sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
312690 | กฎกระทรวง กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2544 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๑๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้
เลือกตั้ง หมายความว่า เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หมายความว่า
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ผู้สมัคร หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เขตเลือกตั้ง หมายความว่า
ท้องที่ที่กำหนดเป็นเขตเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
หน่วยเลือกตั้ง หมายความว่า
ท้องถิ่นที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง
ที่เลือกตั้ง หมายความว่า
สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้ง
สมาชิกองค์กรเกษตรกร หมายความว่า
เกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรหรือสำนักงานสาขาตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนองค์กรเกษตรกร
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
ผู้ซึ่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามกฎกระทรวงนี้
เลขาธิการ หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ข้อ ๒
ให้มีทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรและทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรเก็บรักษาไว้ ณ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร แยกเป็นรายภูมิภาคไว้เป็นประจำ
ให้ใช้ทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรและทะเบียนองค์กรเกษตรกรในการอ้างอิงถึงภูมิภาคของผู้สมัครและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
และให้ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิตรวจสอบและขอแก้ไขให้ถูกต้องได้
ข้อ ๓
การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้ใช้ภูมิภาคเป็นเขตเลือกตั้ง
การแบ่งภูมิภาค ให้แบ่งเป็นสี่ภูมิภาค ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ
ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี
(๒) ภูมิภาคที่สอง ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคกลาง
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา
จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี
จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดอ่างทอง
(๓) ภูมิภาคที่สาม
ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น
จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ประกอบด้วยท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา
จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ข้อ ๔ ให้มีผู้แทนเกษตรกรจำนวนยี่สิบคนซึ่งมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค
อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน
ส่วนที่เหลืออีกสิบสองคนให้เป็นไปตามสัดส่วนของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค
การคำนวณสัดส่วนของผู้แทนเกษตรกรส่วนที่เหลืออีกสิบสองคน
ให้คำนวณจากสัดส่วนของสมาชิกองค์กรเกษตรกร ดังต่อไปนี้
(๑) ให้รวมจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรทั้งสี่ภูมิภาค
(๒) ให้นำจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรตาม (๑) หารด้วยสิบสอง
ผลลัพธ์ที่ได้ถือเป็นจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรเฉลี่ยต่อผู้แทนเกษตรกรหนึ่งคน
(๓)
ให้นำจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรในแต่ละภูมิภาคหารด้วยจำนวนสมาชิกองค์กรเกษตรกรเฉลี่ยตาม
(๒) ผลลัพธ์ที่เป็นจำนวนเต็มที่ได้รับคือ จำนวนผู้แทนเกษตรกรที่ภูมิภาคนั้นจะพึงมี
(๔)
ในกรณีที่จำนวนผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับรวมกันทั้งสี่ภูมิภาคมีจำนวนไม่ถึงสิบสองคนให้ภูมิภาคที่มีผลลัพธ์ตาม
(๓)
เป็นเศษที่มีจำนวนมากที่สุดได้รับจำนวนผู้แทนเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคนและให้เพิ่มจำนวนผู้แทนเกษตรกรตามวิธีการดังกล่าวแก่ภูมิภาคที่มีเศษที่เหลือจากการคำนวณตาม
(๓) ในลำดับรองลงมาตามลำดับจนกว่าจะมีจำนวนผู้แทนองค์กรเกษตรกรทั้งสี่ภูมิภาครวมกันครบจำนวนสิบสองคน
เมื่อได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว
ให้รัฐมนตรีประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค
ข้อ ๕
ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
(๒) มีสัญชาติไทย
(๓)
มีภูมิลำเนาอยู่ในภูมิภาคที่สมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา
หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(๗) ไม่เป็นข้าราชการ
พนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ
(๘)
ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ไล่ออก ปลดออก
ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่
ข้อ ๖
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๗
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นได้หนึ่งคน
การเลือกตั้งให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
ข้อ ๘ การเลือกตั้งให้มีหน่วยเลือกตั้งอย่างน้อยอำเภอ
เขต หรือกิ่งอำเภอ ละหนึ่งหน่วยเลือกตั้ง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
และการกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๙ ในการสมัครรับเลือกตั้ง
ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครด้วยตนเองต่อเจ้าหน้าที่พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของผู้สมัคร
ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร
ตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
การกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง
สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง และแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๐
ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้ง
คุณสมบัติของผู้สมัครและสอบสวนว่ามีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่
ให้เสร็จสิ้นภายในเจ็ดวันนับแต่วันปิดการรับสมัคร
กรณีผู้ใดมีคุณสมบัติครบถ้วนให้แจ้งผู้นั้นทราบ
ถ้าไม่ครบถ้วนหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
ให้เจ้าหน้าที่สั่งไม่รับสมัครแล้วแจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๑
ให้ผู้สมัครได้รับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครที่จะใช้ในการลงคะแนนเลือกตั้งตามลำดับก่อนหลังการมายื่นใบสมัครตามลำดับเลขที่ใบรับใบสมัคร
กรณีมีผู้ยื่นใบสมัครพร้อมกันหลายคน
และไม่อาจตกลงกันได้ให้ใช้วิธีจับสลากโดยเปิดเผยระหว่างผู้สมัครที่มาพร้อมกัน
ข้อ ๑๒ วิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
และหีบบัตรเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓ ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา
๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา
ข้อ ๑๔
ในกรณีที่การลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากเกิดจลาจล
อุทกภัย อัคคีภัย หรือเหตุสุดวิสัยอื่น ถ้าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง
ให้เจ้าหน้าที่กำหนดที่เลือกตั้งใหม่ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปลงคะแนนได้โดยสะดวก
แต่ถ้าไม่สามารถกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ได้ให้ประกาศงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้นแล้วรายงานต่อเลขาธิการโดยด่วน
ในกรณีที่เหตุตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง
ให้เจ้าหน้าที่ประกาศงดลงคะแนนในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อเลขาธิการโดยด่วน
ให้เลขาธิการกำหนดวันลงคะแนนใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบว่าเหตุที่ทำให้ไม่อาจลงคะแนนได้นั้นสงบลงแล้ว
และต้องประกาศก่อนวันลงคะแนนเป็นการล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ข้อ ๑๕ เมื่อปิดการลงคะแนนเลือกตั้งแล้ว
ให้ตรวจนับคะแนนเลือกตั้ง ณ
ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จในรวดเดียวจะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้
เมื่อนับคะแนนเสร็จแล้วให้เจ้าหน้าที่ประกาศผลของการนับคะแนน
จำนวนบัตรเลือกตั้งที่มีอยู่ทั้งหมด จำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้
และจำนวนบัตรเลือกตั้งที่เหลือจากการลงคะแนน
แล้วรีบทำรายงานผลการนับคะแนนส่งไปยังเลขาธิการโดยเร็ว
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน
วิธีการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๑๖
บัตรเลือกตั้งต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย คือ
(๑) บัตรปลอม
(๒) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
(๓) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด
(๔)
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครเกินกว่าหนึ่งคน
(๕) บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท
(๖) บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมายเลย
(๗) บัตรที่มีเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใด
(๘) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง ทำเครื่องหมาย
ในการนับคะแนน
หากปรากฏว่ามีบัตรเสียให้สลักหลังในบัตรตามข้อนี้ว่า เสีย
พร้อมทั้งระบุเหตุผลว่าเป็นบัตรเสียตามความในอนุมาตราใด
และให้แยกบัตรเสียออกไว้เป็นส่วนหนึ่งและห้ามมิให้นับบัตรเสียเป็นคะแนนไม่ว่ากรณีใด
ข้อ ๑๗ ให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนเลือกตั้งมากที่สุดเรียงตามลำดับลงมาจนครบจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีได้ในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
ในกรณีที่มีผู้สมัครได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันหลายคนอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งได้
ให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเลือกตั้งเท่ากันจับสลากเพื่อให้ได้ผู้ได้รับเลือกตั้งครบจำนวนที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น
โดยทำสลากเท่าจำนวนผู้สมัครที่จะต้องจับสลาก เป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า ได้รับเลือกตั้ง
เท่ากับจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีหรือยังขาดอยู่
นอกนั้นเป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า ไม่ได้รับเลือกตั้ง
ผู้ใดได้สลากซึ่งมีข้อความว่า ได้รับเลือกตั้ง ผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
การจับสลากให้กระทำโดยเปิดเผยต่อหน้าเลขาธิการ
เมื่อถึงเวลาการจับสลากแล้ว หากผู้สมัครที่จะต้องจับสลากไม่มา ณ สถานที่จับสลาก
ให้เลขาธิการเป็นผู้จับสลากแทนผู้ที่ไม่มา
และให้เลขาธิการบันทึกแสดงผลของการจับสลากไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๘ ในกรณีที่ผลการนับคะแนนไม่ตรงกับรายงานการใช้สิทธิเลือกตั้งของเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้ง
ให้เลขาธิการจัดให้มีการนับคะแนนใหม่ ถ้ายังไม่ตรงกันอีก
ให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
เว้นแต่คะแนนที่ไม่ตรงกับรายงานการใช้สิทธินั้นจะไม่ทำให้ผลของการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้นเปลี่ยนแปลงไป
มิให้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
ข้อ ๑๙ เมื่อได้ผลการนับคะแนนของการเลือกตั้งตามข้อ
๑๕ ครบทุกเขตเลือกตั้งแล้ว
ให้เลขาธิการประกาศว่าผู้สมัครผู้ใดเป็นผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
เมื่อเลขาธิการประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว ให้รีบดำเนินการแจ้งผลการเลือกตั้งเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรผู้ได้รับการเลือกตั้งตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต่อไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
โดยที่พระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
กำหนดให้มีคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรประกอบด้วยกรรมการจำนวนสี่สิบเอ็ดคน
และในจำนวนกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งจากผู้แทนเกษตรกรที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาคจำนวนยี่สิบคน
ประกอบกับมาตรา ๑๓ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
ละออง/พิมพ์
๑๖
กรกฎาคม ๒๕๔๔
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘
ธันวาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๒๕ ก/หน้า ๑/๒๖ เมษายน ๒๕๔๔ |
873963 | ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้ พ.ศ. 2563 (ยกเลิกประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้ พ.ศ. 2563 ฉบับลงวันที่ 4 มีนาคม 2563) (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้
พ.ศ. ๒๕๖๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนหนี้ให้เหมาะสม เท่าทันกับสถานการณ์และเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน และรักษาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร
รวมถึงการรักษาพื้นที่เกษตรกรรมของชาติโดยรวม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗/๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ ประกอบกับมติคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร ในคราวประชุมครั้งที่
๑๐/๒๕๖๓ เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้
พ.ศ. ๒๕๖๓ ฉบับลงวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เกษตรกร หมายความว่า
บุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
นายทะเบียน หมายความว่า
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการเพื่อปฏิบัติหน้าที่นายทะเบียนตามประกาศนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการจัดการหนี้ หมายความว่า คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
สำนักจัดการหนี้ หมายความว่า สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร
สำนักงานสาขาจังหวัด
หมายความว่า สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด
สถาบันเจ้าหนี้ หมายความว่า สถาบันการเงิน
สถาบันเกษตรกร และนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด
หนี้เร่งด่วน หมายความว่า
หนี้ที่ถูกสถาบันเจ้าหนี้ทวงถามเป็นเอกสารอันจะนำไปสู่การดำเนินการตามกฎหมาย หนี้ฟ้องร้องดำเนินคดี รวมไปถึงการถูกบังคับคดี
หรือขายทอดตลาด หรืออยู่ระหว่างการดำเนินคดีก่อนศาลมีคำสั่งล้มละลาย
ทะเบียนหนี้ หมายความว่า
ทะเบียนเกษตรกรที่เกษตรกรซึ่งเป็นหนี้ในระบบได้ยื่นและได้รับการอนุมัติจากนายทะเบียน รวมถึงหนี้ที่ผ่านการอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้
ตามมาตรา ๓๗/๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด ๑
การขึ้นทะเบียนหนี้
ข้อ ๕ เกษตรกรที่มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนหนี้ตามประกาศนี้
ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
(๑) เป็นเกษตรกร
(๒) เป็นหนี้อันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรมของเกษตรกรตามมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
(๓) เป็นหนี้ในระบบตามมาตรา ๓๗/๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
(๔)[๒] (ยกเลิก)
ข้อ ๖ ให้เกษตรกรที่มีหนี้ในระบบและประสงค์ขึ้นทะเบียนหนี้
ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนที่สำนักงานสาขาจังหวัดที่องค์กรเกษตรกรนั้นตั้งอยู่
ในวันและเวลาทำการ
ข้อ ๗ การขอขึ้นทะเบียนหนี้ ตามข้อ ๖ ให้เกษตรกรยื่นผ่านองค์กรเกษตรกรที่เกษตรกรเป็นสมาชิก
โดยใช้เอกสารประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้
(๑) คำขอขึ้นทะเบียนหนี้ ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเกษตรกร
(๓) หลักฐานแห่งหนี้ เช่น สัญญากู้ยืม สัญญาจำนอง
หรือสมุดบัญชีเงินกู้
ในกรณีสัญญากู้ยืมไม่ระบุวัตถุประสงค์การกู้เพื่อเกษตรกรรม
หรือที่ระบุไม่ชัดเจน ให้ใช้เอกสารที่ระบุวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงินเพื่อเกษตรกรรม หรือหนังสือรับรองวัตถุประสงค์การกู้ยืมเงินเพื่อเกษตรกรรมจากสถาบันเจ้าหนี้มาอ้างอิงได้
สำหรับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมง
ไม่ต้องใช้เอกสารอ้างอิง
(๔) กรณีเป็นหนี้ที่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน
ให้แนบสำเนาเอกสารสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน
(๕) หนังสือแสดงความยินยอมให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันให้แก่กองทุน
กรณีหนี้บุคคลค้ำประกัน ให้ระบุจำนวนผู้ค้ำประกัน
พร้อมทั้งชื่อ ชื่อสกุล และที่อยู่ (ถ้ามี) มาด้วย
กรณีหนี้ส่วนที่เหลือจากการบังคับคดีเสร็จสิ้นหรือหลังจากการโอนทรัพย์เพื่อชำระหนี้แก่สถาบันเจ้าหนี้แล้ว ให้นำมาขึ้นทะเบียนหนี้ได้
ข้อ ๘ กรณีที่เกษตรกรได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนหนี้ ตามข้อ
๗ หากเป็นหนี้ผิดนัดชำระที่เจ้าหนี้ทวงถามเป็นเอกสารอันจะนำไปสู่การดำเนินการตามกฎหมายให้เกษตรกรแจ้งสำนักงานสาขาจังหวัดประสานสถาบันเจ้าหนี้เพื่อขอชะลอการดำเนินการตามกฎหมายก่อนวันครบกำหนด
กรณีเกษตรกรเป็นหนี้เร่งด่วน เกษตรกรต้องแจ้งสำนักงานสาขาจังหวัดประสานสถาบันเจ้าหนี้เพื่อขอชะลอการดำเนินคดีก่อนวันครบกำหนด
โดยแนบเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ คำฟ้อง คำพิพากษา
หมายบังคับคดี หมายยึดทรัพย์ หนังสือประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน หมายขับไล่ออกจากที่ดิน
ตามแต่กรณี
กรณีตามวรรคสอง ให้สำนักงานสาขาจังหวัดเร่งดำเนินการประสานสถาบันเจ้าหนี้ขอชะลอการดำเนินการโดยทันทีและแจ้งให้เกษตรกรทราบก่อนวันครบกำหนดดังกล่าว
กรณีหนี้เร่งด่วนตามวรรคสอง ให้สำนักงานสาขาจังหวัดแจ้งให้เกษตรกรยื่นคำขอจัดการหนี้เร่งด่วนในคราวเดียวกัน โดยแนบเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังนี้ คำฟ้อง คำพิพากษา คำบังคับ หมายยึดทรัพย์ หรือหนังสือประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน
ตามแต่กรณี
กรณีที่เกษตรกรยื่นขอให้จัดการหนี้เร่งด่วน
ให้จัดทำหนังสือมอบอำนาจในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้กับกองทุนในคราวเดียวกัน
ข้อ ๙ ให้นายทะเบียนจัดทำบันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นเกษตรกร
วัตถุประสงค์ในการกู้ยืมเงิน และสิทธิในการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน
รวมถึงภาระผูกพันของทรัพย์สิน ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๐ ให้นายทะเบียนบันทึกข้อมูลทั่วไปของเกษตรกรเพื่อประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินและฟื้นฟูอาชีพ
ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๑ ให้เกษตรกรทำหนังสือยินยอมให้เจ้าหนี้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไว้กับสำนักงานด้วย
ข้อ ๑๒ ให้นายทะเบียนตรวจสอบเอกสารตามข้อ ๗ และดำเนินการตามข้อ
๙ ให้ครบถ้วนถูกต้อง
ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันยื่นคำขอ หากพิจารณาเห็นว่าเอกสารครบถ้วนถูกต้องแล้ว ให้นายทะเบียน
โดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการอนุมัติการขึ้นทะเบียนหนี้
การตรวจสอบเอกสารตามข้อ
๗ หากเอกสารไม่ครบถ้วน ให้นายทะเบียนบันทึกแจ้งความไม่ครบถ้วนต่อองค์กรเกษตรกรและเกษตรกร พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาการส่งเอกสารเพิ่มเติมโดยให้ถือว่าวันที่ยื่นเอกสารเพิ่มเติมครบถ้วนเป็นวันยื่นคำขอ
หมวด ๒
การอุทธรณ์การขึ้นทะเบียนหนี้
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียนหนี้
ตามข้อ ๑๒ เกษตรกรมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อนายทะเบียนภายใน ๓๐ วันนับแต่วันรับทราบผลการไม่อนุมัติเป็นหนังสือ เพื่อเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณาตามประกาศหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการจัดการหนี้กำหนด
และแบบอุทธรณ์ให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๔ เมื่อเกษตรกรยื่นอุทธรณ์ตามข้อ ๑๓ ให้สำนักงานสาขาจังหวัดร่วมกับคณะอนุกรรมการที่ได้รับมอบหมาย
รวบรวมพยานหลักฐานและจัดทำสำนวนอุทธรณ์ พร้อมให้ความเห็นตามแบบที่สำนักงานกำหนด ให้แล้วเสร็จภายใน
๓๐ วัน นับแต่วันที่เกษตรกรยื่นอุทธรณ์ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณา
ข้อ ๑๕ กระบวนการรวบรวมหลักฐานและวิธีพิจารณาอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่สำนักงานกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจัดการหนี้
ข้อ ๑๖ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์โดยเร็วแต่ไม่เกิน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการจัดการหนี้
ให้ถือเป็นที่สุด
หมวด ๓
การเพิกถอนทะเบียนหนี้
ข้อ ๑๗ กรณีที่เกษตรกรมีความประสงค์ยกเลิกการขึ้นทะเบียนหนี้
ให้องค์กรเกษตรกรและเกษตรกร ยื่นคำขอเพิกถอนทะเบียนหนี้ต่อสำนักงานสาขาจังหวัด
ให้นายทะเบียนพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนทะเบียนหนี้และมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนหนี้ให้แล้วเสร็จภายใน
๑๕ วันนับแต่วันยื่นคำขอ และรายงานให้คณะอนุกรรมการเห็นชอบในการประชุมคราวถัดไปพร้อมทั้งแจ้งผลการเพิกถอนทะเบียนหนี้ให้เกษตรกรรายนั้นทราบ
ข้อ ๑๘ เมื่อเกษตรกรพ้นสภาพการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการกองทุน ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรซึ่งได้ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับกองทุนให้ถือว่าพ้นสภาพการขึ้นทะเบียนหนี้ด้วย
และให้นายทะเบียนแจ้งคณะอนุกรรมการทราบพร้อมกับการแจ้งการพ้นการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรในคราวเดียวกัน
ข้อ ๑๙ กรณีที่นายทะเบียนตรวจสอบข้อมูลภายหลังพบว่าเกษตรกรขาดคุณสมบัติการเป็นเกษตรกรหรือข้อมูลทะเบียนหนี้ไม่เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุน
ให้นายทะเบียนรายงานต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบให้เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหนี้โดยให้แล้วเสร็จภายใน
๑๕ วัน
ข้อ ๒๐ การขึ้นทะเบียนหนี้เป็นการได้รับสิทธิเบื้องต้นตามกฎหมาย
แต่การจะได้รับการจัดการหนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ที่คณะกรรมการจัดการหนี้กำหนด
ทั้งนี้ ให้รวมถึงหนี้ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้กองทุนชำระหนี้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒๑ ให้เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามประกาศนี้มีอำนาจออกประกาศสำนักงาน
คู่มือ แนวทางปฏิบัติที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อประกาศนี้
กรณีที่มีปัญหาการปฏิบัติตามประกาศนี้
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้มีอำนาจวินิจฉัย
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดการหนี้ถือเป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๒๒ ให้ประกาศนี้มีผลใช้บังคับกับเกษตรกรที่ได้รับอนุมัติการขึ้นทะเบียนหนี้เกษตรกรไว้กับกองทุนก่อนประกาศนี้มีผลใช้บังคับด้วย
ประกาศ ณ
วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓
จารึก บุญพิมพ์
ประธานกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง
การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๓[๓]
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
พิไลภรณ์/จัดทำ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
สุภาทิพย์/ตรวจ
๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๑๘ ง/หน้า ๓๒/๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๓
[๒] ข้อ ๕ (๔) ยกเลิกโดยประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เรื่อง การขึ้นทะเบียนหนี้และการเพิกถอนทะเบียนหนี้ (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๖๓
[๓] ราชกิจจานุเบกษาเล่ม
๑๓๗/ตอนพิเศษ ๑๕๒ ง/หน้า ๔/๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๓ |
661500 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ด้วยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๓
กำหนดให้การแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกร
เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแต่งตั้งเกษตรกร ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค
อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน
จำนวนยี่สิบคนเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีนั้น ปัจจุบันผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ได้ดำรงตำแหน่งครบวาระ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ ดังนั้น
จึงเห็นควรมีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๕
เพื่อดำเนินการเตรียมการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ดังนี้
องค์ประกอบ
๑. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ
๒. รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ
ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย
๓. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
๔. อธิบดีกรมการปกครอง รองประธานกรรมการ
๕.
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ
๖. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
๗. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรรมการ
๘.
เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการ
๙. ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือผู้แทน กรรมการ
๑๐. รองอัยการสูงสุด
ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย กรรมการ
๑๑. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย
๑๒. รองอธิบดีกรมการปกครอง กรรมการ
กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนการบริหารงานแบบบูรณาการ
๑๓.
ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรรมการ
กรมการปกครอง
๑๔. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน
กรมการปกครอง กรรมการ
๑๕. ผู้อำนวยการส่วนการเมืองและการเลือกตั้ง
กรรมการ
สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง
๑๖. ผู้อำนวยการกองการสื่อสาร
กรมการปกครอง กรรมการ
๑๗.
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กรรมการและเลขานุการ
๑๘. นายมนัส วงษ์จันทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๑๙. ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๐.
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการเลือกตั้ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ส่วนการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักบริหาร
การปกครองท้องที่ กรมการปกครอง
๒๑. นางสาวภุมรี เพ็งกลาง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
๑. ให้มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากการเลือกตั้ง
๒. พิจารณาจัดทำแผนการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยแผนดังกล่าวจะต้องประสานเชื่อมโยงวัตถุประสงค์แห่งการเลือกตั้งและเป็นไปตามกฎหมาย
กฎกระทรวง ประกาศ รวมทั้งมติคณะกรรมการ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องระเบียบ
หรือแนวทางการเลือกตั้งทั่วไป ในอันที่จะช่วยให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรสำเร็จลุล่วงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้
แผนดังกล่าวจะต้องมีกระบวนการสร้างความเข้าใจ
และพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ในการใช้สิทธิเลือกตั้งให้กว้างขวางและทั่วถึง
๓. พิจารณากลั่นกรองร่างประกาศต่าง
ๆ
ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนาม
๔. อำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์และแผนการเลือกตั้งด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
และเป็นไปตามนโยบาย มติคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร
๕. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ
คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ
แทนคณะกรรมการหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
๖. คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
และคณะบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรแต่งตั้งให้ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่น
ซึ่งหากไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้เบิกจ่ายโดยอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๗, ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและกรรมการบริหาร พ.ศ. ๒๕๕๒, ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน พ.ศ. ๒๕๕๓ และระเบียบหรือวิธีปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายของทางราชการโดยอนุโลม
๗. รายงานผลการดำเนินงานให้รัฐมนตรีทราบเป็นระยะ
จนกว่าการเลือกตั้งจะแล้วเสร็จ
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗ ง/หน้า ๒๑/๑๗ มกราคม ๒๕๕๕ |
661456 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ในวันอาทิตย์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๖
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ นั้น
เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ ยุติธรรม อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคหนึ่ง
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงออกประกาศกำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรดังนี้
(๑)
ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ
จำนวน
๑๐ รูป
(๒)
ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง
จำนวน
๑๐ รูป
(๓)
ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน ๑๐ รูป
(๔)
ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้
จำนวน
๑๐ รูป
ทั้งนี้
กำหนดให้รูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรมีขนาดกว้างประมาณ
๘.๕๐ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕๐ เซนติเมตร โดยให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ไปดำเนินการจัดทำเอกสารตามประกาศ เรื่อง การรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ
ผก. ๑/๕) พร้อมรูปถ่ายหรือรูปภาพพิมพ์ที่ชัดเจนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ให้ครบตามจำนวนหน่วยเลือกตั้ง ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
โดยงบประมาณในการดำเนินงานให้ใช้จ่ายตามแผนดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๕๕
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๔ มกราคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๔/๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ |
661454 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค
พ.ศ. ๒๕๕๕[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่ ๔
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ถึงวันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ไปแล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ วรรคสาม
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงออกประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค พ.ศ. ๒๕๕๕ ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน
๕ คน
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน
๔ คน
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน ๗ คน
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้
จำนวน
๔ คน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๔ มกราคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๓/๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ |
661452 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[๑]
ด้วยผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๔
ซึ่งจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง จำนวน ๒๐ คน ตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๙ วรรคสอง
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง
สถานที่รับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไว้ดังนี้
๑. วันเลือกตั้ง
วันอาทิตย์ที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๕.๐๐ น.
๒. วันรับสมัครเลือกตั้ง
ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ถึงวันศุกร์ที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น.
๓. สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
๓.๑ ภูมิภาคที่หนึ่ง (ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่
จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์
และจังหวัดอุทัยธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
๓.๒ ภูมิภาคที่สอง (ท้องที่ในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท
จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดอ่างทอง) รับสมัครที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เลขที่ ๑๐๑
อาคาร อ.ต.ก. (หลังเดิม) ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
๓.๓ ภูมิภาคที่สาม (ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา
จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด
จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย
จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี)
รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
๓.๔ ภูมิภาคที่สี่ (ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่
จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี
จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา
จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
สำหรับจังหวัดบึงกาฬในระหว่างที่กฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ (จังหวัดบึงกาฬ) ยังไม่ประกาศใช้บังคับ
ให้ดำเนินการรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในท้องที่จังหวัดบึงกาฬไปพลางก่อน
โดยสถานที่รับสมัครเลือกตั้งให้รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
และเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว
ให้ถือว่าการดำเนินการที่ได้ดำเนินการไปก่อนดังกล่าว
เป็นการดำเนินการตามกฎกระทรวงที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
สมาชิกองค์กรเกษตรกรผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ใบรับรองแพทย์
หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแล้ว
และรายละเอียดอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ภายในกำหนด วัน เวลา
และสถานที่ที่กำหนดไว้ ตามข้อ ๒ และข้อ ๓
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๔ มกราคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๑/๑๓ มกราคม ๒๕๕๕ |
658694 | ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2553 | ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๗/๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๒ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๖
(๒) ประกาศคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดการหนี้ของเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
เกษตรกร หมายความว่า
เกษตรกรที่เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
นายทะเบียน หมายความว่า
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรหัวหน้าสำนักงานสาขา
หรือพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการเพื่อให้ปฏิบัติตามประกาศนี้
ข้อ ๔ ในกรณีมีปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับประกาศนี้
ให้นายทะเบียนเสนอต่อคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรวินิจฉัย และให้ถือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรเป็นที่สุด
ข้อ ๕ เกษตรกรที่ได้รับสิทธิแก้ไขปัญหาหนี้ตามประกาศนี้
ต้องเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรซึ่งมีหนี้อันเนื่องมาจากการประกอบเกษตรกรรม
โดยมีมูลหนี้อันเกิดจากหนี้ในระบบ ดังนี้
(๑) หนี้ที่เกิดขึ้นจากโครงการส่งเสริมของรัฐ
อันเป็นความผิดของเกษตรกร
(๒) หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมของสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น
ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และนิติบุคคลตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๓) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมจากสถาบันเกษตรกร
หนี้ดังกล่าวต้องเป็นหนี้ที่เกิดก่อนวันที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรได้รับขึ้นทะเบียนเกษตรกร
ในกรณีเป็นหนี้ที่เกิดจากโครงการส่งเสริมของรัฐที่ไม่ประสบความสำเร็จโดยมิใช่ความผิดของเกษตรกร
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรดำเนินการตามมาตรา ๓๗/๗ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๖ เพื่อให้การจัดการหนี้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
เกิดประสิทธิภาพ
และประสิทธิผลให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรจัดกลุ่มหนี้ให้แก่เกษตรกร ดังนี้
(๑) หนี้ไม่เกินหนึ่งแสนบาท
(๒) หนี้เกินกว่าหนึ่งแสนบาทแต่ไม่เกินหนึ่งล้านบาท
(๓) หนี้เกินกว่าหนึ่งล้านบาทแต่ไม่เกินสองล้านห้าแสนบาท
(๔) หนี้ที่เกินกว่าสองล้านห้าแสนบาทขึ้นไป
หนี้ที่มีหลักประกันให้เกษตรกรหรือเจ้าของกรรมสิทธิ์ในหลักประกันโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กองทุนในกรณีเป็นการจัดการหนี้บางส่วนให้กองทุนมีสิทธิในหลักประกันตามส่วนของมูลหนี้เดิมที่มีอยู่ทั้งหมด
หนี้ที่มีบุคคลค้ำประกันให้เกษตรกรจัดหาสมาชิกองค์กรเกษตรกรไม่น้อยกว่าสองคนหรือองค์กรเกษตรกรต้นสังกัดค้ำประกันการชำระหนี้ให้แก่กองทุน
หนี้ หมายความรวมถึง เงินต้น ดอกเบี้ย ภาษี ค่าธรรมเนียม
และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจริงของเกษตรกร
ข้อ ๗ ในกรณีที่หนี้ของเกษตรกรตามข้อ
๖ มีเป็นจำนวนมาก และไม่อาจดำเนินการได้ในคราวเดียว
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาจัดลำดับหนี้ของเกษตรกรก่อนการชำระหนี้ได้ตามความเหมาะสมและความเร่งด่วนเป็นสำคัญ
ในกรณีหนี้ที่เกินกว่าหนึ่งล้านแต่ไม่เกินสองล้านห้าแสนบาทให้องค์กรเกษตรกรรับรองหนี้ตามคำขอของเกษตรกร
และให้ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ของเกษตรกรทั้งหมดหรือบางส่วน
โดยให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณามูลเหตุและความจำเป็นอื่นประกอบด้วย
ในกรณีหนี้ที่เกินกว่าสองล้านห้าแสนบาทขึ้นไปให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาเป็นราย
ๆ ไป
การจัดลำดับหนี้ของเกษตรกรให้สำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรดำเนินการประกาศให้แล้วเสร็จภายใน
๑๕ วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีมติ
ข้อ ๘ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาจัดการหนี้ตามข้อ
๕ เมื่อเกษตรกร
(๑) ตาย
(๒) ไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๓) เป็นโรคร้ายแรง
หรือไม่อาจประกอบอาชีพได้เป็นเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวันติดต่อกันโดยต้องมีใบรับรองแพทย์ซึ่งออกโดยแพทย์ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทยสภา
(๔) เกิดสาธารณภัย หรือภัยพิบัติอื่น ทำให้ผลผลิตตกต่ำ
หรือไม่อาจให้ผลผลิตที่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ
(๕) เหตุอื่นใดนอกเหนือจาก (๑) (๒) (๓) และ (๔)
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรวินิจฉัยเป็นกรณีไป
ข้อ ๙ หนี้ของเกษตรกรตามข้อ
๕ ซึ่งมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๘
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาให้เกษตรกร หรือทายาทของเกษตรกร
หรือผู้ได้รับสิทธิซื้อหรือเช่าซื้อคืนทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน
ในราคาไม่เกินหนึ่งในสี่ของเงินต้นที่คงค้าง และให้เกษตรกรหรือทายาทของเกษตรกร
หรือผู้ได้รับสิทธิเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่ไม่เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูตามวรรคแรก
ให้ซื้อคืนในราคาที่กองทุนได้ชำระหนี้แทนเกษตรกรเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย
ข้อ ๑๐ หนี้ของเกษตรกรที่ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามข้อ
๙ เมื่อได้มีการจัดการหนี้แล้ว ให้เกษตรกร หรือทายาทของเกษตรกร
หรือผู้ได้รับสิทธิซื้อหรือเช่าซื้อ คืนทรัพย์ที่เป็นหลักประกันในราคาไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินต้นที่คงค้าง
ข้อ ๑๑ หนี้ของเกษตรกรที่มีบุคคลค้ำประกันเป็นประกันตามข้อ
๖ วรรคสาม เมื่อมีการจัดการหนี้แล้ว
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้พิจารณาให้เกษตรกรผ่อนชำระไม่เกินครึ่งหนึ่งของราคาเงินต้นที่คงค้างและให้องค์กรเกษตรกรต้นสังกัดเป็นผู้ค้ำประกัน
ข้อ ๑๒ การกำหนดกรอบระยะเวลาการชำระหนี้ของเกษตรกร
การดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินตกเป็นของกองทุน
และการให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๓ เมื่อมีการดำเนินการจัดการหนี้ตามประกาศนี้แล้วให้นายทะเบียนส่งรายชื่อเกษตรกรและสังกัดองค์กรเกษตรกรต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อดำเนินการให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อ ๑๔ หลักเกณฑ์ตามข้อ
๖ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่เกษตรกรได้นำหลักทรัพย์ของบุคคลอื่นมาเป็นประกันแทนหนี้ของตนและได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้แล้วก่อนประกาศฉบับนี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรพิจารณาดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรเป็นราย
ๆ ไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ชวลิต ชูขจร
ประธานกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม
๒๕๕๔
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๑๓ ธันวาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๑๔๘ ง/หน้า ๔/๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ |
629578 | ประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินของเกษตรกรที่ได้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว พ.ศ. 2553
| ประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินของเกษตรกรที่ได้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เรื่องหลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินของเกษตรกรที่ถูกขายทอดตลาด พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่
๒๙ เมษายน ๒๕๕๒ ตามมติคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒
เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ (๓) และ (๑๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๘ มกราคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงออกประกาศไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๒
ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เรื่อง
หลักเกณฑ์การจัดการทรัพย์สินของเกษตรกรที่ถูกขายทอดตลาด พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
ทรัพย์สินที่ได้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้ว
หมายความว่า
ทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ที่เจ้าหนี้ของเกษตรกรขอให้ศาลสั่งยึดและนำออกขายทอดตลาด
ข้อ
๔
ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกรมีอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาตามประกาศนี้เสนอต่อคณะกรรมการ
และให้ถือมติคณะกรรมการเป็นที่สุด
ข้อ
๕ ให้คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เจรจาซื้อทรัพย์สินที่ได้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้วจากสถาบันการเงิน
สถาบันเกษตรกรหรือจากบุคคลอื่น
และอาจแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลตามมติของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร เพื่อดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
ซื้อไม่เกินราคาที่เจ้าหนี้เดิมซื้อจากสำนักงานบังคับคดีดำเนินการสิ้นสุดแล้ว หรือ
(๒)
ซื้อไม่เกินราคาประเมินของทางราชการ
(๓)
ในกรณีที่ไม่สามารถซื้อตามราคา (๑) หรือ (๒) ได้ ให้ดำเนินการตามข้อ ๔
ข้อ
๖ ทรัพย์สินที่ได้มีการบังคับคดีเสร็จสิ้นแล้วและกองทุนซื้อตาม
ข้อ ๔ หรือข้อ ๕ ให้โอนเป็นของกองทุน โดยให้สำนักงานสำรองจ่ายเงินค่าภาษี
ค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นจริงของเกษตรกรตามกฎหมาย
และให้ถือว่าเงินสำรองจ่ายดังกล่าวรวมเป็นหนี้สุทธิของเกษตรกรที่มีต่อกองทุน
ทั้งนี้
ให้นำระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เกี่ยวกับหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการเช่าซื้อ หรือซื้อทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจากกองทุน
และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน
มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ปริยานุช/จัดทำ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๔๗/๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
610420 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่
๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ถึงวันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ไปแล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๔๔ จึงออกประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน
๕ คน
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน
๔ คน
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน
๗ คน
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ จำนวน
๔ คน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/จัดทำ
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๓๐/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610415 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ในวันอาทิตย์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๗
กรกฎาคม ๒๕๕๒ ถึงวันศุกร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ นั้น
เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย บริสุทธิ์ ยุติธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวง
กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงออกประกาศกำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน
๑๐ รูป
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน
๑๐ รูป
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน
๑๐ รูป
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ จำนวน
๑๐ รูป
ทั้งนี้
ให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ไปดำเนินการจัดทำเอกสารตามประกาศ เรื่อง
การรับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๑/๕)
พร้อมรูปถ่ายหรือรูปภาพพิมพ์ที่ชัดเจนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง
ให้ครบตามจำนวนหน่วยเลือกตั้ง ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
โดยงบประมาณในการดำเนินงานให้ใช้จ่ายตามแผนดำเนินการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๕๒
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/จัดทำ
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๙/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610413 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง ผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง
วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[๑]
ด้วยผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒
ซึ่งจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเข้าเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง จำนวน ๒๐ คน ตามความในมาตรา ๑๒ มาตรา ๑๓ และมาตรา ๑๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ ข้อ ๙ วรรคสอง
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง
สถานที่รับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไว้
ดังนี้
๑.
วันเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๕.๐๐
น.
๒.
วันรับสมัครเลือกตั้ง ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ถึงวันศุกร์ที่ ๓๑
กรกฎาคม ๒๕๕๒ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น.
๓.
สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
๓.๑
ภูมิภาคที่หนึ่ง มีผู้แทนเกษตรกร จำนวน ๕ คน (ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่
จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
๓.๒
ภูมิภาคที่สอง มีผู้แทนเกษตรกร จำนวน ๔ คน (ท้องที่ในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท
จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง)
รับสมัครที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เลขที่ ๑๐๑ อาคาร อ.ต.ก.
(หลังเดิม) ถนนกำแพงเพชร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
๓.๓
ภูมิภาคที่สาม มีผู้แทนเกษตรกร จำนวน ๗ คน (ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี) รับสมัครที่ศาลากลาง จังหวัดขอนแก่น
๓.๔
ภูมิภาคที่สี่ มีผู้แทนเกษตรกร จำนวน ๔ คน (ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา
จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
สมาชิกองค์กรเกษตรกรผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวก หรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของผู้สมัคร
ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร จำนวน ๑๐ รูป
ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ภายในกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒ และข้อ ๓
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/จัดทำ
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๓ ง/หน้า ๒๗/๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
610327 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. 2552
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
ด้วยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๒ มาตรา ๑๓ กำหนดให้การแต่งตั้งผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๓
เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแต่งตั้งเกษตรกรซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรเกษตรกรในสี่ภูมิภาค
อย่างน้อยภูมิภาคละสองคน
จำนวนยี่สิบคนเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยมีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละสองปีนั้น
ปัจจุบันผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
จะดำรงตำแหน่งครบวาระในวันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๒ ดังนั้น
จึงเห็นควรมีประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๒
เพื่อดำเนินการเตรียมการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรต่อไป
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จึงประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกอบด้วย
๑. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการ
๒. รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ
ซึ่งปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมาย
๓. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย รองประธานกรรมการ
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกิจการความมั่นคงภายใน
๔. อธิบดีกรมการปกครอง รองประธานกรรมการ
๕. หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองประธานกรรมการ
๖. รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กรรมการ
ซึ่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการมอบหมาย
๗. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กรรมการ
๘. ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย กรรมการ
๙. เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรรมการ
๑๐. ปลัดกรุงเทพมหานคร หรือ ผู้แทน กรรมการ
๑๑. รองอัยการสูงสุด ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย กรรมการ
๑๒. รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กรรมการ
ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย
๑๓. รองอธิบดีกรมการปกครอง กรรมการ
กลุ่มภารกิจด้านสนับสนุนการบริหารงาน
แบบบูรณาการ
๑๔. รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรรมการ
ซึ่งอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์มอบหมาย
๑๕. ผู้อำนวยการสำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรรมการ
กรมการปกครอง
๑๖. ผู้อำนวยการส่วนการเมืองและการเลือกตั้ง กรรมการ
สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง
๑๗. ผู้อำนวยการกองการสื่อสารกรมการปกครอง กรรมการ
๑๘. นายวีระชัย คล้ายทอง กรรมการ
ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๑๙. นายไชยณัฐ เจติยานุวัตร กรรมการ
ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๐. นายเชนทร์ วิพัฒน์บวรวงศ์ กรรมการ
ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๑. นายโสมนัสส์ สุวรรณเมนะ กรรมการ
ที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๒. เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กรรมการและเลขานุการ
๒๓. นายบรรจง ตะริโย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
รองเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟู
และพัฒนาเกษตรกร
๒๔. นายมนัส วงษ์จันทร์ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๕. หัวหน้าฝ่ายกฎหมาย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
๒๖.
หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบสนับสนุนการเลือกตั้ง กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ส่วนการเมืองและการเลือกตั้ง สำนักบริหาร
การปกครองท้องที่ กรมการปกครอง
ให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
๑.
ให้มีอำนาจในการวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาอันเกิดจากการเลือกตั้ง
๒.
พิจารณาจัดทำแผนการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
โดยแผนดังกล่าวจะต้องประสานเชื่อมโยงวัตถุประสงค์แห่งการเลือกตั้งและเป็นไปตามกฎหมาย
กฎกระทรวง ประกาศ รวมทั้งมติคณะกรรมการ
ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้องระเบียบหรือแนวทางการเลือกตั้งทั่วไป
ในอันที่จะช่วยให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรสำเร็จลุล่วงเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ ทั้งนี้ แผนดังกล่าวจะต้องมีกระบวนการสร้างความเข้าใจ
และพัฒนาการมีส่วนร่วมของสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ในการใช้สิทธิเลือกตั้งให้กว้างขวางและทั่วถึง
๓.
พิจารณากลั่นกรองร่างประกาศต่าง ๆ
ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนาม
๔.
อำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้เป็นไปตามกฎหมาย
วัตถุประสงค์และแผนการเลือกตั้งด้วยความโปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม
และเป็นไปตามนโยบาย มติคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร
๕.
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ
แทนคณะกรรมการหรือช่วยเหลือในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
๖.
คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
และคณะบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ที่คณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรแต่งตั้งให้ได้รับค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่นซึ่งหากไม่มีระเบียบกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
ให้เบิกจ่ายโดยอาศัยระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๗,
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการและกรรมการบริหาร
พ.ศ. ๒๕๕๒,
ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการบริหารงานสำนักงาน พ.ศ. ๒๕๔๓
ระเบียบคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๓ และระเบียบ หรือวิธีปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายของทางราชการโดยอนุโลม
๗.
รายงานผลการดำเนินงานให้รัฐมนตรีทราบเป็นระยะ จนกว่าการเลือกตั้งจะแล้วเสร็จ
ประกาศ ณ วันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/จัดทำ
๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๐๐ ง/หน้า ๓๑/๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๒ |
570313 | ประกาศกรมการค้าภายใน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนสินเชื่อด้านการจัดระบบตลาดตามโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี 2550/51
| ประกาศกรมการค้าภายใน
ประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนสินเชื่อด้านการจัดระบบตลาด
ตามโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑[๑]
ด้วยคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
(คชก.) ได้มีมติเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เห็นชอบให้กรมการค้าภายในดำเนินการโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑
นำร่องในจังหวัดนครราชสีมาและบุรีรัมย์โดยการจัดระบบการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและจัดระบบตลาดเพื่อเพิ่มช่องทางตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกร
โดยการให้สถาบันการเงินสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการดำเนินกิจกรรมด้านการตลาดและรัฐชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ
๓ ต่อปี เป็นระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี (ไม่เกินระยะเวลาสิ้นสุดโครงการเดือนมิถุนายน
๒๕๕๕)
เพื่อให้การดำเนินการด้านการจัดระบบตลาดเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ อธิบดีกรมการค้าภายใน จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประเภทสินเชื่อที่จะให้การสนับสนุน
๑.๑
สินเชื่อเพื่อสร้างลานปูนซีเมนต์สำหรับตากมันเส้นสะอาด
๑.๒
สินเชื่อเพื่อจัดซื้อเครื่องโม่หัวมันสด
๑.๓
สินเชื่อเพื่อจัดสร้างเครื่องทำความสะอาดหัวมันสด
๑.๔
สินเชื่อเพื่อจัดซื้อเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
๑.๕
สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อหัวมันสด
ข้อ
๒
คุณสมบัติของผู้สมัครขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ
๒.๑
เกษตรกร
(๑)
ต้องเป็นเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่อำเภอครบุรี เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา
อำเภอหนองกี่ ปะคำ โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ที่จดทะเบียนเข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
กับกรมส่งเสริมการเกษตร
(๒)
มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ได้แก่
โฉนดที่ดิน หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (นส. ๓, นส. ๓ ก, นส.
๓ ข) หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (สปก. ๔ - ๐๑)
หรือสิทธิการเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่าไม่น้อยกว่า ๕ ปี
ตั้งแต่วันที่ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อสร้างลานมันผลิตมันเส้นสะอาด
๒.๒
สถาบันเกษตรกร
(๑)
ต้องเป็นกลุ่มเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล หรือสหกรณ์การเกษตรในพื้นที่ อำเภอครบุรี
เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอหนองกี่ ปะคำ โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
ที่นายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรหรือนายทะเบียนสหกรณ์ให้การรับรองการดำเนินงาน
(๒)
มีลานปูนซีเมนต์สำหรับรวบรวมหัวมันสดหรือตากมันเส้นเป็นของตนเอง
(๓)
มีการผลิตและจำหน่ายมันเส้นที่แปรสภาพจากหัวมันสดในฤดูการผลิต ปี ๒๕๕๐/๕๑
(เดือนตุลาคม ๒๕๕๐ - เดือนกันยายน ๒๕๕๑)
หรือตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
จะเห็นสมควร
๒.๓
ผู้ประกอบการลานมัน/โรงงานแป้งมัน
(๑)
ต้องเป็นผู้ประกอบการลานมันหรือโรงงานแป้งมันที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอครบุรี
เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอหนองกี่ ปะคำ โนนสุวรรณ จังหวัดบุรีรัมย์
(๒)
มีลานปูนซีเมนต์สำหรับรวบรวมรับซื้อหัวมันสดหรือตากมันเส้นเป็นของตนเอง
และมีการผลิตและจำหน่ายมันเส้นหรือแป้งมันที่แปรสภาพจากหัวมันสดในฤดูการผลิต ปี
๒๕๕๐/๕๑
(๓)
เป็นผู้ที่จังหวัดคัดเลือกเข้าร่วมโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี ๒๕๔๙/๕๐
กับภาครัฐโดยสำนักงานการค้าภายในจังหวัดให้การรับรอง
หรือตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
จะเห็นสมควร
๒.๔
โรงงานเอทานอล
(๑)
ต้องเป็นโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโดยมีสถานที่ประกอบการตั้งอยู่
ในพื้นที่อำเภอครบุรี เสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอหนองกี่ ปะคำ โนนสุวรรณ
จังหวัดบุรีรัมย์
(๒)
เปิดดำเนินการรวบรวมรับซื้อหัวมันสดและมีการผลิตเอทานอลจากหัวมันสดในฤดูการผลิตปี
๒๕๕๐/๕๑
ข้อ
๓
สิทธิที่ผู้ได้รับคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อ
๓.๑
เกษตรกร ได้สิทธิกู้ยืมเงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
(๑)
วงเงินไม่เกินรายละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างลานปูนซีเมนต์สำหรับตากมันเส้นสะอาด ขนาดพื้นที่ไม่ต่ำกว่า
๑๐๐ ตารางวา และ
(๒)
วงเงินไม่เกินรายละ ๑๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องโม่หัวมันสด
โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากผู้เข้าร่วมโครงการในอัตราดอกเบี้ย
MRR บวกค่าความเสี่ยงตามประวัติการชำระหนี้ ตั้งแต่ ๐ - ๓.๐๐ เต็มจำนวน และ
คชก. ชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๕
ปีนับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร โดยกรมการค้าภายในจะโอนเงิน
ค่าชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่จังหวัดรับรองผลการดำเนินงานผ่านบัญชี
ธ.ก.ส. เมื่อได้รับแจ้งยอดดอกเบี้ยที่จะได้รับการชดเชยแต่ละงวดจาก ธ.ก.ส.
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ยืมและหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้
การพิจารณาการให้กู้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร
๓.๒
สถาบันเกษตรกร ได้สิทธิกู้ยืมเงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
วงเงินไม่เกินรายละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างเครื่องทำความสะอาดหัวมันสด
(๒)
วงเงินไม่เกินรายละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
(๓)
วงเงินไม่เกินรายละ ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรวบรวมรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรง
โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยจากผู้เข้าร่วมโครงการในอัตราดอกเบี้ย
MLR บวกค่าความเสี่ยงตั้งแต่ ๐ - ๒.๐๐ เต็มจำนวน และ คชก.
ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ตามข้อ (๑) (๒) (๓) ในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี
ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร
โดยกรมการค้าภายในจะโอนเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่จังหวัดรับรองผลการดำเนินงานผ่านบัญชี
ธ.ก.ส. เมื่อได้รับแจ้งยอดดอกเบี้ยที่จะได้รับการชดเชยแต่ละงวดจาก ธ.ก.ส.
ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ยืมและหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้
การพิจารณาการให้กู้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร
๓.๓
ผู้ประกอบการลานมัน ได้สิทธิกู้ยืมเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
วงเงินไม่เกินรายละ ๕๐,๐๐๐ บาท เพื่อสร้างเครื่องทำความสะอาดหัวมันสด
(๒)
วงเงินไม่เกินรายละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เพื่อจัดซื้อเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
(๓)
วงเงินไม่เกินรายละ ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรงหรือจากสถาบันเกษตรกร
โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยจากผู้เข้าร่วมโครงการในอัตราดอกเบี้ยลูกค้าชั้นดี
(MLR) สำหรับการกู้ยืมตามข้อ (๑) (๒) และในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MOR) สำหรับการกู้ยืมตามข้อ (๓) และ คชก.
ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้ในอัตราร้อยละ ๓ ต่อปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี
นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร
โดยกรมการค้าภายในจะโอนเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่จังหวัดรับรองผลการดำเนินงานผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน)
เมื่อได้รับแจ้งยอดดอกเบี้ยที่จะได้รับการชดเชยแต่ละงวดจากธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ยืมและหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้
การพิจารณาการให้กู้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร
๓.๔
โรงงานแป้งมันและโรงงานเอทานอล ได้สิทธิกู้ยืมเงินผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
วงเงินไม่เกินรายละ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อหัวมันสดจากเกษตรกรโดยตรงหรือจากสถาบันเกษตรกร
โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยจากผู้เข้าร่วมโครงการในอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี
(MOR) และ คชก. ชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้อัตราร้อยละ ๓ ต่อปี ภายในระยะเวลาไม่เกิน
๕ ปีนับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินกับธนาคาร
โดยกรมการค้าภายในจะโอนเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวให้กับผู้เข้าร่วมโครงการที่จังหวัดรับรองผลการดำเนินงานผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) เมื่อได้รับแจ้งยอดดอกเบี้ยที่จะได้รับการชดเชยแต่ละงวดจากธนาคารกรุงไทย
จำกัด (มหาชน) ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ยืมและหลักประกันตามที่ธนาคารกำหนด ทั้งนี้
การพิจารณาการให้กู้อยู่ในดุลยพินิจของธนาคาร
ข้อ
๔ การยื่นคำขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ
ผู้ประสงค์ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อด้านการจัดระบบตลาด
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการค้าภายในกำหนด พร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ
ดังต่อไปนี้
๔.๑
ผู้ยื่นคำขอที่เป็นเกษตรกร
(๑)
บัตรประจำตัวเกษตรกรแสดงการจดทะเบียนเข้าร่วมโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑ กับกรมส่งเสริมการเกษตร
(๒)
สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินหรือสัญญาเช่า
เพื่อสร้างลานมันผลิตมันเส้นสะอาด
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๔)
แผนดำเนินการพัฒนาผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มมูลค่าโดยผลิตมันเส้นสะอาด
๔.๒
ผู้ยื่นคำขอที่เป็นสถาบันเกษตรกร
(๑)
สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสถาบันเกษตรกรจากนายทะเบียนกลุ่มเกษตรกรหรือนายทะเบียนสหกรณ์
แล้วแต่กรณี
(๒)
หนังสือมอบอำนาจ
กรณีคณะกรรมการบริหารของสถาบันเกษตรกรมอบอำนาจให้กรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นยื่นคำขอ
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๔)
แผนที่แสดงสถานที่ติดตั้งเครื่องทำความสะอาดหัวมันสดหรือเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
(๕)
แผนดำเนินการรวบรวมรับซื้อหัวมันสดกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี
เริ่มตั้งแต่ฤดูการผลิต ปี ๒๕๕๐/๕๑ จากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรเพื่อจำหน่ายหรือแปรสภาพเป็นมันเส้นหรือมันป่น
รวมทั้งแผนการผลิตและจำหน่ายมันเส้นหรือมันป่นที่แปรสภาพจากหัวมันสดที่รับซื้อ
๔.๓
ผู้ยื่นคำขอที่เป็นผู้ประกอบการลานมัน โรงงานแป้งมันและโรงงานเอทานอล
(๑)
สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา) หรือสำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
ซึ่งนายทะเบียนรับรองไว้ก่อนยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการไม่เกิน ๖ เดือน
(๒)
หนังสือมอบอำนาจ กรณีนิติบุคคลมอบอำนาจให้กรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นยื่นคำขอ
(๓)
สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๔)
แผนที่แสดงสถานที่ติดตั้งเครื่องทำความสะอาดหัวมันสดหรือเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
(๕)
แผนดำเนินการรวบรวมรับซื้อหัวมันสดกำหนดระยะเวลาไม่เกิน ๕ ปี
เริ่มตั้งแต่ฤดูการผลิต ปี ๒๕๕๐/๕๑
จากเกษตรกรโดยตรงหรือสถาบันเกษตรกรเพื่อแปรสภาพเป็นมันเส้น มันป่น
แป้งมันหรือผลิตเป็นเอทานอล รวมทั้งแผนการผลิตและจำหน่ายมันเส้น มันป่น
แป้งมันหรือเอทานอลที่แปรสภาพจากหัวมันสดที่รับซื้อ
ข้อ
๕
สถานที่และระยะเวลายื่นคำขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ
ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ
ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการค้าภายในกำหนดแนบท้ายประกาศ ณ
สำนักงานการค้าภายในจังหวัดที่ผู้ขอรับการสนับสนุนมีภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่ภายใน
๓๐ วันนับถัดจากวันประกาศ
ข้อ
๖
ขั้นตอนการพิจารณาให้การสนับสนุนสินเชื่อ
๖.๑
เมื่อสำนักงานการค้าภายในจังหวัดได้รับคำขอพร้อมเอกสารหลักฐานประกอบคำขอให้พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติและเอกสารหลักฐานของผู้ขอรับการสนับสนุนให้ถูกต้องครบถ้วน
และนำเสนอคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
ระดับจังหวัด คัดเลือกผู้ที่มีความพร้อมในการดำเนินงานตามโครงการในเบื้องต้น
๖.๒
เมื่อคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
ระดับจังหวัด ได้พิจารณาคัดเลือกในเบื้องต้นแล้ว
ให้จังหวัดมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้กรมการค้าภายในพร้อมเอกสารหลักฐานการยื่นคำขอของผู้ได้รับคัดเลือก
๖.๓
ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี
๒๕๕๐/๕๑ (ส่วนกลาง) นำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาคัดเลือกผู้ขอรับการสนับสนุน
ให้เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับสิทธิกู้ยืมเงินจาก ธ.ก.ส. และธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน)
๖.๔
กรมการค้าภายในเป็นผู้แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑ ให้จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ ธ.ก.ส. และธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) ทราบ เพื่อให้จังหวัดแจ้งผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ
ไปติดต่อขอกู้ยืมเงินสินเชื่อด้านการจัดระบบตลาดจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
(ธ.ก.ส.) หรือธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ตามระเบียบของธนาคาร ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่กรมการค้าภายในมีหนังสือแจ้งจังหวัด ทั้งนี้
หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวให้ถือว่าผู้นั้นสละสิทธิ์
ข้อ
๗ การให้สินเชื่อของธนาคาร
ธนาคารจะพิจารณาอนุมัติให้ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อตามข้อ
๖.๔
รายใดรายหนึ่งหรือตามที่ธนาคารเห็นสมควรกู้ยืมเงินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
ภายในวงเงินกู้ยืมและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามข้อ ๓
ข้อ
๘
หน้าที่ของผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร
ผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อจากธนาคารมีหน้าที่ต้องดำเนินการจัดซื้อ
จัดสร้าง รับซื้อตามเงื่อนไขที่กำหนด ดังต่อไปนี้
๘.๑
สินเชื่อเพื่อสร้างลานปูนซีเมนต์สำหรับตากมันเส้นสะอาด
ต้องดำเนินการจัดสร้างให้แล้วเสร็จพร้อมดำเนินการได้ ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร
๘.๒
สินเชื่อเพื่อจัดซื้อเครื่องโม่หัวมันสด
ต้องดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งให้แล้วเสร็จ พร้อมดำเนินการได้ ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร
๘.๓
สินเชื่อเพื่อจัดสร้างเครื่องทำความสะอาดหัวมันสด
ต้องดำเนินการจัดสร้างให้แล้วเสร็จ พร้อมดำเนินการได้ ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร
๘.๔
สินเชื่อเพื่อจัดซื้อเครื่องป่นมันเส้นสะอาด
ต้องดำเนินการจัดซื้อและติดตั้งให้แล้วเสร็จ พร้อมดำเนินการได้ ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อจากธนาคาร
๘.๕
สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนรับซื้อหัวมันสด
ต้องดำเนินการรับซื้อหัวมันสดฤดูการผลิต ปี ๒๕๕๐/๕๑
และหรือตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในแผนดำเนินการรวบรวมรับซื้อหัวมันสดในราคาไม่ต่ำกว่าราคาตลาดจากเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่องในปริมาณไม่ต่ำกว่าวันละ
๑๕๐ ตัน ในช่วงฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดมากสำหรับผู้ได้รับอนุมัติวงเงินไม่เกิน ๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท และจะต้องรับซื้อไม่ต่ำกว่าวันละ ๔๐๐ ตัน
ในช่วงฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดมากสำหรับวงเงินไม่เกิน ๒๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมจัดทำรายงานการรับซื้อผลผลิตหัวมันสด ดังนี้
(๑)
ทำบัญชีการรับซื้อเป็นรายวันโดยแสดงชื่อ ที่อยู่ของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกร
ปริมาณ ราคาและมูลค่าการรับซื้อเป็นรายวันจัดเก็บไว้ ณ
สำนักงานของผู้ได้รับอนุมัติสินเชื่อ
(๒)
รายงานการรับซื้อผลผลิตหัวมันสด
การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามแบบที่กรมการค้าภายในกำหนดเป็นรายเดือนภายในวันที่
๑๐ ของเดือนถัดไป
๘.๖
ผู้ได้รับสินเชื่อจะต้องจัดทำป้ายแสดงข้อความในบริเวณสถานที่ประกอบการว่า ได้รับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับจังหวัด.....................
ข้อ
๙ สถานที่ยื่นรายงานการรับซื้อ
ให้ผู้ได้รับสินเชื่อเพื่อรับซื้อหัวมันสด
ยื่นรายงานการรับซื้อ
การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามแบบที่กรมการค้าภายในกำหนดแนบท้ายประกาศ ณ
สำนักงานการค้าภายในจังหวัดที่ผู้ได้รับสินเชื่อมีภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่
ข้อ
๑๐ การชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้เข้าร่วมโครงการ
๑๐.๑
ให้ผู้ได้รับสินเชื่อจากธนาคารส่งสำเนาเอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงินให้สำนักงานการค้าภายในจังหวัดที่ผู้ได้รับสินเชื่อมีภูมิลำเนาหรือสถานประกอบการตั้งอยู่
เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบผลการดำเนินงานก่อนจ่ายเงินค่าชดเชยดอกเบี้ย
๑๐.๒
ให้สำนักงานการค้าภายในจังหวัดติดตามกำกับดูแลการจัดซื้อ จัดสร้าง
และการรับซื้อผลผลิตให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดและตรงตามวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนสินเชื่อและนำเสนอคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
พ.ศ. ๒๕๕๐/๕๑ ระดับจังหวัด หรือผู้ได้รับมอบหมายตรวจรับรองผลการดำเนินงานของผู้เข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนด
และแจ้งกรมการค้าภายใน
๑๐.๓
ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี
๒๕๕๐/๕๑ (ส่วนกลาง) จะนำเสนอกรมการค้าภายใน เพื่อพิจารณาอนุมัติโอนเงินค่าชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการผ่านบัญชี
ธ.ก.ส. และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
ข้อ
๑๑ การเพิกถอน
ผู้ได้รับสินเชื่อรายใดไม่ปฏิบัติตามข้อ
๘ กรมการค้าภายในจะเพิกถอนสิทธิการชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ ๓ ต่อปี
ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด
(มหาชน) จะคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากผู้ถูกเพิกถอนตามวิธีปฏิบัติของธนาคาร
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ยรรยง พวงราช
อธิบดีกรมการค้าภายใน
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบคำขอรับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง ปี ๒๕๕๐/๕๑
(คพม.๑)
๒.
แบบรายงานปริมาณการรับซื้อหัวมันสด
การผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากหัวมันสดที่รับซื้อตามประกาศกรมการค้าภายใน
เรื่อง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสนับสนุนสินเชื่อด้านการจัดระบบตลาดตามโครงการจัดระบบพิเศษเฉพาะพื้นที่มันสำปะหลัง
ปี ๒๕๕๐/๕๑ ประจำเดือน.......................พ.ศ............(คพม.๒)
๓.
รายละเอียดการรับซื้อหัวมันสด ประจำเดือน.......................พ.ศ............(คพม.๒/๑)
๔.
รายละเอียดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากหัวมันสดที่รับซื้อ ประจำเดือน.......................พ.ศ............(คพม.๒/๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๘/๒๑ มกราคม ๒๕๕๑ |
589386 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับ Update ล่าสุด) (ฉบับที่ 4)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
นายอำเภอ หมายความรวมถึง
ผู้อำนวยการเขตและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ข้อ
๔
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในอำเภอจากทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรหรือทะเบียนองค์กรเกษตรกร
และกำหนดที่เลือกตั้งสำหรับแต่ละหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
โดยใช้แบบ ผก. ๗ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๕ ชุด
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการดังนี้
ชุดที่
๑ ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งเฉพาะของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
ชุดที่
๒ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
ชุดที่
๓ เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ชุดที่
๔ และชุดที่ ๕
ให้ส่งจังหวัดเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานและรวบรวมส่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
จำนวนหนึ่งชุด
เมื่อได้ประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
และปรากฏว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นายอำเภอจะประกาศเปลี่ยนแปลงกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่ายี่สิบวันก็ได้[๒]
ข้อ
๕[๓] ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอ
ให้นายอำเภอคำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกร องค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กร
โดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันสองร้อยคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่าหรือมากกว่าจำนวนหนึ่งพันสองร้อยคนก็ได้
โดยให้เป็นดุลพินิจของนายอำเภอตามแต่จะเห็นสมควร
ข้อ
๖ การกำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งแต่ละอำเภอให้กำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งโดยใช้หมายเลขเรียงตั้งแต่หมายเลข
๑ ตามลำดับจนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
ข้อ
๗[๔] ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง
โดยถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามความในข้อ ๕
และกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งตามที่เห็นสมควร
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่หน่วยเลือกตั้งในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา
โดยให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่มีทั้งหมดอยู่ในบริเวณเดียวกัน
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนายการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔
(ผอ.รมน. ภาค ๔)
ข้อ
๘
ให้นายอำเภอจัดให้มีป้ายบอกที่เลือกตั้งปิดไว้ด้านหน้าของที่เลือกตั้ง
โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้
ที่เลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งที่...........
ข้อ
๙
ที่เลือกตั้งต้องมีคูหาลงคะแนนอย่างน้อยห้าคูหา
ข้อ
๑๐ ให้นายอำเภอเตรียมหาเครื่องใช้ต่าง ๆ
สำหรับที่เลือกตั้งไว้ให้พร้อมก่อนวันเลือกตั้ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง
กระดานดำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ประกาศอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต........................เรื่อง
กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(แบบ ผก.๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)[๕]
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)[๖]
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๔)[๗]
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๐/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๔ วรรคสาม
เพิ่มโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๔)
[๔] ข้อ ๗
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๒/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ |
589384 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (Update ณ วันที่ 23/04/2550) (ฉบับที่ 3) | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
นายอำเภอ หมายความรวมถึง
ผู้อำนวยการเขตและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ข้อ
๔
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในอำเภอจากทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรหรือทะเบียนองค์กรเกษตรกร
และกำหนดที่เลือกตั้งสำหรับแต่ละหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
โดยใช้แบบ ผก. ๗ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๕ ชุด
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการดังนี้
ชุดที่
๑ ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งเฉพาะของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
ชุดที่
๒ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
ชุดที่
๓ เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ชุดที่
๔ และชุดที่ ๕
ให้ส่งจังหวัดเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานและรวบรวมส่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
จำนวนหนึ่งชุด
เมื่อได้ประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
และปรากฏว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นายอำเภอจะประกาศเปลี่ยนแปลงกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่ายี่สิบวันก็ได้[๒]
ข้อ
๕[๓] ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอให้คำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกรองค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กรโดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันสองร้อยคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้
ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งพันสี่ร้อยคน
ข้อ
๖
การกำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งแต่ละอำเภอให้กำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งโดยใช้หมายเลขเรียงตั้งแต่หมายเลข
๑ ตามลำดับจนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
ข้อ
๗[๔] ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง
โดยถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามความในข้อ ๕
และกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งตามที่เห็นสมควร
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่หน่วยเลือกตั้งในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา
โดยให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่มีทั้งหมดอยู่ในบริเวณเดียวกัน
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนายการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔
(ผอ.รมน. ภาค ๔)
ข้อ
๘ ให้นายอำเภอจัดให้มีป้ายบอกที่เลือกตั้งปิดไว้ด้านหน้าของที่เลือกตั้ง
โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้
ที่เลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งที่..........
ข้อ
๙
ที่เลือกตั้งต้องมีคูหาลงคะแนนอย่างน้อยห้าคูหา
ข้อ
๑๐ ให้นายอำเภอเตรียมหาเครื่องใช้ต่าง ๆ
สำหรับที่เลือกตั้งไว้ให้พร้อมก่อนวันเลือกตั้ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง
กระดานดำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ประกาศอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต.....................เรื่อง กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(แบบ ผก.๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)[๕]
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)[๖]
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๐/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๔ วรรคสาม
เพิ่มโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
[๔] ข้อ ๗ แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕
[๖] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๒/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ |
543605 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 4)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๔)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวง
กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑
ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๔)
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ลงวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๔๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฉบับที่ ๓) เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอ
ให้นายอำเภอคำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกร องค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กร
โดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันสองร้อยคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งน้อยกว่าหรือมากกว่าจำนวนหนึ่งพันสองร้อยคนก็ได้
โดยให้เป็นดุลพินิจของนายอำเภอตามแต่จะเห็นสมควร
ประกาศ ณ วันที่ ๙
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๕๗ ง/หน้า ๑/๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ |
541991 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
ถึงวันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ นั้น
เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ ยุติธรรมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงออกประกาศกำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน
๑๕๐ รูป
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน
๑๕๐ รูป
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๑๕๐ รูป
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ จำนวน
๑๕๐ รูป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๓/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ |
541986 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๘ แห่งกฎกระทรวง
กำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕
แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ลงวันที่ ๒๒ เดือนเมษายน พ.ศ.
๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕ ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอให้คำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกรองค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กรโดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันสองร้อยคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้
ทั้งนี้
ต้องไม่เกินหนึ่งพันสี่ร้อยคน
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๗
แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ลงวันที่ ๒๒ เดือนเมษายน พ.ศ.
๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๗ ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง
โดยถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามความในข้อ ๕
และกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งตามที่เห็นสมควร
ความในวรรคหนึ่ง
มิให้ใช้บังคับแก่หน่วยเลือกตั้งในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา
โดยให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่มีทั้งหมดอยู่ในบริเวณเดียวกัน
โดยความเห็นชอบของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔
(ผอ.รมน. ภาค ๔)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๒/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ |
541982 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค[๑]
ตามที่ได้ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่
๓ มิถุนายน ๒๕๕๐ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐
ถึงวันศุกร์ที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๐ ไปแล้วนั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๔ วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๔๔ จึงออกประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน ๕ คน
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน ๔ คน
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๗ คน
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ จำนวน ๔ คน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๓๑/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ |
541976 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง ผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกร
เป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[๑]
ด้วยผู้แทนเกษตรกรในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ในวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๔๙
ซึ่งจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร เพื่อเข้าเป็นกรรมการ
ในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ตามความในมาตรา ๑๒
มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบ ข้อ ๙ วรรคสอง
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกร เป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไว้ ดังนี้
๑.
วันเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๐
๒.
วันรับสมัครเลือกตั้ง ระหว่างวันจันทร์ที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ ถึงวันศุกร์ที่ ๒๗
เมษายน ๒๕๕๐ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น.
๓.
สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
๓.๑
ภูมิภาคที่หนึ่ง (ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดน่าน
จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดแพร่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์
และจังหวัดอุทัยธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
๓.๒
ภูมิภาคที่สอง (ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดตราด
จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง)
รับสมัครที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เลขที่ ๑๐๑
อาคารองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (หลังเดิม) ถนนกำแพงเพชร แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร
๓.๓
ภูมิภาคที่สาม (ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์
จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์
จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย
จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู
จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี)
รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
๓.๔
ภูมิภาคที่สี่ (ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร
จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา
จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล
และจังหวัดสุราษฎร์ธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
สมาชิกองค์กรเกษตรกรผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
เพื่อเป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง
พร้อมรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของผู้สมัคร
ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร
ตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ภายในกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ตามข้อ ๒ และข้อ ๓
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐
ธีระ สูตะบุตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วัชศักดิ์/จัดทำ
๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒๙/๒๓ เมษายน ๒๕๕๐ |
589382 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (Update ณ วันที่ 04/06/2545) (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
นายอำเภอ หมายความรวมถึง
ผู้อำนวยการเขตและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ข้อ
๔
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในอำเภอจากทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรหรือทะเบียนองค์กรเกษตรกร
และกำหนดที่เลือกตั้งสำหรับแต่ละหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
โดยใช้แบบ ผก. ๗ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๕ ชุด
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการดังนี้
ชุดที่
๑ ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งเฉพาะของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
ชุดที่
๒ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
ชุดที่
๓ เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ชุดที่
๔ และชุดที่ ๕
ให้ส่งจังหวัดเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานและรวบรวมส่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
จำนวนหนึ่งชุด
เมื่อได้ประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว
และปรากฏว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นายอำเภอจะประกาศเปลี่ยนแปลงกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่ายี่สิบวันก็ได้[๒]
ข้อ
๕ ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอให้คำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกรองค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กร
โดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้
ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยคน
ข้อ
๖
การกำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งแต่ละอำเภอให้กำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งโดยใช้หมายเลขเรียงตั้งแต่หมายเลข
๑ ตามลำดับจนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
ข้อ
๗
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งในอำเภอไว้ในบริเวณเดียวกันเพียงแห่งเดียว
ซึ่งมีสถานที่กว้างขวางพอที่จะจัดเป็นสถานที่ลงคะแนนและนับคะแนนทั้งเป็นสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้สะดวก
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกในการจัดการเลือกตั้งจะประกาศกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งในอำเภอมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้
ข้อ
๘
ให้นายอำเภอจัดให้มีป้ายบอกที่เลือกตั้งปิดไว้ด้านหน้าของที่เลือกตั้ง
โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้
ที่เลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งที่............
ข้อ
๙
ที่เลือกตั้งต้องมีคูหาลงคะแนนอย่างน้อยห้าคูหา
ข้อ
๑๐ ให้นายอำเภอเตรียมหาเครื่องใช้ต่าง ๆ
สำหรับที่เลือกตั้งไว้ให้พร้อมก่อนวันเลือกตั้ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง
กระดานดำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ประกาศอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต.....................เรื่อง กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(แบบ ผก.๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)[๓]
สถาพร/ผู้จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๐/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๔ วรรคสาม
เพิ่มโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ |
589380 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล การนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับ Update ล่าสุด) (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาด
ของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล
การนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๒
และข้อ ๑๕ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ศาลากลางจังหวัด หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
หมวด
๑
แบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๔ ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
ให้ใช้แบบ ผก. ๑ ท้ายประกายนี้
หมวด
๒
วิธีการลงคะแนน
ข้อ ๕
ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐
นาฬิกา
ข้อ ๖ ขณะจะเปิดการลงคะแนน
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกตั้งแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งเห็นว่าเป็นหีบเปล่า แล้วให้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้จนเสร็จการลงคะแนน
ข้อ ๗ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ห้ามมิให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่มีความจำเป็นจึงให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดได้โดยมิให้เอาบัตรออกจากหีบ
แล้วปิดหีบไว้ตามเดิมในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งกระทำต่อหน้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งและให้ทำรายงานบันทึกแสดงสาเหตุในการเปิดหีบเลือกตั้งนั้นไว้ด้วย
ข้อ ๘ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ (บ.ป. ๒)
หรือใบแทนใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. ๒ ก) ที่ติดรูปถ่ายและประทับตราพนักงานเจ้าหน้าที่
บัตรประจำตัวประชาชนตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วด้วย
ผู้เลือกตั้งที่ไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย
ให้ใช้บัตรประจำตัวหรือหลักฐานที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้เป็นหลักฐานในการแสดงตนเพื่อลงคะแนน
ข้อ ๙
เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๘
ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดหมายเลขบัตรหรือหลักฐาน
และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐานและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน
พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
พร้อมทั้งให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย
แล้วจึงมอบบัตรเลือกตั้งจำนวนหนึ่งฉบับให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปลงคะแนน
ในกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีนิ้วหัวแม่มือขวา
ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ถ้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
ให้พิมพ์ลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่งแทน หากไม่มีนิ้วอยู่เลยให้ได้รับการยกเว้น
และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหมายเหตุว่าไม่มีนิ้วมือ
ข้อ ๑๐
เมื่อมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว
ให้ไปยังคูหาลงคะแนนเพื่อทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้งและนำบัตรเลือกตั้งใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๐/๑[๒] เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาตรง
ให้ประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า
บัดนี้ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาแล้วให้ปิดการลงคะแนน และงดจ่ายบัตรเลือกตั้ง
กรณีที่มีผู้แสดงตนและรับบัตรเลือกตั้งภายในกำหนดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งเหลืออยู่ในที่เลือกตั้ง
แต่ยังไม่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งก็ให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งจนเสร็จสิ้น
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนำบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่มาทำเครื่องหมายโดยใช้โลหะปลายแหลมตอกทะลุบัตรเลือกตั้งที่เหลือทุกฉบับ
แล้วใช้เชือกร้อยรูและผูกรวมบัตรเลือกตั้งที่เหลือทุกฉบับให้เป็นปึกเดียวกันและประจำครั่งทับปมเชือกไว้
หมวด
๓
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๑
บัตรเลือกตั้งให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น โดยให้มีแถบสี
ข้อ ๑๒
บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งให้เย็บเป็นเล่ม ๆ
ละไม่เกินหนึ่งร้อยบัตรให้มีปกหน้าและปกหลัง
และมีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้
ปกหน้ามีข้อความว่า เล่มที่ ..................... เลขที่ .....................
ถึง ..................... ถัดลงไปเป็นประเภทของบัตรเลือกตั้ง
ด้านล่างมีข้อความว่า หน่วยเลือกตั้งที่ ..................... ที่เลือกตั้ง .....................
อำเภอ ..................... จังหวัด .....................
เขตเลือกตั้งภูมิภาคที่ ..................... ถัดลงไปมีข้อความว่า
ผู้มอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ..................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ
และกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ ถัดลงไปมีข้อความว่า
ผู้รับมอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ..................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ปกหลังมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งจำนวน .....................
บัตร ใช้แล้วจำนวน ..................... บัตร ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วเหลือจำนวน
..................... บัตร ถัดลงไปมีข้อความว่า
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้นำส่งหีบบัตรเลือกตั้ง
และมีช่องลงชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๓ ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า
เล่มที่ ..................... เลขที่ .....................
อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
ถัดลงไปด้านซ้ายมือมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้ง
ด้านขวามือมีช่องสี่เหลี่ยมสำหรับพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งและมีข้อความว่า
พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
อยู่ด้านซ้ายของช่องสี่เหลี่ยมและมีข้อความ (เขียนตัวบรรจง) ชื่อ .....................
อยู่ใต้ช่องสี่เหลี่ยม และให้ถือว่าการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต้นขั้วบัตรเลือกตั้งเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๔[๓] บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้
(๑)
บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบซ้าย
ถัดไปทางขวามีตราสัญลักษณ์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถัดลงไปมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต
หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่นั้นประทับ
(๒)
ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท
(เช่น X) ใน ช่องไม่ลงคะแนน นี้ และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนน
ด้านบนของช่องมีข้อความว่า ช่องไม่ลงคะแนน และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง
ด้านในของบัตรเลือกตั้งถัดจากตอนบนมีข้อความว่า
ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X)
จำนวนเครื่องหมายเดียวใน ช่องทำเครื่องหมาย นี้ และลูกศรชี้ตรงช่องทำเครื่องหมาย
ถัดลงไปเป็นแถวหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ช่องแรกอยู่ด้านซ้ายมือเป็นช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครซึ่งเป็นตัวเลขอารบิค
ช่องที่สองอยู่ด้านขวามือเป็นช่องทำเครื่องหมายโดยปล่อยว่างไว้สำหรับทำเครื่องหมายกากบาท
จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครให้มีได้ไม่เกินสิบหมายเลขแต่ถ้ามีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าสิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครแถวที่สองด้านขวามือของแถวแรกได้อีกไม่เกินสิบหมายเลข
โดยมีเส้นแบ่งระหว่างแถวให้ชัดเจน
ในกรณีที่มีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่ายี่สิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านขวามือของแถวที่สองได้อีกไม่เกินสี่แถว
โดยให้เพิ่มหมายเลขได้อีกไม่เกินสี่สิบหมายเลข
ในกรณีที่จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าหกสิบหมายเลขให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านหลังของบัตรเลือกตั้งได้อีกไม่เกินหกแถว
ๆ ละไม่เกินสิบหมายเลข
ข้อ ๑๕
บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
หมวด
๔
หีบบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๖
หีบบัตรเลือกตั้งให้ใช้หีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา โดยอนุโลม
หมวด
๕
วิธีการนับคะแนน
ข้อ ๑๗ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการตรวจนับคะแนนเลือกตั้ง ณ
ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จในรวดเดียวจะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้
ข้อ ๑๘
การวินิจฉัยว่าบัตรเลือกตั้งใดเป็นบัตรเสียหรือไม่ ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งพิจารณาตามกฎกระทรวง
ข้อ ๑๗ ดังนี้ บัตรปลอม บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครเกินกว่าหนึ่งคน
บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมาย
บัตรที่มีเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใด และบัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง
ทำเครื่องหมาย
แล้วแยกบัตรเสียออกต่างหากโดยให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสลักหลังว่า เสีย
และลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกคนใส่ซองหรือห่อรวมไว้มิได้ปะปนกับบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนได้
ข้อ ๑๙ ในการใส่คะแนน
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ซึ่งมีหน้าที่อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร
ได้อ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครคนใดแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่ใส่คะแนนหมายคะแนนไว้หนึ่งขีดตรงชื่อผู้สมัครที่เป็นเจ้าของหมายเลขประจำตัวพร้อมกัน
ทั้งในแบบกรอกคะแนนและบนกระดานดำ
การขีดคะแนนในแบบกรอกคะแนนนั้น ให้ตั้งต้นแต่ช่องที่ ๑
ของบรรทัดแรกเรียงต่อกันไปจนถึงช่องที่ ๕๐ เมื่อสุดช่องที่ ๕๐ แล้ว
จึงเริ่มตั้งต้นขึ้นบรรทัด ๒ แต่ช่องที่ ๑
ไปอีกแบบกรอกคะแนนซึ่งได้ใช้ใส่คะแนนโดยถูกต้องแล้ว
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกแผ่น
การใส่คะแนนลงบนกระดานดำนั้น ให้อนุโลมตามแบบกรอกคะแนน
เว้นแต่ไม่จำต้องเขียนชื่อผู้สมัคร และไม่ต้องมีเส้นตาราง
เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนคงใช้วิธีขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนนโดยขีดชิด ๆ กัน สำหรับขีดที่
๕ ให้ขีดขวางทับเส้น ๔ ขีดแรก ดังรูปนี้ //// แล้วเว้นระยะไว้
และให้ตั้งต้นขีดต่อไป ให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุก ๕ ขีด //// //// //// //// เท่ากับ ๒๐ เป็นต้น
ข้อ ๒๐ เมื่อเสร็จการใส่คะแนนแล้ว
ให้จัดการรวมคะแนนและตรวจสอบคะแนนบนกระดานดำกับในแบบกรอกคะแนน
ถ้าหากผลลัพธ์ตรงกันก็เป็นอันถูกต้อง ถ้าไม่ตรงกันก็ให้ตรวจสอบจนกว่าจะถูกต้องตรงกันแล้วเป็นอันสิ้นสุดแห่งการนับคะแนน
หมวด
๖
การประกาศผลการนับคะแนนและการรายงานผลของการนับคะแนน
ข้อ ๒๑ ประกาศผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๒
ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
ใช้เพื่อประกาศผลของการนับคะแนนเมื่อเสร็จการนับคะแนนแล้วเป็นหน่วย ๆ ไป แบบนี้
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องทำขึ้น ๕ ฉบับ ปิด ณ ที่เลือกตั้ง
๑ ฉบับ ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ และส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๒ รายงานแสดงผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก.
๓
ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งใช้เพื่อรายงานแสดงผลของการนับคะแนน
แบบนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำขึ้น ๔ ฉบับ
ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ ส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๓ แบบกรอกคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๔ ท้ายประกาศนี้
เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เพื่อให้หมายคะแนน
การหมายคะแนนนี้ให้ขีดด้วยหมึก
ข้อ ๒๔ เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) แล้วปิดประกาศนั้นไว้ ณ ที่เลือกตั้ง ๑
ฉบับ
ข้อ ๒๕ ในการทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓)
ให้เรียงลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ข้อ ๒๖ เมื่อได้ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) แล้วคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องเก็บบัตรเลือกตั้งและสิ่งต่าง ๆ
บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง คือ
(๑) บัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว
และบัตรเสียซึ่งบรรจุหรือห่อไว้ต่างหาก
(๒) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) ๑ ฉบับ
(๓) รายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ๑ ฉบับ
(๔) แบบสำหรับกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
(๕) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้หมายเหตุการลงคะแนน
แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจและประจำครั่งทับรูกุญแจ
และปิดป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้งโดยคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งลงชื่อกำกับไว้
ในการนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องกระทำโดยเปิดเผย
ข้อ ๒๗ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖
แล้ว คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องมอบสิ่งต่อไปนี้ให้แก่อำเภอโดยเร็ว คือ
(๑) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) อย่างละ ๓ ฉบับ
(๒) หีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งลูกกุญแจ
(๓) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เหลืออยู่
(๔) บัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่
ข้อ ๒๘ เมื่ออำเภอได้รับมอบสิ่งต่าง ๆ ตามข้อ ๒๗
แล้ว ให้จัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนนของอำเภอ (แบบ ผก. ๔) จำนวน ๕ ฉบับ ปิดประกาศไว้
ณ ที่ว่าการอำเภอ ๑ ฉบับ แล้วรวบรวมแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ๒ ฉบับ
พร้อมด้วยประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) จำนวน ๒ ฉบับ
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) จำนวน ๒ ฉบับ ไปยังจังหวัดโดยเร็ว
ข้อ ๒๙
เมื่อจังหวัดได้รับมอบแบบสรุปผลการรวมคะแนน ประกาศผลของการนับคะแนน
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน ตามข้อ ๒๘ แล้ว ให้จังหวัดจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน
(แบบ ผก. ๖) ของจังหวัด โดยรวมผลคะแนนทุกอำเภอ การจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ
ผก. ๖) จำนวน ๓ ฉบับ ปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ๑ ฉบับ
จัดส่งแบบสรุปผลการรวมคะแนนของจังหวัด (แบบ ผก. ๖) จำนวน ๑ ฉบับ
แบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ของอำเภอ จำนวน ๑ ฉบับ ประกาศผลของการนับคะแนน
(แบบ ผก. ๒) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง
จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ ส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยเร็ว
ข้อ ๓๐
เมื่อเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับรายงานตามข้อ ๒๙
แล้วให้รวมยอดคะแนนผู้สมัครแต่ละคนในเขตเลือกตั้งโดยเร็ว
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรตามจำนวนที่มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
ในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากัน
จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรได้ตามจำนวน
ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๗
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด
๗
วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ข้อ ๓๑
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้มอบหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งกุญแจ
บัตรเลือกตั้งที่เหลือใช้ พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ให้แก่อำเภอ ให้นายอำเภอเก็บรักษาอุปกรณ์และเอกสารดังกล่าวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ทำลาย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๑)
๒. ประกาศหน่วยเลือกตั้งที่.....................อำเภอ.....................เรื่อง
ผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
๓. รายงานแสดงผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓)
๔. แบบกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
๕. ประกาศอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต.....................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๕)
๖. ประกาศจังหวัด.....................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๖)
๗. แบบบัตรเลือกตั้ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)[๔]
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)[๕]
พรพิมล/แก้ไข
๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ปรับปรุง
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๙/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๐/๑
เพิ่มโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๓)
[๓] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
[๔] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม-/-/-/-
[๕] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ |
589378 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (Update ณ วันที่ 10/05/2545) (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาด
ของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล
การนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๒
และข้อ ๑๕ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ศาลากลางจังหวัด หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
หมวด
๑
แบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๔ ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
ให้ใช้แบบ ผก. ๑ ท้ายประกายนี้
หมวด
๒
วิธีการลงคะแนน
ข้อ ๕
ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐
นาฬิกา
ข้อ ๖ ขณะจะเปิดการลงคะแนน
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกตั้งแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งเห็นว่าเป็นหีบเปล่า แล้วให้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้จนเสร็จการลงคะแนน
ข้อ ๗ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ห้ามมิให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่มีความจำเป็นจึงให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดได้โดยมิให้เอาบัตรออกจากหีบ
แล้วปิดหีบไว้ตามเดิมในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งกระทำต่อหน้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งและให้ทำรายงานบันทึกแสดงสาเหตุในการเปิดหีบเลือกตั้งนั้นไว้ด้วย
ข้อ ๘ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ (บ.ป. ๒)
หรือใบแทนใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. ๒ ก) ที่ติดรูปถ่ายและประทับตราพนักงานเจ้าหน้าที่
บัตรประจำตัวประชาชนตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วด้วย
ผู้เลือกตั้งที่ไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย
ให้ใช้บัตรประจำตัวหรือหลักฐานที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้เป็นหลักฐานในการแสดงตนเพื่อลงคะแนน
ข้อ ๙
เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๘
ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดหมายเลขบัตรหรือหลักฐาน
และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐานและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน
พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
พร้อมทั้งให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย
แล้วจึงมอบบัตรเลือกตั้งจำนวนหนึ่งฉบับให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปลงคะแนน
ในกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีนิ้วหัวแม่มือขวา
ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ถ้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
ให้พิมพ์ลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่งแทน หากไม่มีนิ้วอยู่เลยให้ได้รับการยกเว้น
และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหมายเหตุว่าไม่มีนิ้วมือ
ข้อ ๑๐
เมื่อมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว
ให้ไปยังคูหาลงคะแนนเพื่อทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้งและนำบัตรเลือกตั้งใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง
หมวด
๓
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๑
บัตรเลือกตั้งให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น โดยให้มีแถบสี
ข้อ ๑๒
บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งให้เย็บเป็นเล่ม ๆ
ละไม่เกินหนึ่งร้อยบัตรให้มีปกหน้าและปกหลัง
และมีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้
ปกหน้ามีข้อความว่า เล่มที่ ................... เลขที่ ...................
ถึง ................... ถัดลงไปเป็นประเภทของบัตรเลือกตั้ง
ด้านล่างมีข้อความว่า หน่วยเลือกตั้งที่ ................... ที่เลือกตั้ง ...................
อำเภอ ................... จังหวัด ................... เขตเลือกตั้งภูมิภาคที่ ...................
ถัดลงไปมีข้อความว่า ผู้มอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ
และกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ ถัดลงไปมีข้อความว่า
ผู้รับมอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ปกหลังมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งจำนวน ...................
บัตร ใช้แล้วจำนวน ................... บัตร ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วเหลือจำนวน
................... บัตร ถัดลงไปมีข้อความว่า
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้นำส่งหีบบัตรเลือกตั้ง
และมีช่องลงชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๓ ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า
เล่มที่ ................... เลขที่ ...................
อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
ถัดลงไปด้านซ้ายมือมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้ง
ด้านขวามือมีช่องสี่เหลี่ยมสำหรับพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งและมีข้อความว่า
พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
อยู่ด้านซ้ายของช่องสี่เหลี่ยมและมีข้อความ (เขียนตัวบรรจง) ชื่อ ...................
อยู่ใต้ช่องสี่เหลี่ยม
และให้ถือว่าการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต้นขั้วบัตรเลือกตั้งเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๔[๒] บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้
(๑)
บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบซ้าย
ถัดไปทางขวามีตราสัญลักษณ์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถัดลงไปมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่นั้นประทับ
(๒)
ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท
(เช่น X) ใน ช่องไม่ลงคะแนน นี้ และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนน
ด้านบนของช่องมีข้อความว่า ช่องไม่ลงคะแนน และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง
ด้านในของบัตรเลือกตั้งถัดจากตอนบนมีข้อความว่า
ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X)
จำนวนเครื่องหมายเดียวใน ช่องทำเครื่องหมาย นี้ และลูกศรชี้ตรงช่องทำเครื่องหมาย
ถัดลงไปเป็นแถวหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ช่องแรกอยู่ด้านซ้ายมือเป็นช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครซึ่งเป็นตัวเลขอารบิค
ช่องที่สองอยู่ด้านขวามือเป็นช่องทำเครื่องหมายโดยปล่อยว่างไว้สำหรับทำเครื่องหมายกากบาท
จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครให้มีได้ไม่เกินสิบหมายเลขแต่ถ้ามีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าสิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครแถวที่สองด้านขวามือของแถวแรกได้อีกไม่เกินสิบหมายเลข
โดยมีเส้นแบ่งระหว่างแถวให้ชัดเจน
ในกรณีที่มีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่ายี่สิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านขวามือของแถวที่สองได้อีกไม่เกินสี่แถว
โดยให้เพิ่มหมายเลขได้อีกไม่เกินสี่สิบหมายเลข
ในกรณีที่จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าหกสิบหมายเลขให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านหลังของบัตรเลือกตั้งได้อีกไม่เกินหกแถว
ๆ ละไม่เกินสิบหมายเลข
ข้อ ๑๕
บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
หมวด
๔
หีบบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๖
หีบบัตรเลือกตั้งให้ใช้หีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา โดยอนุโลม
หมวด
๕
วิธีการนับคะแนน
ข้อ ๑๗ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการตรวจนับคะแนนเลือกตั้ง ณ
ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จในรวดเดียวจะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้
ข้อ ๑๘
การวินิจฉัยว่าบัตรเลือกตั้งใดเป็นบัตรเสียหรือไม่
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งพิจารณาตามกฎกระทรวง ข้อ ๑๗ ดังนี้ บัตรปลอม
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครเกินกว่าหนึ่งคน
บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมาย
บัตรที่มีเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใด และบัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง
ทำเครื่องหมาย
แล้วแยกบัตรเสียออกต่างหากโดยให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสลักหลังว่า เสีย
และลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกคนใส่ซองหรือห่อรวมไว้มิได้ปะปนกับบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนได้
ข้อ ๑๙ ในการใส่คะแนน
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ซึ่งมีหน้าที่อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร
ได้อ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครคนใดแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่ใส่คะแนนหมายคะแนนไว้หนึ่งขีดตรงชื่อผู้สมัครที่เป็นเจ้าของหมายเลขประจำตัวพร้อมกัน
ทั้งในแบบกรอกคะแนนและบนกระดานดำ
การขีดคะแนนในแบบกรอกคะแนนนั้น ให้ตั้งต้นแต่ช่องที่ ๑
ของบรรทัดแรกเรียงต่อกันไปจนถึงช่องที่ ๕๐ เมื่อสุดช่องที่ ๕๐ แล้ว
จึงเริ่มตั้งต้นขึ้นบรรทัด ๒ แต่ช่องที่ ๑
ไปอีกแบบกรอกคะแนนซึ่งได้ใช้ใส่คะแนนโดยถูกต้องแล้ว
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกแผ่น
การใส่คะแนนลงบนกระดานดำนั้น ให้อนุโลมตามแบบกรอกคะแนน
เว้นแต่ไม่จำต้องเขียนชื่อผู้สมัคร และไม่ต้องมีเส้นตาราง
เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนคงใช้วิธีขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนนโดยขีดชิด ๆ กัน
สำหรับขีดที่ ๕ ให้ขีดขวางทับเส้น ๔ ขีดแรก ดังรูปนี้ //// แล้วเว้นระยะไว้
และให้ตั้งต้นขีดต่อไป ให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุก ๕ ขีด //// //// //// //// เท่ากับ ๒๐ เป็นต้น
ข้อ ๒๐ เมื่อเสร็จการใส่คะแนนแล้ว
ให้จัดการรวมคะแนนและตรวจสอบคะแนนบนกระดานดำกับในแบบกรอกคะแนน
ถ้าหากผลลัพธ์ตรงกันก็เป็นอันถูกต้อง ถ้าไม่ตรงกันก็ให้ตรวจสอบจนกว่าจะถูกต้องตรงกันแล้วเป็นอันสิ้นสุดแห่งการนับคะแนน
หมวด
๖
การประกาศผลการนับคะแนนและการรายงานผลของการนับคะแนน
ข้อ ๒๑ ประกาศผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๒
ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ใช้เพื่อประกาศผลของการนับคะแนนเมื่อเสร็จการนับคะแนนแล้วเป็นหน่วย
ๆ ไป แบบนี้ คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องทำขึ้น ๕ ฉบับ ปิด ณ ที่เลือกตั้ง ๑ ฉบับ ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ และส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๒ รายงานแสดงผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก.
๓ ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งใช้เพื่อรายงานแสดงผลของการนับคะแนน
แบบนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำขึ้น ๔ ฉบับ
ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ ส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๓ แบบกรอกคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๔
ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เพื่อให้หมายคะแนน
การหมายคะแนนนี้ให้ขีดด้วยหมึก
ข้อ ๒๔ เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) แล้วปิดประกาศนั้นไว้ ณ ที่เลือกตั้ง ๑
ฉบับ
ข้อ ๒๕ ในการทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓)
ให้เรียงลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ข้อ ๒๖ เมื่อได้ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) แล้วคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องเก็บบัตรเลือกตั้งและสิ่งต่าง ๆ
บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง คือ
(๑) บัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว
และบัตรเสียซึ่งบรรจุหรือห่อไว้ต่างหาก
(๒) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) ๑ ฉบับ
(๓) รายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ๑ ฉบับ
(๔) แบบสำหรับกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
(๕) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้หมายเหตุการลงคะแนน
แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจและประจำครั่งทับรูกุญแจ
และปิดป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้งโดยคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งลงชื่อกำกับไว้
ในการนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องกระทำโดยเปิดเผย
ข้อ ๒๗ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖
แล้ว คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องมอบสิ่งต่อไปนี้ให้แก่อำเภอโดยเร็ว คือ
(๑) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) อย่างละ ๓ ฉบับ
(๒) หีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งลูกกุญแจ
(๓) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เหลืออยู่
(๔) บัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่
ข้อ ๒๘ เมื่ออำเภอได้รับมอบสิ่งต่าง ๆ ตามข้อ ๒๗
แล้ว ให้จัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนนของอำเภอ (แบบ ผก. ๔) จำนวน ๕ ฉบับ ปิดประกาศไว้
ณ ที่ว่าการอำเภอ ๑ ฉบับ แล้วรวบรวมแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ๒ ฉบับ
พร้อมด้วยประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) จำนวน ๒ ฉบับ
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) จำนวน ๒ ฉบับ ไปยังจังหวัดโดยเร็ว
ข้อ ๒๙
เมื่อจังหวัดได้รับมอบแบบสรุปผลการรวมคะแนน ประกาศผลของการนับคะแนน
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน ตามข้อ ๒๘ แล้ว ให้จังหวัดจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน
(แบบ ผก. ๖) ของจังหวัด โดยรวมผลคะแนนทุกอำเภอ การจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ
ผก. ๖) จำนวน ๓ ฉบับ ปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ๑ ฉบับ
จัดส่งแบบสรุปผลการรวมคะแนนของจังหวัด (แบบ ผก. ๖) จำนวน ๑ ฉบับ
แบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ของอำเภอ จำนวน ๑ ฉบับ ประกาศผลของการนับคะแนน
(แบบ ผก. ๒) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง
จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ ส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยเร็ว
ข้อ ๓๐
เมื่อเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับรายงานตามข้อ ๒๙
แล้วให้รวมยอดคะแนนผู้สมัครแต่ละคนในเขตเลือกตั้งโดยเร็ว
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรตามจำนวนที่มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
ในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากัน
จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรได้ตามจำนวน
ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๗
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด
๗
วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ข้อ ๓๑
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้มอบหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งกุญแจ
บัตรเลือกตั้งที่เหลือใช้ พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ให้แก่อำเภอ ให้นายอำเภอเก็บรักษาอุปกรณ์และเอกสารดังกล่าวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ทำลาย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๑)
๒. ประกาศหน่วยเลือกตั้งที่...................อำเภอ...................เรื่อง
ผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
๓. รายงานแสดงผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓)
๔. แบบกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
๕. ประกาศอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต...................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๕)
๖. ประกาศจังหวัด...................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๖)
๗. แบบบัตรเลือกตั้ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)[๓]
พรพิมล/แก้ไข
๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ปรับปรุง
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๙/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
[๒] ข้อ ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
[๓] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม -/-/-/- |
585558 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของ
บัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการ
นับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๒
และข้อ ๑๕ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ลงวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๔๕
ไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน
วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๑๔
ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๑๔
บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้
(๑)
บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบซ้าย
ถัดไปทางขวามีตราสัญลักษณ์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ถัดลงไปมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอแห่งท้องที่นั้นประทับ
(๒)
ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท
(เช่น X) ใน ช่องไม่ลงคะแนน นี้ และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนน
ด้านบนของช่องมีข้อความว่า ช่องไม่ลงคะแนน และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง
ด้านในของบัตรเลือกตั้งถัดจากตอนบนมีข้อความว่า
ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X)
จำนวนเครื่องหมายเดียวใน ช่องทำเครื่องหมาย นี้ และลูกศรชี้ตรงช่องทำเครื่องหมาย
ถัดลงไปเป็นแถวหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ช่องแรกอยู่ด้านซ้ายมือเป็นช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครซึ่งเป็นตัวเลขอารบิค
ช่องที่สองอยู่ด้านขวามือเป็นช่องทำเครื่องหมายโดยปล่อยว่างไว้สำหรับทำเครื่องหมายกากบาท
จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครให้มีได้ไม่เกินสิบหมายเลขแต่ถ้ามีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าสิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครแถวที่สองด้านขวามือของแถวแรกได้อีกไม่เกินสิบหมายเลข
โดยมีเส้นแบ่งระหว่างแถวให้ชัดเจน
ในกรณีที่มีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่ายี่สิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านขวามือของแถวที่สองได้อีกไม่เกินสี่แถว โดยให้เพิ่มหมายเลขได้อีกไม่เกินสี่สิบหมายเลข
ในกรณีที่จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าหกสิบหมายเลขให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านหลังของบัตรเลือกตั้งได้อีกไม่เกินหกแถว
ๆ ละไม่เกินสิบหมายเลข
ประกาศ วันที่ ๑๐
เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อารยา/พิมพ์
๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
พัชรินทร์/ตรวจ
๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
559367 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๙ วรรคสอง แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงประกาศวันเลือกตั้ง วันรับสมัครเลือกตั้ง
สถานที่รับสมัครเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไว้
ดังนี้
๑.
วันเลือกตั้ง วันอาทิตย์ที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕
๒. วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่
๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึงวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
๓.
สถานที่รับสมัครเลือกตั้ง
๓.๑ ภูมิภาคที่หนึ่ง (ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ ได้แก่
จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา จังหวัดพิจิตร จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์
จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง จังหวัดลำพูน จังหวัดสุโขทัย
จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดอุทัยธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่
๓.๒ ภูมิภาคที่สอง (ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง ได้แก่
กรุงเทพมหานคร จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี
จังหวัดชัยนาท จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดปทุมธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดราชบุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสิงห์บุรี
จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดอ่างทอง) รับสมัครที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ตึกโภชากร กองพฤกษาศาสตร์และวัชพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
๓.๓ ภูมิภาคที่สาม (ท้องที่จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร
จังหวัดยโสธร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดเลย จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสกลนคร
จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู จังหวัดอำนาจเจริญ
จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอุบลราชธานี) รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น
๓.๔ ภูมิภาคที่สี่ (ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ ได้แก่
จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดพัทลุง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา
จังหวัดระนอง จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล และจังหวัดสุราษฎร์ธานี)
รับสมัครที่ศาลากลางจังหวัดนครสรีธรรมราช
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน สมาชิกองค์กรเกษตรกรผู้ใดประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
ให้ยื่นใบสมัครด้วยตนเอง พร้อมด้วยรูปถ่ายหน้าตรง
ไม่สวมหมวกหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนเหมือนรูปถ่ายของผู้สมัคร ขนาดกว้างประมาณ ๘.๕
เซนติเมตร ยาวประมาณ ๑๓.๕ เซนติเมตร ตามจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด สำเนาทะเบียนบ้าน
และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ณ สถานที่ที่กำหนดในข้อ ๓ ภายในระยะเวลาที่กำหนดในข้อ
๒
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๖/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
559365 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจน
ในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ในวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๕ วันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
ถึงวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ นั้น
เพื่อให้การเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเป็นไปตามกฎหมายด้วยความเรียบร้อย
บริสุทธิ์ ยุติธรรม อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๙ แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔
จึงออกประกาศกำหนดจำนวนรูปถ่ายหรือรูปภาพที่พิมพ์ชัดเจนในการสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่ในภาคเหนือ จำนวน
๓,๔๘๐ รูป
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่ในภาคกลาง จำนวน
๒,๕๔๐ รูป
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน
๖,๐๒๐ รูป
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่ในภาคใต้ จำนวน
๒,๑๔๐ รูป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๔/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
559363 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกำหนดวันเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรในวันอาทิตย์ที่
๒ มิถุนายน ๒๕๔๕ และวันรับสมัครเลือกตั้ง ตั้งแต่วันจันทร์ที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๕
ถึงวันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ไปแล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ วรรคท้าย แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศกำหนดจำนวนผู้แทนเกษตรกรที่จะพึงมีในแต่ละภูมิภาค ดังนี้
(๑) ภูมิภาคที่หนึ่ง ท้องที่จังหวัดในภาคเหนือ จำนวน
๕ คน
(๒) ภูมิภาคที่สอง ท้องที่จังหวัดในภาคกลาง จำนวน
๔ คน
(๓) ภูมิภาคที่สาม ท้องที่จังหวัดในภาค จำนวน ๗ คน
ตะวันออกเฉียงเหนือ
(๔) ภูมิภาคที่สี่ ท้องที่จังหวัดในภาคใต้ จำนวน
๔ คน
จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
เอกสารแนบ ๑ ตารางสรุปรายภาค ณ วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๕
๒.
เอกสารแนบ ๒ การคำนวณผู้แทนเกษตรกรในแต่ละภูมิภาค
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สถาพร/ผู้จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๓/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
559361 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้
ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
นายอำเภอ หมายความรวมถึง
ผู้อำนวยการเขตและปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ
ข้อ
๔
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในอำเภอจากทะเบียนรายชื่อสมาชิกองค์กรเกษตรกรหรือทะเบียนองค์กรเกษตรกร
และกำหนดที่เลือกตั้งสำหรับแต่ละหน่วยเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่ายี่สิบวัน
โดยใช้แบบ ผก. ๗ ท้ายประกาศนี้ จำนวน ๕ ชุด
ประกาศตามวรรคหนึ่งให้ดำเนินการดังนี้
ชุดที่
๑ ปิดประกาศไว้ ณ ที่เลือกตั้งหรือบริเวณใกล้เคียงกับที่เลือกตั้งเฉพาะของแต่ละหน่วยเลือกตั้ง
ชุดที่
๒ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
ชุดที่
๓ เก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน
ชุดที่
๔ และชุดที่ ๕
ให้ส่งจังหวัดเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานและรวบรวมส่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
จำนวนหนึ่งชุด
ข้อ
๕
ในการกำหนดหน่วยเลือกตั้งที่จะพึงมีในแต่ละอำเภอให้คำนึงถึงความสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ทั้งนี้
ให้หน่วยเลือกตั้งหนึ่งประกอบด้วยองค์กรเกษตรกรองค์กรหนึ่งหรือหลายองค์กร
โดยให้ถือเกณฑ์จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งหน่วยเลือกตั้งละหนึ่งพันคนเป็นประมาณ
แต่ถ้าเห็นว่าไม่เป็นการสะดวกในการลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
จะกำหนดให้หน่วยเลือกตั้งใดมีจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมากกว่าจำนวนดังกล่าวก็ได้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยคน
ข้อ
๖
การกำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งแต่ละอำเภอให้กำหนดหมายเลขหน่วยเลือกตั้งโดยใช้หมายเลขเรียงตั้งแต่หมายเลข
๑ ตามลำดับจนครบทุกหน่วยเลือกตั้ง
ข้อ
๗
ให้นายอำเภอประกาศกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งในอำเภอไว้ในบริเวณเดียวกันเพียงแห่งเดียว
ซึ่งมีสถานที่กว้างขวางพอที่จะจัดเป็นสถานที่ลงคะแนนและนับคะแนนทั้งเป็นสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้สะดวก
ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อความสะดวกในการจัดการเลือกตั้งจะประกาศกำหนดที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งในอำเภอมากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้
ข้อ
๘
ให้นายอำเภอจัดให้มีป้ายบอกที่เลือกตั้งปิดไว้ด้านหน้าของที่เลือกตั้ง
โดยมีข้อความอย่างน้อย ดังนี้
ที่เลือกตั้ง
หน่วยเลือกตั้งที่....
ข้อ
๙
ที่เลือกตั้งต้องมีคูหาลงคะแนนอย่างน้อยห้าคูหา
ข้อ
๑๐ ให้นายอำเภอเตรียมหาเครื่องใช้ต่าง ๆ
สำหรับที่เลือกตั้งไว้ให้พร้อมก่อนวันเลือกตั้ง เช่น โต๊ะ เก้าอี้
สำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้ง
กระดานดำ หรือสิ่งอื่นที่ใช้แทนได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ประกาศอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต..................เรื่อง กำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(แบบ ผก.๗)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ปรับปรุง
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๒๐/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
559359 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่
๒)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ และข้อ ๘
แห่งกฎกระทรวงการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ ๒)
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของข้อ ๔
แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร ดังนี้
เมื่อได้ประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งตามวรรคหนึ่งแล้ว และปรากฏว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
นายอำเภอจะประกาศเปลี่ยนแปลงกำหนดหน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งน้อยกว่ายี่สิบวันก็ได้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๑/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ |
559352 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล การนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและ
ขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล
การนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้ง
ผู้แทนเกษตรกร (ฉบับที่
๓)
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๒
และข้อ ๑๕ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(ฉบับที่ ๓)
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมข้อ ๑๐/๑
ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
โดยให้ใช้ข้อความต่อไปนี้
ข้อ ๑๐/๑
เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาตรง ให้ประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งประกาศปิดการลงคะแนน
เช่น กล่าวว่า บัดนี้ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาแล้วให้ปิดการลงคะแนน
และงดจ่ายบัตรเลือกตั้ง
กรณีที่มีผู้แสดงตนและรับบัตรเลือกตั้งภายในกำหนดเวลาการลงคะแนนเลือกตั้งเหลืออยู่ในที่เลือกตั้ง
แต่ยังไม่ได้ลงคะแนนเลือกตั้งก็ให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งจนเสร็จสิ้น
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งนำบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่มาทำเครื่องหมายโดยใช้โลหะปลายแหลมตอกทะลุบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่ทุกฉบับ
แล้วใช้เชือกร้อยรูและผูกรวมบัตรเลือกตั้งที่เหลือทุกฉบับให้เป็นปึกเดียวกันและประจำครั่งทับปมเชือกไว้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สถาพร/จัดทำ
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๔๘ ง/หน้า ๒/๔ มิถุนายน ๒๕๔๕ |
316689 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน ลักษณะและขนาด
ของบัตรเลือกตั้ง
หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน การประกาศผล
การนับคะแนน
การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ข้อ ๙ วรรคสอง ข้อ ๑๒
และข้อ ๑๕ วรรคสาม แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดแบบใบสมัครรับเลือกตั้ง วิธีการลงคะแนน
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง หีบบัตรเลือกตั้ง วิธีการนับคะแนน
การประกาศผลการนับคะแนน การรายงานผลของการนับคะแนน วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐานในการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
ข้อ ๒[๑]
ประกาศให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในประกาศนี้
จังหวัด หมายความรวมถึง กรุงเทพมหานคร
อำเภอ หมายความรวมถึง เขตและกิ่งอำเภอ
ศาลากลางจังหวัด หมายความรวมถึง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ที่ว่าการอำเภอ หมายความรวมถึง
สำนักงานเขตและที่ว่าการกิ่งอำเภอ
หมวด
๑
แบบใบสมัครรับเลือกตั้ง
ข้อ ๔ ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร
ให้ใช้แบบ ผก. ๑ ท้ายประกายนี้
หมวด
๒
วิธีการลงคะแนน
ข้อ ๕
ในวันเลือกตั้งให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ถึงเวลา ๑๕.๐๐
นาฬิกา
ข้อ ๖ ขณะจะเปิดการลงคะแนน
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดหีบบัตรเลือกตั้งแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งเห็นว่าเป็นหีบเปล่า แล้วให้ปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจไว้จนเสร็จการลงคะแนน
ข้อ ๗ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ห้ามมิให้เปิดหีบบัตรเลือกตั้ง เว้นแต่มีความจำเป็นจึงให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งเปิดได้โดยมิให้เอาบัตรออกจากหีบ
แล้วปิดหีบไว้ตามเดิมในกรณีเช่นนี้ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งกระทำต่อหน้าผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งอยู่
ณ ที่เลือกตั้งและให้ทำรายงานบันทึกแสดงสาเหตุในการเปิดหีบเลือกตั้งนั้นไว้ด้วย
ข้อ ๘ ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน
ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งประสงค์จะลงคะแนนไปแสดงตนต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือใบรับคำขอมีบัตรหรือเปลี่ยนบัตรใหม่ (บ.ป. ๒)
หรือใบแทนใบรับคำขอมีบัตร (บ.ป. ๒ ก) ที่ติดรูปถ่ายและประทับตราพนักงานเจ้าหน้าที่
บัตรประจำตัวประชาชนตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึงบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุแล้วด้วย
ผู้เลือกตั้งที่ไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนตามกฎหมาย
ให้ใช้บัตรประจำตัวหรือหลักฐานที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้เป็นหลักฐานในการแสดงตนเพื่อลงคะแนน
ข้อ ๙
เมื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๘
ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกตั้งกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว
ให้อ่านชื่อและที่อยู่ของผู้นั้นดัง ๆ ถ้าไม่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผู้สมัครหรือผู้ใดทักท้วง ให้หมายเหตุไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยจดหมายเลขบัตรหรือหลักฐาน
และสถานที่ออกบัตรหรือหลักฐานและให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้เป็นหลักฐาน
พร้อมทั้งพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาลงในช่องพิมพ์ลายนิ้วมือที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
พร้อมทั้งให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้จ่ายบัตรเลือกตั้งลงลายมือชื่อและบันทึกชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งนั้นด้วย
แล้วจึงมอบบัตรเลือกตั้งจำนวนหนึ่งฉบับให้แก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อไปลงคะแนน
ในกรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีนิ้วหัวแม่มือขวา
ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ถ้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้าง
ให้พิมพ์ลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่งแทน หากไม่มีนิ้วอยู่เลยให้ได้รับการยกเว้น
และให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งหมายเหตุว่าไม่มีนิ้วมือ
ข้อ ๑๐
เมื่อมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้รับบัตรเลือกตั้งแล้ว
ให้ไปยังคูหาลงคะแนนเพื่อทำเครื่องหมายกากบาทในบัตรเลือกตั้งและนำบัตรเลือกตั้งใส่ลงในหีบบัตรเลือกตั้ง
หมวด
๓
ลักษณะและขนาดของบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๑
บัตรเลือกตั้งให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น โดยให้มีแถบสี
ข้อ ๑๒
บัตรเลือกตั้งและต้นขั้วบัตรเลือกตั้งให้เย็บเป็นเล่ม ๆ
ละไม่เกินหนึ่งร้อยบัตรให้มีปกหน้าและปกหลัง
และมีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกตั้งออกจากต้นขั้วบัตรเลือกตั้งได้
ปกหน้ามีข้อความว่า เล่มที่ ...................
เลขที่ ................... ถึง ................... ถัดลงไปเป็นประเภทของบัตรเลือกตั้ง ด้านล่างมีข้อความว่า
หน่วยเลือกตั้งที่ ................... ที่เลือกตั้ง ...................
อำเภอ ................... จังหวัด ................... เขตเลือกตั้งภูมิภาคที่ ................... ถัดลงไปมีข้อความว่า ผู้มอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ
และกรรมการอำนวยการเลือกตั้งระดับอำเภอ ถัดลงไปมีข้อความว่า
ผู้รับมอบบัตรเลือกตั้ง ถัดลงไปมีข้อความว่า
ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วครบถ้วนจำนวน ................... บัตร
และมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ปกหลังมีข้อความว่า บัตรเลือกตั้งจำนวน ...................
บัตร ใช้แล้วจำนวน ................... บัตร ได้ตรวจสอบจำนวนบัตรเลือกตั้งแล้วเหลือจำนวน
................... บัตร ถัดลงไปมีข้อความว่า
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้นำส่งหีบบัตรเลือกตั้ง
และมีช่องลงชื่อประธานกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย
ข้อ ๑๓ ต้นขั้วบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า
เล่มที่ ................... เลขที่ ...................
อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
ถัดลงไปด้านซ้ายมือมีช่องสำหรับลงลายมือชื่อกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ที่จ่ายบัตรเลือกตั้ง
ด้านขวามือมีช่องสี่เหลี่ยมสำหรับพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งและมีข้อความว่า
พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
อยู่ด้านซ้ายช่องสี่เหลี่ยมและมีข้อความ (เขียนตัวบรรจง) ชื่อ ...................
อยู่ใต้ช่องสี่เหลี่ยม
และให้ถือว่าการพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในต้นขั้วบัตรเลือกตั้งเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๔ บัตรเลือกตั้งมีลักษณะ ดังนี้
(๑)
บัตรเลือกตั้งเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบซ้าย
ถัดไปทางขวามีตราสัญลักษณ์กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และถัดลงไปมีข้อความว่า
บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร
(๒) ด้านในของบัตรเลือกตั้งมีข้อความว่า
ไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครคนใดเลยให้ทำเครื่องหมายกากบาท ( เช่น X) ใน
ช่องไม่ลงคะแนน นี้ และมีลูกศรชี้ตรงช่องไม่ลงคะแนนด้านบนของช่องมีข้อความว่า
ช่องไม่ลงคะแนน และมีช่องว่างสำหรับทำเครื่องหมายหนึ่งช่อง
ด้านในของบัตรถัดจากตอนบนมีข้อความว่า
ให้ทำเครื่องหมายกากบาท (เช่น X) จำนวนเครื่องหมายเดียวใน ช่องทำเครื่องหมาย
นี้ และลูกศรชี้ตรงช่องทำเครื่องหมาย
ถัดลงไปเป็นแถวหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ช่องแรกอยู่ด้านซ้ายมือเป็นช่องหมายเลขประจำตัวผู้สมัครซึ่งเป็นตัวเลขอารบิค
ช่องที่สองอยู่ด้านขวามือเป็นช่องทำเครื่องหมายโดยปล่อยว่างไว้สำหรับทำเครื่องหมายกากบาท
จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครให้มีได้ไม่เกินสิบหมายเลขแต่ถ้ามีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าสิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครแถวที่สองด้านขวามือของแถวแรกได้อีกไม่เกินสิบหมายเลข
โดยมีเส้นแบ่งระหว่างแถวให้ชัดเจน ในกรณีที่มีจำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่ายี่สิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านขวามือของแถวที่สองได้อีกไม่เกินสี่แถวโดยให้เพิ่มหมายเลขได้อีกไม่เกินสี่สิบหมายเลข
ในกรณีที่จำนวนหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเกินกว่าหกสิบหมายเลข
ให้เพิ่มหมายเลขประจำตัวผู้สมัครด้านหลังของบัตรเลือกตั้งได้อีกไม่เกินสี่แถว ๆ
ละไม่เกินสิบหมายเลข
ข้อ ๑๕
บัตรเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้
หมวด
๔
หีบบัตรเลือกตั้ง
ข้อ ๑๖
หีบบัตรเลือกตั้งให้ใช้หีบบัตรเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา โดยอนุโลม
หมวด
๕
วิธีการนับคะแนน
ข้อ ๑๗ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งดำเนินการตรวจนับคะแนนเลือกตั้ง ณ
ที่เลือกตั้งของแต่ละหน่วยเลือกตั้งโดยเปิดเผยจนเสร็จในรวดเดียวจะเลื่อนหรือประวิงเวลาไม่ได้
ข้อ ๑๘ การวินิจฉัยว่าบัตรเลือกตั้งใดเป็นบัตรเสียหรือไม่
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งพิจารณาตามกฎกระทรวง ข้อ ๑๗ ดังนี้ บัตรปลอม
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนมากกว่าหนึ่งเครื่องหมาย
บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครคนใด
บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้กับผู้สมัครเกินกว่าหนึ่งคน
บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท บัตรที่ไม่ได้ทำเครื่องหมาย
บัตรที่มีเครื่องสังเกตหรือข้อความอื่นใด และบัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอกช่อง
ทำเครื่องหมาย
แล้วแยกบัตรเสียออกต่างหากโดยให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งสลักหลังว่า เสีย
และลงลายมือชื่อกำกับไว้ทุกคนใส่ซองหรือห่อรวมไว้มิได้ปะปนกับบัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนได้
ข้อ ๑๙ ในการใส่คะแนน
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งผู้ซึ่งมีหน้าที่อ่านเครื่องหมายประจำตัวผู้สมัคร
ได้อ่านหมายเลขประจำตัวผู้สมัครคนใดแล้ว ให้ผู้มีหน้าที่ใส่คะแนนหมายคะแนนไว้หนึ่งขีดตรงชื่อผู้สมัครที่เป็นเจ้าของหมายเลขประจำตัวพร้อมกัน
ทั้งในแบบกรอกคะแนนและบนกระดานดำ
การขีดคะแนนในแบบกรอกคะแนนนั้น ให้ตั้งต้นแต่ช่องที่ ๑
ของบรรทัดแรกเรียงต่อกันไปจนถึงช่องที่ ๕๐ เมื่อสุดช่องที่ ๕๐ แล้ว
จึงเริ่มตั้งต้นขึ้นบรรทัด ๒ แต่ช่องที่ ๑
ไปอีกแบบกรอกคะแนนซึ่งได้ใช้ใส่คะแนนโดยถูกต้องแล้ว
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกแผ่น
การใส่คะแนนลงบนกระดานดำนั้น ให้อนุโลมตามแบบกรอกคะแนน
เว้นแต่ไม่จำต้องเขียนชื่อผู้สมัคร และไม่ต้องมีเส้นตาราง เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนคงใช้วิธีขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนนโดยขีดชิด
ๆ กัน สำหรับขีดที่ ๕ ให้ขีดขวางทับเส้น ๔ ขีดแรก ดังรูปนี้ //// แล้วเว้นระยะไว้
และให้ตั้งต้นขีดต่อไป ให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุก ๕ ขีด //// //// //// //// เท่ากับ ๒๐ เป็นต้น
ข้อ ๒๐ เมื่อเสร็จการใส่คะแนนแล้ว
ให้จัดการรวมคะแนนและตรวจสอบคะแนนบนกระดานดำกับในแบบกรอกคะแนน
ถ้าหากผลลัพธ์ตรงกันก็เป็นอันถูกต้องถ้าไม่ตรงกันก็ให้ตรวจสอบจนกว่าจะถูกต้องตรงกันแล้วเป็นอันสิ้นสุดแห่งการนับคะแนน
หมวด
๖
การประกาศผลการนับคะแนนและการรายงานผลของการนับคะแนน
ข้อ ๒๑ ประกาศผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๒
ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
ใช้เพื่อประกาศผลของการนับคะแนนเมื่อเสร็จการนับคะแนนแล้วเป็นหน่วย ๆ ไป แบบนี้
คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งต้องทำขึ้น ๕ ฉบับ ปิด ณ ที่เลือกตั้ง
๑ ฉบับ ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ และส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๒ รายงานแสดงผลของการนับคะแนน ให้ใช้แบบ ผก.
๓
ท้ายประกาศนี้เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งใช้เพื่อรายงานแสดงผลของการนับคะแนน
แบบนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำขึ้น ๔ ฉบับ
ใส่หีบบัตรเลือกตั้ง ๑ ฉบับ ส่งให้อำเภอ ๓ ฉบับ
ข้อ ๒๓ แบบกรอกคะแนน ให้ใช้แบบ ผก. ๔
ท้ายประกาศนี้ เป็นแบบสำหรับคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง เพื่อให้หมายคะแนน
การหมายคะแนนนี้ให้ขีดด้วยหมึก
ข้อ ๒๔ เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว
ให้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) แล้วปิดประกาศนั้นไว้ ณ ที่เลือกตั้ง ๑
ฉบับ
ข้อ ๒๕ ในการทำประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ให้เรียงลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร
ข้อ ๒๖ เมื่อได้ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก.
๒) แล้วคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องเก็บบัตรเลือกตั้งและสิ่งต่าง ๆ
บรรจุในหีบบัตรเลือกตั้ง คือ
(๑) บัตรเลือกตั้งที่นับคะแนนแล้ว
และบัตรเสียซึ่งบรรจุหรือห่อไว้ต่างหาก
(๒) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) ๑ ฉบับ
(๓) รายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) ๑ ฉบับ
(๔) แบบสำหรับกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
(๕) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งได้หมายเหตุการลงคะแนน
แล้วปิดหีบบัตรเลือกตั้งใส่กุญแจและประจำครั่งทับรูกุญแจ
และปิดป้ายสำหรับปิดช่องใส่บัตรเลือกตั้งโดยคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งลงชื่อกำกับไว้
ในการนี้คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องกระทำโดยเปิดเผย
ข้อ ๒๗ เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖
แล้ว คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะต้องมอบสิ่งต่อไปนี้ให้แก่อำเภอโดยเร็ว คือ
(๑) ประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) อย่างละ ๓ ฉบับ
(๒) หีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งลูกกุญแจ
(๓) บัญชีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เหลืออยู่
(๔) บัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่
ข้อ ๒๘ เมื่ออำเภอได้รับมอบสิ่งต่าง ๆ ตามข้อ ๒๗
แล้ว ให้จัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนนของอำเภอ (แบบ ผก. ๔) จำนวน ๕ ฉบับ ปิดประกาศไว้
ณ ที่ว่าการอำเภอ ๑ ฉบับ แล้วรวบรวมแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ๒ ฉบับ
พร้อมด้วยประกาศผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒) จำนวน ๒ ฉบับ
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓) จำนวน ๒ ฉบับ ไปยังจังหวัดโดยเร็ว
ข้อ ๒๙
เมื่อจังหวัดได้รับมอบแบบสรุปผลการรวมคะแนน ประกาศผลของการนับคะแนน
และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน ตามข้อ ๒๘ แล้ว ให้จังหวัดจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน
(แบบ ผก. ๖) ของจังหวัด โดยรวมผลคะแนนทุกอำเภอ การจัดทำแบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ
ผก. ๖) จำนวน ๓ ฉบับ ปิดประกาศไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด ๑ ฉบับ
จัดส่งแบบสรุปผลการรวมคะแนนของจังหวัด (แบบ ผก. ๖) จำนวน ๑ ฉบับ
แบบสรุปผลการรวมคะแนน (แบบ ผก. ๕) ของอำเภอ จำนวน ๑ ฉบับ ประกาศผลของการนับคะแนน
(แบบ ผก. ๒) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ และรายงานแสดงผลของการนับคะแนน
(แบบ ผก. ๓) ของทุกหน่วยเลือกตั้ง จำนวนหน่วยเลือกตั้งละ ๑ ฉบับ
ส่งไปยังเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรโดยเร็ว
ข้อ ๓๐
เมื่อเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้รับรายงานตามข้อ ๒๙
แล้วให้รวมยอดคะแนนผู้สมัครแต่ละคนในเขตเลือกตั้งโดยเร็ว
ในเขตเลือกตั้งหนึ่งให้ผู้สมัครซึ่งได้คะแนนมากตามลำดับลงมาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรตามจำนวนที่มีการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น
ในกรณีที่มีผู้สมัครหลายคนได้คะแนนเท่ากัน
จนเป็นเหตุให้ไม่สามารถเรียงลำดับผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกรได้ตามจำนวน
ให้ดำเนินการตามข้อ ๑๗
แห่งกฎกระทรวงกำหนดการแบ่งภูมิภาคและการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๔
หมวด
๗
วิธีการเก็บบัตรเลือกตั้ง
และการเก็บรักษาเอกสารหลักฐาน
ข้อ ๓๑
เมื่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งได้มอบหีบบัตรเลือกตั้งพร้อมทั้งกุญแจ
บัตรเลือกตั้งที่เหลือใช้ พร้อมอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เหลือใช้ให้แก่อำเภอ ให้นายอำเภอเก็บรักษาอุปกรณ์และเอกสารดังกล่าวจนกว่าจะได้รับแจ้งจากเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้ทำลาย
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕
ชูชีพ หาญสวัสดิ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๑)
๒. ประกาศหน่วยเลือกตั้งที่............อำเภอ......................เรื่อง
ผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๒)
๓. รายงานแสดงผลการนับคะแนน (แบบ ผก. ๓)
๔. แบบกรอกคะแนน (แบบ ผก. ๔)
๕. ประกาศอำเภอ กิ่งอำเภอ เขต......................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๕)
๖. ประกาศจังหวัด......................เรื่อง
สรุปผลการนับคะแนนเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (แบบ ผก. ๖)
๗. แบบบัตรเลือกตั้ง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พรพิมล/แก้ไข
๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/ปรับปรุง
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๓๗ ง/หน้า ๙/๒๙ เมษายน ๒๕๔๕ |
766709 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๙
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๕ (๕) และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงออกระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๕ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ
หรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๖ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะอนุกรรมการจังหวัด หมายความว่า
คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด
เลขาธิการ หมายความว่า
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
หัวหน้าสำนักงาน หมายความว่า
หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด
องค์กรเกษตรกร หมายความว่า
กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเดียวกันที่มารวมกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
องค์กรเครือข่าย หมายความว่า
การรวมตัวกันขององค์กรเกษตรกรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจการเกษตรร่วมกัน
ภูมิภาค หมายความว่า
ภูมิภาคที่ใช้เป็นเขตเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อ
๗ ให้เลขาธิการ หัวหน้าสำนักงาน
และพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการ ให้ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าสำนักงาน
เป็น นายทะเบียน
ข้อ
๘ ให้เลขาธิการแต่งตั้งให้
หัวหน้าสำนักงาน และพนักงานตามข้อ ๗ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
การขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๙ ให้องค์กรดังต่อไปนี้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
(๑)
กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรในจังหวัดเดียวกันไม่น้อยกว่ายี่สิบคน
โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
(๒)
นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
ข้อ
๑๐ ให้ประธานองค์กรเกษตรกร
หรือผู้รับมอบหมายจากประธานองค์กรเกษตรกรตามข้อ ๙ ที่มีกิจกรรมร่วมกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรต่อนายทะเบียนในท้องที่ที่สมาชิกองค์กรเกษตรกรตามข้อ
๙ (๑) หรือองค์กรเกษตรกรตามข้อ ๙ (๒) มีภูมิลำเนาอยู่ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
โดยมีหลักฐานประกอบดังนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
ระเบียบหรือข้อบังคับที่กำหนดเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของสมาชิก วิธีรับสมาชิก
การขาดจากสมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๓)
รายชื่อคณะกรรมการ และสมาชิก
ที่ลงลายมือชื่อแสดงความประสงค์จะขึ้นทะเบียนพร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านแสดงภูมิลำเนาในปัจจุบัน
(๔)
เอกสารแสดงให้เห็นถึงการทำกิจกรรมร่วมกันที่ผ่านมาขององค์กรไม่น้อยกว่าสามเดือน
(๕)
เอกสารระบุวัตถุประสงค์ในการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
กรณีเป็นนิติบุคคลให้แสดงหลักฐานฐานะนิติบุคคลที่ออกโดยองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนหรือกรรมการซึ่งได้รับมอบหมาย
สำเนารายงานการประชุมที่ได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนของนิติบุคคล
สำเนารายชื่อพร้อมทั้งลายมือชื่อของสมาชิกที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียน
และสำเนางบดุลของปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ หรือหลักฐานอื่นตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ
๑๑ ให้หัวหน้าสำนักงานในฐานะนายทะเบียน
บันทึกถ้อยคำผู้ยื่นคำขอในการรับรองลายมือชื่อกรรมการและสมาชิกที่ประสงค์ขึ้นทะเบียนตามข้อ
๑๐ (๓) พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้อนุมัติการขึ้นทะเบียน ภายในสามสิบวันนับแต่ยื่นคำขอ
ในกรณีที่เอกสารและหลักฐานตามข้อ
๑๐ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
ให้สำนักงานสาขาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในเจ็ดวัน
และให้อนุมัติการขึ้นทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับเอกสารการแก้ไขเช่นว่านั้น
ให้ออกใบทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรภายในเจ็ดวันนับแต่วันอนุมัติ
ใบทะเบียนให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด
การอนุมัติการขึ้นทะเบียนตามวรรคแรก
และวรรคสอง ให้แจ้งต่อคณะอนุกรรมการจังหวัดทราบ
การเพิ่ม และ
ย้ายสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๑๒ กรณีเพิ่มเติมสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ให้ประธานองค์กรเกษตรกร หรือผู้รับมอบหมายจากประธานองค์กรเกษตรกร ยื่นคำขอเพิ่มเติมสมาชิกตามแบบที่สำนักงานกำหนดต่อนายทะเบียนโดยมีหลักฐานประกอบดังนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
รายชื่อและลงลายมือชื่อสมาชิกที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียน
พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านแสดงภูมิลำเนาในปัจจุบัน
ข้อ
๑๓ กรณีย้ายองค์กร ให้สมาชิกองค์กรที่ประสงค์ย้ายองค์กร
ยื่นคำขอต่อสำนักงานสาขาตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ให้สำนักงานสาขาตรวจสอบภาระผูกพันที่มีต่อองค์กร
หรือมีเงื่อนไขที่ต้องผูกพันหรือปฏิบัติต่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในฐานะสมาชิกองค์กรที่สังกัดอยู่เดิม
หากไม่พบว่ามีภาระผูกพันหรือเงื่อนไขเช่นว่านั้น
ให้นายทะเบียนย้ายองค์กรตามความประสงค์ของเกษตรกร
และให้แจ้งเป็นหนังสือให้กับองค์กรเกษตรกรเดิมทราบภายในสามสิบวันนับแต่อนุมัติ
การสิ้นสุดการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๑๔ กรณีที่ประธานองค์กรเกษตรกรยื่นคำขอให้สมาชิกองค์กรเกษตรกรสิ้นสุดการเป็นสมาชิกหรือสมาชิกประสงค์ลาออกจากองค์กร
ให้สำนักงานสาขาตรวจสอบการสิ้นสุดการเป็นสมาชิกดังกล่าวว่าเป็นไปตามระเบียบขององค์กรหรือไม่
และตรวจสอบภาระผูกพันที่มีต่อองค์กร หรือมีเงื่อนไขที่ต้องผูกพันหรือปฏิบัติต่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรในฐานะสมาชิกองค์กรที่สังกัดอยู่เดิม
หากไม่พบว่ามีภาระผูกพันหรือเงื่อนไขเช่นว่านั้น
ให้นายทะเบียนอนุมัติการสิ้นสุดการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการจังหวัดเสียก่อน
ข้อ
๑๕ การเพิ่มเติมสมาชิก
การย้ายองค์กรของสมาชิก หรือการสิ้นสุดการเป็นสมาชิกจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการแก้ไขทางทะเบียนของผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงานบันทึกทางทะเบียนแล้ว
และให้นายทะเบียนรับรองผลการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลเช่นว่านั้นตามแต่กรณี
การแยก และ ควบรวม
ข้อ
๑๖ กรณีที่องค์กรเกษตรกรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปในเขตจังหวัดเดียวกันประสงค์ที่จะควบรวมเข้ากันเป็นองค์กรเกษตรกรเดียวกัน
ให้ยื่นคำขอตามแบบที่สำนักงานกำหนด ต่อสำนักงานสาขาพร้อมเอกสารดังนี้
(๑)
สำเนาบัตรประชาชนของประธานองค์กรที่ประสงค์ควบรวม
(๒)
มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรที่ให้ความเห็นชอบในการควบรวม พร้อมชื่อองค์กร เกษตรกร
ระเบียบข้อบังคับ และรายชื่อคณะกรรมการองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๑๗ กรณีที่สมาชิกองค์กรเกษตรกรมีประสงค์ขอแยกองค์กร
ให้สมาชิกดังกล่าวยื่นคำขอตามแบบที่สำนักงานกำหนดต่อสำนักงานสาขา
การขึ้นทะเบียนเครือข่ายองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๑๘ องค์กรเกษตรกรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไป
สามารถรวมกันเป็นเครือข่ายองค์กรเกษตรกรได้ โดยจัดทำธรรมนูญหรือข้อบังคับเครือข่ายและยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็น
เครือข่ายองค์กรเกษตรกร ได้ที่สำนักงานสาขาที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานเครือข่ายองค์กรเกษตรกร
และให้หัวหน้าสำนักงาน หรือพนักงานที่ได้รับมอบหมายตามข้อ ๗ เป็นนายทะเบียน
โดยมีเอกสารประกอบคำขอดังนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของประธานองค์กรเกษตรกรผู้ยื่นคำขอ
(๒)
ธรรมนูญหรือข้อบังคับของเครือข่ายองค์กรเกษตรกร
(๓)
มติที่ประชุมใหญ่ขององค์กรเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเครือข่ายองค์กรเกษตรกร
ที่มีมติให้องค์กรเกษตรกรเข้าผูกพันเป็นเครือข่าย
และบันทึกกิจกรรมการเกษตรที่ประสงค์ทำร่วมกัน
(๔)
รายชื่อคณะกรรมการ และสมาชิกเครือข่ายองค์กรเกษตรกร
(๕)
เอกสารแสดงให้เห็นถึงการทำกิจกรรมการเกษตรร่วมกันของเครือข่ายองค์กรเกษตรกรมาแล้วไม่น้อยกว่าหกเดือน
ข้อ
๑๙ ในการดำเนินการตามข้อ ๑๒ ข้อ ๑๓
ข้อ ๑๖ ข้อ ๑๗ และข้อ ๑๘ ให้นำวิธีการตามข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
หน้าที่ขององค์กรเกษตรกร
ข้อ
๒๐ หน้าที่ขององค์กรที่มีต่อกองทุนในฐานะสมาชิก
มีดังนี้
(๑)
ดำเนินงานกิจกรรมองค์กรให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุน
(๒)
มีทัศนคติที่ดี และสร้างผลงาน ให้เกิดชื่อเสียงต่อกองทุน
(๓)
ให้ความร่วมมือ และเข้าร่วมกิจกรรมของกองทุนอยู่เสมอ
(๔)
สนใจในเหตุการณ์ต่าง ๆ ของกองทุน และเข้าร่วมประชุม
รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลด้านความคิดเห็นและแนวความคิดใหม่ ๆ
การจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๒๑ ให้สำนักงานจัดทำข้อมูลทางทะเบียน
ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
(๑)
ชื่อองค์กรเกษตรกร
(๒)
สำนักงานที่ตั้งองค์กรเกษตรกร
(๓)
ระเบียบข้อบังคับองค์กรเกษตรกร
(๔)
รายชื่อคณะกรรมการ และตำแหน่งหน้าที่
(๕)
รายชื่อสมาชิก
(๖)
ข้อมูลการขึ้นทะเบียนหนี้ของสมาชิก
(๗)
ภาระผูกพันขององค์กรเกษตรกรและสมาชิกที่มีต่อกองทุน
(๘)
ข้อมูลอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
การเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๒๒ ให้นายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการจังหวัด
เมื่อปรากฏหลักฐานชัดแจ้งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(๑)
แสดงความประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
(๒)
มีจำนวนสมาชิกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๙ ยกเว้นกรณีนิติบุคคล
(๓)
ไม่สามารถประชุมใหญ่โดยมีสมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเข้าร่วมประชุมได้
(๔)
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรเกษตรกรตามข้อ ๒๐ อย่างต่อเนื่อง
(๕)
จงใจฝ่าฝืนระเบียบ ประกาศ หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ
๒๓ ถ้าคณะอนุกรรมการจังหวัดมีมติเห็นชอบให้เพิกถอนทะเบียนขององค์กรเกษตรกรให้นายทะเบียนแจ้งให้องค์กรเกษตรกรที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียนทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ประกาศให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ
๒๔ ให้สมาชิกขององค์กรเกษตรกรใดที่ถูกเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรสิ้นสุดการเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
เว้นแต่จะสมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรอื่นภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนปิดประกาศ
ข้อ
๒๕ ห้ามมิให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ในกรณีที่องค์กรเกษตรกรหรือสมาชิกขององค์กรเกษตรกรคนหนึ่งคนใดมีภาระผูกพันที่จะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของกองทุน
เว้นแต่ภาระผูกพันเช่นว่านั้นจะได้หมดสิ้นลง
การอุทธรณ์
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุมัติหรือเห็นชอบ
ตามข้อ ๑๑, ๑๒, ๑๓, ๑๔, ๑๖, ๑๗ และ ๑๘ หากเกษตรกรเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม
ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหาร
โดยยื่นที่สำนักงานสาขาภายในหกสิบวันนับแต่ได้ทราบถึงการไม่อนุมัติหรือเห็นชอบเช่นว่านั้น
และให้คณะกรรมการบริหารวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด
บทเฉพาะกาล
ข้อ
๒๗ ให้องค์กรเกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๔ เป็นองค์กรเกษตรกรตามระเบียบนี้ต่อไป
ข้อ ๒๘ ในกรณีที่สำนักงานสาขาตรวจพบว่าองค์กรเกษตรกรไม่ดำเนินกิจกรรมข้อ ๒๐ (๑) ต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามปี
ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการจังหวัดเพื่อเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ในกรณีคณะอนุกรรมการจังหวัดเห็นชอบเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามวรรคแรกแล้ว
หากมีสมาชิกองค์กรเกษตรกรดังกล่าวไม่น้อยกว่ายี่สิบคนขึ้นไปประสงค์ดำเนินกิจกรรมต่อไปและได้ยื่นคำขอภายในเก้าสิบวันนับแต่ทราบถึงการเพิกถอนตามวรรคแรก
ให้นายทะเบียนโดยความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการจังหวัดมีอำนาจให้ใช้สิทธิในรหัสและชื่อองค์กรเกษตรกรเดิมโดยไม่จำต้องออกรหัสหรือชื่อองค์กรเกษตรกรใหม่
และให้ถือว่าเกษตรกรที่แจ้งความประสงค์ดังกล่าวเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรนั้น
ข้อ
๒๙ เกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
แต่ได้รับการจัดการหนี้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายแจ้งให้เกษตรกรทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
เกษตรกรต้องดำเนินการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ปุณิกา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๓ มกราคม ๒๕๖๐
นุสรา/ตรวจ
๒๓ มีนาคม ๒๕๖๐
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๔/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑/๒๐ มกราคม ๒๕๖๐ |
661337 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. 2554 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๔
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรเพื่อให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๕) และมาตรา ๓๐
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ มาตรา ๔๓ และมาตรา ๖๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย
การรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
(๒) ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย
การมอบอำนาจในการรับขึ้นทะเบียน เพิกถอนทะเบียน
และการอุทธรณ์การรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ให้ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ ๕ บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๖ ในระเบียบนี้
นายทะเบียน หมายความว่า
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หัวหน้าสำนักงานสาขา
หรือพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งจากเลขาธิการเพื่อให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด
ข้อ ๗ ให้องค์กรดังต่อไปนี้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
(๑) กลุ่มหรือคณะของเกษตรกรที่มารวมกันไม่น้อยกว่าห้าสิบคน
โดยมีวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
(๒) นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรม
ข้อ ๘ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงาน หรือสำนักงานสาขา ตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
(๑) ให้คณะกรรมการหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากกลุ่มหรือองค์กร
จำนวนไม่น้อยกว่าสามคน เป็นผู้ยื่นคำขอ
(๒) ในกรณีที่เป็นนิติบุคคลตามข้อ ๗ (๒)
ให้ผู้แทนหรือกรรมการที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ยื่นคำขอ
ข้อ ๙ การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามข้อ
๘ (๑) ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒) สำเนาเอกสารแสดงประวัติโดยย่อของกลุ่มหรือคณะของเกษตรกร
ซึ่งแสดงถึงที่ตั้งที่ทำการของกลุ่มหรือคณะของเกษตรกร
(๓) สำเนาเอกสารแสดงวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือคณะของเกษตรกร
(๔) สำเนาระเบียบหรือข้อบังคับ ที่กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิก
วิธีรับสมาชิก การขาดจากสมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(๕) สำเนารายชื่อของสมาชิกพร้อมทั้งลายมือชื่อของสมาชิกที่มีความประสงค์
จะขึ้นทะเบียน
(๖) สำเนาเอกสารแสดงกิจกรรมที่ทำร่วมกันที่ผ่านมาขององค์กร
(๗) สำเนารายงานการประชุมที่ได้มีมติให้มีการขึ้นทะเบียน
การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามข้อ ๘ (๒)
ให้ยื่นเอกสารและหลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนหรือกรรมการซึ่งได้รับมอบหมาย
(๒) สำเนาเอกสารแสดงฐานะนิติบุคคลที่ออกโดยองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้อง
(๓) สำเนารายงานการประชุมที่ได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนของนิติบุคคล
(๔) สำเนารายชื่อพร้อมทั้งลายมือชื่อของสมาชิกที่มีความประสงค์จะขึ้นทะเบียน
(๕) สำเนางบดุลของปีสุดท้ายก่อนยื่นคำขอ
ข้อ ๑๐ เมื่อสำนักงาน
หรือสำนักงานสาขาได้รับคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรแล้ว ให้ตรวจสอบเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
หากเห็นว่าคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรพร้อมเอกสารและหลักฐานถูกต้องและครบถ้วนแล้ว
ให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่เอกสารและหลักฐานตามข้อ ๙ ไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
ให้สำนักงาน
หรือสำนักงานสาขาแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขให้ถูกต้องและครบถ้วนภายในเจ็ดวัน
เมื่อคณะอนุกรรมการมีมติอนุมัติการขึ้นทะเบียนแล้ว
ให้ประกาศรายชื่อองค์กรเกษตรกรไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน หรือสำนักงานสาขา
ข้อ ๑๑ ให้นายทะเบียนออกใบทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการมีมติอนุมัติ
ข้อ ๑๒ ใบทะเบียนให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการบริหารประกาศกำหนด
ข้อ ๑๓ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการมีมติไม่อนุมัติให้ขึ้นทะเบียน
ให้สำนักงาน
หรือสำนักงานสาขาแจ้งมติที่ไม่อนุมัติพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวัน
และผู้ยื่นคำขอมีสิทธิอุทธรณ์มติของคณะอนุกรรมการต่อคณะกรรมการบริหารได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
การยื่นอุทธรณ์ให้ยื่น ณ สำนักงาน หรือสำนักงานสาขา เมื่อสำนักงาน
หรือสำนักงานสาขาได้รับอุทธรณ์แล้วให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
ให้คณะกรรมการบริหารวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๔ องค์กรเกษตรกร
หรือองค์กรเกษตรกรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปมีสิทธิเสนอแผนหรือโครงการ
ตลอดจนได้รับการสนับสนุน หรือส่งเสริม ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๕ องค์กรเกษตรกรที่มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนสมาชิก
กรรมการ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือที่ตั้งสำนักงานขององค์กรเกษตรกร
ให้ยื่นคำขอพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานการขอเปลี่ยนแปลงต่อสำนักงาน
หรือสำนักงานสาขา
และให้คณะอนุกรรมการพิจารณารับรองการเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ข้อ ๑๖ องค์กรเกษตรกรที่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลต้องดำรงจำนวนสมาชิกตามที่กำหนดไว้ในข้อ
๗ (๑)
ข้อ ๑๗ องค์กรเกษตรกรตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปในเขตจังหวัดเดียวกันอาจควบเข้ากันเป็นองค์กรเกษตรกรเดียวกัน
โดยมติขององค์กรเกษตรกรแต่ละแห่ง ให้ยื่นคำขอต่อสำนักงาน หรือสำนักงานสาขา
และให้เสนอต่อคณะอนุกรรมการพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
ข้อ ๑๘ ให้องค์กรเกษตรกรที่ควบรวมกันยื่นเอกสารหรือหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑) สำเนาใบทะเบียนองค์กรเกษตรกรที่ควบรวม
(๒) สำเนาระเบียบหรือข้อบังคับ ที่กำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิก
วิธีรับสมาชิก การขาดจากสมาชิกภาพ ตลอดจนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกที่ควบรวมกัน
(๓) สำเนารายงานการประชุมที่ได้มีมติของแต่ละองค์กรที่ควบรวม
(๔) สำเนารายชื่อคณะกรรมการขององค์กรเกษตรกรชุดใหม่
ข้อ ๑๙ เมื่อคณะอนุกรรมการมีมติอนุมัติให้องค์กรเกษตรกรควบรวมเข้าด้วยกัน
ให้ประกาศรายชื่อองค์กรเกษตรกรไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน หรือสำนักงานสาขา
ให้เจ้าหนี้ทั้งปวงขององค์กรเกษตรกรตามวรรคหนึ่ง
ยื่นคำคัดค้านต่อสำนักงาน หรือสำนักงานสาขาภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศ
ในกรณีที่ไม่มีผู้คัดค้านภายในกำหนด
ให้นายทะเบียนถอนชื่อองค์กรเกษตรกรออกจากทะเบียนองค์กรเกษตรกร และออกใบทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรใหม่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่สิ้นสุดคำคัดค้าน
ข้อ ๒๐ องค์กรเกษตรกรใหม่ย่อมรับไปทั้งสิทธิ
หน้าที่ และความรับผิดขององค์กรเกษตรกรเดิมที่ได้ควบรวมเข้ากันทั้งสิ้น
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่คณะอนุกรรมการมีมติไม่รับการควบรวมองค์กรเกษตรกร
ให้สำนักงานสาขาแจ้งมติที่ไม่อนุมัติพร้อมด้วยเหตุผลให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในเจ็ดวัน
และให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์มติต่อคณะกรรมการบริหารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๒ ให้นายทะเบียนเสนอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรเมื่อปรากฏหลักฐานชัดแจ้งอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้
(๑) องค์กรเกษตรกรมีจำนวนสมาชิกน้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อ ๗ (๑)
เกินกว่าหนึ่งร้อยยี่สิบวันติดต่อกัน
(๒) องค์กรเกษตรกรจงใจฝ่าฝืนระเบียบ ประกาศ
หรือเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
(๓)
องค์กรเกษตรกรไม่รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๔)
องค์กรเกษตรกรมีความประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรด้วยความประสงค์ใดก็ตาม
ข้อ ๒๓ ถ้าคณะอนุกรรมการมีมติให้เพิกถอนทะเบียนขององค์กรเกษตรกร
ให้นายทะเบียนแจ้งให้องค์กรเกษตรกรที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียนและเกษตรกรสมาชิกทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีประกาศให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๒๔ องค์กรเกษตรกรใดที่ไม่เห็นด้วยกับมติเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ให้ยื่นอุทธรณ์มติคณะอนุกรรมการดังกล่าวได้
การยื่นอุทธรณ์มติของคณะอนุกรรมการให้ยื่นต่อคณะกรรมการบริหารภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ
และให้คณะกรรมการบริหารวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารมีคำวินิจฉัยไม่เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ให้นายทะเบียนแจ้งคำวินิจฉัยต่อองค์กรเกษตรกรนั้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารมีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรไม่อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้นายทะเบียนประกาศการเพิกถอนทะเบียน ณ สำนักงาน สำนักงานสาขา
ที่ตั้งขององค์กรเกษตรกรและที่ว่าการอำเภอนั้น
ข้อ ๒๕ การเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามระเบียบนี้
ไม่มีผลกระทบกับความเป็นกลุ่มเกษตรกร องค์กรเกษตรกร หรือนิติบุคคลที่มีอยู่เดิมตามกฎหมายอื่น
ข้อ ๒๖ ให้องค์กรเกษตรกรตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
เป็นองค์กรเกษตรกรตามระเบียบนี้ต่อไป
ข้อ ๒๗ สมาชิกขององค์กรเกษตรกรใดที่ถูกเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรให้ดำเนินการสมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรอื่นให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่นายทะเบียนปิดประกาศ
ข้อ ๒๘ เกษตรกรที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
แต่ได้รับการจัดการหนี้ก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ ให้เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายแจ้งให้เกษตรกรทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ
เกษตรกรต้องดำเนินการเข้าเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากเกษตรกรดังกล่าวไม่ปฏิบัติตามวรรคสอง
ให้เลขาธิการหรือผู้ที่เลขาธิการมอบหมายดำเนินการยกเลิกสัญญาทั้งปวงที่มีต่อกองทุนและดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
พลตรี
สนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘ มกราคม ๒๕๕๕
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๙/๑๑ มกราคม ๒๕๕๕ |
638810 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเช่าซื้อ หรือซื้อทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไป จากกองทุน และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน พ.ศ. 2553
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการเช่าซื้อ หรือซื้อทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไป
จากกองทุน
และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์
วิธีการ
และเงื่อนไขในการเช่าซื้อหรือซื้อทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไปจากกองทุน
และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๗/๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๑ และมาตรา ๖๔
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเช่าซื้อ
หรือซื้อทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันคืนไปจากกองทุน
และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการซื้อ เช่าซื้อ
หรือเช่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจากกองทุน และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
เกษตรกร หมายความว่า
สมาชิกองค์กรเกษตรกรที่กองทุนรับภาระชำระหนี้แทน และทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ได้ตกเป็นของกองทุน
ทรัพย์สิน หมายความว่า
สังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรซึ่งได้นำมาเป็นหลักประกันการชำระหนี้และได้ตกมาเป็นของกองทุน
อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดิน
หรือสิ่งปลูกสร้าง และให้หมายความถึงส่วนควบของที่ดินตามกฎหมาย ที่เกษตรกรนำมาเป็นหลักประกันและได้ตกเป็นของกองทุน
ข้อ
๕
ให้ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ
๖ เกษตรกรที่ประสงค์จะเช่าซื้อ
ซื้อทรัพย์สิน หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ให้แสดงความประสงค์ตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกำหนดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ณ สำนักงานหรือสำนักงานสาขาซึ่งองค์กรเกษตรกรนั้นตั้งอยู่พร้อมเอกสารหลักฐาน
ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ
(๒)
รายละเอียดเกี่ยวกับการเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ข้อ
๗ กรณีที่เกษตรกรซึ่งเป็นเจ้าของเดิมไม่ประสงค์ที่จะเช่าซื้อ
ซื้อทรัพย์สิน หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ให้เกษตรกรกำหนดผู้มีสิทธิเช่าซื้อ
ซื้อทรัพย์สิน หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้จากบุคคลดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้สืบสันดาน
(๒)
บิดามารดา
(๓)
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(๔)
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
ในกรณีที่ไม่มีบุคคลตาม
(๑) (๒) (๓) และ (๔)
ให้นำทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์ไปให้เกษตรกรรายอื่นเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำหนด
ข้อ
๘ ในกรณีที่เกษตรกรตาย
ให้ทายาทโดยธรรมของเกษตรกรเป็นผู้รับสิทธิในการเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์แทน
ในกรณีไม่มีทายาทตามวรรคหนึ่ง
หรือมีแต่ไม่ประสงค์จะรับสิทธิในการเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์แทน ให้นำความในข้อ ๗ วรรคสอง มาใช้บังคับ
ข้อ
๙
การแสดงความประสงค์เพื่อขอใช้สิทธิในการเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของบุคคลตามข้อ ๗ และข้อ ๘
นอกจากต้องยื่นเอกสารและหลักฐานตามข้อ ๖ แล้ว
ให้ยื่นหนังสือแสดงความยินยอมจากเกษตรกร หรือสำเนาใบมรณบัตรของเกษตรกร แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๐
เมื่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขาได้รับคำขอตามข้อ ๖ แล้ว
ให้เสนอต่อคณะกรรมการบริหารเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน
และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วให้ทำสัญญาเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติ
กรณีที่เป็นคำขอตามข้อ
๘
ให้สำนักงานหรือสำนักงานสาขาเสนอความเห็นให้คณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด
เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารต่อไป
และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วให้ทำสัญญาเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับการอนุมัติ
สัญญาเช่าซื้อ
ซื้อทรัพย์สิน หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ให้เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ
๑๑ สัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
ให้กำหนดระยะเวลาเช่าซื้อได้ไม่เกินสามปี
เว้นแต่ผู้เช่าซื้อได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะรายจากคณะกรรมการบริหาร
ให้ทำสัญญาเกินกว่าสามปี
ข้อ
๑๒ สัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
ให้กำหนดระยะเวลาเช่าซื้อไม่น้อยกว่าห้าปีแต่ไม่เกินยี่สิบปี
ข้อ
๑๓ การทำสัญญาเช่าซื้อ ซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ให้จัดทำขึ้นโดยมีข้อความตรงกัน และให้คู่สัญญายึดถือฝ่ายละหนึ่งฉบับ
และให้เก็บสำเนาสัญญาไว้ที่สำนักงานสาขาและสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกรแห่งละหนึ่งฉบับ
ข้อ
๑๔
ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อประสงค์จะเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์เป็นการซื้อทรัพย์สินหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์
ให้กระทำโดยยื่นคำขอต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขา
และให้คณะกรรมการบริหารเป็นผู้อนุมัติ
การเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้เมื่อได้ทำสัญญามาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
เพื่อประโยชน์ในการกำหนดราคาทรัพย์สินหรือราคาอสังหาริมทรัพย์
ให้ค่าเช่าซื้อที่ได้ชำระไปแล้ว
ถือเป็นส่วนหนึ่งของราคาทรัพย์สินหรือราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องชำระตามสัญญา
ข้อ
๑๕
การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์
ให้กระทำได้เมื่อชำระราคาเสร็จสิ้นตามที่กำหนดในสัญญา
ข้อ
๑๖
คณะกรรมการบริหารมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน
เว้นแต่ได้รับการผ่อนผันจากคณะกรรมการบริหาร
ข้อ
๑๗
หากผู้เช่าซื้อไม่ประสงค์จะเช่าซื้อทรัพย์สินหรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ต่อไปให้บอกเลิกสัญญาได้
โดยทำเป็นหนังสือแจ้งต่อสำนักงานหรือสำนักงานสาขา
ข้อ
๑๘ เมื่อได้มีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
หรือเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ให้ผู้เช่าซื้อส่งมอบทรัพย์สินหรืออสังหาริมทรัพย์คืนกองทุน
ณ สำนักงานหรือสำนักงานสาขา
ในกรณีที่เป็นอสังหาริมทรัพย์
ให้ผู้เช่าซื้อพร้อมบริวารทั้งปวง ออกจากอสังหาริมทรัพย์ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญา
ข้อ
๑๙ ให้สัญญาเช่าซื้อ
หรือเช่าทรัพย์สินตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการซื้อ เช่าซื้อ
หรือเช่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันไปจากกองทุน และการดำเนินการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ของเกษตรกรที่ตกเป็นของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๗ ยังคงใช้บังคับต่อไปจนกว่าสัญญานั้นจะสิ้นสุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ปริยานุช/จัดทำ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง/หน้า ๑๙/๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ |
629551 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. 2553
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๗
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๓๗/๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร พ.ศ.
๒๕๔๗
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร แต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือน
ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากกองทุน
ข้อ
๕
ให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้
(๑)
ประธานกรรมการ ครั้งละ ๒,๕๐๐ บาท
(๒)
รองประธานกรรมการ ครั้งละ ๒,๒๕๐ บาท
(๓)
กรรมการ ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท
การประชุมในวันเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง
ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว
ข้อ
๖ เมื่อมีการประชุม
ให้กรรมการได้รับค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่
ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายครั้งตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายระเบียบนี้
หรือเท่าที่จ่ายจริงตามความที่กำหนดในข้อ ๗
ข้อ
๗
ในกรณีที่กรรมการมีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตจังหวัด อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย วันละ ๕๐๐ บาท
(๒)
ค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๖๐๐ บาท
กรณีที่เบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่ายให้เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินวันละ ๘๐๐ บาท
(๓)
ค่าพาหนะให้เบิกได้ดังนี้
(๓.๑)
กรณีใช้ยานพาหนะประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด
(๓.๒)
กรณียานพาหนะส่วนตัว
ให้สามารถเบิกเงินชดเชยในการใช้พาหนะตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุโลม
(๓.๓)
กรณีเดินทางโดยยานพาหนะรับจ้างระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก
หรือสถานที่ปฏิบัติงานประจำ
กับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปปฏิบัติงานให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุโลม
(๓.๔)
การเบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่าย
เนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(๓.๔.๑)
เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย
หากไม่จ่ายไม่อาจเดินทางถึงจุดหมายแต่ละช่วงที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ได้
(๓.๔.๒)
ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์
ข้อบังคับหรือหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
(๓.๔.๓)
ต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเนื้องานที่ปฏิบัติหน้าที่ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อ
๘ ในกรณีที่กรรมการ มีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ในต่างประเทศชั่วคราว ให้ได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเหมาจ่ายหรือเท่าที่จ่ายจริงตามบัญชีหมายเลข
๒ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๙ ให้ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายหมายเลข ๑ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
ในลักษณะเหมาจ่าย
๒.
บัญชีแนบท้ายหมายเลข ๒ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าพาหนะในการไปปฏิบัติหน้าที่ต่างประเทศชั่วคราว
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๙/๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
629549 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน พ.ศ. 2553
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๕๓
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน
ให้เกิดความเหมาะสมในการปฏิบัติงานและมีประสิทธิผลต่อกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลังจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ยกเลิก
(๑)
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน
พ.ศ. ๒๕๔๓
(๒)
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
และค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันของกองทุน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการบริหาร หมายความว่า
คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการจัดการหนี้ หมายความว่า
คณะกรรมการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ข้อ
๕ ค่าใช้จ่ายของกองทุน
แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
(๑)
การบริหารงานของสำนักงาน
(๒)
ตามภาระผูกพัน
(๓)
ให้องค์กรเกษตรกรกู้ยืมเงินเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๔)
ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ของเกษตรกรตามที่คณะกรรมการกำหนด
(๕)
การลงทุนหาผลประโยชน์อื่น
(๖)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ
๖
ค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของสำนักงาน แบ่งออกเป็นงบรายจ่าย ดังต่อไปนี้
๖.๑
งบบุคลากร หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคล ดังนี้
(๑)
เงินเดือน
(๒)
ค่าจ้างประจำ
(๓)
ค่าจ้างชั่วคราว
(๔)
เงินสงเคราะห์และสวัสดิการของพนักงานและลูกจ้าง
๖.๒
งบดำเนินงาน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการบริหารงานประจำ ได้แก่
รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าตอบแทน ค่าใช้สอย ค่าวัสดุ และค่าสาธารณูปโภค ดังนี้
๖.๒.๑
ค่าตอบแทน ได้แก่
(๑)
ค่าเบี้ยประชุม
(๒)
ค่าตอบแทนปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ
๖.๒.๒
ค่าใช้สอย ได้แก่
(๑)
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงานประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก
และค่าพาหนะของคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหาร และคณะกรรมการจัดการหนี้ คณะอนุกรรมการ
คณะทำงาน พนักงานและลูกจ้าง
(๒)
ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม อบรม หรือสัมมนา
(๓)
ค่าใช้จ่ายในการรับรองและพิธีการ
(๔)
ค่าใช้จ่ายในการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
(๕)
ค่าใช้จ่ายในการศึกษา วิจัย และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
(๖)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
๖.๒.๓
ค่าวัสดุ ได้แก่
(๑)
รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของ ซึ่งโดยสภาพเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป
แปรสภาพหรือไม่คงสภาพเดิม
(๒)
รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน
๕,๐๐๐ บาท รวมถึงรายจ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น
(๓)
รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท
(๔)
รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์ที่มีวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาท
ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ที่มีวงเงินไม่เกิน ๕๐,๐๐๐ บาท
(๕)
รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มีวงเงินไม่เกิน
๕,๐๐๐ บาท
(๖)
รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สิน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ
๖.๒.๔
ค่าสาธารณูปโภค ได้แก่
(๑)
ค่าไฟฟ้า
(๒)
ค่าน้ำประปา
(๓)
ค่าฤชา ค่าธรรมเนียม ค่าอากรแสตมป์ และค่าภาษีต่าง ๆ
(๔)
ค่าบริการสื่อสารและการโทรคมนาคม เช่น ค่าไปรษณีย์ ค่าดวงตราไปรษณีย์ ค่าธนาณัติ
ค่าโทรภาพ (ค่าโทรสาร) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้บริการระบบอินเตอร์เน็ต
ค่าเคเบิ้ลทีวี ค่าโทรศัพท์พื้นฐาน และค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
๖.๓
งบลงทุน หมายถึง รายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายเพื่อการลงทุน ได้แก่ รายจ่ายที่จ่ายในลักษณะค่าครุภัณฑ์
ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง
รวมถึงรายจ่ายที่กำหนดให้จ่ายจากรายจ่ายอื่นใดในลักษณะรายจ่ายดังกล่าว ดังนี้
๖.๓.๑
ค่าครุภัณฑ์ ได้แก่
(๑)
รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า
๕,๐๐๐ บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี
ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น
(๒)
รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า ๒๐,๐๐๐ บาท
(๓)
รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงครุภัณฑ์
รวมทั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มีวงเงินเกินกว่า ๕,๐๐๐ บาท
๖.๓.๒
ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ได้แก่
(๑)
รายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งต่าง ๆ
ที่ติดตรึงกับที่ดินหรือสิ่งก่อสร้าง เช่น อาคาร บ้านพัก เป็นต้น
(๒)
ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าหรือระบบประปา รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นการติดตั้งครั้งแรกในอาคารหรือสถานที่ปฏิบัติงาน
(๓)
รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติม หรือปรับปรุงที่ดิน
หรือสิ่งก่อสร้างที่มีวงเงินเกินกว่า ๕๐,๐๐๐ บาท เช่น ค่าถมดิน ค่าจัดสวน
เป็นต้น
๖.๔
งบค่าใช้จ่ายอื่น ได้แก่
(๑)
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน
(๒)
ค่าธรรมเนียมศาล และค่าใช้จ่ายอื่นในการดำเนินคดี
(๓)
ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ
๗
การจ่ายเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าใช้จ่ายตามภาระผูกพันตามข้อ
๕ และข้อ ๖
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการบริหารกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
เว้นแต่การจ่ายเงินตามข้อ ๖.๒.๑ (๑) ให้ดำเนินการ ดังนี้
๗.๑
ค่าเบี้ยประชุม ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการและคณะกรรมการบริหาร
ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
๗.๒
ค่าเบี้ยประชุม ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการจัดการหนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
๗.๓
ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งตามกฎหมายและคณะทำงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริหารหรือคณะกรรมการจัดการหนี้
ให้ได้รับเป็นรายครั้งตามอัตราของทางราชการโดยอนุโลม
ข้อ
๘ ให้ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รองนายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ปริยานุช/จัดทำ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๙ มิถุนายน ๒๕๕๓
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๙ ง/หน้า ๔/๒ มิถุนายน ๒๕๕๓ |
600020 | ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วย ค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และกรรมการบริหาร พ.ศ. 2552
| ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ว่าด้วย ค่าเบี้ยประชุม
ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่น
ในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ
และกรรมการบริหาร
พ.ศ. ๒๕๕๒
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ว่าด้วย ค่าเบี้ยประชุม ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และกรรมการบริหาร พ.ศ. ๒๕๔๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๒ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ว่าด้วย ค่าเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และกรรมการบริหาร พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วยค่าเบี้ยประชุม
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการ และกรรมการบริหาร พ.ศ. ๒๕๔๓
บรรดาระเบียบ
ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดที่ขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กรรมการ หมายความว่า
กรรมการในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
แต่ไม่รวมถึงกรรมการซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนอย่างอื่นในหน้าที่นั้น ๆ
โดยเฉพาะ
ข้อ
๕
ให้กรรมการได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ดังต่อไปนี้
(๑) ประธานกรรมการ ครั้งละ ๓,๗๕๐ บาท
(๒) รองประธานกรรมการ ครั้งละ ๓,๓๕๐ บาท
(๓) กรรมการ ครั้งละ ๓,๐๐๐ บาท
(๔) ประธานกรรมการบริหาร ครั้งละ ๒,๕๐๐ บาท
(๕) รองประธานกรรมการบริหาร ครั้งละ ๒,๒๕๐ บาท
(๖) กรรมการบริหาร ครั้งละ ๒,๐๐๐ บาท
การประชุมในวันเดียวกันมากกว่าหนึ่งครั้ง
ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงครั้งเดียว
ข้อ
๖
เมื่อมีการประชุมกรรมการเว้นแต่กรรมการที่แต่งตั้งตามกฎหมายให้ได้รับค่าพาหนะ
ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่
ในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายครั้ง ตามบัญชีหมายเลข ๑ ท้ายระเบียบนี้
หรือเท่าที่จ่ายจริงตามความที่กำหนดในข้อ ๗
ข้อ
๗
ในกรณีที่กรรมการมีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขตจังหวัด อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ให้ได้รับค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายอย่างอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย วันละ ๕๐๐ บาท
(๒) ค่าเช่าที่พักเท่าที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินวันละ ๑,๖๐๐
บาท กรณีที่เบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้เบิกจ่ายได้ในอัตราไม่เกินวันละ ๘๐๐ บาท
(๓) ค่าพาหนะให้เบิกได้ดังนี้
(๓.๑) กรณีใช้ยานพาหนะประจำทาง ให้เบิกค่าพาหนะเท่าที่จ่ายจริงโดยประหยัด
(๓.๒) กรณีใช้ยานพาหนะส่วนตัว ให้สามารถเบิกเงินชดเชยในการใช้พาหนะตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุโลม
(๓.๓) กรณีเดินทางโดยยานพาหนะรับจ้างระหว่างสถานที่อยู่ ที่พัก
หรือสถานที่ปฏิบัติงานประจำกับสถานียานพาหนะประจำทางหรือสถานที่จัดพาหนะที่ต้องใช้ในการเดินทางไปปฏิบัติงานให้เบิกค่าพาหนะรับจ้างได้เท่าที่จ่ายจริง
แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยอนุโลม
(๓.๔) การเบิกค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่าย
เนื่องในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังนี้
(๓.๔.๑) เป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่าย
หากไม่จ่ายไม่อาจเดินทางถึงจุดหมายแต่ละช่วงที่เดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ได้
(๓.๔.๒) ต้องไม่เป็นค่าใช้จ่ายที่มีกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ ข้อบังคับ
หรือหนังสือสั่งการของกระทรวงการคลังกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
(๓.๔.๓)
ต้องไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับเนื้องานที่ไปปฏิบัติหน้าที่ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อ
๘
ในกรณีที่กรรมการมีความจำเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ในต่างประเทศชั่วคราว ให้ได้รับเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ
และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติหน้าที่ในลักษณะเหมาจ่ายหรือเท่าที่จ่ายจริงตามบัญชีหมายเลข
๒ ท้ายระเบียบนี้
ข้อ
๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
บัญชีแนบท้ายหมายเลข ๑ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
ค่าพาหนะและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ในลักษณะเหมาจ่าย
๒.
บัญชีแนบท้ายหมายเลข ๒ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก
และค่าพาหนะในการไปปฏิบัติหน้าที่ต่างประเทศชั่วคราว
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/จัดทำ
๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๓๓ ง/หน้า ๑/๒ มีนาคม ๒๕๕๒ |
312779 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการพิจารณาแผนและโครงการ การจ่ายเงิน การใช้คืนเงินกองทุนและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2543 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการพิจารณาแผนและโครงการ
การจ่ายเงิน การใช้คืนเงินกองทุน
และการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน
และโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๓[๑]
เพื่อให้การบริหารเงินกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๖) และ (๗)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการพิจารณาแผนและโครงการ
การจ่ายเงิน
การใช้คืนเงินกองทุนและการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒
ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ให้เลขาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์ตลอดจนคำสั่งต่าง
ๆ ที่ไม่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๔
ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความถึง กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการ หมายความถึง
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
คณะกรรมการบริหาร หมายความถึง คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
เลขาธิการ หมายความถึง
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
สำนักงาน หมายความถึง
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พนักงาน หมายความถึง
ผู้ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ
ผู้ขอรับการสนับสนุน หมายความถึง
องค์กรเกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงาน
ผู้ให้การสนับสนุน หมายความถึง
กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ผู้มีอำนาจ หมายความถึง คณะกรรมการ
คณะกรรมการบริหารและเลขาธิการ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายตามระเบียบที่กำหนด
เงินสนับสนุน หมายความถึง เงินของกองทุนที่สนับสนุนให้แก่องค์กรเกษตรกรซึ่งมี
๒ ประเภท คือ เงินอุดหนุนและเงินให้กู้ยืม
สำนักงานใหญ่ หมายความถึง
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
สำนักงานสาขา หมายความถึง
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ ที่อื่นใดซึ่งตั้งขึ้นตามความจำเป็น
แผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หมายความถึง
แผนและโครงการที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้แก่
(๑)
ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
และการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร
(๒)
ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร
(๓)
พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรม
เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร
(๔)
พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร
หมวด
๑
การเสนอแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ข้อ ๕
องค์กรเกษตรกรที่จะขอรับการสนับสนุนจากกองทุนตามระเบียบนี้ ให้เสนอแผนและโครงการต่อสำนักงานสาขา
สำนักงานใหญ่ ตามหลักเกณฑ์และแบบฟอร์มที่คณะกรรมการบริหารเป็นผู้กำหนด
ในการเสนอแผนและโครงการ ให้องค์กรเกษตรกรสามารถเสนอขอรับการสนับสนุนได้หลายแผนและโครงการ
แต่เกษตรกรสมาชิกขององค์กรเกษตรกรผู้รับการสนับสนุนจะได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมมากกว่าหนึ่งโครงการในขณะเดียวกันไม่ได้
ข้อ ๖
แผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร อย่างน้อยต้องระบุข้อความ ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อองค์กรเกษตรกร
(๒) สถานที่ตั้งขององค์กรเกษตรกร
(๓) รายชื่อคณะกรรมการขององค์กรเกษตรกร
(๔) หมายเลขทะเบียนขององค์กรเกษตรกร
(๕)
รายชื่อของเกษตรกรทั้งหมดขององค์กรเกษตรกรในส่วนที่เสนอแผนและโครงการที่ขอรับการสนับสนุน
(๖) เหตุผลที่เสนอแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๗) รายละเอียดแห่งสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันต่าง ๆ
ขององค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคลและเกษตรกรแต่ละคนที่เป็นสมาชิกขององค์กรเกษตรกรในขณะที่ยื่นแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๘) รายละเอียดพอสังเขปของโครงการแต่ละโครงการ
(๙) หลักการ วิธีดำเนินการ
และขั้นตอนของการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๑๐)
ระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
(๑๑)
รายชื่อผู้ให้การสนับสนุนแผนหรือโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พร้อมรายละเอียดในการสนับสนุน (ถ้ามี)
(๑๒) งบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน
(๑๓) แผนการใช้คืนเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
หมวด
๒
การพิจารณาอนุมัติแผนและโครงการ
ข้อ ๗
ในการพิจารณาแผนและโครงการขององค์กรเกษตรกรให้พนักงานของกองทุนตรวจสอบแผนและโครงการก่อนนำเสนอผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติต่อไป
ข้อ ๘
ให้เลขาธิการ หรือคณะกรรมการบริหาร เป็นผู้อนุมัติเงินสนับสนุนตามระเบียบนี้
การอนุมัติอาจมีการมอบอำนาจให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๙
แผนและโครงการที่ได้รับการอนุมัติจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแผนหรือโครงการที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๑๐
แนวทางในการพิจารณาอนุมัติแผนและโครงการ อาจแบ่งประเภทการอนุมัติเป็น ๔
แนวทางดังต่อไปนี้
(๑)
อนุมัติตามแผนและโครงการที่องค์กรเกษตรกรขอรับการสนับสนุน
(๒)
อนุมัติตามแผนและโครงการโดยกำหนดเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดให้ปฏิบัติ
(๓) อนุมัติในหลักการ โดยกำหนดเงื่อนไขให้ดำเนินการตามที่เห็นสมควร
แล้วจึงนำเสนอแผนและโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติอีกครั้ง
(๔) ให้การสนับสนุนเป็นเงินอุดหนุนแก่องค์กรเกษตรกร
เพื่อนำไปพัฒนาแผนและโครงการให้สมบูรณ์ขึ้น
แล้วจึงนำเสนอแผนและโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติอีกครั้ง
ทั้งนี้ ในการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรให้สำนักงานแจ้งผลการพิจารณาให้องค์กรเกษตรกรทราบภายใน
๖๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับแผนและโครงการนั้น
หมวด
๓
การจ่ายเงินสนับสนุนของกองทุนตามแผนและโครงการ
ข้อ ๑๑
กรอบและเงื่อนไขการสนับสนุนเงินตามแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรต้องเป็นการสนับสนุน
๒ ประเภท ดังนี้
(๑) เงินอุดหนุน (เงินให้เปล่า) คิดเป็นร้อยละ ๒๕
ของเงินสนับสนุนของกองทุน
(๒) เงินกู้ยืม คิดเป็นร้อยละ ๗๕ ของเงินสนับสนุนของกองทุน
ข้อ ๑๒
เงินอุดหนุนหมายถึงเงินให้เปล่าเพื่อใช้ในการพัฒนาระบบสนับสนุนและระบบบริหารแก่องค์กรเกษตรกรไม่เกินร้อยละ
๑๐ ของวงเงินที่จัดสรรสำหรับเงินอุดหนุน
นอกนั้นจัดสรรให้เครือข่ายขององค์กรเกษตรกร
ข้อ ๑๓
ให้เรียกเก็บค่าบริการเงินกู้ยืมตามเงินที่จ่ายให้องค์กรเกษตรกรและการคิดค่าบริการให้เริ่มนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่องค์กรเกษตรกรรับเงินกู้ยืมจนถึงวันที่องค์กรเกษตรกรได้ใช้คืนเงินกู้ยืมทั้งหมดแก่กองทุน
ข้อ ๑๔
อัตราค่าบริการที่ให้กู้ยืมแก่องค์กรเกษตรกรคิดร้อยละ ๑ ต่อปี
เพื่อจัดตั้งเป็น กองทุนพัฒนาสถาบันเกษตรกรของจังหวัด
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด
แต่อัตราค่าบริการของเงินกู้ยืมที่องค์กรเกษตรกรนำไปให้เกษตรกรสมาชิกกู้ยืม
ให้คิดในอัตราไม่เกินร้อยละ ๕ ต่อปี
ซึ่งส่วนต่างของอัตราค่าบริการนี้ให้องค์กรเกษตรกรจัดตั้ง กองทุนพัฒนาศักยภาพขององค์กรเกษตรกร
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพขององค์กรเกษตรกร
สำหรับในกรณีที่สมาชิกขององค์กรเกษตรกรเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามให้คิดค่าบริการจากผลกำไรจากกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนในอัตราร้อยละ
๒๐ ต่อปี ของผลกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปจัดตั้ง กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของจังหวัด
และจัดตั้ง กองทุนพัฒนาศักยภาพขององค์กรเกษตรกร ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ข้อ ๑๕
หลักประกันการกู้ยืมเงิน แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๑) บุคคลค้ำประกัน
โดยให้สมาชิกขององค์กรเกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนค้ำประกันเงินที่ขอกู้ยืมร่วมกันสำหรับองค์กรเกษตรกรที่ไม่เป็นนิติบุคคลหรือตามระเบียบข้อบังคับขององค์กรเกษตรกรที่เป็นนิติบุคคล
(๒) ทรัพย์สินอันเกิดจากการใช้เงินกู้ยืมจากกองทุน
มาผูกพันเป็นประกัน
ข้อ ๑๖
เมื่อกองทุนได้อนุมัติแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรขององค์กรเกษตรกรแล้ว
ให้องค์กรเกษตรกรเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ไว้ ณ
ธนาคารตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด โดยเปิดบัญชีเป็น ๒ ประเภท คือ
ประเภทเงินอุดหนุน ชื่อ บัญชีเงินอุดหนุนกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของ......................
และประเภทเงินให้กู้ยืม ชื่อ บัญชีเงินให้กู้ยืมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของ......................
แล้วแจ้งเลขบัญชีให้สำนักงานทราบเพื่อจะได้จ่ายโอนเงินเข้าบัญชีดังกล่าวตามแผนการใช้เงินที่ได้รับการอนุมัติ
ภายหลังจากที่ได้มีการลงนามในสัญญาการสนับสนุนแผนและโครงการกับสำนักงานเรียบร้อยแล้ว
ข้อ ๑๗
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินงานของโครงการ
ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนจัดทำรายละเอียดเสนอสำนักงานเพื่อให้เลขาธิการหรือคณะกรรมการบริหารพิจารณาอนุมัติก่อนจึงจะดำเนินการได้
หมวด ๔
การใช้คืนเงินกู้ยืม
ข้อ ๑๘
ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องใช้คืนเงินกู้ยืมแก่กองทุน ณ
สำนักงานธนาคารที่เปิดบัญชี ในกรณีที่ไม่สามารถใช้คืนเงินต้นได้ให้ชำระค่าบริการ
สำหรับเงินต้นที่คืนกลับมาให้เข้าบัญชี กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของจังหวัด
เพื่อใช้สนับสนุนเป็นเงินกู้ยืมแก่แผนและโครงการอื่นต่อไป
ข้อ ๑๙
ผู้ขอรับการสนับสนุนมีสิทธิใช้คืนเงินกู้ยืมตามระเบียบนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้
ทั้งนี้
สำนักงานสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกเงินที่ขอกู้ยืมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนคืนเมื่อใดก็ได้
โดยแจ้งเป็นหนังสือในองค์กรเกษตรกรผู้ขอรับการสนับสนุนทราบ
โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจ
ข้อ ๒๐
ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย หรือความจำเป็นเกิดขึ้น
อันทำให้ผู้ขอรับการสนับสนุนไม่สามารถใช้คืนเงินต้นเมื่อครบกำหนดใช้คืนตามสัญญาได้
ให้ผู้ขอรับการสนับสนุนยื่นคำร้องขอผ่อนผันขยายกำหนดเวลาการใช้คืนเงินกู้ยืมต่อสำนักงานเสนอต่อผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณาผ่อนผันการใช้คืนเงินกู้ยืม
และ/หรือระงับการคิดค่าบริการ หรือตามที่เห็นสมควร แล้วแต่กรณี
ข้อ ๒๑
ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ เลขาธิการหรือคณะกรรมการบริหารมีอำนาจเรียกคืนเงินกู้ยืมตามระเบียบนี้
ผู้ขอรับการสนับสนุนต้องใช้คืนเงินต้นพร้อมค่าบริการแก่กองทุนให้เสร็จสิ้น
แม้ยังไม่ครบกำหนดสัญญา
(๑)
เมื่อผู้ขอรับการสนับสนุนพ้นจากการสนับสนุนตามระเบียบนี้ไม่ว่าเพราะเหตุใด ๆ
(๒) เมื่อผู้ขอรับการสนับสนุนใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนและโครงการ
(๓)
เมื่องานตามโครงการที่ใช้เงินจากกองทุนไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา
เว้นแต่ผู้ขอรับการสนับสนุนได้รับการผ่อนผันจากผู้มีอำนาจ
(๔)
เมื่อผู้ขอรับการสนับสนุนไม่ใช้คืนเงินรายงวดตามกำหนดหรือไม่ใช้คืนเงินต้นและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาที่กำหนด
เว้นแต่จะได้รับการผ่อนผันจากผู้มีอำนาจ
หมวด
๔
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
ข้อ ๒๒
เมื่อผู้ขอรับการสนับสนุนได้เบิกจ่ายเงินจากกองทุนแล้ว
ให้คณะกรรมการขององค์กรเกษตรกรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดทำรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนและโครงการ
ตามแบบที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ตลอดจนให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการติดตามและประเมินผลของพนักงาน
ข้อ ๒๓
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสนับสนุนไม่รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามข้อ ๒๒
ให้เลขาธิการและคณะกรรมการบริหารมีอำนาจสั่งระงับการจ่ายเงินงวดถัดไปของแผนและโครงการไว้ชั่วคราวจนกว่าผู้ขอรับการสนับสนุนจะรายงานผลการดำเนินงานตามปกติ
จึงจะพิจารณาจ่ายเงินงวดต่อไป
ข้อ ๒๔
สำนักงานจะต้องทำการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนและโครงการตลอดระยะเวลาของแผนและโครงการ
และรายงานให้เลขาธิการหรือคณะกรรมการบริหารทราบเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไข
และให้ข้อเสนอแนะ หรือยกเลิกการดำเนินงานตามแผนและโครงการตามที่เห็นสมควร
ข้อ ๒๕
ในกรณีที่การดำเนินงานของแผนและโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนปฏิบัติการโดยเหตุสุดวิสัย
ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม
ข้อ ๒๖
ในกรณีที่การดำเนินงานของแผนและโครงการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และแผนปฏิบัติการโดยเหตุอื่น
ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไขหรืออาจสั่งระงับ
หรือยกเลิกโครงการได้ตามขอบเขตอำนาจอนุมัติ
หมวด
๖
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๗
ในกรณีที่คณะกรรมการบริหารพิจารณาแล้วไม่อนุมัติแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของผู้ขอรับการสนับสนุนให้แจ้งผลโดยย่อ
และให้ผู้ขอรับการสนับสนุนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน ๖๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๒๘
ในกรณีที่เลขาธิการพิจารณาแล้วไม่อนุมัติแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรของผู้ขอรับการสนับสนุนให้แจ้งผลโดยย่อ
และให้ผู้ขอรับการสนับสนุนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการบริหารภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย
ให้คณะกรรมการบริหารวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน ๖๐
วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการบริหารให้เป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
อัมพิกา/แก้ไข
๑ ตุลาคม ๒๕๔๔
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนพิเศษ ๒๕ ง/หน้า ๓๑/๑๙
มีนาคม ๒๕๔๔ |
322978 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการสรรหาและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2542 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการสรรหาและแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
เพื่อให้การสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและโปร่งใส
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒
คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเห็นควรกำหนดแนวทางการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ
จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ในการสรรหาบุคคลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นคณะหนึ่ง จำนวน ๗ คน
ประกอบด้วย ผู้แทนเกษตรกรภาคละ ๑ คน รวม ๔ คน ผู้แทนภาคราชการ ๒ คน
และผู้แทนจากผู้ทรงคุณวุฒิ ๑ คน
ก่อนครบกำหนดวาระของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า ๖๐
วัน ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งอนุกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ ๒ ในการสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้บุคคลดังต่อไปนี้มีสิทธิเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ
๒.๑ ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอชื่อตนเอง
๒.๒ องค์กรเกษตรกร
๒.๓ หน่วยงานตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป
ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒.๔ อนุกรรมการสรรหาในกรณีที่บุคคลตามข้อ ๒.๑ ข้อ ๒.๒
และข้อ ๒.๓ เสนอชื่อไม่ครบจำนวนที่กำหนดไว้ในข้อ ๓
ข้อ ๓
ให้คณะอนุกรรมการสรรหามีหน้าที่พิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิที่ได้รับการเสนอชื่อตามข้อ
๒ ให้เหลือผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสามเท่าของจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๔
ให้คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิตามที่คณะอนุกรรมการสรรหาเสนอ
ให้เหลือเพียงผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคราชการ ๕ คน และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน ๖ คน
ข้อ ๕
การพิจารณาคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐
วันนับแต่วันแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหา
หลังจากนั้นให้เลขาธิการนำรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิเสนอให้คณะอนุกรรมการรับรองเป็นครั้งสุดท้ายภายใน
๓๐ วัน แล้วนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแต่งตั้งต่อไป
ข้อ ๖
ในกรณีที่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในข้อ ๒ และข้อ
๔ เห็นว่าการพิจารณาของคณะอนุกรรมการสรรหาหรือคณะกรรมการเป็นไปโดยมิชอบ ให้อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการ
ภายใน ๓๐ วัน ให้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ในกรณีที่บุคคลใดในวรรคแรกเห็นว่าการพิจารณาของคณะกรรมการ
เป็นไปโดยมิชอบ ให้อุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะรัฐมนตรีก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๓๗/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
311712 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร พ.ศ. 2542 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒[๑]
เพื่อให้การบริหารงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรเป็นไปโดยเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ (๕) และมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒ คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จึงวางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
ว่าด้วยการรับขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๒ ให้ใช้ระเบียบนี้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้
หมวด
๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ ๔ บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใด
ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้
สำนักงานใหญ่ หมายความถึง
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
สำนักงานสาขา หมายความถึง
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ ที่อื่นใดซึ่งตั้งขึ้นตามความจำเป็น
เจ้าหน้าที่ หมายความถึง ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกร
ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้รักษาการตามระเบียบนี้
นายทะเบียน หมายความถึง
นายทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามระเบียบนี้และให้หมายความรวมถึง
ผู้ช่วยนายทะเบียนที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายทะเบียน เพื่อให้ปฏิบัติตามระเบียบนี้ด้วย
ข้อ ๖
ในกรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามข้อหนึ่งข้อใดในระเบียบนี้ได้
ให้ขอทำความตกลงกับผู้รักษาการตามข้อ ๓
หมวด
๒
การยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๗
ในทุกปีให้คณะกรรมการบริหารประกาศให้มีการขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามระเบียบนี้
และให้ประกาศผ่านทางสื่อมวลชน
และปิดประกาศกำหนดระยะเวลาการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรในพื้นที่นั้น ณ
สำนักงานใหญ่ สำนักงานสาขา หรือตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
ข้อ ๘
องค์กรที่มีสิทธิ์ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรต้องเป็น
(๑) กลุ่มหรือคณะเกษตรกรที่มารวมกัน
โดยเป็นนิติบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
(๒) กลุ่มหรือคณะเกษตรกรที่มารวมกันไม่น้อยกว่า ๕๐ คน
โดยไม่เป็นนิติบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมร่วมกัน
ข้อ ๙
เกษตรกรจะเป็นสมาชิกองค์กรในขณะเดียวกันได้เพียงแห่งเดียว
ข้อ ๑๐ ให้คณะกรรมการดำเนินการขององค์กรตามข้อ ๘
ที่ประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรจำนวนอย่างน้อย ๓ คน
ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ ณ
สถานที่และภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารกำหนดตามแบบที่สำนักงานกำหนดพร้อมด้วยสำเนา
๓ ชุด และหลักฐานประกอบ
ข้อ ๑๑ หลักฐานประกอบตามข้อ ๑๐ มีดังต่อไปนี้
(๑)
ในกรณีที่องค์กรยื่นคำขอให้องค์กรเกษตรโดยเป็นนิติบุคคลให้มีหลักฐานประกอบคำขอ
ดังต่อไปนี้
(๑.๑) สำเนาทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์
สำเนาใบอนุญาตให้จัดตั้ง และสำเนาเอกสารแสดงการขอทะเบียนเป็นนิติบุคคลในกรณีองค์กรที่เป็นสมาคมและมูลนิธิ
(๑.๒) สำเนาเอกสารแสดง วัตถุประสงค์ ระเบียบ หรือข้อบังคับ
(๑.๓) สำเนาบัญชีรายชื่อคณะกรรมการดำเนินการปัจจุบัน
(๑.๔) ทะเบียนสมาชิก ตามแบบที่สำนักงานกองทุนกำหนด
(๑.๕) สำเนาลายมือชื่อของสมาชิกทุกคนในองค์กรเกษตรกร
(๒) ในกรณีที่องค์กรที่ยื่นคำขอเป็นองค์กรเกษตรกรโดยไม่เป็นนิติบุคคลให้มีหลักฐานประกอบคำขอดังต่อไปนี้
(๒.๑) สำเนาเอกสารแสดงประวัติโดยย่อขององค์กร
และรายชื่อกรรมการบริหารขององค์กรในปัจจุบัน
(๒.๒) สำเนาเอกสารแสดงวัตถุประสงค์ ระเบียบ
หรือข้อบังคับขององค์กร
(๒.๓) สำเนาเอกสารแสดงกิจกรรมที่ทำร่วมกันที่ผ่านมาขององค์กร
(๒.๔) ทะเบียนสมาชิก ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
(๒.๕) สำเนาลายมือชื่อของสมาชิกทุกคนในองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๑๒ ให้เลขาธิการเป็นนายทะเบียนองค์กรเกษตรกร
และให้มีอำนาจแต่งตั้งผู้ช่วยนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้ได้ตามที่เห็นสมควร
หมวด
๓
การตรวจสอบคุณสมบัติผู้มาขอขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๑๓
เกษตรกรสามารถขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรได้องค์กรเดียว
ข้อ ๑๔
ผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกองค์กรเกษตรกรจะต้องเป็นเกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๔๒
ข้อ ๑๕ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรแล้ว
ให้ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการบริหาร
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง
หากมีข้อบกพร่องใดในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขให้ถูกต้องด้วย
ข้อ ๑๖
เมื่อคณะกรรมการบริหารได้รับคำขอพร้อมเอกสารประกอบจากเจ้าหน้าที่แล้ว
ให้พิจารณาองค์กรเกษตรกรที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกรให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕
วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอขึ้นทะเบียน และให้ประกาศรายชื่อองค์กรเกษตรกรที่ขอขึ้นทะเบียน
ณ สำนักงานใหญ่ หรือสำนักงานสาขาตามที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
หมวด
๔
การรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๑๗
นับแต่วันที่คณะกรรมการประกาศรายชื่อตามข้อ ๑๖
ให้คณะกรรมการบริหารเสนอชื่อผู้มีสิทธิได้รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรต่อคณะกรรมการ
เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบรับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกรเป็นองค์กรเกษตรกร ตามมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. ๒๕๔๒
องค์กรใดเมื่อปรากฏหลักฐานโดยแน่ชัดอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ
๑๙ จะไม่ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นองค์กรเกษตรกร
และให้คณะกรรมการบริหารแจ้งให้องค์กรเกษตรกรนั้นทราบภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่มีคำสั่ง
องค์กรที่ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นองค์กรเกษตรกรมีสิทธิอุทธรณ์
โดยทำหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการภายใน ๓๐วัน
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ ๑๘ ให้นายทะเบียนออกเอกสารให้แก่องค์กรที่ได้รับขึ้นทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ซึ่งคณะกรรมการได้ให้ความเห็นชอบตามข้อ ๑๗ แล้ว
หมวด
๕
การเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
ข้อ ๑๙
ให้คณะกรรมการบริหารเสนอรายงานต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาเพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกร
เมื่อปรากฏหลักฐานโดยชัดเจนแน่ชัดอย่างหนึ่งอย่างใดต่อไปนี้
(๑) องค์กรเกษตรกรขาดคุณสมบัติตามข้อ ๘ และข้อ ๙
โดยมิได้แจ้งให้คณะกรรมการของกองทุนทราบเป็นการล่วงหน้า
กรณีที่องค์กรเกษตรกรขาดคุณสมบัติตามข้อ ๘ และข้อ ๙
ให้แจ้งให้คณะกรรมการกองทุนทราบภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ขาดคุณสมบัติ
(๒)
องค์กรเกษตรกรจงใจฝ่าฝืนระเบียบหรือประกาศที่คณะกรรมการบริหารกำหนด
(๓)
องค์กรเกษตรกรมีความประสงค์ที่จะขอให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรด้วยความประสงค์ใดก็ตาม
(๔) องค์กรเกษตรกรทำให้เกิดความเสื่อมเสียซึ่งชื่อเสียงแก่กองทุนไม่ว่าโดยกรณีใด
ๆ ก็ตาม
ข้อ ๒๐
ถ้าคณะกรรมการบริหารมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนขององค์กรเกษตรกรรายใดแล้ว
ให้คณะกรรมการบริหารแจ้งให้องค์กรเกษตรกรที่ถูกสั่งเพิกถอนทะเบียนทราบ ภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าว
หมวด
๖
การอุทธรณ์
ข้อ ๒๑ ในกรณีที่องค์กรเกษตรกรที่ถูกสั่งให้เพิกถอนทะเบียนองค์กรเกษตรกรตามข้อ
๑๙ ตามคำสั่งของคณะกรรมการบริหาร องค์กรใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว
ให้ยื่นอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
การอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ทุเลาผลบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการบริหาร
เว้นแต่คณะกรรมการจะสั่งเป็นอย่างอื่น
ข้อ ๒๒
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน
นับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี
ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
สถาพร/ปรับปรุง
๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
พัชรินทร์/จัดทำ
๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗/ตอนพิเศษ ๑๕ ง/หน้า ๓๙/๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ |
738103 | พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2558 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้ ณ
วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
เป็นปีที่ ๗๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนยุติธรรม
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า
กองทุนยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมวด ๑
กองทุนยุติธรรม
มาตรา ๕
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เรียกว่า กองทุนยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
มาตรา ๖ ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ
ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๕ และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึง
(๑) ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพยสิทธิต่าง ๆ
(๒) ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ
(๓)
กระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
มาตรา ๗ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน
ดังต่อไปนี้
(๑) เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาตามมาตรา ๔๐
(๒) เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๓) เงินที่ได้รับตามมาตรา ๘
(๔) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน
(๕) ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๖) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด
เงินและทรัพย์สินของกองทุนไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๘
ให้กองทุนมีรายได้จากเงินที่ศาลสั่งบังคับกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญา ทั้งนี้ ในอัตราไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนเงินเฉพาะส่วนที่นำส่งคลังโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๙ เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
(๒) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
(๓) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๔) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๕) การดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน
และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน
มาตรา ๑๐
ในกิจการของกองทุนที่เกี่ยวข้องกับบุคคลภายนอก ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แทนกองทุน
เพื่อการนี้ ปลัดกระทรวงยุติธรรมจะมอบหมายให้บุคคลใดปฏิบัติงานในเรื่องใดแทนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๑
ให้จัดตั้งสำนักงานกองทุนยุติธรรมขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้กับกองทุน
คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน
หรือบุคคลที่คณะกรรมการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้
รวมทั้งให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) รับคำขอรับความช่วยเหลือตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) เสนอความเห็นประกอบคำขอตาม (๑)
เพื่อเสนอให้คณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องพิจารณา
(๓) ประสานงานและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ
และหน่วยงานเอกชนในการดำเนินงานของกองทุน
(๔) รับเงิน จ่ายเงิน
และเก็บรักษาเงินของกองทุนตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๕) พัฒนาระบบ รูปแบบ วิธีการ และการให้บริการของกองทุน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุน
(๖) เก็บ รวบรวม วิเคราะห์
และวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุน
(๗)
ปฏิบัติการอื่นหรือกระทำกิจการตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการ
มาตรา ๑๒
ในการดำเนินงานของกองทุนในจังหวัดอื่นที่มิใช่กรุงเทพมหานคร ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้หน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้กับกองทุนสำหรับเขตจังหวัดนั้น
หมวด ๒
คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
มาตรา ๑๓ ให้มีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม
เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม
ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสภาทนายความ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้
ความสามารถ
และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจำนวนหกคน
เป็นกรรมการ
ให้รองปลัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นกรรมการและเลขานุการ
และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ของสำนักงานกองทุนยุติธรรมจำนวนสองคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
มาตรา ๑๔
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์
(๓) ไม่เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๕) ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่น กรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งบริหารในพรรคการเมือง
ที่ปรึกษาพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
(๖) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกพักงาน
หรือถูกสั่งให้ออกจากราชการหรือออกจากงานไว้ก่อน
(๗) ไม่เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐ
หรือรัฐวิสาหกิจเพราะกระทำผิดวินัย
(๘) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๙)
ไม่เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ
มาตรา ๑๕
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ภายในหกสิบวัน
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่
ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๔
(๔) รัฐมนตรีให้ออกจากตำแหน่งเพราะบกพร่องหรือไม่สุจริตต่อหน้าที่
มาตรา ๑๗
ในกรณีที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนตำแหน่งที่ว่างภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งว่างลง
และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๘ คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางในการดำเนินงานของกองทุน
(๒) ออกระเบียบต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓)
แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๔) กำกับดูแล ติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๕) พิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานประจำปี
(๖)
ออกประกาศเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๗) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการหรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๙
การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานและรองประธานกรรมการไม่มาประชุมหรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๐
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือคณะหนึ่งหรือหลายคณะ
เพื่อมีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ยื่นคำขอในทุกภารกิจของกองทุนทั่วราชอาณาจักรตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะกรรมการทุกรอบสามเดือน
มาตรา ๒๑
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดขึ้นทุกจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร
เพื่อมีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ยื่นคำขอจากกองทุนเฉพาะกรณีการให้ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีและการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้หัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมซึ่งได้รับมอบหมายตามมาตรา
๑๒ ทำหน้าที่เป็นอนุกรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด
ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการ ตามมาตรา ๒๐ วรรคสอง
มาตรา ๒๒
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดพิจารณาได้
ให้ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด
แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาคำขอ และรายงานให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด
แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว
ในการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือการขอปล่อยชั่วคราว
หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถเสนอคำขอรับความช่วยเหลือการขอปล่อยชั่วคราวให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดพิจารณาได้
คณะอนุกรรมการดังกล่าวอาจมอบหมายให้อนุกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้พิจารณาคำขอก็ได้
และรายงานให้คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด
แล้วแต่กรณี ทราบโดยเร็ว ทั้งนี้
ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๓ ให้นำบทบัญญัติในมาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ มาตรา
๑๖ มาตรา ๑๗ และมาตรา ๑๙ มาใช้บังคับกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม การดำรงตำแหน่ง
การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือและคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดโดยอนุโลม
มาตรา ๒๔
ให้กรรมการและอนุกรรมการได้รับเบี้ยประชุมตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
มาตรา ๒๕ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
หมวด ๓
การขอรับความช่วยเหลือจากกองทุน
มาตรา ๒๖
บุคคลอาจขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนในการดำเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราว การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ตลอดจนการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำขอ แบบคำขอ
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๗ การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
ประกอบด้วยค่าจ้างทนายความ ค่าฤชาธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๒๘
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
และการให้ความช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑) พฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๒) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๓) โอกาสที่ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับการช่วยเหลือหรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่น
มาตรา ๒๙
การพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้คำนึงถึงว่าหากได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้ว
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุภยันตรายประการใดหรือไม่
มาตรา ๓๐
การขอปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย
กองทุนอาจมอบอำนาจให้แก่พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวและเป็นผู้ลงนามในสัญญาประกันก็ได้
คำร้องขอปล่อยชั่วคราวต้องแนบหนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุน
สำเนาหนังสือสัญญาของผู้ต้องหาหรือจำเลย
และสำเนาหนังสือสัญญาค้ำประกันตามวรรคสี่ไปด้วย
หนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุนต้องระบุว่า
หากผู้ต้องหาหรือจำเลยผิดสัญญาประกันและถูกปรับเป็นเงินเท่าใด
กองทุนจะเป็นผู้ชำระแทน
ก่อนออกหนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุน จะต้องให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยผู้ประสงค์จะได้รับการปล่อยชั่วคราวทำหนังสือสัญญาให้กองทุนไว้ว่า
หากกองทุนต้องชำระเงินค่าปรับตามวรรคสามเป็นจำนวนเท่าใด
ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะชดใช้เงินให้แก่กองทุนจนครบถ้วน
และผู้ต้องหาหรือจำเลยจะต้องนำสามี ภริยา บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด
ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง มาเป็นผู้ค้ำประกันด้วย
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๑
ผู้ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือการได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
อาจขอรับเงินช่วยเหลือเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับ ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล
รวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
(๒) เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในกรณีที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงแก่ความตาย
(๓)
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
(๔) เงินช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการได้รับเงินช่วยเหลือ
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๒
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือมีอำนาจพิจารณาให้การสนับสนุนผู้เสนอโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขการขอรับความช่วยเหลือและการให้การสนับสนุน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
การเงิน
การบัญชี และการตรวจสอบ
มาตรา ๓๓
กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนโดยถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
รวมทั้งต้องจัดให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำ
ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบตามที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๓๔
ให้กองทุนจัดทำรายงานการเงินเพื่อแสดงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกองทุนเสนอผู้สอบบัญชีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๓๕
ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุน
มาตรา ๓๖
ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
และให้ประกาศรายงานการเงินที่ผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบแล้วและรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๓๗ ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
มาตรา ๓๘ ปีบัญชีของกองทุนหมายถึงปีงบประมาณ
มาตรา ๓๙ การรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินของกองทุน
ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
หมวด ๕
บทเฉพาะกาล
มาตรา ๔๐ ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน สิทธิ
และหนี้สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับกองทุนยุติธรรมในสำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงยุติธรรม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓
ไปเป็นของกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔๑ ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๓
ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้
โดยต้องดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๔๒ คำขอใด ๆ
ที่ได้ยื่นไว้ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓ และยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ให้ถือว่าเป็นคำขอตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม และถ้าคำขอดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขอตามพระราชบัญญัตินี้
ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมคำขอเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ได้
มาตรา ๔๓ บรรดาระเบียบ ประกาศ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ.
๒๕๕๓ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
จนกว่าจะมีระเบียบหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่กองทุนยุติธรรมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๓
มีงบประมาณที่จำกัด
ประกอบกับไม่มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานทำให้กองทุนไม่สามารถช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
และให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้อย่างทั่วถึง เสมอภาค และเป็นธรรม
ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของประชาชน ดังนั้น
สมควรกำหนดให้กองทุนมีฐานะเป็นนิติบุคคล
เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๒/ตอนที่ ๑๐๒ ก/หน้า ๑/๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๘ |
762907 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงิน ของกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยการรับเงิน
การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงิน
ของกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๑ (๔) มาตรา ๑๘ (๒) และมาตรา ๓๙ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะกรรมการกองทุนยุติธรรมโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง จึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน
และการเก็บรักษาเงินของกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ
๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
บรรดาระเบียบ ประกาศ หนังสือสั่งการ หรือคำสั่งที่ขัด หรือแย้งกับระเบียบฉบับนี้
ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความ และวินิจฉัยขี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม
หรือหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
เจ้าหน้าที่การเงิน หมายความว่า หัวหน้าฝ่ายการเงิน
หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่นซึ่งปฏิบัติงานในลักษณะเช่นเดียวกับหัวหน้าฝ่ายการเงิน
และให้หมายความรวมถึงเจ้าหน้าที่รับจ่ายเงินของกองทุนยุติธรรม
หลักฐานการจ่าย หมายความว่า
หลักฐานที่แสดงว่าได้มีการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ หรือเจ้าหนี้ตามข้อผูกพันโดยถูกต้องแล้ว
เงินยืม หมายความว่า
เงินที่กองทุนจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
หรือการปฏิบัติราชการอื่นใด
ผู้อนุมัติ หมายความว่า ปลัดกระทรวงยุติธรรม
หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากปลัดกระทรวงยุติธรรม
ปีบัญชี หมายความว่า ปีงบประมาณ
ข้อ
๕ กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
ทั้งนี้
ให้กองทุนมีอำนาจกระทำกิจการต่าง ๆ
ภายในขอบแห่งวัตถุประสงค์และอำนาจเช่นว่านี้ให้รวมถึงการถือกรรมสิทธิ์
มีสิทธิครอบครอง และมีทรัพย์สินต่าง ๆ ก่อตั้งสิทธิหรือกระทำนิติกรรมใด ๆ และการกระทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องในการจัดการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อการดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน
และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุนด้วย
ข้อ
๖ รายรับของกองทุนประกอบด้วย
(๑)
เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับโอนมาจากกองทุนยุติธรรมตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๓
(๒)
เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๓)
เงินที่ศาลสั่งบังคับกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
และค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญา ทั้งนี้
ในอัตราไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนเงินเฉพาะส่วนที่นำส่งคลังโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๔)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน
(๕)
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
(๖)
เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด
เงินหรือทรัพย์สินของกองทุนไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
ข้อ
๗ รายจ่ายของกองทุนประกอบด้วย
(๑)
การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
(๒)
การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
(๓)
การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(๔)
การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๕)
การดำเนินงานกองทุนหรือการบริหารกองทุน
และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดกิจการของกองทุน
รายจ่ายตาม
(๑) (๔) ให้เบิกจ่ายได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๘ ให้กองทุนจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี
ประกอบด้วย ผลการดำเนินงานของปีที่ผ่านมา แผนการปฏิบัติงาน
และประมาณการรายรับรายจ่ายประจำปี
เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติสำหรับใช้เป็นกรอบงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน
อย่างน้อยหกสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีบัญชีของทุกปี
และส่งให้กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนการใช้จ่ายเงินอย่างน้อยสามสิบวันก่อนวันเริ่มต้นปีบัญชี
ข้อ
๙ การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับเงิน
การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินหรือการปฏิบัติอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้น โดยอนุโลม
ข้อ
๑๐ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปฏิบัตินอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง
หมวด ๒
การรับเงิน
ข้อ
๑๑ การรับเงินเข้ากองทุนให้รับเป็นเงินสด เช็ค
ตั๋วแลกเงิน ธนาณัติ
การรับเงินโดยวิธีการอื่น
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๒ บรรดาเงินรายรับของกองทุน
ให้ดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑)
เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาล หรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ให้ขอเบิกเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามที่ได้รับจัดสรรจากสำนักงบประมาณ
แล้วนำฝากบัญชีเงินฝากคลังของกองทุน
(๒)
เงินที่ศาลสั่งบังคับกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาค่าธรรมเนียมศาล
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และค่าปรับตามคำพิพากษาในคดีอาญา
ทั้งนี้
ในอัตราไม่เกินร้อยละห้าของจำนวนเงินเฉพาะส่วนที่นำส่งคลังโดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
ให้นำฝากบัญชีเงินฝากคลังของกองทุนหรือบัญชีกองทุนที่เปิดไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
(๓)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน
ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุนและเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด
ให้นำส่งเข้าบัญชีกองทุนที่เปิดบัญชีไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
ทุกสิ้นเดือนให้สำนักงานนำเงินตาม
(๒) และ (๓) ในส่วนที่เกินวงเงินที่คณะกรรมการกำหนดให้ฝากธนาคาร
ส่งเข้าบัญชีเงินฝากคลังตามข้อ ๒๔
ข้อ
๑๓ ในการรับเงินให้มีการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้ชำระเงินทุกครั้ง
ทั้งนี้
ใบเสร็จรับเงินดังกล่าวจะต้องมีการควบคุมจำนวนที่รับจ่าย
หมวด ๓
การจ่ายเงิน
ข้อ
๑๔ การจ่ายเงินกองทุนทุกรายการ
จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
(๑)
ในสำนักงานกองทุนยุติธรรม ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย
(๒)
กรณีนอกเหนือ (๑)
ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
ข้อ
๑๕ เงินกองทุนอาจใช้ทดรองจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งยืมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการหรือการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์กองทุน
โดยทำเป็นสัญญายืมเงินทดรองจ่ายได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยการนั้นโดยอนุโลม
ข้อ
๑๖ การจ่ายเงินกองทุนให้จ่ายเป็นเช็ค
ยกเว้นกรณีที่จ่ายจากเงินทดรองจ่ายซึ่งเก็บรักษาไว้เป็นเงินสด
การจ่ายเงินผ่านธนาคาร
หรือด้วยวิธีการอื่น ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๑๗ การเขียนเช็คสั่งจ่ายเงิน
ให้ปฏิบัติดังนี้
(๑)
การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน ในกรณีซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ
หรือเช่าทรัพย์สินให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงิน
โดยขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออก และขีดคร่อมด้วย
(๒)
การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินนอกจากกรณีตาม (๑)
ให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามของเจ้าหนี้หรือผู้มีสิทธิรับเงินโดยขีดฆ่าคำว่า
หรือผู้ถือ ออก
และจะขีดคร่อมหรือไม่ก็ได้
(๓)
ในกรณีสั่งจ่ายเงินเพื่อขอรับเงินสดมาจ่ายให้ออกเช็คสั่งจ่ายในนามเจ้าหน้าที่การเงินของกองทุนและขีดฆ่าคำว่า
หรือผู้ถือ ออก ห้ามออกเช็คสั่งจ่ายเงินสด
ห้ามลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คล่วงหน้าโดยยังมิได้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อผู้รับเงิน
วันที่ออกเช็คและจำนวนเงินที่สั่งจ่าย
ข้อ
๑๘ การเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินในเช็คที่เป็นตัวเลขและตัวอักษรให้เขียนหรือพิมพ์ให้ชิดเส้น
และชิดคำว่าบาท
หรือขีดเส้นหน้าจำนวนเงินทั้งตัวเลขและตัวอักษรโดยไม่มีช่องว่างที่จะเขียนหรือพิมพ์จำนวนเงินที่เพิ่มเติมได้
และให้ขีดเส้นตรงหลังชื่อสกุล ชื่อบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจนชิดคำว่า หรือผู้ถือ โดยมิให้มีการเขียนหรือพิมพ์ชื่อบุคคลอื่นเพิ่มเติมได้
ข้อ
๑๙ การจ่ายเงินกองทุน
ต้องมีหลักฐานการจ่ายที่เป็นใบเสร็จรับเงิน
หรือหลักฐานการนำเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้รับเงิน หรือหลักฐานการรับเงินอย่างอื่นตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ
๒๐ การจ่ายเงินกองทุน
ซึ่งตามลักษณะไม่อาจเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้รับเงินได้ให้ผู้รับเงินลงชื่อรับเงินในใบสำคัญรับเงินเพื่อใช้เป็นหลักฐานการจ่าย
ข้อ
๒๑ การจ่ายเงินกองทุน
ถ้าผู้มีสิทธิรับเงินไม่สามารถมารับเงินด้วยตนเองจะมอบอำนาจเป็นหนังสือให้ผู้อื่นเป็นผู้รับเงินแทนก็ได้
ข้อ
๒๒ ในกรณีหลักฐานการจ่ายของส่วนราชการสูญหายให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด
ข้อ
๒๓ การสั่งจ่ายเงินกองทุนจะต้องมีผู้ลงลายมือชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินกองทุน
จำนวนสองในสามลงนามร่วมกันตามที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
หมวด ๔
การเก็บรักษาเงิน
ข้อ
๒๔ ให้กองทุนเปิดบัญชีเงินฝากไว้ที่กรมบัญชีกลาง
กระทรวงการคลัง เรียกว่า บัญชีกองทุนยุติธรรม
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน
ให้กองทุนสามารถเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์กองทุน
ภายในวงเงินและเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้หน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
ทำหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการให้กับกองทุนสำหรับเขตจังหวัดนั้น
เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน ให้แต่ละจังหวัดเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ที่เป็นรัฐวิสาหกิจเพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์กองทุน
โดยใช้ชื่อบัญชี กองทุนยุติธรรม จังหวัด
.
ข้อ
๒๕ ให้กองทุนมีเงินทดรองจ่ายในวงเงินไม่เกิน
๒๐๐,๐๐๐ บาท (สองแสนบาทถ้วน)
หมวด ๕
การบัญชีและการตรวจสอบภายใน
ข้อ
๒๖ ให้กองทุนจัดให้มีการตรวจสอบภายในเป็นประจำ
ตลอดจนรายงานผลการตรวจสอบให้คณะกรรมการทราบตามที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๒๗ กองทุนต้องจัดให้มีระบบบัญชีที่เหมาะสมเพื่อบันทึกรายการทางบัญชีและแสดงผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินของกองทุนโดยถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป
ให้ปิดบัญชีและจัดทำรายงานการเงินของกองทุนประจำปี
ส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินหรือผู้สอบบัญชีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความเห็นชอบเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนเพื่อตรวจสอบและรับรองภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
พร้อมทั้งส่งสำเนางบการเงินของกองทุนเสนอคณะกรรมการและกรมบัญชีกลางทราบ
ให้ผู้สอบบัญชีทำรายงานการสอบบัญชีของกองทุนเสนอต่อคณะกรรมการภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
เมื่อผู้สอบบัญชีได้ตรวจสอบและรับรองรายงานการเงินแล้ว
ให้กองทุนประกาศรายงานการเงินและรายงานการสอบบัญชีในราชกิจจานุเบกษา
ข้อ
๒๘ ให้กองทุนจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี
ข้อ
๒๙ ให้สำนักงานกองทุนยุติธรรมจัดเก็บเอกสารการรับจ่ายเงินที่เป็นหลักฐานในการบันทึกควบคุมตามระบบบัญชีไว้ในที่ปลอดภัยเพื่อการตรวจสอบไม่น้อยกว่าสิบปี
เมื่อได้รับการตรวจสอบและรับรองจากผู้สอบบัญชีแล้ว
ให้เก็บรักษาไว้เหมือนเอกสารทั่วไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรม
วิศนี/ปริยานุช/จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๕๙
ปริญสินีย์/ตรวจ
๓๐ ธันวาคม
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๗๔ ง/หน้า ๑/๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ |
756684 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือและการให้การสนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน พ.ศ. 2559
| ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข
ในการขอรับความช่วยเหลือและการให้การสนับสนุน
การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) มาตรา ๒๖ วรรคสอง และมาตรา ๓๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนยุติธรรมจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือและการให้การสนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ประธาน หมายความว่า
ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
เลขานุการ หมายความว่า
เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ผู้เสนอโครงการ หมายความว่า บุคคลธรรมดา คณะบุคคล
นิติบุคคล องค์กรเอกชน หน่วยงานของรัฐ สถานศึกษา
ซึ่งเป็นผู้เสนอโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
ผู้ได้รับการสนับสนุน หมายความว่า
ผู้เสนอโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนในการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
สัญญา หมายความว่า
สัญญาสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนระหว่างกองทุนกับผู้ได้รับการสนับสนุน
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอ
ข้อ
๕ ผู้เสนอโครงการที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ให้ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือเพื่อจัดโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนจากกองทุนได้
ข้อ
๖ ผู้เสนอโครงการอาจยื่นคำขอด้วยตนเอง
ส่งคำขอทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่น ตามแบบท้ายระเบียบนี้
กรณีที่ผู้เสนอโครงการยื่นผ่านส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หรือส่วนราชการอื่น เมื่อส่วนราชการนั้นได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
ให้นำส่งสำนักงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ
๗ ผู้เสนอโครงการ ต้องยื่นเอกสาร
ดังต่อไปนี้
(๑) แบบการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือ
(๒) รายละเอียดโครงการที่เสนอ
(๓) หนังสือรับรองผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
หมวด ๓
การให้ความช่วยเหลือ
ข้อ
๘ ผู้เสนอโครงการอาจขอรับความช่วยเหลือในการจัดโครงการได้
ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าใช้จ่ายโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ
๙ ค่าใช้จ่ายตามข้อ ๘
ให้เป็นไปตามอัตราและรายการ ตามระเบียบของทางราชการ
กรณีที่อัตราวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่ระเบียบของทางราชการกำหนด
ให้นำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาเป็นรายกรณี
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การพิจารณา
และการแจ้งผล
ข้อ ๑๐ โครงการที่ขอรับความช่วยเหลือได้แก่โครงการที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(๑) โครงการเผยแพร่หรือการอบรมความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
เพื่อประโยชน์ในการป้องกันอาชญากรรม การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
และการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
(๒) โครงการที่เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิและหน้าที่แก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิเสรีภาพ
และสิทธิมนุษยชน
(๓) โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนที่เป็นนวัตกรรมใหม่
(๔) โครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนอื่น ที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร
ข้อ
๑๑ การพิจารณาให้การสนับสนุน
คณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการและมีลักษณะของโครงการตามข้อ ๑๐
(๒) ต้องไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น
หรือได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นแล้วแต่งบประมาณยังไม่เพียงพอ
(๓)
ความรู้ทางกฎหมายที่กลุ่มเป้าหมายควรได้รับโดยวิเคราะห์จากความจำเป็นและสภาพปัญหาในพื้นที่
เจ้าหน้าที่อาจสอบถามหรือให้แสดงหลักฐานต่าง
ๆ
หรือมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาให้การสนับสนุน
หากมีพฤติการณ์น่าสงสัยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผู้เสนอโครงการ
ข้อ
๑๒ ในการให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาฐานะทางการเงินของกองทุนประกอบ
ข้อ
๑๓ คณะอนุกรรมการมีอำนาจพิจารณาอนุมัติ
ไม่อนุมัติหรือยุติคำขอ
เหตุแห่งการยุติคำขอ
มีดังนี้
(๑) ผู้เสนอโครงการมีหนังสือขอยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
(๒) ผู้เสนอโครงการไม่ส่งเอกสาร
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
(๓) ไม่สามารถติดต่อผู้เสนอโครงการตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด
ทั้งนี้
ไม่ตัดสิทธิในการยื่นคำขอรับการสนับสนุนใหม่
ข้อ
๑๔ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการอาจให้ความช่วยเหลือเต็มจำนวนหรือบางส่วนก็ได้
ข้อ
๑๕ ให้เลขานุการ แล้วแต่กรณี
แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้เสนอโครงการทราบภายในระยะเวลาเจ็ดวัน
นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการพิจารณาแล้วเสร็จ
หากการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้เลขานุการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เสนอโครงการทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
หมวด ๕
การดำเนินการช่วยเหลือของกองทุน
ข้อ
๑๖ เมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติให้การสนับสนุนแล้ว
ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนทำสัญญา ณ สำนักงาน
หรือหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนไม่มาทำสัญญาภายในสามสิบวันนับแต่ได้รับหนังสือแจ้งผล
ให้คณะอนุกรรมการยุติการให้การสนับสนุน
ผู้ได้รับการสนับสนุนไม่อาจยื่นคำขอรับความช่วยเหลือใหม่ได้เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยการรับเงิน
การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุนยุติธรรม
ข้อ
๑๗ ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนมารับเงินภายในระยะเวลาที่กำหนด
ในกรณีผู้ได้รับการสนับสนุนไม่มารับเงินภายในเวลาที่กำหนดและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะขอรับเงินสนับสนุน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
ข้อ
๑๘ ผู้ได้รับการสนับสนุนจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขในสัญญา
ให้เจ้าหน้าที่ติดตาม
ประเมินผลการดำเนินงานของผู้ได้รับการสนับสนุนให้เป็นไปตามกรอบของโครงการที่กองทุนให้การสนับสนุน
เพื่อรายงานต่อคณะอนุกรรมการ
ทั้งนี้
หากเป็นโครงการต่อเนื่องที่มีลักษณะการดำเนินโครงการต่างช่วงเวลากัน
คณะอนุกรรมการอาจกำหนดให้ผู้ได้รับการสนับสนุนรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามระยะเวลาในสัญญาเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติเบิกจ่ายเงินเป็นรายงวดได้
ข้อ
๑๙ โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจะต้องจัดในพื้นที่ที่ระบุตามคำขอ
เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถจัดโครงการในพื้นที่ซึ่งระบุตามคำขอได้
ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนขออนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานที่ต่อคณะอนุกรรมการ
พร้อมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงนั้น
ข้อ
๒๐ ในกรณีที่ผู้ได้รับการสนับสนุนมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ
ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนมีหนังสือขออนุมัติเปลี่ยนแปลงพร้อมแสดงเหตุผลไปยังคณะอนุกรรมการโดยเร็วก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการ
ทั้งนี้
ผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการให้เป็นที่สุด
ข้อ
๒๑ หากปรากฏว่าผู้ได้รับการสนับสนุนมิได้นำเงินกองทุนไปดำเนินการตามข้อสัญญา
ให้เจ้าหน้าที่เสนอข้อเท็จจริงพร้อมหลักฐานต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาระงับการให้การสนับสนุนได้
และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
มีหนังสือแจ้งให้ผู้ได้รับการสนับสนุนคืนเงินที่ได้รับการสนับสนุนแก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
หากผู้ได้รับการสนับสนุนมิได้ชำระเงินคืนกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ได้รับการสนับสนุนต่อไป
ข้อ
๒๒ เมื่อโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายสิ้นสุด
ให้ผู้ได้รับการสนับสนุนรายงานผลต่อคณะอนุกรรมการภายในสามสิบวัน
รูปแบบการรายงานผลให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๖
การรายงานผล
ข้อ ๒๓ ให้เลขานุการรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะอนุกรรมการและต่อคณะกรรมการภายในวันที่ห้าของทุกเดือนและทุกรอบสามเดือน
ข้อ
๒๔ ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อคิดเห็น
หรือมติเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
ให้สำนักงานแจ้งให้ประธานทราบโดยเร็ว
หมวด ๗
เบ็ดเตล็ด
ข้อ ๒๕ กรณีผู้เสนอโครงการให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จถึงขนาดว่า หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนในการขอรับการสนับสนุนเงินกองทุน
เจ้าหน้าที่อาจเสนอความเห็นคณะอนุกรรมการ เพื่อยุติคำขอดังกล่าวก็ได้
กรณีผู้เสนอโครงการให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนถึงขนาดว่า หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุน
ต่อคณะอนุกรรมการจนเป็นผลให้คณะอนุกรรมการอนุมัติหรือได้จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว
คณะอนุกรรมการอาจยกเลิกการอนุมัติหรือการจ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
หากผู้ได้รับการสนับสนุนมิได้ชำระเงินคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ได้รับการสนับสนุนต่อไป
ข้อ
๒๖ การพิจารณาให้การสนับสนุนของคณะอนุกรรมการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายในเรื่องใด หากไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ใช้ระเบียบของทางราชการที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้นได้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม
กรณีการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน (แบบ กทย. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๓๑/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
756681 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข
ในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) มาตรา ๒๖ วรรคสอง และมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนยุติธรรมจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความ และวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ประธาน หมายความว่า
ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
เลขานุการ หมายความว่า
เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ผู้ขอรับความช่วยเหลือ หมายความว่า
ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ได้รับความเสียหายหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงแก่ความตายตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
การละเมิดสิทธิมนุษยชน หมายความว่า
การทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือเสรีภาพ
ในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลใด
หรือกรณีอื่นที่คณะกรรมการเห็นสมควร
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอ
ข้อ ๕ ผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจยื่นคำขอด้วยตนเอง
หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์
สามีหรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสเป็นผู้ยื่นคำขอแทน หรือผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ยื่นคำขอแทนก็ได้
โดยวิธีการส่งคำขอทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือช่องทางอื่นตามแบบท้ายระเบียบนี้
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล
หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
หากผู้ยื่นคำขอเป็นสามีหรือภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างของบุคคลดังกล่าว
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือต่อไป
กรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือยื่นคำ
ขอผ่านส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรมหรือส่วนราชการอื่น เมื่อส่วนราชการนั้น
ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว ให้นำส่งหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
เพื่อรวบรวมเอกสารหลักฐาน แล้วนำส่งสำนักงานดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ
๖ การเรียกร้องอันเกิดจากกรณีถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
หรือกรณีได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ให้ยื่นคำขอภายในสองปีนับแต่วันที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือรู้ถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น
ข้อ
๗ เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้ว
เห็นว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องประกอบการพิจารณายังไม่ครบถ้วน
ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน
ข้อ
๘ ก่อนพิจารณาคำขอ
ให้เจ้าหน้าที่ประเมินเบื้องต้น หากพบปัญหาความเดือดร้อนที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน ให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือประสานส่งต่อตามความจำเป็นแก่กรณี
อาทิ การรักษาพยาบาล การหาที่พักพิงชั่วคราว เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ให้บริการแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ
คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ
หมวด ๓
การให้ความช่วยเหลือ
ข้อ
๙ ผู้ขอรับความช่วยเหลือจากการกระทำในกรณีดังต่อไปนี้
เป็นผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือ
(๑)
เป็นผู้เสียหายจากการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
(๒)
เป็นจำเลยที่ถูกคุมขังตามคำพิพากษาเกินกำหนด
(๓)
เป็นจำเลยที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทน
และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และถูกคุมขังในระหว่างสอบสวน
(๔)
การละเมิดสิทธิมนุษยชนในกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ข้อ
๑๐ ผู้ขอรับความช่วยเหลือ
อาจได้รับเงินช่วยเหลือเพื่อความเสียหายที่ตนได้รับ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ดังต่อไปนี้
(๑)
ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการรักษาพยาบาล
(๒)
ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
(๓)
ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
(๔)
เงินช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในกรณีที่ผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนถึงแก่ความตาย
(๕)
เงินช่วยเหลือเยียวยาความเสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และอัตราการให้ความช่วยเหลือข้างต้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การพิจารณา
การทบทวน และการแจ้งผล
ข้อ
๑๑ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
พฤติกรรม และข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๒)
ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๓)
โอกาสที่ผู้จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับความช่วยเหลือ
หรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่น
ข้อ
๑๒ ในการให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาฐานะทางการเงินของกองทุนประกอบ
ข้อ
๑๓ ให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำ ลงพื้นที่
ตรวจสอบความประพฤติ ตามความเหมาะสมและจำเป็น
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ อาจมีหนังสือสอบถาม
หรือขอให้บุคคลใดมาให้ถ้อยคำ
ส่งเอกสารหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งอื่นใดที่จำเป็นต่อการพิจารณาคำขอก็ได้
ให้เจ้าหน้าที่หาข้อเท็จจริงและทำรายงานความเห็นของเจ้าหน้าที่เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการหรือประธานโดยไม่ชักช้า
ข้อ
๑๔ การพิจารณาคำขอ
ให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอตามวรรคหนึ่งได้
ให้ประธานเป็นผู้พิจารณาคำขอและรายงานให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว
ข้อ
๑๕ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการ หรือประธาน อาจให้ความช่วยเหลือเต็มจำนวน หรือบางส่วนก็ได้
ข้อ ๑๖ คณะอนุกรรมการ หรือประธานแล้วแต่กรณี
มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ ไม่อนุมัติ หรือยุติคำขอ
เหตุแห่งการยุติคำขอ
มีดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับความช่วยเหลือมีหนังสือขอยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
(๒)
ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ส่งเอกสาร
หลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อสำนักงานภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
(๓)
ไม่สามารถติดต่อผู้ขอรับความช่วยเหลือตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
ข้อ
๑๗ ให้เลขานุการ แล้วแต่กรณี
แจ้งผลการพิจารณา เป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบภายในระยะเวลาเจ็ดวัน
นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานพิจารณาแล้วเสร็จ
หากการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้สำนักงานแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
ข้อ
๑๘ หากกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการหรือประธาน
ให้ยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการ หรือประธาน แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงภายในกำหนดสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๑๙ ให้เลขานุการ
แล้วแต่กรณี แจ้งผลการพิจารณาทบทวนเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบ
ภายในระยะเวลาเจ็ดวัน นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานพิจารณาแล้วเสร็จ
หมวด ๕
การดำเนินการช่วยเหลือของกองทุน
ข้อ
๒๐ เมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติเงินช่วยเหลือเพื่อความเสียหายแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือแล้วให้กองทุนจ่ายเงินให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือโดยเร็ว
กรณีที่มีการอนุมัติให้ความช่วยเหลือแล้ว
ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่มารับเงินภายในกำหนดระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่มีการแจ้งผล
ให้คำขอรับความช่วยเหลือนั้นเป็นอันยุติ
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยการรับเงิน
การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุนยุติธรรม
ข้อ
๒๑ หากปรากฏในภายหลังว่าการกระทำที่ผู้ขอรับความช่วยเหลืออาศัยเป็นเหตุในการขอรับเงินช่วยเหลือนั้น
ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามระเบียบนี้
ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
มีหนังสือลงทะเบียนตอบรับแจ้งให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือคืนเงินช่วยเหลือที่ได้รับไปแก่กองทุนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหนังสือ
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือมิได้ชำระเงินคืน
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ขอรับความช่วยเหลือต่อไป
หมวด ๖
การรายงานผล
ข้อ
๒๒ ให้เลขานุการรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะอนุกรรมการและต่อคณะกรรมการภายในวันที่ห้าของทุกเดือนและทุกรอบสามเดือน
ข้อ
๒๓ ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อคิดเห็น
หรือมติเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
ให้สำนักงานแจ้งให้ประธานทราบโดยเร็ว
ข้อ
๒๔ ให้เลขานุการทำรายงานประจำปี
ความเห็นและข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนและได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วยวิธีที่เหมาะสมเพื่อป้องกันมิให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในลักษณะทำนองเดียวกันอีก
หมวด ๗
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๒๕ กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จถึงขนาดว่า หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนในการขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุน
เจ้าหน้าที่อาจเสนอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการหรือประธานเพื่อยุติคำขอดังกล่าวก็ได้
กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนถึงขนาดว่า
หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนต่อคณะอนุกรรมการหรือประธาน
จนเป็นผลให้คณะอนุกรรมการหรือประธานอนุมัติหรือได้จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วคณะอนุกรรมการหรือประธาน
อาจยกเลิกการอนุมัติ หรือการจ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือมิได้ชำระเงินคืน
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ขอรับความช่วยเหลือต่อไป
ข้อ
๒๖ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการ
หรือประธานในเรื่องใดหากไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ใช้ระเบียบของทางราชการที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้นได้ โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม
กรณีการช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน
(แบบ กทย. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๒๖/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
756679 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข
ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๘ (๒) มาตรา ๒๒ มาตรา ๒๖ วรรคสอง และมาตรา ๓๐ วรรคห้า
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
พ.ศ. ๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนยุติธรรม
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ประธาน หมายความว่า
ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
หรือประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ หมายความว่า
คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
เลขานุการ หมายความว่า
เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
หรือเลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ผู้ขอรับความช่วยเหลือ หมายความว่า
ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่เป็นผู้ถูกคุมขังหรือจะถูกคุมขังในคดีอาญา หรือกรณีอื่นใด
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม
และหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอ
ข้อ ๕ ผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจยื่นคำขอด้วยตนเอง
หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์ สามีหรือภริยาที่จดทะเบียนสมรส
เป็นผู้ยื่นคำขอแทน
หรือผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจมอบอำนาจให้บุคคลใดเป็นผู้ยื่นคำขอแทนก็ได้
โดยวิธีการส่งคำขอทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
หรือช่องทางอื่นตามแบบท้ายระเบียบนี้
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
หากผู้ยื่นคำขอเป็นสามีหรือภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างของบุคคลดังกล่าว
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือต่อไป
กรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือยื่นคำขอผ่านส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หรือส่วนราชการอื่นเมื่อส่วนราชการนั้นได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
ให้นำส่งสำนักงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ
๖ ให้สำนักงานที่เป็นภูมิลำเนา
หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ยื่นคำขอเป็นสำนักงานที่รับผิดชอบ
หรือเจ้าหน้าที่อาจส่งคำขอไปยังสำนักงานอื่นเพื่อประโยชน์ในการปล่อยชั่วคราวก็ได้
ข้อ
๗ เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้ว
เห็นว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องประกอบการพิจารณายังไม่ครบถ้วน
ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน
ข้อ
๘ ก่อนพิจารณาคำขอ
ให้เจ้าหน้าที่ประเมินเบื้องต้น หากพบปัญหาความเดือดร้อนที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือประสานส่งต่อตามความจำเป็นแก่กรณี อาทิ
การรักษาพยาบาล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การหาที่พักพิงชั่วคราว เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ให้บริการแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ
คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ
หมวด ๓
การให้ความช่วยเหลือ
ข้อ
๙ ผู้ขอรับความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราว
อาจขอรับความช่วยเหลือในการขอปล่อยชั่วคราวในชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล
หรือหน่วยงานใดที่มีอำนาจควบคุมหรือคุมขังบุคคลตามกฎหมาย
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การพิจารณา
การทบทวน และการแจ้งผล
ข้อ
๑๐ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีพฤติการณ์จะหลบหนี
(๒)
ไม่ไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือไม่ไปก่อเหตุภยันตรายประการใด
ข้อ
๑๑ การพิจารณาตามข้อ ๑๐
ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑)
ลักษณะการกระทำความผิดที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือความมั่นคงของประเทศ
หรือการกระทำที่มีผลกระทบต่อประชาชนที่ทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายหรือความเชื่อมั่นของกระบวนการยุติธรรม
(๒)
สาเหตุหรือพฤติการณ์น่าเชื่อว่ามิได้กระทำความผิด
(๓)
ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ
(๔)
ประวัติการกระทำความผิด นิสัย ความประพฤติ และข้อเท็จจริงอื่นที่เกี่ยวข้อง
(๕)
ความคิดเห็นของผู้เสียหาย หรือเจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้อง
หากมีการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
ข้อ
๑๒ การพิจารณาฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือตามข้อ
๑๑ (๓) คณะอนุกรรมการอาจคำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ประกอบด้วย
(๑)
รายได้ หรือความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๒)
ภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพตามปกติอันควรแก่ฐานานุรูป
(๓)
ภาระหนี้สินของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนที่ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมเป็นสำคัญ
เจ้าหน้าที่อาจสอบถามหรือให้แสดงหลักฐานต่าง
ๆ หรือจะแสดงภาระหนี้สิน
หรือมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือหากมีพฤติการณ์น่าสงสัยเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ข้อ
๑๓ ในการให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาฐานะทางการเงินของกองทุนประกอบ
ข้อ
๑๔ ให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำ ลงพื้นที่
ตรวจสอบความประพฤติ ตามความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
ทั้งนี้
อาจมีหนังสือสอบถาม หรือเชิญบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ขอหนังสือรับรองความประพฤติ
ส่งเอกสารหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งอื่นใด
ที่จำเป็นต่อการพิจารณาคำขอก็ได้
ให้เจ้าหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงและทำรายงานความเห็นของเจ้าหน้าที่เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการหรือประธานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายโดยเร็ว
ข้อ
๑๕ ในการพิจารณาคำขอ
ให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอตามวรรคหนึ่งได้
ให้ประธานเป็นผู้พิจารณาคำขอและรายงานให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว
หากมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่สามารถเสนอคำขอรับความช่วยเหลือการขอปล่อยชั่วคราว
ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาได้
คณะอนุกรรมการอาจมอบหมายให้อนุกรรมการและเลขานุการหรืออนุกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นผู้พิจารณาคำขอก็ได้
และรายงานให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว
ข้อ ๑๖ คณะอนุกรรมการ หรือประธาน
หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ ไม่อนุมัติ หรือยุติคำขอ
เหตุแห่งการยุติคำขอ
มีดังนี้
(๑)
ผู้ขอรับความช่วยเหลือมีหนังสือขอยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
(๒) ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ส่งเอกสารหลักฐาน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม ต่อสำนักงานภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
(๓)
ไม่สามารถติดต่อผู้ขอรับความช่วยเหลือตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔)
ไม่มีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราว
ข้อ
๑๗ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการ หรือประธาน
หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายอาจให้ความช่วยเหลือเต็มจำนวน หรือบางส่วนก็ได้
ข้อ
๑๘ ให้เลขานุการ แล้วแต่กรณี
แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาแล้วเสร็จ
หากการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้เลขานุการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
ข้อ
๑๙ หากกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
ประธาน หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย ให้ยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการ
ประธาน หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ
๒๐ ให้เลขานุการ แล้วแต่กรณี
แจ้งผลการพิจารณาทบทวนเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือภายในระยะเวลาเจ็ดวัน
นับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานหรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายพิจารณาแล้วเสร็จ
หมวด ๕
การดำเนินการช่วยเหลือของกองทุน
ข้อ
๒๑ เมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือแล้ว
ให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทำสัญญาการได้รับความช่วยเหลือ ณ สำนักงานภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ทั้งนี้
ตามแบบที่คณะกรรมการประกาศ
ข้อ
๒๒ ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือบุคคลที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมายมีอำนาจลงนามในสัญญาการได้รับความช่วยเหลือ
ถ้าผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่มาทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ ให้คณะอนุกรรมการ ประธาน
หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายยุติการให้ความช่วยเหลือ
เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยการรับเงิน
การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุนยุติธรรม
ข้อ
๒๓ ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะต้องนำสามี ภริยา
บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง ไปทำสัญญาค้ำประกันกับกองทุน
ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการประกาศ
ข้อ
๒๔ ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรม
หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมาย มีอำนาจลงนามในหนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุน ทั้งนี้ ตามแบบที่คณะกรรมการประกาศ
เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบอำนาจจากบุคคลตามวรรคหนึ่ง
อาจเป็นผู้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวและเป็นผู้ลงนามในสัญญาประกันของศาลก็ได้
ข้อ
๒๕ การวางหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย
ให้ประกอบด้วยเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑)
หนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุน
(๒)
สำเนาหนังสือสัญญาการได้รับความช่วยเหลือของผู้ต้องหาหรือจำเลย
(๓)
สำเนาหนังสือสัญญาค้ำประกัน
(๔)
เอกสารอื่นตามข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการเรียกประกันหรือหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา
หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ข้อ
๒๖ ในกรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือได้รับการปล่อยชั่วคราว
ผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายในการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจกำหนดให้มีข้อสัญญาที่เป็นเงื่อนไขหรือมาตรการให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย
หรือผู้ค้ำประกันต้องปฏิบัติ ข้อเดียวหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้
(๑)
ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยแจ้งเจ้าหน้าที่ หากมีการย้ายที่อยู่
(๒)
ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง จนกว่าสัญญาประกันจะสิ้นสุด
(๓)
ให้บุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะอนุกรรมการสอดส่องดูแลพฤติกรรมของผู้ต้องหาหรือจำเลย
(๔)
มาตรการอื่นตามที่คณะอนุกรรมการเห็นสมควร
ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวและกำหนดเงื่อนไขอื่นใดบังคับนายประกันหรือผู้ได้รับความช่วยเหลือปฏิบัติด้วยนั้น
ให้ถือว่าการกำหนดเงื่อนไขตามสัญญารับความช่วยเหลือจากกองทุนดังกล่าวของศาลนั้น
เป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามสัญญารับความช่วยเหลือจากกองทุนด้วย
ภายหลังจากที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยได้รับการปล่อยชั่วคราว
ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลย และผู้ค้ำประกันไปพบเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานโดยเร็ว
เพื่อรับทราบเงื่อนไขที่ศาลและกองทุนกำหนด พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่ออกใบนัดรายงานตัว
ให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยเก็บไว้ และแสดงต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้งที่ไปรายงานตัว
อนึ่ง
ในการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ทุกครั้งให้นำหลักฐานการรายงานตัวต่อศาลไปแสดงด้วย
ข้อ
๒๗ สัญญาการได้รับความช่วยเหลือซึ่งยื่นในชั้นพนักงานสอบสวน
หรือชั้นพนักงานอัยการหรือชั้นศาลให้มีผลเฉพาะในชั้นนั้น
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ปฏิบัติตามสัญญา ให้ถือว่าสัญญานั้นเป็นอันสิ้นสุด
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในข้อ
๒๖ ให้เจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งไปยัง ผู้ขอรับความช่วยเหลือ และผู้ค้ำประกัน
โดยให้ผู้ค้ำประกัน นำผู้ขอรับความช่วยเหลือไปรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่
หากไม่ดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลาสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าผู้ขอรับความช่วยเหลือผิดสัญญา
ให้กองทุนมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ข้อ
๒๙ หากศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน
และออกหมายจับผู้ขอรับความช่วยเหลือที่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้เลขานุการ
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายขอคัดสำเนาหมายจับ และมีหนังสือแจ้งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หรือสถานีตำรวจในเขตพื้นที่รับผิดชอบที่ใกล้ที่สุด
เพื่อติดตามตัวผู้ขอรับความช่วยเหลือที่เป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยโดยเร็ว
หรือมีหนังสือแจ้งผู้ขอรับความช่วยเหลือให้มารายงานตัวที่สำนักงานโดยเร็ว
และมีหนังสือแจ้งผู้ค้ำประกันให้ติดตามตัวผู้ขอรับความช่วยเหลือ
เพื่อนำตัวมาส่งกองทุนภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือ
ข้อ
๓๐ ในกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือผิดสัญญาการได้รับความช่วยเหลือของผู้ต้องหาหรือจำเลยจนเป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน
ให้กองทุนชำระเงินค่าปรับตามคำสั่งศาลภายในเวลาที่กำหนด
ในวงเงินจำนวนไม่เกินที่กำหนดไว้ในหนังสือรับรองการชำระเงินของกองทุนนั้น
ข้อ
๓๑ หากกองทุนต้องชำระเงินค่าปรับเป็นจำนวนเท่าใด
ผู้ขอรับความช่วยเหลือและผู้ค้ำประกันต้องชดใช้เงินแก่กองทุนจนครบถ้วน
ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรม
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แจ้งผู้ขอรับความช่วยเหลือ
และผู้ค้ำประกันเป็นหนังสือลงทะเบียนตอบรับให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือ
และผู้ค้ำประกัน ชดใช้เงินให้แก่กองทุนจนครบถ้วน ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ
หรือภายในระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือและผู้ค้ำประกันมิได้ชำระเงินคืนกองทุน
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ขอรับความช่วยเหลือ และผู้ค้ำประกันต่อไป
หมวด ๖
การรายงานผล
ข้อ
๓๒ ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือรายงานผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่ง
และผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
และผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ที่คณะกรรมการมอบหมาย
เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการทุกรอบสามเดือน
ข้อ
๓๓ ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อคิดเห็น
หรือมติเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการ
ให้สำนักงานแจ้งให้ประธานอนุกรรมการคณะนั้นทราบโดยเร็ว
หมวด ๗
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๓๔ กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จถึงขนาดว่า หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนในการขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุน
เจ้าหน้าที่อาจเสนอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการ ประธานหรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย
เพื่อยุติคำขอดังกล่าวก็ได้
กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนถึงขนาดว่า
หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน ต่อคณะอนุกรรมการประธาน
หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย จนเป็นผลให้คณะอนุกรรมการ ประธาน
หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย อนุมัติ หรือได้จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว
คณะอนุกรรมการ ประธาน หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย อาจยกเลิกการอนุมัติ
หรือการจ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือมิได้ชำระเงินคืน
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ขอรับความช่วยเหลือต่อไป
ข้อ
๓๕ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการ
ประธาน หรือผู้ที่คณะอนุกรรมการมอบหมายในเรื่องใด หากไม่มีหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด ให้ใช้ระเบียบของทางราชการที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้นได้โดยอนุโลม
ข้อ
๓๖ สำหรับเงินกองทุนที่วางเป็นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวก่อนพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม
พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลบังคับใช้
หากศาลสั่งริบให้เจ้าหน้าที่พิจารณาดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ ๒๙ และข้อ ๓๑
ของระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม
กรณีการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย (แบบ กทย. ๒)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๑๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
756677 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ. 2559 | ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไข
ในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี
พ.ศ. ๒๕๕๙
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘ (๒) มาตรา ๒๖ วรรคสอง มาตรา ๒๗
วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม จึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี พ.ศ.
๒๕๕๙
ข้อ ๒[๑] ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ให้ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนยุติธรรม
คดี หมายความว่า
คดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง คดีเยาวชนและครอบครัว คดีศาลชำนัญพิเศษ และคดีอื่น
รวมถึงการบังคับคดี
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ประธาน หมายความว่า
ประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
หรือประธานอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ
หมายความว่า คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ หรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
เลขานุการ หมายความว่า
เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
หรือเลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดที่คณะกรรมการแต่งตั้ง
ผู้ขอรับความช่วยเหลือ หมายความว่า
ผู้ขอรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดีในราชอาณาจักรทั้งการยื่นคำร้อง ฟ้องคดี
ดำเนินคดี ต่อสู้คดี บังคับคดี และการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ทนายความ หมายความว่า
ทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ และได้ขึ้นบัญชีไว้กับกองทุน
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนยุติธรรม
หรือหน่วยงานในจังหวัดที่สังกัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย
เจ้าหน้าที่ หมายความว่า
พนักงานของกองทุนหรือเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรมที่ได้รับมอบหมาย
หมวด ๒
การยื่นคำขอ
ข้อ ๕ ผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจยื่นคำขอด้วยตนเอง
หรือผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล ผู้พิทักษ์
สามีหรือภริยาที่จดทะเบียนสมรสเป็นผู้ยื่นคำขอแทน
หรือผู้ขอรับความช่วยเหลืออาจมอบอำนาจให้บุคคลใด เป็นผู้ยื่นคำขอแทนก็ได้
โดยวิธีการส่งคำขอทางไปรษณีย์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือช่องทางอื่น
ตามแบบท้ายระเบียบนี้
กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล
หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
หากผู้ยื่นคำขอเป็นสามีหรือภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
บุพการี ผู้สืบสันดาน ญาติใกล้ชิด ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้างของบุคคลดังกล่าว
ให้เจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิขอรับความช่วยเหลือต่อไป
กรณีที่ผู้ขอรับความช่วยเหลือยื่นคำขอผ่านส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หรือส่วนราชการอื่น เมื่อส่วนราชการนั้นได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายแล้ว
ให้นำส่งสำนักงานเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ
๖ ให้สำนักงานที่เป็นภูมิลำเนา
หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ยื่นคำขอเป็นสำนักงานที่รับผิดชอบ
หรือเจ้าหน้าที่อาจส่งคำขอไปยังสำนักงานอื่นเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีก็ได้
ในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
หรือสิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ให้สำนักงานที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่เป็นสำนักงานที่รับผิดชอบ
หรืออาจให้สำนักงานที่เป็นภูมิลำเนา
หรือถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้ยื่นคำขอเป็นสำนักงานที่รับผิดชอบก็ได้
ข้อ
๗ เมื่อเจ้าหน้าที่รับคำขอแล้ว
เห็นว่าเอกสารหลักฐานที่จำเป็นต้องประกอบการพิจารณายังไม่ครบถ้วน
ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบเพื่อดำเนินการส่งเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน
ข้อ
๘ ก่อนการดำเนินการพิจารณาคำขอ
ให้เจ้าหน้าที่ประเมินเบื้องต้น หากพบปัญหาความเดือดร้อนที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน
ให้ดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหรือประสานส่งต่อตามความจำเป็นแก่กรณี อาทิ
การรักษาพยาบาล การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การหาที่พักพิงชั่วคราว เป็นต้น
ทั้งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ให้บริการแก่เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ
คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับความสะดวกรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ
หมวด ๓
การให้ความช่วยเหลือ
ข้อ
๙ ผู้ขอรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดีจากกองทุน
อาจขอรับความช่วยเหลือได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
(๑) ค่าจ้างทนายความ
(๒) ค่าที่ปรึกษาหรือผู้ช่วยเหลือทางกฎหมายในการดำเนินคดี
หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
(๓) ค่าฤชาธรรมเนียม
(๔) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี เช่น ค่าตรวจพิสูจน์
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าวัสดุ อุปกรณ์
เครื่องมือที่ใช้ในการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน ค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสาร
ค่าใช้จ่ายในการสอบแนวเขตรังวัดที่ดิน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศหรือทางดาวเทียม
การอ่าน แปล ตีความ หรือวิเคราะห์ภาพถ่าย
(๕) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดี
ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
หลักเกณฑ์
เงื่อนไข และอัตราการให้ความช่วยเหลือข้างต้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
หมวด ๔
หลักเกณฑ์การพิจารณา การทบทวน
และการแจ้งผล
ข้อ
๑๐ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
(๑) พฤติกรรมและข้อเท็จจริง ของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๒) ฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
(๓) โอกาสที่ผู้จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนจะได้รับความช่วยเหลือ
หรือบรรเทาความเสียหายตามกฎหมายอื่น
ข้อ
๑๑ การพิจารณาพฤติกรรมและข้อเท็จจริงของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนตามข้อ
๑๐ (๑) ควรคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
กรณีผู้ยื่นคำขอประสงค์ยื่นคำร้อง
ฟ้องคดี บังคับคดี หรือการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๑) เป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ หรือมีกฎหมายบัญญัติรับรองสิทธิ
และต้องมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย
หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล
(๒) เป็นการปกป้องรักษาประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
(๓) เป็นการกระทำละเมิดที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรม
(๔) เป็นเรื่องที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
หรือความมั่นคงของประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
(๕) พฤติกรรมข้อเท็จจริงและเงื่อนไขอื่น ๆ ตามสถานการณ์
สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น เช่น การช่วยเหลือให้พ้นจากการกระทำของผู้มีอิทธิพลหรือการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เป็นต้น
กรณีผู้ยื่นคำขอประสงค์ต่อสู้คดี
หรือการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
(๑) ต้องไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
เว้นแต่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือว่าน่าจะไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด
(๒)
ต้องไม่มีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เว้นแต่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือว่าน่าจะไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด
(๓)
ต้องไม่มีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวม เว้นแต่มีหลักฐานอันน่าเชื่อถือว่าน่าจะไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด
(๔) ต้องมีหลักฐานพอสมควรว่ามิได้เป็นผู้ผิดสัญญาหรือละเมิดสิทธิผู้อื่น
และต้องใช้สิทธิโดยสุจริต
ข้อ
๑๒ การพิจารณาฐานะของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
ตามข้อ ๑๐ (๒) อาจคำนึงถึง
(๑) รายได้ หรือความสามารถทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับความช่วยเหลือ
(๒) ภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพตามปกติอันควรแก่ฐานานุรูป
(๓) ภาระหนี้สินของผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ที่ไม่สามารถเข้าถึงความยุติธรรมเป็นสำคัญ
เจ้าหน้าที่อาจสอบถามหรือให้แสดงหลักฐานต่าง
ๆ หรือจะแสดงภาระหนี้สิน หรือมีการจัดส่งเจ้าหน้าที่ไปแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือหากมีพฤติการณ์น่าสงสัยเกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ข้อ
๑๓ ในการให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการต้องพิจารณาฐานะทางการเงินของกองทุนประกอบ
ข้อ
๑๔ ให้เจ้าหน้าที่สอบปากคำ ลงพื้นที่
ตรวจสอบความประพฤติ ตามความเหมาะสมและจำเป็น
เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ทั้งนี้ อาจมีหนังสือสอบถาม
หรือเชิญบุคคลใด มาให้ถ้อยคำ ส่งเอกสารหลักฐาน
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสิ่งอื่นใดที่จำเป็นต่อการพิจารณาคำขอก็ได้
ให้เจ้าหน้าที่แสวงหาข้อเท็จจริงและทำรายงานความเห็นของเจ้าหน้าที่เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการหรือประธานโดยเร็ว
ข้อ
๑๕ ในการพิจารณาคำขอ
ให้คณะอนุกรรมการเป็นผู้พิจารณาคำขอ
ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่สามารถเสนอคำขอต่อคณะอนุกรรมการตามวรรคหนึ่งได้ ให้ประธานเป็นผู้มีอำนาจพิจารณาคำขอ
และรายงานให้คณะอนุกรรมการทราบโดยเร็ว
ข้อ
๑๖ คณะอนุกรรมการ หรือประธาน
มีอำนาจพิจารณาอนุมัติ ไม่อนุมัติ หรือยุติคำขอ
เหตุแห่งการยุติคำขอ
มีดังนี้
(๑) ผู้ขอรับความช่วยเหลือมีหนังสือขอยุติคำขอรับความช่วยเหลือ
(๒) ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่ส่งเอกสาร หลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมต่อสำนักงานภายในระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนด
(๓)
ไม่สามารถติดต่อผู้ขอรับความช่วยเหลือตามที่อยู่ที่แจ้งไว้ได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๔) ผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ
ข้อ
๑๗ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือ
คณะอนุกรรมการ หรือประธานอาจให้ความช่วยเหลือเต็มจำนวน หรือบางส่วนก็ได้
ข้อ
๑๘ ให้เลขานุการ แล้วแต่กรณี
แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานพิจารณาแล้วเสร็จ
หากการพิจารณายังไม่แล้วเสร็จ
ให้เลขานุการแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบถึงเหตุแห่งความล่าช้าจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
ข้อ
๑๙ หากกรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่เห็นด้วยกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการหรือประธาน
ให้ยื่นหนังสือขอให้ทบทวนผลการพิจารณาต่อคณะอนุกรรมการ หรือประธาน แล้วแต่กรณี
พร้อมทั้งแสดงเหตุผลและข้อเท็จจริงภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการพิจารณา
ข้อ ๒๐ ให้เลขานุการ
แล้วแต่กรณี แจ้งผลการพิจารณาทบทวนเป็นหนังสือให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทราบ
ภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่คณะอนุกรรมการหรือประธานพิจารณาแล้วเสร็จ
หมวด ๕
การดำเนินการช่วยเหลือของกองทุน
ข้อ
๒๑ เมื่อผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือแล้ว
ให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือทำสัญญาการได้รับความช่วยเหลือ ณ สำนักงานภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผล ทั้งนี้
ตามแบบที่คณะกรรมการประกาศ
ข้อ
๒๒ ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายมีอำนาจลงนามในสัญญาการได้รับความช่วยเหลือ
ถ้าผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่มาทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนดโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้อง
ให้ถือว่าไม่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือ ให้คณะอนุกรรมการ หรือประธาน
ยุติการให้ความช่วยเหลือ เว้นแต่เป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
หลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนยุติธรรม
ว่าด้วยการรับเงิน การจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินของกองทุนยุติธรรม
ข้อ
๒๓ ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดหาทนายความตามลำดับบัญชีทนายความกองทุนตามความในหมวด
๖ ส่วนที่ ๒
ในคดีที่มีความยุ่งยากซับซ้อนหรือมีผลกระทบต่อประชาชน
หรือกลุ่มบุคคลตั้งแต่สิบรายขึ้นไปหรือที่อาจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม
เจ้าหน้าที่อาจจัดหาทนายความนอกเหนือเขตพื้นที่
หรือทนายความที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกองทุน โดยความเห็นชอบของเลขานุการ
เพื่อประโยชน์ของผู้ขอรับความช่วยเหลือ
หากกองทุนพิจารณาให้ความช่วยเหลือในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา
กองทุนอาจกำหนดให้ทนายความรายเดิมมีหน้าที่ร่างอุทธรณ์ หรือฎีกา แล้วแต่กรณี
ข้อ
๒๔ การทำสัญญาจ้างทนายความเพื่อดำเนินการช่วยเหลือผู้ขอรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดี
ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจัดทำสัญญาจ้างทนายความและลงนามในสัญญาจ้างทนายความ
ทั้งนี้
เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการประกาศ
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจทำสัญญาจ้างทนายความได้ทัน
ให้เลขานุการ พิจารณาคัดเลือกทนายความจากบัญชีทนายความของกองทุนเพื่อดำเนินคดี
หรือบังคับคดีให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือไปพลางก่อนแล้วทำสัญญาจ้างทนายความกับกองทุนภายหลัง
ทนายความจะต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างทนายความ
และข้อบังคับสภาทนายความ
ข้อ
๒๕ ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่อาจเปลี่ยนตัวทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งได้
เว้นแต่ความปรากฏแก่เจ้าหน้าที่
หรือผู้ขอรับความช่วยเหลือพบพฤติการณ์ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่คดีหรือทนายความผิดสัญญาจ้างทนายความ
เจ้าหน้าที่หรือผู้ขอรับความช่วยเหลือ อาจร้องขอให้เปลี่ยนทนายความได้
โดยให้ชี้แจงและแสดงเหตุผลเป็นหนังสือ
ทนายความไม่อาจขอถอนตัวจากการที่ได้รับแต่งตั้งได้
เว้นแต่มีเหตุสำคัญที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างทนายความ
ทั้งนี้
การพิจารณาเปลี่ยนทนายความให้อยู่ในดุลพินิจของคณะอนุกรรมการ
หรือประธานหรือเลขานุการ แล้วแต่กรณี
กรณีมีการแต่งตั้งทนายความเข้าไปในคดีแล้วต้องได้รับอนุญาตจากศาลให้เปลี่ยนทนายความ
ข้อ
๒๖ ให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของทนายความให้เป็นไปตามสัญญาอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้เกิดความเสียหายเกี่ยวแก่คดี
หากพบว่าทนายความละเลยเพิกเฉยไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เจ้าหน้าที่แจ้งเตือนทนายความโดยเร็ว
ข้อ
๒๗ ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
ผู้ขอรับความช่วยเหลือจะเสนอทนายความที่มีความรู้ความสามารถ
ประสบการณ์ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งก็ได้ แม้ทนายความผู้นั้นจะไม่ได้ขึ้นบัญชีไว้กับกองทุนก็ตาม
ให้ทนายความดังกล่าวได้รับค่าจ้างเช่นเดียวกับทนายความที่ขึ้นบัญชีกับกองทุนและต้องมีความผูกพันเป็นไปตามระเบียบนี้ด้วย
ข้อ
๒๘ ในกรณีที่ทนายความที่ขึ้นบัญชีกับกองทุนตามประกาศของคณะกรรมการ
พ้นสภาพการเป็นทนายความ แต่ยังทำงานตามสัญญาจ้างไม่แล้วเสร็จ
ให้เลขานุการมีอำนาจแต่งตั้งและอนุมัติวงเงินในการจ้างทนายความคนใหม่เพื่อดำเนินคดีให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ทั้งนี้
ให้อยู่ภายใต้วงเงินที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ
๒๙ การจ่ายค่าจ้างและค่าอื่นใดให้แก่ทนายความ
ให้เป็นไปตามสัญญาจ้างทนายความ
ทั้งนี้ ทนายความต้องปฏิบัติตามระเบียบนี้หรือระเบียบอื่นที่กำหนดให้ทนายความต้องปฏิบัติ
มิฉะนั้นกองทุนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกคืนค่าจ้างและค่าอื่นใดได้ตามสัญญา
กรณีทนายความไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญา
จนทำให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน
ให้กองทุนดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีกับทนายความต่อไป แล้วแต่กรณี
ข้อ
๓๐ ให้เจ้าหน้าที่จัดทำคำร้องให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดีลงนามในคำร้องยื่นไว้ต่อศาลโดยให้ปรากฏข้อความว่า
เมื่อศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง ให้ผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นฝ่ายได้รับคืน
ค่าฤชาธรรมเนียม และหรือค่าทนายความคืน ขอศาลได้โปรดมีคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวน (ตามที่กองทุนยุติธรรมจะได้แถลงศาลทราบ
เมื่อคดีนี้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้ว) ให้แก่กองทุนยุติธรรม ในขณะที่อนุมัติความช่วยเหลือให้แก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือ
และยื่นไว้ต่อศาลในคดีที่ขอรับความช่วยเหลือ
ทั้งนี้ ผู้ขอรับความช่วยเหลือยินยอมให้มีการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น
หมวด ๖
ทนายความกองทุน
ส่วนที่ ๑
ทนายความกองทุนยุติธรรม
ข้อ
๓๑ ให้สำนักงานกองทุนยุติธรรม
ประกาศรับสมัครทนายความเพื่อขึ้นบัญชีกับกองทุนอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
หรือขอบัญชีทนายความจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้สำนักงานทำหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ
ลักษณะต้องห้าม
และหลักฐานเบื้องต้นของทนายความส่งให้สำนักงานกองทุนยุติธรรมรวบรวมบัญชีรายชื่อทนายความและตรวจสอบเพื่อขึ้นบัญชีทนายความตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
แล้วประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป
ข้อ
๓๒ ผู้สมัครเป็นทนายความกองทุนยุติธรรมต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
ดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปีบริบูรณ์
(๓) เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ
และเป็นทนายความมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี
(๔) มีประสบการณ์การว่าความรวมทุกประเภทคดีมาแล้วไม่น้อยกว่า ๒๐ คดี
(๕)
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๖) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๗) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๘) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการหรือรัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของรัฐหรือหน่วยงานของเอกชน
(๙) ไม่เป็นผู้เคยรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๑๐) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือคนเสมือนไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็นทนายความกองทุนยุติธรรม
(๑๑)
ไม่เป็นผู้เคยถูกสอบสวนคดีมรรยาททนายความและถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ
ข้อ
๓๓ ผู้ใดประสงค์สมัครเป็นทนายความ
จะต้องส่งใบสมัครที่สำนักงาน
ใบสมัครทนายความให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด
ส่วนที่ ๒
การอนุมัติและจัดจ้างทนายความ
ข้อ
๓๔ ในการแต่งตั้งทนายความเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ขอรับความช่วยเหลือในการดำเนินคดีให้ประธานหรือเลขานุการ
พิจารณาคัดเลือกจากบัญชีทนายความของกองทุน
การแต่งตั้งทนายความให้พิจารณาจากทนายความที่ขึ้นบัญชีไว้ในแต่ละเขตจังหวัด
ตามลำดับในบัญชีทนายความของกองทุนก่อน
หากปรากฏข้อเท็จจริงที่เป็นข้อสำคัญไม่อาจใช้ทนายความที่ขึ้นบัญชีในจังหวัด
หรือกรณีไม่มีทนายความที่จะดำเนินคดี หรือการบังคับคดี
เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชนในเขตจังหวัดนั้นให้คัดเลือกจากบัญชีทนายความในจังหวัดใกล้เคียง
ให้เลขานุการ
จัดให้มีทนายความขึ้นบัญชีไว้ให้ความช่วยเหลือในการดำเนินคดีแก่ประชาชนให้เพียงพอ
เพื่อให้ได้รับความสะดวก รวดเร็ว และให้ควบคุมดูแล
การให้บริการดังกล่าวดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้อง และเป็นธรรม
ให้เลขานุการ
พิจารณาแต่งตั้งทนายความและอนุมัติวงเงินในการจ้างทนายความ
ทนายความที่ได้รับการแต่งตั้งจะต้องไม่เป็นหรือเคยเป็นทนายความของคู่ความฝ่ายตรงข้ามและไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคดี
หากทราบภายหลัง ต้องแจ้งเหตุอันไม่อาจดำเนินคดีได้ให้แจ้งฝ่ายเลขานุการทราบ
เพื่อพิจารณาจัดจ้างทนายความผู้อื่นต่อไป
ส่วนที่ ๓
วินัยและความประพฤติ
ข้อ
๓๕ ทนายความต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความและข้อกำหนดตามสัญญาจ้างทนายความโดยเคร่งครัด
ข้อ
๓๖ ทนายความต้องดำเนินคดีให้กับผู้ขอรับความช่วยเหลือโดยไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อคดี
พึงระมัดระวังมิให้คดีของผู้ขอรับความช่วยเหลือเกิดความเสื่อมเสียซึ่งสิทธิประโยชน์หรือเกิดความเสียหาย
ข้อ
๓๗ ห้ามทนายความเรียกค่าบริการหรือค่าจ้าง
หรือผลประโยชน์ใด ๆ หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ที่ไม่เหมาะสมอันเป็นการขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการให้ความช่วยเหลือ
จากผู้ขอรับความช่วยเหลือ
ข้อ
๓๘ ให้เลขานุการและเจ้าหน้าที่
ควบคุม กำกับ ดูแล ป้องกันมิให้ทนายความประพฤติผิดวินัย
ข้อ ๓๙ ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนข้อกำหนดในข้อ ๓๕
ถึงข้อ ๓๗ หรือประพฤติตนไม่สมควรโดยประการอื่นให้พ้นสภาพการเป็นทนายความตามระเบียบนี้
และให้สำนักงานกองทุนยุติธรรมรายงานสภาทนายความทราบ และกองทุนมีสิทธิบอกเลิกสัญญา
และฟ้องเรียกค่าจ้างคืน
ส่วนที่ ๔
การพ้นสภาพการเป็นทนายความ
ข้อ
๔๐ ทนายความพ้นสภาพการเป็นทนายความ
เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ขาดจากความเป็นทนายความตามกฎหมายว่าด้วยทนายความ
(๔) พ้นสภาพการเป็นทนายความ ตามข้อ ๓๙
ข้อ
๔๑ ให้สำนักงานกองทุนยุติธรรมตรวจสอบสถานะทนายความที่ขึ้นบัญชีกองทุนเพื่อให้เป็นปัจจุบันทุกระยะสองปีและให้คณะกรรมการประกาศยกเลิกบัญชีรายชื่อทนายความที่พ้นสภาพตามข้อ
๔๐
ห้ามทนายความที่ถูกยกเลิกบัญชีตามวรรคหนึ่งสมัครขึ้นบัญชีทนายความอีก
หมวด ๗
การรายงานผล
ข้อ
๔๒ ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดรายงานผลการพิจารณาให้ความช่วยเหลือต่อคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการภายในวันที่ห้าของทุกเดือน
ให้เลขานุการคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือรายงานผลการพิจารณาตามวรรคหนึ่งและผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ
และผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน ที่คณะกรรมการมอบหมาย
เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการทุกรอบสามเดือน
ข้อ
๔๓ ในกรณีที่คณะกรรมการมีข้อคิดเห็น
หรือมติเกี่ยวข้องกับผลการพิจารณาของคณะอนุกรรมการคณะใด
ให้สำนักงานแจ้งให้ประธานอนุกรรมการคณะนั้นทราบโดยเร็ว
หมวด ๘
เบ็ดเตล็ด
ข้อ
๔๔ กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จถึงขนาดว่าหากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุน
ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนในการขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุน
เจ้าหน้าที่อาจเสนอความเห็นต่อคณะอนุกรรมการหรือประธานเพื่อยุติคำขอดังกล่าวก็ได้
กรณีผู้ขอรับความช่วยเหลือให้ข้อเท็จจริง
หรือแสดงข้อความอันเป็นเท็จ เพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนถึงขนาดว่า
หากไม่แสดงข้อความอันเป็นเท็จจะไม่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนต่อคณะอนุกรรมการหรือประธาน
จนเป็นผลให้คณะอนุกรรมการหรือประธานอนุมัติหรือได้จ่ายเงินช่วยเหลือแล้วคณะอนุกรรมการหรือประธานอาจยกเลิกการอนุมัติ
หรือการจ่ายเงินดังกล่าวก็ได้
หากผู้ขอรับความช่วยเหลือมิได้ชำระเงินคืน
ให้กองทุนดำเนินคดีกับผู้ขอรับความช่วยเหลือต่อไป
ข้อ
๔๕ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการหรือประธานในเรื่องใดหากไม่มีหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
ให้ใช้ระเบียบของทางราชการที่กำหนดไว้ในเรื่องนั้นได้โดยอนุโลม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
ประธานกรรมการกองทุนยุติธรรม
[เอกสารแนบท้าย]
๑. แบบคำขอรับความช่วยเหลือเงินกองทุนยุติธรรม
กรณีการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี (แบบ กทย. ๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
วริญา/ปริยานุช/จัดทำ
๒๔ สิงหาคม
๒๕๕๙
นุสรา/ตรวจ
๒๓ พฤศจิกายน
๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๘/๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙ |
324764 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับ Update ล่าสุด) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังวาลย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่ ๑๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้น
พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้[๒]
ต้นยาง หมายความว่า ต้นยางพารา (Hevea SPP.)
ยางพันธุ์ดี หมายความว่า
ต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
สวนยาง หมายความว่า
ที่ดินปลูกต้นยางมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่
แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น
และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
สวนขนาดเล็ก หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่
สวนขนาดกลาง หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่
สวนขนาดใหญ่ หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป
เจ้าของสวนยาง หมายความว่า ผู้ทำสวนยาง
และมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน
เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยาง
แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
การปลูกแทน[๓] หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดี
หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด แทนต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเก่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ปีสงเคราะห์ หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ.
ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า
บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๔[๔] ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง ประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้
เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ
ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้
รวมทั้งการทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น
ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้องเป็นการสาธิตและส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์
กับให้รวมตลอดถึงการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลมอบหมาย
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
เรียกว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา
๔ ทวิ[๕]
ในการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นตามมาตรา ๔
ให้ใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล
หรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
มาตรา
๕[๖]
บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน
ในการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่ง
ให้นำจำนวนเงินสงเคราะห์ที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางต้องจ่ายเพื่อการสงเคราะห์ในแต่ละปีและอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรที่เรียกเก็บจากการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรมาเป็นหลักในการพิจารณาด้วย
โดยถืออัตราต่อน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัมเป็นเกณฑ์
การคำนวณจำนวนเงินสงเคราะห์ที่บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องเสีย
ถ้าเศษของน้ำหนักยางเกินครึ่งกิโลกรัม
ให้คิดเงินสงเคราะห์เท่ากับน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัม ถ้าเศษของน้ำหนักยางไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม
ให้ถือเป็นน้ำหนักที่ไม่ต้องนำมาคำนวณ
สำหรับยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัม
หรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ส่งออกเพื่อประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า ไม่ว่าจะมีน้ำหนักเท่าใด
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากบุคคลผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องเสียตามมาตรา
๕ ได้ โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา ๗
เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา ๘
ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นเจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป
หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย
การสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน
และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน
โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย
เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้
จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา
๙[๗]
ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า
ก.ส.ย.
ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง
กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ
และกรรมการอื่นอีกไม่เกินหกคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยางสี่คนและบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยางสองคน
ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๐[๘] กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๑[๙] นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐
กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
พ้นจากการเป็นเจ้าของสวนยางหรือเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการยาง
มาตรา
๑๒ การประชุมคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม[๑๐]
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา
๑๓[๑๑]
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(๑)
ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๒)
วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานหรือการเงินเพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๓)
วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง
เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน
และเงินที่ควรจะจ่ายอย่างอื่น
(๔)
วางข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบพนักงาน
คณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้
โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (๒)
มาตรา ๑๔[๑๒] ให้ประธานกรรมการ กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕[๑๓] ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ถอดถอน
และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับด้วย
มาตรา ๑๖
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
และให้มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง
ในเมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ
เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการ
มาตรา ๑๗
ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก
ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อการนี้
ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ
ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา
๑๘[๑๔] ทุก ๆ ปีสงเคราะห์
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวนไม่เกินร้อยละห้า
เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ
มอบไว้แก่กรมวิชาการเกษตรเป็นงวด ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมวิชาการเกษตรได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒)
จำนวนไม่เกินร้อยละสิบ เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓)
จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒)
เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้นและจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา
๕ ถ้าหากมี ให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม
(๒) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น ส่วนจำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางในปีสงเคราะห์ถัดไป
เงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม
(๓) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด
ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (๓)
ในปีสงเคราะห์ถัดไป
มาตรา ๑๙
เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา ๑๘ (๓)
นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยาง ดังต่อไปนี้
ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบ
ประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบ
ประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบ
แต่ถ้าสวนประเภทใดประเภทหนึ่ง
มีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด
ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้
ในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับ
เจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากัน
หรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้
และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวม
การที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๒๐
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินที่ตนเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่น
ผู้ขอรับการสงเคราะห์ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า
ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอมในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์
ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวกและปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น
มาตรา
๒๑[๑๕]
เจ้าของสวนยางซึ่งมีสวนยางแปลงเดียวมีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่
หรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันไม่เกินสิบห้าไร่
จะขอรับการสงเคราะห์ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดีในที่ดินแปลงใหม่ซึ่งที่ดินแปลงนั้นมีเนื้อที่ตั้งแต่สิบห้าไร่ขึ้นไปแทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้
แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะพึงได้รับสำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น
มาตรา
๒๑ ทวิ[๑๖]
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้มีการทำสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น
ในกรณีที่ผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนและมีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่าสองไร่
มีความประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยาง ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการดำเนินการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้เงินอุดหนุนหรือเงินจากงบประมาณประจำปีหรือเงินกู้ที่รัฐบาลจัดให้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รายละไม่เกินสิบห้าไร่
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้นำความในมาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรานี้โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับการสงเคราะห์
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๒๒
เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตาม
หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ระงับการสงเคราะห์เสียได้
มาตรา ๒๓
เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา ๒๔
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์
และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น
เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด
(๒)
มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์ และบุคคลใด ๆ
ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด ๆ
เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ
(๓)
มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (๒) ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ
อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา
๒๕[๑๗]
ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี
ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน
โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุลและรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
มาตรา ๒๖
ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เงินค่าปรับตามมาตรานี้
ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๒๗
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา
๒๔ (๑) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา ๒๔ (๒)
หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ โดยที่สวนยางในประเทศไทยส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยางพันธุ์ดี
เป็นเหตุให้การผลิตยางไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้
และโดยที่การแก้ไขสภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้น ต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางเก่า
จึงสมควรให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕[๑๘]
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เพื่อให้มีบทบัญญัติให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ถ้าหากมีมาใช้จ่ายในการบริหารงานสงเคราะห์การทำสวนยางและสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม
และแก้บทบัญญัติให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางในที่ดินแปลงใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘[๑๙]
มาตรา
๖
การให้การสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนในสวนไม้ยืนต้นเก่า
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น
มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลต่าง ๆ เป็นพืชสำคัญในทางเศรษฐกิจ
สมควรจะได้ดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ให้มีการปลูกแทนต้นเก่าที่ให้ผลน้อยเพื่อให้ได้ผลยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับต้นยางพารา
จึงจำเป็นต้องขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางให้สามารถให้การสงเคราะห์การปลูกแทนสวนไม้ยืนต้นได้ด้วย
โดยใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์จากรัฐบาลหรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐[๒๐]
มาตรา
๙ ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขในการเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้การเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์เป็นไปตามกฎกระทรวง
และประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๑๐ ให้คณะกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งอย่างช้าต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๑๑
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และอัตราเงินสงเคราะห์ในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์
ตลอดจนอัตราเงินสงเคราะห์เสียใหม่
โดยกำหนดให้อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์สัมพันธ์กับระดับอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์และอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
เพื่อให้เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้มีอัตราคงที่แน่นอน
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดทำแผนทางการเงิน
เพื่อให้การสงเคราะห์แก่เจ้าของสวนยางได้แน่นอนยิ่งขึ้น
และเพื่อให้อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์และอัตราอากรขาออกรวมกันแล้วสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านการป้องกันการลักลอบส่งยางออกนอกประเทศ
และยังสอดคล้องกับนโยบายทางด้านการเงินของประเทศ
และนอกจากนี้สมควรแก้ไของค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตลอดจนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เพื่อให้การบริหารงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รวมทั้งสมควรกำหนดอัตราการจัดสรรเงินสงเคราะห์เสียใหม่เพื่อให้เพียงพอกับการที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์
และเพื่อจะให้ผู้มีที่ดินเป็นของตนเองแต่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อนให้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดีรายย่อย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พรพิมล/แก้ไข
๒๖/๙/๒๕๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
วศิน/แก้ไข
๖ มีนาคม ๒๕๕๒
พัชรี/ปรับปรุง
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๗๗/ตอนที่ ๗๓/หน้า ๖๘๘/๖ กันยายน ๒๕๐๓
[๒] มาตรา ๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕
[๓] นิยามคำว่า การปลูกแทน แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๑๘
[๔] มาตรา ๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘
[๕] มาตรา ๔ ทวิ
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘
[๖] มาตรา ๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๗] มาตรา ๙
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๘] มาตรา ๑๐
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๙] มาตรา ๑๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๐] มาตรา ๑๒
วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๑] มาตรา ๑๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๒] มาตรา ๑๔
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๓] มาตรา ๑๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๔] มาตรา ๑๘
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๕] มาตรา ๒๑
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕
[๑๖] มาตรา ๒๑ ทวิ
เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
[๑๗] มาตรา ๒๕
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕
[๑๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๑๐๕/หน้า ๑๒๔๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๕
[๑๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๔๑/ฉบับพิเศษ หน้า๒๙/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘
[๒๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ |
318468 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2530 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม
พ.ศ. ๒๕๓๐
เป็นปีที่ ๔๒
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๕
บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
สำหรับการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน
ในการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่ง
ให้นำจำนวนเงินสงเคราะห์ที่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางต้องจ่ายเพื่อการสงเคราะห์ในแต่ละปีและอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรที่เรียกเก็บจากการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรมาเป็นหลักในการพิจารณาด้วย
โดยถืออัตราต่อน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัมเป็นเกณฑ์
การคำนวณจำนวนเงินสงเคราะห์ที่บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องเสีย
ถ้าเศษของน้ำหนักยางเกินครึ่งกิโลกรัม
ให้คิดเงินสงเคราะห์เท่ากับน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัม
ถ้าเศษของน้ำหนักยางไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ให้ถือเป็นน้ำหนักที่ไม่ต้องนำมาคำนวณ
สำหรับยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัม
หรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ส่งออกเพื่อประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า ไม่ว่าจะมีน้ำหนักเท่าใด
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ มาตรา ๑๐ และมาตรา ๑๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๙
ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่งเรียกโดยย่อว่า
ก.ส.ย.
ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง
กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินหกคนซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยางสี่คนและบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยางสองคน
ให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
มาตรา ๑๐
กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระหรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
เมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา ๑๑
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐
กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก
เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(๗)
พ้นจากการเป็นเจ้าของสวนยางหรือเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการยาง
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๑๒
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๒
การประชุมคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด
จึงจะเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ และมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(๑)
ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๒)
วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานหรือการเงินเพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๓)
วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง
เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน และเงินที่ควรจะจ่ายอย่างอื่น
(๔)
วางข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบพนักงาน
คณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้
โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (๒)
มาตรา ๑๔
ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕
ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ถอดถอน
และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับด้วย
มาตรา ๗
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๘ ทุก ๆ ปีสงเคราะห์
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวนไม่เกินร้อยละห้า
เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ
มอบไว้แก่กรมวิชาการเกษตรเป็นงวด ๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมวิชาการเกษตรได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒)
จำนวนไม่เกินร้อยละสิบ
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓)
จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒)
เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้นและจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา
๕ ถ้าหากมี ให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม
(๒) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น ส่วนจำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี
ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางในปีสงเคราะห์ถัดไป
เงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม
(๓) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด
ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (๓)
ในปีสงเคราะห์ถัดไป
มาตรา ๘
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒๑ ทวิ
เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมให้มีการทำสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น
ในกรณีที่ผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนและมีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่าสองไร่
มีความประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยาง
ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในการดำเนินการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้เงินอุดหนุนหรือเงินจากงบประมาณประจำปีหรือเงินกู้ที่รัฐบาลจัดให้
ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รายละไม่เกินสิบห้าไร่
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้นำความในมาตรา
๒๒ และมาตรา ๒๓ มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรานี้โดยอนุโลม
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับการสงเคราะห์
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๙
ในระหว่างที่ยังมิได้มีประกาศกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขในการเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้
ให้การเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์เป็นไปตามกฎกระทรวง
และประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๑๐ ให้คณะกรรมการซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะแต่งตั้งคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งอย่างช้าต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา
๑๑
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป.
ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข
และอัตราเงินสงเคราะห์ในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยังไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน
สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์
ตลอดจนอัตราเงินสงเคราะห์เสียใหม่ โดยกำหนดให้อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์สัมพันธ์กับระดับอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์และอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
เพื่อให้เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้มีอัตราคงที่แน่นอน
ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดทำแผนทางการเงิน
เพื่อให้การสงเคราะห์แก่เจ้าของสวนยางได้แน่นอนยิ่งขึ้น และเพื่อให้อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์และอัตราอากรขาออกรวมกันแล้วสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านการป้องกันการลักลอบส่งยางออกนอกประเทศ
และยังสอดคล้องกับนโยบายทางด้านการเงินของประเทศ
และนอกจากนี้สมควรแก้ไของค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตลอดจนวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
เพื่อให้การบริหารงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
รวมทั้งสมควรกำหนดอัตราการจัดสรรเงินสงเคราะห์เสียใหม่เพื่อให้เพียงพอกับการที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์
และเพื่อจะให้ผู้มีที่ดินเป็นของตนเองแต่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อนให้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดีรายย่อย
จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ดวงใจ/แก้ไข
๓๐ ส.ค. ๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๗
วศิน/แก้ไข
๖ มีนาคม ๒๕๕๒
พัชรี/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๔/ตอนที่ ๒๖๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๐ |
320461 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (Update ณ วันที่ 19/02/2518) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ.
๒๕๐๓
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังวาลย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่
๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้น
พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ในพระราชบัญญัตินี้
ต้นยาง หมายความว่า
ต้นยางพารา (Hevea SPP.)
ยางพันธุ์ดี หมายความว่า
ต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
สวนยาง หมายความว่า
ที่ดินปลูกต้นยางมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่
แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น
และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
สวนขนาดเล็ก หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่
สวนขนาดกลาง หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่
สวนขนาดใหญ่ หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป
เจ้าของสวนยาง หมายความว่า
ผู้ทำสวนยาง และมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น
ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใดๆ
ของต้นยาง แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
การปลูกแทน[๓]
หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดี
หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด แทนต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเก่าทั้งหมดหรือบางส่วน
ปีสงเคราะห์ หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป
และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า
บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔[๔] ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
ประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ
ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้
รวมทั้งการทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น
ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้องเป็นการสาธิตและส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์
กับให้รวมตลอดถึงการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลมอบหมาย
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานครเรียกว่า
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๔ ทวิ[๕]
ในการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นตามมาตรา ๔
ให้ใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล
หรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
มาตรา ๕ บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นครั้งคราวในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์ยางแผ่นรมควันเป็นมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันอยู่ในระดับไม่เกินกิโลกรัมละสิบบาทให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์
(๒)
ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันสูงกว่ากิโลกรัมละสิบบาท จะกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์หรือสูงกว่ากิโลกรัมละห้าสิบสตางค์โดยเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสิบส่วนของราคาที่สูงกว่าสิบบาทนั้นก็ได้
ราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันดังกล่าวข้างต้น
หมายถึงราคาที่ซื้อขายกันภายในประเทศ ประกอบกับราคาที่ซื้อขายกันในต่างประเทศ
หรือราคาที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
ยางอื่น นอกจากยางแผ่นรมควันและน้ำยาง เช่น ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง
รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสียโดยเฉพาะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางแผ่นรมควันออกต้องเสียก็ได้
แต่ในกรณีที่จะประกาศกำหนดอัตราสูงกว่า
ห้ามมิให้กำหนดสูงกว่าร้อยละยี่สิบของอัตราเงินสงเคราะห์สำหรับยางแผ่นรมควัน
หากมิได้ประกาศระบุกำหนดอัตราไว้โดยเฉพาะให้ผู้ส่งออกเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งน้ำยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียให้กำหนดตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) น้ำยางสดให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักน้ำยาง
(๒) น้ำยางข้นให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยาง
ยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่าง
ซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัมหรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม
เป็นผู้ส่งเพื่อประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า จะมีน้ำหนักเท่าใดก็ตาม
ไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากบุคคลผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องเสียตามมาตรา
๕ ได้ โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา ๗ เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา ๘
ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นเจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป
หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย
การสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน
และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน
โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย
เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้
จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา ๙
ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่ง
เรียกโดยย่อว่า ก.ส.ย. ประกอบด้วยประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการ อธิบดีกรมกสิกรรม และผู้อำนวยการกองการยาง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
และกรรมการอื่นอีกมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๑ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีลงมติให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่คดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
เมื่อประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
คณะรัฐมนตรี อาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการแทน
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคก่อน
อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒ การประชุมคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการด้วยกันคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๒) วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานและการเงิน
เพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยางโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(๓) วางข้อบังคับโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอนการเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน
การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง
ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน และเงินที่ควรจ่ายอย่างอื่น
คณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้
โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (๒)
มาตรา ๑๔ ประธานกรรมการ กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการ อาจได้รับค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่าย
และค่าตอบแทนหรือเบี้ยประชุม ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินเดือนมีอัตราตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
และได้รับประโยชน์อื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับนั้นด้วย
มาตรา ๑๖
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
และให้มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง
ในเมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ
เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการ
มาตรา ๑๗ ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ
ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๘[๖] ทุก ๆ ปีสงเคราะห์
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑) จำนวนร้อยละห้าสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ
มอบไว้ให้แก่กรมกสิกรรมเป็นงวด ๆ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมกสิกรรมได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒) จำนวนไม่เกินอีกร้อยละห้า
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓) จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒)
เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น
และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา
๕
ถ้าหากมีให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม
(๒) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น จำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี
ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางในปีสงเคราะห์ถัดไป
เงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม
(๓) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด
ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (๓)
ในปีสงเคราะห์ถัดไป
มาตรา ๑๙
เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา ๑๘ (๓)
นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยางดังต่อไปนี้
ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบ
ประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบ
ประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบ
แต่ถ้าสวนประเภทใดประเภทหนึ่ง
มีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด
ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้
ในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับ
เจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากันหรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน
หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้
และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวม
การที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๒๐
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินที่ตนเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่น
ผู้ขอรับการสงเคราะห์ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า
ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอมในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์
ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวกและปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๑[๗] เจ้าของสวนยางซึ่งมีสวนยางแปลงเดียวมีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่
หรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันไม่เกินสิบห้าไร่
จะขอรับการสงเคราะห์ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดีในที่ดินแปลงใหม่ซึ่งที่ดินแปลงนั้นมีเนื้อที่ตั้งแต่สิบห้าไร่ขึ้นไปแทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้
แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะพึงได้รับสำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น
มาตรา ๒๒
เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตาม
หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ระงับการสงเคราะห์เสียได้
มาตรา ๒๓
เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา ๒๔ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ
มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น
เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด
(๒)
มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์ และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด
ๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ
(๓) มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (๒)
ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ
อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๕[๘] ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี
ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน
โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุลและรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
มาตรา ๒๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เงินค่าปรับตามมาตรานี้
ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๒๗
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ
เจ้าพนักงานสงเคราะห์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา
๒๔ (๑) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา ๒๔ (๒)
หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล
ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สวนยางในประเทศไทยส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยางพันธุ์ดี
เป็นเหตุให้การผลิตยางไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้
และโดยที่การแก้ไขสภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้นต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางเก่า
จึงสมควรให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕[๙]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เพื่อให้มีบทบัญญัติให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ถ้าหากมีมาใช้จ่ายในการบริหารงานสงเคราะห์การทำสวนยางและสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม
และแก้บทบัญญัติให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางในที่ดินแปลงใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘[๑๐]
มาตรา ๖
การให้การสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนในสวนไม้ยืนต้นเก่า
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น
มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลต่าง ๆ เป็นพืชสำคัญในทางเศรษฐกิจ
สมควรจะได้ดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ให้มีการปลูกแทนต้นเก่าที่ให้ผลน้อยเพื่อให้ได้ผลยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับต้นยางพารา
จึงจำเป็นต้องขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางให้สามารถให้การสงเคราะห์การปลูกแทนสวนไม้ยืนต้นได้ด้วย
โดยใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์จากรัฐบาลหรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
วศิน/ผู้จัดทำ
๖
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๗/ตอนที่ ๗๓/หน้า ๖๘๘/๖ กันยายน ๒๕๐๓
[๒]
มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๓]
มาตรา ๓ นิยามคำว่า การปลูกแทน
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘
[๔]
มาตรา ๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๑๘
[๕]
มาตรา ๔ ทวิ เพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.
๒๕๑๘
[๖]
มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๗]
มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๘]
มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๙]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๑๐๕/หน้า ๑๒๔๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๕
[๑๐]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๔๑/ฉบับพิเศษ หน้า๒๙/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ |
301199 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2518 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
เป็นปีที่ ๓๐
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในคำนิยาม การปลูกแทน ในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
การปลูกแทน หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดี
หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่คณะกรรมการกำหนด
แทนต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเก่าทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๔
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
ประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ
ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้
รวมทั้งการทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น
ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้องเป็นการสาธิตและส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์
กับให้รวมตลอดถึงการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลมอบหมาย
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร
เรียกว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๕
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๔ ทวิ
ในการดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นตามมาตรา ๔
ให้ใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล
หรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
มาตรา ๖
การให้การสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนในสวนไม้ยืนต้นเก่า
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๗
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือ เนื่องจากไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลต่าง ๆ
เป็นพืชสำคัญในทางเศรษฐกิจ สมควรจะได้ดำเนินการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ให้มีการปลูกแทนต้นเก่าที่ให้ผลน้อยเพื่อให้ได้ผลยิ่งขึ้นเช่นเดียวกับต้นยางพารา
จึงจำเป็นต้องขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางให้สามารถให้การสงเคราะห์การปลูกแทนสวนไม้ยืนต้นได้ด้วย
โดยใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์จากรัฐบาลหรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
สุรินทร์/แก้ไข
๒๕/๗/๒๕๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗
วศิน/แก้ไข
๖ มีนาคม ๒๕๕๒
พัชรี/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๒/ตอนที่ ๔๑/ฉบับพิเศษ หน้า๒๙/๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ |
306564 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (Update ณ วันที่ 27/11/2505) | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ.
๒๕๐๓
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังวาลย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้
ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่
๑๕ ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้น
พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญ
ในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓[๒] ในพระราชบัญญัตินี้
ต้นยาง หมายความว่า
ต้นยางพารา (Hevea SPP.)
ยางพันธุ์ดี หมายความว่า
ต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
สวนยาง หมายความว่า
ที่ดินปลูกต้นยางมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่
แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น
และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
สวนขนาดเล็ก หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่
สวนขนาดกลาง หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่
สวนขนาดใหญ่ หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป
เจ้าของสวนยาง หมายความว่า
ผู้ทำสวนยาง และมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น
ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใดๆ
ของต้นยาง แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
การปลูกแทน หมายความว่า
การปลูกยางพันธุ์ดี หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนต้นยางเก่าทั้งหมด หรือบางส่วน
ปีสงเคราะห์ หมายความว่า
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป
และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า
บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้
เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการจัดทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในจังหวัดพระนคร
เรียกว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๕ บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นครั้งคราวในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์ยางแผ่นรมควันเป็นมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันอยู่ในระดับไม่เกินกิโลกรัมละสิบบาทให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์
(๒) ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันสูงกว่ากิโลกรัมละสิบบาท
จะกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์หรือสูงกว่ากิโลกรัมละห้าสิบสตางค์โดยเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสิบส่วนของราคาที่สูงกว่าสิบบาทนั้นก็ได้
ราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันดังกล่าวข้างต้น
หมายถึงราคาที่ซื้อขายกันภายในประเทศ ประกอบกับราคาที่ซื้อขายกันในต่างประเทศ
หรือราคาที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
ยางอื่น นอกจากยางแผ่นรมควันและน้ำยาง เช่น ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง
รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสียโดยเฉพาะต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางแผ่นรมควันออกต้องเสียก็ได้
แต่ในกรณีที่จะประกาศกำหนดอัตราสูงกว่า
ห้ามมิให้กำหนดสูงกว่าร้อยละยี่สิบของอัตราเงินสงเคราะห์สำหรับยางแผ่นรมควัน
หากมิได้ประกาศระบุกำหนดอัตราไว้โดยเฉพาะให้ผู้ส่งออกเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งน้ำยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียให้กำหนดตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) น้ำยางสดให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักน้ำยาง
(๒) น้ำยางข้นให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยาง
ยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่าง
ซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัมหรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม
เป็นผู้ส่งเพื่อประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า จะมีน้ำหนักเท่าใดก็ตาม
ไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากบุคคลผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องเสียตามมาตรา
๕ ได้ โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา ๗ เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา ๘
ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นเจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป
หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย
การสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน
และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน
โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย
เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ หรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้
จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา ๙
ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่ง
เรียกโดยย่อว่า ก.ส.ย. ประกอบด้วยประธานกรรมการ
ผู้อำนวยการ อธิบดีกรมกสิกรรม และผู้อำนวยการกองการยาง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นอีกมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน
แต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๑ นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) คณะรัฐมนตรีลงมติให้ออก
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
เว้นแต่คดีความผิดที่เป็นลหุโทษ หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
เมื่อประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
คณะรัฐมนตรี อาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการแทน
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคก่อน
อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒ การประชุมคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการด้วยกันคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(๑) ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๒) วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานและการเงิน
เพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยางโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(๓) วางข้อบังคับโดยอนุมัติรัฐมนตรี
ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอนการเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน
การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง
ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน และเงินที่ควรจ่ายอย่างอื่น
คณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้
โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (๒)
มาตรา ๑๔ ประธานกรรมการ กรรมการ
และเลขานุการคณะกรรมการ อาจได้รับค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่าย
และค่าตอบแทนหรือเบี้ยประชุม ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินเดือนมีอัตราตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
และได้รับประโยชน์อื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับนั้นด้วย
มาตรา ๑๖
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
และให้มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง
ในเมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ
เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการ
มาตรา ๑๗ ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก
ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อการนี้
ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ
ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๘[๓] ทุก ๆ ปีสงเคราะห์
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวนร้อยละห้าสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ
มอบไว้ให้แก่กรมกสิกรรมเป็นงวด ๆ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมกสิกรรมได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒) จำนวนไม่เกินอีกร้อยละห้า
เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓) จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒) เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น
และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา
๕
ถ้าหากมีให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม
(๒) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น จำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี
ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางในปีสงเคราะห์ถัดไป
เงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม
(๓) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด
ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (๓)
ในปีสงเคราะห์ถัดไป
มาตรา ๑๙
เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา ๑๘ (๓)
นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยางดังต่อไปนี้
ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบ
ประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบ
ประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบ
แต่ถ้าสวนประเภทใดประเภทหนึ่ง
มีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด
ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้
ในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับ
เจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากันหรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน
หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้
ทั้งนี้ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้
และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวม
การที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๒๐
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินที่ตนเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่น
ผู้ขอรับการสงเคราะห์ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า
ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอมในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์
ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวกและปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๑[๔] เจ้าของสวนยางซึ่งมีสวนยางแปลงเดียวมีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่
หรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันไม่เกินสิบห้าไร่
จะขอรับการสงเคราะห์ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดีในที่ดินแปลงใหม่ซึ่งที่ดินแปลงนั้นมีเนื้อที่ตั้งแต่สิบห้าไร่ขึ้นไปแทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้
แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะพึงได้รับสำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น
มาตรา ๒๒
เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตาม
หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ระงับการสงเคราะห์เสียได้
มาตรา ๒๓
เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา ๒๔ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์
และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น
เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด
(๒)
มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์ และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด
ๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ
(๓) มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (๒)
ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ
อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๕[๕]
ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี
ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน
โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุลและรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
มาตรา ๒๖ ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ
เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เงินค่าปรับตามมาตรานี้
ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๒๗
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ
เจ้าพนักงานสงเคราะห์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา
๒๔ (๑) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา ๒๔ (๒)
หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล
ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สวนยางในประเทศไทยส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยางพันธุ์ดี
เป็นเหตุให้การผลิตยางไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้
และโดยที่การแก้ไขสภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้นต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางเก่า
จึงสมควรให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕[๖]
หมายเหตุ
:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เพื่อให้มีบทบัญญัติให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ถ้าหากมีมาใช้จ่ายในการบริหารงานสงเคราะห์การทำสวนยางและสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม
และแก้บทบัญญัติให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางในที่ดินแปลงใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
วศิน/ผู้จัดทำ
๖
มีนาคม ๒๕๕๒
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๗/ตอนที่ ๗๓/หน้า ๖๘๘/๖ กันยายน ๒๕๐๓
[๒]
มาตรา ๓ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๓]
มาตรา ๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๔]
มาตรา ๒๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๕]
มาตรา ๒๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
[๖]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๑๐๕/หน้า ๑๒๔๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๕ |
301198 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2505 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒)
พ.ศ. ๒๕๐๕
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๓
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๕
เป็นปีที่ ๑๗
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้
ต้นยาง หมายความว่า ต้นยางพารา (Hevea SPP.)
ยางพันธุ์ดี หมายความว่าต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
สวนยาง หมายความว่า
ที่ดินปลูกต้นยางมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่
แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
สวนขนาดเล็ก หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่
สวนขนาดกลาง หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่
สวนขนาดใหญ่ หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป
เจ้าของสวนยาง หมายความว่า ผู้ทำสวนยาง
และมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน
เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยาง
แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
การปลูกแทน หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดี
หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนต้นยางเก่าทั้งหมด หรือบางส่วน
ปีสงเคราะห์ หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคมของปีหนึ่งถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ.
ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๑๘ ทุก ๆ ปีสงเคราะห์
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวนร้อยละห้าสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยางในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ
มอบไว้ให้แก่กรมกสิกรรมเป็นงวด ๆ ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมกสิกรรมได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒)
จำนวนไม่เกินอีกร้อยละห้า เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓)
จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒)
เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น
และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา
๕
ถ้าหากมีให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม
(๒) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น จำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี
ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางในปีสงเคราะห์ถัดไป
เงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม
(๓) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด
ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (๓)
ในปีสงเคราะห์ถัดไป
มาตรา ๕
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๑
เจ้าของสวนยางซึ่งมีสวนยางแปลงเดียวมีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่
หรือหลายแปลงมีเนื้อที่รวมกันไม่เกินสิบห้าไร่
จะขอรับการสงเคราะห์ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดีในที่ดินแปลงใหม่ซึ่งที่ดินแปลงนั้นมีเนื้อที่ตั้งแต่สิบห้าไร่ขึ้นไปแทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้
แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะพึงได้รับสำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น
มาตรา ๖
ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
มาตรา ๒๕
ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี
ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน
โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุลและรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เพื่อให้มีบทบัญญัติให้คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ถ้าหากมีมาใช้จ่ายในการบริหารงานสงเคราะห์การทำสวนยางและสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม
และแก้บทบัญญัติให้เจ้าของสวนยางขนาดเล็กมีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยางในที่ดินแปลงใหม่ได้มากยิ่งขึ้น
สุรินทร์ / แก้ไข
๒๕/๗/๒๕๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๒๔ ธันวาคม ๒๕๔๗
วศิน/แก้ไข
๖ มีนาคม ๒๕๕๒
พัชรี/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๙/ตอนที่ ๑๐๕/หน้า ๑๒๔๓/๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๕ |
318467 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ในพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
สังวาลย์
ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม
พ.ศ. ๒๕๐๓
เป็นปีที่ ๑๕
ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้น
พระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา
จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒[๑]
พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
ต้นยาง หมายความว่า ต้นยางพารา (Hevea spp.)
ยางพันธุ์ดี หมายความว่า
ต้นยางพันธุ์ที่ให้เนื้อยางมีปริมาณสูงกว่าต้นยางพันธุ์ธรรมดา
ซึ่งอธิบดีกรมกสิกรรมรับรองว่าเป็นยางพันธุ์ดี
สวนยาง หมายความว่า
ที่ดินปลูกต้นยางมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่
แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น
และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
สวนขนาดเล็ก หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่
สวนขนาดกลาง หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่
สวนขนาดใหญ่ หมายความว่า
สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป
เจ้าของสวนยาง หมายความว่า ผู้ทำสวนยาง
และมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน
เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ
ของต้นยางแต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
การปลูกแทน หมายความว่า
การปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนต้นยางเก่าทั้งหมดหรือบางส่วน
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า
บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้
เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการจัดทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล
มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ
ที่จำเป็นหรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้
ให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในจังหวัดพระนครเรียกว่า
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๕
บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามระเบียบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงและตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดเป็นครั้งคราวในราชกิจจานุเบกษา
โดยถือเกณฑ์ยางแผ่นรมควันเป็นมาตรฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันอยู่ในระดับไม่เกินกิโลกรัมละสิบบาท ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์
(๒)
ถ้าราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันสูงกว่ากิโลกรัมละสิบบาท
จะกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ไม่เกินกิโลกรัมละห้าสิบสตางค์หรือสูงกว่ากิโลกรัมละห้าสิบสตางค์
โดยเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละสิบส่วนของราคาที่สูงกว่าสิบบาทนั้นก็ได้
ราคามาตรฐานของยางแผ่นรมควันดังกล่าวข้างต้น
หมายถึงราคาที่ซื้อขายกันภายในประเทศ ประกอบกับราคาที่ซื้อขายกันในต่างประเทศ
หรือราคาที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างประกอบกัน
ยางอื่น นอกจากยางแผ่นรมควันและน้ำยาง เช่น ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง
รัฐมนตรีจะประกาศกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งออกต้องเสียโดยเฉพาะ ต่ำกว่าหรือสูงกว่าอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางแผ่นรมควันออกต้องเสียก็ได้
แต่ในกรณีที่จะประกาศกำหนดอัตราสูงกว่า
ห้ามมิให้กำหนดสูงกว่าร้อยละยี่สิบของอัตราเงินสงเคราะห์สำหรับยางแผ่นรมควัน
หากมิได้ประกาศระบุกำหนดอัตราไว้โดยเฉพาะ ให้ผู้ส่งออกเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
เงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งน้ำยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียให้กำหนดตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑)
น้ำยางสดให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักน้ำยาง
(๒)
น้ำยางข้นให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยาง
ยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักรเพื่อเป็นตัวอย่าง
ซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัม หรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม
เป็นผู้ส่งเพื่อประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า จะมีน้ำหนักเท่าใดก็ตาม
ไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์
มาตรา ๖
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากบุคคลผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรซึ่งต้องเสียตามมาตรา
๕ ได้โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร
ทั้งนี้จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา ๗
เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา ๘
ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องเป็นเจ้าของสวนยางที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป
หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อย
การสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน
และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี
พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือเครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือ
หรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้ จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา ๙
ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่ง
เรียกโดยย่อว่า ก.ส.ย. ประกอบด้วยประธานกรรมการ ผู้อำนวยการ
อธิบดีกรมกสิกรรม และผู้อำนวยการกองการยาง เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
และกรรมการอื่นอีกมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคน แต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่น
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง
อยู่ในตำแหน่งได้คราวละสองปี ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการอีกได้
มาตรา ๑๑
นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๐
ประธานกรรมการและกรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
คณะรัฐมนตรีลงมติให้ออก
(๔)
เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕)
เป็นบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๖)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่คดีความผิดที่เป็นลหุโทษ
หรือความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
เมื่อประธานกรรมการหรือกรรมการพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
คณะรัฐมนตรีอาจแต่งตั้งผู้อื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการแทน
ประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งตามวรรคก่อน
อยู่ในตำแหน่งตามวาระของผู้ซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๒
การประชุมคณะกรรมการ
ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่ต่ำกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมดจึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการด้วยกันคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุมแทน
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๓
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ
(๑)
ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง
(๒)
วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานและการเงิน
เพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยางโดยอนุมัติรัฐมนตรี
(๓)
วางข้อบังคับโดยอนุมัติรัฐมนตรี ว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง
เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน
และเงินที่ควรจ่ายอย่างอื่น
คณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้
โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (๒)
มาตรา ๑๔
ประธานกรรมการ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ อาจได้รับค่าพาหนะ
เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่าย และค่าตอบแทน หรือเบี้ยประชุม
ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕
ให้รัฐมนตรีมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินเดือนมีอัตราตามที่คณะกรรมการกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
และได้รับประโยชน์อื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับนั้นด้วย
มาตรา ๑๖
ให้ผู้อำนวยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามมติของคณะกรรมการ
และให้มีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง
ในเมื่อผู้อำนวยการไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน
ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ
เว้นแต่อำนาจและหน้าที่ของผู้อำนวยการในฐานะกรรมการ
มาตรา ๑๗
ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก
ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อการนี้
ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ
ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๘
ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕ ดังต่อไปนี้
(๑)
จำนวนร้อยละห้าสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยาง
ในอันที่จะเป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ มอบไว้ให้แก่กรมกสิกรรมเป็นงวด ๆ
ตามที่รัฐมนตรีกำหนด
เงินที่กรมกสิกรรมได้รับนี้มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(๒)
จำนวนไม่เกินอีกร้อยละห้า เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว
ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น
(๓)
จำนวนเงินนอกจาก (๑) และ (๒)
เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น
และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้
มาตรา ๑๙
เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา ๑๘ (๓)
นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยางดังต่อไปนี้
ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบ
ประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบ
ประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบ
แต่ถ้าสวนประเภทใดประเภทหนึ่ง
มีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด
ให้คณะกรรมการมีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้
ในกรณีเช่นว่านี้ มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับ
เจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากัน
หรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้
และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวม
การที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
มาตรา ๒๐
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยางในที่ดินที่ตนเช่าหรืออาศัยบุคคลอื่น
ผู้ขอรับการสงเคราะห์ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า
ผู้ให้เช่าหรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอมในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้ว
เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์
ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวกและปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามความจำเป็น
มาตรา ๒๑
เจ้าของสวนยางซึ่งสวนยางนั้นมีขนาดไม่เกินสิบห้าไร่
อาจขอรับการสงเคราะห์ด้วยการสร้างสวนยางขึ้นใหม่ด้วยยางพันธุ์ดีมีขนาดเกินสิบห้าไร่ก็ได้
ในกรณีดังว่านี้
ให้ถือว่าเป็นการขอรับการสงเคราะห์เพื่อการปลูกแทนตามพระราชบัญญัตินี้
แต่การสงเคราะห์ที่จะพึงได้รับให้มีปริมาณเพียงเท่าที่พึงได้รับสำหรับสวนยางที่มีอยู่แล้วเท่านั้น
มาตรา ๒๒
เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่ปฏิบัติตาม
หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ
ระเบียบหรือคำสั่งของคณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ระงับการสงเคราะห์เสียได้
มาตรา ๒๓
เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา ๒๔
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์
และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑)
เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น
เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด
(๒)
มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์และบุคคลใด ๆ
ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด ๆ
เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาให้ถ้อยคำ
(๓)
มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (๒) ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ
อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๕
ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีปฏิทินทุกปี ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลย์แสดงฐานะการเงิน
โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
และทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรี
ให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุลย์
และรายงานดังกล่าวในวรรคก่อน ในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า
มาตรา ๒๖
ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา ๕
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เงินค่าปรับตามมาตรานี้
ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา ๕
และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา ๒๗
ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา
๒๔ (๑) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา ๒๔ (๒)
หรือ (๓) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์และออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวงนั้น
เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ส. ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
โดยที่สวนยางในประเทศไทยส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยางพันธุ์ดี
เป็นเหตุให้การผลิตยางไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้
และโดยที่การแก้ไขสภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้น ต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดีแทนยางเก่า
จึงสมควรให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้
พรพิมล/แก้ไข
๒๖/๙/๒๕๔๔
พัชรินทร์/แก้ไข
๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
วศิน/แก้ไข
๖ มีนาคม ๒๕๕๒
พัชรี/จัดทำ
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
วิชพงษ์/ตรวจ
๒๘ มกราคม ๒๕๕๖
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๗๗/ตอนที่ ๗๓/หน้า ๖๘๘/๖ กันยายน ๒๕๐๓ |
301201 | กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2532) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และมาตรา ๒๑
ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๐๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิก
(๑)
กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
(๒)
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ข้อ
๒
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยางเพื่อการปลูกแทนตามมาตรา
๒๐ หรือเพื่อสร้างสวนยางพันธุ์ดีในที่ดินแปลงใหม่แทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมตามมาตรา
๒๑ ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ตามแบบ ส.ก.ย.๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ
๓
ผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนและมีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่าสองไร่ผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยางเพื่อปลูกยางพันธุ์ดีตามมาตรา
๒๑ ทวิ ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ตามแบบ ส.ก.ย. ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้
ข้อ
๔ การยื่นคำขอตามกฎกระทรวงนี้
ให้ยื่นต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางหรือที่ดินนั้นตั้งอยู่
ภายในระยะเวลาที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
ข้อ
๕
การพิจารณาคำขอรับการสงเคราะห์ตามข้อ ๒ และข้อ ๓ ให้คณะกรรมการพิจารณารายงานของเจ้าพนักงานสงเคราะห์จากรายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทนตามแบบ
ส.ก.ย. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้
หรือรายงานการสำรวจตรวจสอบที่ดินสำหรับผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนตามแบบ ส.ก.ย. ๔ ท้ายกฎกระทรวงนี้ด้วย
ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางแจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่งให้ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ทราบเป็นหนังสือ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒
เจริญ คันธวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอรับการสงเคราะห์เพื่อการปลูกแทนตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ส.ก.ย. ๑)
๒.
รายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทนตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ส.ก.ย. ๒)
๓.
คำขอรับการสงเคราะห์สำหรับผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนตามมาตรา ๒๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ส.ก.ย. ๓)
๔.
รายงานการสำรวจตรวจสอบที่ดินสำหรับผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนตามมาตรา ๒๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ส.ก.ย. ๔)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากได้มีการปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินสงเคราะห์ของผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
โดยให้บุคคลที่ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
แทนการกำหนดในกฎกระทรวง และมาตรา ๒๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้ผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อน และมีที่ดินเป็นของตนเองไม่น้อยกว่าสองไร่ซึ่งประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยาง
ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์เพื่อปลูกยางพันธุ์ดีตามแบบและวิธีการที่กำหนดกฎกระทรวง
สมควรกำหนดแบบและวิธีการยื่นคำขอดังกล่าว นอกจากนี้
สมควรปรับปรุงแบบคำขอรับการสงเคราะห์เพื่อการปลูกแทนตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑
และปรับปรุงแบบรายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทนตามมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๑
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
และสมควรกำหนดแบบรายงานการสำรวจตรวจสอบที่ดินสำหรับผู้ซึ่งไม่มีสวนยางมาก่อนตามมาตรา
๒๑ ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับการกำหนดแบบคำขอดังกล่าวด้วย จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สัญชัย/ปรับปรุง
๘ กันยายน ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๑๒๖/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๒ |
318469 | กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2529) ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๙)
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกแบบ ก.ส.ย. ๒ และแบบ ก.ส.ย. ๓ ท้ายกฎกระทรวง ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ และให้ใช้แบบ ก.ส.ย. ๒ และแบบ ก.ส.ย. ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้แทน
ข้อ ๒
กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
ณรงค์ วงค์วรรณ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอรับการสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๒)
๒.
รายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทน ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๓)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากแบบคำขอรับการสงเคราะห์
(ก.ส.ย. ๒) และแบบรายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทน (ก.ส.ย. ๓) ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่เหมาะสม
สมควรปรับปรุงให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้โดยสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๓/ตอนที่ ๕๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๔/๑๐ เมษายน ๒๕๒๙ |
301200 | กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.2503 | กฎกระทรวง
กฎกระทรวง
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ใดจะส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ตามแบบ ก.ส.ย.
๑ ท้ายกฎกระทรวงนี้ ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกประกอบการค้ายางอยู่
พร้อมด้วยเงินสงเคราะห์ตามอัตราที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
ข้อ ๒
เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์เพื่อการปลูกแทน ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ตามแบบ
ก.ส.ย. ๒ ท้ายกฎกระทรวงนี้ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่ภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเป็นรายปี
เมื่อคณะกรรมการได้พิจารณารายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทนของเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามแบบ
ก.ส.ย. ๓ ท้ายกฎกระทรวงนี้แล้ว ให้แจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ทราบ
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๓
พลเอก สุรจิต จารุเศรนี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
[เอกสารแนบท้าย]
๑. คำขอชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๑)
๒. คำขอรับการสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๒)
๓.
รายงานการสำรวจตรวจสอบเพื่อการปลูกแทน ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๓)
[ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย]
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ
เนื่องจากได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางแล้ว
แต่ยังมิได้กำหนดระเบียบและวิธีการสำหรับผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรให้เสียเงินสงเคราะห์
และยังมิได้กำหนดระเบียบและวิธีการสำหรับเจ้าของสวนยางที่จะขอรับการสงเคราะห์
จึงเห็นสมควรกำหนดระเบียบดังกล่าวเพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไป
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจนุเบกษา เล่ม
๗๗/ตอนที่ ๙๙/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒/๕ ธันวาคม ๒๕๐๓ |
509117 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง
เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์[๑]
อาศัยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๓ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงออกประกาศกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ได้เฉพาะสถานที่
ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกรุงเทพมหานคร
๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจัดหวัดระยอง
๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดจันทบุรี
๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตราด
๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่น
๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุดรธานี
๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุรินทร์
๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี
๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์
๑๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดหนองคาย
๑๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดภูเก็ต
๑๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดชุมพร
๑๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอปะทิว
๑๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท่าแซะ
๑๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองระนอง
จังหวัดระนอง
๑๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบ้านนาสาร
๑๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเวียงสระ
๑๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคีรีรัฐนิคม
๒๐.
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๑
๒๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท่าศาลา
๒๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอร่อนพิบูลย์
๒๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราชเขต
๒
๒๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอฉวาง
๒๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอนาบอน
๒๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพังงา
๒๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท้ายเหมือง
๒๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดกระบี่
๒๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคลองท่อม
๓๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง
๓๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอห้วยยอด
๓๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอกันตัง
๓๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอย่านตาขาว
๓๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสิเกา
๓๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอปะเหลียน
๓๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง
๓๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอควนขนุน
๓๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบางแก้ว
๓๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอป่าบอน
๔๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสตูล
๔๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอละงู
๔๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต ๑
๔๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองสงขลา
๔๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสะเดา
๔๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรัตภูมิ
๔๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต ๒
๔๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเทพา
๔๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอจะนะ
๔๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสะบ้าย้อย
๕๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดปัตตานี
๕๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอโคกโพธิ์
๕๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสายบุรี
๕๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนราธิวาส
๕๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอระแงะ
๕๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรือเสาะ
๕๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสุไหงโก-ลก
๕๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดยะลา
๕๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอยะหา
๕๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรามัน
๖๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบันนังสตา
๖๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเบตง
๖๒. ศูนย์วิจัยยางสงขลา จังหวัดสงขลา
๖๓. ด่านศุลกากรสะเดา
๖๔. ด่านศุลกากรสุโหงโก-ลก
๖๕. ด่านศุลกากรเบตง
๖๖. ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
๖๗.[๒]
ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จ.เชียงราย
๖๘.[๓]
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอบึงกาฬ
๖๙.[๔]
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดมุกดาหาร
๗๐.[๕]
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอนาทวี
๗๑.[๖]
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดยโสธร
ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่องกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านี้ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๓
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๒)[๗]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่
๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๓)[๘]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่
๔) [๙]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่
๕) [๑๐]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่
๖) [๑๑]
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
สัญชัย/ปรับปรุง
๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๓๑/๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
[๒] ข้อ ๖๗
เพิ่มโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒)
[๓] ข้อ ๖๘
เพิ่มโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๓)
[๔] ข้อ ๖๙
เพิ่มโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๔)
[๕] ข้อ ๗๐
เพิ่มโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๕)
[๖] ข้อ ๗๑
เพิ่มโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๖)
[๗] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๒๐/๔ ธันวาคม ๒๕๔๖
[๘] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๘/๒๑ มกราคม ๒๕๕๑
[๙] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๑๒/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑๐] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๑๓/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
[๑๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๙๕/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ |
716480 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและงบแสดงฐานะการเงินของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำปีสงเคราะห์ 2555 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
รายงานผลการปฏิบัติงานและงบแสดงฐานะการเงินของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์
๒๕๕๕[๑]
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ และประกอบกับประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๖/๒๕๕๗
ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ ให้ปลัดกระทรวงปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอรายงานผลการปฏิบัติงานและงบแสดงฐานะการเงินของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๕ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ชวลิต ชูขจร
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานผลการปฏิบัติงานและงบแสดงฐานะการเงินของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๕
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
กฤษดายุทธ/ผู้ตรวจ
๖ พฤศจิกายน
๒๕๕๗
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๑/ตอนพิเศษ ๒๑๗ ง/หน้า ๙/๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ |
691789 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรช่วยเหลือเจ้าของสวนยางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ จึงให้ออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ซึ่งต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
สำหรับยางทุกชนิดที่ผู้ส่งออกได้ซื้อจากเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ ๒ กันยายน ๒๕๕๖
ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖
ประกาศ ณ วันที่ ๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
ยุคล ลิ้มแหลมทอง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๐ กันยายน ๒๕๕๖
โชติกานต์/ผู้ตรวจ
๑๗ กันยายน ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๐/ตอนพิเศษ ๑๑๐ ง/หน้า ๑/๒ กันยายน ๒๕๕๖ |
678730 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการชำระเงินสงเคราะห์ พ.ศ. 2555 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการชำระเงินสงเคราะห์
พ.ศ. ๒๕๕๕
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงวิธีการรับชำระเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
เพื่อไม่ให้มีขั้นตอนการดำเนินการเกินความจำเป็น และปรับปรุงภารกิจให้ทันต่อสถานการณ์
ทำให้เกิดความสะดวกต่อผู้รับบริการ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ในการชำระเงินสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๕๕๕
ข้อ ๒[๑] ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๔
(๒) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ในประกาศนี้
เงินสงเคราะห์ หมายความว่า
เงินที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระให้แก่ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
สำนักงาน หมายความว่า
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้ส่งยางออก หมายความว่า
ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
เจ้าพนักงานสงเคราะห์ หมายความว่า
เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับชำระเงินสงเคราะห์
ตามประกาศของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ใบรับเงินสงเคราะห์ หมายความว่า
เอกสารหรือข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักงานออกให้เพื่อเป็นหลักฐานในการรับชำระเงินสงเคราะห์
ธนาคาร หมายความว่า
ธนาคารที่สำนักงานกำหนด ให้เป็นธนาคารรับชำระเงินสงเคราะห์
อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า
การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง
วิธีการทางแม่เหล็กหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ
เช่นว่านั้น
วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า
การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินสงเคราะห์ เป็นต้นว่า การจัดทำ ยื่น
ส่ง รับ เก็บรักษา การชำระเงิน การออกใบรับเงินสงเคราะห์หรือการดำเนินการอื่นใด
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือบางส่วน
การส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
หมายความว่า
ผู้ส่งข้อมูลส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินสงเคราะห์ทางอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าของลายมือชื่อผ่านบุคคล
ที่เป็นสื่อกลางผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้รับข้อมูล
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า
อักษร อักขระ ตัวเลข
เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
เจ้าของลายมือชื่อ หมายความว่า
ผู้ซึ่งถือข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น
ข้อความ หมายความว่า เรื่องราว
หรือข้อเท็จจริง ไม่ว่าจะปรากฏในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข เสียง ภาพ หรือรูปแบบอื่นใดที่สื่อความหมายได้โดยสภาพของสิ่งนั้นเองหรือโดยผ่านวิธีการใดๆ
ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า
ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือโทรสาร
ผู้ส่งข้อมูล หมายความว่า
บุคคลซึ่งเป็นผู้ส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก่อนจะมีการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อส่งไปตามวิธีการที่ผู้นั้นกำหนด
โดยบุคคลนั้นอาจจะส่งหรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง หรือการส่ง
หรือสร้างข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในนามหรือแทนบุคคลนั้นก็ได้ ทั้งนี้
ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ผู้รับข้อมูล หมายความว่า
บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้และได้รับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
ทั้งนี้ไม่รวมถึงบุคคลที่เป็นสื่อกลางสำหรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น
บุคคลที่เป็นสื่อกลาง หมายความว่า
บุคคลซึ่งกระทำการในนามผู้อื่นในการส่ง รับ
หรือเก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์อันใดอันหนึ่งโดยเฉพาะ
รวมถึงให้บริการอื่นที่เกี่ยวกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้น
หมวด ๑
บททั่วไป
ข้อ ๕ ผู้ใดประสงค์จะส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
จะต้องชำระเงินสงเคราะห์ ให้กับสำนักงาน
ข้อ ๖ ผู้ใดจะชำระเงินสงเคราะห์
ต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ค้ายาง
และใบอนุญาตเป็นผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง
ข้อ ๗ ผู้ใดจะชำระเงินสงเคราะห์
ต้องลงทะเบียน เป็นผู้มีสิทธิชำระเงินสงเคราะห์ ณ สำนักงานส่วนหลักเกณฑ์
วิธีการในการขอลงทะเบียนและคุณสมบัติของผู้ขอลงทะเบียนให้เป็นไปตามแบบที่สำนักงานกำหนด
หมวด ๒
วิธีการชำระเงินสงเคราะห์
ข้อ ๘ ภายใต้บังคับข้อ
๖ ข้อ ๗ ผู้ใดประสงค์จะส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์พร้อมเงินสงเคราะห์
ต่อสำนักงาน ตามแบบและสถานที่ที่สำนักงานกำหนด
แบบคำขอชำระเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังนี้
(๑) ชื่อและที่อยู่ของผู้ส่งยางออก
(๒) ชนิดยางที่ส่งออก (กรณียางผสมสารเคมี
ให้ระบุเลขที่หนังสือรับรองยางผสมสารเคมีและเปอร์เซ็นต์ของเนื้อยางธรรมชาติ)
(๓) ปริมาณยางที่ส่งออก
(๔) อัตราเงินสงเคราะห์และจำนวนเงินสงเคราะห์
(๕) อินวอยซ์ เลขที่ และวันที่
(๖) ประเทศปลายทาง
(๗) ด่าน หรือท่า หรือที่ส่งยางออก
(๘) ยานพาหนะที่ส่ง
(๙) ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ของผู้ส่งยางออก
ข้อ ๙ ผู้ใดประสงค์จะส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์และชำระเงินสงเคราะห์โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามแบบที่สำนักงานกำหนด
ในกรณีที่สำนักงานไม่อาจให้บริการยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์และชำระเงินสงเคราะห์
โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านผู้ให้บริการรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
ตามแบบที่สำนักงานกำหนดได้เป็นการชั่วคราวไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม
ผู้ส่งยางออกสามารถยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ณ สำนักงานได้
ข้อ ๑๐ การชำระเงินสงเคราะห์
ให้ชำระเป็น
(๑) แคชเชียร์เช็คที่ธนาคารในท้องที่นั้นเป็นผู้สั่งจ่าย
โดยต้องขีดคร่อมสั่งจ่ายเฉพาะให้แก่ สำนักงาน โดยขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออก
(๒) ชำระเงินผ่านช่องทางการรับชำระเงินของธนาคารตามที่สำนักงานกำหนด
(๓) กรณีมีความจำเป็นต้องรับชำระเงินสงเคราะห์เป็นเงินสด
ให้รับไว้ตามความจำเป็นและต้องนำเงินที่รับไว้ ฝากเข้าบัญชีธนาคารของสำนักงานทันที
หรือในวันทำการถัดไป
ข้อ ๑๑ เมื่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตรวจการรับเงินสงเคราะห์เห็นว่ามีการชำระเงินสงเคราะห์ครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ให้ออกใบรับเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
การออกใบรับเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งสำนักงานอาจออกให้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ตามที่สำนักงานกำหนด
ข้อ ๑๒ ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
จะส่งยางออกนอกราชอาณาจักรได้เฉพาะด่านหรือท่าหรือที่ส่งยางออก ตามที่ระบุไว้ในข้อ
๘ เท่านั้น
ข้อ ๑๓ ผู้ใดได้ชำระเงินสงเคราะห์ไว้แล้ว
หากมีเหตุขัดข้องหรือเหตุจำเป็นอื่นใดทำให้ไม่สามารถส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
หรือมีเหตุอื่นใดที่สำนักงานจำต้องคืนเงินจำนวนใด ๆ ให้แก่ผู้ส่งยางออก
ผู้นั้นมีสิทธิขอรับเงินสงเคราะห์คืนได้ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด ทั้งนี้
ห้ามมิให้ใช้สิทธิขอรับเงินสงเคราะห์คืน
เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันออกใบรับเงินสงเคราะห์
ข้อ ๑๔ ให้คณะกรรมการมีอำนาจ
ออกข้อบังคับเพื่อให้การเป็นไปตามประกาศนี้
บทเฉพาะกาล
ข้อ ๑๕ ในระหว่างที่สำนักงานยังมิได้กำหนดแบบวิธีในการยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
และชำระเงินสงเคราะห์โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ วิธีเดียว
ผู้ส่งยางออกสามารถยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ณ สำนักงานได้
จนกว่าสำนักงานจะมีประกาศยกเลิกวิธีการยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ณ สำนักงาน
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๕
ณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๐ ธันวาคม
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๘๙ ง/หน้า ๓๑/๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๕ |
677752 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำปีสงเคราะห์ 2554 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์
๒๕๕๔[๑]
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอรายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๔ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
ณัฐวุฒิ
ใสยเกื้อ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๔
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๕๕
ณัฐพร/ผู้ตรวจ
๒๗ พฤศจิกายน
๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๙/ตอนพิเศษ ๑๗๗ ง/หน้า ๔๘/๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ |
654126 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประจำปีสงเคราะห์ 2553 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์
๒๕๕๓[๑]
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอรายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๓ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
ศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานของผู้สอบบัญชี เสนอ คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
๒. รายงานผลการปฏิบัติงาน ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๕ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๐ ของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๔ กันยายน
๒๕๕๔
ปณตภร/ผู้ตรวจ
๑๐ ตุลาคม ๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๙๕ ง/หน้า ๑๔/๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
652367 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
(ฉบับที่ ๒)
ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓
สิงหาคม ๒๕๕๓ ได้กำหนดให้ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปต่างประเทศก่อนวันที่
๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยที่มีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่
๓๑ มกราคม ๒๕๕๔ ให้ยื่นหลักฐานที่เชื่อถือได้
เพื่อเสนอคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางพิจารณาอนุมัติ และเมื่อผู้ส่งออกรายใดได้รับอนุมัติแล้วให้ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิม
นั้น
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๔
เห็นชอบให้ทบทวนการกำหนดอัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(Cess) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
และให้เพิ่มสิทธิผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่มียางในสต็อก
แต่ยังไม่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ณ วันที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
ที่ได้มีการส่งออกยางไปนอกราชอาณาจักรจริงให้มีสิทธิชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิม
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
จึงให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของข้อ ๔ แห่งประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓
ดังนี้
ให้ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่มียางในสต็อกตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตรวจสอบตั้งแต่วันที่
๒๐ กันยายน ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
แต่ยังไม่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓
และได้มีการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง
ให้มีสิทธิได้รับการพิจารณาให้สิทธิในการชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนด
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ศุภชัย
โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๒๒ สิงหาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๘๕ ง/หน้า ๑๖/๒ สิงหาคม ๒๕๕๔ |
651102 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม[๑]
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ และวันที่ ๒๖ เมษายน
๒๕๕๔ ประกอบกับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ลงวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๓ และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๐
มิถุนายน ๒๕๕๔ กำหนดให้ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปต่างประเทศก่อนวันที่
๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
ที่มีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔
และผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่มียางในสต็อกตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(สกย.) ตรวจสอบระหว่างวันที่ ๒๐ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
แต่ยังไม่มีสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๕๓ และได้มีการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง
ได้รับการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม
โดยให้ยื่นหลักฐานที่เชื่อถือได้ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง (ก.ส.ย.) พิจารณาอนุมัติก่อน
เมื่อผู้ส่งยางออกรายใดได้รับอนุมัติแล้วจึงจะชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม ทั้งนี้
ให้ระบุให้ชัดเจนว่าหลักฐานที่เชื่อถือได้มีความหมายและขอบเขตเพียงใด
โดยให้รวมถึงการมียางในสต็อกอยู่แล้ว นั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์
(Cess)
ในอัตราเดิมดังนี้
ก. หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม
๑. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่ทำก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
๑.๑ เงื่อนไขของสัญญาและเอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณา
๑.๑.๑
ต้องเป็นสัญญาและเอกสารที่ผู้ส่งยางออกได้ยื่นต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ภายในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๔
๑.๑.๒ ผู้ยื่นต้องยืนยันและรับผิดชอบต่อสัญญาและเอกสารอื่นที่ยื่นให้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หากตรวจพบภายหลังว่าเป็นเท็จ
ผู้ยื่นจะต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางทุกกรณี
๑.๑.๓ เอกสารที่ยื่น ผู้ยื่นจะต้องให้ความยินยอมให้ผู้มีส่วนได้เสียตรวจสอบ
หากมีผู้ร้องขอตรวจสอบ และคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางเห็นชอบให้ดำเนินการได้
๑.๑.๔ หากเอกสารใดขาดความสมบูรณ์
ผู้ยื่นจะต้องส่งเพิ่มเติมตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางร้องขอ
หากไม่ประสงค์ส่งข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กำหนดสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางถือว่าผู้ยื่นไม่ประสงค์จะขอใช้สิทธิตามเอกสารที่ยื่นไว้อีกต่อไป
๑.๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาสัญญา
๑.๒.๑ พิจารณาเอกสารของคู่สัญญาเป็นลำดับแรก
๑.๒.๑.๑ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องปรากฏข้อความ
ดังนี้
(๑) ชื่อบริษัทและที่ตั้งสำนักงาน
(๒) วัตถุประสงค์และธุรกิจที่ดำเนินการ
(๓) รายชื่อผู้ถือหุ้น
(๔) ผู้มีอำนาจลงนาม
๑.๒.๑.๒ ผู้ขายจะต้องแสดงหนังสือรับรองการจดทะเบียนตามข้อ ๑.๒.๑.๑
ของตนเอง ซึ่งรับรองโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ไม่เกิน ๑ เดือน และให้แสดงหลักฐานใบอนุญาตเป็นผู้ส่งยางออกตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง
พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๒๖
๑.๒.๑.๓ ผู้ขายจะต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองการจดทะเบียนตามข้อ
๑.๒.๑.๑ ของผู้ซื้อ
๑.๒.๒ พิจารณารายละเอียดความถูกต้องในสัญญา โดยอย่างน้อยในสัญญาต้องมีรายละเอียดดังนี้
๑.๒.๒.๑ ชนิด ปริมาณยาง กำหนดระยะเวลาส่งมอบ และสถานที่ส่งมอบ
๑.๒.๒.๒ เงื่อนไขราคาที่ตกลงซื้อขาย
๑.๒.๒.๓ การลงนามของคู่สัญญาครบถ้วน
๑.๒.๓ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ
๑.๒.๓.๑ สัญญาต้องระบุราคาซื้อขายล่วงหน้าชัดเจน
และเป็นสัญญาที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ (Cess)
๑.๒.๓.๒
ปริมาณยางที่ระบุในสัญญาจะได้รับสิทธิเฉพาะที่มีการส่งมอบตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม
๒๕๕๓
๑.๒.๓.๓ สัญญาที่ระบุปริมาณยาง
ส่งมอบยางออกนอกราชอาณาจักรเป็นรายเดือน พิจารณาให้สิทธิเฉพาะในแต่ละเดือน
(ไม่สะสม)
๑.๒.๓.๔ สัญญาที่ระบุปริมาณยาง การส่งมอบยางออกนอกราชอาณาจักรเป็นยอดรวม
พิจารณาให้สิทธิตามยอดคงเหลือจากที่ส่งมอบแล้ว
๑.๒.๓.๕ ระยะเวลาให้สิทธิไม่เกิน ๑ ปี นับจากวันที่ทำสัญญา
๑.๒.๔ พิจารณาความน่าเชื่อถือของการปฏิบัติตามสัญญา
๑.๒.๔.๑ ต้องมีการส่งยางออกไปต่างประเทศตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา
๑.๒.๔.๒ ต้องแสดงเอกสารหลักฐานการส่งออก ประกอบด้วย
(๑) สัญญาซื้อขาย
(๒) ใบอินวอยซ์
(๓) ใบขนสินค้าขาออก ที่แสดง Status ๐๔๐๙
(๔) ใบตราสินค้าลงเรือ (B/L)
(๕) หลักฐานการจ่ายเงินค่ายาง/การโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารคู่ค้า
(๖) ใบรับเงินสงเคราะห์ (Cess) ฉบับสำหรับผู้ส่งยางออก
๒. สต็อกยาง
๒.๑ เงื่อนไขของสต็อกยางและเอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณา
๒.๑.๑
ต้องเป็นสต็อกยางที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตรวจสอบระหว่างวันที่ ๒๐ -
๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
๒.๑.๒
ผู้ยื่นต้องยืนยันและรับผิดชอบต่อเอกสารประกอบการพิจารณาหากตรวจพบภายหลังว่าเป็นเท็จ
ผู้ยื่นจะต้องรับผิดชอบทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางทุกกรณี
๒.๑.๓ เอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณา
ผู้ยื่นจะต้องให้ความยินยอมให้ผู้มีส่วนได้เสียตรวจสอบ หากมีผู้ร้องขอตรวจสอบ
และคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางเห็นชอบให้ดำเนินการได้
๒.๑.๔ หากเอกสารที่นำมาประกอบการพิจารณาขาดความสมบูรณ์ ผู้ยื่นจะต้องส่งเพิ่มเติมตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางร้องขอ
หากไม่ประสงค์ส่งข้อมูลเพิ่มเติมตามที่กำหนด
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางถือว่าผู้ยื่นไม่ประสงค์จะใช้สิทธิตามสต็อกที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตรวจสอบไว้แล้ว
๒.๒ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ
จากการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ (Cess)
๒.๒.๑
ชนิดยางที่ระบุในสัญญาจะต้องสอดคล้องกับชนิดยางตามสต็อกที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต
๒.๒.๒ ต้องเป็นการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง ตั้งแต่วันที่ ๑
ตุลาคม ๒๕๕๓ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๓
๒.๒.๓ ต้องแสดงเอกสารหลักฐาน
ที่ใช้ในการพิจารณาว่าผู้ส่งยางออกได้ซื้อยางตามสต็อกที่ขอรับสิทธิ
โดยคำนวณอัตราเงินสงเคราะห์ (Cess) ไว้ในอัตรากิโลกรัมละ ๑.๔๐ บาท ตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้แนบท้ายประกาศนี้
และแสดงเอกสารหลักฐานในการส่งออก ประกอบด้วย
(๑) สัญญาซื้อขาย
(๒) ใบอินวอยซ์
(๓) ใบขนสินค้าขาออก ที่แสดง Status ๐๔๐๙
(๔) ใบตราสินค้าลงเรือ (B/L)
(๕) ใบรับเงินสงเคราะห์ (Cess) ฉบับสำหรับผู้ส่งยางออก
๓. การให้สิทธิตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน
๒๕๕๓ ควบคู่กับสต็อกยางที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตรวจสอบระหว่างวันที่
๒๐ - ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ ให้พิจารณาดังนี้
๓.๑
กรณีปริมาณยางที่ขอรับสิทธิตามสัญญามากกว่าปริมาณยางที่ขอรับสิทธิตามสต็อก
ให้ถือว่าจำนวนสต็อกทั้งหมดเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการพิจารณาให้สิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ
๑
๓.๒
กรณีปริมาณยางที่ขอรับสิทธิตามสัญญาน้อยกว่าปริมาณยางที่ขอรับสิทธิตามสต็อก
ให้ถือว่าปริมาณยางตามสต็อกตามจำนวนเท่าสัญญาเป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้และเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
การพิจารณาให้สิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๑ สำหรับจำนวนสต็อกที่เกินจำนวนตามสัญญา
การพิจารณาให้สิทธิเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ ๒
๓.๓
กรณีผู้ส่งยางออกที่ประสงค์จะสละสิทธิการขอใช้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
ให้ผู้ส่งยางออกแจ้งเป็นหนังสือแก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ภายในวันที่
๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๔. สัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (afet)
๔.๑ ต้องเป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่ทำก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
๔.๒ พิจารณาให้สิทธิตามหลักฐานที่ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย
(afet)
แจ้งการส่งมอบแต่ละเดือนจนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๔
๔.๓ ต้องมีการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรจริง
โดยผู้ขอใช้สิทธิจะต้องแสดงเอกสารหลักฐานการส่งออก ประกอบด้วย
(๑) สัญญาซื้อขาย
(๒) ใบอินวอยซ์
(๓) ใบขนสินค้าขาออก ที่แสดง Status ๐๔๐๙
(๔) ใบตราสินค้าลงเรือ (B/L)
(๕) ใบรับเงินสงเคราะห์ (Cess) ฉบับสำหรับผู้ส่งยางออก
ข. หลักเกณฑ์การคืนเงินสงเคราะห์ (Cess) ให้แก่ผู้ส่งยางออก
เมื่อ สกย. ตรวจสอบเอกสารหลักฐานการขอคืนเงินสงเคราะห์ (Cess) ถูกต้องครบถ้วนและได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ให้ได้รับสิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมแล้ว
สกย. จะจ่ายเงินคืนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม โดยไม่ต้องหักชดเชยในงวดต่อไป
ค. การอุทธรณ์
ผู้ส่งยางออกที่ไม่ได้รับสิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางได้ที่
สกย. ภายใน ๖๐ วัน นับจากวันที่ สกย. แจ้งผลการพิจารณา หากพ้นเวลาที่กำหนดแล้ว
จะถือว่าสละสิทธิการขอใช้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิม
ตามประกาศนี้
ทั้งนี้ การยื่นอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผล และหลักฐานประกอบในการพิจารณาด้วย
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔
ศุภชัย
โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. บัญชีข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตราเดิม ค่าใช้จ่ายในการส่งออกยาง
๒. ข้อมูลประกอบการพิจารณา ให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมประเภทยางที่ส่งออก ยางแผ่นรมควัน ยาง ADS โดยใช้สิทธิตามปริมาณสต็อกยาง ที่ สกย.ตรวจสอบ เมื่อวันที่ ๒๐-๓๐ กันยายน
๒๕๕๓ บริษัท.........................................
๓. ข้อมูลประกอบการพิจารณา ให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมประเภทยางที่ส่งออก ยางแท่ง ยางเครฟ สกิมบล็อค O อื่น ๆ
(ระบุ).............................. โดยใช้สิทธิตามปริมาณสต็อกยาง ที่
สกย.ตรวจสอบ เมื่อวันที่ ๒๐-๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ บริษัท.........................................
๔. ข้อมูลประกอบการพิจารณา ให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (Cess) ในอัตราเดิมประเภทยางที่ส่งออก น้ำยางข้น น้ำยางสด โดยใช้สิทธิตามปริมาณสต็อกยาง
ที่ สกย.ตรวจสอบ เมื่อวันที่ ๒๐-๓๐ กันยายน ๒๕๕๓ บริษัท.........................................
๕. ข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตราเดิมต้นทุนการผลิต ยางแผ่นรมควัน ยาง ADS
๖. ข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตราเดิมต้นทุนการผลิต ยางแท่ง ยางเครฟ สกิมบล็อก อื่น ๆ (ระบุ)..............................
๗. ข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สิทธิชำระเงินสงเคราะห์ (CESS) ในอัตราเดิมต้นทุนการผลิต น้ำยางข้น น้ำยางสด
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖ กรกฎาคม
๒๕๕๔
ณัฐวดี ดำรง/ตรวจ
๒๖ กรกฎาคม
๒๕๕๔
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนพิเศษ ๗๑ ง/หน้า ๑๐๙/๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ |
641063 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำปีสงเคราะห์ 2552
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๒[๑]
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา
๒๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอรายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๒ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๕
ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๐ ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๒
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๘๕ ง/หน้า ๑/๙ ธันวาคม ๒๕๕๓ |
637421 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์เสียใหม่
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ
๒ ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระสำหรับยางทุกชนิดที่ส่งออก
คือ
๒.๑
ยางแผ่นรมควันต้องชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราดังนี้
(๑)
ราคายางไม่เกินกิโลกรัมละ ๔๐ บาท ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ ๙๐ สตางค์
(๒)
ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๔๐ บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ ๖๐ บาท
ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ ๑.๔๐ บาท
(๓)
ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๖๐ บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ ๘๐ บาท ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ
๒.๐๐ บาท
(๔)
ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๘๐ บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท
ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ ๓.๐๐ บาท
(๕)
ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท ชำระเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ ๕.๐๐ บาท
๒.๒
น้ำยางสด ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักน้ำยางสด
๒.๓
น้ำยางข้นหรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยางข้น หรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี
๒.๔
ยางผสมสารเคมี (Compound Rubber หรือ Rubber Masterbatch) ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้คำนวณน้ำหนักยางตามสัดส่วนของปริมาณเนื้อยางธรรมชาติที่ระบุในใบรับรองที่ออกโดยสถาบันวิจัยยาง
กรมวิชาการเกษตร
๒.๕
ยางอื่น เช่น ยางแท่ง ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง เป็นต้น
ต้องเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
ข้อ
๓ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศราคายางที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินสงเคราะห์
ตามข้อ ๒.๑ โดยใช้ราคายางแผ่นรมควันชั้น ๓ ยางแท่งชั้น ๒๐ และน้ำยางข้น (๖๐% d.r.c.) เป็นราคา
FOB (Free on Board) กรุงเทพฯ (ราคาสินค้าที่ส่งมอบ ณ ท่าเรือส่งออก)
เป็นราคากลางที่จะประกาศล่วงหน้าทุก ๑๕ วัน
เพื่อกำหนดอัตราที่ผู้ส่งออกชำระเงินสงเคราะห์ในช่วงระหว่างวันที่ ๑ - ๑๕
และวันที่ ๑๖ ถึงสิ้นเดือนของทุกเดือน
ข้อ
๔ ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรรายใด
ได้ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าไปต่างประเทศก่อนวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๓
และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทยที่มีกำหนดส่งมอบสินค้าจนถึงวันที่
๓๑ มกราคม ๒๕๕๔
ให้ยื่นหลักฐานที่เชื่อถือได้ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางอนุมัติก่อน
เมื่อผู้ส่งออกรายใดได้รับอนุมัติแล้วจึงจะชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิม
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓
ศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๖/ตอนพิเศษ ๑๑๕ ง/หน้า ๑๑/๑ ตุลาคม ๒๕๕๓ |
623310 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ 6)
| ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๖)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
ลงวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ((ฉบับที่ ๕) ลงวันที่ ๘ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๕๑)
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๖)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๗๑
ของประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่
๕) ลงวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๑
๗๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดยโสธร
ประกาศ ณ วันที่ ๙
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วิทย์ ประทักษ์ใจ
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๑๔ ง/หน้า ๙๕/๒๗ มกราคม ๒๕๕๓ |
622744 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ประจำปีสงเคราะห์ 2551
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
รายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์
๒๕๕๑[๑]
เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามความในมาตรา ๒๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอรายงานผลการปฏิบัติงานและงบดุลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๑ ตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
ศุภชัย
โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑. รายงานผลการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๐๕ ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๑๘ และ ฉบับที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๓๐ ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประจำปีสงเคราะห์ ๒๕๕๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๖
มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๖
มกราคม ๒๕๕๓
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๗/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑/๒๑ มกราคม ๒๕๕๓ |
591636 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ 5)
| ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๕)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๔) ลงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๕)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๗๐
ของประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๗๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอนาทวี
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑
ปรีชา เพชรมาลา
รองผู้อำนวยการ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๑๓/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ |
591631 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ 4)
| ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๔)[๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๓) ลงวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๔)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ ๖๙
ของประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๖๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดมุกดาหาร
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ปรีชา เพชรมาลา
รองผู้อำนวยการ
รักษาการในตำแหน่ง
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๗๘ ง/หน้า ๑๒/๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ |
570321 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ 3)
| ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) [๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๒)
ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ลงวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่องกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๓)
ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่
บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็น ข้อ ๖๘
ของประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
๖๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง อำเภอบึงกาฬ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
สายัณห์ เกี่ยวข้อง
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๓ ง/หน้า ๑๘/๒๑ มกราคม ๒๕๕๑ |
429533 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๒) [๑]
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ ของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์
(ฉบับที่ ๒)
ข้อ
๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่
วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๖
ข้อ
๓ ให้เพิ่มข้อความต่อไปนี้ เป็น ข้อ
๖๗ ของประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ ลงวันที่ ๒๕
ธันวาคม ๒๕๔๓
๖๗. ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยาง จ.เชียงราย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
บรรณพต/พิมพ์
๑๕ มีนาคม ๒๕๔๗
ทรงยศ/ศุภสรณ์/ตรวจ
๕ เมษายน ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๓๙ ง/หน้า ๒๐/๔ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
424778 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การขึ้นทะเบียนสวนยางที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การขึ้นทะเบียนสวนยางที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ[๑]
สืบเนื่องจากมีเกษตรกรที่ทำสวนยางอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติได้รับความเดือดร้อน
เนื่องจากสวนยางครบอายุต้องโค่นแล้วแต่ไม่อาจโค่นเพื่อขายไม้ยางกับไม่สามารถยื่นขอสงเคราะห์เพื่อปลูกแทนจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้
เพราะไม่มีหลักฐานการได้รับอนุญาตหรือเช่าที่ดินจากหน่วยงานราชการ รวมทั้งไม่มีสิทธิที่จะนำไม้ยางพาราในสวนยางมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอเข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนของรัฐบาล
เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรดังกล่าวข้างต้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสำรวจรายชื่อเกษตรกรที่ทำสวนยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติเฉพาะรายที่ทำสวนยางอยู่ก่อนวันที่ในประกาศฉบับนี้
เพื่อให้มีสิทธิเช่าสวนยางที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งเกษตรกรจะใช้สิทธินี้ไปขายไม้ยางและยื่นขอสงเคราะห์ได้รวมทั้งสามารถนำไม้ยางพาราในสวนยางมาใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอเข้าร่วมโครงการแปลงทรัพย์สินเป็นทุนของรัฐบาลได้ด้วย
ทั้งนี้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะรวบรวมรายชื่อของเกษตรกรที่สำรวจได้นำไปเป็นหลักฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ความช่วยเหลือภายใต้โครงการสวนยางพาราเอื้ออาทร
ดังนั้น
จึงให้เกษตรกรที่ทำสวนยางในเขตป่าสงวนแห่งชาติมาแจ้งขอขึ้นทะเบียนกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ณ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด
หรือสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอได้ทุกแห่ง ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่
๑๕ มกราคม ๒๕๔๗
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
เนวิน ชิดชอบ
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๑๕๐ ง/หน้า ๙/๓๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ |
386684 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง ราคายางที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
ราคายางที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยาง
ออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๓๐[๑]
เพื่อให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ฉบับลงวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๖ ข้อ ๓
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดราคายางที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวนอัตราเงินสงเคราะห์
กิโลกรัมละ ๔๕.๖๐ บาท
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๔๖
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
สรอรรถ กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หทัยชนก/พิมพ์
๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖
ศุภสรณ์/อภิสิทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๘ มิถุนายน ๒๕๔๖
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๘/๓๑ มีนาคม ๒๕๔๖ |
386674 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องชำระเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระเงินสงเคราะห์เสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีประกาศกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
ประกาศ ณ ลงวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๒
และประกาศใดที่แย้ง หรือขัดกับประกาศฉบับนี้ให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน
ข้อ ๒
ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องชำระสำหรับยางทุกชนิดที่ส่งออก
คือ
๒.๑
ยางแผ่นรมควันต้องชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราดังนี้
(๑) ราคายางไม่เกินกิโลกรัมละ ๓๐ บาท
ชำระกิโลกรัมละ ๙๐ สตางค์
(๒) ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๓๐ บาท แต่ไม่เกินกิโลกรัมละ
๓๕ บาท ชำระกิโลกรัมละ ๑.๒๐ บาท
(๓) ราคายางเกินกิโลกรัมละ ๓๕ บาท
ชำระกิโลกรัมละ ๑.๔๐ บาท
๒.๒ น้ำยางสด ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักยางสด
๒.๓ น้ำยางข้นหรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี
ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยางข้นหรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี
๒.๔ ยางผสมสารเคมี (Compound Rubber หรือ
Rubber Masterbatch) ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้คำนวณน้ำหนักยางตามสัดส่วนของปริมาณเนื้อยางธรรมชาติที่ระบุในใบรับรองที่ออกโดยสถาบันวิจัยยาง
กรมวิชาการเกษตร
๒.๕ ยางอื่น เช่น ยางแท่ง ยางเครพ ยางก้อน
เศษยาง เป็นต้น ต้องเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
ข้อ
๓
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศราคายางที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการคำนวณเงินสงเคราะห์ตามข้อ
๒.๑ โดยใช้ราคายางแผ่นรมควันชั้น ๓ ยางแท่ง ชั้น ๒๐
และน้ำยางข้น (60% d.r.c.) เป็นราคา
FOB (Free on Board) กรุงเทพ ฯ (ราคาสินค้าที่ส่งมอบ
ณ ท่าเรือส่งออก) เป็นราคากลางที่จะประกาศล่วงหน้าทุก ๑๕ วัน
เพื่อกำหนดอัตราที่ผู้ส่งออกชำระเงินสงเคราะห์ในช่วงระหว่างวันที่ ๑
๑๕ และวันที่ ๑๖ ถึงสิ้นเดือนของทุกเดือน
ข้อ
๔
ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรรายใดได้ทำสัญญาขายยางไปต่างประเทศก่อนวันที่ ๑
เมษายน ๒๕๔๖ ให้ยื่นหลักฐานที่เชื่อถือได้ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อนำเสนอคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางอนุมัติก่อน
เมื่อผู้ส่งออกรายใดได้รับอนุมัติแล้วจึงจะชำระเงินสงเคราะห์ในอัตราเดิม
กิโลกรัมละ ๙๐ สตางค์ได้
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๖
เป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.
๒๕๔๖
สรอรรถ
กลิ่นประทุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หทัยชนก/พิมพ์
๑๓
มิถุนายน ๒๕๔๖
ศุภสรณ์/อภิสิทธิ์/ผู้จัดทำ
๑๘
มิถุนายน ๒๕๔๖
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๓๙ ง/หน้า ๕/๓๑
มีนาคม ๒๕๔๖ |
323524 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์[๑]
อาศัยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๓ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จึงออกประกาศกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ได้เฉพาะสถานที่
ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกรุงเทพมหานคร
๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจัดหวัดระยอง
๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดจันทบุรี
๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตราด
๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดขอนแก่น
๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุดรธานี
๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุรินทร์
๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี
๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดบุรีรัมย์
๑๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดหนองคาย
๑๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดภูเก็ต
๑๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดชุมพร
๑๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอปะทิว
๑๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท่าแซะ
๑๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองระนอง
จังหวัดระนอง
๑๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบ้านนาสาร
๑๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเวียงสระ
๑๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคีรีรัฐนิคม
๒๐.
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต ๑
๒๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท่าศาลา
๒๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอร่อนพิบูลย์
๒๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราชเขต
๒
๒๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอฉวาง
๒๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอนาบอน
๒๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพังงา
๒๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอท้ายเหมือง
๒๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดกระบี่
๒๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอคลองท่อม
๓๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง
๓๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอห้วยยอด
๓๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอกันตัง
๓๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอย่านตาขาว
๓๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสิเกา
๓๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอปะเหลียน
๓๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดพัทลุง
๓๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอควนขนุน
๓๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบางแก้ว
๓๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอป่าบอน
๔๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสตูล
๔๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอละงู
๔๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต ๑
๔๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองสงขลา
๔๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสะเดา
๔๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรัตภูมิ
๔๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต ๒
๔๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเทพา
๔๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอจะนะ
๔๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสะบ้าย้อย
๕๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดปัตตานี
๕๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอโคกโพธิ์
๕๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสายบุรี
๕๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนราธิวาส
๕๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอระแงะ
๕๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรือเสาะ
๕๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสุไหงโก-ลก
๕๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดยะลา
๕๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอยะหา
๕๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอรามัน
๖๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอบันนังสตา
๖๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเบตง
๖๒. ศูนย์วิจัยยางสงขลา จังหวัดสงขลา
๖๓. ด่านศุลกากรสะเดา
๖๔. ด่านศุลกากรสุโหงโก-ลก
๖๕. ด่านศุลกากรเบตง
๖๖. ด่านศุลกากรปาดังเบซาร์
ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่องกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านี้ และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๔๓
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ภคินี/แก้ไข
๓๐ เมษายน ๒๕๔๕
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๘/ตอนที่ ๑๑ ง/หน้า ๓๑/๖
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ |
312845 | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ | ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เรื่อง กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์[๑]
อาศัยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๓
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงออกประกาศกำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ได้เฉพาะสถานที่
ดังต่อไปนี้
๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกรุงเทพมหานคร
๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดจันทบุรี
๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดระยอง
๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดภูเก็ต
๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดตรัง
๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช
เขต ๑
๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนครศรีธรรมราช
เขต ๒
๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสุราษฎร์ธานี
๑๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดกระบี่
๑๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอเมืองระนอง
จังหวัดระนอง
๑๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสงขลา เขต ๑
หรือหน่วยเคลื่อนที่ที่ศูนย์วิจัยยางสงขลา จังหวัดสงขลา
๑๓. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสะเดา
จังหวัดสงขลา
๑๔. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอนาทวี
จังหวัดสงขลา
๑๕. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดสตูล
๑๖. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดเบตง
๑๗. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดยะลา
๑๘. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดปัตตานี
๑๙. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี
๒๐. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดนราธิวาส
๒๑. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอสุไหงโก-ลก
จังหวัดนราธิวาส
๒๒. สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดหนองคาย
ให้ยกเลิกประกาศสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เรื่อง
กำหนดท้องที่ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ที่ประกาศใช้ก่อนหน้านี้
และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
อัมพิกา/แก้ไข
๒๒ เมษายน ๒๕๔๕
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๑๗/ตอนที่ ๓๒ ง/หน้า ๑๙/๒๐ เมษายน ๒๕๔๓ |
316975 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
-------------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ส่งยางออก
นอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราช
บัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุน
สงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
เป็นการเพิ่มเติม โดยการนำวิธีการคำนวณเงิน
สงเคราะห์ที่กำหนดไว้แล้วมาออกเป็นประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุน
สงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ออกประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ กรณีส่งออกทางเรือ
ให้คำนวณเงินสงเคราะห์ที่จะเสียตามอัตราที่
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด ณ วันที่รับบรรทุก
หรือวันที่ตรวจปล่อยสินค้าลงเรือ
ตามพิธีการศุลกากร
ข้อ
๒ กรณีส่งออกโดยพาหนะอื่น
ให้คำนวณเงินสงเคราะห์ที่จะต้องเสียตาม
อัตราที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศ ณ
วันที่ตรวจปล่อยสินค้าเข้าตู้ หรือวันที่ตรวจปล่อย
บรรทุกยานพาหนะตามพิธีการศุลกากร
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๔ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๔
อาณัติ อาภาภิรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[รก.๒๕๓๔/๙๘/๕พ/๑ มิถุนายน ๒๕๓๔]
พรพิมล/พิมพ์
๒๙/๐๘/๔๕
A+B
(C) |
323531 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำ | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเสียใหม่
เพื่อนำไปช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางให้ปลูกแทนยางเก่าได้เพิ่มขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
ออกประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ฉบับลงวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๓
ข้อ ๒
ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียสำหรับยางทุกชนิดที่จะส่งออกในอัตราดังนี้
(๑) ยางแผ่นรมควัน ต้องเสียเงินสงเคราะห์ ในอัตรากิโลกรัมละ
๙๐ สตางค์
(๒) น้ำยางสด ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักน้ำยาง
(๓) น้ำยางข้นหรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี
ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักน้ำยาง
(๔) ยางอื่นนอกจากยางแผ่นรมควันและน้ำยาง เช่น ยางแท่ง
ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง เป็นต้น
ต้องเสียเงินสงเคราะห์ในอัตราเดียวกับยางแผ่นรมควัน
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๔
เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๓๔
อาณัติ อาภาภิรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พรพิมล/พิมพ์/แก้ไข
๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๘/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๔๕๗๖/๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๔ |
317058 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรช่วยเหลือเจ้าของสวนยางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ
จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ซึ่งต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำหรับยางทุกชนิดที่จะส่งออก
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข
๑๓ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๘๖/หน้า ๓๙๖๗/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓ |
317745 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์ เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ที่ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรช่วยเหลือเจ้าของสวนยางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ
จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ออกประกาศ ดังต่อไปนี้
ให้งดเรียกเก็บเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ซึ่งต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง สำหรับยางทุกชนิดที่จะส่งออก
ตั้งแต่วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๓๓ ถึงวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๓๓
ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพ็ญพร/พิมพ์
๕ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๗/ตอนที่ ๘๖/หน้า ๓๙๖๘/๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓ |
312842 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินสงเคราะห์และการให้การสงเคราะห์ตามมาตรา 21 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์กองทุนการทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงิน
สงเคราะห์และการให้การสงเคราะห์ตามมาตรา
๒๑ ทวิ
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนบางให้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการให้การสงเคราะห์แก่ผู้ซึ่งไม่มีสวนยาง
ซึ่งมีความประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ในการทำสวนยางพันธุ์ดีไว้ ดังนี้
๑.
หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้รับการสงเคราะห์
(๑) จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย
มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
(๒) จะต้องเป็นผู้ไม่มีสวนยางตามมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติฯ นี้ ในขณะที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติให้การสงเคราะห์
(๓) จะต้องมีที่ดินของตนเองตั้งแต่ ๒
ไร่ขึ้นไปและมีหลักฐานแสดงการครอบครองหรือแสดงกรรมสิทธิ์ หรือมีเอกสารสิทธิ
ซึ่งทางราชการออกให้เพื่อมีสิทธิครอบครองในที่ดินซึ่งมายื่นขอรับการสงเคราะห์ตามที่คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
ที่ดินดังกล่าวข้างต้นจะต้องตั้งอยู่ในท้องที่ซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางโดยคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตรกำหนดเป็นเขตการส่งเสริมการปลูกยางพันธุ์ดี
และจะต้องมีสภาพเหมาะสมในการปลูกยางพันธุ์ดีด้วย
(๔) ในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นตัวแทนจะต้องแสดงหลักฐานคุณสมบัติของตัวการตามที่กล่าวแล้ว
ในข้อ (๑) และ (๓) พร้อมทั้งมอบอำนาจที่ถูกต้องด้วย
๒.วิธีการยื่นคำขอรับการสงเคราะห์
(๑)
ผู้ขอรับการสงเคราะห์จะต้องยื่นคำขอรับการสงเคราะห์
ตามแบบและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งออกตามความในมาตรา ๒๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติฯ
นี้ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ประจำท้องที่ ตามเวลา
และสถานที่ทีสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางประกาศ
(๒)
ผู้รับการสงเคราะห์จะต้องจัดทำสำเนาหลักฐานแสดงคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้การสงเคราะห์ตามที่กล่าวแล้วในข้อ
๑ (๑) ข้อ ๑ (๓) และข้อ ๑ (๔) (ในกรณีผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นตัวแทน)
แนบคำขอรับการสงเคราะห์ด้วย
(๓)
เพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของเจ้าพนักงานสงเคราะห์
ผู้ขอรับการสงเคราะห์จะต้องอำนวยความสะดวก
และปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามความจำเป็น
๓. วิธีการให้การสงเคราะห์
(๑)
การให้การสงเคราะห์จะพิจารณาให้การสงเคราะห์รายละไม่เกิน ๑๕ ไร่
ตามลำดับก่อนหลังของการยื่นขอรับการสงเคราะห์ของแต่ละประเภทซึ่งคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
(๒)
การให้การสงเคราะห์จะให้เป็นเงินและวัสดุเท่าที่จำเป็น
ตามจำนวนและระยะเวลาที่คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
(๓)
ในกรณีผู้ที่ขอรับการสงเคราะห์ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการสงเคราะห์แต่มิได้รับการสงเคราะห์ในปีใด
ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป
๔.
เงื่อนไขที่ผู้รับการสงเคราะห์ต้องยอมรับและถือปฏิบัติ
(๑) ผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้
จะต้องนำเงินและวัสดุที่ได้รับการสงเคราะห์ไปใช้เพื่อการปลูกสร้างสวนยางตามวัตถุประสงค์แห่งพระราชบัญญัติฯ
นี้เท่านั้น
(๒) ถ้าผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติฯ
นี้ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ
หรือคำสั่งคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัติฯ นี้
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางมีอำนาจสั่งระงับให้การสงเคราะห์
และอาจจะเรียกคืนในรูปของเงินสดตามมูลค่าที่ได้ให้การสงเคราะห์ไปแล้วก็ได้
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๓๒
เจริญ คันธวงศ์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ
ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖
กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๖/ตอนที่ ๘๓/หน้า ๓๕๘๙/๒๕ พฤษภาคม ๒๕๓๒ |
312841 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไข ที่ผู้ส่งยาง
ออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตาม
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข
ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์
เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐ เสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ผู้ใดจะส่งยางออกนอกราชอาณาจักร จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยวิธีการรับชำระเงินสงเคราะห์จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
พ.ศ. ๒๕๓๑ และให้ยื่นคำขอชำระเงินสงเคราะห์ตามแบบ ก.ส.ย. ๑ ท้ายประกาศนี้ ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ผู้มีหน้าที่รับชำระเงินสงเคราะห์
ที่ประจำท้องที่ที่กำหนด ตามประกาศของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พร้อมด้วยเงินสงเคราะห์ตามอัตราที่รัฐมนตรีกำหนดในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่
๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
ข้อ ๒ ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ตามข้อ ๑ จะส่งยางออกนอกราชอาณาจักรได้เฉพาะด่านที่ระบุไว้ในแบบ ก.ส.ย. ๑ เท่านั้น
ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๑
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอชำระเงินสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
(ก.ส.ย. ๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
หมายเหตุ :- ให้ขีดฆ่าข้อความที่ไม่ต้องการออก
คำเตือน ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา
๕ หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน
หรือปรับไม่เกินสิบเท่าของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓)
ธิดาวรรณ/แก้ไข
๑๙ กันยายน ๒๕๔๕
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๔๑๔๕/๓๑ พฤษภาคม ๒๕๓๑ |
318470 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียเงินสงเคราะห์เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตาม
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๓๐
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียเพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐ เสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕
และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี ออกประกาศกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ ฉบับลงวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๑๗
ข้อ ๒ ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียสำหรับยางทุกชนิดที่จะส่งออกในอัตราดังนี้
(๑) ยางแผ่นรมควันและยางอื่นนอกจากยางแผ่นรมควันและน้ำยาง
เช่น ยางแท่ง ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง เป็นต้น ต้องเสียเงินสงเคราะห์ในอัตรากิโลกรัมละ ๑
บาท ๗๐ สตางค์
(๒) น้ำยางสด ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน
โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละหกสิบห้าของน้ำหนักยาง
(๓) น้ำยางข้นหรือน้ำยางข้นผสมสารเคมี
ให้ถือเสมือนเป็นยางแผ่นรมควัน โดยให้ลดน้ำหนักลงร้อยละสี่สิบของน้ำหนักยาง
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๓๑
ประยุทธ์
ศิริพาณิชย์
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ปฏิบัติราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
คำขอชำระเงินสงเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.
๒๕๐๓ (ก.ส.ย. ๑)
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ธิดาวรรณ / แก้ไข
๒๓ ก.ย. ๒๕๔๕
A+B(C)
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๔๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๕/ตอนที่ ๘๘/หน้า ๔๑๔๓/๓๑
พฤษภาคม ๒๕๓๑ |
312840 | ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางนอกราชอาณาจักรต้องเสียตาม พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 | ประกาศกระทรวงเกษตร
ประกาศกระทรวงเกษตร
เรื่อง
กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
ต้องเสียตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ.
๒๕๐๓
----------------------
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณา
จักรต้องเสียตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓ เพื่อให้เป็นการ
เหมาะสมเสียใหม่
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๕ และมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติกองทุน
สงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกประกาศกำหนด
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่ง
ยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ.
๒๕๐๓ ฉบับลงวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๑๐
ข้อ ๒
ให้กำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ที่ผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสีย
สำหรับยางทุกชนิดที่จะส่งออก
ให้เสียเงินสงเคราะห์กิโลกรัมละ ๕๐ สตางค์
ทั้งนี้
ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๑๓
หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
[รก.๒๕๑๓/๒๕/๑๒๕๙/๒๔ มีนาคม ๒๕๑๓]
เพ็ญพร/พิมพ์/แก้ไข
๒๒/๑๐/๔๕
B+A(c) |
312828 | ประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตาม พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 | ประกาศกระทรวงเกษตร
ประกาศกระทรวงเกษตร
เรื่อง
แต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
พ.ศ. ๒๕๐๓[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรแต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕ เสียใหม่ให้เป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๘
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงเกษตร เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามมาตรา
๓ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕ ลงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๑๑
ข้อ ๒
แต่งตั้งให้ผู้มีตำแหน่งต่อไปนี้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์ตามมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.
๒๕๐๕
๑. อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร
๒. ผู้อำนวยการกอง กองการยาง กรมกสิกรรม
๓. รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๔. เลขานุการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๕. หัวหน้าฝ่ายการสงเคราะห์
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๖. สมุห์บัญชี
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๗. รองหัวหน้าฝ่าย
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๘. ผู้ตรวจการสงเคราะห์ยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๙. หัวหน้าแผนกส่งเสริมการปลูกแทน
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๐. หัวหน้าแผนกแผนที่
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๑. หัวหน้าแผนกพิจารณาการสงเคราะห์
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๒. หัวหน้าแผนกตรวจสอบวิเคราะห์การสงเคราะห์
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๓. หัวหน้าแผนกวิชาการ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๔. พนักงานวิชาการ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๕. พนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัด
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๖. ผู้ช่วยพนักงานสงเคราะห์ยางจังหวัด
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๗. พนักงานตรวจสวนยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๘. พนักงานสำรวจสวนยาง
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๑๙. พนักงานส่งเสริมการปลูกแทน
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๒๐. พนักงานวัสดุสงเคราะห์
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
๒๑. เกษตรจังหวัดเอก หรือเกษตรจังหวัดโท
ในท้องที่ที่มีการสงเคราะห์การทำสวนยาง กรมส่งเสริมการเกษตร
๒๒. เกษตรอำเภอตรี หรือเกษตรอำเภอจัตวา
ในท้องที่ที่มีการสงเคราะห์การทำสวนยาง กรมส่งเสริมการเกษตร
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๒ เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๑๒
หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
จุฑามาศ/ผู้จัดทำ
๓
กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๘๖/ตอนที่ ๕๕/หน้า ๑๙๖๗/๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๒ |
622558 | ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานและลูกจ้างผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่ง พ.ศ. 2552 | ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานและ
ลูกจ้างผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๒[๑]
โดยที่คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางและคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เห็นว่าเพื่อเป็นแรงจูงใจและขวัญกำลังใจให้กับพนักงานและลูกจ้างของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่งแล้ว
แต่มีผลงานเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ได้รับค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือน
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วมีมติ เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
เห็นชอบในหลักการดังกล่าว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๒) และ (๓) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.
๒๕๓๐ ประกอบกับมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง (๒) และวรรคสาม
แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง จึงออกระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานและลูกจ้างผู้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่ง
พ.ศ. ๒๕๕๒
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในระเบียบนี้
พนักงาน หมายความว่า
พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งได้รับเงินเดือนตามข้อบังคับคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยอัตรา ตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง การบรรจุ การเลื่อนขั้นเงินเดือน
การแต่งตั้ง และการถอดถอน
โดยได้รับเงินเดือนถึงขั้นสูงของระดับอยู่ก่อนรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบนั้น
ๆ
ลูกจ้าง หมายความว่า
ลูกจ้างมีสัญญาจ้างที่ทำหน้าที่ควบคุมยานพาหนะ บริการ (นักการ) และรักษาความปลอดภัย
ซึ่งได้รับค่าจ้างตามข้อบังคับคณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยอัตรา ตำแหน่ง
เงินเดือน ค่าจ้าง การบรรจุ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การแต่งตั้ง และการถอดถอน โดยได้รับค่าจ้างถึงขั้นสูงของอัตราค่าจ้างอยู่ก่อนรอบการประเมินผลการปฏิบัติงานรอบนั้น
ๆ
ข้อ ๔ การพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนพิเศษของพนักงานหรือลูกจ้างตามระเบียบนี้ให้พิจารณาจ่ายให้กับพนักงานหรือลูกจ้างที่มีผลการประเมินในรอบการประเมินนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้าง
โดยให้นำอัตราเงินเดือนของพนักงานหรือค่าจ้างของลูกจ้างดังกล่าวมาคำนวณรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพนักงานหรือลูกจ้างในรอบการประเมินขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้างตามปกติด้วย
ข้อ ๕ ให้พนักงานหรือลูกจ้างได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามหลักเกณฑ์และอัตราดังนี้
(๑)
ในกรณีที่ผลการประเมินปีใดไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้าง
ไม่ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษในปีถัดไป
(๒)
ในกรณีที่ผลการประเมินปีใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้างเป็นจำนวนครึ่งขั้น
ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนในปีถัดไปในอัตราร้อยละ ๒ ของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่งนั้น
(๓)
ในกรณีที่ผลการประเมินปีใดอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้างเป็นจำนวนหนึ่งขั้นขึ้นไป
ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษเป็นรายเดือนในปีถัดไปในอัตราร้อยละ ๔ ของเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ถึงขั้นสูงของระดับหรือตำแหน่งนั้น
ค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้
ถ้าคำนวณแล้วมีเศษสตางค์ให้ปัดทิ้ง
ข้อ ๖ พนักงานหรือลูกจ้างซึ่งได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามข้อ
๕ ในปีใด
แม้ต่อมาจะได้รับการเลื่อนระดับตำแหน่งใหม่และเงินเดือนหรือค่าจ้างยังไม่ถึงขั้นสูงของระดับตำแหน่งใหม่ที่ได้รับแต่งตั้ง
ก็ให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษตามเดิมต่อไปจนถึงสิ้นปีนั้น
ข้อ ๗ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าตอบแทนพิเศษซึ่งมิได้กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างโดยอนุโลม
ข้อ ๘ การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษตามระเบียบนี้
ให้ใช้กับพนักงานและลูกจ้างที่มีผลการประเมินอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือขั้นค่าจ้างตั้งแต่ปีงบประมาณ
๒๕๕๐ เป็นต้นไป
ข้อ ๙ ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางรักษาการตามระเบียบนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒
ศุภชัย โพธิ์สุ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
นันท์นภัสร์/ตรวจ
๒๐ มกราคม ๒๕๕๓
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๓ ง/หน้า ๑๓/๑๑ มกราคม ๒๕๕๓ |
443745 | ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 พ.ศ. 2547
| ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิด
ตามมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์
การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
พ.ศ. ๒๕๔๗
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่อเป็นการป้องกันการลักลอบการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรหรือหลีกเลี่ยงการชำระเงินสงเคราะห์
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๓ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางจึงวางระเบียบไว้ ดังนี้
ข้อ
๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลในคดีจับกุมผู้กระทำผิด ตามมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ พ.ศ. ๒๕๔๗
ข้อ
๒[๑]
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
หมวด ๑
ข้อความทั่วไป
ข้อ
๔ ในระเบียบนี้
เงินสงเคราะห์ หมายความว่า
เงินที่บุคคลผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องจ่ายให้แก่กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามมาตรา
๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
ยาง หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน
เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยาง
แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
เงินค่าปรับ หมายความว่า เงินค่าปรับตามมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
อันเนื่องมาจากผู้ส่งยางออกนอกจากราชอาณาจักรหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตามมาตรา
๕ หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย
เงินสินบน หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่ผู้แจ้งความนำจับ
ในคดีความผิดฐานหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสียตามมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เงินรางวัล หมายความว่า
เงินที่จ่ายให้แก่เจ้าพนักงานผู้ทำการจับกุมผู้กระทำความผิด
ในคดีความผิดฐานหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ตามมาตรา ๒๖
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
เจ้าพนักงาน หมายความว่า
พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งมีอำนาจจับกุม
ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม
ผู้แจ้งความนำจับ หมายความว่า
บุคคลที่ได้แจ้งความต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความตามระเบียบนี้ว่ามีการกระทำความผิดฐานไม่เสียเงินสงเคราะห์ในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร
หรือเสียเงินสงเคราะห์ในการส่งยางออกนอกราชอาณาจักรน้อยกว่าที่ควรเสีย
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ข้อ
๕
ระเบียบนี้ไม่ใช่การโฆษณาให้คำมั่นแก่บุคคลใดตามกฎหมาย
แต่เป็นระเบียบที่วางไว้เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ของสำนักงาน
ในการพิจารณาจ่ายเงินสินบนหรือเงินรางวัลแก่ผู้แจ้งความนำจับ
หรือเจ้าพนักงานตามที่เห็นสมควรเท่านั้น
ข้อ
๖ ถ้าคดีใดมีผู้แจ้งความนำจับหลายคน
ให้ถือว่าผู้แจ้งความนำจับที่แจ้งความก่อนและมีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรถูกต้องตามระเบียบนี้
เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสินบน
หมวด ๒
การแจ้งความนำจับ
ข้อ
๗ เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความตามระเบียบนี้
ได้แก่ พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ
๘ การแจ้งความนำจับ
ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความตามข้อ ๗
เว้นแต่กรณีที่ต้องจับกุมผู้กระทำความผิดโดยเร่งด่วน
ซึ่งถ้ารั้งรอไว้ผู้กระทำความผิดอาจหลบหนีไปได้
จะแจ้งความนำจับด้วยวาจาต่อเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งความก่อนก็ได้และให้ผู้แจ้งความนำจับขอสำเนาการแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน
๑ ชุด
ข้อ
๙
เมื่อได้มีการจับกุมผู้ต้องหาพร้อมด้วยยางซึ่งเป็นของกลางแล้ว
ให้ผู้จับกุมแจ้งสำนักงานเพื่อพิสูจน์ของกลางดังกล่าว ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนดและรับรองว่าเป็นยางที่ไม่ได้เสียเงินสงเคราะห์
หรือเสียเงินสงเคราะห์โดยไม่ถูกต้องครบถ้วน
ข้อ
๑๐
เมื่อศาลได้พิจารณาลงโทษปรับจำเลยโดยคดีนั้นถึงที่สุดแล้ว
เงินค่าปรับที่ได้รับชำระจากจำเลย ให้นำส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามมาตรรา
๒๖ วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓
และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หมวด ๓
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
ข้อ
๑๑
การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามระเบียบนี้ให้สำนักงานจ่ายจากเงินสงเคราะห์ที่ได้รับการจัดสรรตามมาตรา
๑๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๐๓ ตามหลักเกณฑ์
ดังต่อไปนี้
(๑)
คดีที่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้จ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล ร้อยละ ๑๐ ของเงินค่าปรับ
โดยให้แบ่งจ่ายเป็นเงินสินบนและเงินรางวัลในอัตราเท่า ๆ กัน
(๒)
คดีที่ไม่มีผู้แจ้งความนำจับ ให้จ่ายเงินรางวัลแก่เจ้าพนักงานผู้จับ ร้อยละ ๑๐
ของเงินค่าปรับ
ข้อ
๑๒
การจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามข้อ ๑๑
จะจ่ายได้ต่อเมื่อกระทำการตามเงื่อนไขดังนี้
(๑)
การจับกุมเป็นผลสำเร็จ
(๒)
ศาลได้พิพากษาลงโทษปรับจำเลย โดยคดีนั้นถึงที่สุดแล้ว
(๓)
ได้มีการชำระค่าปรับนั้นแล้ว
หมวด ๔
การขอรับเงินสินบนและเงินรางวัล
ข้อ
๑๓
เมื่อมีการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลตามข้อ ๑๑
ให้เพิ่มวงเงินงบประมาณประจำปีเท่าจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง
ข้อ
๑๔ การขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล
ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินสินบนหรือเงินรางวัลยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการหรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมายภายในกำหนด
๑๘๐ วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดและจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลแล้ว
และให้มีอำนาจจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล
กรณีผู้มีสิทธิรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลไม่มาขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล
ภายในกำหนดเวลา ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
และจำเลยได้ชำระค่าปรับต่อศาลแล้ว
ให้ถือว่าผู้มีสิทธิสละสิทธิในการรับเงินสินบนหรือเงินรางวัล แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๕ การยื่นคำขอรับเงินสินบน
หรือเงินรางวัล ให้จัดทำตามแบบที่สำนักงานกำหนดพร้อมเอกสาร หลักฐาน ดังต่อไปนี้
(๑)
สำเนาภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่หน่วยงานของรัฐออกให้
(๒)
ใบรับแจ้งความนำจับ เฉพาะกรณีขอรับเงินสินบน
(๓)
สำเนาบันทึกการจับกุมผู้ต้องหา เฉพาะกรณีขอรับเงินรางวัล
(๔)
หนังสือมอบฉันทะ ให้เจ้าพนักงานผู้จับกุม คนหนึ่งคนใด
เป็นผู้รับเงินรางวัลเฉพาะกรณีขอรับเงินรางวัล
(๕)
สำเนาคำพิพากษาที่คดีถึงที่สุด
หรือหนังสือแจ้งผลคดีของพนักงานอัยการว่าคดีถึงที่สุด แล้วแต่กรณี
กรณีเอกสารดังกล่าวฉบับใด
ไม่อาจส่งต้นฉบับได้
ให้ใช้สำเนาที่เจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้รับรองความถูกต้องของหลักฐาน
ข้อ
๑๖
กรณีที่ผู้มีสิทธิรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลไม่สามารถยื่นคำขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลได้เพราะถึงแก่กรรม
หรือมีความจำเป็นอื่นใดไม่สามารถขอรับเงินสินบนหรือเงินรางวัลได้ ให้ทายาทโดยธรรม
ผู้จัดการมรดก หรือผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นเป็นผู้ยื่นคำขอและรับเงินแทน
แล้วแต่กรณี
ข้อ
๑๗
กรณีมีข้อสงสัยให้ผู้อำนวยการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
และคำชี้ขาดดังกล่าวให้เป็นที่สิ้นสุด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๕
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗
สมศักดิ์ เทพสุทิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประธานกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
ญาณี/พิมพ์
สุนันทา/นวพร/ตรวจ
๓ พฤศจิกายน. ๒๕๔๗
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๑/ตอนพิเศษ ๙๐ ง/หน้า
๗๕/๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๗ |
478198 | ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยการดำเนินการจัดหาพัสดุในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Auction) พ.ศ. 2546
| ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการดำเนินการจัดหาพัสดุ
ในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e - Auction)
พ.ศ. ๒๕๔๖[๑]
โดยที่คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยางซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการวางข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางว่าด้วยการพัสดุ
พ.ศ. ๒๕๓๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๔๖
อนุมัติให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนดระเบียบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e - Auction) ให้สอดคล้องกับแนวทาง
ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ในการจัดหาพัสดุในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Auction)
ที่กระทรวงการคลังกำหนด
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๓ (๖)
ของข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๖
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยการพัสดุ
(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงวางระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยการดำเนินการจัดหาพัสดุในรูปแบบการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e - Auction) พ.ศ. ๒๕๔๖
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
ในระเบียบนี้
สำนักงาน หมายความว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ผู้อำนวยการ หมายความว่า
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
รองผู้อำนวยการ หมายความว่า
รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ส่วนงาน หมายความว่า งานระดับฝ่ายหรือเทียบเท่า
หน่วยงาน หมายความว่า งานที่ต่ำกว่าฝ่ายหรือเทียบเท่าลงมา
ข้อ ๔
ประเภทพัสดุที่จัดหา
เป็นพัสดุประเภทครุภัณฑ์สำนักงาน วัสดุสิ้นเปลือง ครุภัณฑ์
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ ฯลฯ
การจ้างเหมาบริการทำความสะอาด และการรักษาความปลอดภัย
ข้อ ๕
วงเงินการจัดหาพัสดุ
มูลค่าของสินค้าหรือบริการที่จะดำเนินการจัดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละครั้งมีความเหมาะสมสอดคล้องกับต้นทุนการจัดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ข้อ ๖ ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (e - MarketPlace Service Provider)
(๑)
คัดเลือกผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามทะเบียนรายชื่อที่กระทรวงการคลังร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกำหนดและจัดทำบันทึกข้อตกลงกันไว้
(๒) อัตราค่าบริการของผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ให้พิจารณาจากอัตราค่าบริการในการให้บริการจัดประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามความเหมาะสม
ข้อ ๗
ขั้นตอนการดำเนินการจัดหาพัสดุ ประกอบด้วย
(๑) การวางแผนการจัดหาพัสดุ
(๑.๑) รวบรวมความต้องการใช้พัสดุตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๔
จากส่วนงานและหน่วยงาน ทั้งนี้
เพื่อให้มีวงเงินในการจัดหาพัสดุเป็นไปตามนัยข้อ ๕
(๑.๒) จัดทำรายงานสรุปเกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะการใช้งาน
และผลการจัดหาพัสดุตามนัยข้อ ๔ ครั้งที่ผ่านมา เพื่อเสนอต่อผู้อำนวยการ
พิจารณาอนุมัติการจัดหาพัสดุโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(คณะกรรมการ e - Auction)
(๒) คณะกรรมการจัดหาโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
(คณะกรรมการ e - Auction)
(๒.๑) องค์ประกอบคณะกรรมการ (e - Auction) ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการ หรือผู้อำนวยการฝ่ายพัสดุและวัสดุสงเคราะห์
แล้วแต่กรณี เป็นประธานกรรมการ กรรมการอย่างน้อย ๒ คน ประกอบด้วย
ผู้แทนศูนย์สารสนเทศ
ผู้แทนจากส่วนงานที่ต้องการจัดหาพัสดุและให้หัวหน้ากองหรือหัวหน้าแผนกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวกับพัสดุ
เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการได้ตามความจำเป็น ทั้งนี้
ในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ ๒๙ ๓๐ โดยอนุโลม
(๒.๒) แจ้งรายละเอียดของพัสดุ
ปริมาณและวงเงินที่จะจัดหาโดยวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง
เพื่อร่วมประสานงานในการจัดประมูลต่อไป
(๓) การประกาศเชิญชวนผู้ค้า
ให้คณะกรรมการ e Auction จัดทำประกาศเชิญชวนผู้ค้าเข้าร่วมการประมูลผ่านทางเว็บไซต์ของศูนย์จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
www.gprocurement.or.th และเว็บไซต์ของสำนักงาน
รวมทั้ง ช่องทางอื่น ๆ ตามความเหมาะสม โดยให้มีระยะเวลาการประกาศไม่น้อยกว่า ๗
วันทำการ ก่อนการรับเอกสารการประมูล
(๔) การรวบรวมรายชื่อผู้ค้า
ให้คณะกรรมการ e Auction รวบรวมรายชื่อผู้ค้าจากผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ขายอื่น ๆ
ที่แสดงความจำนงเข้าร่วมการประมูลกับคณะกรรมการ e Auction
(๕)
การคัดเลือกผู้ค้า
ให้คณะกรรมการ
e Auction ดำเนินการ ดังนี้
(๕.๑)
กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคขั้นต่ำของผู้ค้า (Prequalification)
เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์คัดเลือกผู้ค้าที่มีความสามารถในการให้บริการจัดหาพัสดุตามที่กำหนด
(๕.๒)
กำหนดวิธีการคัดเลือกผู้ค้า และรายละเอียดของเอกสารทางด้านเทคนิค
(๕.๓)
จำนวนผู้ค้าที่ผ่านการคัดเลือกทางเทคนิคจะต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ ราย มิฉะนั้น
จะต้องจัดทำรายงานสรุปเสนอผู้อำนวยการเพื่อพิจารณาดำเนินการจัดประมูลใหม่
(๕.๔)
ประกาศรายชื่อผู้ค้าที่มีมาตรฐานทางเทคนิคขั้นต่ำผ่านทางเว็บไซต์ศูนย์จัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและของส่วนราชการ
(๕.๕)
กำหนดวัน เวลาและสถานที่ พร้อมทั้งเงื่อนไขการประมูล ได้แก่ วงเงินการจัดหา ระยะเวลาประมูล
ช่วงราคาประมูลขั้นต่ำ และช่วงเวลาประมูลสุดท้ายก่อนปิดการประมูล เป็นต้น
(๕.๖)
ให้มีการจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับคุณสมบัติของพัสดุที่จะจัดหาและรายละเอียดการประมูลพร้อมทั้งเงื่อนไขแก่ผู้ค้า
(๕.๗) ให้แจ้งผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ดำเนินการ
ดังนี้
(๕.๗.๑) อบรมวิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ให้แก่ผู้ค้าที่ผ่านการคัดเลือกทางเทคนิค
(๕.๗.๒) มอบ User ID และ Password ให้แก่ผู้ค้า
(๕.๗.๓)
ผู้ค้าลงนามในข้อตกลงในการประมูลร่วมกับสำนักงานและผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
(๕.๗.๔) สำนักงานและผู้ค้าทดสอบการใช้ระบบประมูล
(๕.๘)
ให้ผู้ให้บริการตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์จัดประมูลตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนด
(๖)
การประกาศผลผู้ชนะประมูล
ให้คณะกรรมการ
e Auction
สรุปผลการประมูลเสนอผู้อำนวยการพร้อมกับรายงานผลให้สำนักพัฒนามาตรฐานระบบพัสดุภาครัฐ
กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังทราบเพื่อประกาศในเว็บไซต์ www.gprocurement.or.th
(๗)
การจัดทำสัญญา
ให้สำนักงานดำเนินการตามนัยข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
(๘)
การตรวจรับพัสดุ
ให้สำนักงานดำเนินการตามนัยข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ประกาศ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๖
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. ตัวอย่าง ประกาศ ......... เรื่อง ประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
๒. ตัวอย่าง เอกสารประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เลขที่
......... การซื้อ .........
(ระบุประเภท/ชนิดของพัสดุที่ซื้อ) ......... ตามประกาศ .........
(ระบุชื่อส่วนราชการที่ออกประกาศ) .........ลงวันที่ .........
๓. แบบใบยื่นข้อเสนอการประมูลซื้อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
๔. บัญชีเอกสารส่วนที่ ๑
๕. บัญชีเอกสารส่วนที่ ๒
๖. บทนิยาม
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๒๗ มกราคม ๒๕๔๙
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๐/ตอนพิเศษ ๘๑ ง/หน้า ๘๘/๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๖ |
340024 | ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2543 | ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๓[๑]
เพื่อให้การบริหาร การจัดระบบ การขอ การอนุญาต
และการบริการข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครอง
หรือควบคุมดูแลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบราชการ อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๕ แห่งข้อบังคับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ว่าด้วยระเบียบการบริหารงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. ๒๕๓๗
ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑
ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๒
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ข้อ ๓
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งอื่นใดของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้
หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ ๔
ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่พนักงาน ลูกจ้าง และผู้ซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ข้อ ๕
ในระเบียบนี้
ข้อมูลข่าวสารของทางราชการ หมายความว่า
สิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ข้อมูล หรือสิ่งใด ๆ
ตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความครอบครอง
หรือควบคุมดูแลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม
และให้หมายความรวมถึง รัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน หรือองค์กรของรัฐ
สกย. หมายความว่า สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หน่วยงานของ สกย. หมายความว่า
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกรุงเทพฯ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ
และหน่วยงานอื่น ๆ ตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
คณะกรรมการ หมายความว่า
คณะกรรมการดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการในสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เจ้าหน้าที่ประสานงานด้านข้อมูลข่าวสาร หมายความว่า ผู้ปฏิบัติงานด้านเลขานุการให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป
หัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ
และให้หมายความรวมถึงผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวด้วย
ข้อ ๖
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางรักษาการตามระเบียบนี้
และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้
ให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการตามที่เห็นสมควร
หมวด ๑
คณะกรรมการ
ข้อ ๗ ให้มี คณะกรรมการดำเนินการตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการในสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ เป็นประธานกรรมการ และกรรมการ ตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนด
ให้หัวหน้าสำนักผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ
หัวหน้ากองในสำนักผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
ข้อ ๘
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดหลักเกณฑ์ หรือมาตรการเกี่ยวกับการบริหาร
การจัดระบบ การขอ การอนุญาต และการบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
(๒) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการที่ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา
รวมทั้งการจัดพิมพ์และการเผยแพร่
(๓) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การพิจารณาประเภทข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผย
หรือข้อมูลข่าวสารของราชการที่เป็นความลับของราชการ
(๔) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับประเภทของข้อมูลข่าวสารของราชการ
ที่ควรจัดเก็บไว้ที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือส่งไปยังหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
กรมศิลปากร หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
(๕) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดทำ
และปรับปรุงข้อมูลข่าวสารของราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
หรือข้อมูลข่าวสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อราชการ
(๖) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นเกี่ยวกับการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารกับส่วนราชการ
และเอกชน
(๗) ให้คำแนะนำหรือเสนอความเห็นในกรณีที่มีปัญหาและอุปสรรค
เกี่ยวกับการดำเนินการตามระเบียบนี้
(๘) แต่งตั้งคณะกรรมการ
อนุกรรมการหรือคณะทำงานเพื่อปฏิบัติการในเรื่องใด ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
(๙) เชิญบุคคลใด ๆ มาสอบถามหรือให้ชี้แจง
แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร
(๑๐) ดำเนินงานอื่นใดตามที่ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมอบหมาย
ข้อ ๙
การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการทั้งหมด
จึงเป็นองค์ประชุม
ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งเสียงในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ ๑๐ ให้นำความในข้อ
๙ มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการ อนุกรรมการ
ที่คณะกรรมการแต่งตั้งโดยอนุโลม
ข้อ ๑๑
มติของคณะกรรมการให้ถือเป็นยุติ เว้นแต่มีความเห็นเป็นหลายฝ่ายหรือมีเหตุอันสมควร
ก็ให้เสนอผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางวินิจฉัยต่อไป
หมวด ๒
การจัดระบบข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อ ๑๒
ให้หน่วยงานในสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง กรุงเทพฯ จัดประเภทข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ
ที่ประชาชนสามารถเข้าตรวจดูได้ ส่งให้สำนักผู้อำนวยการเพื่อรวบรวมและจัดระบบข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู
สำหรับหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ให้จัดประเภทข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าวไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ในที่ตั้งของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด
และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ
การจัดระบบประเภทข้อมูลข่าวสารของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่เปิดเผยได้และที่เปิดเผยไม่ได้
ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีมีเหตุอันควรสงสัยว่าข้อมูลข่าวสารของราชการใดจะเปิดเผยได้หรือไม่ ให้นำเสนอคณะกรรมการวินิจฉัยตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
ข้อ ๑๓ ในการดำเนินงานตามข้อ ๑๒
ให้หน่วยงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
จัดให้มีเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมดูแล ตรวจสอบ ติดตามและประสานงาน ในการดำเนินงานดังกล่าวให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
หมวด ๓
การขอข้อมูลข่าวสารของราชการและการอนุญาต
ข้อ ๑๔
ให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน องค์กรเอกชน หรือบุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะเข้าตรวจดู
ศึกษาค้นคว้า ขอสำเนาข้อมูลข่าวสารของราชการทำหนังสือแสดงความประสงค์ต่อผู้มีอำนาจอนุญาต
สำหรับกรณีจำเป็นหรือเร่งด่วน
อาจขอด้วยวาจาหรือทางโทรสารก็ได้โดยให้แจ้งชื่อตำแหน่ง
และชื่อหน่วยงานหรือองค์กรที่สังกัด หรือที่อยู่ของผู้ขอสำหรับบุคคลทั่วไปต่อเจ้าหน้าที่ประสานงานด้านข้อมูลข่าวสาร
ทั้งนี้
ให้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้อนุญาต
การขอข้อมูลข่าวสารและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ท้ายระเบียบนี้
หรือตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๑๕
ให้มีคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้ง
มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร หรือคำสั่งไม่รับฟังคำคัดค้านและคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล
ประกอบด้วย บุคคลที่คณะกรรมการมอบหมาย เป็นประธาน ผู้แทนหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
เป็นกรรมการ และให้ผู้แทนสำนักผู้อำนวยการ เป็นกรรมการ และเลขานุการ
ให้บุคคลที่ประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารหรือคำสั่งไม่รับคำคัดค้าน
และคำสั่งไม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ยื่นอุทธรณ์ต่อประธานคณะกรรมการเพื่อส่งคำอุทธรณ์ให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพิจารณา
และให้ถือว่าคำวินิจฉัยนั้นเป็นที่สุด
ข้อ ๑๖
การขอข้อมูลข่าวสารของราชการตามหมายเรียกพยานอกสารของศาล ให้นำเสนอผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาอนุญาต และให้พนักงานผู้รับผิดชอบตั้งแต่ระดับ ๓
ขึ้นไป เป็นผู้รับรองสำเนาข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อ ๑๗
ข้อมูลข่าวสารของราชการใด หากมีกฎหมาย ระเบียบอื่น หรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารนั้นไว้เป็นพิเศษ
การขอข้อมูลข่าวสารของราชการและการอนุญาตจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ
หรือมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวด้วย
หมวด ๔
การบริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อ ๑๘
ให้หน่วยงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางดำเนินการให้บริการข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีไว้ให้ประชาชนตรวจดู
ศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนเผยแพร่ ขาย จำหน่ายจ่ายแจก
รวมทั้งจัดทำสำเนาข้อมูลข่าวสารของราชการด้วย
การบริการข้อมูลข่าวสารของราชการนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามคำแนะนำหรือความเห็นของคณะกรรมการ
ข้อ ๑๙ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ
ให้ถือปฏิบัติตามข้อ ๑๘ โดยอนุโลม
เว้นแต่เป็นเรื่องลับตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๑๗
หรือระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนดว่าด้วยการรักษาความลับของราชการ หรือเป็นเรื่องที่ไม่ต้องเปิดเผยตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
หรือที่ผู้มีอำนาจอนุญาตตามข้อ ๑๔ เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ต้องเปิดเผย
ข้อ ๒๐
ข้อมูลข่าวสารที่มีไว้เพื่อเผยแพร่ ขาย หรือจำหน่าย ให้คิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
ข้อ ๒๑
การเรียกค่าธรรมเนียมการเข้าตรวจดู ขอสำเนา หรือขอสำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องของข้อมูลข่าวสาร
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการกำหนด
การรับรองสำเนาข้อมูลข่าวสารของราชการตามวรรคหนึ่ง
ให้พนักงานที่รับผิดชอบข้อมูลข่าวสารของราชการนั้นตั้งแต่ระดับ ๓
หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับรอง โดยลงลายมือชื่อพร้อมทั้งชื่อตัว ชื่อสกุล
และตำแหน่ง ตลอดจนวัน เดือน ปี ให้ชัดเจน ทั้งนี้ ให้รับรองตามจำนวนที่ผู้ยื่นคำขอขอให้รับรอง
ข้อ ๒๒
รายได้จากการขายหรือจำหน่ายข้อมูลข่าวสารของราชการตามข้อ ๒๐ และค่าธรรมเนียมตามข้อ
๒๑ ให้ปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
ข้อ ๒๓
การบริการส่งข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยทางโทรสารให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเร่งด่วน
โดยให้คำนึงถึงความสิ้นเปลือง เช่น จำนวนข้อมูลข่าวสาร ระยะเวลา
และค่าใช้จ่ายในการส่ง ทั้งนี้
ให้ผู้อำนวยการฝ่ายหรือเทียบเท่าขึ้นไป หัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด
หัวหน้าสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาอนุญาต
ข้อ ๒๔
การบริการข้อมูลข่าวสารของราชการให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ทั้งนี้
ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติราชการเพื่อประชาชนของหน่วยงานของรัฐ
พ.ศ. ๒๕๓๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หมวด ๕
สถานที่บริการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข้อ ๒๕
ให้หน่วยงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในครอบครองหรือควบคุมดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย
ระเบียบ และหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้
มีหน้าที่นอกจากที่กล่าวมาด้วยแล้ว ดังนี้
(๑) ให้สำนักผู้อำนวยการ
เป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารของราชการและจัดส่วนหนึ่งของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เป็นสถานที่บริการข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่หน่วยงาน
และประชาชนมาติดต่อขอรับศึกษา ค้นคว้า ข้อมูล ข่าวสารของราชการ หรือให้คำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
ตั้งอยู่เลขที่ ๖๗/๒๕ ถนนบางขุนนนท์
แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐๐ โทรศัพท์ ๔๓๔-๐๑๘๐- ๙๑
ต่อ ๒๒๐
(๒) ให้สำนักผู้อำนวยการ
เป็นผู้ประสานงานกับหน่วยงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยงานของรัฐหรือประชาชนผู้มาขอหรือคัดลอกข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
หรือให้คำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัด
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอำเภอ
จัดสถานที่บริการข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่หน่วยงานและประชาชนที่มาติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารของราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบ
หรือให้คำแนะนำในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ผ่องเพ็ญ สัมมาพันธ์
ผู้อำนวยการ
สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. หลักเกณฑ์การขอข้อมูลข่าวสารและการขออนุญาต
๒. แบบคำขอข้อมูลข่าวสารของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
พุทธชาด/แก้ไข
๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
สุกัญญา/ผู้จัดทำ
๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จุฑามาศ/ปรับปรุง
๖ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๙/ตอนพิเศษ ๖๗ ง/หน้า ๔/๑๙ กรกฎาคม
๒๕๔๕ |
646378 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ.
๒๕๕๔
ภูมิพลอดุลยเดช
ป.ร.
ให้ไว้
ณ วันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เป็นปีที่
๖๖ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
กองทุน หมายความว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
เกษตรกร หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
และให้หมายความรวมถึงองค์กรเกษตรกรซึ่งประกอบกิจการเกี่ยวกับเกษตรกรรม
องค์กรเกษตรกร หมายความว่า สหกรณ์การเกษตร
สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม ชุมนุมสหกรณ์ดังกล่าว กลุ่มเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ วิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
องค์กรเกษตรกรตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง
เกษตรกรรม หมายความว่า การเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์ การประมง และเกษตรกรรมอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด
ผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หมายความว่า
ผลิตผลอันเกิดจากเกษตรกรรมโดยตรง ตลอดจนผลิตผลพลอยได้อันเกิดจากผลิตผลเกษตรกรรมดังกล่าว
ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด
แต่ไม่รวมถึงผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือไว้แล้ว
ผลิตภัณฑ์อาหาร หมายความว่า ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์ไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีกฎหมายเฉพาะกำหนดหลักเกณฑ์ในการช่วยเหลือไว้แล้ว
ค่าธรรมเนียมการส่งออก หมายความว่า
เงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออกตามพระราชบัญญัตินี้
ค่าธรรมเนียมการนำเข้า หมายความว่า
เงินที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ส่งออก หมายความว่า ผู้ส่งของออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งส่งออกผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น
หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการค้า
ผู้นำเข้า หมายความว่า ผู้นำของเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรซึ่งนำเข้าผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น
หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการค้า
หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง
ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม จังหวัด และให้หมายความรวมถึงรัฐวิสาหกิจ
หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้ง
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
รัฐมนตรี หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๕ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง
เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ในสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๖ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรในกิจการตามมาตรา
๗
ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุน
และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
เงินกองทุนที่สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บรักษาตามวรรคสอง ให้นำไปหาดอกผลโดยการฝากออมทรัพย์
หรือฝากประจำกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาลได้
การหาดอกผลจากเงินกองทุนนอกจากที่กำหนดในวรรคสาม ต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง
มาตรา ๖ กองทุน ประกอบด้วย
(๑) เงิน ทรัพย์สิน สิทธิ และหนี้สินที่โอนมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามมาตรา
๒๖
(๒) เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
(๓) ค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้
(๔) เงินกู้โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี
(๕) ดอกผลของเงินกองทุน
(๖) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
มาตรา ๗ กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุน
ได้แก่กิจการดังต่อไปนี้
(๑) การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร โดย
(ก) จัดหาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่เป็นธรรม
(ข) ให้เกษตรกรกู้เพื่อการลงทุนในการผลิต เก็บรักษา หรือจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค) ดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำหรือที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินให้แก่เกษตรกร
การปฏิรูปที่ดินและการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ง) ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร
(๒) การส่งเสริมการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานคุณภาพของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(๓) การรักษาเสถียรภาพของราคา และการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
โดย
(ก) ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารในราคาที่คณะกรรมการกำหนด
(ข) จำหน่ายภายในหรือนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค) ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการตาม (๓)
(๔) การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อป้องกันและขจัดภัยอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร
(๕) การศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาการผลิต การแปรรูป หรือการตลาด ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
โดยให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
(๖) การติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากกองทุน
มาตรา ๘ ให้จัดสรรเงินกองทุนจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของเงินกองทุนเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้จ่ายในกิจการตามมาตรา
๗
การจัดสรรเงินกองทุนให้คำนึงถึงเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเป็นหลักก่อน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา
๙ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดหรือประเภทของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้า
ในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใด
อาจทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นจนกระทบกระเทือนต่อการบริโภคภายในประเทศ
หรืออาจก่อให้เกิดความขาดแคลนซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นภายในประเทศ
(๒) ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใดในต่างประเทศสูงกว่าราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นในประเทศทำให้กำไรจากการส่งออกสูงเกินสมควร
(๓) การนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใด
อาจทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นมีแนวโน้มต่ำลงจนกระทบกระเทือนต่อการผลิตภายในประเทศ
การเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๐ รัฐมนตรีโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออก
หรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา
๙ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการเรียกเก็บ และชำระค่าธรรมเนียมการส่งออกและค่าธรรมเนียมการนำเข้า
การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงอัตราอากร และค่าธรรมเนียมพิเศษที่เรียกเก็บจากผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
กฎหมายว่าด้วยการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า และกฎหมายอื่นด้วย
การเปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
หรือการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้า
เกิดขึ้นจากการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของนายกรัฐมนตรีมีอำนาจลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าสำหรับผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทดังกล่าวสำหรับปริมาณที่ซื้อขายกันแต่ละคราวได้
มาตรา ๑๒ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๑ ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา
๙ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าตามอัตรา หลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในมาตรา
๑๐
มาตรา ๑๓ ค่าธรรมเนียมการส่งออก
และค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งเข้ากองทุนเพื่อใช้ในกิจการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา
๗ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๑๔ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า
คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร ประกอบด้วย
ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมบัญชีกลาง
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งจากเกษตรกรจำนวนสิบคน
เป็นกรรมการ
หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และวิธีการในการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามวรรคหนึ่ง
ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
การออกระเบียบตามวรรคสอง ให้คำนึงถึงผู้แทนองค์กรเกษตรกรและเกษตรกรโดยกระจายตามภูมิภาค
สาขาอาชีพ และการมีส่วนร่วมของชายและหญิง
ทั้งนี้ ให้มีผู้แทนเกษตรกรด้านพืช ด้านสัตว์ และด้านการประมง อย่างน้อยด้านละหนึ่งคน
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลอื่น เป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๕ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี
เมื่อครบกำหนดตามวาระในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นใหม่
ให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
มาตรา ๑๖ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ
กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะบกพร่องต่อหน้าที่
มีความประพฤติเสื่อมเสีย หย่อนความสามารถ วิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือน
(๔) เป็นบุคคลล้มละลาย
(๕) เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(๖) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท
ความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๗) ขาดคุณสมบัติตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดตามมาตรา
๑๔ วรรคสอง
มาตรา ๑๗ ในกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการทั้งหมดที่เหลืออยู่จนกว่าจะมีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน เว้นแต่วาระของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเหลือไม่ถึงเก้าสิบวัน
จะไม่แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนก็ได้
ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
มาตรา ๑๘
คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาอนุมัติ หรือเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนตามโครงการที่หน่วยงานของรัฐ
หรือองค์กรเกษตรกรเสนอ
(๒) ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งเสริมจากกองทุน
และเร่งรัดการชำระเงินคืนกองทุน
(๓) ออกระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน
(๔) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การใช้จ่ายเงินเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกองทุน
การจัดหาผลประโยชน์ของกองทุน และการจำหน่ายทรัพย์สินจากบัญชีของกองทุนเป็นสูญ โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง
(๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ
หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๙ การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ในมาตรา
๑๘ ให้มีการประชุมคณะกรรมการอย่างน้อยสองเดือนต่อหนึ่งครั้ง
มาตรา ๒๐ การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคณะกรรมการ ถ้าประธานกรรมการไม่มาประชุม หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้
ให้รองประธานกรรมการเป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่มาประชุม
หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๑ คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดแทน
หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
การประชุมคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๒๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจในการอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนตามมาตรา
๑๘ (๑) ในวงเงินไม่เกินหนึ่งร้อยล้านบาท ถ้าวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๓ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จ่ายเงินจากกองทุนแก่หน่วยงานของรัฐ
หรือองค์กรเกษตรกรซึ่งได้รับอนุมัติจัดสรรเงินกองทุนจากคณะกรรมการ หรือคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๔ ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณของทุกปี
ให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดทำงบการเงินของกองทุนส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนองบการเงินของกองทุน และผลการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเพื่อทราบ
มาตรา ๒๕ ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้ารายใดไม่เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าตามมาตรา
๑๒ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ตนเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าน้อยกว่าที่ต้องเสีย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับสิบเท่าของค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่ยังต้องชำระ
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือ หรือให้ความสะดวกแก่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า
เพื่อให้ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้า
หรือให้เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าน้อยกว่าที่ต้องเสีย ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้า
ตามอัตราที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง
เงินค่าปรับตามมาตรานี้ ให้ถือเป็นค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือค่าธรรมเนียมการนำเข้าที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ส่งเข้ากองทุน
มาตรา ๒๖ ให้โอนบรรดาเงิน ทรัพย์สิน
สิทธิ และหนี้สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไปเป็นของกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๗ ในวาระเริ่มแรก ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗ ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๒๘ บรรดาประกาศ ระเบียบ คำสั่ง
หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้จนกว่าจะมีประกาศ
ระเบียบ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๒๙ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกประกาศและระเบียบ
เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้
ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
ประกาศและระเบียบนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรซึ่งตราขึ้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้หลุดพ้นจากหนี้สิน
มีที่ทำกินเป็นของตนเอง และให้สามารถเพิ่มผลผลิตและมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งช่วยรักษาเสถียรภาพของราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นกับผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในราคาที่เหมาะสม
อันเป็นผลดีแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศ ได้ใช้บังคับมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗
มีสาระสำคัญ และรายละเอียดไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปตามภาวะทางเศรษฐกิจ
สังคม การค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนแปลงแนวนโยบายในการสงเคราะห์เกษตรกรที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
ประกอบกับกระทรวงการคลังมีนโยบายในการโอนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรที่ตั้งอยู่ในกระทรวงการคลังให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รับผิดชอบ
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์และแนวนโยบายที่เปลี่ยนไป จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ปริยานุช/ผู้จัดทำ
๑๘
มีนาคม ๒๕๕๔
ณัฐวดี/ตรวจ
๑๘
มีนาคม ๒๕๕๔
พัชรี/ปรับปรุง
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
พจนา/ตรวจ
๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๑๖ ก/หน้า ๑/๑๗ มีนาคม ๒๕๕๔ |
301202 | พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 | พระราชบัญญัติ
พระราชบัญญัติ
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๑๗
เป็นปีที่ ๒๙
ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑
พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗
มาตรา ๒[๑] พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓
ในพระราชบัญญัตินี้
เกษตรกรรม หมายความว่า การทำนา ทำไร่ ทำสวน
เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ เลี้ยงผึ้ง เลี้ยงไหม เลี้ยงครั่ง เพาะเห็ด การประมง
และเกษตรกรรมอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เกษตรกร หมายความว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
และให้หมายความรวมถึงกลุ่มเกษตรกรตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๔๑ ลงวันที่ ๑
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ สหกรณ์การเกษตรและชุมนุมสหกรณ์การเกษตรตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
ผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น หมายความว่า ผลิตผลอันเกิดจากเกษตรกรรมโดยตรงประเภทเมล็ดพืช
เส้นใยธรรมชาติและผลิตผลเกษตรกรรมอย่างอื่นที่เกิดจากดอกผล ลำต้น ใบ ราก หัว หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพืชและให้หมายความรวมถึงสัตว์ที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์
และสัตว์น้ำที่ได้จากการประมง ตลอดจนผลิตผลพลอยได้อันเกิดจากผลิตผลเกษตรกรรมดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผลิตภัณฑ์อาหาร หมายความว่า
ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์ไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่
ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ค่าธรรมเนียมการส่งออก หมายความว่า
เงินที่เรียกเก็บจากผู้ส่งออกตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้ส่งออก หมายความว่า
ผู้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการค้า
และให้หมายความรวมถึงเจ้าของหรือบุคคลอื่นซึ่งครอบครองผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในขณะส่งออกไปนอกราชอาณาจักรด้วย
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร
รัฐมนตรี หมายความว่า
รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔
ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ในกระทรวงการคลังประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินตามมาตรา ๕
เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายช่วยเหลือหรือส่งเสริมเกษตรกรในการผลิต
การพยุงราคา และการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
ให้กระทรวงการคลังเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรตามพระราชบัญญัตินี้
เงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรที่กระทรวงการคลังเก็บรักษาไว้ตามวรรคสอง
ให้กระทรวงการคลังนำไปหาดอกผลได้ โดยการฝากออมทรัพย์หรือฝากประจำกับธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ
หรือการซื้อหลักทรัพย์ของรัฐบาล
มาตรา ๕
กองทุนสงเคราะห์เกษตรกรประกอบด้วย
(๑)
เงินที่ได้รับตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายและกฎหมายว่าด้วยการโอนเงินงบประมาณรายจ่าย
(๒)
เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกตามมาตรา ๑๑
(๓)
ดอกผลของเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
(๔)
เงินกู้ที่รัฐบาลกู้เพื่อสมทบกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
(๕)
เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้
ให้จัดสรรกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบของรายรับตาม
(๒) เป็นเงินทุนหมุนเวียน
มาตรา ๖
การเรียกเก็บเงินอื่นใดเพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารนอกจากอากรขาออก
ค่าธรรมเนียม หรือเงินอย่างอื่นที่เรียกเก็บตามกฎหมาย
และค่าธรรมเนียมการส่งออกตามพระราชบัญญัตินี้ จะกระทำมิได้
มาตรา ๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดชนิดหรือประเภทของผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก
เมื่อปรากฏว่า
(๑)
การส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใดอาจทำให้ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นจนกระทบกระเทือนต่อการบริโภคภายในประเทศหรืออาจก่อให้เกิดความขาดแคลนซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นภายในประเทศ
หรือ
(๒)
ราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใดหรือประเภทใดในต่างประเทศสูงกว่าราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดนั้นหรือประเภทนั้นในประเทศมาก
ทำให้กำไรจากการส่งออกสูงเกินสมควร
การเปลี่ยนแปลง
แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่ง ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๘
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา
๗ รวมทั้งระเบียบการเก็บ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมการส่งออก
การเปลี่ยนแปลง
แก้ไข หรือยกเลิกประกาศตามวรรคหนึ่งต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๙
ถ้าการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกเกิดขึ้นจากการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มีอำนาจลดอัตราค่าธรรมเนียมการส่งออกสำหรับผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทดังกล่าวสำหรับปริมาณที่ซื้อขายกันแต่ละคราวได้
มาตรา ๑๐
ภายใต้บังคับมาตรา ๙ ผู้ส่งออกซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น และผลิตภัณฑ์อาหารชนิดหรือประเภทที่กำหนดตามมาตรา
๗ ต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตามอัตรา
ระเบียบและวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนด
มาตรา ๑๑
เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้
ให้ส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อใช้ในกิจการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
การจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อใช้ในการส่งเสริมการผลิต
การพยุงราคา และการจำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหาร
ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๒
ให้มีคณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกรคณะหนึ่ง
ประกอบด้วยปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกรรมการ
ปลัดกระทรวงการคลังและปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ อธิบดีกรมการค้าภายใน อธิบดีกรมบัญชีกลาง
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรและผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินแปดคน
ในจำนวนนี้ให้มีผู้แทนสหกรณ์การเกษตรหนึ่งคน ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรหนึ่งคน
และเกษตรกรอื่นอีกสามคน
คณะกรรมการจะแต่งตั้งกรรมการหรือบุคคลอื่นเป็นเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการก็ได้
มาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปี
แต่อาจได้รับแต่งตั้งอีกก็ได้
มาตรา ๑๔
นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา ๑๓
กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(๑)
ตาย
(๒)
ลาออก
(๓)
เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(๔)
ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ
หรือในกรณีที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้นในระหว่างที่กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้วยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง
ให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนหรือให้เป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
ประธานกรรมการ
รองประธานกรรมการ กรรมการ เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการ อาจได้รับค่าพาหนะ
เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าใช้จ่าย และค่าตอบแทน หรือเบี้ยประชุม
ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๑๕
การประชุมของคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งจำนวนของกรรมการทั้งหมด
จึงเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม ให้รองประธานกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม
ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ คนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน
ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน
ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๑๖
คณะกรรมการอาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อให้กระทำกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแทนได้
ให้นำมาตรา
๑๕ มาใช้บังคับแก่การประชุมและวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการโดยอนุโลม
มาตรา ๑๗
ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้
(๑)
พิจารณาโครงการส่งเสริมการผลิต และโครงการพยุงราคาและการจำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่กระทรวง
ทบวง กรม และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เสนอ
(๒)
พิจารณารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินสำหรับโครงการส่งเสริมการผลิตและโครงการพยุงราคาและการจำหน่ายซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
(๓)
ทำความเห็นเสนอคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพิจารณาตาม (๑) และ (๒)
(๔)
วางระเบียบการเบิกจ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
(๕)
ติดตามผลการดำเนินการของกิจการตามโครงการในมาตรา ๑๘
มาตรา ๑๘
กิจการตามโครงการที่จะใช้จ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรได้นั้นได้แก่กิจการ
ดังต่อไปนี้
(๑)
การส่งเสริมการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารโดย
(ก)
จัดหาปัจจัยการผลิตต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในราคาอันสมควร
(ข)
ให้เกษตรกรกู้เพื่อการลงทุนในการผลิตและการจำหน่ายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค)
ดำเนินการจัดหาที่ดินให้เกษตรกรเข้าทำกิน การจัดหากรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่เกษตรกร
การปฏิรูปที่ดิน และการจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(ง)
ดำเนินการอื่นใดอันจะก่อประโยชน์ในการผลิตผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
รวมทั้งการส่งเสริมการผลิตวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร
(๒)
การพยุงราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศโดย
(ก)
ซื้อหรือรับจำนำผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารในราคาที่รัฐมนตรีกำหนด
(ข)
ขายภายในประเทศและขายโดยส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร
(ค)
ดำเนินการอื่นใดอันจำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการตาม (ก) และ (ข) แห่งข้อนี้
(๓)
การดำเนินการที่จำเป็นและเร่งด่วนเพื่อขจัดภัยร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมอันจะเป็นผลเสียหายแก่เกษตรกร
มาตรา ๑๙
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจ่ายเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรแก่กระทรวง
ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง องค์การของรัฐบาลและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
เพื่อใช้จ่ายในกิจการตามโครงการส่งเสริมการผลิตและโครงการพยุงราคาและการจำหน่าย
ซึ่งผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๒๐
ในการสงเคราะห์เกษตรกรตามโครงการช่วยเหลือในเรื่องการผลิต
ให้คำนึงถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อนเป็นหลักก่อน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด
โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๑
ภายในกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรในราชกิจจานุเบกษา
รายงานการรับจ่ายเงินตามวรรคหนึ่ง
เมื่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว
ให้ทำรายงานผลการตรวจสอบเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอรัฐสภาทราบ
มาตรา ๒๒
ผู้ส่งออกผู้ใดไม่เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกตามมาตรา ๑๐
หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ตนเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกน้อยกว่าที่ต้องเสีย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับสิบเท่าของค่าธรรมเนียมการส่งออกที่ยังต้องชำระ
แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เงินค่าปรับตามมาตรานี้
ให้ถือเป็นค่าธรรมเนียมการส่งออกที่เรียกเก็บได้ตามพระราชบัญญัตินี้
และให้ส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
มาตรา ๒๓
ผู้ใดกระทำการด้วยประการใด ๆ
อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่ผู้ส่งออก
เพื่อให้ผู้ส่งออกไม่เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกหรือให้เสียค่าธรรมเนียมการส่งออกน้อยกว่าที่ต้องเสีย
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔
เงินค่าธรรมเนียมการส่งออกที่เรียกเก็บได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๘
ให้ส่งเข้ากองทุนสงเคราะห์เกษตรกรร้อยละแปดสิบ ส่วนที่เหลือให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
มาตรา ๒๕
บรรดาคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาตส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าใด ๆ
ที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออกและในส่วนที่เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการส่งออก
ที่ออกไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้คงมีผลใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามคำสั่งนั้นแล้ว
มาตรา ๒๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
และให้มีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ประกาศตามพระราชบัญญัตินี้
เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สัญญา ธรรมศักดิ์
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ
เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของประเทศประกอบอาชีพการเกษตร ผลิตผลเกษตรกรรม
เป็นสินค้าขาออกที่ทำรายได้มาสู่ประเทศเป็นลำดับหนึ่ง การเศรษฐกิจของประเทศ
ขึ้นอยู่กับอาชีพการเกษตรเป็นสำคัญ
แต่ปรากฏว่าเกษตรกรส่วนมากเป็นผู้ยากจนต้องกู้ยืมเงินทุนมาใช้ในการประกอบอาชีพและเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว
จึงทำให้เกษตรกรมีหนี้สินล้นพ้นตัว
และต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินและกลายเป็นผู้เช่าที่ดิน ต้องเสียค่าเช่าในอัตราสูง
นอกจากนั้นเกษตรกรผู้ผลิตตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นผู้กำหนดราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารโดยมุ่งเอาเปรียบกดราคาเพื่อให้ตนได้รับผลกำไรจากการซื้อผลิตผลและผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจากเกษตรกรให้มากที่สุด
รัฐบาลจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรให้หลุดพ้นจากหนี้สิน
มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และให้สามารถเพิ่มผลผลิตและมีรายได้สูงขึ้น
และเพื่อช่วยพยุงราคาขายผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเป็นผลดีแก่ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคภายในประเทศ
เห็นสมควรมีกฎหมายจัดตั้งกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรขึ้นโดยเฉพาะ
เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต
และเพื่อพยุงราคาผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นและผลิตภัณฑ์อาหาร จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
สัญชัย ศิริเดช/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๓
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๕/ฉบับพิเศษ หน้า ๑/๑๘ ตุลาคม ๒๕๑๗ |
525293 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 (2517/177/19พ) (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงพาณิชย์
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุน
สงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ.
๒๕๑๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้
เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร
๑. ข้าว และผลิตภัณฑ์อันเกิดจากข้าวทุกชนิด
๒.[๒] (ยกเลิก)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วิจารณ์ นิวาตวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗[๓]
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๙/๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
[๒] ข้อ ๒ ยกเลิกโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
[๓] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๓/หน้า ๔๙๖๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ |
583407 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2517 (2517/177/18พ) (ฉบับ Update ล่าสุด) | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงพาณิชย์
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุน
สงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี
กำหนดให้สิ่งต่อไปนี้
เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้นหรือผลิตภัณฑ์อาหารที่ผู้ส่งออกต้องเสียค่าธรรมเนียมการส่งออก
๑. ข้าว
ได้แก่ข้าวสารทุกชนิดที่สีแปรสภาพจากข้าวเปลือก ทั้งต้นข้าวและปลายข้าว
๒. ผลิตภัณฑ์ข้าว ได้แก่แป้งข้าวทุกชนิด
เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว และเส้นก๋วยจั๊บ
๓.[๒] (ยกเลิก)
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
เป็นต้นไป
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
หม่อมเจ้าจักรพันธุ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วิจารณ์ นิวาตวงศ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗ เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗[๓]
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๑/ตอนที่ ๑๗๗/ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘/๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗
[๒] ข้อ ๓ ยกเลิกโดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
และกระทรวงพาณิชย์ ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
เรื่อง ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการส่งออกน้ำตาลทราย พ.ศ. ๒๕๒๗
[๓] ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม
๑๐๑/ตอนที่ ๑๘๓/หน้า ๔๙๖๓/๑๑ ธันวาคม ๒๕๒๗ |
758821 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การกำหนดผลิตภัณฑ์อาหาร ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์
เรื่อง
การกำหนดผลิตภัณฑ์อาหาร
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จึงออกประกาศกำหนดผลิตภัณฑ์อาหารไว้ดังนี้
ผลิตภัณฑ์อาหาร
ได้แก่ ผลิตผลเกษตรกรรมที่ใช้เป็นอาหารหรือส่วนประกอบของอาหารสำหรับคนหรือสัตว์
ที่เกิดจากธัญพืช ข้าว พืชไร่ พืชหัว พืชน้ำมัน ถั่วต่าง ๆ ผัก ผลไม้ ปศุสัตว์ และสัตว์น้ำ
ไม่ว่าจะแปรรูปแล้วหรือไม่
ทั้งนี้
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ปริยานุช/จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๑๔ ง/หน้า ๓๕/๒๖ กันยายน ๒๕๕๙ |
758817 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การกำหนดผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. 2554 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การกำหนดผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น
ออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๕๔
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๔ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จึงออกประกาศกำหนดให้สิ่งต่อไปนี้เป็นผลิตผลเกษตรกรรมขั้นต้น
ข้อ
๑ พืช ได้แก่
(๑)
มันสำปะหลัง
(๒)
กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง
(๓)
มะพร้าวแห้ง และปาล์มน้ำมัน
(๔)
ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และถั่วฮามาต้า
(๕)
ข้าวโพด และข้าวฟ่าง
(๖)
พืชผัก และผลไม้
(๗)
ชา และกาแฟ
(๘)
มะพร้าว และไม้ยูคาลิปตัส
(๙)
ไม้ดอกไม้ประดับ และพรรณไม้น้ำ
(๑๐)
ฝ้าย
(๑๑)
พริกไทย
(๑๒)
ข้าวเปลือก
ข้อ
๒ สัตว์และผลผลิตจากสัตว์ ได้แก่ โค
กระบือ แพะ สุกร ไก่ เป็ด และผึ้ง
ข้อ
๓ สัตว์น้ำจากการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง
สัตว์น้ำชายฝั่ง กุ้งทะเล ปลาทะเล ปลาน้ำจืด กุ้งน้ำจืด
และสาหร่ายเพื่อการบริโภค
ข้อ
๔ หม่อน ไหม
ข้อ
๕ เกลือทะเล
ทั้งนี้
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป[๑]
ประกาศ ณ วันที่ ๑
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ปริยานุช/จัดทำ
๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
วริญา/ตรวจ
๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๓๓/ตอนพิเศษ ๒๑๔ ง/หน้า ๓๔/๒๖ กันยายน ๒๕๕๙ |
647899 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๓[๑]
เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔
กรณ์ จาติกวณิช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๓ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๓
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑]
ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๘/ตอนที่ ๔๗ ง/หน้า ๑/๗ เมษายน ๒๕๕๔ |
629479 | ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อน พ.ศ. 2553
| ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง
การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อน
พ.ศ. ๒๕๕๓
ตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
พ.ศ. ๒๕๑๗
ได้บัญญัติให้การสงเคราะห์เกษตรกรต้องคำนึงถึงผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อนเป็นหลักก่อน
โดยให้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ประกาศนี้เรียกว่า ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เรื่อง การช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อน พ.ศ. ๒๕๕๓
ข้อ
๒[๑]
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ
๓ ในประกาศนี้
การสงเคราะห์ หมายความว่า การให้ความช่วยเหลือ
หรือการอุดหนุนแก่องค์กรเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร
ที่ได้ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือผ่านส่วนราชการ
ปัจจัยการผลิต หมายความว่า พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์
ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ยาปราบศัตรูพืช เครื่องจักรกลทางการเกษตร
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการผลิต
รวมทั้งที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์
เงินลงทุน หมายความว่า เงินที่ให้องค์กรเกษตรกร
สถาบันเกษตรกร หรือเกษตรกรกู้โดยผ่านส่วนราชการ
ข้อ
๔
กิจการใดที่จะได้รับการสงเคราะห์ต้องเป็นไปตามมาตรา ๑๘ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
ข้อ
๕ กิจการใดที่ได้รับการสงเคราะห์ตามข้อ
๔
ให้พิจารณาจากผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ประสบความเดือดร้อนเกี่ยวกับปัจจัยการผลิตและเงินลงทุนเป็นหลักก่อน
ข้อ
๖
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหา เพื่อปฏิบัติการตามประกาศนี้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
ธีระ วงศ์สมุทร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๗/ตอนพิเศษ ๖๐ ง/หน้า ๖๔/๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๓ |
677525 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
รายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๐[๑]
เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ-จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐
ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ-จ่ายเงิน
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๐
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕ ง/หน้า ๖๘/๑๐ มกราคม ๒๕๕๑ |
595472 | ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง รายงานการรับ - จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
| ประกาศกระทรวงการคลัง
ประกาศกระทรวงการคลัง
เรื่อง
รายงานการรับ - จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร
ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๑[๑]
เพื่ออนุวัติตามความในมาตรา ๒๑
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร พ.ศ. ๒๕๑๗
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอประกาศรายงานการรับ - จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๑ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑ ดังรายละเอียดตามรายงานแนบท้ายประกาศนี้
ประกาศ
ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
สุชาติ ธาดาธำรงเวช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
[เอกสารแนบท้าย]
๑. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายงานการรับ จ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๕๑ สิ้นสุดวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๑
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
อุดมการณ์/ผู้จัดทำ
๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
วิชพงษ์/ผู้ตรวจ
๑๙
พฤศจิกายน ๒๕๕๕
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๙๕ ง/หน้า ๑๘/๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๑ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.