sysid
stringlengths
1
6
title
stringlengths
8
870
txt
stringlengths
0
257k
585879
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชนิดพิเศษ หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชนิดพิเศษ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๑ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชนิดพิเศษ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชนิดพิเศษ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งฯ (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศชนิดพิเศษ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง ลงวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑ ข้อ ๓ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้อ ๔ กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ชนิดพิเศษ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง (ปอ.พ. ๑-ปอ.พ. ๓๕) โดยกำหนดราคาค่าโดยสารเป็นเพดานขั้นสูง ดังนี้ - รถมาตรฐาน ๒ ค. (รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๒ ที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑-๓๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน) ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน ๓๐ บาท/คน/เที่ยว - รถมาตรฐาน ๒ จ. (รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๒ ที่มีจำนวนที่นั่งไม่เกิน ๒๐ ที่นั่ง โดยไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน) ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน ๔๐ บาท/คน/เที่ยว - รถมาตรฐาน ๒ ง. (รถโดยสารปรับอากาศชั้น ๒ ที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ ๒๑-๓๐ ที่นั่ง และมีที่สำหรับผู้โดยสารยืน) ให้จัดเก็บค่าโดยสารไม่เกิน ๒๐ บาท/คน/เที่ยว ประกาศ ณ วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๙๔ ง/หน้า ๑๓๓/๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๑
585214
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 58 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ ๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำ จังหวัดชลบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดชลบุรี สายที่ ๖๐๗๕ บ้านคีรีนคร - ตลาดบางทราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๗๕ บ้านคีรีนคร - ตลาดบางทราย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแยกคีรีนคร ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัด สายที่ ๖๙ ผ่านการเคหะ ฯ เมืองใหม่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต ๒ แยกซ้ายไปตามถนนพระยาสัจจา แยกขวาไปตามถนนสาย ๒ (ซอยนารถมนตเสวี) ผ่านส่วนราชการเมืองใหม่ องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ด องค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี ตรงไปตามซอยนารถมนตเสวี ๑๓ ผ่านศูนย์มะเร็ง ตรงไปตามซอยนารถมนตเสวี ๑๔ ผ่านโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ แยกซ้ายไปตามถนนพระยาสัจจา ผ่านโรงเรียนชลราษฎร์บำรุง โรงเรียนชลกันยานุกูล แยกซ้ายไปตามถนนพาสเภตรา แยกขวาไปตามถนนเลียบชายทะเล แยกขวาไปตามถนนริมคลองสังเขป แยกซ้ายไปตามถนนพิพิธไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบางทราย ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประชา เตรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๖๔/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585211
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1884 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 216 ขอนแก่น - หนองเรือ - แก้งคร้อ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น - หนองเรือ - แก้งคร้อ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น - หนองเรือ - แก้งคร้อ ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น - หนองเรือ - แก้งคร้อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๑๖ ขอนแก่น - หนองเรือ - แก้งคร้อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนโมง บ้านท่าศาลา ถึงอำเภอหนองเรือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๗ ผ่านบ้านหนองกุงใหญ่ บ้านหนองกุงน้อย บ้านเม็ง บ้านหนองโน บ้านสว่างดอนดู่ บ้านนายม ถึงบ้านสามพาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๘๙ ผ่านบ้านสระพัง บ้านหนองแฝก บ้านเต่า บ้านหินลาด บ้านหนองคู บ้านหนองหญ้าม้า บ้านดอนเค็ง บ้านหนองสังข์ บ้านเตาถ่าน บ้านแก้ง บ้านสมัคร บ้านซำมูลนาค ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแก้งคร้อ ช่วงขอนแก่น - บ้านโนนบ่อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม ถึงทางแยกบ้านแดงน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านแดงน้อย บ้านคร้อ บ้านหนองสวรรค์ บ้านหนองชาด บ้านเขื่อน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนบ่อ ช่วงขอนแก่น - บ้านหนองคลอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง ถึงบ้านหนองบัว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองหว้า บ้านโนนฆ้อง บ้านหัวช้าง บ้านโนนตุ่น บ้านป่ามะนาว บ้านกระเดื่อง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคลอง ช่วงขอนแก่น - บ้านดอนดู่ - บ้านป่าหวายนั่ง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนดู่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาฝาย บ้านบะยาว บ้านโคกงาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่าหวายนั่ง ช่วงหนองเรือ - เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหนองเรือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงบ้านดอนโมง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๑๑๒ ถึงบ้านกงกลาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านกงเก่า บ้านหนองแสง บ้านหนองผือ บ้านกอก บ้านหินกอง บ้านภูเขาวง บ้านแก่งศิลา บ้านโนนสวรรค์ บ้านภูคำเบ้า บ้านฝายหิน บ้านตลาดท่าปลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงขอนแก่น - บ้านดอนดู่ - เขื่อนอุบลรัตน์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านหนองบัว ถึงบ้านดอนดู่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาฝาย ทางแยกบ้านหนองแสง บ้านหนองผือ บ้านกอก บ้านหินกอง บ้านภูเขาวง บ้านแก่งศิลา บ้านโนนสวรรค์ บ้านคำภูเบ้า บ้านฝายหิน บ้านตลาดท่าปลา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดเขื่อนอุบลรัตน์ ช่วงขอนแก่น - บ้านวังโพน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนดู่ ถึงบ้านโสกม่วง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายบ้านโสกม่วง - บ้านหนองอีเริง) ผ่านบ้านหนองอีเริง ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหินตั้ง บ้านหินฮาว บ้านหินกอง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังโพน ช่วงขอนแก่น - บ้านกุดขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านทุ่ม อำเภอบ้านฝาง บ้านดอนดู่ ถึงบ้านดอนโมง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. ขก. ๓๑๑๒ ผ่านบ้านท่าลี่ บ้านกงกลาง บ้านเปือย บ้านหนองเม็ก บ้านหนองทุ่ม บ้านดอนหัน ไปตามถนนองค์การบริหารตำบลกุดขอนแก่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดขอนแก่น ประกาศ ณ วันที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๖๑/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585209
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1883 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 11 กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี และ หมวด 3 สายที่ 195 เวียงป่าเป้า - พร้าว
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๑ กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี และ หมวด ๓ สายที่ ๑๙๕ เวียงป่าเป้า - พร้าว[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) สายที่ ๑๑ กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๕๐ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๒๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๙๕ เวียงป่าเป้า - พร้าว นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๑ กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี และหมวด ๓ สายที่ ๑๙๕ เวียงป่าเป้า - พร้าว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๑ กรุงเทพฯ - สิงห์บุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอวังน้อย แยกหินกอง จังหวัดสระบุรี ถึงจังหวัดลพบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสิงห์บุรี สายที่ ๑๙๕ เวียงป่าเป้า - พร้าว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเวียงป่าเป้า ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ถึงบ้านป่าบง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕๐ ผ่านบ้านลังกา บ้านขุนแจ๋ บ้านสามลี่ บ้านต้นกอก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพร้าว ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๙/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585207
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1882 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 48 กรุงเทพฯ - เมืองพัทยา
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ - เมืองพัทยา[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๓๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ - เมืองพัทยา ให้มีรายละเอียดเส้นทางถึงหาดจอมเทียน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการ ไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ - เมืองพัทยา สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (สายใต้) - เมืองพัทยา เป็น กรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - เมืองพัทยา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๔๘ กรุงเทพฯ - เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงแยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา - นาเกลือ ถึงเมืองพัทยาไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ช่วงกรุงเทพฯ (จตุจักร) - เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามถนนวิภาวดีรังสิตขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดินแดง ถึงบางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา - นาเกลือ ถึงเมืองพัทยา ไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - เมืองพัทยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดาวคะนอง ถึงบางนาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านจังหวัดชลบุรี บ้านหนองมน อำเภอศรีราชา ถึงทางแยกเข้าตลาดนาเกลือ แยกขวาไปตามถนนสว่างฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนพัทยา - นาเกลือ ถึงเมืองพัทยา ไปตามถนนพัทยาใต้ แยกขวาไปตามถนนพัทยาสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนไปหาดจอมเทียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหาดจอมเทียน ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585204
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1881 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคเหนือ จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคเหนือ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๖๖ เชียงใหม่ - สามเหลี่ยมทองคำ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารสายที่ ๖๑๙ เชียงใหม่ - แม่สาย ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๙๙ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๙๘ เชียงใหม่ - พะเยา นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคเหนือ จำนวน ๓ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๖๖ เชียงใหม่ - สามเหลี่ยมทองคำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านอำเภอดอยสะเก็ด บ้านแม่ขะจาน อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอแม่จัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑๖ ถึงอำเภอเชียงแสน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๙๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสามเหลี่ยมทองคำ (บ้านสบรวก) สายที่ ๑๙๘ เชียงใหม่ - พะเยา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านอำเภอดอยสะเก็ด ถึงบ้านแม่ขะจาน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๐ ผ่านอำเภอวังเหนือ บ้านปงถ้ำ บ้านปากปอก บ้านร่องคำหลวง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพะเยา สายที่ ๖๑๙ เชียงใหม่ - แม่สาย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๘ ผ่านอำเภอดอยสะเก็ด บ้านแม่ขะจาน อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดเชียงราย อำเภอแม่จัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแม่สาย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๕/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585199
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1880 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 1 เส้นทาง เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด 1 ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT BUS) จำนวน 4 เส้นทาง และเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๘๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๑ เส้นทาง เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด ๑ ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT BUS) จำนวน ๔ เส้นทาง และเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๗๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. ๑๒๒ สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต - ปากเกร็ด (ทางด่วน) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๙๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด ๑ ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT BUS) สายที่ เอบี ๑ ท่าอากาศยานกรุงเทพ - สีลม สายที่ เอบี ๒ ท่าอากาศยานกรุงเทพ - สนามหลวงและสายที่ เอบี ๓ ท่าอากาศยานกรุงเทพ - ทองหล่อ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๘๘ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑ เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารปรับอากาศ หมวด ๑ ระหว่างท่าอากาศยานกรุงเทพกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT BUS) สายที่ เอบี ๔ ท่าอากาศยานกรุงเทพ - หัวลำโพง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๐๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๗ ขอนแก่น - โกสุมพิสัย ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๑๔ จันทบุรี - สระแก้ว ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี ๑๓๗๗ อุดรธานี - หนองบัวลำภู เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๔๔ อุดรธานี - หนองบัวลำภู นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๓/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585197
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1879 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 534 ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงขอนแก่น - บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงขอนแก่น - บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๘๔ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๔ มหาสารคาม - เชียงยืน - ขอนแก่น เป็น ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงขอนแก่น - บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๓๔ ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงจังหวัดมหาสารคาม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงอำเภอกันทรวิชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๘ ผ่านบ้านนาสีนวล บ้านหนองขอน ถึงบ้านขี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ช่วงมหาสารคาม - บ้านหนองหว้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดมหาสารคาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ถึงอำเภอกันทรวิชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๘ ถึงบ้านน้ำเที่ยง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. มค. ๒๐๓๐ ผ่านบ้านหนองแคน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหว้า ช่วงขอนแก่น - บ้านคำใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน ถึงอำเภอเชียงยืน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๘ ผ่านบ้านโนนงิ้ว บ้านกระบาก บ้านหนองผักแว่น อำเภอชื่นชม บ้านกุดปลาดุก บ้านโนนทัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ช่วงขอนแก่น - โกสุมพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านท่าหิน ถึงอำเภอเชียงยืน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗ ผ่านบ้านขี บ้านเขื่อน บ้านผักหนอก บ้านยางใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย ช่วงขอนแก่น - บ้านหนองผือ - โกสุมพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านหนองใหญ่ บ้านท่าหิน ถึงบ้านกู่ทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๙๑ ผ่านบ้านโนนเมืองน้อย บ้านคุยแพง บ้านคุยเชือก บ้านกอก บ้านหนองผือ บ้านปลาปัด บ้านยางท่าแจ้ง บ้านสว่าง บ้านโนน บ้านโนนตุ่น บ้านโนนเนาว์ ถึงบ้านเขื่อน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗ ผ่านบ้านผักหนอก บ้านยางน้อย บ้านยางใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๕๑/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585191
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1878 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1400 ตลาดบางแค - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 2 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๒ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เป็น ตลาดบางแค - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม และปรับปรุงเส้นทางช่วงตลาดบางแค - โรงเรียนวัดศาลาแดง เป็น ตลาดบางแค - ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค - โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม และช่วงตลาดบางแค - วัดใหม่ผดุงเขต เพิ่มขึ้นอีก จำนวน ๒ ช่วง และให้แก้ไขชื่อถนนนครชัยศรี - ศาลายา เป็น ทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๔๐๐๖ ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ ถึงถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๔๐๐๖ ผ่านตลาดศาลายา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๓๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงตลาดบางแค - ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก ผ่านโรงเรียนวัดศาลาแดง แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองปทุม ผ่านโรงเรียนทวีวัฒนา จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ช่วงตลาดบางแค - โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล ช่วงตลาดบางแค - คลองเนินทราย - ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองบางพรหม แยกซ้ายไปตามถนนลัดนิ่มไหว ซอยรินสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา - กาญจนาภิเษก ไปตามซอยสุภาพบุรุษ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองเนินทราย แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองปทุม จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ช่วงตลาดบางแค - โรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ - โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ แยกขวาไปตามซอยโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ ข้ามสะพานเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๖๐๒๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๑๐๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๓๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงตลาดบางแค - วัดใหม่ผดุงเขต เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ แยกขวาไปตามซอยโรงเรียนคลองมหาสวัสดิ์ ข้ามสะพานเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นบ. ๖๐๒๙ จนสุดเส้นทางที่บริเวณวัดใหม่ผดุงเขต ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๔๘/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585189
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2877 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 175 คลองเตย - สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๕ คลองเตย – สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๙๕ คลองเตย - สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๙๕ คลองเตย - สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม - ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง เริ่มต้นจากคลองเตย ไปตามถนนสุนทรโกษา แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๓ แยกซ้ายขึ้นสะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ลงสะพานวงแหวนอุตสาหกรรมที่ถนนสุขสวัสดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนสุขสวัสดิ์ จนสุดเส้นทางที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีพระประแดง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๔๗/๓๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
585127
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางหมวด ๒ และหมวด 3 พ.ศ. 2551
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ และหมวด ๓ พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางหมวด ๒ และหมวด ๓ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้ ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ และหมวด ๓ พ.ศ. ๒๕๕๑” ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ข้อ ๓ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ลงวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ยกเว้นข้อ ๔.๒ ให้เป็นไปตามประกาศฉบับเดิม ข้อ ๔ กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) สำหรับรถโดยสารประจำทางหมวด ๒ หมวด ๓ โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารไม่เกินอัตราที่ ๑๘ ดังนี้ อัตราที่ ราคาน้ำมันดีเซล อัตราค่าโดยสาร (บาท) เกิน ๔๐ กม. แต่ไม่เกิน เกิน ๑๕๐ กม. ขึ้นไป กม. ละ บาท/ลิตร ๔๐ กม. แรก กม. ละ ๑๕๐ กม. กม. ละ อัตรา ก อัตรา ข อัตรา ค อัตรา ก อัตรา ข อัตรา ค อัตรา ก อัตรา ข อัตรา ค ๑ ๑๐.๐๗ - ๑๑.๒๘ ๐.๔๐ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๐.๓๓ ๐.๓๘ ๐.๔๓ ๐.๒๘ ๐.๓๓ ๐.๓๘ ๒ ๑๑.๒๙ - ๑๒.๕๐ ๐.๔๑ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๐.๓๔ ๐.๓๙ ๐.๔๔ ๐.๒๙ ๐.๓๔ ๐.๓๙ ๓ ๑๒.๕๑ - ๑๓.๗๒ ๐.๔๒ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๐.๓๕ ๐.๔๐ ๐.๔๕ ๐.๓๐ ๐.๓๕ ๐.๔๐ ๔ ๑๓.๗๓ - ๑๔.๙๕ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๐.๓๖ ๐.๔๑ ๐.๔๖ ๐.๓๑ ๐.๓๖ ๐.๔๑ ๕ ๑๔.๙๖ - ๑๖.๑๗ ๐.๔๔ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๐.๓๗ ๐.๔๒ ๐.๔๗ ๐.๓๒ ๐.๓๗ ๐.๔๒ ๖ ๑๖.๑๘ - ๑๗.๓๙ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๐.๓๘ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๐.๓๓ ๐.๓๘ ๐.๔๓ ๗ ๑๗.๔๐ - ๑๘.๖๑ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๐.๓๙ ๐.๔๔ ๐.๔๙ ๐.๓๔ ๐.๓๙ ๐.๔๔ ๘ ๑๘.๖๒-๑๙.๘๓ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๐.๔๐ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๐.๓๕ ๐.๔๐ ๐.๔๕ ๙ ๑๙.๘๔-๒๑.๐๕ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๐.๕๘ ๐.๔๑ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๐.๓๖ ๐.๔๑ ๐.๔๖ ๑๐ ๒๑.๐๖-๒๒.๒๗ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๐.๕๙ ๐.๔๒ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๐.๓๗ ๐.๔๒ ๐.๔๗ ๑๑ ๒๒.๒๘-๒๓.๔๙ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๐.๖๐ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๐.๓๘ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๑๒ ๒๓.๕๐-๒๔.๗๑ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๐.๖๑ ๐.๔๔ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๐.๓๙ ๐.๔๔ ๐.๔๙ ๑๓ ๒๔.๗๒-๒๕.๙๓ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๐.๖๒ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๐.๔๐ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๑๔ ๒๕.๙๔-๒๗.๑๕ ๐.๕๓ ๐.๕๘ ๐.๖๓ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๐.๔๑ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๑๕ ๒๗.๑๖-๒๘.๓๗ ๐.๕๔ ๐.๕๙ ๐.๖๔ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๐.๔๒ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๑๖ ๒๘.๓๘-๒๙.๕๙ ๐.๕๕ ๐.๖๐ ๐.๖๕ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๐.๕๘ ๐.๔๓ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๑๗ ๒๙.๖๐-๓๐.๘๑ ๐.๕๖ ๐.๖๑ ๐.๖๖ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๐.๕๙ ๐.๔๔ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๑๘ ๓๐.๘๒-๓๒.๐๓ ๐.๕๗ ๐.๖๒ ๐.๖๗ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๐.๖๐ ๐.๔๕ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๑๙ ๓๒.๐๔-๓๓.๒๕ ๐.๕๘ ๐.๖๓ ๐.๖๘ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๐.๖๑ ๐.๔๖ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๒๐ ๓๓.๒๕-๓๔.๔๗ ๐.๕๙ ๐.๖๔ ๐.๖๙ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๐.๖๒ ๐.๔๗ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๒๑ ๓๔.๔๘-๓๕.๖๙ ๐.๖๐ ๐.๖๕ ๐.๗๐ ๐.๕๓ ๐.๕๘ ๐.๖๓ ๐.๔๘ ๐.๕๓ ๐.๕๘ ๒๒ ๓๕.๗๐-๓๖.๙๑ ๐.๖๑ ๐.๖๖ ๐.๗๑ ๐.๕๔ ๐.๕๙ ๐.๖๔ ๐.๔๙ ๐.๕๔ ๐.๕๙ ๒๓ ๓๖.๙๒-๓๘.๑๓ ๐.๖๒ ๐.๖๗ ๐.๗๒ ๐.๕๕ ๐.๖๐ ๐.๖๕ ๐.๕๐ ๐.๕๕ ๐.๖๐ ๒๔ ๓๘.๑๔-๓๙.๓๕ ๐.๖๓ ๐.๖๘ ๐.๗๓ ๐.๕๖ ๐.๖๑ ๐.๖๖ ๐.๕๑ ๐.๕๖ ๐.๖๑ ๒๕ ๓๙.๓๖-๔๐.๕๗ ๐.๖๔ ๐.๖๙ ๐.๗๔ ๐.๕๗ ๐.๖๒ ๐.๖๗ ๐.๕๒ ๐.๕๗ ๐.๖๒ ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า ๗ บาท ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ ๗ บาท หมายเหตุ : ๑. อัตรา ก. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือคอนกรีต ๒. อัตรา ข. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรัง หรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น ๓. อัตรา ค. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่งคราว หรือทางขึ้นลงเขา ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น อนึ่ง อัตราค่าโดยสารดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (ไม่ปรับอากาศ) สำหรับรถปรับอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ให้คิดค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (ค่าธรรมเนียม) สำหรับรถปรับอากาศตามที่กำหนดไว้เดิมก่อนการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๕๐ และตั้งแต่วันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑ ให้คิดอัตราค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง (ค่าธรรมเนียม) ตามที่กำหนดไว้เดิม คือ ๑) รถมาตรฐาน ๒ หรือปรับอากาศชั้น ๒ ไม่มีห้องน้ำ ให้คิดค่าธรรมเนียม ๔๐% ของค่าโดยสาร ๒) รถมาตรฐาน ๑ ข หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ ขนาด ๔๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๘๐% ของค่าโดยสาร ๓) รถมาตรฐาน ๑ ข พิเศษ หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ ขนาด ๓๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๑๐% ของค่าโดยสาร ๔) รถมาตรฐาน ๑ ก หรือปรับอากาศชั้น ๑ (VIP) มีห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๘๐% ของค่าโดยสาร สำหรับหลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่งนอกเหนือจากที่กำหนดในครั้งนี้ การยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๒๖ ง/หน้า ๒๓/๑ สิงหาคม ๒๕๕๑
583834
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดหนองคาย สายที่ 4537 หนองคาย-บ้านสีกาย-โพนพิสัยเป็น หนองคาย-บ้านสีกาย-ปากคาด และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองคาย-บ้านดงเจริญ-โพนพิสัย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๕๓๗ หนองคาย-บ้านสีกาย-โพนพิสัย เป็น หนองคาย-บ้านสีกาย-ปากคาด และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงหนองคาย-บ้านดงเจริญ-โพนพิสัย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๕๓๗ หนองคาย-บ้านสีกาย-โพนพิสัย ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคายได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคายในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๐ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๗/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๕๓๗ หนองคาย-บ้านสีกาย-โพนพิสัย เป็น หนองคาย-บ้านสีกาย-ปากคาด และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองคาย-บ้านดงเจริญ-โพนพิสัย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๕๓๗ หนองคาย-บ้านสีกาย-ปากคาด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ แยกซ้ายไปตามถนนกรกรรณ แยกขวาไปตามถนนมีชัย ไปตามถนนพนังชลประทาน ผ่านบ้านหาดคำ บ้านบางบอน บ้านหินโงม บ้านสีกาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านบ้านหมากก่อง บ้านเดื่อ บ้านปากสวย บ้านถิ่นดุง อำเภอโพนพิสัย บ้านนิคมดงบัง บ้านน้ำเป บ้านโปร่งสำราญ อำเภอรัตนวาปี บ้านโพนแพง บ้านต้อนน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากคาด ช่วงหนองคาย-บ้านดงเจริญ-โพนพิสัย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านโรงเรียนเซนต์ปอลหนองคาย กองร้อย ตชด. ที่ ๔๒๕ บ้านดงเจริญ บ้านศาลาคำ บ้านบง บ้านหมากก่อง บ้านปากสวย บ้านถิ่นดุง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโพนพิสัย ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เจด็จ มุสิกวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองคาย วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑๕๐/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
583832
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 87 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดสุรินทร์ สายที่ 1490 สุรินทร์-สังขะ (ข) เป็น ปราสาท-สังขะ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๘๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑๔๙๐ สุรินทร์-สังขะ (ข) เป็น ปราสาท-สังขะ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๖ ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑๔๙๐ สุรินทร์-สังขะ (ข) ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๑๔๙๐ สุรินทร์-สังขะ (ข) เป็น ปราสาท-สังขะ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๔๙๐ ปราสาท-สังขะ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านกันตรวจระมวล บ้านถนน บ้านหนองยาว บ้านสะกาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ช่วงปราสาท-บ้านโคกสะอาด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านกันตรวจระมวล ถึงบ้านถนน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สร. ๒๐๒๔ ผ่านบ้านหมื่นชัย บ้านโนนสง่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกสะอาด ช่วงปราสาท-บ้านคูตัน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านกันตรวจระมวล บ้านถนน ถึงบ้านหนองยาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒๓ ถึงบ้านกระเทียม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๑๓๔ ผ่านบ้านโคกรัมย์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคูตัน ช่วงปราสาท-บ้านโคกเจริญ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอปราสาท ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านกันตรวจระมวล บ้านถนน บ้านหนองยาว ถึงบ้านสะกาด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สร. ๓๑๒๓ ผ่านบ้านตาโฮม บ้านสน ถึงบ้านจารย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๓ ผ่านบ้านตาแอก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกเจริญ ช่วงสังขะ-บ้านตาแอก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอสังขะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๗๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงแยกบ้านตาแอก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘๓ ผ่านบ้านชบ บ้านโคกไทร บ้านกันเต็ล บ้านจารย์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาแอก ประกาศ ณ วันที่ ๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วีระ ศรีวัฒนตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑๔๘/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
583830
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๑๔๗๖ ประโคนชัย-นางรอง (ข) ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประวัติ รัฐิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑๔๗/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
583828
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดบุรีรัมย์สายที่ 4374 ประโคนชัย-บ้านศรีสุข -นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด เป็น นางรอง-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๔๓๗๔ ประโคนชัย-บ้านศรีสุข -นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด เป็น นางรอง-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ลงวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๔๓๗๔ นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด-บ้านศรีสุข เป็น ประโคนชัย-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดบุรีรัมย์ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดบุรีรัมย์ สายที่ ๔๓๗๔ ประโคนชัย-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด เป็น นางรอง-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๓๗๔ นางรอง-บ้านศรีสุข-นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอนางรอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านถนนหัก บ้านตะแบก บ้านตะโก บ้านโคกเพชร บ้านหนองดง บ้านชัยพัฒนา อำเภอประโคนชัย บ้านอาแมะ บ้านหนองคูณ ถึงบ้านเก็ม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. บร. ๓๐๓๒ ผ่านบ้านหนองกุ้ง บ้านกันงา บ้านโคกประเดียด บ้านละเวี้ย บ้านศรีสุขถึงบ้านโนนเจริญ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๕ ผ่านบ้านหินลาด บ้านหนองน้ำขุ่นถึงสี่แยกบ้านพาชี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านไพรวัลย์น้อย บ้านโนนศิลา บ้านยาง อำเภอบ้านกรวด บ้านปราสาท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด ช่วงนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด-บ้านโคกกระชาย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านปราสาท ถึงอำเภอบ้านกรวด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ถนนมารังกูล) ผ่านบ้านเก็มเตาเผาโบราณคดีตาเจียน ห้วยไซตะกู ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกกระชาย ช่วงนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด-บ้านหนองไม้งาม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนิคมสร้างตนเองบ้านกรวด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙ ผ่านบ้านปราสาท ถึงอำเภอบ้านกรวด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนสัจจะพงษ์) ผ่านบ้านตาอี บ้านยาง บ้านน้อย บ้านหนองปรือ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองไม้งาม ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ประวัติ รัฐิรมย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดบุรีรัมย์ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑๔๕/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
583826
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 227 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมาสายที่ 4155 นครราชสีมา-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๒๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๕๕ นครราชสีมา-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๐๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางการขนส่งโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๕๕ นครราชสีมา-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๕๕ นครราชสีมา-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน)ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านโนนสมบูรณ์-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) ดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๑๕๕ นครราชสีมา-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงทางแยกอำเภอโชคชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านหนองหัวแรด ถึงอำเภอหนองบุญมาก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๐๙ ผ่านบ้านหนองตะไก้ บ้านยอกขาม ถึงบ้านหนองยายเทียม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๑๓๖ ผ่านบ้านสว่างพัฒนา ถึงบ้านหัวทำนบ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๐๘๒ ถึงบ้านสระว่านพระยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๖๕ ถึงบ้านดอนแขวนแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๗ ผ่านบ้านสกัดนาก บ้านโคกหน้ากลอง บ้านหนองไผ่น้อย บ้านเสิงสาง บ้านโคกไม้งาม ถึงบ้านโคกไม้ตาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๖ ผ่านบ้านโคกสูง ไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบล ผ่านบ้านราษฎร์พัฒนา บ้านราชบูรณะ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) ช่วงนครราชสีมา-บ้านสันติสุข เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงทางแยกอำเภอโชคชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านหนองหัวแรด อำเภอหนองบุญมาก ถึงบ้านซับตะคร้อ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๑๓๖ ผ่านบ้านหนองบุนนาก บ้านหนองยายเทียม บ้านสว่างพัฒนา ถึงบ้านหัวทำนบ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๐๘๒ ถึงบ้านสระว่านพระยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๖๕ ถึงบ้านดอนแขวน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๗ ผ่านบ้านสกัดนาก บ้านโคกหน้ากลอง บ้านหนองไผ่น้อย บ้านเสิงสาง บ้านโคกไม้งาม ถึงบ้านโคกไม้ตาย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านสระตะเคียน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสันติสุข ช่วงนครราชสีมา-บ้านโนนสมบูรณ์-โครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงทางแยกอำเภอโชคชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านหนองหัวแรด อำเภอหนองบุญมากถึงบ้านซับตะคร้อ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๑๓๖ ผ่านบ้านหนองบุนนาก บ้านหนองยายเทียม บ้านสว่างพัฒนา ถึงบ้านหัวทำนบ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นม. ๒๐๘๒ ถึงบ้านสระว่านพระยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๖๕ ถึงบ้านดอนแขวน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๗ ผ่านบ้านสกัดนาก บ้านโคกหน้ากลอง บ้านหนองไผ่น้อย บ้านเสิงสาง ถึงบ้านโคกไม้งาม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๖ ผ่านบ้านโนนสมบูรณ์ บ้านราษฎร์สามัคคี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโครงการพระราชดำริลำปลายมาศ (หาดชมตะวัน) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ สุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๘๒ ง/หน้า ๑๔๒/๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
583075
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 30 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดตรัง สายที่ 6 บ้านควนปริง-โรงเรียนนาตาล่วง เป็น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง)-โรงเรียนเทศบาล 3 (บ้านนาตาล่วง)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๓๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดตรัง สายที่ ๖ บ้านควนปริง-โรงเรียนนาตาล่วง เป็น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง)- โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง)[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดตรัง สายที่ ๖ บ้านควนปริง-โรงเรียนนาตาล่วง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดตรัง สายที่ ๖ บ้านควนปริง-โรงเรียนนาตาล่วง เป็น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง)-โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๖ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง)-โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง) ไปตามทางหลวงท้องถิ่น (บ้านควนปริง-บ้านบางหมาก) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านบ้านควนปริง สามแยกวัดแจ้ง ถึงสามแยกบางรัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๕ ผ่านวัดคลองน้ำเจ็ด แยกซ้ายไปตามถนนวิเศษกุล ผ่านโรงเรียนวัดควนวิเศษ โรงเรียนสภาราชินี ถึงสี่แยกหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ ถึงสถานีรถไฟจังหวัดตรัง ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม ถึงสี่แยกหอนาฬิกา แยกซ้ายไปตามถนนวิเศษกุล ผ่านสี่แยกโกกุล ถึงสามแยกหมี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านนาตาล่วง) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๕๑/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
583073
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ 29 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดตรัง สายที่ 8358 ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง ให้มีรายละเอียดแยกช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-อำเภอวังวิเศษ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง ให้มีรายละเอียดแยก ช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-อำเภอวังวิเศษ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๔๑ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรังได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตรัง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุม ครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตรัง สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง เป็นให้มีรายละเอียดแยกช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-อำเภอวังวิเศษ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๘๓๕๘ ตรัง-บ้านเขาวิเศษ-บ้านนาวง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๖ ถึงวัดตันตยาภิรม แยกขวาไปตามถนนน้ำผุด ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๖ โรงเรียนบูรณะรำลึก สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๙๕ วัดน้ำผุดใต้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (นาตาล่วง-ถนนเลี่ยงเมือง ๔๑๙) ถึงสี่แยกตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตง ๓๐๐๒ ผ่านโรงเรียนวัดไพรสณฑ์ บ้านคลองขุด บ้านหนองตรุด โรงเรียนวัดเชี่ยวชาญกิจ บ้านสันตัง บ้านหลังเขา โรงเรียนบ้านหลังเขา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๙ ผ่านบ้านเขาวิเศษ บ้านเขาโอน ถึงบ้านควน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (เพชรเกษม) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาวง ช่วงตรัง-บ้านเขาวิเศษ-อำเภอวังวิเศษ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๖ ถึงวัดตันตยาภิรม แยกขวาไปตามถนนน้ำผุด ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๖ โรงเรียนบูรณะรำลึก สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ๙๕ วัดน้ำผุดใต้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น (นาตาล่วง-ถนนเลี่ยงเมือง ๔๑๙) ถึงสี่แยกตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตง ๓๐๐๒ ผ่านโรงเรียนวัดไพรสณฑ์ บ้านคลองขุด บ้านหนองตรุด โรงเรียนวัดเชี่ยวชาญกิจ บ้านสันตัง บ้านหลังเขา โรงเรียนบ้านหลังเขา แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตง ๑๐๑๖ ผ่านบ้านบางพระ บ้านน้ำฉ่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (เพชรเกษม) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอวังวิเศษ ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อานนท์ มนัสวานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตรัง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๔๙/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
583069
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1876 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 547 สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) และปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางจากแยกราชประสงค์ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๔๗ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา-สะพานกรุงเทพ- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) และปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางจากแยกราชประสงค์ ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๔๗ พุทธมณฑล-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เป็น สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๔๗ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลวิทยาเขตศาลายา-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-สะพานกรุงเทพ-สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) และปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางจากแยกราชประสงค์ ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๔๗ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์-สะพานกรุงเทพ- สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) เริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ผ่านพุทธมณฑล แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านตลาดบางแค แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก (ตอนล่าง) ข้ามสะพานกรุงเทพ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสีลม ถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ แยกซ้ายไปตามถนนราชวิถี ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ไปตามถนนกำแพงเพชร ๒ แยกซ้ายไปตามถนนกำแพงเพชร แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน กลับรถบริเวณแยกลาดพร้าว ไปตามถนนพหลโยธิน ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกซ้ายไปตามถนนศรีอยุธยา แยกขวาไปตามถนนราชปรารภ แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๔๗/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
583065
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1875 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 755 วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๕๕ วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๙๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๕๕ โรงเรียนภัทรนุสรณ์ - หมู่บ้านอ้อมน้อย เป็น วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖ /๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๗๕๕ วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่ เพิ่มอีก ๑ ช่วง และปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์ เป็น วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย- สามพราน-คลองใหม่ เป็นเส้นทางสายหลัก และปรับปรุงเส้นทางแยกช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์-โรงเรียนภัทรนุสรณ์ เป็น ช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ซอยวัดเทียนดัด-โรงเรียนภัทรนุสรณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๕๕ วงกลมหมู่บ้านอ้อมน้อย-สามพราน-คลองใหม่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย ไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านตลาดหมู่บ้านสามพราน ผ่านซอยวัดเทียนดัด ผ่านโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายโรมันคาทอลิก-ดงเกตุ) ผ่านวัดนักบุญเปโตร ถึงโรงเรียนบ้านดงเกตุ ตรงไปตามทางหลวงชนบท (อบจ. นฐ) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์) ผ่านอำเภอสามพราน ตลาดสามพราน ไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๓ ถึงโรงเรียนภัทรนุสรณ์ ย้อนกลับไปตามแนวเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๑๐๓๔ ถึงทางแยกบ้านคลองใหม่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านแยกถนนไร่ขิง โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ตลาดหมู่บ้านสามพราน แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกซ้ายไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย ช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ซอยวัดเทียนดัด-โรงเรียนภัทรนุสรณ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย ไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านตลาดหมู่บ้านสามพราน แยกซ้ายเข้าซอยวัดเทียนดัด แยกขวาเข้าซอยเซนคาเบรียล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายโรมันคาทอลิก-ดงเกตุ) ผ่านวัดนักบุญเปโตร ถึงโรงเรียนบ้านดงเกตุ ตรงไปตามทางหลวงชนบท (อบจ. นฐ) ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน (สะพานบุญรัฐประชานุวัฒน์) ผ่านอำเภอสามพราน ตลาดสามพรานไปตามถนนสุขาภิบาล ๑ แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๓ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนภัทรนุสรณ์ ช่วงหมู่บ้านอ้อมน้อย-ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านอ้อมน้อย ไปตามซอยหมู่บ้านอ้อมน้อย แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านตลาดหมู่บ้านสามพราน ผ่านซอยวัดเทียนดัด ผ่านโรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ ผ่านแยกถนนไร่ขิง โรงพยาบาลอำเภอสามพราน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๑๐๓๗ ผ่านวัดสว่างอารมณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสาย (บ้านคลองทางหลวง-บ้านคลองใหม่) ผ่านหมู่บ้านคลองใหม่พัฒนา สถานีอนามัยบ้านคลองใหม่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านคลองใหม่ ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๔๕/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
583061
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1874 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 35 วัดสน-เสาชิงช้า เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ฯ (ตลิ่งชัน)-วัดสน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๕ วัดสน-เสาชิงช้า เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ฯ (ตลิ่งชัน)-วัดสน[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๕ สาธุประดิษฐ์-เสาชิงช้า เป็น วัดสน-เสาชิงช้า นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๓๕ วัดสน-เสาชิงช้า เป็น สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน)-วัดสน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๕ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - วัดสน จากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ไปวัดสน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ไปตามถนนบรมราชชนนี ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า ข้ามสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ไปตามถนนราชดำเนินกลาง แยกขวาไปตามถนนดินสอ แยกขวาไปตามถนนบำรุงเมือง แยกซ้ายไปตามถนนตีทอง แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกขวาไปตามถนนไมตรีจิต แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนมหาพฤฒาราม ถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนสี่พระยา แยกขวาไปตามถนนนเรศ แยกขวาไปตามถนนสุรวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนจันทน์ แยกขวาไปตามถนนสาธุประดิษฐ์ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๓ ข้ามสะพานกรุงเทพ ไปตามถนนมไหสวรรค์ แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถนนสุขสวัสดิ์ จนสุดเส้นทางที่วัดสน จากวัดสนไปสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) เริ่มต้นจากวัดสน ไปตามถนนสุขสวัสดิ์ ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนจันทน์ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนข้าวหลาม แยกซ้ายไปตามถนนโปลิศสภา แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนมิตรพันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนไมตรีจิต ถนนหลวง แยกขวาไปตามถนนมหาไชย แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินกลาง แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๗๓ ง/หน้า ๑๔๓/๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑
582771
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง แห่งที่ 2
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง แห่งที่ ๒[๑] อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง แห่งที่ ๒ ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ รย.๔๕๗ ตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๒๘ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๑๐๑ ง/หน้า ๔/๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๑
582136
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยสารรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๑๐๐๓ สังขละบุรี-บ้านห้วยมาลัย ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๘๒/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
582134
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ เรื่อง ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๑๐๐๒ สังขละบุรี-ด่านเจดีย์สามองค์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๘๑/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
582132
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ 50 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๕๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยสารรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๑๐๐๑ กาญจนบุรี-ค่ายกองพลที่ ๙ ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรีได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาญจนบุรี ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อำนาจ ผการัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกาญจนบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๘๐/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
582130
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1873 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 8 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๘ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๒๘ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๖ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๒๐ ลาดพร้าว-ซอยสังคมสงเคราะห์ ๑ เป็น สายที่ ๑๐๒๐ ลาดพร้าว ๘๖-โรงเรียนบดินทรเดชา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๒๔๓ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๑๔ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางในชนบทเพิ่มเติมในเขตนครบาลเหนือ (จังหวัดพระนคร) สายที่ ๑๐๓๓ ลาดพร้าว-ซอยจันทราสุข สายที่ ๑๐๕๔ คลองตัน-ซอยวิเศษสุขและสายที่ ๑๐๗๘ อนุสาวรีย์หลักสี่-ซอยวัดไผ่เขียว ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๐๑ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๒๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๖๓ ลาดพร้าว ๑๐๗-โรงเรียนรัตนพาณิชยการ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๒๗ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๖๔ รามคำแหง ๕๓-โรงเรียนบดินทรเดชา และสายที่ ๑๐๖๕ ลาดพร้าว ๑๑๒-โรงเรียนบดินทรเดชา ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ประเภท ๒ กรุงเทพมหานคร เป็น หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร หมวด ๔ (ในซอย) สายที่ ๑๓๑๓ ซอยสบายใจ-ลาดพร้าว ๔๘ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๘ เส้นทาง คือ สายที่ ๑๐๒๐ ลาดพร้าว ๘๖-โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๓๓ ลาดพร้าว-ซอยจันทราสุข สายที่ ๑๐๕๔ ซอยรามคำแหง ๓๒-พระรามที่ ๙ ซอย ๕๗ สายที่ ๑๐๖๓ ลาดพร้าว ๑๐๗-โรงเรียนรัตนพาณิชยการ สายที่ ๑๐๖๔ รามคำแหง ๕๓-โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๖๕ ลาดพร้าว ๑๑๒-โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๗๘ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ-ซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ และสายที่ ๑๓๑๓ ซอยสบายใจ-ลาดพร้าว ๔๘ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๐๒๐ ลาดพร้าว ๘๖-โรงเรียนบดินทรเดชา เริ่มต้นจากปากซอยลาดพร้าว ๘๖ ไปตามซอยลาดพร้าว ๘๖ แยกขวาไปตามถนนอินทราภรณ์ แยกขวาไปตามซอยลาดพร้าว ๑๑๒ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๓๓ ลาดพร้าว-ซอยจันทราสุข เริ่มต้นจากปากซอยลาดพร้าว ๘๗ ไปตามซอยลาดพร้าว ๘๗ จนสุดเส้นทางที่ปากซอยลาดพร้าว ๘๗ สายที่ ๑๐๕๔ ซอยรามคำแหง ๓๒-พระรามที่ ๙ ซอย ๕๗ เริ่มต้นจากปากซอยรามคำแหง ๓๒ ไปตามซอยรามคำแหง ๓๒ พระรามที่ ๙ ซอย ๕๗ จนสุดเส้นทางที่ถนนพระรามที่ ๙ สายที่ ๑๐๖๓ ลาดพร้าว ๑๐๗-โรงเรียนรัตนพาณิชยการ เริ่มต้นจากปากซอยลาดพร้าว ๑๐๗ ไปตามซอยลาดพร้าว ๑๐๗ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนรัตนพาณิชยการ สายที่ ๑๐๖๔ รามคำแหง ๕๓-โรงเรียนบดินทรเดชา เริ่มต้นจากปากซอยรามคำแหง ๕๓ ไปตามซอยรามคำแหง ๕๓ แยกซ้ายไปตามซอยลาดพร้าว ๑๑๒ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๖๕ ลาดพร้าว ๑๑๒-โรงเรียนบดินทรเดชา เริ่มต้นจากปากซอยลาดพร้าว ๑๑๒ ไปตามซอยลาดพร้าว ๑๑๒ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนบดินทรเดชา สายที่ ๑๐๗๘ อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ-ซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ จนสุดเส้นทางที่บริเวณปลายซอยแจ้งวัฒนะ ๑๔ สายที่ ๑๓๑๓ ซอยสบายใจ-ลาดพร้าว ๔๘ เริ่มต้นจากซอยสบายใจ (ด้านถนนสุทธิสารวินิจฉัย) ไปตามซอยสบายใจ ผ่านหมู่บ้านวัฒนานิเวศน์ ไปตามซอยลาดพร้าว ๔๘ จนสุดเส้นทางที่ปากซอยลาดพร้าว ๔๘ (ด้านถนนลาดพร้าว) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๗๗/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
582128
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1872 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 377 สระแก้ว-กบินทร์บุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปราจีนบุรี สายที่ ๑๖๗๗ ข. กบินทร์บุรี-สระแก้ว เป็น หมวด ๓ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๗๗ สระแก้ว-กบินทร์บุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระแก้ว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านบ้านหนองไทร บ้านหนองไผ่ล้อม บ้านคลองแห่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกบินทร์บุรี ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๗๖/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
582126
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1871 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 484 เดิมบางนางบวช-วัดสิงห์ เป็นเดิมบางนางบวช-ตลาดสามง่าม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๘๔ เดิมบางนางบวช-วัดสิงห์ เป็น เดิมบางนางบวช-ตลาดสามง่าม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๒๑๖ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๒๖ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๘๔ เดิมบางนางบวช-สามง่าม เป็น เดิมบางนางบวช-วัดสิงห์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๔๘๔ เดิมบางนางบวช-วัดสิงห์ เป็น เดิมบางนางบวช-ตลาดสามง่าม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๔๘๔ เดิมบางนางบวช-ตลาดสามง่าม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเดิมบางนางบวช ไปตามถนนชลประทาน ผ่านตลาดท่าช้าง บ้านท่าเตียน บ้านท่าทอง บ้านใหม่ บ้านเชี่ยน ถึงสะพานบ้านเชี่ยน แยกขวาเข้าอำเภอหันคา แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ถึงสามแยกทางไปสามง่าม ตรงไปตามถนนชลประทาน (สายหันคา-ท่าโบสถ์) ผ่านบ้านคลองคด บ้านท่าโบสถ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสามง่าม ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๖๗ ง/หน้า ๗๕/๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑
580865
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. 2551
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร พ.ศ. ๒๕๕๑[๑] ตามที่ได้ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว นั้น โดยที่ปัจจุบันประกาศดังกล่าวได้วางข้อกำหนดให้รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทุกประเภทการขนส่งที่บานประตูทางขึ้นลงใช้กลไกควบคุมการปิดเปิดอัตโนมัติ ต้องมีระบบการทำงานที่ควบคุมการปิดเปิดได้อย่างปลอดภัย แต่เมื่อพิจารณาจากสถิติอุบัติเหตุที่เกิดจากบานประตูขึ้นลงปรากฏว่าอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกือบทุกกรณีมักเกิดกับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางเฉพาะกรณีการขนส่งภายในเขตเมืองเท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัว และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงได้ปรับตัวสูงขึ้นมาโดยตลอด ดังนั้น เพื่อให้ข้อกำหนดดังกล่าวมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในการใช้งานของรถแต่ละประเภท สามารถปฏิบัติได้และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างแท้จริง ตลอดจนเพื่อมิให้เป็นภาระหรือสร้างต้นทุนการขนส่งให้แก่ผู้ประกอบการขนส่งในประเภทการขนส่งอื่น จึงเห็นสมควรปรับปรุงข้อกำหนดดังกล่าวเสียใหม่ อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฌ) และข้อ ๑๐ (๒) (ช) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๙ ข้อ ๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ (ก) มาตรฐาน ๑ (ข) มาตรฐาน ๒ (ก) มาตรฐาน ๒ (ข) มาตรฐาน ๒ (ค) มาตรฐาน ๒ (ง) มาตรฐาน ๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) มาตรฐาน ๕ (ก) และมาตรฐาน ๕ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉินอย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) และมาตรฐาน ๕ (ข) ที่มีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู จะมีประตูฉุกเฉินตามวรรคหนึ่งหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๓ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (ก) มาตรฐาน ๔ (ข) มาตรฐาน ๔ (ค) มาตรฐาน ๔ (ง) มาตรฐาน ๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ) ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ชั้นบนอย่างน้อย ๑ ประตู และที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ) ที่ชั้นล่างมีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู ชั้นล่างจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ก) และมาตรฐาน ๖ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๖ (ข) มีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้า ๒ ประตู ที่ตอนหน้าจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ และในกรณีมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนท้าย ๒ ประตู ที่ตอนท้ายจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้ ข้อ ๕ ประตูทางขึ้นลงต้องมีขนาดทางขึ้นลงกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า ๑.๖๐ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่า ต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทางในเส้นทางหมวด ๑ ประตู ทางขึ้นลงต้องมีขนาดทางขึ้นลงกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า ๑.๘๐ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่าต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร ข้อ ๖ รถตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ถ้าบานประตูทางขึ้นลงเป็นบานประตูที่ใช้กลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติ ต้องมีระบบการทำงานของประตูที่สามารถควบคุมให้บานประตูที่กำลังปิดหากกระทบถูกผู้โดยสารหรือสิ่งกีดขวาง บานประตูต้องเปิดออกโดยอัตโนมัติ หรือหากบานประตูหนีบส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายต้องสามารถดึงออกได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้โดยสาร หรือมีระบบการทำงานอื่นที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ รถที่บานประตูทางขึ้นลงมีระบบการทำงานตามวรรคหนึ่ง ต้องมีอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย ดังนี้ (๑) สัญญาณไฟกระพริบสีแดง พร้อมทั้งสัญญาณเสียงเตือนแสดงการปิดเปิดของบานประตูบริเวณประตูทางขึ้นลงภายในตัวรถและบริเวณที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน (๒) อุปกรณ์ที่สามารถทำให้บานประตูเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกตัวรถโดยสะดวกในกรณีฉุกเฉินแม้ในขณะที่ระบบดังกล่าวจะทำงานหรือไม่ก็ตาม ข้อ ๗ ประตูฉุกเฉินต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า ๔๐ × ๑๒๐ เซนติเมตร อยู่ด้านขวาของห้องโดยสารบริเวณกลางตัวรถหรือค่อนไปทางท้ายหรือด้านท้ายรถ และต้องเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกโดยไม่ต้องใช้กุญแจหรือเครื่องมืออื่นใด โดยบานประตูจะเป็นชนิดปิดเปิดแบบใดก็ได้ที่สามารถเปิดออกได้เต็มส่วนกว้างและส่วนสูง และต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินผู้โดยสารสามารถออกได้โดยสะดวก ในกรณีที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของประตูฉุกเฉินอยู่เหนือล้อหลังขวา ส่วนล่างของประตู ณ ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร โดยเริ่มวัดจากพื้นรถจะมีความกว้างของทางออกน้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ก็ได้ ประตูฉุกเฉินหรือบริเวณใกล้เคียงต้องมีเครื่องหมายข้อความว่า “ประตูฉุกเฉิน” พร้อมด้วยคำอธิบายหรือสัญลักษณ์แสดงวิธีปิดเปิดเป็นภาษาไทยทั้งด้านในและด้านนอกตัวรถ ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน ข้อ ๘ ความในข้อ ๖ ให้ใช้บังคับสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทางในเส้นทางหมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ตามระยะเวลาที่กำหนด ดังต่อไปนี้ (๑) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๑ ให้ใช้บังคับเฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือรถที่ยื่นขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงตัวถังรถ ตั้งแต่วันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป (๒) รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารในประเภทการขนส่งประจำทาง ในเส้นทางหมวด ๒ หมวด ๓ และหมวด ๔ การขนส่งไม่ประจำทาง และการขนส่งส่วนบุคคล ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๔๐/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑
580857
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถัง ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ 3)
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถัง ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ (ฉบับที่ ๓)[๑] เพื่อให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้นในการตรวจและทดสอบถังที่จะนำมาใช้ในการบรรทุกวัตถุอันตรายและลดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการรับรองถังบรรทุกที่ติดตรึงกับตัวรถสำหรับใช้ขนส่งวัตถุอันตรายระหว่างส่วนราชการ จึงเห็นสมควรแก้ไข ปรับปรุงประกาศกรมขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถังลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๕ (๒) และข้อ ๑๘ (๒) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกให้ยกเลิกความในข้อ ๕ ของประกาศกรมขนส่งทางบก เรื่อง แบบตัวถัง ลักษณะและมาตรฐานถังบรรทุกวัตถุอันตรายที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๙ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ ๕ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป” ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๘๙ ง/หน้า ๓๙/๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑
580403
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1870 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 259 สุรินทร์-เกษตรวิสัย
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๗๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๙ สุรินทร์-เกษตรวิสัย[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๙ สุรินทร์-เกษตรวิสัย นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๘ ง/หน้า ๙๒/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
580401
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1869 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๒ ร้อยเอ็ด-สุรินทร์ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๓๖๗ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๙๓ สุรินทร์-ยโสธร นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๕๒ ร้อยเอ็ด-สุรินทร์ โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางผ่านอำเภอเกษตรวิสัย-บ้านแสนสี และยกเลิกรายละเอียดเส้นทางช่วงที่ผ่านอำเภอสุวรรณภูมิ และสายที่ ๒๙๓ สุรินทร์-ยโสธร ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้น จำนวน ๖ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๕๒ ร้อยเอ็ด-สุรินทร์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดร้อยเอ็ด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอจตุรพักตร์พิมาน อำเภอเกษตรวิสัย บ้านเมืองบัว บ้านแสนสี บ้านปอหมัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘๑ ถึงทางแยกบ้านตาฮะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๒๙๓ สุรินทร์-ยโสธร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุรินทร์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านอำเภอจอมพระ อำเภอท่าตูม ถึงทางแยกบ้านตาฮะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕ ถึงอำเภอสุวรรณภูมิ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านบ้านหัวช้าง บ้านโนนชัยศรี บ้านกุดน้ำใส ถึงบ้านบ่อแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยโสธร ช่วงท่าตูม-บ้านโพนครก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าตูม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตาฮะ ถึงทางแยกบ้านโพนครก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโพนครก ช่วงท่าตูม-บ้านสะเอิง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าตูม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตาฮะ บ้านห้วยอารีย์ ถึงทางแยกบ้านสะเอิง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสะเอิง ช่วงท่าตูม-บ้านขี้เหล็ก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าตูม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตาฮะ บ้านห้วยอารีย์ ถึงทางแยกบ้านขี้เหล็ก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านขี้เหล็ก ช่วงท่าตูม-บ้านสาหร่าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าตูม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านตาฮะ บ้านห้วยอารีย์ ถึงทางแยกบ้านสาหร่าย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสาหร่าย ช่วงสุวรรณภูมิ-บ้านจานเตย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านกู่พระโกนา ถึงทางแยกบ้านจานเตย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๑๒ ผ่านบ้านสังข์ใหญ่ บ้านจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจานเตย ช่วงสุวรรณภูมิ-บ้านตาหยวก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณภูมิ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านกู่พระโกนา ถึงทางแยกบ้านตาหยวก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาหยวก ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๘ ง/หน้า ๙๐/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
580399
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1868 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 165 อ่างทอง-ตาคลี สำหรับเส้นทางแยกช่วงอ่างทอง-อินทร์บุรี-ตาคลี เป็น อ่างทอง-อินทร์บุรี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๖๕ อ่างทอง-ตาคลี สำหรับเส้นทางแยก ช่วงอ่างทอง-อินทร์บุรี-ตาคลี เป็น อ่างทอง-อินทร์บุรี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๖๕ อ่างทอง-ตาคลี ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอ่างทอง-อินทร์บุรี-ตาคลี นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๑๖๕ อ่างทอง-ตาคลี สำหรับเส้นทางแยกช่วงอ่างทอง-อินทร์บุรี-ตาคลี เป็น อ่างทอง-อินทร์บุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๖๕ อ่างทอง-ตาคลี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอ่างทอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ถึงจังหวัดสิงห์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอตาคลี ช่วงอ่างทอง-อินทร์บุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอ่างทอง ไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๓๐๙ ถึงจังหวัดสิงห์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สห ๒๐๐๖ ผ่านบ้านบางตาขาว บ้านน้ำตาล บ้านบางกะปิ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภออินทร์บุรี ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๘ ง/หน้า ๘๘/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
580397
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1867 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 381 รังสิต-อำเภอองครักษ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวงกลมรังสิต-วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) เพิ่มอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๑ รังสิต-อำเภอองครักษ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงวงกลมรังสิต-วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) เพิ่มอีก ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๑ รังสิต-มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ เป็น รังสิต-อำเภอองครักษ์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๓๘๑ รังสิต-อำเภอองครักษ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวงกลมรังสิต-วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๘๑ รังสิต-อำเภอองครักษ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต (บริเวณตลาดสุชาติ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นสะพานกลับรถข้ามถนนพหลโยธิน วกกลับไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม คลองสี่ คลองห้า คลองหก ทางแยกไปสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล อำเภอธัญบุรี คลองเจ็ด คลองแปด คลองเก้า คลองสิบ คลองสิบเอ็ด คลองสิบสอง คลองสิบสาม คลองสิบสี่ คลองสิบห้า คลองสิบหก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย. ๓๐๐๑ ไปสุดเส้นทางที่อำเภอองครักษ์ ช่วงรังสิต-เคหะชุมชนคลองสอง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต (บริเวณตลาดสุชาติ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นสะพานกลับรถข้ามถนนพหลโยธิน วกกลับไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง ถึงคลองสอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนเลียบคลองสอง) ผ่านโรงเรียนวัดแสงสวรรค์ วัดแสงสวรรค์ วัดกล้าชอุ่ม ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณด้านหน้าเคหะชุมชนคลองสอง ช่วงรังสิต-เคหะชุมชนรังสิต เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต (บริเวณตลาดสุชาติ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ขึ้นสะพานกลับรถข้ามถนนพหลโยธิน วกกลับไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ (ถนนรังสิต-นครนายก) ผ่านคลองหนึ่ง คลองสอง คลองสาม คลองสี่ คลองห้า ถึงคลองหก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเคหะชุมชนรังสิต ช่วงวงกลมรังสิต-วัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต (บริเวณตลาดสุชาติ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธินผ่านห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส ขึ้นสะพานกลับรถไปตามถนนพหลโยธิน ผ่านห้างสรรพสินค้าฟิวเจอร์ปาร์ค โรงพยาบาลธัญรักษ์ แยกซ้ายไปตามซอยพหลโยธิน ๙๔ ผ่านโรงเรียนธัญบุรี แยกขวาไปตามซอยรังสิต-นครนายก ๒ ผ่านวัดคลองหนึ่ง แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ผ่านวัดซอยสามัคคี (ธรรมสุขใจ) แยกซ้ายไปตามซอยรังสิต-นครนายก ๑๘ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองรังสิตประยูรศักดิ์ แยกขวาข้ามสะพานฟ้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ แยกขวาไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ ไปสุดเส้นทางที่รังสิต (บริเวณตลาดสุชาติ) ประกาศ ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปิยะพันธ์ จัมปาสุต รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๘ ง/หน้า ๘๖/๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
576788
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 226 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4699 นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ข)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๒๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๖๙๙ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ข)[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๖๙๘ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ข) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๖๙๙ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามถนนมิตรภาพ (สายเก่า) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านบ้านจอหอ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. นม. ๐๑๒๐๑ ผ่านบ้านบุ บ้านยุ้ง บ้านมะค่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านลองตอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๙๒/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
576786
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 225 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4698 นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ก)
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๒๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๖๙๘ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ก)[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๖๙๘ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ก) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๖๙๘ นครราชสีมา-บ้านลองตอง (ก) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ถึงบ้านจอหอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. นม. ๐๑๒๐๑ ผ่านบ้านบุ บ้านยุ้ง บ้านมะค่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านลองตอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๙๑/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
576782
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 224 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4144 นครราชสีมา-บ้านสัมฤทธิ์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๒๒๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง ด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๔๔ นครราชสีมา-บ้านสัมฤทธิ์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ ๑๗๓ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางการขนส่งโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๔๔ นครราชสีมา-บ้านสัมฤทธิ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๑๔๔ นครราชสีมา-บ้านสัมฤทธิ์ โดยให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านลองตอง และช่วงนครราชสีมา-บ้านลองตอง (ข) เพื่อให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๙๐/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
576747
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทางขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กเดิมที่ยกเลิก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดตากในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดตากจำนวน ๘ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ สายที่ ๒๕๖๒ ตาก-บ้านส้มป่อย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านห้วยนึ่ง บ้านดงปู ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน บ้านลานสาง ถึงทางแยกกิโลเมตรที่ ๒๘ แยกซ้ายไปตามถนนศูนย์สงเคราะห์ชาวเขาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านส้มป่อย ช่วงตาก-ทางแยกอุทยานแห่งชาติลานสาง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านห้วยนึ่ง บ้างดงปู ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน บ้านลานสาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณแยกอุทยานแห่งชาติลานสาง ช่วงตาก-บ้านเพชรชมภู เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านห้วยนึ่ง บ้านดงปู ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน ถึงสามแยก (ระหว่าง กม. ที่ ๘-กม. ที่ ๙) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๘ ผ่านบ้านท่าเล่ย์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเพชรชมพู ช่วงตาก-บ้านดอยมูเซอ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านห้วยนึ่ง บ้านดงปู ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน บ้านลานสาง ถึงทางแยกระหว่าง กม. ที่ ๒๕ แยกซ้ายไปตามถนนศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอยมูเซอ ช่วงตาก-บ้านห้วยปลาหลด เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านห้วยนึ่ง บ้านดงปู ค่ายตำรวจตระเวนชายแดน บ้านลานสาง ถึงทางแยก กม. ที่ ๒๘ แยกขวาไปตามถนนศูนย์สงเคราะห์ชาวเขา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยปลาหลด สายที่ ๒๕๖๓ ตาก-บ้านน้ำดิบ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึง กม. ที่ ๔๓๐ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก ๑๐๑๐ ผ่านบ้านตลุก บ้านสระทอง บ้านสามไร่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำดิบ สายที่ ๒๕๖๔ ตาก-บ้านวังเจ้า เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร ผ่านบ้านคลองห้วยทราย บริษัท ผาแดงอินดัสทรี จำกัด บ้านท่าตะคร้อ วิทยาลัยเกษตรกรรมตาก บ้านประดาง บ้านสบยม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังเจ้า (บริเวณทางแยกไปสะพานวุฒิกุล) ช่วงตาก-บ้านหนองปรือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐๗ ผ่านบ้านหนองบัวใต้ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองปรือ สายที่ ๒๕๖๕ ปากทางเขื่อนภูมิพล-ประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเขื่อนภูมิพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑-เขื่อนภูมิพล ผ่านบ้านวังหมัน บ้านวังไคร้ บ้านท่าปุย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล-บ้านวังโพ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเขื่อนภูมิพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑-เขื่อนภูมิพล ผ่านบ้านวังหมัน บ้านวังไคร้ถึงทางแยกบ้านวังโพ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก ๑๐๒๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังโพ ช่วงปากทางเขื่อนภูมิพล-บ้านป่ายาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากทางเขื่อนภูมิพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑-เขื่อนภูมิพล ผ่านบ้านวังหมัน บ้านวังไคร้ถึงทางแยกบ้านป่ายาง แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลตำบลสามเงาหมายเลข ตก ๔๐๐๘ และทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบต. ตก ๔๐๐๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านป่ายาง ช่วงประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล-บ้านแม่ระวานสองแคว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณประตูทางเข้าเขื่อนภูมิพล ผ่านอำเภอสามเงา ถึงทางแยกสนามบินเขื่อน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ตก ๖๐๑๑ ผ่านบ้านใหม่สามัคคี บ้านวังน้ำผึ้ง บ้านท่าไผ่ บ้านหนองเชียงคา ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ระวานสองแคว สายที่ ๒๕๖๖ ตาก-บ้านแม่ละเมา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ข้ามสะพานกิตติขจร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๕ ผ่านบ้านลานสาง ถึงทางแยกบ้านห้วยยะอุ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบต. ตก ๔๐๐๕ ผ่านบ้านปางส้านถึงบ้านห้วยพลู แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบต. ตก ๔๐๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแม่ละเมา สายที่ ๒๕๖๗ ตาก-บ้านวังม่วง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน แยกขวาไปตามถนนตากสิน ผ่านบ้านหนองหลวง บ้านหัวเดียด บ้านเกาะตาเถียร บ้านไม้งาม บ้านหนองกระจันทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังม่วง สายที่ ๒๕๖๘ ตาก-สะพานวุฒิกุล เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔ ผ่านบ้านลานขวาง บ้านท่าไม้แดง บ้านตลุกสัก บ้านไร่ บ้านประจำรักษ์ บ้านหนองบัว บ้านเกาะอ้ายด้วน บ้านน้ำด้วน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสะพานวุฒิกุล สายที่ ๒๕๖๙ ตาก-บ้านประจำรักษ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามถนนไทยชนะ ผ่านบ้านท่าแค บ้านน้ำโจน บ้านวังหิน บ้านท่าไม้แดง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านประจำรักษ์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ชุมพร พลรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดตาก วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๖ พฤษภาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๕๑ ง/หน้า ๒๘๖/๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
576614
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดหนองคาย สายที่ 4379 หนองคาย-บ้านฝาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงหนองคาย-บ้านบกหวาน-บ้านน้ำสวย เพิ่มขึ้นอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๓๗๙ หนองคาย-บ้านฝาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงหนองคาย-บ้านบกหวาน-บ้านน้ำสวย เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคาย ฉบับที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ลงวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๑ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๓๗๙ หนองคาย-บ้านฝาง ขึ้นนั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคายได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดหนองคาย ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดหนองคาย สายที่ ๔๓๗๙ หนองคาย-บ้านฝาง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองคาย-บ้านบกหวาน-บ้านน้ำสวย เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๔๓๗๙ หนองคาย-บ้านฝาง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ผ่านบ้านหนองสองห้อง ถึงบ้านน้ำสวย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นค. ๑๐๒๕ ผ่านบ้านหนองบัวเงิน บ้านชัยยา อำเภอสระใคร บ้านคอกช้าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านฝาง ช่วงหนองคาย-บ้านบกหวาน-บ้านน้ำสวย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ แยกซ้ายไปตามหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ถึงบ้านหนองสองห้อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นค. ๑๐๑๗ ผ่านบ้านบกหวาน บ้านโคกสำราญ บ้านดงเว้น บ้านดาวเรือง บ้านป่าตอง บ้านโพนสว่าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำสวย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เจด็จ มุสิกวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดหนองคาย ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๘ ง/หน้า ๓๓๕/๒๔ เมษายน ๒๕๕๑
575888
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1866 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๓๐ อุดรธานี-สกลนคร ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๒๘๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสัง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๓๐ อุดรธานี-สกลนคร สำหรับการเดินรถช่วงอุดรธานี-ศรีสงคราม และสายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสังสำหรับการเดินรถช่วงหนองบัวลำภู-บ้านทรายงาม และช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโนนสมบูรณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๓๐ อุดรธานี-สกลนคร เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม บ้านธาตุนาเวงไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสกลนคร ช่วงอุดรธานี-ศรีสงคราม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๔ ผ่านบ้านเชือม ถึงอำเภออากาศอำนวย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๗๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีสงคราม สายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสัง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านปากดง บ้านหนองวัวซอ บ้านโนนทัน บ้านห้วยเดื่อ ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม บ้านนามะเฟือง บ้านโนนสูง บ้านกุดดู่ บ้านโสกจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสัง ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านทรายงาม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม ทางแยกบ้านดอนนาดี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. สายบ้านข้องโป้) ผ่านบ้านโนนหวาย ถึงบ้านข้องโป้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านทางแยกบ้านค้อไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรายงาม ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโนนสมบูรณ์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม ทางแยกบ้านดอนนาดี ทางแยกบ้านข้องโป้ บ้านนามะเฟือง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสมบูรณ์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๒๘/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575882
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1865 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 737 นครปฐม-บางเลน-ลาดบัวหลวง เป็นนครปฐม-บางเลน-วัดไผ่โรงวัว
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๓๗ นครปฐม-บางเลน-ลาดบัวหลวง เป็น นครปฐม-บางเลน-วัดไผ่โรงวัว[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๖๔ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๓๗ นครปฐม-บางเลน-วัดไผ่โรงวัว เป็น นครปฐม-บางเลน-ลาดบัวหลวง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๗๓๗ นครปฐม-บางเลน-ลาดบัวหลวง เป็น นครปฐม-บางเลน-วัดไผ่โรงวัว และให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๗๓๗ นครปฐม-บางเลน-วัดไผ่โรงวัว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครปฐม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านบ้านวังตะกู บ้านทัพหลวง บ้านหนองปลาไหล ถึงอำเภอกำแพงแสน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ ผ่านบ้านไผ่ประทุน อำเภอบางเลน แยกซ้ายไปตามถนนคันกั้นน้ำสาย ๑ ริมแม่น้ำท่าจีน ผ่านบ้านไผ่นารถ บ้านบางไทร บ้านบางหวาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๒๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดไผ่โรงวัว ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๒๗/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575874
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1864 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 325 กาญจนบุรี-ด่านช้าง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกาญจนบุรี-บ้านทุ่งมะสังข์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๕ กาญจนบุรี-ด่านช้าง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงกาญจนบุรี-บ้านทุ่งมะสังข์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๕ กาญจนบุรี-ด่านช้าง ให้มีเส้นทางแยกช่วงกาญจนบุรี-ห้วยองคตเพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๓๒๕ กาญจนบุรี-ด่านช้าง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกาญจนบุรี-บ้านทุ่งมะสังข์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๒๕ กาญจนบุรี-ด่านช้าง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๙ ถึงบ้านลาดหญ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๖ ผ่านอำเภอบ่อพลอย บ้านหนองรี บ้านหนองปรือ บ้านหนองขอน บ้านนาตาเทศ บ้านปลักประดู่ บ้านโป่งช้าง บ้านโป่งคอม บ้านพุน้ำร้อน บ้านเขาช่องคับ บ้านนาตาปิ่น แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอด่านช้าง ช่วงกาญจนบุรี-ห้วยองคต เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาญจนบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๙ ถึงบ้านลาดหญ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๖ ผ่านอำเภอบ่อพลอย บ้านหนองรี ถึงอำเภอหนองปรือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองสำโรง บ้านวังยาง ถึงบ้านท่าลำใย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๐ ผ่านบ้านหนองไม้แก่น บ้านเขาหินตั้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (บริเวณโรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๑๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๒๕/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575850
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1863 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 138 หล่มสัก-พัทยา-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง คือ ช่วงหล่มสัก-ลพบุรี และช่วงหล่มสัก-ชลบุรี-ระยอง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงหล่มสัก-ลพบุรี และช่วงหล่มสัก-ชลบุรี-ระยอง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา เป็น หล่มสัก-พัทยา-ระยอง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา-ระยอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงหล่มสัก-ลพบุรี และช่วงหล่มสัก-ชลบุรี-ระยอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านสามแยกวังชมภู บ้านนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ บ้านราหุล อำเภอบึงสามพัน (ตลาดซับสมอทอด) บ้านสามแยกวิเชียรบุรี บ้านพุเตย อำเภอศรีเทพ อำเภอชัยบาดาล บ้านม่วงค่อมถึงแยกพุแค ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับบางพระ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงแหลมฉบัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ช่วงหล่มสัก-ลพบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านสามแยกวังชมภู บ้านนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ บ้านราหุล อำเภอบึงสามพัน (ตลาดซับสมอทอด) บ้านสามแยกวิเชียรบุรี บ้านพุเตย อำเภอศรีเทพ อำเภอชัยบาดาล บ้านม่วงค่อม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงอำเภอโคกสำโรง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี ช่วงหล่มสัก-ชลบุรี-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านสามแยกวังชมภู บ้านนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ บ้านราหุล อำเภอบึงสามพัน (ตลาดซับสมอทอด) บ้านสามแยกวิเชียรบุรี บ้านพุเตย อำเภอศรีเทพ อำเภอชัยบาดาล บ้านม่วงค่อม ถึงแยกพุแค ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๕ ถึงจังหวัดชลบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง เมืองพัทยา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๒๓/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575838
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1862 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 2 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๒ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๗๗๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๘ ตลาดแฮปปี้แลนด์-สะพานพุทธฯ เป็น ถนนนิมิตรใหม่-สะพานพระพุทธยอดฟ้า และสายที่ ๑๑๕ สวนสยาม-ถนนนวมินทร์-สีลม เป็น ถนนนิมิตรใหม่-ถนนนวมินทร์-สีลม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๘ ถนนนิมิตรใหม่-สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็น สะพานพระพุทธยอดฟ้า-ถนนนิมิตรใหม่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-เคหะชุมชนร่มเกล้า และสายที่ ๑๑๕ ถนนมิตรใหม่-ถนนนวมินทร์-สีลม เป็น สีลม-ถนนนวมินทร์-ถนนนิมิตรใหม่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสีลม-ถนนนวมินทร์-เคหะชุมชนร่มเกล้า โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๘ สะพานพระพุทธยอดฟ้า-ถนนนิมิตรใหม่ จากสะพานพระพุทธยอดฟ้าไปถนนนิมิตรใหม่ เริ่มต้นจากบริเวณใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร) ไปตามถนนลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ ถนนวรจักร แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ แยกขวาไปตามถนนราชวิถี แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่ จนสุดเส้นทางที่สถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV (บริเวณถนนนิมิตรใหม่) จากถนนนิมิตรใหม่ไปสะพานพระพุทธยอดฟ้า เริ่มต้นจากสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ NGV (บริเวณถนนนิมิตรใหม่) ไปตามถนนนิมิตรใหม่ แยกซ้ายไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงถนนจักรวรรดิ์ไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้างสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานพระปกเกล้า ไปตามถนนลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า จนสุดเส้นทางที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร) ช่วงสะพานพระพุทธยอดฟ้า-เคหะชุมชนร่มเกล้า จากสะพานพระพุทธยอดฟ้าไปเคหะชุมชนร่มเกล้า เริ่มต้นจากบริเวณใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร) ไปตามถนนลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า แยกซ้ายไปตามถนนจักรเพชร แยกขวาไปตามถนนอัษฎางค์ แยกขวาไปตามถนนพระพิทักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนตรีเพชร แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนจักรวรรดิ์ ถนนวรจักร แยกขวาไปตามถนนหลานหลวง แยกซ้ายไปตามถนนสวรรคโลก แยกขวาไปตามถนนศรีอยุธยา แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๖ แยกขวาไปตามถนนราชวิถี แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเคหะร่มเกล้า ผ่านสถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า จนสุดเส้นทางที่ตลาดเคหะชุมชนร่มเกล้า จากเคหะชุมชนร่มเกล้าไปสะพานพระพุทธยอดฟ้า เริ่มต้นจากเคหะชุมชนร่มเกล้า ไปตามถนนเคหะร่มเกล้า ผ่านสถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนถึงถนนจักรวรรดิ์ไปตามถนนจักรวรรดิ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้างสะพานพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานพระปกเกล้าไปตามถนนลอดใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า จนสุดเส้นทางที่ใต้สะพานพระพุทธยอดฟ้า (ฝั่งพระนคร) สายที่ ๑๑๕ สีลม-ถนนนวมินทร์-ถนนนิมิตรใหม่ จากสีลมไปถนนนิมิตรใหม่ เริ่มต้นจากบริเวณถนนสาทรเหนือ แยกขวาไปตามถนนสาทรใต้ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ ถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกซ้ายไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนนิมิตรใหม่ จนสุดเส้นทางที่สถานีบริการก๊าซธรมชาติ NGV (บริเวณถนนนิมิตรใหม่) จากถนนนิมิตรใหม่ไปสีลม เริ่มต้นจากสถานีบริการก๊าซธรมชาติ NGV (บริเวณถนนนิมิตรใหม่) ไปตามถนนนิมิตรใหม่ แยกซ้ายไปตามถนนสุวินทวงศ์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ ถนนรามอินทรา แล้วไปตามเส้นทางเดิมจนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนสาทรเหนือ ช่วงสวนสยาม-พระราม ๙ จากสวนสยามไปพระราม ๙ เริ่มต้นจากบริเวณสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๙ จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนพระราม ๙ จากพระราม ๙ ไปสวนสยาม เริ่มต้นจากถนนพระราม ๙ แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่บริเวณสวนสยาม ช่วงสวนสยาม-ถนนนวมินทร์-สีลม จากสวนสยามไปสีลม เริ่มต้นจากบริเวณสวนสยาม ไปตามถนนสวนสยาม แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามคำแหง ไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนสีลม แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกซ้ายไปตามถนนสาทรเหนือ จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนสาทรเหนือ จากสีลมไปสวนสยาม เริ่มต้นจากบริเวณถนนสาทรเหนือ แยกขวาไปตามถนนสาทรใต้ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสีลม แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่บริเวณสวนสยาม ช่วงสีลม-ถนนนวมินทร์-เคหะชุมชนร่มเกล้า จากสีลมไปเคหะชุมชนร่มเกล้า เริ่มต้นจากบริเวณถนนสาทรเหนือ แยกขวาไปตามถนนสาทรใต้ แยกขวาไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสีลม แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสุขุมวิท ๗๑ ถนนรามคำแหง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกขวาไปตามถนนลาดพร้าว แยกซ้ายไปตามถนนนวมินทร์ แยกขวาไปตามถนนรามอินทรา ไปตามถนนสีหบุรานุกิจ แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกขวาไปตามถนนเคหะร่มเกล้า ผ่านสถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า จนสุดเส้นทางที่เคหะชุมชนร่มเกล้า จากเคหะชุมชนร่มเกล้าไปสีลม เริ่มต้นจากเคหะชุมชนร่มเกล้า ไปตามถนนเคหะร่มเกล้าผ่านสถานีตำรวจนครบาลร่มเกล้า แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนสาทรเหนือ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๙/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575824
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1861 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1540 วัดสีกัน (พุทธสยาม)-ปากซอยร่วมสุข
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑ ) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๐ วัดสีกัน (พุทธสยาม)-ปากซอยร่วมสุข[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๕๔๐ วัดสีกัน (พุทธสยาม)-ปากซอยร่วมสุข โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๕๔๐ วัดสีกัน (พุทธสยาม)-ปากซอยร่วมสุข เริ่มต้นจากวัดสีกัน (พุทธสยาม) ไปตามถนนสรงประภา แยกขวาไปตามถนนประชาชื่น-ปากเกร็ด แยกซ้ายไปตามซอยร่วมสุข จนสุดเส้นทางที่ปากซอยร่วมสุข (ด้านถนนติวานนท์) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๘/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575812
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1860 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 6 พระประแดง-เทเวศร์ เป็น พระประแดง-บางลำภู
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๖๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖ พระประแดง-เทเวศร์ เป็น พระประแดง-บางลำภู[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๖๕ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖ พระประแดง-เทเวศร์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสถานีรถไฟฟ้าตากสิน-ถนนราษฎร์บูรณะ-พระประแดง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๖ พระประแดง-เทเวศร์ เป็น พระประแดง-บางลำภู โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๖ พระประแดง-บางลำภู จากพระประแดงไปบางลำภู เริ่มต้นจากพระประแดง (บริเวณตลาดพระประแดง) ไปตามถนนนครเขื่อนขันธ์ แยกขวาไปตามถนนราชวิริยาภรณ์ ถนนราษฎร์บูรณะ ถนนเจริญนคร แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จเจ้าพระยา แยกขวาไปตามถนนคู่ขนานสะพานสมเด็จพระปกเกล้า ลอดใต้สะพานสมเด็จพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า อ้อมขึ้นสะพานพระพุทธยอดฟ้า ตรงไปตามถนนตรีเพชร แยกซ้ายไปตามถนนเจริญกรุง แยกขวาไปตามถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนหน้าพระลาน แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ จนสุดเส้นทางที่บางลำภู จากบางลำภูไปพระประแดง เริ่มต้นจากบางลำภู ไปตามถนนสามเสน ตรงไปตามถนนจักรพงษ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินกลาง อ้อมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย กลับรถไปตามเส้นทางเดิม (ถนนราชดำเนินกลาง) ข้ามสะพานผ่านพิภพลีลา ไปตามถนนราชดำเนินใน ถนนสนามไชย แยกซ้ายไปตามถนนพระพิพิธ ถนนพระพิทักษ์ แยกขวาไปตามถนนตรีเพชร ไปตามถนนข้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า ลอดใต้สะพานสมเด็จพระปกเกล้า อ้อมขึ้นสะพานสมเด็จพระปกเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสมเด็จเจ้าพระยา แล้วไปตามเส้นทางเดิม จนสุดเส้นทางที่พระประแดง (บริเวณตลาดพระประแดง) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๖/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575796
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยนาท
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยนาท อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชัยนาท ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน อ.ชน.๑ และ ชน.๔๙๒ (บางส่วน) ตำบลเขาท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓๖.๘ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบสถานีขนส่งผู้โดยสาร จังหวัดชัยนาท (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ /ตอนพิเศษ ๖๖ ง/หน้า ๔/๒ เมษายน ๒๕๕๑
575790
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1859 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1400 ตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-คลองเนินทราย-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค- คลองเนินทราย-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เป็น ตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม และปรับปรุงเส้นทางช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนวัดศาลาแดง เป็น ตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-คลองเนินทราย-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วงโดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ถึงถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไปตามถนนนครชัยศรี-ศาลายา ผ่านตลาดศาลายา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๓๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษมแยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก ผ่านโรงเรียนวัดศาลาแดง แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองปทุม ผ่านโรงเรียนทวีวัฒนา จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล เริ่มต้นจากตลาดบางแคไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวกแยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล ช่วงตลาดบางแค-คลองเนินทราย-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองบางพรหม แยกซ้ายไปตามถนนลัดนิ่มไหว ซอยรินสวัสดิ์ แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก ไปตามซอยสุภาพบุรุษ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองเนินทราย แยกขวาไปตามถนนเลียบคลองปทุม จนสุดเส้นทางที่บริเวณบรรจบถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๔/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575784
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1898 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 483 สุพรรณบุรี-อู่ทอง-บ้านไร่ โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอู่ทอง-เลาขวัญ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๘๓ สุพรรณบุรี-อู่ทอง-บ้านไร่ โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงอู่ทอง-เลาขวัญ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๖๙ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๘๓ อู่ทอง-บ้านไร่ เป็น สุพรรณบุรี-อู่ทอง-บ้านไร่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๔๘๓ สุพรรณบุรี-อู่ทอง-บ้านไร่ โดยให้ยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอู่ทอง-เลาขวัญ และให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๔๘๓ สุพรรณบุรี-อู่ทอง-บ้านไร่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑ ผ่านบ้านอู่ยา บ้านสวนแตง ถึงอำเภออู่ทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๓ ผ่านบ้านหนองหลุม บ้านดอนคา บ้านขาม บ้านโข้ง บ้านจร้า บ้านสระกระโจม บ้านหนองสารแตร บ้านห้วยน้ำจันทร์ อำเภอด่านช้าง บ้านดงรัง บ้านทัพผึ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านไร่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานาเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๓/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575776
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1897 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 642 กำแพงเพชร-ตาก โดยยกเลิกการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-ตาก และปรับปรุงเส้นทางการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-วังเจ้า-ตาก เป็นเส้นทางสายหลัก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๔๒ กำแพงเพชร-ตาก โดยยกเลิกการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-ตาก และปรับปรุงเส้นทางการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-วังเจ้า-ตาก เป็นเส้นทางสายหลัก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๙๓ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๔๒ กำแพงเพชร-ตาก ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกำแพงเพชร-วังเจ้า-ตาก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๖๔๒ กำแพงเพชร-ตาก โดยยกเลิกการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-ตาก และปรับปรุงเส้นทางการเดินรถช่วงกำแพงเพชร-วังเจ้า-ตาก เป็นเส้นทางสายหลัก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๖๔๒ กำแพงเพชร-วังเจ้า-ตาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกำแพงเพชร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านบ้านนครชุม บ้านเนินกรวด บ้านไหล่ประดา กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร บ้านคลองเมือง อำเภอวังเจ้า ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔ ผ่านบ้านน้ำด้วน บ้านท่าไม้แดง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตาก ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๒/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575772
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 111 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการสายที่ 1197 บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างบิ๊กซี (บางพลี)-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ เพิ่มอีก 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๑๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๗ บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างบิ๊กซี (บางพลี)-ถนนอ่อนนุช- ตลาดหัวตะเข้ เพิ่มอีก ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ ๑๐๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) ลงวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๐ เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๗ บางพลี-ถนนอ่อนนุช ตลาดหัวตะเข้ ให้มีเส้นทางแยกช่วงอำเภอบางพลี-โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เพิ่มอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๗ บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงห้างบิ๊กซี (บางพลี)-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ เพิ่มอีก ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ สายที่ ๑๑๙๗ ชื่อเส้นทาง บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางพลี ไปตามถนนสุขาภิบาล ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ (ถนนกิ่งแก้ว) ผ่านศูนย์อุตสาหกรรมบางพลี สำนักงานเขตบางพลี การไฟฟ้านครหลวง โรงงานแป้งหอมเปาโล วัดกิ่งแก้ว หมู่บ้านจามจุรี แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช ไปตามถนนลาดกระบัง ผ่านทางแยกถนนร่มเกล้า สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง ไปสุดเส้นทางที่บริเวณตลาดหัวตะเข้ ช่วงอำเภอบางพลี-โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางพลี ไปตามถนนสุขาภิบาล ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ (ถนนกิ่งแก้ว) ผ่านโรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด ผ่านถนนวงแหวนตะวันออก ไปสุดเส้นทางที่บริเวณโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ช่วงห้างบิ๊กซี (บางพลี)-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณห้างบิ๊กซี (บางพลี) ไปตามถนนเทพารักษ์ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนพิศาล ผ่านวัดบางพลีใหญ่ใน แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด ผ่านห้างโลตัส (บางพลี) โรงพยาบาลจุฬารัตน์ ๑ แยกขวาไปตามถนนกิ่งแก้ว ผ่านสำนักงานเขตบางพลี การไฟฟ้านครหลวง วัดกิ่งแก้ว แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช ไปตามถนนลาดกระบัง ผ่านทางแยกถนนร่มเกล้า สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง ไปสุดเส้นทางที่บริเวณตลาดหัวตะเข้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๖๔/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
575768
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 69 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 6028 นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ดเป็น วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๒๘ นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ด เป็น วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๒๘ นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ ให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๖๐๒๘ นนทบุรี-ราชพฤกษ์-ปากเกร็ด เป็น วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๒๘ วงกลมราชพฤกษ์-ติวานนท์ เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางถนนนครอินทร์ ไปตามถนนนครอินทร์ ข้ามสะพานพระราม ๕ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ ผ่านแยกแคราย ถึงแยกปากเกร็ด แยกซ้ายไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ข้ามสะพานพระราม ๔ ไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนนครอินทร์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางถนนนครอินทร์ เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางถนนนครอินทร์ ไปตามถนนนครอินทร์ แยกขวาไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนชัยพฤกษ์ ข้ามสะพานพระราม ๔ ตรงไปตามถนนแจ้งวัฒนะ ถึงแยกปากเกร็ด แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ ผ่านแยกแคราย แยกขวาไปตามถนนประชาราษฎร์ แยกซ้ายไปตามถนนพิบูลสงคราม แยกขวาข้ามสะพานพระราม ๕ ตรงไปตามถนนนครอินทร์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางถนนนครอินทร์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๖๒/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
575762
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 68 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 3 ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)- ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด เป็น วงกลมปากเกร็ด-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๓ ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)- ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด เป็น วงกลมปากเกร็ด-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๓ ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๓ ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด เป็น วงกลมปากเกร็ด-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๓ วงกลมปากเกร็ด-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด เที่ยววนซ้าย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์) ไปตามถนนสามัคคี แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด แยกซ้ายไปตามถนนติวานนท์ ผ่านแยกปากเกร็ด ไปตามถนนติวานนท์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์) เที่ยววนขวา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์) ไปตามถนนติวานนท์ ผ่านแยกปากเกร็ด ไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด แยกขวาไปตามถนนสามัคคี ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๖๐/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
575758
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดนนทบุรี สายที่ 1135 บ้านท่าอิฐ-ทางแยกซอยเขมทัต (สยามจัสโก้) เป็น วัดเชิงเลน-ซอยรัตนาธิเบศร์ 26 ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง ช่วงวัดเชิงเลน-หัวเตย-ซอยรัตนาธิเบศร์ 26 และช่วงวัดแสงสิริธรรม-ซอยรัตนาธิเบศร์ 26
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๑๓๕ บ้านท่าอิฐ-ทางแยกซอยเขมทัต (สยามจัสโก้) เป็น วัดเชิงเลน-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง ช่วงวัดเชิงเลน-หัวเตย-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ และช่วงวัดแสงสิริธรรม-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๑๓๕ บ้านท่าอิฐ-ทางแยกซอยเขมทัต (สยามจัสโก้) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนนทบุรี สายที่ ๑๑๓๕ บ้านท่าอิฐ-ทางแยกซอยเขมทัต (สยามจัสโก้) เป็น วัดเชิงเลน-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงวัดเชิงเลน-หัวเตย-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ และช่วงวัดแสงสิริธรรม-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๑๑๓๕ วัดเชิงเลน-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเชิงเลน ไปตามถนนบ้านท่าอิฐ-วัดเชิงเลน ผ่านวัดท่าอิฐ แยกขวาไปตามถนนบ้านไทรม้า-บ้านท่าอิฐ ผ่านโรงเรียนท่าอิฐศึกษา ตลาดท่าอิฐ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า ผ่านเซ็นทรัลทาวน์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ ช่วงวัดเชิงเลน-หัวเตย-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดเชิงเลน ไปตามถนนบ้านท่าอิฐ-วัดเชิงเลน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสายหัวเตย แยกซ้ายไปตามถนนวัดแดง ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลท่าอิฐ แยกซ้ายไปตามถนนอนุสรณ์ประเสริฐ ผ่านเทศบาลตำบลไทรม้า แยกซ้ายไปตามถนนบ้านไทรม้า-บ้านท่าอิฐ ผ่านตลาดท่าอิฐ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า ผ่านเซ็นทรัลทาวน์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ ช่วงวัดแสงสิริธรรม-ซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดแสงสิริธรรม ไปตามถนนเลียบแม่น้ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายแยกตาลเดี่ยว-วัดบางบัวทอง) แยกขวาไปตามถนนบ้านไทรม้า-บ้านท่าอิฐ ผ่านตลาดท่าอิฐ แยกซ้ายไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า ผ่านเซ็นทรัลทาวน์ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยรัตนาธิเบศร์ ๒๖ ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เชิดวิทย์ ฤทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนนทบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๕๘/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
575750
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปราจีนบุรี ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปราจีนบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดปราจีนบุรี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดปราจีนบุรี สายที่ ๖๐๗๓ วงกลมอำเภอศรีมหาโพธิ-ระเบาะไผ่-โคกขวาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๖๐๗๓ ชื่อเส้นทาง วงกลมอำเภอศรีมหาโพธิ-ระเบาะไผ่-โคกขวาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดท่าประชุม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๐ ผ่านอำเภอศรีมหาโพธิ ถึงทางแยกโคกขวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๙ ผ่านโรงเรียนศรีมหาโพธิ โรงพยาบาลศรีมหาโพธิ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าตูม หมู่บ้านเอื้ออาทรศรีมหาโพธิ เขตอุตสาหกรรม ๓๐๔ หมวดการทางศรีมหาโพธิ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านวิทยาลัยบูรพาปราจีน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๘๑ ผ่านสถานีตำรวจภูธรตำบลระเบาะไผ่ วัดระเบาะไผ่ วัดหนองโพรง ถึงแยกโคกขวาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๗๐ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารบริเวณตลาดท่าประชุม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สมบูรณ์ศักดิ์ ปริยานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดปราจีนบุรี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๔๒ ง/หน้า ๑๕๗/๑๐ เมษายน ๒๕๕๑
575732
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1856 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 580 สังคม-หนองบัวลำภู เป็นหนองบัวลำภู-สังคม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านจำปาทอง-สังคม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๐ สังคม-หนองบัวลำภู เป็น หนองบัวลำภู-สังคม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านจำปาทอง-สังคม[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๕๒ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๔๓๕๗ บ้านกุดดินจี่-บ้านเชียงดี เป็น หมวด ๓ สายที่ ๕๘๐ สังคม-บ้านกุดดินจี่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๕๘๐ สังคม-หนองบัวลำภู เป็น หนองบัวลำภู-สังคม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านจำปาทอง-สังคม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๘๐ หนองบัวลำภู-สังคม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านดอนน้อย บ้านฮ่องข่า บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองกุง ถึงบ้านนาคำไฮ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ถึงบ้านกุดดินจี่ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๔๐๐๔ ผ่านบ้านทรายอุดม บ้านบนศรีวิไล บ้านห้วยหาน บ้านดงสวรรค์ บ้านโนนปอแดง บ้านโชคชัย ถึงบ้านท่าลี่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๘๙ ผ่านบ้านน้ำปู่ บ้านดงต้อง บ้านดงพัฒนา ถึงอำเภอน้ำโสม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. อด. ๓๐๙๕ ผ่านบ้านโนนม่วง บ้านหัวช้าง บ้านโสมเยี่ยม ถึงบ้านโคกสะอาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ผ่านบ้านนาเก็น บ้านห้วยทราย บ้านสว่าง บ้านปากราง บ้านนาต้อง บ้านโสมสวรรค์ บ้านเชียงดี บ้านโสกกล้า บ้านนาขาม บ้านสังกะสี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสังคม ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านจำปาทอง-สังคม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภูไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านดอนน้อย บ้านฮ่องข่า บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองกุงถึงบ้านนาคำไฮ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ถึงบ้านกุดดินจี่ ไปตามทางหลวงชนบท นภ. ๔๐๐๔ ผ่านบ้านทรายอุดม บ้านบนศรีวิไล บ้านห้วยหาน บ้านดงสวรรค์ บ้านโนนปอแดง บ้านโชคชัย ถึงบ้านท่าลี่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๒๓ ผ่านบ้านหยวก บ้านจำปาทอง บ้านโนนนาโพธิ์ ถึงอำเภอน้ำโสม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. อด. ๓๐๙๕ ผ่านบ้านโนนม่วง บ้านหัวช้าง บ้านโสมเยี่ยม ถึงบ้านโคกสะอาด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ผ่านบ้านนาเก็น บ้านห้วยทราย บ้านสว่าง บ้านปากราง บ้านนาต้อง บ้านโสมสวรรค์ บ้านเชียงดี บ้านโสกกล้า บ้านนาขาม บ้านสังกะสี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสังคม ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๑๐/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575716
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1855 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 384 วัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านสวนทิพย์ 1 เป็นซอยไร่ขิง (ประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม)-หมู่บ้านสวนทิพย์ 1 และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย 1
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๕ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๔ วัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ เป็น ซอยไร่ขิง (ประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม)-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงวัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๑[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๓๖๙ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๔ หมู่บ้านสินสมบูรณ์ (ถนนพุทธมณฑลสาย ๔)-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ เป็น วัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ ให้มีเส้นทางแยกช่วงวัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๑ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าวอาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๓๘๔ วัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ เป็น ซอยไร่ขิง (ประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม)-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๑ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๘๔ ซอยไร่ขิง (ประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม)-หมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณซอยไร่ขิง (ประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม) ไปตามถนนประชาราษฎร์-กระทุ่มล้ม ผ่านองค์การบริหารส่วนตำบลกระทุ่มล้ม บ้านหนองเสาแยกขวาไปตามถนนสายวัดนครชื่นชุ่ม-ปากทางวัดเพลินเพชร ผ่านวัดนครชื่นชุ่ม สถานีอนามัยตำบลกระทุ่มล้ม โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๐ (ถนนพุทธมณฑลสาย ๔) ผ่านตลาดมาลี หมู่บ้านสินสมบูรณ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านทางแยกหมู่บ้านดำรงวิลล่า บ้านอ้อมน้อย ถึงตลาดหมู่บ้านสามพรานแยกซ้ายไปซอยเทศบาล ๓ (ซอยหมู่บ้านสามพราน) ผ่านบ้านคลองลัด บ้านสวนประดู่ แยกซ้ายไปตามซอยวัดอ้อมใหญ่ ผ่านวัดอ้อมใหญ่ ถึงวัดเทียนดัด แยกซ้ายไปตามซอยวัดเทียนดัด ข้ามสะพานรวมใจเฉลิมพระเกียรติ ไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านสวนทิพย์ ๑ ช่วงวัดนครชื่นชุ่ม-หมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๑ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดนครชื่นชุ่ม ไปตามถนนสายวัดนครชื่นชุ่ม-ปากทางวัดเพลินเพชร ผ่านสถานีอนามัยตำบลกระทุ่มล้ม โรงเรียนบ้านกระทุ่มล้ม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๐ (ถนนพุทธมณฑลสาย ๔) ผ่านตลาดมาลี หมู่บ้านสินสมบูรณ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ (ถนนเพชรเกษม) ผ่านทางแยกหมู่บ้านดำรงวิลล่า บ้านอ้อมน้อย แยกซ้ายไปตามถนนพงษ์ศิริชัย ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านพงษ์ศิริชัย ๑ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๐๘/๓ เมษายน ๒๕๕๑
575698
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1854 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ 5 จังหวัดขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ สายที่ ๕ จังหวัดขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาระบบการขนส่งด้วยรถโดยสารประจำทางระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศสายที่ ๕ จังหวัดขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๕ จังหวัดขอนแก่น-นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แห่งที่ ๒ (สถานีรถปรับอากาศ) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดอุดรธานี บ้านหนองสองห้อง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนเลี่ยงเมือง) ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีรถเมล์ตลาดเช้านครหลวงเวียงจันทน์ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๙ เมษายน ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๙ ง/หน้า ๒๐๗/๓ เมษายน ๒๕๕๕๑
573763
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1848 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 550 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-แฮปปี้แลนด์ เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๐ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-แฮปปี้แลนด์ เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๐ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-แฮปปี้แลนด์ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๕๕๐ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-แฮปปี้แลนด์ เป็น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๕๐ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนลาดกระบัง ถนนอ่อนนุช แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษก จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าลาดพร้าว ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๖๘/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573757
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1849 (พ.ศ. 2551 เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 30 สายที่ 526 ยโสธร-พนมไพร-สุวรรณภูมิ สำหรับการเดินรถแยกช่วงยโสธร-บ้านพนัส เป็น ยโสธร-บ้านคูฟ้า และยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน 16 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๖ ยโสธร-พนมไพร-สุวรรณภูมิ สำหรับการเดินรถแยกช่วงยโสธร-บ้านพนัส เป็น ยโสธร-บ้านคูฟ้า และยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๑๖ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๕๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๓๑ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๖ ยโสธร-พนมไพร-สุวรรณภูมิ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๒๖ ยโสธร-พนมไพร-สุวรรณภูมิ สำหรับการเดินรถเส้นทางแยกช่วงยโสธร-บ้านพนัส เป็นยโสธร-บ้านคูฟ้า และยกเลิกเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๑๖ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๒๖ ยโสธร-พนมไพร-สุวรรณภูมิ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยโสธร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงบ้านบ่อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านบ้านกุดน้ำใส ถึงบ้านโนนชัยศรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๔๓ ถึงอำเภอพนมไพร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านชะโด บ้านโคกหนองบัว บ้านดอนกลอย บ้านหนองฮี บ้านกอกแก้ว บ้านขมิ้น บ้านโพนทัน บ้านเปลือยน้อย ถึงบ้านยางเครือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณภูมิ ช่วงยโสธร-บ้านคูฟ้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยโสธร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงบ้านบ่อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ถึงทางแยกบ้านพนัส แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๔๐๓๐ ผ่านบ้านพนัส บ้านชานุวรรณไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคูฟ้า ช่วงยโสธร-บ้านท่าลาด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยโสธร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ ถึงบ้านบ่อ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ถึงทางแยกบ้านท่าลาด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๔๐๓๐ ผ่านบ้านท่าเสียวไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าลาด ช่วงพนมไพร-บ้านหัวนา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนมไพร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลขที่ รอ. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านชะโด บ้านโคกหนองบัว บ้านดอนกลอยถึงบ้านหนองฮี แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. รอ. ๑๐๘๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวนา ช่วงพนมไพร-บ้านหนองจาน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนมไพร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านชะโด บ้านโคกหนองบัว บ้านดอนกลอยบ้านหนองฮี ถึงบ้านกอกแก้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๐๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองจาน ช่วงพนมไพร-บ้านหนองคูณ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนมไพร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านชะโด บ้านโคกหนองบัว บ้านดอนกลอย บ้านหนองฮี บ้านกอกแก้ว ถึงทางแยกบ้านหนองคูณ แยกซ้ายไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านหนองผึ้ง บ้านหนองเหล็ก บ้านเด่นราษฎร์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองคูณ ช่วงสุวรรณภูมิ-บ้านห้างหว้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณภูมิไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านบ้านหนองโค้ง ถึงบ้านยางเครือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านเปลือยน้อย ถึงบ้านโพนทัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้างหว้า ช่วงสุวรรณภูมิ-บ้านตาเณร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณภูมิไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ผ่านบ้านหนองโค้ง ถึงบ้านยางเครือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข รอ. ๓๐๒๒ ถึงบ้านเปลือยน้อย แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่นหมายเลข อบจ. รอ. ๑๐๓๔ ผ่านบ้านเหล่าติ้ว บ้านแคน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาเณร ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๖๙/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573755
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1850 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 821 ครราชสีมา - อรัญประเทศ เป็นนครราชสีมา - ตลาดโรงเกลือ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๐ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๑ นครราชสีมา - อรัญประเทศ เป็น นครราชสีมา – ตลาดโรงเกลือ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๑ นครราชสีมา - อรัญประเทศ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๑ นครราชสีมา - อรัญประเทศ เป็น นครราชสีมา -ตลาดโรงเกลือ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๘๒๑ นครราชสีมา - ตลาดโรงเกลือ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ถึงแยกอำเภอโชคชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านอำเภอหนองบุนนากถึงอำเภอหนองกี่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๗ ผ่านบ้านดอนอะราง บ้านดอนแขวน ถึงโคกหน้ากลอง ถึงอำเภอเสิงสาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ผ่านบ้านท่าเยี่ยม บ้านกุดโบสถ์ ถึงอำเภอปะคำ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านอำเภอโนนดินแดง บ้านหนองเสม็ด ถึงบ้านใหม่ไทยถาวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๖ ผ่านบ้านโคกกรวด บ้านโคคลาน ถึงบ้านทางโค้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘ ผ่านบ้านหนองเม็ก บ้านโคกไม้งาม ถึงอำเภออรัญประเทศ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดโรงเกลือ ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๒/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573753
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2851 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 38 กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - ชลบุรี เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๓๘ กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - ชลบุรี เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่ ๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๓ ยกเลิกและกำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) หมวด ๒ สายที่ ๓๘ กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข) นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๓๘ กรุงเทพฯ - ชลบุรี (ข) ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - ชลบุรี เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๘ กรุงเทพ ฯ - ชลบุรี (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ถึงสี่แยกบางนา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชลบุรี ช่วงกรุงเทพฯ (ตลิ่งชัน) - ชลบุรี เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (ตลิ่งชัน) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) ที่ด่านดาวคะนองถึงบางนา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ถึงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดชลบุรี ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๓/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573751
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1852 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 581 อุดรธานี - บ้านก้อง - ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงอุดรธานี - บ้านผือ - สุวรรณคูหา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๑ อุดรธานี - บ้านก้อง - ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงอุดรธานี - บ้านผือ - สุวรรณคูหา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๑ อุดรธานี - บ้านก้อง - ปากชม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๘๑ อุดรธานี - บ้านก้อง - ปากชม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุดรธานี - บ้านผือ - สุวรรณคูหา เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๕๘๑ อุดรธานี - บ้านก้อง - ปากชม เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านดงไร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๑ ผ่านบ้านโนนงาม บ้านพรานเหมือน บ้านโคกกิ่งโพธิ์ทอง บ้านดู่ บ้านเทื่อม บ้านหนองหัวคู บ้านเจริญสุข บ้านคำบง บ้านดงหมู บ้านชัยเจริญ บ้านหนองกุง บ้านหนองนกเขียน ถึงอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง บ้านกลางใหญ่ บ้านน้ำซึมน้อย บ้านน้ำซึม อำเภอน้ำโสม ถึงบ้านน้ำทรง ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านก้อง บ้านวังบง บ้านนาแก บ้านวังแข้ บ้านเพิ่ม บ้านคีรีวงกต ถึงบ้านนาโม้ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ถึงบ้านปากมั่งแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากชม ช่วงบ้านเทื่อม - บ้านข้าวสาร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเทื่อม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๑ ผ่านบ้านหนองหัวคู บ้านเจริญสุข บ้านคำบง ถึงบ้านดงหมู แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. อด. ๓๐๓๒ ผ่านบ้านนาล้อม บ้านโนนคู่ บ้านโนนทองไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านข้าวสาร ช่วงบ้านผือ - บ้านแดง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านโนนวารี ถึงบ้านติ้ว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๑๐ ผ่านบ้านเมืองพาน บ้านจอมศรี บ้านกาลึม บ้านดอนขี้เหล็ก บ้านไผ่ล้อมไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแดง ช่วงน้ำโสม - บ้านเทพประทาน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำโสมไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ถึงบ้านน้ำทรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสมบูรณ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเทพประทาน ช่วงน้ำโสม - บ้านนาเมืองไทย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำโสมไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านน้ำทรง บ้านโคกน้อย ถึงบ้านน้ำโสม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔๑๔ ผ่านบ้านโนนบก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาเมืองไทย ช่วงอุดรธานี - บ้านผือ - สุวรรณคูหา เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านดงไร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๑ ผ่านบ้านโนนงาม บ้านพรานเหมือน บ้านโคกกิ่งโพธิ์ทอง บ้านดู่ บ้านเทื่อม บ้านหนองหัวคู บ้านเจริญสุข บ้านคำบง บ้านดงหมู บ้านชัยเจริญ บ้านหนองกุง บ้านหนองนกเขียนถึงอำเภอบ้านผือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๘ ผ่านบ้านภูดิน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. อด. ๓๑๕๘ ผ่านบ้านกลางน้อย บ้านเหล่าคาม บ้านโนนสว่าง บ้านจำปาดง บ้านขัวล้อ บ้านม่วง บ้านนาอ่าง ถึงบ้านกุดผึ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ผ่านบ้านหนองเหลือง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุวรรณคูหา ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๔/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573749
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 2853 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 249 สุวรรณคูหา - บ้านผือ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๕๓ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๙ สุวรรณคูหา – บ้านผือ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๗๖ สุวรรณคูหา - บ้านผือ เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๔๙ สุวรรณคูหา - บ้านผือ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๖/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573747
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 สายที่ 815 ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงภูเก็ต - หาดราไวย์ - แหลมพรหมเทพ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๘๑๕ ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงภูเก็ต - หาดราไวย์ – แหลมพรหมเทพ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๘๑๕ ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ตได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดภูเก็ต ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๘๑๕ ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต - หาดราไวย์ – แหลมพรหมเทพ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๘๑๕ ภูเก็ต - หาดราไวย์ - หาดในหาน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามถนนพังงา แยกซ้ายไปตามถนนภูเก็ตแยกขวาไปตามถนนรัษฎา ผ่านวงเวียนสุริยเดช ไปตามถนนระนอง ผ่านตลาดสดเทศบาลนครภูเก็ตแยกซ้ายไปตามถนนปฏิพัทธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๑ (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก) ผ่านวัดเทพนิมิต โรงเรียนบ้านนาบอน วัดลัฎฐิวนาราม บ้านโคกโตนด ถึงห้าแยกฉลอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๔ ผ่านโรงเรียนเมืองภูเก็ต บ้านบางคณฑี ถึงบ้านหาดราไวย์แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๓ ถึงองค์การบริหารส่วนตำบลราไวย์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านในหาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในหาน ช่วงภูเก็ต - หาดราไวย์ - แหลมพรหมเทพ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ตไปตามถนนพังงา แยกซ้ายไปตามถนนภูเก็ต แยกขวาไปตามถนนรัษฎา ผ่านวงเวียนสุริยเดชไปตามถนนระนอง ผ่านตลาดสดเทศบาลนครภูเก็ต แยกซ้ายไปตามถนนปฏิพัทธ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๑ (ถนนเจ้าฟ้าตะวันออก) ผ่านวัดเทพนิมิต โรงเรียนบ้านนาบอน วัดลัฎฐิวนาราม บ้านโคกโตนด ถึงห้าแยกฉลอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒๔ ผ่านโรงเรียนเมืองภูเก็ต บ้านบางคณฑี ถึงบ้านหาดราไวย์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๓ ถึงองค์การบริหารส่วนตำบลราไวย์ แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางแหลมพรหมเทพ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ นิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดภูเก็ต วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๗/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573745
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ฉบับที่ ๒๓ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็กจังหวัดชัยภูมิ สายที่ ๓๐๐๐๒ ชื่อเส้นทาง วิทยาลัยเทคนิค-บ้านโนนสาทร ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชัยภูมิ ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๙ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชัยภูมิ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๗๙/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573743
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ 86 (พ.ศ. 2551) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๘๖ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ฉบับที่ ๓๔ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดสุรินทร์ สายที่ ๓๖๐๑๐ สังขะ - บ้านปวงตึก นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุรินทร์ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ วีระ ศรีวัฒนตระกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสุรินทร์ วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๓๔ ง/หน้า ๑๘๐/๒๐ มีนาคม ๒๕๕๑
573077
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยะลา
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยะลา อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยะลาในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ยล.๖๐๑ ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เนื้อที่ ๘ ไร่ ๑ งาน ๙๑.๗ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดยะลา (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๔๙ ง/หน้า ๑๕/๖ มีนาคม ๒๕๕๑
572199
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน ๑๕ เส้นทาง ดังนี้ ๑. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๒ วงกลมวิทยาลัยครูกำแพงเพชร (ก) ๒. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๓ วงกลมวิทยาลัยครูกำแพงเพชร (ข) ๓. ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๙ สิงหาคม ๒๕๒๓ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๕ สถานีขนส่ง-บ้านห้วยกุ่ม ๔. ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๕ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๙ กำแพงเพชร-คลองขลุง ๕. ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๕ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๑๑ กำแพงเพชร-พรานกระต่าย ๖. ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๒๕ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๑๕ โค้งไผ่-วังหัวแหวน ๗. ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๖ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๑๖ กำแพงเพชร-บ้านหินชะโงก ๘. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๑๙ กำแพงเพชร-บ้านดาดทองเจริญ ๙. ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๒๐ กำแพงเพชร-บ้านลานทอง ๑๐. ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๒๗ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๑ ตลาดนครชุม-โรงงานสุรา ๑๑. ฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๑๔ สลกบาตร-วังตาช่วย ๑๒. ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๗) ลงวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๒๑ กำแพงเพชร-ลานกระบือ ๑๓. ฉบับที่ ๑๘ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๒๘ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๐๘ โค้งวิไล-คลองลาน ๑๔. ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๒ เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๒๒ คลองลาน-ตลาดท่ามะเขือ ๑๕. ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ลงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๓๕ เรื่อง การกำหนดเส้นทางการเดินรถโดยสารขนาดเล็ก จังหวัดกำแพงเพชร สายที่ ๖๔๐๒๓ พรานกระต่าย-บ้านบุ่งนกยูง เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ มีมติอนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจารณากำหนดหรือปรับปรุงเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ หรือหมวด ๔ เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่จะยกเลิกต่อไป ซึ่งสำนักงานขนส่งจังหวัดกำแพงเพชรได้จัดประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชร ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ มีมติอนุมัติในหลักการให้ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็กเดิม และกำหนดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ หรือหมวด ๔ ขึ้นทดแทน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกำแพงเพชรในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าวตั้งแต่วันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ จารุวัตย์ ศีลพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดกำแพงเพชร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๗๓/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
572197
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1847 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 174 สวรรคโลก-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสวรรคโลก-บ้านวังหว้า และช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่มอกหัวน้ำ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยก ช่วงสวรรคโลก-บ้านวังหว้า และช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่มอกหัวน้ำ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๔๐๑ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๒๙ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกเข้าหมู่บ้านเพิ่มอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสวรรคโลก-บ้านวังหว้าและช่วงทุ่งเสลี่ยม-บ้านแม่มอกหัวน้ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๗๔ สวรรคโลก-เถิน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสวรรคโลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย บ้านใหม่ชัยมงคลอำเภอทุ่งเสลี่ยม บ้านกลางดง บ้านห้วยเตาปูน บ้านแม่เสลี่ยมหวาน บ้านห้วยริน บ้านกุ่มเนิ้งใต้ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเถิน ช่วงสวรรคโลก-บ้านวัดโบสถ์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย ถึงบ้านใหม่ชัยมงคล แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท่าวิเศษ ตรงไปตามถนนกมลราษฎร์-วัดโบสถ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวัดโบสถ์ ช่วงสวรรคโลก-บ้านฝายบึงบอน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสวรรคโลกไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๘ ผ่านบ้านดงไทย บ้านใหม่ชัยมงคล อำเภอทุ่งเสลี่ยม บ้านกลางดง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๓๐ ผ่านบ้านหนองผักบุ้ง โรงเรียนบ้านห้วยเจริญ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านฝายบึงบอน ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๗๑/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
572194
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1846 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 283 บ้านไผ่-แก้งคร้อ โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน 2 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๖ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓ บ้านไผ่-แก้งคร้อ โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓ บ้านไผ่-แก้งคร้อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่ม จำนวน ๒ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓ บ้านไผ่-แก้งคร้อ โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงมัญจาคีรี-บ้านหัวห้วย และช่วงมัญจาคีรี-บ้านนายาว โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๘๓ บ้านไผ่-แก้งคร้อ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น บ้านหนองม่วง อำเภอมัญจาคีรี บ้านโสกนาดี บ้านนาจานถึงทางแยกบ้านช่องสามหมอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแก้งคร้อ ช่วงบ้านไผ่-บ้านหนองแปน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น บ้านหนองม่วง ถึงอำเภอมัญจาคีรีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก ถึงทางแยกบ้านป่าผุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านนาจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแปน ช่วงบ้านไผ่-บ้านหัวช้าง-บ้านหนองแปน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น บ้านหนองม่วงถึงอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก ถึงทางแยกบ้านป่าผุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านนาจาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านดอนพันชาติ บ้านหัวช้าง บ้านหนองบัว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแปน ช่วงบ้านไผ่-บ้านกุดหมากเห็บ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ ถึงอำเภอชนบท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงทางแยกไปบ้านโนนสมบูรณ์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหูลิง บ้านโนนข่า ถึงบ้านหนองยายเกลี้ยง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดหมากเห็บ ช่วงมัญจาคีรี-บ้านโนนสำนัก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมัญจาคีรีไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก ถึงทางแยกบ้านป่าผุแยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๒๐๐๘ ถึงบ้านนาจาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสำนัก ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๙/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
572192
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1845 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 280 อุดรธานี-บ้านแพง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน 2 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุดรธานี-บึงโขงหลง-บ้านแพง เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงอุดรธานี-บึงโขงหลง-บ้านแพง และช่วงเซกา-บ้านต้อง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๒๘๐ อุดรธานี-บ้านแพง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอหนองหาน อำเภอสว่างแดนดิน ถึงอำเภอพังโคน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒ ผ่านอำเภอวานรนิวาส อำเภอคำตากล้า ถึงบ้านหนองหิ้ง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๖ ผ่านอำเภอเซกา ถึงบ้านดงบัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านแพง ช่วงเซกา-บ้านโนนสำราญ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเซกา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๖ ผ่านบ้านดงจำปาทอง ถึงบ้านดงสว่าง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านอำเภอบึงโขงหลง บ้านโนนสวรรค์ บ้านโสกก่าม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสำราญ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๗/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
572190
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1844 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 388 ปากเกร็ด-ถนนรัตนาธิเบศร์-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม-บางใหญ่ จำนวน 1 ช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด-ถนนรัตนาธิเบศร์-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม-บางใหญ่ จำนวน ๑ ช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๖๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด-ถนนรัตนาธิเบศร์-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด-ถนนรัตนาธิเบศร์-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม-บางใหญ่ จำนวน ๑ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๓๘๘ ปากเกร็ด-ถนนรัตนาธิเบศร์-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากเกร็ด ไปตามถนนแจ้งวัฒนะ แยกขวาไปตามถนนติวานนท์ แยกขวาไปตามถนนรัตนาธิเบศร์ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๓๐๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ช่วงโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม-บางใหญ่ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๓๐๐๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ ๔๐๐๖ แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๔ แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบางใหญ่ (บริเวณบิ๊กคิงส์) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๕/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
572179
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1843 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ 165 พุทธมณฑลสาย 2-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่เป็น พุทธมณฑลสาย 2-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสำนักงานเขตทวีวัฒนา-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๔๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เป็น พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสำนักงานเขตทวีวัฒนา-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๙๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-เขตบางกอกใหญ่ เป็น พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เป็น พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสำนักงานเขตทวีวัฒนา-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่เพิ่มขึ้นหนึ่งช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑๖๕ พุทธมณฑลสาย ๒-ถนนศาลาธรรมสพน์-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เริ่มต้นจากถนนพุทธมณฑลสาย ๒ (ด้านถนนบรมราชชนนี) ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนศาลาธรรมสพน์ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษมถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง จนสุดเส้นทางที่สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ช่วงสำนักงานเขตทวีวัฒนา-สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ เริ่มต้นจากสำนักงานเขตทวีวัฒนาไปตามซอยเข้าสำนักงานเขตทวีวัฒนา แยกขวาไปตามถนนอุทยาน แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ถึงแยกท่าพระ แยกขวาไปตามถนนรัชดาภิเษกตอนล่าง จนสุดเส้นทางที่สำนักงานเขตบางกอกใหญ่ ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๖๓/๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
571584
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 107 (พ.ศ. 2551) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ 1 บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก เป็นมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก และเส้นทางแยกช่วงบ้านธาตุ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี เป็นช่วงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๑๐๗ (พ.ศ. ๒๕๕๑) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑ บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก เป็น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก และเส้นทางแยก ช่วงบ้านธาตุ - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี เป็น ช่วงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี – สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๘๗ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑ บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นควรให้ปรับปรุงเส้นทางสายดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑ บ้านธาตุ - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๑ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สามแยกเข้าหมู่บ้านหนอแก เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านธาตุ บ้านหนองหว้า บ้านไม้ค้าง กม. ๒ ถึงอำเภอวารินชำราบไปตามถนนสถลมาร์ค แยกซ้ายไปตามถนนเกษมสุข แยกขวาไปตามถนนสถิตนิมานกาล ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตย แยกขวาไปตามถนนพรหมเทพ แยกขวาไปตามถนนพรหมราช แยกขวาไปตามถนนเขื่อนธานี แยกซ้ายไปตามถนนบูรพาใน แยกซ้ายไปตามถนนสรรพสิทธิ์ แยกขวาไปตามถนนแจ้งสนิท ผ่านศูนย์ช่วยเหลือทางวิชาการพัฒนาชุมชนที่ ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสามแยกเข้าหมู่บ้านหนองแก ช่วงมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านธาตุ บ้านหนองหว้า บ้านไม้ค้าง กม. ๒ ถึงอำเภอวารินชำราบ ไปตามถนนสถลมาร์คแยกซ้ายไปตามถนนเกษมสุข แยกขวาไปตามถนนสถิตย์นิมานกาล ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตย แยกขวาไปตามถนนพรหมเทพ แยกขวาไปตามถนนพรหมราช แยกขวาไปตามถนนเขื่อนธานี แยกซ้ายไปตามถนนบูรพาใน แยกซ้ายไปตามถนนสรรพสิทธิ์ แยกขวาไปตามถนนแจ้งสนิท แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑ ผ่านห้างสรรพสินค้าแม็คโคร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ประกาศ ณ วันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ ปราโมทย์ สัจจรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด ปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๒๐๐/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
571582
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2550) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง การกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อทดแทนเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสงขลา ในการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในคราวประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงเห็นควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสงขลา จำนวน ๕ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๓๓ สงขลา-บ้านควนเหนือ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถบริเวณหอนาฬิกาจังหวัดสงขลา ไปตามถนนไทรบุรี ถึงสามแยกถนนสงขลาบุรี แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ผ่านสามแยกสำโรง ไปถึงทางแยก แยกขวาไปตามถนน อบจ. สข. ๒๐๘๔ เข้าหมู่บ้านท่าจีน ผ่านโรงเรียนบ้านท่าจีน ผ่านหมู่บ้านท่านางหอมนอก ผ่านวัดและโรงเรียนท่านางหอม ผ่านตลาดนัดท่านางหอม และโรงเรียนบ้านบางลึก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านควนเหนือ หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๔ หาดใหญ่-ควนจง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งรถโดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนทุ่งเสา ถึงสามแยก แยกขวาเข้าซอยศรีภูวนารถ ถึงสามแยกถนนศรีภูวนารถ แยกซ้ายไปตามถนนศรีภูวนารถ ถึงสามแยกถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ แยกขวาไปตามถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ ถึงถนนศุภสารรังสรรค์ แยกซ้ายถึงสี่แยกป้อมไฟ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงสามแยกคอหงส์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ถึงสามแยกท่ายาง แยกซ้ายไปตามถนน อบจ .สข. ๓๐๔๒ ผ่านหมู่บ้านปลักธง ผ่านโรงเรียนบ้านควนจง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านควนจง หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๖ หาดใหญ่-บ้านพร้าว เริ่มต้นจากสถานีขนส่งรถโดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนทุ่งเสา ถึงสามแยก แยกขวาเข้าซอยศรีภูวนารถ ถึงสามแยกถนนศรีภูวนารถ แยกซ้ายไปตามถนนศรีภูวนารถ ถึงสามแยกถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ แยกขวาไปตามถนนนิพัทธ์อุทิศ ๒ ถึงถนนศุภสารรังสรรค์ แยกซ้ายถึงสี่แยกป้อมไฟ แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงสามแยกคอหงส์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช ไปถึงตลาดทุ่งลุง แยกขวาไปตามถนน อบจ. สข. ๓๐๐๕ ถึงสามแยกบ้านพร้าว และวัดบ้านพร้าว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสามแยกบ้านพร้าว หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๗ หาดใหญ่-บ้านเขาช่อง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ ไปตามถนนทุ่งเสา ถึงสามแยก แยกขวาไปตามถนนราชดำริห์ ผ่านสี่แยกถนนศรีภูวนารถ ไปตามถนนราษฎร์ยินดี (สามสิบเมตร) ถึงสามแยก แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ผ่านวงเวียนน้ำพุ ถึงสี่แยกป้อมไฟ แยกขวาขึ้นสะพานข้ามทางรถไฟ ผ่านหน้าที่ว่าการอำเภอหาดใหญ่ โรงเรียนรัตภูมิวิทยา ถึงสามแยกท่าชะมวง แยกขวาไปตามถนนเพชรเกษม ถึงสามแยกตลาดนัดท่าชะมวง แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงชนบท สข. ๓๐๒๑ ผ่านหมู่บ้านท่าชะมวง หมู่บ้านทุ่งหวัง หมู่บ้านห้วยบอน โรงเรียนบ้านเนินนิมิตร โรงเรียนท่ามะปราง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาช่อง หมวด ๔ สายที่ ๘๔๔๘ หาดใหญ่-ตลาดควนเนียง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนวนิช ถึงสามแยกคอหงส์ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ถึงวงเวียนน้ำพุ แยกขวาไปตามถนนนิพัทธ์สงเคราะห์ ไปตามถนนทางหลวงชนบท สข. ๒๐๒๓ ผ่านหมู่บ้านวัดม่วงสาวดีอก หมู่บ้านหนองบัว หมู่บ้านคดยาง หมู่บ้านหาร หมู่บ้านเลียบ หมู่บ้านบางกล่ำ หมู่บ้านบางทิง หมู่บ้านบางเหรียง หมู่บ้านโคกเมือง หมู่บ้านบางภูมิ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหน้าตลาดควนเนียง ประกาศ ณ วันที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสงขลา วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๑๙๘/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
571580
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตรได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตรในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางขึ้น ๙ สาย คือ ๑. สายที่ ๒๕๗๕ ตะพานหิน - บ้านวัดขวาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอตะพานหิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗๐ ผ่านบ้านยางคลี ถึงบ้านวังสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๘๙ ถึงบ้านบึงประดู่ ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๔๐๐๘ ผ่านบ้านทับหมัน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวัดขวาง ๒. สายที่ ๒๕๗๖ พิจิตร - บ้านวังกระดี่ทอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตร ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๓๐๐๑ ผ่านบ้านวังมะเดื่อ บ้านท่าฬ่อ บ้านท่าดาน บ้านหาดสูง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังกระดี่ทอง ๓. สายที่ ๒๕๗๗ ตลาดสากเหล็ก - สถานีรถไฟวังกรด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดสากเหล็ก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๓๖ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๒๐๔๓ ผ่านบ้านหนองปลาไหล บ้านน้อย บ้านสายคำโห้ บ้านไดชุมแสง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟวังกรด ๔. สายที่ ๒๕๗๘ ตลาดสากเหล็ก - บ้านวังทับไทร เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสากเหล็ก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๓๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๒๐๑๓ ผ่านบ้านปากดง บ้านคลองตะแบก บ้านวังปราง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังทับไทร ๕. สายที่ ๒๕๗๙ โพทะเล - บ้านท่าเสา เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอโพทะเล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๗ ถึงบ้านทุ่งอ่างทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๕๐๔๙ ถึงบ้านทะนง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๔๔ ถึงบ้านห้วยยาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๕๐๕๑ ผ่านบ้านทุ่งใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท หมายเลข พจ ๔๐๒๒ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าเสา ๖. สายที่ ๒๕๘๐ โพทะเล - บ้านบางลาย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอโพทะเล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๗ ถึงหลักกิโลเมตรที่ ๑๘ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านท้ายน้ำ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบางลาย ๗. สายที่ ๒๕๘๑ พิจิตร - โพธิ์ประทับช้าง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิจิตรไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๓๐๐๓ ผ่านบ้านวัดขนุน บ้านดงกลาง บ้านดงป่าคำ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๓๐๐ ผ่านบ้านเนินถ่อน บ้านโพธิ์ประทับช้าง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ๘. สายที่ ๒๕๘๒ บางมูลนาก - บ้านวัดขวาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง อำเภอบางมูลนาก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๗ ผ่านบ้านคลองแค ถึงบ้านท่าบัว แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๔๐๐๘ ผ่านบ้านวัดทับทิม บ้านทุ่งน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวัดขวาง ๙. สายที่ ๒๕๘๓ บ้านเขาทราย - บ้านห้วยร่วม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาทราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านวังงิ้ว ถึงบ้านท่าเรือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๒๐๐๖ ผ่านบ้านวังกระพี้ บ้านไดลึก ถึงบ้านห้วยพุก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พจ ๔๐๑๖ ผ่านบ้านไดรัง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยร่วม ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนที่ ๒๐ ง/หน้า ๑๙๕/๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
570970
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมจัดให้มีสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในที่ดินที่ราชพัสดุแปลงทะเบียนเลขที่ มส. ๕๙ ตำบลปางหมู (จองคำ) อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เนื้อที่ ๕ ไร่ โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผังบริเวณสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๒ ง/หน้า ๑๔/๓๑ มกราคม ๒๕๕๑
570329
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบและการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๔ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาการตรวจและทดสอบ และการออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ” หมายความว่า เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบให้เป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๒ ผู้ตรวจและทดสอบต้องตรวจและทดสอบตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (๑) เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด (๒) การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ข้อ ๓ การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซต้องเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๙๐๗๘ ข้อ ๔ ผู้ตรวจและทดสอบต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) ทำการตรวจและทดสอบ ณ สถานที่ประกอบกิจการตามที่ระบุไว้ในหนังสือให้ความเห็นชอบโดยบุคลากรของผู้ตรวจและทดสอบ (๒) ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแสดงขั้นตอนและวิธีการตรวจและทดสอบ (๓) ทำการตรวจและทดสอบเฉพาะรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบจากผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งจากกรมการขนส่งทางบก เว้นแต่รถที่ได้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบไว้แล้ว ก่อนวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ (๔) จัดเก็บค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่กำหนดไว้ในคำขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เฉพาะกรณีผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ข้อ ๕ การตรวจและทดสอบถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซ เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้ติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขของถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซ วันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซหมดอายุ ชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซทุกใบให้เห็นได้อย่างชัดเจน ข้อ ๖ ให้ผู้ตรวจและทดสอบ ติดแผ่นป้ายแสดงวันที่ตรวจและทดสอบ วันที่ตรวจและทดสอบครั้งต่อไป และชื่อผู้ตรวจและทดสอบไว้ที่ตัวรถบริเวณที่เห็นได้ชัดเจนใกล้กับอุปกรณ์รับเติมก๊าซ ข้อ ๗ เมื่อผู้ตรวจและทดสอบทำการตรวจทดสอบเสร็จแล้วเห็นว่าเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบเป็นไปตามมาตรฐานที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ให้ผู้ตรวจและทดสอบออกหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้มอบให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง โดยให้มีอายุของหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ ดังนี้ (๑) ๓ ปี สำหรับการตรวจและทดสอบครั้งแรกก่อนจดทะเบียนโดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต (๒) ๑ ปี สำหรับการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ข้อ ๘ ให้ผู้ตรวจและทดสอบเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบตามข้อ ๗ พร้อมรายละเอียดการตรวจและทดสอบที่มีรายการอย่างน้อย ดังนี้ (๑) ชื่อผู้ตรวจและทดสอบ (๒) เลขที่หนังสือรับรอง (๓) วันที่ทำการตรวจและทดสอบ (๔) สถานที่ตรวจและทดสอบ (๕) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) (๖) รายการตรวจและทดสอบมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่ติดตั้ง (๗) รายการตรวจและทดสอบมาตรฐานการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ (๘) ลายมือชื่อผู้ทำการตรวจและทดสอบ พร้อมระบุหมายเลขทะเบียนวิศวกร หรือตำแหน่งหน้าที่ เฉพาะกรณีผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ข้อ ๙ การตรวจและทดสอบต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้ (๑) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ให้ทำการตรวจและทดสอบโดยผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตก่อนการจดทะเบียนครั้งแรก และทำการตรวจและทดสอบครั้งต่อไปเมื่อครบ ๓ ปี หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบทุก ๑ ปี (๒) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้วโดยผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ทำการตรวจและทดสอบทุก ๑ ปี (๓) รถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบไว้แล้วตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้ทำการตรวจและทดสอบก่อนวันครบรอบการเสียภาษีประจำปีในปีถัดไป หลังจากนั้นให้ทำการตรวจและทดสอบทุก ๑ ปี (๔) รถที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบใหม่ ดังต่อไปนี้ (ก) ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (cylinder or container) (ข) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device) (ค) ลิ้นหัวถังที่เปิดปิดด้วยมือ (manual cylinder valve) (ง) ลิ้นป้องกันการไหลเกิน (excess flow valve) (จ) ท่อนำก๊าซ (fuel line) ด้านความดันสูง (ฉ) ข้อต่อ (fitting) ด้านความดันสูง ให้ทำการตรวจและทดสอบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๔๐/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
570309
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและ การยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การตรวจและทดสอบ” หมายความว่า การตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “ผู้ตรวจและทดสอบ” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต และผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป “ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผลิตจากโรงงานเป็นครั้งแรกก่อนจดทะเบียน ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป” หมายความว่า ผู้ตรวจและทดสอบที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบและการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก สำหรับในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ ข้อ ๓ ในกรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบที่เป็นผู้ผลิตจะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (ก) สำเนาทะเบียนการค้า (ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน (ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ ข้อ ๔ ในกรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) สำเนาทะเบียนการค้า (ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน (ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ถ้ามี) (จ) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง แบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ช) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ซ) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ (๒) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาของรัฐที่มีภารกิจเกี่ยวกับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ (ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา ให้มาดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ (ข) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวพนักงานของรัฐของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (ค) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ (ง) เอกสารแสดงขั้นตอนการตรวจและทดสอบ และวิธีการตรวจและทดสอบ (จ) เอกสารเกี่ยวกับสถานที่ตรวจและทดสอบ ได้แก่ หลักฐานแสดงสิทธิการใช้สถานที่ แผนที่แสดงที่ตั้ง แบบอาคารและพื้นที่ตรวจและทดสอบโดยแสดงขนาดสัดส่วนที่ชัดเจน และภาพถ่ายสถานที่ตรวจและทดสอบ (ฉ) เอกสารเกี่ยวกับวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบ ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ช) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบ ข้อ ๕ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ จะต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี ข้อ ๖ ผู้ขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรงและมีลักษณะ ดังนี้ (ก) พื้นที่ที่ใช้ในการตรวจและทดสอบต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงาน ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร (ข) มีทางเข้า - ออกของรถที่จะให้บริการตรวจและทดสอบที่สะดวกปลอดภัย (ค) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่าง ๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (๒) วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่มีความรู้และความสามารถในการตรวจและทดสอบซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้ (ก) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ประเภทสามัญวิศวกรขึ้นไป (ข) ผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ที่เป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษาของรัฐ วิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบต้องเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเครื่องกล และมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจและทดสอบ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพอ ดังนี้ (ก) บ่อตรวจสภาพรถที่มีสันขอบบ่อตลอดแนวความยาวบ่อ ทำด้วยวัสดุแข็งแรง เพื่อป้องกันล้อรถตก หรือพื้นยกระดับ (ramp) หรือมีเครื่องยกรถ (car hoist) ขนาดไม่น้อยกว่า ๒ ตัน เพื่อใช้ในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ โดยผู้ปฏิบัติงานต้องสามารถทำงานในลักษณะยืนได้ (ข) เครื่องตรวจวัดก๊าซรั่ว (gas detector) (ค) เทปวัดระยะ (tape) (ง) เครื่องมือวัดละเอียด เช่น เวอร์เนีย (vernier) (จ) มาตรวัดความดัน (pressure gauge) ที่มีความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ + 1 (ฉ) นาฬิกาจับเวลา (ช) เครื่องมือทดสอบแรงดึงของหัวรับก๊าซ (receptacle mounting tester) (ซ) เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า ๔ กิโลกรัม อย่างน้อย ๒ ถัง (ฌ) ถังบรรจุก๊าซสำหรับใช้ทดสอบที่มีปริมาตรไม่น้อยกว่า ๐.๑ ลูกบาศก์เมตร ข้อ ๗ เมื่อได้รับคำขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพียงใด หากไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไข ภายใน ๔๕ วัน และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบออกประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ หากพบข้อบกพร่อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมินความสามารถ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในกำหนด กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยการแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการตรวจและทดสอบทำการประเมินเสร็จแล้วและเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดีเพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๘ กรมการขนส่งทางบกจะประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบ ตลอดจนการดำเนินกิจการของผู้ตรวจและทดสอบที่ได้รับความเห็นชอบอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง โดยผู้ตรวจและทดสอบต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดี หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายในการเข้าประเมินหรือตรวจสอบ ข้อ ๙ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไปต้องเก็บสำเนาหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบ และรายละเอียดการตรวจและทดสอบไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบทั่วไป ต้องติดป้ายให้ผู้รับบริการเห็นได้ชัดเจนตามรายการ ดังนี้ (๑) วัน และเวลาที่ให้บริการตรวจและทดสอบ (๒) ชื่อวิศวกรผู้ทำการตรวจและทดสอบที่ปฏิบัติงานในวัน และเวลาตาม (๑) (๓) อัตราค่าบริการตรวจและทดสอบตามอัตราที่ระบุไว้ในคำขอ ข้อ ๑๑ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจและทดสอบให้แตกต่างไปจากที่ได้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๒ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ตรวจและทดสอบ ให้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ข้อ ๑๔ ในกรณีที่หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ (ถ้ามี) หรือหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ออกหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๕ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบ ไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๑๖ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบนั้นได้ ตามสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปะชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ตรวจและทดสอบเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบ และการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๖/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
570299
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสองของข้อ ๔ และข้อ ๕ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดมาตรฐานเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “มอก.” หมายความว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม “ISO” หมายความว่า มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) “ECE R” หมายความว่า ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งยุโรป (Economic Commission for Europe Regulation) “ANSI/CSA” หมายความว่า มาตรฐานของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา/สมาคมมาตรฐานแห่งแคนาดา (American National Standards Institute/Canadian Standards Association) “ASTM” หมายความว่า มาตรฐานของสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งชาติอเมริกา (American Society for Testing and Materials) ข้อ ๒ ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (cylinder or container) ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ๒๓๑๑ หรือ ISO ๑๑๔๓๙ หรือ ECE R ๑๑๐ หรือ ANSI/CSA NGV ๒ ข้อ ๓ เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ดังต่อไปนี้ (๑) อุปกรณ์ปรับความดันก๊าซ (pressure regulator) (๒) อุปกรณ์ระบายความดัน (pressure relief device - PRD) (๓) ลิ้นหัวถังที่เปิดปิดด้วยมือ (manual cylinder valve) (๔) ลิ้นเปิดปิดอัตโนมัติ (automatic valve) (๕) ลิ้นเปิดปิดด้วยมือ (manual valve) (๖) ลิ้นป้องกันการไหลเกิน (excess flow valve) (๗) อุปกรณ์แสดงค่าความดันก๊าซ (pressure indicator) (๘) ลิ้นกันกลับ (check valve or non – return valve) (๙) ท่อนำก๊าซ (fuel line) ประเภทท่อนำก๊าซแบบยืดหยุ่น (flexible fuel line) (๑๐) ข้อต่อ (fitting) (๑๑) ตัวกรองก๊าซ (filter) (๑๒) อุปกรณ์ผสมก๊าซกับอากาศ (gas/air mixer) หรืออุปกรณ์จ่ายก๊าซเข้าไปยังท่อร่วมไอดีหรือห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ (gas injector) (๑๓) เรือนกักก๊าซ (gas tight housing) (๑๔) ท่อระบายก๊าซ (ventilation hose) (๑๕) อุปกรณ์ตรวจวัดความดันหรืออุณหภูมิ (pressure or temperature sensor/indicator) (๑๖) อุปกรณ์ควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (electronic control unit) (๑๗) ลิ้นระบายความดัน (pressure relief valve or discharge valve) (๑๘) อุปกรณ์ปรับการไหลของก๊าซ (gas flow adjuster) ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ๒๓๒๕ หรือ ISO ๑๕๕๐๐ หรือ ECE R ๑๑๐ ข้อ ๔ ท่อนำก๊าซ (fuel line) ประเภทท่อนำก๊าซแบบคงตัว (rigid fuel line) ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. ๒๓๒๕ หรือ ISO ๑๕๕๐๐ หรือ ECE R ๑๑๐ หรือ ASTM A ๒๖๙ ข้อ ๕ อุปกรณ์รับเติมก๊าซ (filling unit or receptacle) ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO ๑๔๔๖๙ - ๑ หรือ ECE R ๑๑๐ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๒/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
570293
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการติดหรือแสดงเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการติดหรือแสดงเครื่องหมาย แสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงของรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในวรรคสองของข้อ ๑๑ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดลักษณะของเครื่องหมาย และวิธีการติดหรือแสดงเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ เครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามแบบท้ายประกาศนี้ ข้อ ๒ การติดหรือแสดงเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงให้ติดไว้ที่ตัวรถในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนขณะใช้รถ ดังนี้ (๑) รถโดยสารให้ติดไว้ด้านท้าย (๒) รถบรรทุกให้ติดด้านข้างของหัวเก๋งทั้ง ๒ ด้าน ข้อ ๓ สำหรับรถที่ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ และได้ติดตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่แสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถอย่างชัดเจนและถาวรแล้ว ให้ได้รับการยกเว้นการติดเครื่องหมายตามข้อ ๑ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปะชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. แบบเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๒๐/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
570271
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และ ส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๖ และข้อ ๗ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการติดตั้ง และการออกหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบให้เป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง ข้อ ๒ การติดตั้งต้องเป็นไปตามมาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (๑) ข้อกำหนดของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจของยุโรปแห่งสหประชาชาติ เลขที่ ECE R ๑๑๐ (๒) มาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ มาตรฐานเลขที่ มอก. ๒๓๓๓ ดังนี้ (ก) เล่ม ๑ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัย (ข) เล่ม ๒ วิธีทดสอบ (๓) มาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน เลขที่ ISO ๑๕๕๐๑ ข้อ ๓ การติดตั้งถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซธรรมชาติอัด (cylinder or container) ให้ปฏิบัติตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ต้องยึดถังให้แน่นกับตัวรถในบริเวณที่มีความแข็งแรง เมื่อรถสั่นสะเทือนถังต้องไม่ขยับเขยื้อนและสามารถทนต่อแรงกระชากของถังในขณะบรรจุก๊าซเต็มถังเมื่อรถเกิดความเร่งหรือความหน่วงได้เท่ากับจำนวนเท่าของอัตราเร่งที่เกิดจากแรงโน้มถ่วงของโลกตามที่มาตรฐานกำหนด (๒) กรณีที่ติดตั้งถังขนานกับความยาวของตัวรถ ให้ติดตั้งอุปกรณ์ยึดหรือยันด้านหัวและด้านท้ายถังเพื่อป้องกันถังเคลื่อนตัวในแนวนอน (๓) ห้ามเชื่อมถังกับสิ่งอื่นใด เว้นแต่เป็นการเชื่อมจากโรงงานผู้ผลิต (๔) ถังที่ติดตั้งต้องไม่รับน้ำหนักหรือภาระอย่างหนึ่งอย่างใดของรถ (๕) ถังที่ติดตั้งภายในห้องผู้โดยสาร ห้องผู้ขับรถ ห้องเก็บสัมภาระหรือที่ซึ่งอากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้องมีเรือนกักก๊าซ (gas tight housing) ที่ติดอยู่ที่ถังเพื่อป้องกันก๊าซรั่วซึมออกสู่บริเวณห้องที่ติดตั้ง และต้องมีท่อระบายก๊าซ (ventilation hose) สำหรับระบายก๊าซที่รั่วซึมออกนอกตัวรถ (๖) ถังที่ติดตั้งควรยึดด้วยวิธีหนึ่งวิธีใด ดังนี้ (ก) ใช้สายรัดทำด้วยเหล็กรัดถังอย่างน้อย ๒ สาย สายรัดแต่ละสายควรมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๓๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๓ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดถังที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สายรัดแต่ละสายควรมีขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ มิลลิเมตร ความหนาไม่น้อยกว่า ๖ มิลลิเมตร และใช้สกรูยึดสายรัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (ข) ใช้สกรูยึดขาถังอย่างน้อย ๔ ตัว สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๐ มิลลิเมตร และในกรณีที่ถังมีความจุเกินกว่า ๑๐๐ ลิตร สกรูแต่ละตัวควรมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า ๑๒ มิลลิเมตร (๗) ในกรณีที่ถังติดตั้งอยู่ห่างจากท่อไอเสียหรือเครื่องยนต์น้อยกว่า ๑๐๐ มิลลิเมตร ต้องมีเครื่องป้องกันความร้อนกั้นระหว่างถังกับท่อไอเสียและเครื่องยนต์ (๘) ห้ามบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดลงในถังจนมีความดันสูงเกินกว่า ๒๐.๖๘ เมกาปาสกาล ข้อ ๔ ห้ามนำถังที่มีข้อบกพร่องอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ มาติดตั้ง (๑) เครื่องหมายประจำถังลบเลือนจนอ่านไม่ออก มีการแก้ไขโดยไม่ถูกต้อง หรือมีข้อความไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน (๒) ถังที่ถูกไฟไหม้ (๓) มีรอยรั่ว ซึม รอยร้าว หรือบวม (๔) มีรอยสึกลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๕) มีรอยบาด รอยขูดขีด รอยเซาะ ลึกตั้งแต่ ๐.๒๕ มิลลิเมตรขึ้นไป (๖) มีรอยบุบเว้าลึกตั้งแต่ ๑.๖ มิลลิเมตรขึ้นไป หรือเส้นผ่าศูนย์กลางหรือความยาวสูงสุดของรอยบุบเว้ามากกว่า ๕๐ มิลลิเมตร (๗) มีรอยผุกร่อนทั่วไปลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๕ ของความหนาถังเดิม หรือเป็นพื้นที่ตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของพื้นที่ผิวของถังขึ้นไป (๘) มีรอยผุกร่อนเป็นแนวยาวตั้งแต่ ๑๐๐ มิลลิเมตร หรือมีความลึกตั้งแต่ร้อยละ ๑๐ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๙) มีรอยผุกร่อนเป็นหลุมลึกตั้งแต่ร้อยละ ๒๕ ของความหนาถังเดิมขึ้นไป (๑๐) ถังบิดเบี้ยวไม่ได้รูปทรง (๑๑) ลิ้นหัวถังเอียงจนเห็นได้ชัด หรือเมื่อขันเกลียวแน่นแล้วก๊าซยังรั่วอยู่ (๑๒) มีการดัดแปลงหรือต่อเติมถัง (๑๓) อุปกรณ์ระบายความดันเสียหาย หรือเสียรูป หรือไม่ตรงตามที่ผู้ผลิตกำหนด ข้อ ๕ เมื่อผู้ติดตั้งทำการติดตั้งครบถ้วนและถูกต้องแล้วให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) ออกหนังสือรับรองการติดตั้ง (๒) มอบเครื่องหมายแสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงให้แก่เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เว้นแต่เป็นรถที่ได้รับการติดตั้งโดยผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต และได้มีการติดตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์อื่นใดที่แสดงการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ที่ด้านท้ายของตัวรถอย่างชัดเจนและถาวรแล้ว (๓) มอบเอกสารคำแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบสำหรับการใช้ก๊าซธรรมชาติอัด โดยให้มีรายละเอียดเกี่ยวกับวันที่ถังหรือภาชนะบรรจุก๊าซหมดอายุ ให้เจ้าของรถหรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งทราบ (๔) ต้องจัดเก็บสำเนาหนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบพร้อมรายละเอียดการติดตั้งของรถที่ได้รับการบริการไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๖ หนังสือรับรองการติดตั้งให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ และให้มีรายละเอียดแนบท้ายหนังสือรับรองการติดตั้งที่มีรายการอย่างน้อย ดังนี้ (๑) ชื่อผู้ติดตั้ง (๒) เลขที่หนังสือรับรอง (๓) สถานที่ติดตั้ง (เฉพาะกรณีที่สถานที่ติดตั้งแตกต่างไปจากที่อยู่ของผู้ได้รับความเห็นชอบ) (๔) หมายเลขทะเบียนรถ หรือหมายเลขประจำรถ (Vehicle Identity Number : VIN) (๕) ประเภทของเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง (๖) แบบหรือระบบการใช้ก๊าซที่ติดตั้ง (๗) มาตรฐานการติดตั้ง (๘) รายละเอียดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบแต่ละชิ้นที่นำมาติดตั้งที่ระบุถึงยี่ห้อ รุ่นหรือแบบ หมายเลข (ถ้ามี) และมาตรฐาน (๙) ลายมือชื่อช่างผู้ทำการติดตั้ง (เฉพาะกรณีผู้ติดตั้งทั่วไป) ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปะชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือรับรองการติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑๒/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
570255
ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2550
ประกาศกรมการขนส่งทางบก ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิก การให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด เป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๕๐[๑] อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑๐ แห่งกฎกระทรวงกำหนดเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ในการขนส่งที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๐ ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการให้ความเห็นชอบและการยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ในประกาศนี้ “การติดตั้ง” หมายความว่า การติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก “ผู้ติดตั้ง” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต และผู้ติดตั้งทั่วไป “ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผู้ติดตั้งผลิต ซึ่งมีการกำหนดรหัสหรือรุ่นเป็นการเฉพาะ “ผู้ติดตั้งทั่วไป” หมายความว่า ผู้ติดตั้งที่ไม่เป็นผู้ผลิตรถยนต์ซึ่งติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงกับรถที่ผ่านกระบวนการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ข้อ ๒ ผู้ใดประสงค์จะขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก สำหรับในเขตจังหวัดอื่นให้ยื่นต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานที่ประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ ข้อ ๓ ในกรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิต จะต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด โดยให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (ก) สำเนาทะเบียนการค้า (ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน (ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ (ง) หนังสือมอบอำนาจ กรณีผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศมอบอำนาจให้ผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายในประเทศไทยเป็นผู้ยื่นคำขอ ข้อ ๔ ในกรณีผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไป ให้ยื่นคำขอพร้อมด้วยหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (๑) บุคคลธรรมดา (ก) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (ข) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป (ค) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง (๒) ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ก) สำเนาทะเบียนการค้า (ข) สำเนาหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่มีอายุไม่เกิน ๖ เดือน (ค) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ หรือผู้มีอำนาจลงนาม หรือหลักฐานการมอบอำนาจ (ง) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป (จ) หลักฐานเอกสารแสดงคุณวุฒิของบุคลากรผู้ทำการติดตั้ง (๓) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา (ก) หนังสือมอบอำนาจของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการศึกษา ให้มาดำเนินการยื่นขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง (ข) สำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ (ค) แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานและผังบริเวณสถานที่ทำการติดตั้งโดยสังเขป (ง) โครงสร้างองค์กรที่แสดงถึงอำนาจหน้าที่ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง ข้อ ๕ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง จะต้องไม่เป็นผู้ถูกยกเลิกการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง เว้นแต่พ้นระยะเวลาการถูกยกเลิกมาแล้วไม่น้อยกว่า ๖ เดือน ข้อ ๖ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งที่กรมการขนส่งทางบกจะให้ความเห็นชอบตามประกาศนี้ แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ (๑) การติดตั้งกับเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ (๒) การติดตั้งกับเครื่องยนต์ดีเซล (๓) การติดตั้งกับเครื่องยนต์เบนซิน ข้อ ๗ ผู้ขอรับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องมี (๑) อาคารสถานที่ที่มีความมั่นคงแข็งแรงและมีลักษณะ ดังนี้ (ก) สามารถติดตั้งเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ใช้ในการติดตั้ง (ข) พื้นที่ที่ใช้ในการติดตั้งต้องเป็นพื้นราบที่สะดวกเพียงพอ และมีความปลอดภัยในการทำงาน ขนาดไม่น้อยกว่า ๔๐ ตารางเมตร ความกว้างไม่น้อยกว่า ๓.๕๐ เมตร (ค) มีพื้นที่สำหรับแสดงแผนผังการติดตั้งตามประเภทที่ยื่นขอรับความเห็นชอบในจุดที่เห็นได้อย่างชัดเจน โดยต้องแสดงแผนผังดังกล่าวที่ระบุตำแหน่งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบที่จะทำการติดตั้งไว้ด้วย (ง) มีการกำหนดพื้นที่อันตรายและป้ายคำเตือนบ่งชี้เขตต่างๆ อย่างชัดเจนและเหมาะสม (๒) บุคลากรผู้ทำการติดตั้งที่มีวุฒิการศึกษาระดับ ปวช. ขึ้นไปหรือเทียบเท่าในสาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน หรือที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติอัด ได้แก่ หลักสูตรที่กรมธุรกิจพลังงานจัดขึ้น หลักสูตรที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดขึ้น หรือหลักสูตรที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ (๓) เครื่องมือ เครื่องใช้และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมและเพียงพออย่างน้อย ดังนี้ (ก) เครื่องยกรถ หรือบ่อที่ใช้สำหรับปฏิบัติงานใต้ท้องรถยนต์ (ข) เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง (ค) เครื่องมือหรืออุปกรณ์ตรวจสอบการรั่วของก๊าซ (ง) เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสมอย่างน้อย ๒ ถัง (๔) เอกสารแสดงขั้นตอนการติดตั้ง และวิธีการติดตั้ง ข้อ ๘ เมื่อได้รับคำขอหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับคำขอตรวจสอบเอกสารหลักฐานประกอบคำขอว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เพียงใด หากไม่ครบถ้วนถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอไปดำเนินการแก้ไข ภายใน ๔๕ วัน และหากคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ให้ดำเนินการ ดังนี้ (๑) มีหนังสือแจ้งการให้ความเห็นชอบในหลักการให้ผู้ยื่นคำขอทราบ และให้ผู้ยื่นคำขอแจ้งนัดหมายให้เจ้าหน้าที่ไปดำเนินการประเมินความสามารถของผู้ยื่นคำขอภายใน ๑๘๐ วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ (๒) ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งออกประเมิน ณ สถานที่ประกอบกิจการของผู้ยื่นคำขอ เว้นแต่ผู้ยื่นคำขอเป็นผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศ ให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินประเมินความสามารถในการติดตั้งโดยพิจารณาจากเอกสารหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้ติดตั้ง หากพบข้อบกพร่อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบและดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินกำหนด (๓) ในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่พร้อมที่จะรับการประเมิน หรือไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอรับการให้ความเห็นชอบภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่แก้ไขข้อบกพร่องตาม (๒) ภายในกำหนด กรมการขนส่งทางบกจะพิจารณายกเลิกคำขอ โดยแจ้งการยกเลิกคำขอเป็นหนังสือให้ผู้ยื่นคำขอทราบ (๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้ประเมินความสามารถในการติดตั้งทำการประเมินเสร็จแล้ว และเห็นว่าผู้ยื่นคำขอผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้นำเสนออธิบดี เพื่ออนุมัติและออกหนังสือให้ความเห็นชอบให้กับผู้ยื่นคำขอตามประเภทที่ยื่นคำขอ ตามแบบที่กำหนดท้ายประกาศนี้ ข้อ ๙ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้ง ต้องอำนวยความสะดวกแก่อธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเข้าประเมินความสามารถหรือตรวจสอบการดำเนินกิจการ ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้งตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด เว้นแต่ผู้ติดตั้งที่เป็นผู้ผลิตในต่างประเทศให้ดำเนินการตามข้อ ๘ (๒) โดยอนุโลม ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งทั่วไปต้องเก็บเอกสารหลักฐานบันทึกการติดตั้งไว้ที่สถานที่ประกอบกิจการให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบของกรมการขนส่งทางบกเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ปี ข้อ ๑๑ ในกรณีผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งมีความประสงค์จะเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนประเภทการติดตั้งให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และดำเนินการตามข้อ ๘ โดยอนุโลม ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งประสงค์จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวกับสถานที่ประกอบกิจการให้แตกต่างไปจากที่ได้รับความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอต่อสำนักวิศวกรรมและความปลอดภัย กรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดที่สถานประกอบกิจการนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอรับความเห็นชอบก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข แล้วแต่กรณี ข้อ ๑๓ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอต่ออายุหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหนังสือให้ความเห็นชอบหรือใบแทน ก่อนวันที่หนังสือให้ความเห็นชอบสิ้นอายุไม่น้อยกว่า ๙๐ วัน ข้อ ๑๔ ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งซึ่งประสงค์จะขอยกเลิกการเป็นผู้ติดตั้ง ให้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ข้อ ๑๕ ในกรณีที่หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้ผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบยื่นคำขอรับใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด พร้อมด้วยหลักฐานการรับแจ้งความของสถานีตำรวจ (ถ้ามี) หรือหนังสือให้ความเห็นชอบที่ชำรุดนั้น ภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันที่ได้ทราบถึงการสูญหาย ถูกทำลาย หรือชำรุดดังกล่าว ในการออกใบแทนหนังสือให้ความเห็นชอบ ให้ออกหนังสือให้ความเห็นชอบตามแบบหนังสือให้ความเห็นชอบเดิม แต่ให้ระบุ “ใบแทน” ไว้ที่ด้านหน้าด้วย ข้อ ๑๖ หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้ได้รับความเห็นชอบไม่สามารถโอนให้แก่ผู้อื่นได้ ข้อ ๑๗ เมื่อปรากฏว่าผู้ได้รับหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนด ให้กรมการขนส่งทางบกมีอำนาจตักเตือน ระงับใช้หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งชั่วคราว หรือยกเลิกหนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งนั้นได้ ตามสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก [เอกสารแนบท้าย] ๑. หนังสือให้ความเห็นชอบการเป็นผู้ติดตั้งเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ โชติกานต์/ปรับปรุง ๑๓ สิงหาคม ๒๕๕๘ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕/ตอนพิเศษ ๒๐ ง/หน้า ๑/๒๙ มกราคม ๒๕๕๑
566787
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ถนนบรมราชชนนี
ประกาศกระทรวงคมนาคม ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง การจัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ถนนบรมราชชนนี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑๕ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้จัดตั้งสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ถนนบรมราชชนนี ในบริเวณที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๙๙๒, ๙๙๔, ๕๘๓๑, ๒๒๐๕๑ - ๒๒๐๕๓, ๒๖๕๕๕ - ๒๖๕๕๗, ๔๐๘๓๔, ๔๐๘๓๖, ๖๖๕๐๑, ๖๗๑๐๑, ๗๕๗๘๘, ๙๗๘๐๖ – ๙๗๘๑๐ ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เนื้อที่ ๓๖ ไร่ ๑ งาน ๙๙.๖ ตารางวา โดยมีแนวเขตตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป[๑] ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐ สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติราชการแทน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม [เอกสารแนบท้าย] ๑. ผังบริเวณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ ถนนบรมราชชนนี (ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย) วัชศักดิ์/ผู้จัดทำ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนพิเศษ ๑๘๕ ง/หน้า ๓/๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566478
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ 105 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หมวด 4 จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ 4546 เดชอุดม-บ้านโนนทอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง คือ ช่วงเดชอุดม-บ้านโนนบาก และช่วงเดชอุดม-บ้านหนองไฮ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๑๐๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๔๕๔๖ เดชอุดม-บ้านโนนทอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงเดชอุดม-บ้านโนนบาก และช่วงเดชอุดม-บ้านหนองไฮ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ฉบับที่ ๗๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๑ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๔๕๔๖ เดชอุดม-บ้านโนนทอง ขึ้น นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางสายดังกล่าว ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุบลราชธานี ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๕๐ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๔๕๔๖ เดชอุดม-บ้านโนนทอง ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงเดชอุดม-บ้านโนนบากและช่วงเดชอุดม-บ้านหนองไฮ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ หมวด ๔ สายที่ ๔๕๔๖ เดชอุดม-บ้านโนนทอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเดชอุดม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านไทยวัฒนา บ้านหม้อทอง บ้านทุ่งเทิง ถึงกิโลเมตรที่ ๓๑ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนทอง ช่วงเดชอุดม-บ้านโนนบาก เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเดชอุดม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ถึงแยกบ้านโนนค้อ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๒๐๕๕ ผ่านบ้านโนนค้อ บ้านห่องเตย ถึงบ้านนาเจริญ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๒๐๐๖ ถึงบ้านโชคชัย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๒๑๓๓ ผ่านบ้านฮ่องคำถึงบ้านสี่แยกโนนทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนจิก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนบาก ช่วงเดชอุดม-บ้านหนองไฮ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอเดชอุดม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๒ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๔ ผ่านบ้านไทยวัฒนา ถึงแยกบ้านนากระแซง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๒๐๐๖ ถึงบ้านนากระแซง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๓๒๓๕ ผ่านบ้านดอนกลาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองไฮ ประกาศ ณ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุธี มากบุญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุบลราชธานี ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566476
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8549 สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๙ สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๙ สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๑๒ สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๙ สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๙ สมุทรสงคราม-สถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงทางแยกเข้าวัดดาวโด่ง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส. ๓๐๑๐) ถึงทางแยกเข้าวัดปากลัด แยกขวาไปตามถนนคู้ลัดเคียน ผ่านบ้านถิ่นแหลมเตย วัดปากลัด วัดนางตะเคียน องค์การบริหารส่วนตำบลนางตะเคียน ผ่านทางแยกวัดลาดเป้ง ตรงไปตามถนนโยธาธิการ หมู่ ๖ ตำบลนางตะเคียน ผ่านบ้านหมู่ใหม่พัฒนา ข้ามคลองบังปืน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (สส. ๓๐๔๑) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีอนามัยตำบลนางตะเคียน ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๗/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566474
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8548 ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๘ ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๘ ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๘ ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๘ ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๘ ท่าเรือแสงวณิช-วัดท้ายหาด เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าเรือแสงวณิช แยกซ้ายไปตามถนนไชยพรผ่านวัดประทุมคณาวาส ถึงทางแยก ตรงไปตามถนนไชยพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ (สมุทรสงคราม-ปากท่อ) ถึงทางแยกเข้าวัดท้ายหาด แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดท้ายหาด ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๖/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566472
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 1 สายที่ 3 ปากทาง-รอบเมือง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๑ สายที่ ๓ ปากทาง-รอบเมือง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ สายที่ ๓ ปากทาง-รอบเมือง เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๗ ปากทาง-รอบเมือง ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ สายที่ ๓ ปากทาง-รอบเมือง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๓ ปากทาง-รอบเมือง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางทางแยกเข้าจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามถนนทางเข้าเมือง ถึงสี่แยกตรงบริเวณที่จอดรถ บขส. ตรงไปตามถนนประสิทธิ์พัฒนา ถึงทางแยกธนาคารกรุงไทย แยกขวาไปตามถนนเพชรสมุทร ถึงทางแยกไกรชนะ แยกขวาไปตามถนนไกรชนะถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) แยกซ้ายไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงโรงเรียนเมืองสมุทรสงคราม แยกขวาไปตามถนนบางประจัน ผ่านหอประชุมจังหวัดฯ ถึงถนนเอกชัย แยกขวาไปตามถนนเอกชัย ตรงไปตามถนนเกษมสุขุม แยกขวาไปตามถนนราชญาติรักษา ถึงสี่แยกบริเวณที่จอดรถ บขส. แยกซ้ายไปตามถนนทางเข้าเมือง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกเข้าจังหวัดสมุทรสงคราม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๔/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566464
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8547 สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๗ สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๗ สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์ เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๖ สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์ ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๗ สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๗ สมุทรสงคราม-วัดคู้สนามจันทร์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม (ศูนย์การค้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (สมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงทางแยกเข้าวัดดาวโด่ง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส ๓๐๑๐) ถึงทางแยกเข้าวัดปากลัด แยกขวาไปตามถนนคู้ลัดเคียน ผ่านบ้านถิ่นแหลมเตย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดคู้สนามจันทร์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๓/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566456
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8545 สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๕ สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๕ สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๓ สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๕ สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๕ สมุทรสงคราม-บ้านคลองสองร่อง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามถนนทางเข้าเมืองถึงทางแยกเข้าจังหวัด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) ข้ามสะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แยกซ้ายไปตามถนนแหลมใหญ่ ผ่านวัดปากสมุทร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านคลองสองร่อง ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๑๑/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566454
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8544 สมุทรสงคราม-หมู่ 11
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๔ สมุทรสงคราม-หมู่ ๑๑[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๔ สมุทรสงคราม-หมู่ ๑๑ เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๒ สมุทรสงคราม-หมู่ ๑๑ ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๔ สมุทรสงคราม-หมู่ ๑๑ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๔ สมุทรสงคราม-หมู่ ๑๑ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม (ศูนย์การค้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงทางแยกเข้าวัดดาวโด่งแยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส. ๓๐๑๐) ถึงทางแยกไปวัดคู้สนามจันทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส. ๓๐๑๐) แยกขวาไปตามถนนกรมโยธาธิการสายวัดดาวดึงษ์-วัดเทพประสิทธิ์ ผ่านสถานีอนามัยคลองพลับ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่ ๑๑ ช่วงสมุทรสงคราม-วัดโรงธรรม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม (ศูนย์การค้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ (ถนนสมุทรสงคราม-บางแพ) ถึงทางแยกเข้าวัดดาวโด่ง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส. ๓๐๑๐) ถึงทางแยกไปวัดคู้สนามจันทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสายวัดดาวโด่ง (สส. ๓๐๑๐) ถึงทางแยกเข้าวัดโรงธรรม แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดโรงธรรม ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๙/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566448
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด 4 สายที่ 8543 สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดสมุทรสงคราม หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๓ สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงครามได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๓ สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม เพื่อทดแทนเส้นทางการขนส่งรถขนาดเล็ก สายที่ ๗๕๐๐๑ สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม ที่จะถูกยกเลิกไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ จึงได้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๘๕๔๓ สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๘๕๔๓ สมุทรสงคราม-วัดปรกสุธรรมาราม เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม (ศูนย์การค้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร) ไปตามถนนทางเข้าเมือง ถึงทางแยกเข้าจังหวัด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี - ปากท่อ) ถึงสะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แยกขวาไปตามถนนแหลมใหญ่ ถึงวัดประทุมคณาวาส แยกซ้ายไปตามถนนไชยพร ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ (สมุทรสงคราม-ปากท่อ) ถึงทางแยกเข้าวัดปรกสุธรรมาราม แยกขวาผ่านวัดอมรดี ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดปรกสุธรรมาราม ช่วงสมุทรสงคราม-วัดบางจะเกร็ง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม (ศูนย์การค้าวัดเพชรสมุทรวรวิหาร) ไปตามถนนทางเข้าเมือง ถึงทางแยกเข้าจังหวัด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี - ปากท่อ) ถึงทางแยกเข้าวัดบางจะเกร็ง แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบางจะเกร็ง ช่วงสมุทรสงคราม-บ้านบางกะตาย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามถนนทางเข้าเมือง ถึงทางแยกเข้าจังหวัด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) ถึงสะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แยกขวาไปตามถนนแหลมใหญ่ ถึงวัดประทุมคณาวาส แยกซ้ายไปตามถนนไชยพร ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ (สมุทรสงคราม - ปากท่อ) ถึงทางแยกเข้าวัดบางกะตาย แยกซ้ายไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านบางกะตาย ช่วงสมุทรสงคราม-วัดแว่นจันทร์ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปตามถนนทางเข้าเมือง ถึงทางแยกเข้าจังหวัด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ (ธนบุรี-ปากท่อ) ถึงสะพานสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แยกขวาไปตามถนนแหลมใหญ่ ถึงวัดประทุมคณาวาส แยกซ้ายไปตามถนนไชยพร ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓ (สมุทรสงคราม-ปากท่อ) ถึงทางแยกเข้าวัดแว่นจันทร์ แยกขวาไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดแว่นจันทร์ ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ วีระยุทธ เอี่ยมอำภา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๗/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566424
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 42 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๗๔ นครไทย - อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๗๔ ชื่อเส้นทาง นครไทย - อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนครไทย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๓ (ถนนอุดรดำริ) ถึงบ้านหนองกระท้าว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๓๑ ผ่านบ้านโคกอีรอบ บ้านห้วยตีนตั่ง บ้านห้วยน้ำไซ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พิพัฒน์ วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๖/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566307
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๗๓ ตลาดโคกมะตูม - บ้านหัววังกร่าง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๗๓ ชื่อเส้นทาง ตลาดโคกมะตูม - บ้านหัววังกร่าง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดโคกมะตูม แยกขวาไปตามถนนพิชัยสงคราม แยกขวาไปตามถนนราเมศวร แยกขวาไปตามถนนธรรมบูชา ผ่านวัดธรรมจักร แยกซ้ายข้ามทางรถไฟ ถึงแยกวัดโพธิญาณ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๖ ถึงสามแยกบ้านเต็งหนาม แยกขวาข้ามทางรถไฟ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๔๐๐๓ ผ่านบ้านสระโคล่ บ้านหนองหญ้าม้า วัดทิพย์วารี บ้านวุ้งไพร ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัววังกร่าง ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พิพัฒน์ วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๕/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566255
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 40 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๔๐ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๗๒ บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ - เนินสว่าง - บ้านน้ำริน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๗๒ ชื่อเส้นทาง บ้านทรัพย์ไพรวัลย์-เนินสว่าง-บ้านน้ำริน เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๒๐๑๕ ผ่านบ้านม่วงหอม บ้านหนองปรือ บ้านเนินสว่าง บ้านตานม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำริน ช่วงบ้านทรัพย์ไพรวัลย์-บ้านน้ำยาง เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๒๐๑๕ ผ่านบ้านม่วงหอม บ้านหนองปรือ ถึงสามแยกบ้านหนองยาง แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำยาง ช่วงบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ - บ้านใหม่ชัยเจริญ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๒๐๑๕ ผ่านบ้านม่วงหอม ถึงสามแยกบ้านหนองปรือ ตรงไปตามทางหลวงท้องถิ่น ผ่านบ้านทรัพย์มะค่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านใหม่ชัยเจริญ ช่วงบ้านทรัพย์ไพรวัลย์-บ้านเขาน้อย เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๒๐๑๕ ผ่านบ้านม่วงหอม ถึงสามแยกซอยมิตรภาพ แยกขวาไปตามทางหลวงท้องถิ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเขาน้อย ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พิพัฒน์ วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๓/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
566253
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ 39 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ฉบับที่ ๓๙ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑] ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลกได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิษณุโลก ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๙ และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐ จึงกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพิษณุโลก สายที่ ๒๕๗๑ พิษณุโลก - บ้านไผ่ขอน้ำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ สายที่ ๒๕๗๑ ชื่อเส้นทาง พิษณุโลก - บ้านไผ่ขอน้ำ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพิษณุโลก แยกขวาไปตามถนนพิชัยสงคราม แยกขวาไปตามถนนราเมศวร แยกขวาไปตามถนนเอกาทศรฐ แยกซ้ายบริเวณวงเวียนรถไฟ ไปตามถนนนเรศวร แยกขวาไปตามถนนพุทธบูชา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ จนถึงทางแยกเข้าบ้านวัดตาล แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข พล ๒๐๑๑ ผ่านบ้านท่าตะเคียน บ้านปากโทก บ้านท่าโพธิ์ บ้านมะตูม บ้านท่าชัย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไผ่ขอน้ำ ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ พิพัฒน์ วงศาโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิษณุโลก ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๙๕ ง/หน้า ๒๐๒/๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
564559
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1825 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 539 วังสามหมอ-สมเด็จ
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๒๕ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๙ วังสามหมอ-สมเด็จ[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๕๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๙ วังสามหมอ-สมเด็จ นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๒๑๓/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
564555
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1824 (พ.ศ. 2550) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 3 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๒๔ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๖๗ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๓๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๗๑ ชุมแพ - เกษตรสมบูรณ์ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง ๒ ช่วง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๑๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๑ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๕๖๙ ชุมแพ - บึงสามพัน ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงชุมแพ - บ้านห้วยหินฝน ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๐๐๒ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๙ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๐๔ หนองบัวลำภู - บึงสามพัน นั้น คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงให้ยกเลิก ๓ เส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๒๑๒/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐
564551
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1823 (พ.ศ. 2550) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคใต้ จำนวน 10 เส้นทาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๘๒๓ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคใต้ จำนวน ๑๐ เส้นทาง[๑] ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๓๘ ภูเก็ต-กระบี่, สายที่ ๔๓๙ ภูเก็ต-ทุ่งสง สายที่ ๔๔๑ ภูเก็ต-ตรัง และสายที่ ๔๔๓ ภูเก็ต-หาดใหญ่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๙๙๘ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๔๔๐ ภูเก็ต-นครศรีธรรมราช ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครศรีธรรมราช-บางขัน-กระบี่ ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๘๑๙ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๓๕ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๔๒ ภูเก็ต-พัทลุง ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๖๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๗๖๒ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๓๔ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๓๓ ภูเก็ต-นครศรีธรรมราช (ข) ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๘๑๑ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๓๕ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๓๔ สตูล-ภูเก็ต ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ ๑๔๖๖ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๔๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๖๐ ภูเก็ต-ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๔ - เกาะสมุย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ จึงให้กำหนด (ปรังปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ ภาคใต้ จำนวน ๑๐ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ สายที่ ๔๓๘ ภูเก็ต - กระบี่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง บ้านท่าฉัตรไชย บ้านท่านุ่น ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่ สายที่ ๔๓๙ ภูเก็ต - ทุ่งสง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง บ้านท่าฉัตรไชย บ้านท่านุ่น ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอคลองท่อม อำเภอวังวิเศษ ถึงบ้านเขากอบ (ทางแยกอำเภอห้วยยอด) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอทุ่งสง สายที่ ๔๔๐ ภูเก็ต - นครศรีธรรมราช เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอคลองท่อม ถึงบ้านเขากอบ (ทางแยกอำเภอห้วยยอด) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านอำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงนครศรีธรรมราช - บางขัน - กระบี่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราชไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ผ่านอำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอทุ่งสง ถึงทางแยกบ้านกะปางแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๑ ผ่านอำเภอบางขัน ถึงอำเภอลำทับ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๘ ถึงอำเภอคลองท่อม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่ สายที่ ๔๔๑ ภูเก็ต - ตรัง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง บ้านท่าฉัตรไชย ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือแยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอคลองท่อม อำเภอห้วยยอด ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดตรัง สายที่ ๔๔๒ ภูเก็ต - พัทลุง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ อำเภอคลองท่อม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดพัทลุง สายที่ ๔๔๓ ภูเก็ต - หาดใหญ่ เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึกจังหวัดกระบี่ อำเภอคลองท่อม อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง แยกบ้านท่ามิหรำ ถึงบ้านคูหา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๓ ถึงทางแยกบ้านควนลัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต - เกาะสมุย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกบ้านปากลาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์ ถึงสามแยกบ้านเขาวัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงทางแยกบ้านหนองขรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงอำเภอพุนพิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ ถึงสามแยกบ้านในแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก ถึงท่าเรืออำเภอดอนสักลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะสมุย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย ช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกบ้านปากลาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อบ้านทับคริสต์ ถึงสามแยกบ้านเขาวัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงทางแยกบ้านหนองขรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงอำเภอพุนพิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ ถึงสามแยกบ้านในแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก ถึงท่าเรืออำเภอดอนสักลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะพะงัน ไปตามถนนสายท้องศาลา-บ้านใต้ และไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะพะงัน สายที่ ๗๓๓ ภูเก็ต - นครศรีธรรมราช (ข) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ถึงบ้านเหนือคลอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๗ ถึงอำเภอเขาพนม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๖ ถึงอำเภอทุ่งใหญ่ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๙๕ ถึงบ้านคลองจันดี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๕ ผ่านอำเภอลานสภา ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๗๓๔ สตูล - ภูเก็ต เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสตูล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖ ถึงบ้านฉลุง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖ ผ่านอำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔ ผ่านอำเภอย่านตาขาว ถึงจังหวัดตรัง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอห้วยยอด อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อำเภออ่าวลึก ถึงอำเภอทับปุด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงทางแยก แยกขวาไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงสามแยกอู่เรือ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงบ้านโคกกลอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต สายที่ ๗๖๐ ภูเก็ต - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๔ - เกาะสมุย เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงสามแยกอู่เรือ แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาลบำรุง ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านอำเภออ่าวลึก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๔ ผ่านบ้านกลาง บ้านบางเหลียว บ้านเกาะน้อย บ้านเกาะแก้ว บ้านคลองยา ถึงบ้านหินโงก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ถึงบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ถึงท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก ลงเรือเฟอร์รี่ ข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรือท้องยาง (อำเภอเกาะสมุย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ สุรชัย ธารสิทธิ์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ปริยานุช/ผู้จัดทำ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐ [๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๔/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๒๐๖/๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๐