถส่งมอบพัสดุหรือบริการได้ตามข้อกำหนดหรือสัญญา แล้วแต่กรณี ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเป็นผู้ตรวจรับให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปรายงานพร้อมเสนอความเห็นไปยังเลขาธิการเพื่อพิจารณาสั่งการ สำหรับกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นผู้ตรวจรับ ให้รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อให้ทำความเห็นเสนอเลขาธิการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป หมวด ๓ การควบคุมพัสดุ ข้อ ๓๐ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจัดให้มีคลังพัสดุสำหรับพัสดุที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานเป็นปกติประจำของ กบข. โดยจะต้องมีการสำรองพัสดุเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานและสอดคล้องกับการใช้งาน ข้อ ๓๑ พัสดุของ กบข. ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้เจ้าหน้าที่คลังพัสดุทำทะเบียนคุมพัสดุ ตามแบบหรือวิธีการที่เลขาธิการกำหนด โดยมีหลักฐานการรับและการเบิกจ่ายไว้ประกอบรายการให้ครบถ้วน กรณีพัสดุใช้คงรูปและมีราคาเกินกว่าห้าพันบาท หรือพัสดุอื่นที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นสมควรควบคุมเป็นรายชิ้น ให้กำหนดให้มีหมายเลขพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๓๒ พัสดุหรือทรัพย์สินใดที่เลขาธิการเห็นสมควรจัดทำสัญญาประกันวินาศภัย ก็จัดให้มีการทำสัญญาประกันวินาศภัย ข้อ ๓๓ การให้ยืม หรือนำพัสดุไปใช้ภายนอก กบข. ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ กบข. สมาชิก กบข. หรือทางราชการโดยตรง และเป็นอำนาจของเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่จะพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๓๔ ให้มีการตรวจสอบการรับ - จ่ายพัสดุ และพัสดุคงเหลือเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง หมวด ๔ การจำหน่ายพัสดุ ข้อ ๓๕ พัสดุที่หมดความจำเป็น หรือมีสภาพไม่เหมาะสมในการใช้งาน หรือหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้รับ หรือชำรุดสูญหาย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการจำหน่าย ก่อนดำเนินการจำหน่าย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการสอบข้อเท็จจริง แล้วรายงานเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อทราบและสั่งการ เว้นแต่เป็นการชำรุด หรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ ก็ให้บันทึกรับรองโดยไม่ต้องสอบข้อเท็จจริงก็ได้ ข้อ ๓๖ การจำหน่ายพัสดุตามข้อ ๓๕ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปกระทำโดยวิธีการขายหรือแลกเปลี่ยน โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดหามาใช้โดยอนุโลม ส่วนการจำหน่ายโดยวิธีการบริจาค ทำลาย หรือจำหน่ายเป็นสูญ ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ เว้นแต่การจำหน่ายที่มีมูลค่าปัจจุบันตามบัญชีเกินสองแสนบาท ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. หมวด ๕ บทเฉพาะกาล ข้อ ๓๗ การจัดหาพัสดุและการจ้างที่ปรึกษาใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการและยังไม่แล้วเสร็จในวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖ จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ หรือจนกว่าจะสามารถดำเนินการตามระเบียบนี้ได้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ปริญสินีย์/ปรับปรุง ๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๗ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๓๐/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
553745
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖[๑] โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ เพื่อให้การปฏิบัติงานพัสดุของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงวางระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๖” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๓ ของระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๓ การจัดหา กระทำได้ ดังนี้ (๑) วิธีตกลงราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) วิธีสืบราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) วิธีประกวดราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท และเป็นพัสดุที่มีคุณลักษณะที่สามารถกำหนดได้แน่นอน มีผู้ค้าหลายรายและเป็นพัสดุที่สามารถจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ได้ (๕) วิธีพิเศษ ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท และมีความจำเป็นเร่งด่วน หากล่าช้าจะเสียหายแก่ กบข. หรือมีความจำเป็นจะต้องจัดหาจากผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ หรือการจัดหาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตพัสดุ หรืองานจ้างนั้นเอง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย” ข้อ ๔ ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็นข้อ ๑๖/๑ “วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ข้อ ๑๖/๑ การจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อดำเนินการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งขึ้น (๒) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้ชัดเจน (๓) คัดเลือกรายชื่อผู้ค้าที่ผ่านมาตรฐานทางเทคนิคขั้นต่ำ และประกาศรายชื่อให้ผู้ค้าทราบอย่างกว้างขวาง (๔) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) เมื่อดำเนินการได้ผลเป็นประการใดให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป” ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖ สมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๒๘/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
553737
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2545
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕[๑] โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ เพื่อให้การปฏิบัติงานพัสดุของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจึงวางระเบียบไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๕” ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้หรือขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน ข้อ ๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแบบและวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ สำหรับกรณีที่เป็นการอนุมัติยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หมวด ๑ ข้อความทั่วไป ข้อ ๖ ในระเบียบนี้ “การพัสดุ” หมายความว่า การจัดหา การควบคุมพัสดุ การจำหน่ายพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา และการดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ “พัสดุ” หมายความว่า วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง “การจัดหา” หมายความว่า การซื้อ การจ้าง การเช่า การแลกเปลี่ยน และการดำเนินการอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งพัสดุหรือบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้างที่ปรึกษา ผู้จัดการกองทุน ผู้เก็บรักษาทรัพย์สินและการจัดทำเอง “การจ้างที่ปรึกษา” หมายความว่า การจ้างเหมาบริการที่ปรึกษา ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจหรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งการให้บริการด้านศึกษา สำรวจ ออกแบบ ควบคุมงานและการวิจัย “กบข.” หมายความว่า กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ “เจ้าหน้าที่จัดหา” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ในฝ่ายสนับสนุนทั่วไป หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากเลขาธิการให้เป็นเจ้าหน้าที่จัดหา ข้อ ๗ การจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้สนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศและกิจการของคนไทย ข้อ ๘ ในการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนต้องดำเนินการโดยเปิดเผย โปร่งใส และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม เว้นแต่กรณีที่มีลักษณะเฉพาะอันเป็นการยกเว้นตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน ให้ผู้มีหน้าที่บันทึกหลักฐานในการดำเนินการ พร้อมทั้งระบุเหตุผลในการพิจารณาสั่งการในขั้นตอนที่สำคัญไว้เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย หมวด ๒ การจัดหา และการจ้างที่ปรึกษา ส่วนที่ ๑ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ ข้อ ๙ การขออนุมัติหลักการในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้หน่วยงานที่ต้องการใช้พัสดุหรือบริการจัดทำใบขอจัดหา ขออนุมัติจากผู้บังคับบัญชาในสายงานที่สังกัด เมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้แจ้งเจ้าหน้าที่จัดหาเพื่อดำเนินการต่อไป ข้อ ๑๐ การดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เว้นแต่กรณีที่ระเบียบนี้กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ หรือเลขาธิการได้พิจารณามอบหมายให้หน่วยงานอื่นดำเนินการจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาตามระเบียบนี้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อหน่วยงานนั้นดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นแล้ว ให้จัดส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้แก่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ก่อนการดำเนินการจัดหาและจ้างที่ปรึกษาทุกครั้ง ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจัดทำรายงานเสนอผู้มีอำนาจสั่งการตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจสั่งการแล้ว จึงจะดำเนินการต่อไปได้ ในการจัดหาที่ต้องปฏิบัติเป็นปกติประจำ ผู้มีอำนาจสั่งการอาจพิจารณาให้ความเห็นชอบในลักษณะที่เป็นหลักการก็ได้ ข้อ ๑๒ การแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ ให้เป็นอำนาจของผู้มีอำนาจสั่งการตามข้อ ๒๑ คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ คน ในการประชุมของคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่าสองในสาม และในการพิจารณาของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมากเป็นสำคัญ เว้นแต่การดำเนินการของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุตามข้อ ๒๕ วรรคสอง ต้องเป็นมติเอกฉันท์ของคณะกรรมการที่มาประชุม ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์แก่ กบข. ในการดำเนินการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา จะแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มิใช่พนักงานของ กบข. ซึ่งเป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในงานที่จะจัดหาหรือจ้างที่ปรึกษาเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ส่วนที่ ๒ วิธีการจัดหา ข้อ ๑๓ การจัดหา กระทำได้ ๔ วิธี คือ (๑) วิธีตกลงราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท (๒) วิธีสืบราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่เกิน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๓) วิธีประกวดราคา ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๔) วิธีพิเศษ ได้แก่การจัดหาครั้งหนึ่ง ซึ่งมีวงเงินเกินกว่า ๑๐๐,๐๐๐ บาท และมีความจำเป็นเร่งด่วน หากล่าช้าจะเสียหายแก่ กบข. หรือมีความจำเป็นจะต้องจัดหาจากผู้ประกอบการรายหนึ่งรายใดโดยเฉพาะ หรือการจัดหาจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ผลิตพัสดุหรืองานจ้างนั้นเอง ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจัดหาโดยวิธีพิเศษที่มีวงเงินเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อดำเนินการแล้วให้รายงานคณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย วิธีตกลงราคา ข้อ ๑๔ การจัดหาโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาติดต่อและต่อรองราคากับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการโดยตรง แล้วสรุปผลรายงานโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของ กบข. เป็นสำคัญ เสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาอนุมัติและออกใบสั่งซื้อ/ใบสั่งจ้าง/ใบสั่งงานอื่น ๆ ตามแบบที่เลขาธิการกำหนด กรณีที่เป็นการจัดหาที่มีวงเงินไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท หรือเป็นการซื้อจากห้างสรรพสินค้า งานนิทรรศการ ผู้ประกอบธุรกิจประเภทค้าส่ง หรือการจัดหาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนเกิดขึ้นโดยไม่คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการจัดหาไปก่อนโดยไม่ต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการตามวรรคหนึ่ง เมื่อได้ดำเนินการตามวรรคสองแล้ว ให้รีบรายงานผู้มีอำนาจสั่งการในโอกาสแรกตามแบบที่เลขาธิการกำหนด เมื่อผู้มีอำนาจสั่งการเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม วิธีสืบราคา ข้อ ๑๕ การจัดหาโดยวิธีสืบราคา ให้เจ้าหน้าที่จัดหาสืบราคาจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการโดยตรง อย่างน้อย ๓ ราย โดยให้ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการ เสนอราคาตามรายละเอียดที่เจ้าหน้าที่จัดหากำหนดให้ ผู้เสนอราคาแต่ละราย ไม่ต้องเสนอราคาพร้อมกัน แต่เจ้าหน้าที่จัดหาต้องรักษาข้อเสนอของรายที่เสนอมาก่อนเป็นความลับ การพิจารณาตัดสินโดยปกติให้ถือคุณภาพของพัสดุหรือบริการ และราคาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ในกรณีที่มีผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการเสนอราคาไม่ถึง ๓ ราย หากมีเหตุผลความจำเป็น ก็ให้ดำเนินการต่อไปได้ เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหารายงานผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการสืบราคาที่มีวงเงินเกินกว่า ๕๐๐,๐๐๐ บาท จะต้องเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสืบราคาซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งขึ้นพิจารณาก่อน วิธีประกวดราคา ข้อ ๑๖ การจัดหาโดยวิธีประกวดราคา ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจะต้องเสนอผู้มีอำนาจสั่งการ เพื่อดำเนินการประกวดราคา โดยมีหลักการสำคัญดังนี้ (๑) กำหนดรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ หรือรูปแบบรายการละเอียด และเงื่อนไขในการประกวดราคาให้ชัดเจน และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าแข่งขันราคาหรือแข่งขันคุณภาพได้อย่างเสรีและเป็นธรรม (๒) ประกาศให้ผู้สนใจทราบอย่างกว้างขวาง (๓) การพิจารณาตัดสิน ให้ดำเนินการโดยคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาซึ่งเลขาธิการแต่งตั้งขึ้น เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคารายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป วิธีพิเศษ ข้อ ๑๗ การจัดหาโดยวิธีพิเศษ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษเพื่อพิจารณาติดต่อและต่อรองราคากับผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือผู้ให้บริการโดยตรง เมื่อการดำเนินการได้ผลเป็นประการใด ให้คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีพิเศษรายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๓ วิธีการจ้างที่ปรึกษา ข้อ ๑๘ การจ้างที่ปรึกษา กระทำได้ ๒ วิธี คือ (๑) วิธีตกลง ได้แก่ (๑.๑) การจ้างที่ปรึกษาที่มีค่างานไม่เกิน ๓๐๐,๐๐๐ บาท (๑.๒) การจ้างที่ผู้มีอำนาจสั่งการเห็นสมควรให้จ้างที่ปรึกษารายเดิมเพื่อทำงานต่อเนื่อง (๑.๓) การจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่าผู้เชี่ยวชาญในงานที่จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด ไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการด้วยวิธีคัดเลือก และเป็นการจ้างที่มีค่าจ้างไม่เกิน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๑.๔) การจ้างที่คณะกรรมการ กบข. เห็นสมควรให้ใช้ที่ปรึกษารายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ (๒) วิธีคัดเลือก ข้อ ๑๙ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้เจ้าหน้าที่จัดหาเป็นผู้ดำเนินการ ในกรณีที่เห็นสมควร เลขาธิการจะแต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาเป็นผู้ดำเนินการก็ได้ และให้เจ้าหน้าที่จัดหา หรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษามีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา (๒) พิจารณาอัตราค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ (๓) พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดในสัญญา เมื่อการดำเนินการได้ผลประการใด ให้เจ้าหน้าที่จัดหาหรือคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษารายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ข้อ ๒๐ การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก ให้แต่งตั้งคณะกรรมการจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินการ และมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ (๑) พิจารณาจัดหารายชื่อที่ปรึกษา แล้วพิจารณาคัดเลือกคุณสมบัติของที่ปรึกษาที่ตรงกับงานจ้างมากที่สุด จำนวน ๓ - ๖ ราย (๒) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ซึ่งโดยปกติจะให้ที่ปรึกษายื่นซองข้อเสนอเป็น ๒ ซอง คือ ซองข้อเสนอทางเทคนิค และซองข้อเสนอราคา การคัดเลือกจะพิจารณาจากข้อเสนอทางเทคนิคก่อน (๓) ออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาตามรายชื่อที่คัดเลือกไว้ตาม (๑) โดยแจ้งให้ทราบหลักเกณฑ์ตาม (๒) ด้วย (๔) พิจารณาข้อเสนอทางเทคนิคของที่ปรึกษาทุกราย และจัดลำดับของผู้ที่ผ่านเกณฑ์ที่คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษากำหนด (๕) เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่สามพร้อมกัน แล้วเลือกรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดลำดับที่หนึ่งมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก หากเจรจาไม่ได้ผลให้ยกเลิกแล้วเจรจากับรายที่ยื่นข้อเสนอทางเทคนิคดีที่สุดรายถัดไปตามลำดับ (๖) เมื่อเจรจาได้ที่ปรึกษารายที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ที่จะกำหนดในสัญญา (๗) เมื่อตัดสินให้ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซองข้อเสนอราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ได้ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง เมื่อการดำเนินการได้ผลประการใด ให้คณะกรรมการจ้างที่ปรึกษารายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเพื่อนำเสนอผู้มีอำนาจสั่งการพิจารณาต่อไป ส่วนที่ ๔ ผู้มีอำนาจสั่งการ ข้อ ๒๑ การสั่งการในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษา ให้เป็นอำนาจอนุมัติของผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ (๑) เลขาธิการ ไม่เกิน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (๒) คณะกรรมการ กบข. เกินกว่า ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง เลขาธิการจะมอบอำนาจให้แก่รองเลขาธิการ ผู้ช่วยเลขาธิการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นก็ได้ตามความเหมาะสม เว้นแต่การสั่งการในการจัดหาโดยวิธีพิเศษจะมอบอำนาจมิได้ ส่วนที่ ๕ การทำสัญญา ข้อ ๒๒ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษา ให้ทำสัญญาเป็นภาษาไทยตามแบบที่เลขาธิการกำหนด โดยต้องมีข้อกำหนดดังต่อไปนี้ด้วย (๑) หลักประกันการปฏิบัติตามสัญญา อันได้แก่ เงินสด แคชเชียร์เช็ค หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ในอัตราร้อยละห้าของมูลค่าตามสัญญา หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญาโดยเร็ว อย่างช้าไม่เกินสิบห้าวันนับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว (๒) กำหนดเวลาส่งมอบพัสดุ งานจ้างหรือบริการ พร้อมอัตราหรือจำนวนค่าปรับเป็นรายวัน (๓) ในกรณีที่มีการขอรับเงินล่วงหน้า ให้มีเงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้าได้ไม่เกินร้อยละยี่สิบของมูลค่าตามสัญญา แต่จะต้องมีหลักประกันตาม (๑) เป็นประกันการรับเงินล่วงหน้าในจำนวนที่เท่ากันด้วย หลักประกันนี้ให้คืนแก่คู่สัญญา เมื่อ กบข. ได้หักเงินที่ได้จ่ายล่วงหน้าจากเงินที่จ่ายตามผลงานแต่ละงวดไว้ครบถ้วนแล้ว ในกรณีที่เป็นการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การระหว่างประเทศ หรือโดยปกติประเพณีทางการค้าในการจัดหาและการจ้างที่ปรึกษาบางประเภทที่ไม่อาจปฏิบัติตาม (๑) หรือ (๓) ได้ ให้อยู่ในดุลพินิจของเลขาธิการที่จะพิจารณาให้ทำสัญญา หรือให้จ่ายเงินล่วงหน้าได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม แล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องมีหลักประกัน ในกรณีจำเป็นต้องทำสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทำเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคำแปลตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญาเฉพาะที่สำคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ข้อ ๒๓ การจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาที่มีวงเงินไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างสามารถจัดส่งพัสดุ งานจ้างหรือบริการได้ ภายใน ๕ วันทำการ นับแต่วันที่สั่งซื้อหรือสั่งจ้าง หรือในกรณีที่ผู้มีอำนาจสั่งการเห็นสมควร จะทำใบสั่งซื้อหรือหลักฐานอื่นแทนการทำสัญญาก็ได้ ข้อ ๒๔ สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจำเป็นโดยไม่ทำให้ กบข. ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์แก่ กบข. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การต่ออายุสัญญา การขยายระยะเวลา การงดหรือลดค่าปรับหรือการเลิกสัญญา ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แต่ถ้าการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษานั้นมีมูลค่าตั้งแต่ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาทขึ้นไป เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ต้องรายงานให้คณะกรรมการ กบข. ทราบด้วย ส่วนกรณีที่มูลค่าการจัดหาหรือการจ้างที่ปรึกษาครั้งนั้นเกินอำนาจสั่งการและอนุมัติของเลขาธิการ ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. ส่วนที่ ๖ การตรวจรับพัสดุและบริการ ข้อ ๒๕ การตรวจรับพัสดุและบริการ ให้เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นว่าพัสดุหรืองานบริการใดสมควรจะต้องมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง ก็ให้เสนอผู้มีอำนาจสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างขึ้นดำเนินการ การตรวจรับพัสดุและบริการจะต้องดำเนินการทันทีที่มีการส่งมอบ และตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด เมื่อตรวจรับถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปหรือคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้าง จัดทำใบตรวจรับ หรือลงนามในหลักฐานการตรวจรับอย่างน้อย ๒ ฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ๑ ฉบับ และฝ่ายสนับสนุนทั่วไป ๑ ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงิน พร้อมรายงานผู้มีอำนาจสั่งการทราบ และส่งพัสดุให้กับฝ่ายสนับสนุนทั่วไปทันที ถ้าพัสดุหรือบริการไม่ถูกต้อง และผู้ขายหรือผู้รับจ้างไม่สามารถส่งมอบพัสดุหรือบริการได้ตามข้อกำหนดหรือสัญญาแล้วแต่กรณี ในกรณีที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเป็นผู้ตรวจรับ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปรายงานพร้อมเสนอความเห็นไปยังผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อพิจารณาสั่งการ สำหรับกรณีที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือคณะกรรมการตรวจการจ้างเป็นผู้ตรวจรับ ให้รายงานผ่านฝ่ายสนับสนุนทั่วไป เพื่อให้ทำความเห็นเสนอผู้มีอำนาจสั่งการเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป หมวด ๓ การควบคุมพัสดุ ข้อ ๒๖ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปจัดให้มีคลังพัสดุสำหรับพัสดุที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานเป็นปกติประจำของ กบข. โดยจะต้องมีการสำรองพัสดุเท่าที่จำเป็นต่อการใช้งาน และสอดคล้องกับการใช้งาน ข้อ ๒๗ พัสดุของ กบข. ไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้เจ้าหน้าที่คลังพัสดุทำทะเบียนคุมพัสดุ ตามแบบหรือวิธีการที่เลขาธิการกำหนด โดยมีหลักฐานการรับและการเบิกจ่ายไว้ประกอบรายการให้ครบถ้วน กรณีพัสดุใช้คงรูปและมีราคาเกินกว่า ๕,๐๐๐ บาท หรือพัสดุอื่นที่ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปเห็นสมควรควบคุมเป็นรายชิ้น ให้กำหนดให้มีหมายเลขพัสดุนั้นด้วย ข้อ ๒๘ พัสดุหรือทรัพย์สินใดที่เลขาธิการเห็นสมควรจัดทำสัญญาประกันวินาศภัย ก็จัดให้มีการทำสัญญาประกันวินาศภัย ข้อ ๒๙ การให้ยืม หรือนำพัสดุไปใช้ภายนอก กบข. ให้กระทำได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่ กบข. สมาชิก กบข. หรือทางราชการโดยตรง และเป็นอำนาจของเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่จะพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๓๐ ให้มีการตรวจสอบการรับ - จ่ายพัสดุ และพัสดุคงเหลือเป็นประจำอย่างน้อยปีละครั้ง หมวด ๔ การจำหน่ายพัสดุ ข้อ ๓๑ พัสดุที่หมดความจำเป็น หรือมีสภาพไม่เหมาะสมในการใช้งาน หรือหากใช้งานต่อไปจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากไม่คุ้มกับประโยชน์ที่จะได้รับ หรือชำรุดสูญหาย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการจำหน่าย ก่อนดำเนินการจำหน่าย ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปดำเนินการสอบข้อเท็จจริง แล้วรายงานเลขาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเพื่อทราบและสั่งการ เว้นแต่เป็นการชำรุดหรือเสื่อมสภาพจากการใช้งานตามปกติ ก็ให้บันทึกรับรองโดยไม่ต้องสอบข้อเท็จจริงก็ได้ ข้อ ๓๒ การจำหน่ายพัสดุตามข้อ ๓๑ ให้ฝ่ายสนับสนุนทั่วไปกระทำโดยวิธีการขาย หรือแลกเปลี่ยน โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดหามาใช้โดยอนุโลม ส่วนการจำหน่ายโดยวิธีการบริจาค ทำลาย หรือจำหน่ายเป็นสูญ ให้เป็นอำนาจของเลขาธิการ เว้นแต่การจำหน่ายที่มีมูลค่าปัจจุบันตามบัญชีเกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการ กบข. ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๕ สมใจนึก เองตระกูล ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ โสรศ/ผู้จัดทำ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๐ โชติกานต์/ปรับปรุง ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๗๐ ง/หน้า ๑๘/๘ มิถุนายน ๒๕๕๐
725395
พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ “สถาบันการเงินเฉพาะกิจ” หมายความว่า (๑) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (๒) ธนาคารออมสินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารออมสิน (๓) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอาคารสงเคราะห์ (๔) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (๕) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เรียกว่า “กองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้สำหรับการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มั่นคงและมีเสถียรภาพ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการเงินของประเทศ มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วย (๑) เงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งตามมาตรา ๑๕ และเงินเพิ่มตามมาตรา ๑๖ (๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นคราว ๆ (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้แก่กองทุน (๔) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน (๕) ดอกผลหรือผลประโยชน์ที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ รายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง มาตรา ๘ เงินของกองทุน ให้ใช้จ่ายเพื่อการดังต่อไปนี้ (๑) เป็นแหล่งเงินในการเพิ่มทุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามมาตรา ๑๗ (๒) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินอื่นในการเพิ่มทุนตามมาตรา ๑๘ (๓) พัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามมาตรา ๑๙ (๔) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินโดยการกู้ยืมตามมาตรา ๒๒ (๕) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุนตามมาตรา ๒๓ มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ” ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นกรรมการและเลขานุการ และให้ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังแต่งตั้งข้าราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๐ การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมของคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๑๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำส่งเงินเข้ากองทุนตามมาตรา ๑๕ และเงินเพิ่มตามมาตรา ๑๖ (๒) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการพิจารณาจัดสรรเงินจากกองทุนเพื่อการเพิ่มทุนตามมาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๘ (๓) พิจารณาโครงการหรือแผนงานพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามมาตรา ๑๙ (๔) พิจารณาจัดสรรเงินกองทุนตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมาตรา ๒๐ (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินและการนำเงินกองทุนไปลงทุนหรือหาประโยชน์ตามมาตรา ๑๔ (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุนตามมาตรา ๒๓ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงินและการจ่ายเงินของกองทุน (๘) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีเพื่อให้มีการออกประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย มาตรา ๑๒ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการมอบหมายได้ ให้นำความในมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม มาตรา ๑๓ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการได้รับประโยชน์ตอบแทนตามที่รัฐมนตรีกำหนด ประโยชน์ตอบแทนตามวรรคหนึ่งให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายของกองทุน มาตรา ๑๔ การนำเงินกองทุนไปลงทุนหรือหาประโยชน์ ให้ฝากกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย หรือลงทุนในหลักทรัพย์อื่นที่มีความมั่นคงสูง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนด หมวด ๒ การนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรา ๑๕ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหน้าที่นำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แต่ต้องไม่เกินร้อยละหนึ่งต่อปีของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี ในการประกาศกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนครั้งแรกให้กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนเป็นอัตราเดียว สำหรับครั้งต่อไปจะกำหนดอัตราดังกล่าวให้แตกต่างกันตามประเภทหรือฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจก็ได้ มาตรา ๑๖ สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี หมวด ๓ การจ่ายเงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มาตรา ๑๗ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดมีเหตุต้องเพิ่มทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น หากกระทรวงการคลังเห็นสมควรใช้เงินจากกองทุน ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาจำนวนเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนเพื่อการเพิ่มทุน เมื่อคณะกรรมการพิจารณาจำนวนเงินที่จะจัดสรรตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กระทรวงการคลังเสนอความเห็นของคณะกรรมการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ การพิจารณาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๑๘ ในกรณีที่มีความจำเป็นให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้สถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นแต่มิได้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัตินี้ใช้เงินจากกองทุนเพื่อการเพิ่มทุน ทั้งนี้ ให้นำมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม การพิจารณาของคณะกรรมการในการใช้เงินจากกองทุนเพื่อการเพิ่มทุนตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด มาตรา ๑๙ ในกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นสมควรดำเนินโครงการหรือแผนงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยใช้เงินจากกองทุน ให้เสนอคณะกรรมการพิจารณาโครงการหรือแผนงานนั้น หากคณะกรรมการเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติเงินจากกองทุนเพื่อดำเนินโครงการหรือแผนงานดังกล่าว มาตรา ๒๐ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจำนวนเงินที่จะจัดสรรให้แก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจหรือกระทรวงการคลังตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๑๙ แล้วแต่กรณี ให้คณะกรรมการดำเนินการให้มีการจ่ายเงินของกองทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยอาจกำหนดเป็นงวดเวลาตามความเหมาะสมได้ ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงภารกิจและสภาพคล่องของกองทุนด้วย มาตรา ๒๑ การเพิ่มทุนตามมาตรา ๑๗ หรือมาตรา ๑๘ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงบประมาณเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวด้วย มาตรา ๒๒ ในกรณีที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยมีความจำเป็นต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินโดยการกู้ยืมจากกองทุน ให้กระทรวงการคลังพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดสรรเงินของกองทุนแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้กระทรวงการคลังทำสัญญาให้กู้ยืมเงินตามจำนวนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ โดยให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาให้กู้ยืม มาตรา ๒๓ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุนให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี หมวด ๔ การบัญชีและการตรวจสอบรับรอง มาตรา ๒๔ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการเสนองบการเงินและรายงานการใช้จ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้วต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเพื่อตรวจสอบรับรอง ให้เสนองบการเงินและรายงานการใช้จ่ายเงินที่มีการรับรองตามวรรคหนึ่งแล้วต่อรัฐมนตรีและให้รัฐมนตรีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยสถาบันคุ้มครองเงินฝากและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน บัญญัติให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของเอกชน เพื่อเป็นการคุ้มครองเงินฝากของประชาชน และเป็นการนำไปช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในการชำระหนี้เงินกู้ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงสถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ทำให้สถาบันการเงินของรัฐดังกล่าวมีต้นทุนในการระดมเงินฝากจากประชาชนต่ำกว่าสถาบันการเงินของเอกชน จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของรัฐในลักษณะเดียวกันกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากและธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกเก็บจากสถาบันการเงินของเอกชนตามกฎหมายสองฉบับดังกล่าว เพื่อให้สถาบันการเงินของรัฐและของเอกชนมีความเท่าเทียมกันในการรับฝากเงินจากประชาชน โดยให้มีการนำเงินที่เรียกเก็บมาจัดตั้งเป็นกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อใช้ในการฟื้นฟูและพัฒนาระบบการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น อันจะเป็นการแบ่งเบาภาระงบประมาณของรัฐบาล ตลอดจนเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากรด้านการเงิน สมควรให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของรัฐ และการใช้จ่ายเงินที่ได้มาจากการเรียกเก็บดังกล่าวในการพัฒนาระบบสถาบันการเงินและช่วยเหลือสถาบันการเงินของรัฐ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๘ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๔๓/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
865006
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2563
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๓[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๐ ลงวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตรา ดังต่อไปนี้ (๑) ร้อยละ ๐.๑๒๕ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับการนำส่งเงินในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ - พ.ศ. ๒๕๖๔ (๒) ร้อยละ ๐.๒๕ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับการนำส่งเงินในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ปรีดี ดาวฉาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิไลภรณ์/จัดทำ ๑ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๘ ง/หน้า ๑/๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๓
767354
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2560
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๐[๑] โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ลงวันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตราร้อยละ ๐.๒๕ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พรวิภา/ปริยานุช/จัดทำ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ ปริญสินีย์/ตรวจ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๓๑ ง/หน้า ๒/๒๗ มกราคม ๒๕๖๐
747040
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการนำส่งเงินเพิ่ม
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการนำส่งเงินเพิ่ม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๑) และมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการนำส่งเงินเพิ่มในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนดตามประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เรื่อง การกำหนดยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นตรวจพบเองและนำส่งเงินเข้ากองทุน ต้องเสียเงินเพิ่มดังนี้ (๑) สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๐.๕ ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยให้คำนวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดให้นำส่งเงินจนถึงวันที่นำส่งครบถ้วน (๒) สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ครบกำหนด ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๐.๗๕ ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยให้คำนวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดให้นำส่งเงินจนถึงวันที่นำส่งครบถ้วน (๓) สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วนเมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม (๒) ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๑ ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยให้คำนวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดให้นำส่งเงินจนถึงวันที่นำส่งครบถ้วน ทั้งนี้ หากสถาบันการเงินเฉพาะกิจใดนำส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบ เนื่องจากการปรับปรุงบัญชีของผู้สอบบัญชี ณ วันสิ้นงวดการบัญชี และสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นนำส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วนภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ผู้สอบบัญชีรับรองงบการเงิน สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม ข้อ ๒ สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อกองทุนตรวจพบและมีหนังสือเรียกให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้นนำส่งเงินเข้ากองทุนให้ครบถ้วน สถาบันการเงินเฉพาะกิจต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ ๒ ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่นำส่งหรือนำส่งไม่ครบ โดยคำนวณตั้งแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดให้นำส่งเงินจนถึงวันที่นำส่งครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามหนังสือเรียกให้นำส่งของกองทุน ข้อ ๓ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ต้องนำส่งเงินเพิ่ม นำส่งเงินเพิ่มตามข้อ ๑ หรือ ๒ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ การคำนวณยอดเงินเพิ่มดังกล่าวต้องไม่เกินสามร้อยหกสิบห้าวัน ข้อ ๔ ในกรณีที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจใดไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบอันเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอื่น เมื่อคณะกรรมการกองทุนพิจารณาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรและสถาบันการเงินเฉพาะกิจนั้น นำส่งเงินเข้ากองทุนครบถ้วนภายในระยะเวลาที่กองทุนกำหนดคณะกรรมการกองทุนอาจพิจารณาผ่อนผันให้ไม่ต้องนำส่งเงินเพิ่มก็ได้ ข้อ ๕ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเพิ่มเข้ากองทุนตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ และแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุนด้วย ข้อ ๖[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กรณีไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบถ้วน (สถาบันการเงินเฉพาะกิจตรวจพบเอง) ๒. แบบนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ กรณีไม่นำส่งเงินเข้ากองทุนหรือนำส่งไม่ครบถ้วน (กองทุนฯ ตรวจพบและมีหนังสือเรียกให้ชำระ) (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๙ นุสรา/ตรวจ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๙/๙ มีนาคม ๒๕๕๙
744792
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เรื่อง การกำหนดยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เรื่อง การกำหนดยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุน พัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหน้าที่นำส่งเงินเข้ากองทุนเป็นสัดส่วนของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เพื่อใช้ในการฟื้นฟูและพัฒนาระบบการเงินให้มีความมั่นคงและเสถียรภาพ รวมทั้งให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ (๑) และมาตรา ๑๕ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี จึงกำหนดยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน หมายความว่า ยอดเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจรับจากประชาชน ที่เป็นสกุลเงินบาทของทุกสาขาและสำนักงานในประเทศไทย โดยมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องจ่ายคืนแก่ประชาชน ดังต่อไปนี้ (๑) ยอดเงินในบัญชีเงินฝากทุกประเภท (๒) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตั๋วแลกเงิน (๓) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ (๔) ยอดเงินที่ได้รับจากการกู้ยืม (๕) ยอดเงินที่ได้รับจากการทำธุรกรรมขายหลักทรัพย์ โดยมีสัญญาว่าจะซื้อคืน และ (๖) ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนประเภทอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนตามข้อ (๒) (๓) (๔) และ (๕) ให้หมายความถึงยอดเงินที่ได้รับจากธุรกรรมที่ทำตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ข้อ ๒ ยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนตามข้อ ๑ ไม่รวมยอดเงิน ดังต่อไปนี้ (๑) ยอดเงินที่ได้รับจากสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (๒) ยอดเงินที่ได้รับจากการออกตราสารหนี้ตามจำนวนที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจนับเป็นเงินกองทุนโดยไม่นับรวมจำนวนดังกล่าวตลอดอายุของตราสารหนี้นั้น ไม่ว่าจะมีการลดการนับเป็นเงินกองทุนในภายหลังหรือไม่ (๓) ยอดเงินฝากที่รัฐบาลฝากไว้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินนโยบายรัฐ (๔) ยอดเงินรับฝากจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (๕) ยอดเงินฝากสงเคราะห์ชีวิต ข้อ ๓ ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังนี้ (๑) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่กำหนดในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (๒) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนปีละสองครั้งโดยแบ่งเป็นงวดที่ ๑ เดือนมกราคม ถึงมิถุนายน และงวดที่ ๒ เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม ทั้งนี้ สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินดังกล่าวให้ครบถ้วนสำหรับงวดที่ ๑ ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนสิงหาคมในปีนั้น และงวดที่ ๒ ภายในวันทำการสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ในปีถัดไป (๓) เงินนำส่งให้คำนวณจากอัตราตาม (๑) ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนทุกสิ้นวันของรอบระยะเวลา ๖ เดือนของงวดที่ต้องนำส่ง โดยเงินนำส่งงวดที่ ๑ เดือนมกราคมถึงมิถุนายน ให้คำนวณจากยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนถัวเฉลี่ยทุกสิ้นวันตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคมถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน และงวดที่ ๒ เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคมให้คำนวณจากยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนถัวเฉลี่ยทุกสิ้นวันตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคมถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม (๔) ในกรณีสถาบันการเงินเฉพาะกิจใดมีกฎหมายให้ยุบเลิก เงินนำส่งให้คำนวณจากยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนจนถึงวันสุดท้ายที่มียอดเงินที่ได้รับจากประชาชนและนำส่งเงินให้ครบถ้วนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีกฎหมายให้ยุบเลิก (๕) ให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจจัดทำแบบรายงานแสดงการคำนวณเงินนำส่งเข้ากองทุนและใบแจ้งการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกองทุน และส่งให้กองทุนก่อนวันที่นำส่งเงินให้กองทุนห้าวันทำการตามแบบแนบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๔[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบรายงานแสดงการคำนวณเงินนาส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ๒. ใบแจ้งโอนเงินเข้าบัญชี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ชวัลพร/ปริยานุช/จัดทำ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๖ ง/หน้า ๑๒/๒๙ มกราคม ๒๕๕๙
738986
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
ประกาศกระทรวงการคลัง ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ[๑] โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจมีหน้าที่นำส่งเงินเข้ากองทุนตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อใช้สำหรับการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มั่นคงและมีเสถียรภาพ ช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและทางการเงินของประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงกำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ๒๕๕๘ นำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในอัตราร้อยละ ๐.๑๘ ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/กัญฑรัตน์/จัดทำ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ /ตรวจ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๒๗๘ ง/หน้า ๙/๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๘
725393
พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นปีที่ ๗๐ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “สื่อ” หมายความว่า สิ่งที่ทำให้ปรากฏด้วยตัวอักษร เครื่องหมาย ภาพ หรือเสียง ไม่ว่าจะได้จัดทำในรูปของเอกสาร สิ่งพิมพ์ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย ภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การแสดง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในระบบคอมพิวเตอร์ หรือได้จัดทำในรูปแบบอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง “สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” หมายความว่า สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและความมั่นคง ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวและสังคม รวมถึงการส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามัคคีและสามารถใช้ชีวิตในสังคมที่มีความหลากหลายได้อย่างเป็นสุข “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการประเมินผล” หมายความว่า คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ การจัดตั้งกองทุน มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) รณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๒) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๓) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเองชุมชนและสังคม (๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๕) ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๖) ส่งเสริมบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณประโยชน์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสื่อให้มีการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๗) ดำเนินการและส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินที่ได้รับการจัดสรรจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (๒) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๓) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๑๒ (๔) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (๕) ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้จากการดำเนินกิจการ หรือสิทธิประโยชน์ของกองทุน (๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรือมอบให้ (๗) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือที่กองทุนได้รับตามกฎหมาย (๘) ดอกผลหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เกิดจากทรัพย์สินของกองทุน มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน ทั้งนี้ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่และลูกจ้างต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ ให้กองทุนมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด มาตรา ๙ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๔) กระทำการอื่นใดบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๑๐ กองทุนมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และรายได้ของกองทุนไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๑๑ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของกองทุน ให้มีการจัดสรรเงินของกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมให้แก่กองทุนเป็นประจำทุกปีและเพียงพอ เพื่อให้สามารถดำเนินงานของกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรา ๑๒ ให้ค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์จำนวนกึ่งหนึ่งตกเป็นของกองทุน การส่งเงินค่าปรับเข้ากองทุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๑๓ ให้กองทุนมีอำนาจจ่ายเงินจากกองทุน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนดเป็นค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้ (๑) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน (๒) ค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมตามมาตรา ๕ และมาตรา ๙ (๓) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๒ การบริหารกิจการของกองทุน มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” ประกอบด้วย (๑) นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (๒) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นรองประธานกรรมการ (๓) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (๔) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการสรรหาจากผู้มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านกฎหมาย ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ด้านสุขภาพจิต ด้านคนพิการและผู้สูงอายุ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านละหนึ่งคน และด้านสื่อสารมวลชน สองคน ให้ผู้จัดการเป็นเลขานุการ และให้ผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการ มาตรา ๑๕ ให้มีคณะกรรมการสรรหาคณะหนึ่ง ทำหน้าที่คัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๔ (๔) ซึ่งประกอบด้วย (๑) ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (๒) นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (๓) นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (๔) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก จำนวนหนึ่งคน (๕) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ จำนวนหนึ่งคน (๖) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งชาติ จำนวนหนึ่งคน (๗) ผู้แทนซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนหนึ่งคน (๘) ผู้แทนซึ่งเป็นอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม จำนวนหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมแต่งตั้งผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมคนหนึ่งเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการสรรหา กรรมการสรรหาตาม (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ต้องเป็นผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการขององค์กรนั้น ให้คณะกรรมการสรรหาเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาครบตามที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ภายในเวลาสามสิบวันนับแต่เมื่อมีเหตุให้ทำการสรรหา ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วยกรรมการสรรหาที่เหลืออยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าห้าคน ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการในการดำเนินการสรรหา มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๕ มีหน้าที่สรรหาและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๘ เป็นจำนวนสองเท่าของแต่ละด้านเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยได้รับความยินยอมของผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้น ทั้งนี้ ให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีเหตุที่ให้ต้องมีการเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการ รายละเอียดของขั้นตอนและวิธีการสรรหาให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหากำหนด มาตรา ๑๗ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบัญชีรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการสรรหาเสนอให้ครบจำนวน ทั้งนี้ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ได้รับเลือกในแต่ละด้านเป็นผู้ที่ได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อสำรองของแต่ละด้านนั้น ๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิครบตามจำนวนแล้ว ให้หน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาสิ้นสุดลง มาตรา ๑๘ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา ๑๙ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านใดพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิในบัญชีรายชื่อสำรองของด้านเดียวกันนั้นตามมาตรา ๑๗ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน หากไม่มีบุคคลในบัญชีรายชื่อหรือบุคคลนั้นไม่ประสงค์ดำรงตำแหน่งแทน ให้ดำเนินการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใหม่ตามมาตรา ๑๖ เว้นแต่วาระของกรรมการจะเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน จะไม่ดำเนินการให้มีผู้ดำรงตำแหน่งแทนก็ได้ และในกรณีนี้ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการที่เหลืออยู่ เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ มาตรา ๒๐ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) คณะรัฐมนตรีให้ออก เพราะบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือหย่อนความสามารถ (๔) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๑๘ มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกองทุนให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา ๕ อำนาจหน้าที่เช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) กำหนดนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๒) ออกประกาศกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ (๓) กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาและสร้างทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ รวมทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม (๔) กำหนดมาตรการเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเฝ้าระวังสื่อตามมาตรา ๕ (๓) (๕) กำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและประสานงานระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ในการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๖) ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุน (๗) ออกข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๘) ออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดแบ่งส่วนงานภายในของสำนักงาน และขอบเขตหน้าที่ของส่วนงานดังกล่าว (๙) ออกข้อบังคับว่าด้วยการคัดเลือกผู้จัดการ การปฏิบัติงานและการมอบอำนาจของผู้จัดการ (๑๐) ออกข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงาน การบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของสำนักงาน และการตรวจสอบภายในของกองทุน (๑๑) ออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าตอบแทน หรือค่าบริการในการดำเนินกิจการของกองทุน (๑๒) กำหนดจำนวน ตำแหน่ง ระยะเวลาจ้าง อัตราเงินเดือนและค่าจ้าง เงินเดือนของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง (๑๓) แต่งตั้งที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คณะอนุกรรมการเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ คณะอนุกรรมการส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และคณะอนุกรรมการอื่น ตามที่เห็นสมควรเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย (๑๔) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองทุน ประกาศตาม (๒) และข้อบังคับตาม (๗) ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มาตรา ๒๒ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม ในการปฏิบัติหน้าที่ ถ้ามีการพิจารณาในเรื่องที่ประธานกรรมการหรือกรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียประธานกรรมการหรือกรรมการผู้นั้นไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด มาตรา ๒๓ ให้มีคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานอนุกรรมการ ผู้แทนกระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงการคลัง และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนห้าคน ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ด้านพัฒนาสังคมหรือด้านจิตวิทยา ด้านวัฒนธรรม และด้านสื่อสารมวลชน ด้านละหนึ่งคน เป็นอนุกรรมการ และให้ผู้จัดการเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ คณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งให้มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๒) พิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุนตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด (๓) ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุนจากกองทุน (๔) ระดมเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ เข้าสู่กองทุนโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ (๕) เสนอความเห็นต่อคณะกรรมการในการจัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงาน การบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุและทรัพย์สินของสำนักงาน รวมทั้งการกำหนดจำนวนตำแหน่ง ระยะเวลาจ้าง อัตราเงินเดือนและค่าจ้าง เงินเดือนของเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง (๖) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม วาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งการประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ในการประชุมต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยทุกสองเดือน มาตรา ๒๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ที่ปรึกษา อนุกรรมการ และกรรมการสรรหาตามมาตรา ๑๕ ได้รับเบี้ยประชุมหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด มาตรา ๒๕ สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓) (๒) เสนอนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แผนการดำเนินงานประจำปี แผนการเงินและงบประมาณประจำปีของกองทุน รวมทั้งศึกษา วิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินการของกองทุนต่อคณะกรรมการ (๓) ให้คำแนะนำแก่ผู้ผลิตสื่อในการผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๔) จัดทำบัญชีและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของกองทุน (๕) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓) มอบหมาย มาตรา ๒๖ ให้กองทุนมีผู้จัดการคนหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ผู้จัดการต้องเป็นผู้สามารถทำงานให้แก่กองทุนได้เต็มเวลา และต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (ก) คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่น้อยกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์และต้องไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ในวันที่สมัครรับการคัดเลือก (๓) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์เหมาะสมกับกิจการของกองทุน (ข) ลักษณะต้องห้าม (๑) เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการที่กระทำกับกองทุน หรือในกิจการที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๒) เป็นผู้มีพฤติกรรมที่ขัดหรือแย้งกับวัตถุประสงค์ของกองทุน (๓) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งในทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง ที่ปรึกษาพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมือง (๔) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๕) เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๖) เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ มาตรา ๒๗ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการกำหนดเงื่อนไขการทดลองปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้จัดการ ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการกำหนด โดยให้มีระยะเวลาการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปีและเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาจ้างแล้ว คณะกรรมการจะต่ออายุสัญญาจ้างอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกินสี่ปี ให้ผู้จัดการได้รับเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๘ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามสัญญาจ้าง ผู้จัดการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามสำหรับการเป็นผู้จัดการตามมาตรา ๒๖ (๔) คณะกรรมการมีมติเห็นสมควรให้เลิกจ้าง มาตรา ๒๙ ให้ผู้จัดการเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของสำนักงานและรับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามกฎหมาย ข้อบังคับและนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ผู้จัดการเป็นผู้แทนของกองทุน เพื่อการนี้ ผู้จัดการจะมอบอำนาจให้บุคคลใดปฏิบัติงานเฉพาะอย่างแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๐ การบัญชีของกองทุนให้จัดทำตามมาตรฐานการจัดทำบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยมีรอบปีบัญชีตามปีงบประมาณ มาตรา ๓๑ กองทุนต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในและรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบอย่างน้อยปีละครั้ง ในการตรวจสอบภายใน ให้มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบภายในและให้รับผิดชอบขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตามข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๒ ให้กองทุนจัดทำงบการเงินพร้อมทั้งรายละเอียดประกอบภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี เพื่อส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือบุคคลภายนอกตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ดำเนินการตรวจสอบรับรองงบการเงินของกองทุน มาตรา ๓๓ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้กองทุนทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา รายงานนี้ให้กล่าวถึงผลงานของกองทุนในปีที่ล่วงมาแล้ว งบการเงิน และรายงานของผู้สอบบัญชี พร้อมทั้งรายงานของคณะกรรมการประเมินผลตามมาตรา ๓๕ (๓) หมวด ๓ การประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน มาตรา ๓๔ ให้มีคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนจำนวนเจ็ดคน ประกอบด้วยประธานกรรมการ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนหกคน ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ซึ่งมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ด้านการเงิน ด้านสื่อสารมวลชน ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านกฎหมาย และด้านการประเมินผล โดยในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจำนวนสองคน ให้คณะกรรมการประเมินผลแต่งตั้งบุคคลที่เห็นสมควรเป็นเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับกรรมการประเมินผลและการประชุมของคณะกรรมการประเมินผลโดยอนุโลม มาตรา ๓๕ คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ประเมินผลด้านนโยบายและการกำหนดกิจกรรมของกองทุน (๒) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน (๓) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการในทุกรอบปี ให้คณะกรรมการประเมินผลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกองทุนจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาประเมินผลได้ มาตรา ๓๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการประเมินผลอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำมาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๗ ในวาระเริ่มแรก ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา ๑๔ (๑) (๒) และ (๓) โดยให้รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรมที่ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมมอบหมายเป็นกรรมการและผู้จัดการ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา ๑๔ (๔) ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๘ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานของสำนักงาน ให้รัฐมนตรีจัดข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างในกระทรวงวัฒนธรรมมาช่วยปฏิบัติงานของสำนักงานเป็นการชั่วคราว ซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ โดยให้ได้รับเงินเดือนทางสังกัดเดิม และอยู่ในบังคับบัญชาของผู้จัดการ ให้ผู้จัดการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการ พนักงานราชการ หรือลูกจ้างตามวรรคหนึ่งเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ในปัจจุบันสื่อต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้น สื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนมีจำนวนน้อย การผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีข้อจำกัดหลายประการทั้งไม่เป็นที่นิยมของผู้ผลิตและผู้สนับสนุนการผลิตสื่อ ทำให้ขาดเงินทุนในการผลิตและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อใช้ในการผลิต การพัฒนาและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และพฤติกรรมที่ดีของเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสื่อ สมควรจัดตั้งกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการดำเนินการดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เอกฤทธิ์/ผู้ตรวจ ๙ เมษายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๒๑ ก/หน้า ๓๐/๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘
808778
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เรื่อง กำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ พ.ศ. 2561
ประกาศคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เรื่อง กำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๑[๑] โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ กำหนดให้คณะกรรมการประกาศกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัวมีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อเฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และสามารถใช้สื่อในการพัฒนาตนเอง ชุมชนและสังคม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๑ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงกำหนดลักษณะของสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ไว้ ดังต่อไปนี้ ๑. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อศีลธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมอันดีของสังคม หรือส่งผลกระทบทางลบต่อจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน ครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างร้ายแรง ๒. สื่อที่มีเนื้อหาก่อให้เกิดความแตกแยก ยั่วยุ และสร้างความเกลียดชังต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ ๓. สื่อที่มีเนื้อหาส่งเสริมการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ๔. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อกฎหมาย ๕. สื่อที่มีเนื้อหาขัดต่อหลักจรรยาบรรณสื่อ หรือแนวปฏิบัติของวิชาชีพสื่อนั้น ๆ ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ปวันวิทย์/จัดทำ ๓ กันยายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๖๙ ง/หน้า ๗๙/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๑
786750
ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง เปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[๑] ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมได้ออกประกาศ เรื่อง สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยกำหนดให้สำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๖ ชั้น ๒ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจึงออกประกาศเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จากที่ประกาศไว้เดิมข้างต้น เป็น “เลขที่ ๓๘๘ อาคารเอส.พี. (ไอบีเอ็ม) ชั้น ๖ อาคารบี ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร ๑๐๔๐๐” ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พิมพ์มาดา/อัญชลี/จัดทำ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๓๓ ง/หน้า ๙/๒๒ กันยายน ๒๕๖๐
727529
ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม ประกาศกระทรวงวัฒนธรรม เรื่อง สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์[๑] ด้วยมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ บัญญัติให้กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ มีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร หรือในจังหวัดอื่น ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด นั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจึงประกาศสถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๖ ชั้น ๒ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๘ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘ วีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ปุณิกา/ผู้ตรวจ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๑๑๑ ง/หน้า ๙/๑๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
741416
ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการนำส่งเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 พ.ศ. 2558
ระเบียบกระทรวงการคลัง ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการนำส่งเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการนำส่งเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อให้ผู้ที่รับเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง สามารถนำส่งเข้าบัญชีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จึงกำหนดระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการนำส่งเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ พ.ศ. ๒๕๕๘” ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในระเบียบนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “เงินค่าปรับ” หมายความว่า เงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๒ “ผู้ที่รับเงินค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ที่มีหน้าที่รับเงินค่าปรับที่ได้รับชำระตามคำพิพากษาลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ มาตรา ๑๒ ข้อ ๔ ให้กองทุนเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง ชื่อ “บัญชีกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์” เพื่อฝากเงินค่าปรับ และห้ามมิให้นำเงินค่าปรับไปใช้จ่ายก่อนส่งเข้าบัญชีเงินฝาก ข้อ ๕ ให้ผู้ที่รับเงินค่าปรับนำเงินค่าปรับส่งเข้าบัญชีกองทุนที่เปิดไว้ที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังตามข้อ ๔ ภายในสามวันทำการนับแต่วันที่รับเงิน ข้อ ๖ ให้กองทุนกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำกับ ติดตามการรับ การนำส่ง และการรายงานการรับและนำส่งเงินค่าปรับ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ข้อ ๗ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้กระทรวงวัฒนธรรมขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ข้อ ๘ ให้ปลัดกระทรวงการคลังเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๘ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปริยานุช/จัดทำ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๘ วิศนี/ตรวจ ๑๔ มกราคม ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒/ตอนพิเศษ ๓๒๖ ง/หน้า ๑/๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๘
807533
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ล่าสุด)
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรกำหนดให้มีข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ”[๒] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ”[๓] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ”[๔] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน “ผู้ขอรับการสนับสนุน”[๕] (ยกเลิก) “องค์กรชุมชน”[๖] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรเอกชน”[๗] หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ผู้ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บุคคลธรรมดา (๒) นิติบุคคล (๓) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ข้อ ๖[๘] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข้อ ๗[๙] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อ ๘[๑๐] (ยกเลิก) ข้อ ๙[๑๑] ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการได้โดยได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐[๑๒] (ยกเลิก) หมวด ๒ ลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๑ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจะต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตหรือพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่คณะกรรมการกำหนด (๒) โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยกระบวนการวิจัย การผลิต การพัฒนานวัตกรรม การสร้างสรรค์เผยแพร่ เรียนรู้ และถ่ายทอดแก่สังคม (๓) โครงการหรือกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่างานสร้างสรรค์ต่อสังคม (๔) โครงการหรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๑๒[๑๓] ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนต่อสาธารณะ หมวด ๓ การเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการหรือกิจกรรมตามข้อ ๑๒ ยื่นคำขอพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนต่อสำนักงานตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๔ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนต้องแสดงรายละเอียดการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งเป้าหมาย ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนโดยตรง ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และพันธสัญญาหรือข้อตกลงตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม ข้อ ๑๗ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอรับการสนับสนุนข้อมูลเอกสารและหลักฐานภายในสามสิบวันนับจากวันรับแบบคำขอกรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ครบถ้วนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ให้สำนักงานแจ้งผู้ขอรับการสนับสนุนปรับปรุงแก้ไข ให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ข้อ ๑๘[๑๔] เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสาร รวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณา ข้อ ๑๙[๑๕] ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณารายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้สรุปผลการพิจารณารายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้รับหนังสือแจ้งผลการอนุมัติแล้ว ให้ทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่ไม่มาทำสัญญา ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิการขอรับการสนับสนุน ข้อ ๒๒ การเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมวด ๕ การติดตามและประเมินผล ข้อ ๒๓[๑๖] ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการหรือผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๖ ในกรณีผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมและเงื่อนไขในสัญญา ให้สำนักงานรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไปหากผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากสัญญา หรือดำเนินการล่าช้าเกินควรแก่กรณี ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนคืนหรือชดใช้เงินตามเงื่อนไขในสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ข้อ ๒๗ ให้คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๘ การรายงานตามข้อ ๒๗ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๗] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๘] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๙] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๓[๒๐] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ วิวรรธน์/เพิ่มเติม ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖/๓ เมษายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ” เพิ่มโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “ผู้ขอรับการสนับสนุน” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๖] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรชุมชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรเอกชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] ข้อ ๑๐ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๕] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๖] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑๙] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๓๒/๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ [๒๐] ราขกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๖ ง/หน้า ๔๘/๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
863182
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/03/2561)
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรกำหนดให้มีข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ”[๒] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ”[๓] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ”[๔] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน “ผู้ขอรับการสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน “องค์กรชุมชน”[๕] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรเอกชน”[๖] หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ผู้ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บุคคลธรรมดา (๒) นิติบุคคล (๓) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ข้อ ๖[๗] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข้อ ๗[๘] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อ ๘[๙] (ยกเลิก) ข้อ ๙[๑๐] ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการได้โดยได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐[๑๑] (ยกเลิก) หมวด ๒ ลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๑ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจะต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตหรือพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่คณะกรรมการกำหนด (๒) โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยกระบวนการวิจัย การผลิต การพัฒนานวัตกรรม การสร้างสรรค์เผยแพร่ เรียนรู้ และถ่ายทอดแก่สังคม (๓) โครงการหรือกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่างานสร้างสรรค์ต่อสังคม (๔) โครงการหรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมรวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนในแต่ละปีต่อสาธารณะ หมวด ๓ การเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการหรือกิจกรรมตามข้อ ๑๒ ยื่นคำขอพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนต่อสำนักงานตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๔ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนต้องแสดงรายละเอียดการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งเป้าหมาย ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนโดยตรง ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และพันธสัญญาหรือข้อตกลงตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม ข้อ ๑๗ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอรับการสนับสนุนข้อมูลเอกสารและหลักฐานภายในสามสิบวันนับจากวันรับแบบคำขอกรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ครบถ้วนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ให้สำนักงานแจ้งผู้ขอรับการสนับสนุนปรับปรุงแก้ไข ให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ข้อ ๑๘[๑๒] เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสาร รวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณา ข้อ ๑๙[๑๓] ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณารายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้สรุปผลการพิจารณารายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้รับหนังสือแจ้งผลการอนุมัติแล้ว ให้ทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่ไม่มาทำสัญญา ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิการขอรับการสนับสนุน ข้อ ๒๒ การเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมวด ๕ การติดตามและประเมินผล ข้อ ๒๓[๑๔] ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการหรือผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๖ ในกรณีผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมและเงื่อนไขในสัญญา ให้สำนักงานรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไปหากผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากสัญญา หรือดำเนินการล่าช้าเกินควรแก่กรณี ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนคืนหรือชดใช้เงินตามเงื่อนไขในสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ข้อ ๒๗ ให้คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๘ การรายงานตามข้อ ๒๗ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๕] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๖] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖/๓ เมษายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ” เพิ่มโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรชุมชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรเอกชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] ข้อ ๑๐ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๕] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
864797
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2563
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมสามารถตอบสนองต่อองค์กรหรือหน่วยงานที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกลุ่มเป้าหมาย จึงเห็นควรกำหนดให้มีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมประเภทหน่วยงานความร่วมมือ (Collaborative Grant) สำหรับผู้ขอรับการสนับสนุนที่เป็นนิติบุคคลที่มีความร่วมมือกับกองทุนเพิ่มขึ้นอีกประเภทหนึ่ง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๖๓” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “ผู้ขอรับการสนับสนุน” ในข้อ ๓ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ วิวรรธน์/จัดทำ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๙ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราขกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๘๖ ง/หน้า ๔๘/๑๔ สิงหาคม ๒๕๖๓
866173
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ณ วันที่ 03/10/2561)
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรกำหนดให้มีข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ”[๒] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ”[๓] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ”[๔] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน “ผู้ขอรับการสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน “องค์กรชุมชน”[๕] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรเอกชน”[๖] หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ผู้ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บุคคลธรรมดา (๒) นิติบุคคล (๓) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ข้อ ๖[๗] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข้อ ๗[๘] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อ ๘[๙] (ยกเลิก) ข้อ ๙[๑๐] ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการได้โดยได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐[๑๑] (ยกเลิก) หมวด ๒ ลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๑ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจะต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตหรือพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่คณะกรรมการกำหนด (๒) โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยกระบวนการวิจัย การผลิต การพัฒนานวัตกรรม การสร้างสรรค์เผยแพร่ เรียนรู้ และถ่ายทอดแก่สังคม (๓) โครงการหรือกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่างานสร้างสรรค์ต่อสังคม (๔) โครงการหรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๑๒[๑๒] ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนต่อสาธารณะ หมวด ๓ การเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการหรือกิจกรรมตามข้อ ๑๒ ยื่นคำขอพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนต่อสำนักงานตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๔ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนต้องแสดงรายละเอียดการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งเป้าหมาย ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนโดยตรง ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และพันธสัญญาหรือข้อตกลงตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม ข้อ ๑๗ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอรับการสนับสนุนข้อมูลเอกสารและหลักฐานภายในสามสิบวันนับจากวันรับแบบคำขอกรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ครบถ้วนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ให้สำนักงานแจ้งผู้ขอรับการสนับสนุนปรับปรุงแก้ไข ให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ข้อ ๑๘[๑๓] เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสาร รวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณา ข้อ ๑๙[๑๔] ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณารายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้สรุปผลการพิจารณารายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้รับหนังสือแจ้งผลการอนุมัติแล้ว ให้ทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่ไม่มาทำสัญญา ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิการขอรับการสนับสนุน ข้อ ๒๒ การเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมวด ๕ การติดตามและประเมินผล ข้อ ๒๓[๑๕] ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการหรือผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๖ ในกรณีผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมและเงื่อนไขในสัญญา ให้สำนักงานรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไปหากผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากสัญญา หรือดำเนินการล่าช้าเกินควรแก่กรณี ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนคืนหรือชดใช้เงินตามเงื่อนไขในสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ข้อ ๒๗ ให้คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๘ การรายงานตามข้อ ๒๗ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๖] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๗] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๘] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ พรวิภา/เพิ่มเติม ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ชญานิศ/เพิ่มเติม ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๒ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖/๓ เมษายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ” เพิ่มโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรชุมชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรเอกชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] ข้อ ๑๐ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] ข้อ ๑๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๕] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๖] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑ [๑๗] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ [๑๘] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๓๒/๓ ตุลาคม ๒๕๖๑
848141
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560 (ฉบับ Update ณ วันที่ 21/03/2561)
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรกำหนดให้มีข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ”[๒] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ”[๓] (ยกเลิก) “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ”[๔] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน “ผู้ขอรับการสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน “องค์กรชุมชน”[๕] หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรเอกชน”[๖] หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ผู้ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บุคคลธรรมดา (๒) นิติบุคคล (๓) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ข้อ ๖[๗] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข้อ ๗[๘] ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อ ๘[๙] (ยกเลิก) ข้อ ๙[๑๐] ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการได้โดยได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๗ (๑) และข้อ ๘ จะต้องไม่มีผู้ที่เป็นกรรมการกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน อนุกรรมการบริหารกองทุน ที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ของสำนักงาน หมวด ๒ ลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๑ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจะต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตหรือพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่คณะกรรมการกำหนด (๒) โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยกระบวนการวิจัย การผลิต การพัฒนานวัตกรรม การสร้างสรรค์เผยแพร่ เรียนรู้ และถ่ายทอดแก่สังคม (๓) โครงการหรือกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่างานสร้างสรรค์ต่อสังคม (๔) โครงการหรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมรวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนในแต่ละปีต่อสาธารณะ หมวด ๓ การเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการหรือกิจกรรมตามข้อ ๑๒ ยื่นคำขอพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนต่อสำนักงานตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๔ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนต้องแสดงรายละเอียดการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งเป้าหมาย ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนโดยตรง ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และพันธสัญญาหรือข้อตกลงตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม ข้อ ๑๗ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอรับการสนับสนุนข้อมูลเอกสารและหลักฐานภายในสามสิบวันนับจากวันรับแบบคำขอกรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ครบถ้วนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ให้สำนักงานแจ้งผู้ขอรับการสนับสนุนปรับปรุงแก้ไข ให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ข้อ ๑๘[๑๑] เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสาร รวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณา ข้อ ๑๙[๑๒] ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณารายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้สรุปผลการพิจารณารายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้รับหนังสือแจ้งผลการอนุมัติแล้ว ให้ทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่ไม่มาทำสัญญา ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิการขอรับการสนับสนุน ข้อ ๒๒ การเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมวด ๕ การติดตามและประเมินผล ข้อ ๒๓[๑๓] ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการหรือผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๖ ในกรณีผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมและเงื่อนไขในสัญญา ให้สำนักงานรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไปหากผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากสัญญา หรือดำเนินการล่าช้าเกินควรแก่กรณี ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนคืนหรือชดใช้เงินตามเงื่อนไขในสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ข้อ ๒๗ ให้คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๘ การรายงานตามข้อ ๒๗ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑[๑๔] ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ปริญสินีย์/ตรวจ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖/๓ เมษายน ๒๕๖๐ [๒] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๓] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๔] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ” เพิ่มโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๕] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรชุมชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๖] ข้อ ๓ นิยามคำว่า “องค์กรเอกชน” แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๗] ข้อ ๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๘] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๙] ข้อ ๘ ยกเลิกโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๐] ข้อ ๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๑] ข้อ ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๒] ข้อ ๑๙ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๓] ข้อ ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ [๑๔] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
815127
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๒ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรม รวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนต่อสาธารณะ” ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ชญานิศ/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๒ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๒๔๖ ง/หน้า ๓๒/๓ ตุลาคม ๒๕๖๑
804852
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อ ๑๐ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พรวิภา/จัดทำ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ นุสรา/ตรวจ ๓ มิถุนายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๑๒๒ ง/หน้า ๑๔/๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑
799727
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๑” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” และ “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” ในข้อ ๓ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๔ ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ” ระหว่างบทนิยามคำว่า “คณะอนุกรรมการ” และคำว่า “ผู้ขอรับการสนับสนุน” ในข้อ ๓ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน” ข้อ ๕ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคำว่า “องค์กรชุมชน” และ “องค์กรเอกชน” ในข้อ ๓ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ““องค์กรชุมชน” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร “องค์กรเอกชน” หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร” ข้อ ๖ ให้ยกเลิกความในข้อ ๖ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๒) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๓) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน” ข้อ ๗ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๗ ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ” ข้อ ๘ ให้ยกเลิกข้อ ๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๙ ให้ยกเลิกความในข้อ ๙ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๙ ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ให้ยื่นข้อเสนอโครงการได้โดยได้รับความยินยอมจากบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้แทนโดยชอบธรรม แล้วแต่กรณี” ข้อ ๑๐ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๘ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๘ เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสาร รวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณา” ข้อ ๑๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๙ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๑๙ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการพิจารณารายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้สรุปผลการพิจารณารายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ และคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาอนุมัติ” ข้อ ๑๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๓ แห่งข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๒๓ ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้า เพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน” ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทน นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภูมิกิติ/จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๖๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕/ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๒๐/๒๑ มีนาคม ๒๕๖๑
773787
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2560
ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยที่สมควรกำหนดให้มีข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อให้การจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ (๗) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกอบกับมติคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดสรรเงินแก่โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๖๐” ข้อ ๒[๑] ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้ “กองทุน” หมายความว่า กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ผู้จัดการ” หมายความว่า ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “ประธานกรรมการ” หมายความว่า ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการ” หมายความว่า คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ “คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับภารกิจของกองทุน “คณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ และประสบการณ์ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ทำหน้าที่ปรับปรุง แก้ไขให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้ขอรับการสนับสนุน เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น “ผู้ขอรับการสนับสนุน” หมายความว่า บุคคลธรรมดา นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน “องค์กรชุมชน” หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยผู้บรรลุนิติภาวะจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนที่มีภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในชุมชนหรือท้องถิ่น ร่วมกันดำเนินการในลักษณะเป็นองค์กรซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร รวมทั้งมีการดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี “องค์กรเอกชน” หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือเป็นส่วนงานหรือโครงการในองค์กรนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณประโยชน์ และไม่แสวงหากำไร รวมทั้งมีการดำเนินการมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปี “องค์กรสาธารณประโยชน์” หมายความว่า องค์กรภาคเอกชนที่ได้รับการรับรองให้ดำเนินงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์รักษาการตามข้อบังคับนี้ และให้มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ หมวด ๑ ผู้ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนจากกองทุนมี ๓ ประเภท ได้แก่ (๑) บุคคลธรรมดา (๒) นิติบุคคล (๓) องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ ข้อ ๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทบุคคลธรรมดาต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนี้ ก. คุณสมบัติ (๑) มีสัญชาติไทย หรือไม่มีสัญชาติไทยแต่มีถิ่นที่อยู่ประจำในประเทศไทยและมีผู้รับรองซึ่งเป็นข้าราชการหรือพนักงานในหน่วยงานของรัฐที่ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับชำนาญการหรือเทียบเท่า (๒) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๙ ข. ลักษณะต้องห้าม (๑) เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (๒) อยู่ในระหว่างถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต (๓) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๔) เป็นกรรมการ ที่ปรึกษาคณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุน ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้างของสำนักงาน ข้อ ๗ ผู้ขอรับการสนับสนุนประเภทนิติบุคคล ได้แก่ (๑) มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่จดทะเบียนในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานด้านการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ (๒) สถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ข้อ ๘ ผู้ขอรับการสนับสนุนซึ่งเป็นองค์กรชุมชน องค์กรเอกชน หรือองค์กรสาธารณประโยชน์ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินงานด้านผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๙ ในกรณีผู้ขอรับการสนับสนุนอายุต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ซึ่งเป็นนักเรียน หรือนักศึกษาในสถานศึกษาและเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนของวิชาหรือคณะในสถานศึกษานั้น ให้แสดงความจำนงต่อสถานศึกษาของตน เพื่อให้สถานศึกษาดำเนินการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนต่อไป ข้อ ๑๐ ผู้ขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๗ (๑) และข้อ ๘ จะต้องไม่มีผู้ที่เป็นกรรมการกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน อนุกรรมการบริหารกองทุน ที่ปรึกษา หรืออนุกรรมการตามมาตรา ๒๑ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ ผู้จัดการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้าง ของสำนักงาน หมวด ๒ ลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๑ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ และจะต้องเป็นโครงการหรือกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้ (๑) โครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการผลิตหรือการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับนโยบาย แผน และยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการผลิตหรือพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่คณะกรรมการกำหนด (๒) โครงการหรือกิจกรรมที่เป็นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยกระบวนการวิจัย การผลิต การพัฒนานวัตกรรม การสร้างสรรค์เผยแพร่ เรียนรู้ และถ่ายทอดแก่สังคม (๓) โครงการหรือกิจกรรมที่เพิ่มคุณค่าหรือมูลค่างานสร้างสรรค์ต่อสังคม (๔) โครงการหรือกิจกรรมที่ให้ความสำคัญกับมาตรการส่งเสริมสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ข้อ ๑๒ ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดแนวทางหรือลักษณะของโครงการหรือกิจกรรมรวมทั้งระยะเวลาการเปิดรับโครงการหรือกิจกรรมที่จะให้การสนับสนุนในแต่ละปีต่อสาธารณะ หมวด ๓ การเสนอโครงการหรือกิจกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุน ข้อ ๑๓ ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนเสนอโครงการหรือกิจกรรมตามข้อ ๑๒ ยื่นคำขอพร้อมทั้งรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมและงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนต่อสำนักงานตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๑๔ โครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนต้องแสดงรายละเอียดการดำเนินงานที่ครบถ้วน ถูกต้อง เหมาะสม รวมทั้งเป้าหมาย ผลลัพธ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินโครงการหรือกิจกรรม ต้องเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และสอดคล้องกับงบประมาณที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ข้อ ๑๕ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องเป็นผู้ที่รับผิดชอบในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนโดยตรง ข้อ ๑๖ ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และพันธสัญญาหรือข้อตกลงตามที่คณะกรรมการกำหนด หมวด ๔ การพิจารณาอนุมัติโครงการหรือกิจกรรม ข้อ ๑๗ เมื่อสำนักงานได้รับคำขอรับการสนับสนุนตามข้อ ๑๓ แล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอรับการสนับสนุนข้อมูลเอกสารและหลักฐานภายในสามสิบวันนับจากวันรับแบบคำขอกรณีที่เอกสารและหลักฐานไม่ครบถ้วนตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด ให้สำนักงานแจ้งผู้ขอรับการสนับสนุนปรับปรุงแก้ไข ให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงานหากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุน ข้อ ๑๘ เมื่อสำนักงานดำเนินการตรวจสอบแบบคำขอและข้อมูลเอกสารรวมทั้งหลักฐานตามข้อ ๑๓ และข้อ ๑๔ แล้วให้จัดทำรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณา ข้อ ๑๙ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองโครงการหรือกิจกรรม และคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการเพื่อทำหน้าที่พัฒนาโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุน ในกรณีที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการหรือกิจกรรมนั้นมีความสมบูรณ์ ครบถ้วนสมควรได้รับการสนับสนุน ให้รายงานต่อคณะกรรมการเพื่อทราบ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณาแล้วเห็นว่าโครงการหรือกิจกรรมใดสมควรได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ ให้ส่งต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการเพื่อปรับปรุง แก้ไข พัฒนาหรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใดตามที่เห็นสมควร และเมื่อคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการดำเนินการเสร็จแล้วให้รายงานผลต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการ เมื่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรองโครงการพิจารณารายงานผลตามวรรคสามแล้ว เห็นว่าโครงการหรือกิจกรรมที่ขอรับการสนับสนุนมีความครบถ้วนสมบูรณ์สมควรให้การสนับสนุน ให้รายงานต่อคณะกรรมการทราบก่อนเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติ ข้อ ๒๐ เมื่อคณะอนุกรรมการพิจารณาและมีมติอนุมัติหรือไม่อนุมัติการขอรับการสนับสนุนแล้ว ให้ผู้จัดการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้ขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนทราบเป็นหนังสือภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติ ข้อ ๒๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้รับหนังสือแจ้งผลการอนุมัติแล้ว ให้ทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง ในกรณีที่ไม่มาทำสัญญา ให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิการขอรับการสนับสนุน ข้อ ๒๒ การเบิกจ่ายเงินกองทุนสนับสนุนโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับอนุมัติเงินสนับสนุนจากกองทุนให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญา หมวด ๕ การติดตามและประเมินผล ข้อ ๒๓ ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไปแล้ว ต้องรายงานความก้าวหน้าเพื่อประโยชน์ในการประเมินผลของโครงการหรือกิจกรรมต่อสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานกำหนดและต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและคณะอนุกรรมการพัฒนาโครงการ หรือผู้จัดการเข้าตรวจสอบการดำเนินงานรวมถึงเอกสารและหลักฐานอื่นตามที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๔ ให้สำนักงานจัดทำทะเบียนผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุน เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินของกองทุน ข้อ ๒๕ ให้คณะอนุกรรมการหรือผู้จัดการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการหรือกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน ข้อ ๒๖ ในกรณีผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนไม่ดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมและเงื่อนไขในสัญญา ให้สำนักงานรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการ เพื่อพิจารณาดำเนินการเป็นกรณี ๆ ไปหากผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนนำเงินไปใช้นอกเหนือจากสัญญา หรือดำเนินการล่าช้าเกินควรแก่กรณี ผู้จัดการโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้โดยให้ผู้ที่ได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนคืนหรือชดใช้เงินตามเงื่อนไขในสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากสำนักงาน ข้อ ๒๗ ให้คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมเสนอต่อคณะกรรมการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือตามที่คณะกรรมการกำหนด ข้อ ๒๘ การรายงานตามข้อ ๒๗ ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนตามมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. ๒๕๕๘ เพื่อทราบด้วย ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พรวิภา/ภวรรณตรี/จัดทำ ๑๐ เมษายน ๒๕๖๐ นุสรา/ตรวจ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๙๖ ง/หน้า ๖/๓ เมษายน ๒๕๖๐
324953
พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 (ฉบับ Update ล่าสุด)
พระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “เกษตรกรรม” หมายความว่า การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การใช้และบำรุงรักษาทรัพยากรจากที่ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน และให้หมายความรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การแปรรูป การจำหน่าย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การใช้และบำรุงรักษาทรัพยากรจากที่ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน และการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด “องค์กรเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน โดยจะเป็นหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้ และได้ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขา “กองทุน” หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร (๓) พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร (๔) พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการบริจาค (๔) เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุน (๕) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน (๖) ดอกผลหรือรายได้จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ในกรณีกองทุนมีจำนวนเงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน และค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รัฐพึงจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเข้าสมทบกองทุนเท่าจำนวนที่จำเป็น มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๕ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๕) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๖) กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่อง ในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๘/๑[๒] ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ ทรัพย์สินของกองทุนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี มาตรา ๙ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุนให้จ่ายจากเงินกองทุน ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๑๐ กองทุนไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รายรับของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๑๐/๑[๓] เพื่อจัดระบบควบคุมเงินของกองทุน ให้กองทุนจัดให้มีบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร เพื่อใช้จ่ายในการจัดการหนี้ของเกษตรกรโดยเฉพาะ มาตรา ๑๑ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการเสนองบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี งบดุลและรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีนำเสนอรัฐสภาเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๒ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน และผู้แทนเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนเป็นกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีผลงาน และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินหรือการธนาคาร การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น อุตสาหกรรมชุมชน เทคโนโยลีการเกษตรการพัฒนาแหล่งน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการจำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนจำนวนหกคน มาตรา ๑๓ การแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งเกษตรกร ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน ส่วนที่เหลือให้เป็นไปตามสัดส่วนของสมาชิกเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค การแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนและผู้แทนเกษตรกรต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๒) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๓) ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ มาตรา ๑๕ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๒) พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) กำหนดนโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ในการบริหารกิจการของกองทุน (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกร การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและโครงการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินของกองทุนตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการใช้คืนเงินให้แก่กองทุน (๘) พิจารณางบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๙) กำกับ ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่คณะกรรมการบริหารและสำนักงานในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๐) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดภาระผูกพันของกองทุน (๑๑) กำหนดมาตรการ ส่งเสริม สนับสนุน องค์กรเกษตรกร (๑๒) แต่งตั้ง ถอดถอน คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือเลขาธิการเป็นผู้ปฏิบัติหรือเตรียมข้อเสนอมายังคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ มาตรา ๑๖[๔] กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรตามวรรคสอง ให้สำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบวาระ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) คณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๗) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนเกษตรกรพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งเกษตรกรในภูมิภาคนั้นเป็นกรรมการแทน โดยให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๓ โดยอนุโลม มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาและออกเสียงในเรื่องนั้น หมวด ๓ คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๒๐ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งมีจำนวนรวมกันเจ็ดคน โดยให้แต่งตั้งจากบุคคลในคณะกรรมการจำนวนสามคนซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้แทนเกษตรกรจำนวนสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญมีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางสาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาการบริหารการเงินหรือการธนาคาร และสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาละหนึ่งคนเป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการบริหารเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการบริหารด้วยโดยอนุโลม[๕] มาตรา ๒๑ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ (๒) เสนอและรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน (๓) อนุมัติแผนฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน (๔) อนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกินกว่าห้าแสนบาท (๕) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ (๖) ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนหรือเงินอื่น รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้าง (๗) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่เลขาธิการในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๘) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับตาม (๕) และ (๖) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้วให้ใช้บังคับได้ การจัดการกองทุนเกี่ยวกับบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร[๖] มาตรา ๒๒ กรรมการและกรรมการบริหารอาจได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้จ่ายจากเงินกองทุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง หมวด ๔ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๒๓[๗] ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และอาจตั้งสาขา ณ ที่อื่นใด ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร มาตรา ๒๔[๘] สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร และเสนอความเห็น ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว (๒) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ให้การสนับสนุน ปรึกษาหารือ และแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามความจำเป็น หรือตามที่เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรร้องขอ (๔) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้ (๖) จัดทำงบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอคณะกรรมการ (๗) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมอบหมาย มาตรา ๒๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานและรับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารกำหนด ให้เลขาธิการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการจากผู้ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงาน และประสบการณ์ที่จะปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้ (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากองทุนหรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม มาตรา ๒๗ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานในหน้าที่เลขาธิการ และการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการบริหารกำหนด โดยให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการบริหารโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการอาจมีมติให้ทำสัญญาจ้างเลขาธิการให้ปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๘ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามกำหนดระยะเวลาการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๖ (๔) คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้าง มาตรา ๒๙ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมไม่ผูกพันกองทุน เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน หมวด ๕ การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๓๐ เกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือคณะ เพื่อประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม ถ้าประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรจะเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรในขณะเดียวกันได้เพียงแห่งเดียว การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรและการพิจารณารับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ องค์กรเกษตรกรมีสิทธิขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยให้ทำแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร ในกรณีท้องที่ที่ตั้งองค์กรเกษตรกรไม่มีสำนักงานหรือสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ให้ยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาที่ใกล้เคียง มาตรา ๓๒ แผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อย่างน้อยต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขทะเบียนขององค์กรเกษตรกร (๒) รายชื่อของเกษตรกรทั้งหมดขององค์กรเกษตรกร (๓) เหตุผลที่เสนอแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ ขององค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและเกษตรกรแต่ละคนที่เป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรในขณะที่ยื่นแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๕) รายละเอียดพอสังเขปของโครงการแต่ละโครงการ (๖) หลักการ วิธีดำเนินการ และขั้นตอนของการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๗) ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๘) รายชื่อของผู้ให้การสนับสนุนแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพร้อมรายละเอียดในการให้การสนับสนุน ถ้ามี มาตรา ๓๓ ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในกรณีที่แผนนั้นมีโครงการที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการบริหารด้วย ให้พิจารณาโครงการนั้นไปพร้อมกัน และให้แจ้งผลการพิจารณาให้องค์กรเกษตรกรทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแผน ในกรณีที่ไม่อนุมัติตามแผนให้แจ้งเหตุผลโดยย่อ และให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มีวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจพิจารณาอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มีวงเงินเกินกว่าห้าแสนบาท การพิจารณาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ดำเนินการตามมาตรา ๓๓ โดยอนุโลม คำวินิจฉัยของเลขาธิการตามวรรคหนึ่งให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารได้ภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด มาตรา ๓๕ คณะกรรมการบริหาร และเลขาธิการ อาจเห็นชอบแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๓๖ ให้องค์กรเกษตรกรรายงานผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต่อสำนักงานตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ให้สำนักงานตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติให้แจ้งองค์กรเกษตรกรทำการแก้ไขปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนด และในกรณีที่เห็นสมควรอาจมีคำสั่งให้พักการจ่ายเงินตามแผนหรือโครงการในระหว่างนั้นก็ได้ และให้รายงานคณะกรรมการบริหารตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ในกรณีที่ปรากฏแน่ชัดว่าองค์กรเกษตรกรไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือโครงการนั้นต่อไปได้ ให้เลขาธิการเสนอคณะกรรมการบริหารพิจารณาสั่งยกเลิกแผนหรือโครงการนั้น ให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคสาม ต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ กรรมการบริหาร เลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา หมวด ๕/๑ การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร[๙] ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๓๗/๑[๑๐] ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “หนี้” หมายความว่า หนี้อันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรมของเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกร “หนี้ในระบบ” หมายความว่า (๑) หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ (๒) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน (๓) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร “โครงการส่งเสริมของรัฐ” หมายความว่า โครงการของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค หรือรัฐวิสาหกิจ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (๒) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (๓) นิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๒[๑๑] ให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย กรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการเก้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญมีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางสาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร และสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาละหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๓๗/๓[๑๒] คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการตามแผนแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ (๒) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ (๓) เสนอและรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร (๔) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร (๕) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่เลขาธิการในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๖) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๗/๔[๑๓] กรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอาจได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยให้จ่ายจากเงินกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ส่วนที่ ๓ การจัดการหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๕[๑๔] ให้จัดตั้งสำนักขึ้นในสำนักงาน เรียกว่า “สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการ และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด ให้มีผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรเป็นผู้ควบคุมดูแลสำนัก และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการ สำหรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสำนักให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด มาตรา ๓๗/๖[๑๕] เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบ และประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกาศกำหนด เมื่อได้รับคำขอขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรทำการตรวจสอบหลักฐานถึงความมีอยู่จริงของหนี้และหลักประกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด มาตรา ๓๗/๗[๑๖] เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามโครงการส่งเสริมของรัฐโครงการใดที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ โดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร ให้พิจารณาช่วยเหลือโดยให้กองทุนรับภาระชำระหนี้นั้นให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือตั๋วเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเข้าสมทบกองทุนสำหรับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๓๗/๘[๑๗] เกษตรกรตามความในมาตรา ๓๗/๗ ที่ได้รับการยกเลิกหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากคณะกรรมการ ต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๗/๙[๑๘] เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ เมื่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้มีอำนาจหน้าที่จัดการหนี้ของเกษตรกรรายใดแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยการจ่ายเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือตั๋วเงิน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อกองทุนรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามวรรคหนึ่งแล้ว การจัดการหนี้ของเกษตรกรให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ให้ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ตกเป็นของกองทุน และเกษตรกรจะได้รับทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไปจากกองทุนได้ก็แต่โดยการเช่าซื้อหรือซื้อ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (๒) กรณีหนี้ที่มีบุคคลค้ำประกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด[๑๙] ให้คณะกรรมการมีอำนาจผ่อนผันการชำระหนี้ ลดหนี้ ปลดหนี้ ให้แก่เกษตรกรได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และรัฐพึงจัดสรรงบประมาณอุดหนุนในส่วนที่กองทุนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายนี้ การดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และให้เกษตรกรผู้นั้นเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๗/๑๐[๒๐] กองทุนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากรในการจดทะเบียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้โอนหรือผู้รับโอนก็ตาม การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้ บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๘ ให้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในระหว่างที่ยังไม่มีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ ผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนให้เป็นกรรมการผู้แทนเกษตรกรไปพลางก่อน ให้อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ซึ่งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ จำนวนห้าคนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน ให้กรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน มาตรา ๔๐ ในวาระเริ่มแรกให้เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นเลขาธิการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมาเป็นการกำหนดนโยบายโดยทางราชการ ซึ่งมิได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และการประกอบเกษตรกรรมของตนเอง จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงจำเป็นจะต้องจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและเป็นอิสระ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างข้าราชการในระดับกำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติการ นักวิชาการ และเกษตรกรเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพรวมตัวกันเป็นองค์กรเกษตรกร เพื่อทำแผนและโครงการในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ซึ่งจะมีการจัดระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูและพัฒนาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของการจัดให้มีกองทุน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔[๒๑] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรอันเนื่องจากโครงการส่งเสริมของรัฐที่ไม่ประสบผลสำเร็จไว้อย่างชัดเจน เกษตรกรไม่สามารถได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาหนี้เดิมของเกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบเป็นเหตุให้เกษตรกรเหล่านั้นไม่มีโอกาสฟื้นฟูอาชีพและดำรงชีพในด้านเกษตรกรรมได้อย่างมั่นคง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓[๒๒] มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๖ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัตินี้ และให้นับวาระการดำรงตำแหน่งเป็นวาระแรก เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรยังไม่อาจดำเนินการให้ครอบคลุมหนี้ของเกษตรกรบางกรณี จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่อาจรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ ประกอบกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร รวมถึงการกำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และสาขาของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่กำหนดในกฎหมายขาดความยืดหยุ่นและทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ และกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ได้ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และกำหนดที่ตั้งของสาขา ณ ที่ใดก็ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กองกฎหมายไทย/ปรับปรุง มิถุนายน ๒๕๕๙ พัชรภรณ์/เพิ่มเติม ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒ [๒] มาตรา ๘/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๓] มาตรา ๑๐/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๔] มาตรา ๑๖ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๕] มาตรา ๒๐ วรรคสาม แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๖] มาตรา ๒๑ วรรคสาม เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๗] มาตรา ๒๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๘] มาตรา ๒๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๙] หมวด ๕/๑ การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๑ ถึงมาตรา ๓๗/๑๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๐] มาตรา ๓๗/๑ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๑] มาตรา ๓๗/๒ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๒] มาตรา ๓๗/๓ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๓] มาตรา ๓๗/๔ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๔] มาตรา ๓๗/๕ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๕] มาตรา ๓๗/๖ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๖] มาตรา ๓๗/๗ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๗] มาตรา ๓๗/๘ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๘] มาตรา ๓๗/๙ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๑๙] มาตรา ๓๗/๙ วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ [๒๐] มาตรา ๓๗/๑๐ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ [๒๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๑๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ [๒๒] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๒๓ กันยายน ๒๕๖๓
866861
พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
พระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นปีที่ ๕ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๓” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ การดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรตามวรรคสอง ให้สำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ครบวาระ” มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๓ ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และอาจตั้งสาขา ณ ที่อื่นใด ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๓๗/๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เมื่อกองทุนรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามวรรคหนึ่งแล้ว การจัดการหนี้ของเกษตรกรให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้ (๑) กรณีหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน ให้ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ตกเป็นของกองทุน และเกษตรกรจะได้รับทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไปจากกองทุนได้ก็แต่โดยการเช่าซื้อหรือซื้อ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด (๒) กรณีหนี้ที่มีบุคคลค้ำประกัน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด” มาตรา ๖ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดำรงตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระตามพระราชบัญญัตินี้ และให้นับวาระการดำรงตำแหน่งเป็นวาระแรก เมื่อครบกำหนดวาระตามวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรขึ้นใหม่ ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือผู้แทนเกษตรกรซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรยังไม่อาจดำเนินการให้ครอบคลุมหนี้ของเกษตรกรบางกรณี จึงทำให้เกษตรกรบางส่วนยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้ เนื่องจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่อาจรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่ไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกันการชำระหนี้ได้ ประกอบกับวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร รวมถึงการกำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่และสาขาของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่กำหนดในกฎหมายขาดความยืดหยุ่นและทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสามารถรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันได้ และกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรให้เหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งกำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ได้ในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล และกำหนดที่ตั้งของสาขา ณ ที่ใดก็ได้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ พัชรภรณ์/จัดทำ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ สุภาทิพย์/ตรวจ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๓ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๗/ตอนที่ ๗๕ ก/หน้า ๑/๒๓ กันยายน ๒๕๖๓
315730
พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2544
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นปีที่ ๕๖ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๘/๑ ห้ามมิให้บุคคลใดยกอายุความขึ้นต่อสู้กับกองทุนในเรื่องทรัพย์สินของกองทุนที่ใช้หรือได้มาเพื่อการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้ ทรัพย์สินของกองทุนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี” มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๐/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “มาตรา ๑๐/๑ เพื่อจัดระบบควบคุมเงินของกองทุน ให้กองทุนจัดให้มีบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร เพื่อใช้จ่ายในการจัดการหนี้ของเกษตรกรโดยเฉพาะ” มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการบริหารด้วยโดยอนุโลม” มาตรา ๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “การจัดการกองทุนเกี่ยวกับบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร” มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๔ สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร และเสนอความเห็น ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว (๒) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) ให้การสนับสนุน ปรึกษาหารือ และแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามความจำเป็น หรือตามที่เกษตรกร หรือองค์กรเกษตรกรร้องขอ (๔) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหาร แล้วแต่กรณี (๕) ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้ (๖) จัดทำงบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอคณะกรรมการ (๗) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมอบหมาย” มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นหมวด ๕/๑ การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๑ ถึงมาตรา ๓๗/๑๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ “หมวด ๕/๑ การแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร ส่วนที่ ๑ บททั่วไป มาตรา ๓๗/๑ ในหมวดนี้ เว้นแต่ข้อความจะแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น “หนี้” หมายความว่า หนี้อันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรมของเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกร “หนี้ในระบบ” หมายความว่า (๑) หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ (๒) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันการเงิน (๓) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร “โครงการส่งเสริมของรัฐ” หมายความว่า โครงการของกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค หรือรัฐวิสาหกิจ “สถาบันการเงิน” หมายความว่า (๑) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ (๒) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (๓) นิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด “สถาบันเกษตรกร” หมายความว่า นิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ ส่วนที่ ๒ คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๒ ให้มีคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกอบด้วย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ผู้แทนสมาคมธนาคารไทย กรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากกรรมการซึ่งเป็นผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการเก้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญมีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางสาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาการบริหาร การเงินหรือการธนาคาร และสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาละหนึ่งคนเป็นกรรมการ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเลือกกรรมการด้วยกันเองเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้นำมาตรา ๑๖ มาตรา ๑๗ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรด้วยโดยอนุโลม มาตรา ๓๗/๓ คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ดำเนินการตามแผนแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ (๒) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ (๓) เสนอและรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร (๔) กำหนดหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร (๕) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่เลขาธิการในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๖) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย มาตรา ๓๗/๔ กรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอาจได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง โดยให้จ่ายจากเงินกองทุนในบัญชีจัดการหนี้ของเกษตรกร ส่วนที่ ๓ การจัดการหนี้ของเกษตรกร มาตรา ๓๗/๕ ให้จัดตั้งสำนักขึ้นในสำนักงาน เรียกว่า “สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการ และคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด ให้มีผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรเป็นผู้ควบคุมดูแลสำนัก และอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของเลขาธิการ สำหรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของสำนักให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด มาตรา ๓๗/๖ เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบ และประสงค์ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเกษตรกรต่อสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรประกาศกำหนด เมื่อได้รับคำขอขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรทำการตรวจสอบหลักฐานถึงความมีอยู่จริงของหนี้และหลักประกันที่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งจำแนกแยกประเภทหนี้ของเกษตรกรตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรกำหนด มาตรา ๓๗/๗ เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบตามโครงการส่งเสริมของรัฐโครงการใดที่คณะกรรมการเห็นว่าไม่ประสบความสำเร็จ โดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร ให้พิจารณาช่วยเหลือโดยให้กองทุนรับภาระชำระหนี้นั้นให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้ โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือตั๋วเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินเข้าสมทบกองทุนสำหรับการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง มาตรา ๓๗/๘ เกษตรกรตามความในมาตรา ๓๗/๗ ที่ได้รับการยกเลิกหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนจากคณะกรรมการ ต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๗/๙ เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบที่มิใช่โครงการส่งเสริมของรัฐ เมื่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรอนุมัติโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการให้มีอำนาจหน้าที่จัดการหนี้ของเกษตรกรรายใดแล้ว ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยการจ่ายเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หรือตั๋วเงิน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด เมื่อกองทุนรับภาระชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ทรัพย์สินของเกษตรกรที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ตกเป็นของกองทุน และเกษตรกรจะได้รับทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไปจากกองทุนโดยการเช่าซื้อ หรือซื้อ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้คณะกรรมการมีอำนาจผ่อนผันการชำระหนี้ ลดหนี้ ปลดหนี้ ให้แก่เกษตรกรได้โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา และรัฐพึงจัดสรรงบประมาณอุดหนุนในส่วนที่กองทุนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายนี้ การดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด และให้เกษตรกรผู้นั้นเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๗/๑๐ กองทุนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้องในกิจการใดที่กฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กองทุนและเกษตรกรได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียม และภาษีอากรในการจดทะเบียนนั้น ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้โอนหรือผู้รับโอนก็ตาม การยกเว้นภาษีอากรตามวรรคหนึ่ง ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากร โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขไว้ด้วยก็ได้” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกรอันเนื่องจากโครงการส่งเสริมของรัฐที่ไม่ประสบผลสำเร็จไว้อย่างชัดเจน เกษตรกรไม่สามารถได้รับการสนับสนุนทางการเงินเพื่อแก้ปัญหาหนี้เดิมของเกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบเป็นเหตุให้เกษตรกรเหล่านั้นไม่มีโอกาสฟื้นฟูอาชีพและดำรงชีพในด้านเกษตรกรรมได้อย่างมั่นคง จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กองกฎหมายไทย/ปรับปรุง มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๐๔ ก/หน้า ๑๖/๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๔
308573
พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นปีที่ ๕๔ ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒” มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “เกษตรกรรม” หมายความว่า การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การใช้และบำรุงรักษาทรัพยากรจากที่ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน และให้หมายความรวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่ม การแปรรูป การจำหน่าย ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจับสัตว์น้ำ การใช้และบำรุงรักษาทรัพยากรจากที่ดิน น้ำ และป่าไม้อย่างยั่งยืน และการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา “เกษตรกร” หมายความว่า บุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักตาม ระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด “องค์กรเกษตรกร” หมายความว่า กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน โดยจะเป็นหรือไม่เป็นนิติบุคคลก็ได้ และได้ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขา “กองทุน” หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “คณะกรรมการบริหาร” หมายความว่า คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงและประกาศนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ หมวด ๑ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ให้กองทุนเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร (๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร (๓) พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร (๔) พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร มาตรา ๖ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้ (๑) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (๒) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลหรือที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี (๓) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการบริจาค (๔) เงินที่ได้จากการจำหน่ายทรัพย์สินของกองทุน (๕) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุน (๖) ดอกผลหรือรายได้จากเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ในกรณีกองทุนมีจำนวนเงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสำนักงาน และค่าภาระต่าง ๆ ที่เหมาะสม รัฐพึงจัดสรรงบประมาณแผ่นดินเข้าสมทบกองทุนเท่าจำนวนที่จำเป็น มาตรา ๗ กิจการของกองทุนไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน มาตรา ๘ กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ ตามมาตรา ๕ อำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง (๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ (๒) ก่อตั้งสิทธิ หรือกระทำนิติกรรมใด ๆ ทั้งในและนอกราชอาณาจักร (๓) ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุน (๕) ลงทุนหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของกองทุน (๖) กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่อง ในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน มาตรา ๙ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุนให้จ่ายจากเงินกองทุน ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง มาตรา ๑๐ กองทุนไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ รายรับของกองทุนให้นำเข้าสมทบกองทุนโดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน มาตรา ๑๑ ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้คณะกรรมการเสนองบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรี งบดุลและรายงานตามวรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีนำเสนอรัฐสภาเพื่อทราบและจัดให้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา หมวด ๒ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๑๒ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนสิบเอ็ดคน และผู้แทนเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนเป็นกรรมการ ให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง ให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีผลงาน และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินหรือการธนาคาร การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น อุตสาหกรรมชุมชน เทคโนโยลีการเกษตรการพัฒนาแหล่งน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการจำนวนห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนจำนวนหกคน มาตรา ๑๓ การแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๒ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งเกษตรกร ซึ่งได้รับเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน ส่วนที่เหลือให้เป็นไปตามสัดส่วนของสมาชิกเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค การแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา ๑๔ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนและผู้แทนเกษตรกรต้องไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๒) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๓) ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ มาตรา ๑๕ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๒) พิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ และประกาศเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) กำหนดนโยบายและออกระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ในการบริหารกิจการของกองทุน (๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน (๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร (๖) ออกระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกร การติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนและโครงการ (๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายเงินของกองทุนตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และการใช้คืนเงินให้แก่กองทุน (๘) พิจารณางบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๙) กำกับ ให้คำปรึกษา และแนะนำแก่คณะกรรมการบริหารและสำนักงานในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๑๐) ให้ความเห็นชอบในการกำหนดภาระผูกพันของกองทุน (๑๑) กำหนดมาตรการ ส่งเสริม สนับสนุน องค์กรเกษตรกร (๑๒) แต่งตั้ง ถอดถอน คณะกรรมการบริหารและคณะอนุกรรมการ (๑๓) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการอาจมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารหรือเลขาธิการเป็นผู้ปฏิบัติหรือเตรียมข้อเสนอมายังคณะกรรมการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ มาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ มาตรา ๑๗ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๖ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) เป็นบุคคลล้มละลาย (๔) คณะกรรมการมีมติให้ออกด้วยคะแนนเสียงสามในสี่ของจำนวนกรรมการทั้งหมด (๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (๗) มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๘ ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นกรรมการแทนได้ และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ในกรณีที่กรรมการซึ่งเป็นผู้แทนเกษตรกรพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งเกษตรกรในภูมิภาคนั้นเป็นกรรมการแทน โดยให้ดำเนินการตามมาตรา ๑๓ โดยอนุโลม มาตรา ๑๙ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม ถ้ารองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด กรรมการผู้ใดมีส่วนได้เสียเป็นส่วนตัวในเรื่องใด ห้ามมิให้เข้าร่วมพิจารณาและออกเสียงในเรื่องนั้น หมวด ๓ คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๒๐ ให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งมีจำนวนรวมกันเจ็ดคน โดยให้แต่งตั้งจากบุคคลในคณะกรรมการจำนวนสามคนซึ่งในจำนวนนี้จะต้องเป็นผู้แทนเกษตรกรจำนวนสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญมีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องทางสาขาเศรษฐศาสตร์ สาขาการบริหารการเงินหรือการธนาคาร และสาขาเกษตรศาสตร์ สาขาละหนึ่งคนเป็นกรรมการ และให้เลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการบริหารเลือกกรรมการด้วยกันเป็นประธานกรรมการและรองประธานกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ มาใช้บังคับในเรื่องวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ และให้นำมาตรา ๑๘ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับแก่การประชุมของคณะกรรมการบริหารโดยอนุโลม มาตรา ๒๑ คณะกรรมการบริหารมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) ควบคุมการใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์นโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งของคณะกรรมการ (๒) เสนอและรายงานต่อคณะกรรมการเกี่ยวกับการดำเนินงานของกองทุน (๓) อนุมัติแผนฟื้นฟูและพัฒนาขององค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน (๔) อนุมัติโครงการที่มีวงเงินเกินกว่าห้าแสนบาท (๕) ออกข้อบังคับว่าด้วยการปฏิบัติงานของเลขาธิการและการมอบอำนาจให้ผู้อื่นปฏิบัติงานแทนเลขาธิการ (๖) ออกระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตลอดจนการกำหนดเงินเดือนหรือเงินอื่น รวมถึงการสงเคราะห์และสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้าง (๗) ให้คำปรึกษาและคำแนะนำแก่เลขาธิการในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๘) แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ (๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับตาม (๕) และ (๖) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแล้วให้ใช้บังคับได้ มาตรา ๒๒ กรรมการและกรรมการบริหารอาจได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้จ่ายจากเงินกองทุนตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง หมวด ๔ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๒๓ ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร และอาจตั้งสาขา ณ ที่อื่นใดตามความจำเป็นก็ได้ มาตรา ๒๔ สำนักงานมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) รับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร ศึกษาและรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร (๒) ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรได้ทราบถึงนโยบาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๓) พิจารณาเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหาร ในการพิจารณาแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) ให้การสนับสนุน ปรึกษาหารือ และแนะนำแก่องค์กรเกษตรกรเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามความจำเป็น หรือตามที่องค์กรเกษตรกรร้องขอ (๕) ติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน และรายงานผลต่อคณะกรรมการบริหาร (๖) จัดทำงบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุน และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการ (๗) ดำเนินการอื่นใดตามที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการบริหารมอบหมาย มาตรา ๒๕ ให้เลขาธิการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานและรับผิดชอบการบริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการและคณะกรรมการบริหารกำหนด ให้เลขาธิการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานของสำนักงานเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๒๖ ให้คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการจากผู้ซึ่งมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) มีสัญชาติไทย (๒) มีอายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ (๓) มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงาน และประสบการณ์ที่จะปฏิบัติงานให้แก่กองทุนได้ (๔) ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ (๕) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ (๖) ไม่เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย (๗) ไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากองทุนหรือในกิจการที่กระทำให้แก่กองทุนไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม มาตรา ๒๗ การดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการกำหนดเงื่อนไขในการทดลองปฏิบัติงาน การปฏิบัติงานในหน้าที่เลขาธิการ และการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามสัญญาจ้างที่คณะกรรมการบริหารกำหนด โดยให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างตามวรรคหนึ่งแล้ว คณะกรรมการบริหารโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการอาจมีมติให้ทำสัญญาจ้างเลขาธิการให้ปฏิบัติงานต่อไปอีกก็ได้ ให้เลขาธิการได้รับเงินค่าจ้าง ค่าตอบแทน และเงินอื่น ตามที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๒๘ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามกำหนดระยะเวลาการจ้าง เลขาธิการพ้นจากตำแหน่งเมื่อ (๑) ตาย (๒) ลาออก (๓) ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๒๖ (๔) คณะกรรมการมีมติให้เลิกจ้าง มาตรา ๒๙ ให้เลขาธิการเป็นผู้แทนของกองทุนในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก นิติกรรมที่กระทำโดยฝ่าฝืนข้อบังคับที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมไม่ผูกพันกองทุน เว้นแต่คณะกรรมการจะให้สัตยาบัน หมวด ๕ การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มาตรา ๓๐ เกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือคณะ เพื่อประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ตาม ถ้าประสงค์จะขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด เกษตรกรจะเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรในขณะเดียวกันได้เพียงแห่งเดียว การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรและการพิจารณารับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด มาตรา ๓๑ องค์กรเกษตรกรมีสิทธิขอรับการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยให้ทำแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาที่เป็นที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร ในกรณีท้องที่ที่ตั้งองค์กรเกษตรกรไม่มีสำนักงานหรือสำนักงานสาขาตั้งอยู่ ให้ยื่นต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาที่ใกล้เคียง มาตรา ๓๒ แผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อย่างน้อยต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้ (๑) หมายเลขทะเบียนขององค์กรเกษตรกร (๒) รายชื่อของเกษตรกรทั้งหมดขององค์กรเกษตรกร (๓) เหตุผลที่เสนอแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๔) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่างๆ ขององค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและเกษตรกรแต่ละคนที่เป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรในขณะที่ยื่นแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๕) รายละเอียดพอสังเขปของโครงการแต่ละโครงการ (๖) หลักการ วิธีดำเนินการ และขั้นตอนของการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๗) ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (๘) รายชื่อของผู้ให้การสนับสนุนแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรพร้อมรายละเอียดในการให้การสนับสนุน ถ้ามี มาตรา ๓๓ ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติแผนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในกรณีที่แผนนั้นมีโครงการที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการบริหารด้วย ให้พิจารณาโครงการนั้นไปพร้อมกัน และให้แจ้งผลการพิจารณาให้องค์กรเกษตรกรทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแผน ในกรณีที่ไม่อนุมัติตามแผนให้แจ้งเหตุผลโดยย่อ และให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด มาตรา ๓๔ ให้เลขาธิการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มีวงเงินไม่เกินห้าแสนบาท ให้คณะกรรมการบริหารมีอำนาจพิจารณาอนุมัติโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรที่มีวงเงินเกินกว่าห้าแสนบาท การพิจารณาตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองให้ดำเนินการตามมาตรา ๓๓ โดยอนุโลม คำวินิจฉัยของเลขาธิการตามวรรคหนึ่งให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารได้ภายในสามสิบวันนับแต่ที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด มาตรา ๓๕ คณะกรรมการบริหาร และเลขาธิการ อาจเห็นชอบแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ปฏิบัติด้วยก็ได้ มาตรา ๓๖ ให้องค์กรเกษตรกรรายงานผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต่อสำนักงานตามเงื่อนไขและระยะเวลาตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ให้สำนักงานตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถ้าผลการพิจารณาปรากฏว่าการดำเนินการไม่เป็นไปตามแผนหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติให้แจ้งองค์กรเกษตรกรทำการแก้ไขปรับปรุงภายในระยะเวลาที่กำหนด และในกรณีที่เห็นสมควรอาจมีคำสั่งให้พักการจ่ายเงินตามแผนหรือโครงการในระหว่างนั้นก็ได้ และให้รายงานคณะกรรมการบริหารตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด ในกรณีที่ปรากฏแน่ชัดว่าองค์กรเกษตรกรไม่อาจดำเนินการให้เป็นไปตามแผนหรือโครงการนั้นต่อไปได้ ให้เลขาธิการเสนอคณะกรรมการบริหารพิจารณาสั่งยกเลิกแผนหรือโครงการนั้น ให้องค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของคณะกรรมการบริหารตามวรรคสามต่อคณะกรรมการได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ กรรมการบริหาร เลขาธิการ และพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา บทเฉพาะกาล มาตรา ๓๘ ให้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และเลขาธิการตามพระราชบัญญัตินี้ ภายในกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มาตรา ๓๙ ภายใต้บังคับมาตรา ๓๘ ในระหว่างที่ยังไม่มีการดำเนินการแต่งตั้งกรรมการ ผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเป็นเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนให้เป็นกรรมการผู้แทนเกษตรกรไปพลางก่อน ให้อธิบดีกรมบัญชีกลาง อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ซึ่งไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔ จำนวนห้าคนเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชนเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน ให้กรรมการตามวรรคหนึ่งและวรรคสองมีสิทธิได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหาร เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน มาตรา ๔๐ ในวาระเริ่มแรกให้เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นเลขาธิการเพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การพัฒนาการเกษตรที่ผ่านมาเป็นการกำหนดนโยบายโดยทางราชการ ซึ่งมิได้เปิดโอกาสให้เกษตรกรได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาสภาพความเป็นอยู่และการประกอบเกษตรกรรมของตนเอง จึงทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการของเกษตรกรอย่างแท้จริง ด้วยเหตุดังกล่าวจึงจำเป็นจะต้องจัดตั้งองค์กรที่รับผิดชอบในการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรอย่างต่อเนื่องและเป็นอิสระ โดยการประสานความร่วมมือระหว่างข้าราชการในระดับกำหนดนโยบาย ผู้ปฏิบัติการ นักวิชาการ และเกษตรกรเป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ขาดปัจจัยในการประกอบอาชีพรวมตัวกันเป็นองค์กรเกษตรกร เพื่อทำแผนและโครงการในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ซึ่งจะมีการจัดระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินการเพื่อให้การฟื้นฟูและพัฒนาสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรสัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของการจัดให้มีกองทุน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ กองกฎหมายไทย/ปรับปรุง มิถุนายน ๒๕๕๙ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖/ตอนที่ ๓๙ ก/หน้า ๑๓/๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๒
668597
กฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2544 (ฉบับ Update ล่าสุด)
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “เลือกตั้ง” หมายความว่า เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร “ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง” หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร “ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร “เขตเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร “หน่วยเลือกตั้ง” หมายความว่า ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง “ที่เลือกตั้ง” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง “สมาชิกองค์กรเกษตรกร” หมายความว่า เกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรหรือสำนักงานสาขาตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนองค์กรเกษตรกร “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎกระทรวงนี้ “เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข้อ ๒ ให้มีทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรและทะเบียนองค์กรเกษตรกร ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรเก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แยกเป็นรายภูมิภาคไว้เป็นประจำ ให้ใช้ทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรและทะเบียนองค์กรเกษตรกรในการอ้างอิงถึงภูมิภาคของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบและขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ ข้อ ๓ การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้ใช้ภูมิภาคเป็นเขตเลือกตั้ง การแบ่งภูมิภาค ให้แบ่งเป็นสี่ภูมิภาค ดังนี้ (๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี (๒) ภูมิภาคที่สอง ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง (๓) ภูมิภาคที่สาม ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี[๒] (๔) ภูมิภาคที่สี่ ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี ข้อ ๔ ให้มีผู้แทนเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน ส่วนที่เหลืออีกสิบสองคนให้เป็นไปตามสัดส่วนของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค การคำนวณสัดส่วนของผู้แทนเกษตรกรส่วนที่เหลืออีกสิบสองคน ให้คำนวณจากสัดส่วนของสมาชิกองค์กรเกษตรกร ดังต่อไปนี้ (๑) ให้รวมจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรทั้งสี่ภูมิภาค (๒) ให้นำจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรตาม (๑) หารด้วยสิบสอง ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรเฉลี่ยต่อผู้แทนเกษตรกรหนึ่งคน (๓) ให้นำจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรในแต่ละภูมิภาคหารด้วยจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรเฉลี่ยตาม (๒) ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มที่ได้รับคือ จำนวนผู้แทนเกษตรกรที่ภูมิภาคนั้นจะพึงมี (๔) ในกรณีที่จำนวนผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับรวมกันทั้งสี่ภูมิภาคมีจำนวนไม่ถึงสิบสองคนให้ภูมิภาคที่มีผลลัพธ์ตาม (๓) เป็นเศษที่มีจำนวนมากที่สุดได้รับจำนวนผู้แทนเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนและให้เพิ่มจำนวนผู้แทนเกษตรกรตามวิธีการดังกล่าวแก่ภูมิภาคที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม (๓) ในลำดับรองลงมาตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวนผู้แทนองค์กรเกษตรกรทั้งสี่ภูมิภาครวมกันครบจำนวนสิบสองคน เมื่อได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค ข้อ ๕ ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ (๑) เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร (๒) มีสัญชาติไทย (๓) มีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง (๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย (๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง (๗) ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ (๘) ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ ข้อ ๖ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร ข้อ ๗ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน การเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ ข้อ ๘ การเลือกตั้งให้มีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยอำเภอ เขต หรือกิ่งอำเภอ ละหนึ่งหน่วยเลือกตั้ง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง และการกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๙ ในการสมัครรับเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของผู้สมัคร ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร ตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด การกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง และแบบใบสมัครรับเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๐ ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติของผู้สมัครและสอบสวนว่ามีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร กรณีผู้ใดมีคุณสมบัติครบถ้วนให้แจ้งผู้นั้นทราบ ถ้าไม่ครบถ้วนหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่สั่งไม่รับสมัครแล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว ข้อ ๑๑ ให้ผู้สมัครได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครที่จะใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งตามลำดับก่อนหลังการมายื่นใบสมัครตามลำดับเลขที่ใบรับใบสมัคร กรณีมีผู้ยื่นใบสมัครพร้อมกันหลายคน และไม่อาจตกลงกันได้ให้ใช้วิธีจับสลากโดยเปิดเผยระหว่างผู้สมัครที่มาพร้อมกัน ข้อ ๑๒ วิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง และหีบบัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๓ ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ข้อ ๑๔ ในกรณีที่การลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ถ้าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่กำหนดที่เลือกตั้งใหม่ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปลงคะแนนได้โดยสะดวก แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ได้ให้ประกาศงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นแล้วรายงานต่อเลขาธิการโดยด่วน ในกรณีที่เหตุตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ประกาศงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อเลขาธิการโดยด่วน ให้เลขาธิการกำหนดวันลงคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบว่าเหตุที่ทำให้ไม่อาจลงคะแนนได้นั้นสงบลงแล้ว และต้องประกาศก่อนวันลงคะแนนเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ข้อ ๑๕ เมื่อปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว ให้ตรวจนับคะแนนเลือกตั้ง ณ ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จในรวดเดียวจะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้ เมื่อนับคะแนนเสร็จแล้วให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลของการนับคะแนน จำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้ และจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการลงคะแนน แล้วรีบทำรายงานผลการนับคะแนนส่งไปยังเลขาธิการโดยเร็ว การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ข้อ ๑๖ บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย คือ (๑) บัตรปลอม (๒) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย (๓) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด (๔) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครเกินกว่าหนึ่งคน (๕) บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท (๖) บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายเลย (๗) บัตรที่มีเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใด (๘) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง “ทำเครื่องหมาย” ในการนับคะแนน หากปรากฏว่ามีบัตรเสียให้สลักหลังในบัตรตามข้อนี้ว่า “เสีย” พร้อมทั้งระบุเหตุผลว่าเป็นบัตรเสียตามความในอนุมาตราใด และให้แยกบัตรเสียออกไว้เป็นส่วนหนึ่งและห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนไม่ว่ากรณีใด ข้อ ๑๗ ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาจนครบจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร ในกรณีที่มีผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันหลายคนอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งได้ ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น โดยทำสลากเท่าจำนวนผู้สมัครที่จะต้องจับสลาก เป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า “ได้รับเลือกตั้ง” เท่ากับจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีหรือยังขาดอยู่ นอกนั้นเป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า “ไม่ได้รับเลือกตั้ง” ผู้ใดได้สลากซึ่งมีข้อความว่า “ได้รับเลือกตั้ง” ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร การจับสลากให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าเลขาธิการ เมื่อถึงเวลาการจับสลากแล้ว หากผู้สมัครที่จะต้องจับสลากไม่มา ณ สถานที่จับสลาก ให้เลขาธิการเป็นผู้จับสลากแทนผู้ที่ไม่มา และให้เลขาธิการบันทึกแสดงผลของการจับสลากไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผลการนับคะแนนไม่ตรงกับรายงานการใช้สิทธิเลือกตั้งของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง ให้เลขาธิการจัดให้มีการนับคะแนนใหม่ ถ้ายังไม่ตรงกันอีก ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ เว้นแต่คะแนนที่ไม่ตรงกับรายงานการใช้สิทธินั้นจะไม่ทำให้ผลของการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงไป มิให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ ข้อ ๑๙ เมื่อได้ผลการนับคะแนนของการเลือกตั้งตามข้อ ๑๕ ครบทุกเขตเลือกตั้งแล้ว ให้เลขาธิการประกาศว่าผู้สมัครผู้ใดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร เมื่อเลขาธิการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ให้รีบดำเนินการแจ้งผลการเลือกตั้งเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรผู้ได้รับการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต่อไป ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประกอบด้วยกรรมการจำนวนสี่สิบเอ็ดคนและในจำนวนกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาคจำนวนยี่สิบคน ประกอบกับมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ กฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๓] หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น อันมีผลทำให้เขตเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในภูมิภาคที่สาม ตามกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ ยังไม่ครอบคลุมถึงจังหวัดบึงกาฬทำให้สมาชิกองค์กรเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้ สมควรกำหนดให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดในภูมิภาคที่สาม อันเป็นเขตการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ณัฐพร/ผู้จัดทำ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๑/๒๖ เมษายน ๒๕๔๔ [๒] ข้อ ๓ (๓) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ [๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๐/๒ มีนาคม ๒๕๕๕
664321
กฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555
กฎกระทรวง กฎกระทรวง กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๓ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ ให้ยกเลิกความใน (๓) ของข้อ ๓ แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(๓) ภูมิภาคที่สาม ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี” ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕ ธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้ตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น อันมีผลทำให้เขตเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในภูมิภาคที่สาม ตามกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ ยังไม่ครอบคลุมถึงจังหวัดบึงกาฬทำให้สมาชิกองค์กรเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬไม่สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้ สมควรกำหนดให้จังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดในภูมิภาคที่สาม อันเป็นเขตการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ ณัฐพร/ผู้ตรวจ ๕ มีนาคม ๒๕๕๕ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙/ตอนที่ ๒๒ ก/หน้า ๑๐/๒ มีนาคม ๒๕๕๕