sysid
stringlengths 1
6
| title
stringlengths 8
870
| txt
stringlengths 0
257k
|
---|---|---|
485532 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดน่าน ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดน่าน
ฉบับที่ ๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดน่านได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดน่าน ในการประชุม ครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดน่าน สายที่
๒๔๓๐ บ่อเกลือ-บ้านห้วยล้อม (พระตำหนักภูฟ้า) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๒๔๓๐
บ่อเกลือ-บ้านห้วยล้อม (พระตำหนักภูฟ้า)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ่อเกลือ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘๑ ผ่านบ้านผาคับ บ้านนาคอก บ้านนาเปรื่อง
บ้านผักเฮือก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๑๖ ผ่านบ้านนาขวาง บ้านวังปะ
บ้านนากอก บ้านห่างทางหลวง ทางแยกพระตำหนักภูฟ้า บ้านผาสุข บ้านสบมาง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยล้อม
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
ปริญญา ปานทอง
ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดน่าน
นันทนา/ผู้จัดทำ
๕ เมษายน ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๖ ง/หน้า ๑๑๖/๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙ |
484195 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ 1197 บางพลี-ถนนอ่อนนุช เป็น บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๙๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ
การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ
สายที่ ๑๑๙๗
บางพลี-ถนนอ่อนนุช เป็น บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๕) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๗
บางพลี-ถนนอ่อนนุช นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๙๗ บางพลี-ถนนอ่อนนุช
ให้มีรายละเอียดเส้นทางเป็นบางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๑๙๗ ชื่อเส้นทาง
บางพลี-ถนนอ่อนนุช-ตลาดหัวตะเข้
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางพลี
ไปตามถนนสุขาภิบาล ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕๖ (ถนนกิ่งแก้ว)
ผ่านศูนย์อุตสาหกรรมบางพลี สำนักงานเขตบางพลี การไฟฟ้านครหลวง โรงงานแป้งหอมเปาโล
วัดกิ่งแก้ว หมู่บ้านจามจุรี แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช ไปตามถนนลาดกระบัง
ผ่านทางแยกถนนร่มเกล้า สถานีตำรวจนครบาลลาดกระบัง ไปสุดเส้นทางที่บริเวณตลาดหัวตะเข้
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๒ ง/หน้า ๒๑๕/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ |
484191 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 97 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ 1145 สำโรง-บางบ่อ เป็น บางนา-บางบ่อ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๙๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ
การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ
สายที่ ๑๑๔๕ สำโรง-บางบ่อ
เป็น บางนา-บางบ่อ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๙๓ (พ.ศ. ๒๕๔๗) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๔๕
สำโรง-บางบ่อ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) เส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรปราการ สายที่ ๑๑๔๕ สำโรง-บางบ่อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางเป็น
บางนา-บางบ่อ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๑๔๕ ชื่อเส้นทาง
บางนา-บางบ่อ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕)
ซอยแบริ่ง (๑๐๗) สำโรง สถานีตำรวจภูธร ตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์
ผ่านบ้านใหญ่ บ้านหนามแดง บ้านบางแก้ว อำเภอบางพลี แยกซ้ายไปตามถนนปานวิถี
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณตลาดบางบ่อ
ช่วงบางนา-ซอยมังกร-ซอยนาคดี
(ซอยแพรกษา ๑๑) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕)
ซอยแบริ่ง (๑๐๗) สำโรง สถานตำรวจภูธร ตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ผ่านบ้านใหญ่
บ้านหนามแดง ถึงกิโลเมตรที่ ๘ แยกขวาไปตามซอยมังกร ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช.
สป. ๒๐๒๓ (สายบ้านนาคดี-บ้านมังกร) ผ่านโรงเรียนคลองใหม่ หมู่บ้านเฟื่องฟ้าวิลล์
หมู่บ้านลิลลี่วิลล์ บ้านนาคดี หมู่บ้านนครทอง โรงเรียนนาคดีอนุสรณ์
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยนาคดี (ซอยแพรกษา ๑๑)
ช่วงบางนา-บ้านพุฒสี
(ซอยแพรกษา ๗) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕)
ซอยแบริ่ง (๑๐๗) สำโรง สถานีตำรวจภูธร ตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์
ผ่านบ้านใหญ่ บ้านหนามแดง ถึงกิโลเมตรที่ ๗.๕ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ร.พ.ช.สป. ๓๐๐๘ (สายบ้านพุฒสี-เทพารักษ์) ผ่านหมู่บ้านบางปูนครโครงการ ๒
บ้านคลองใหญ่ หมู่บ้านพุฒสีวิลล่า หมู่บ้านปิติวิลล่า ๒ หมู่บ้านพันธ์พฤกษา
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยพุฒสี (ซอยแพรกษา ๗)
ช่วงบางนา-บ้านพร้อมมิตร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท
ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕) ซอยแบริ่ง (๑๐๗) สำโรง
สถานีตำรวจภูธร ตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ถึงกิโลเมตรที่ ๑.๗ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ร.พ.ช. สป. ๒๐๑๐ (บ้านเด่นชัย-บ้านพร้อมมิตร) ผ่านโรงเรียนอินทรัมพรรย์อนุสรณ์
โรงเรียนบางเมืองเขียนผ่องอนุสรณ์ หมู่บ้านทวีทอง ๒
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านพร้อมมิตร
ช่วงบางนา-หมู่บ้านเพ็ชรวิฑูรย์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา ไปตามถนนสุขุมวิท
ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕) ซอยแบริ่ง (๑๐๗) สำโรง
สถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ถึงกิโลเมตรที่ ๓ แยกขวาไปตามซอยเปรมฤทัย
ผ่านหมู่บ้านเรวัติ ห้างโลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเพ็ชรวิฑูรย์
ช่วงบางนา-ซอยคลองอาเสี่ย
(ติดถนนแพรกษา) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสี่แยกบางนา
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านกรมอุตุนิยมวิทยา สนามกีฬาภูติอนันต์ ซอยลาซาล (๑๐๕) ซอยแบริ่ง
(๑๐๗) สำโรง สถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ผ่านบ้านใหญ่
บ้านหนามแดง ถึงกิโลเมตรที่ ๑๐.๙ แยกขวาไปตามซอยกรุงสยามวิลล่า ผ่านถนนกาญจนาภิเษก
สป. ๓๐๗๗ ผ่านหมู่บ้านกรุงสยามวิลล่า บ้านคลองกันยา ผ่านถนน ร.พ.ช. หมายเลข สป.
๓๐๓๔ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณซอยคลองอาเสี่ย
(ติดถนนแพรกษา)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุขุมรัฎฐ์ สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๒ ง/หน้า ๒๑๒/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ |
484130 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1648 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน
๔ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๑๔๐๐ เพชรเกษม-ศาลาแดง เป็น
ตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล และให้มีเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๑ ช่วง
ฉบับที่
๖๐๕ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ (ชานเมือง) สายที่ ๑๔๗๔
บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-วัดปรุณาวาส
ฉบับที่
๑๒๓๙ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๗๕
วัดสุวรรณาราม-บางขุนนนท์-วัดประดู่ เป็น
สถานีรถไฟธนบุรี-บางขุนนนท์-วัดมะพร้าวเตี้ย
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๒ ช่วง
ฉบับที่
๗๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร จำนวน ๔ เส้นทาง
ดังนี้
๑.
สายที่ ๑๔๐๐ ตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยาพุทธมณฑล
เป็นตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม และปรับปรุงเส้นทางช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนวัดศาลาแดง
เป็น ตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย ๔
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สตรีวิทยาพุทธมณฑล เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
๒.
สายที่ ๑๔๗๔ บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-วัดปุรณาวาส เป็น บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย
นครปฐม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงบางขุนนนท์-วัดซองพลู
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
๓.
สายที่ ๑๔๗๕ สถานีรถไฟธนบุรี-บางขุนนนท์-วัดมะพร้าวเตี้ย
สำหรับการเดินรถช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดรัชฎาธิษฐาน เป็น
สถานีรถไฟธนบุรี-โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-สมาคมชาวปักษ์ใต้
เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งช่วง
๔.
สายที่ ๑๔๗๗ ถนนบางแวก-ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี เป็น
ถนนบางแวก-สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๔๐๐
ตลาดบางแค-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
เริ่มต้นจากตลาดบางแค
ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓ แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์ ถึงถนนพุทธมณฑลสาย ๔
ไปตามถนนนครชัยศรี-ศาลายา ผ่านตลาดศาลายา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นฐ. ๓๐๐๑
จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
ช่วงตลาดบางแค-ถนนพุทธมณฑลสาย
๔ เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒
แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก ผ่านโรงเรียนวัดศาลาแดง แยกขวาไปตามถนนทวีวัฒนา
แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองปทุม ผ่านโรงเรียนทวีวัฒนา
จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย ๔
ช่วงตลาดบางแค-โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สตรีวิทยาพุทธมณฑล เริ่มต้นจากตลาดบางแค ไปตามถนนเพชรเกษม
แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒ แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกขวาไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๓
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าโรงเรียนสตรีวิทยา จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ
สตรีวิทยาพุทธมณฑล
สายที่ ๑๔๗๔
บางขุนนนท์-ตลิ่งชัน-โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
เริ่มต้นจากถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
(ด้านถนนจรัญสนิทวงศ์) ไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชันแยกซ้ายไปตามถนนชักพระ
แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงแยกวัดมะกอก ขึ้นสะพานกลับรถไปตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งมังกร แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก ผ่านโรงเรียนฉิมพลี
แยกซ้ายไปตามถนนกาญจนาภิเษก กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนธรรมสพน์
แยกขวาไปตามถนนเข้าวัดปุรณาวาส ถึงวัดปุรณาวาส กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามถนนธรรมสพน์
ถึงถนนพุทธมณฑลสาย ๔ ไปตามถนนนครชัยศรี-ศาลายา ผ่านตลาดศาลายา แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นฐ. ๓๐๐๑ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม
ช่วงบางขุนนนท์-โรงเรียนฉิมพลี
เริ่มต้นจากถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน (ด้านถนนจรัญสนิทวงศ์)
ไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ
กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก
ผ่านสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนฉิมพลี
ช่วงบางขุนนนท์-วัดมะกอก
เริ่มต้นจากถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน (ด้านถนนจรัญสนิทวงศ์)
ไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี
แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี จนสุดเส้นทางที่วัดมะกอก
ช่วงบางขุนนนท์-วัดซองพลู
เริ่มต้นจากถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน (ด้านถนนจรัญสนิทวงศ์)
ไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี ถึงสะพานข้ามทางรถไฟ
กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนชัยพฤกษ์ แยกซ้ายไปตามถนนสวนผัก
ผ่านสำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒ แยกขวาไปตามซอยสวนผัก ๓๒
ไปตามถนนบ้านคลองวัดสัก-บ้านวัดโคนอน ถนนเข้าวัดซองพลูจนสุดเส้นทางที่วัดซองพลู
สายที่ ๑๔๗๕
สถานีรถไฟธนบุรี-บางขุนนนท์-วัดมะพร้าวเตี้ย
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี
(บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี
แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี ผ่านวัดมะกอก ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย
๑ แยกขวาไปตามถนนชมรมบางเชือกหนัง
แยกซ้ายไปตามซอยศิริวัฒนาจนสุดเส้นทางที่วัดมะพร้าวเตี้ย
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดทอง
(บางระมาด) เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ
ซอยวัดสุทธาวาส แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดทอง
จนสุดเส้นทางที่วัดทอง (บางระมาด)
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดมณฑป
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดมณฑป จนสุดเส้นทางที่วัดมณฑป
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ
ซอยวัดสุทธาวาส แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี-วัดรัชฎาธิษฐาน
ถนนวัดรัชฎาธิษฐาน แยกขวาไปตามถนนวัดแก้ว-พุทธมณฑลสาย ๑
จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนสุวรรณพลับพลาพิทยาคม
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดช่างเหล็ก
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดช่างเหล็ก จนสุดเส้นทางที่วัดช่างเหล็ก
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดจำปา
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี
ผ่านวัดมะกอก ถนนพุทธมณฑลสาย ๑ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดจำปา จนสุดเส้นทางที่วัดจำปา
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-วัดปราสาท
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี
ผ่านวัดมะกอก ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๑ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าวัดปราสาท จนสุดเส้นทางที่วัดปราสาท
ช่วงสถานีรถไฟธนบุรี-สมาคมชาวปักษ์ใต้
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี (บริเวณท่าเรือข้ามฟาก) ไปตามถนนรถไฟ ซอยวัดสุทธาวาส
แยกซ้ายไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนบางกอกน้อย-ตลิ่งชัน
แยกซ้ายไปตามถนนชักพระ แยกขวาไปตามถนนฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนฉิมพลี
ผ่านวัดมะกอก ไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๑ แยกขวาไปตามถนนบางระมาด ถนนกาญจนาภิเษก
จนสุดเส้นทางที่สมาคมชาวปักษ์ใต้
สายที่ ๑๔๗๗
ถนนบางแวก-สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
เริ่มต้นจากถนนบางแวก
(ด้านถนนกาญจนาภิเษก) ไปตามถนนบางแวก แยกซ้ายไปตามซอยศิริวัฒนา
แยกขวาไปตามถนนชมรมบางเชือกหนัง แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๑ ถนนฉิมพลี
ผ่านวัดมะกอก แยกขวาไปตามถนนบรมราชชนนี แยกซ้ายไปตามถนนราชพฤกษ์ แยกขวาไปตามถนนสวนผัก
จนสุดเส้นทางที่สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ ๒
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๙/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ |
484128 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1647 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 699 นวนคร-บางบัวทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๙๙
นวนคร-บางบัวทอง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๙๙ นวนคร-บางบัวทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๙๙ นวนคร-บางบัวทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนวนคร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๙ ถึงแยกบางบัวทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๑๕ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางบัวทอง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๑ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๘/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ |
484126 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง
(ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทางหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๑.
กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓
โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารอัตราที่ ๑๒ ดังนี้
อัตราที่
ราคาน้ำมันดีเซล
บาท/ลิตร
อัตราค่าโดยสาร (บาท)
๔๐ กม. แรก กม. ละ
เกิน ๔๐ กม. แต่ไม่เกิน
๑๕๐ กม. กม. ละ
เกิน ๑๕๐ กม. ขึ้นไป กม.
ละ
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
อัตรา
ก
อัตรา
ข
อัตรา
ค
๑
๑๐.๐๗ - ๑๑.๒๘
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๒๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๒
๑๑.๒๙ - ๑๒.๕๐
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๒๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๓
๑๒.๕๑ - ๑๓.๗๒
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๓๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๔
๑๓.๗๓ - ๑๔.๙๕
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๓๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๕
๑๔.๙๖ - ๑๖.๑๗
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๓๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๖
๑๖.๑๘ - ๑๗.๓๙
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๗
๑๗.๔๐ - ๑๘.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๘
๑๘.๖๒ - ๑๙.๘๓
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๙
๑๙.๘๔ - ๒๑.๐๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๑๐
๒๑.๐๖ - ๒๒.๒๗
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๑๑
๒๒.๒๘ - ๒๓.๔๙
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๑๒
๒๓.๕๐ - ๒๔.๗๑
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๑๓
๒๔.๗๒ - ๒๕.๙๓
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๑๔
๒๕.๙๔ - ๒๗.๑๕
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๑๕
๒๗.๑๖ - ๒๘.๓๗
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๑๖
๒๘.๓๘ - ๒๙.๕๙
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๑๗
๒๙.๖๐ - ๓๐.๘๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๑๘
๓๐.๘๒ - ๓๒.๐๓
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๑๙
๓๒.๐๔ - ๓๓.๒๕
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๒๐
๓๓.๒๖ - ๓๔.๔๗
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๒๑
๓๔.๔๘- ๓๕.๖๙
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๗๐
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๒๒
๓๕.๗๐ - ๓๖.๙๑
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๗๑
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๒๓
๓๖.๙๒ - ๓๘.๑๓
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๗๒
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๒๔
๓๘.๑๔ - ๓๙.๓๕
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๗๓
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๒๕
๓๙.๓๖ - ๔๐.๕๗
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๗๔
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
หมายเหตุ ๑. อัตรา ก. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือคอนกรีต
๒.
อัตรา ข. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรัง
หรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป
เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๓.
อัตรา ค. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่วคราว หรือทางขึ้นลงเขา
ซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๕
ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
อนึ่ง
อัตราค่าโดยสารดังกล่าวเป็นอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา
(ไม่ปรับอากาศ) สำหรับรถปรับอากาศ
ให้คิดค่าธรรมเนียมสำหรับรถปรับอากาศตามที่กำหนดไว้เดิม คือ
๑)
รถมาตรฐาน ๒ หรือปรับอากาศชั้น ๒ ไม่มีห้องน้ำ ให้คิดค่าธรรมเนียม ๔๐%ของค่าโดยสาร
๒)
รถมาตรฐาน ๑ ข หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ ขนาด ๔๒ ที่นั่ง ให้คิดค่าธรรมเนียม
๘๐% ของค่าโดยสาร
๓)
รถมาตรฐาน ๑ ข พิเศษ หรือปรับอากาศชั้น ๑ มีห้องน้ำ ขนาด ๓๒ ที่นั่ง
ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๑๐% ของค่าโดยสาร
๔)
รถมาตรฐาน ๑ ก หรือปรับอากาศชั้น ๑ (VIP) มีห้องน้ำ ขนาด ๒๔ ที่นั่ง
ให้คิดค่าธรรมเนียม ๑๘๐% ของค่าโดยสาร
๒.
กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
ดังนี้
๒.๑
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง
ดังนี้
(๑)
รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (ข) (สีขาว - น้ำเงิน) ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๘.๐๐
บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๒)
รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษ (สีครีม - แดง) ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๗.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๓)
รถโดยสารมินิบัส ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๖.๕๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๔)
รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ดังนี้
ระยะทาง ๐ ๘ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๑.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ ๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ ๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ ๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๗.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสาร
๑๙.๐๐ บาท
(๕)
รถตู้โดยสารปรับอากาศ ให้ปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นไม่เกิน ๑.๐๐ บาท
ต่อคนต่อเที่ยวทุกเส้นทาง
๒.๒
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ให้กำหนดเป็นอัตราขั้นสูง ดังนี้
(๑)
รถโดยสารธรรมดา ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ๖.๐๐ บาท ต่อคนต่อเที่ยว
(๒)
รถโดยสารปรับอากาศ ปรับเพิ่มเป็นไม่เกิน ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๙.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๑.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๓.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสาร
๑๕.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสาร
๑๗.๐๐ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการและค่าธรรมเนียมการยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ทั้งนี้
การกำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) ดังกล่าวข้างต้น
ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
ประกาศ ณ วันที่ ๒๑
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๓๑ ง/หน้า ๑๕๔/๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483798 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 56 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดเชียงใหม่
สายที่ ๒๔๒๙ จอมทอง-ดอยอินทนนท์ ขึ้น โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังนี้ คือ
สายที่ ๒๔๒๙
จอมทอง-ดอยอินทนนท์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๙ ผ่านทางแยกน้ำตกแม่กลาง บ้านเมืองอาง
ผาหมอน แม้วขุนกลาง บ้านขุนยะน้อย ดอยหัวเสือ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางดอยอินทนนท์
ช่วงจอมทอง-บ้านปะ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมทอง ไปตามถนนเทศบาลจอมทอง
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๐๙ ถึง กม. ๕.๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านเมืองกลาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านปะ
ช่วงจอมทอง-บ้านหัวเสือ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอจอมทอง ไปตามถนนเทศบาลจอมทอง
ถึงสี่แยกน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านน้ำลัดไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณบ้านหัวเสือ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวัฒน์ ตันติพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๙๒/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483796 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาฉบับที่ 74 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง[๑]
ตามมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๔๘ ได้มีมติให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๔ อยุธยา-อุทัย
เป็น พระนครศรีอยุธยา-อุทัย-ภาชี นั้น
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สายที่ ๑๐๐๔ อยุธยา-อุทัย เป็น พระนครศรีอยุธยา-อุทัย-ภาชี
ตามที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเสนอ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๑๐๐๔
พระนครศรีอยุธยา-อุทัย-ภาชี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ (ถนนโรจนะ) ผ่านนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๖ ผ่านอำเภออุทัย บ้านละมุเก่า บ้านพระแก้ว
บ้านกระจิว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอภาชี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สมชาย ชุ่มรัตน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๙๓/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483794 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๓๖ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดเชียงใหม่ สายที่ ๕๒๐๐๒ จอมทอง-ดอยอินทนนท์ ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๗
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
สุวัฒน์ ตันติพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๙๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483792 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนดอัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถ AIRPORT EXPRESS ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
กำหนดอัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถ AIRPORT EXPRESS ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
อนุมัติให้กำหนดอัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถ AIRPORT EXPRESS
ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในอัตราขั้นสูงไม่เกินคนละ ๑๕๐ บาท
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๘ ง/หน้า ๑๙๐/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483790 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1646 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 2 ภาคตะวันออก จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ ภาคตะวันออก จำนวน ๔
เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๙๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๕๕ กรุงเทพฯ-บางคล้า (ก)
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางในช่วงจากแยกถนนอ่อนนุช-แยกบ้านคลองประเวศ
ฉบับที่
๑๑๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๖ กรุงเทพฯ
(หมอชิต)-บ้านฉาง-ระยอง
ฉบับที่
๑๐๘๙ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๗ กรุงเทพฯ
(หมอชิต)-จันทบุรี (ง)
ฉบับที่
๑๑๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๙๐๘ กรุงเทพฯ
(หมอชิต)-ตราด (ง) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ ภาคตะวันออก จำนวน ๔ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๕ กรุงเทพฯ-บางคล้า
(ก)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(เอกมัย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ แยกซ้ายไปตามถนนอ่อนนุช
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามถนนอ่อนนุช ผ่านเขตลาดกระบัง ถึงคลองหัวตะเข้ ไปตามถนนหลวงแพ่ง
ถึงคลองกาหลง ไปตามทางหลวงชนบท (หมายเลข ฉช. ๓๐๐๑) ผ่านบ้านคลองสวน ถึงบ้านคลองประเวศ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ถึงแยกบางคล้า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางคล้า
สายที่ ๙๙๐๖ กรุงเทพฯ (จตุจักร)-บ้านฉาง-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ถึง
กม. ๑๐ (สนามบินอู่ตะเภา) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบ้านฉาง
บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงกรุงเทพฯ
(จตุจักร)-บ้านมาบตาพุด-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ลงทางด่วน ตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านบ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงกรุงเทพฯ
(จตุจักร)-ระยอง เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร (จตุจักร)
ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๖ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๓๘ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
สายที่ ๙๙๐๗ กรุงเทพฯ
(จตุจักร)-จันทบุรี (ง)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่
อำเภอวังจันทร์ ถึงอำเภอแกลง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดจันทบุรี
สายที่ ๙๙๐๘ กรุงเทพฯ
(จตุจักร)-ตราด (ง)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ขึ้นทางด่วน (ทางพิเศษศรีรัช) ที่ด่านบางซื่อ (ถนนกำแพงเพชร ๒)
ลงทางด่วนตรงไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึง กม. ที่ ๑๒.๗
แยกขวาไปตามทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง อำเภอหนองใหญ่
อำเภอวังจันทร์ ถึงอำเภอแกลง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดจันทบุรี อำเภอขลุง บ้านแสนตุ้ง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดตราด
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๘๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483788 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่1645 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน 6 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
จำนวน ๖ เส้นทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง จำนวน ๖ เส้นทาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๔๙
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-มีนบุรี
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนลาดกระบัง แยกขวาไปตามถนนร่มเกล้า แยกซ้ายไปตามถนนสีหบุรานุกิจ
จนสุดเส้นทางที่มีนบุรี
สายที่ ๕๕๐
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-แฮปปี้แลนด์
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนลาดกระบัง ถนนอ่อนนุช แยกขวาไปตามถนนศรีนครินทร์ แยกซ้ายไปตามถนนลาดพร้าว แยกขวาไปตามถนนแฮปปี้แลนด์
จนสุดเส้นทางที่แฮปปี้แลนด์
สายที่ ๕๕๑
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช
ลงทางด่วนที่ด่านพระราม ๙ ไปตามถนนพระราม ๙ ถนนอโศก-ดินแดง ถนนดินแดง ถนนราชวิถี
จนสุดเส้นทางที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
สายที่ ๕๕๒
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนบางนา-บางปะกง แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟฟ้าอ่อนนุช
สายที่ ๕๕๓
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สมุทรปราการ
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามถนนวัดกิ่งแก้ว แยกขวาไปตามถนนบางนา-บางปะกง แยกซ้ายไปตามถนนศรีนครินทร์
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนสายลวด จนสุดเส้นทางที่สมุทรปราการ
สายที่
๕๕๔ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทางด่วน)
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางพิเศษระหว่างเมือง (กรุงเทพฯ-ชลบุรีสายใหม่) ไปตามทางพิเศษศรีรัช
แยกขวาไปตามถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันออก) แยกซ้ายไปตามถนนรามอินทรา ถนนแจ้งวัฒนะ
แยกขวาไปตามถนนวิภาวดีรังสิต จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานกรุงเทพ
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๙/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483786 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1644 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT EXPRESS) จำนวน 4 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT EXPRESS)
จำนวน ๔ เส้นทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ ระหว่างท่าอากาศยานกับภายในเขตกรุงเทพมหานคร (AIRPORT EXPRESS) จำนวน ๔ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ AE ๑
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สีลม (ทางด่วน)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสีลม
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา-บางปะกง ขึ้นทางด่วนที่ด่านบางนา
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านเพชรบุรี ไปตามถนนเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำริ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนสุรวงศ์ แยกซ้ายไปตามถนนเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัช
แยกซ้ายไปตามถนนสีลม จนสุดเส้นทางที่สีลม (ตรงข้ามโรงพยาบาลเลิดสิน)
จากสีลมไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากสีลม (ตรงข้ามโรงพยาบาลเลิดสิน) ไปตามถนนสีลม ถนนราชดำริ ถนนราชปรารภ
ถึงแยกมักกะสัน แยกขวาไปตามถนนนิคมมักกะสัน ถึงแยกมิตรสัมพันธ์
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี ขึ้นทางด่วนที่ด่านเพชรบุรี ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านบางนา
ไปตามถนนบางนา-บางปะกง จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สายที่ AE ๒
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-บางลำภู (ทางด่วน)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปบางลำภู
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา-บางปะกง ขึ้นทางด่วนที่ด่านบางนา
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านเพชรบุรีไ ปตามถนนเพชรบุรี ถนนหลานหลวง
ถนนราชดำเนินกลาง แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินใน แยกขวาไปตามถนนหน้าพระลาน
แยกขวาไปตามถนนหน้าพระธาตุ แยกซ้ายไปตามถนนราชินี แยกขวาไปตามถนนพระอาทิตย์
แยกขวาไปตามถนนพระสุเมรุ แยกขวาไปตามถนนจักรพงษ์ แยกซ้ายไปตามถนนข้าวสาร
จนสุดเส้นทางที่บางลำภู
จากบางลำภูไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากบางลำภู ไปตามถนนข้าวสาร แยกซ้ายไปตามถนนจักรพงษ์
แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนินกลาง ถนนหลานหลวง ถนนเพชรบุรี ขึ้นทางด่วนที่ด่านเพชรบุรี
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ลงทางด่วนที่ด่านบางนา ไปตามถนนบางนา-บางปะกง
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สายที่ AE ๓
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ถนนวิทยุ
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปถนนวิทยุ
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา-บางปะกง แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท
ถนนเพลินจิต แยกซ้ายไปตามถนนวิทยุ แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔ แยกขวาไปตามถนนราชดำริ
แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี แยกขวาไปตามถนนวิทยุ จนสุดเส้นทางที่บริเวณถนนเพลินจิต
(แยกถนนวิทยุ)
จากถนนวิทยุไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากถนนเพลินจิต (แยกถนนวิทยุ) ไปตามถนนสุขุมวิท
แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-บางปะกง จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-สุขุมวิท
๓ (นานาเหนือ)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปสุขุมวิท
๓ (นานาเหนือ) เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา-บางปะกง
แยกขวาไปตามถนนสุขุมวิท ถนนเพลินจิต แยกขวาไปตามถนนราชดำริ แยกขวาไปตามถนนเพชรบุรี
แยกขวาไปตามซอยสุขุมวิท ๓ (นานาเหนือ) จนสุดเส้นทางที่สุขุมวิท ๓ (นานาเหนือ)
จากสุขุมวิท
๓ (นานาเหนือ) ไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เริ่มต้นจากปากซอยสุขุมวิท ๓ (นานาเหนือ)
ไปตามถนนสุขุมวิท แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-บางปะกง
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สายที่ AE ๔
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หัวลำโพง (ทางด่วน)
จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปหัวลำโพง
เริ่มต้นจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปตามถนนบางนา-บางปะกง ขึ้นทางด่วนที่ด่านบางนา
ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร ไปตามทางพิเศษศรีรัช ลงทางด่วนที่ด่านพหลโยธิน
ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปตามถนนพญาไท แยกขวาไปตามถนนพระราม ๔
จนสุดเส้นทางที่สถานีรถไฟหัวลำโพง
จากหัวลำโพงไปท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ไปตามถนนพระราม ๔ แยกซ้ายไปตามถนนพญาไท
ถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ขึ้นทางด่วนที่ด่านพหลโยธิน ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ลงทางด่วนที่ด่านบางนา ไปตามถนนบางนา-บางปะกง
จนสุดเส้นทางที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๖/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483784 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางฉบับที่ 1643 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๔๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ จำนวน ๓ เส้นทาง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๘๙
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-เมืองพัทยา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับบางพระ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๗ ถึงบ้านแหลมฉบังแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา
สายที่ ๓๙๐
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-ตลาดโรงเกลือ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงทางต่างระดับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านทางแยกอำเภอพนมสารคาม ถึงแยกเขาหินซ้อน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๗
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านอำเภอวัฒนานคร
อำเภออรัญประเทศไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดโรงเกลือ
สายที่ ๘๒๕
ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ-หนองคาย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน)
ถึงจังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านจังหวัดนครราชสีมา อำเภอพล อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดอุดรธานี
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองคาย
ประกาศ ณ วันที่ ๘
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483782 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1642 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศสายที่ 3 จังหวัดอุบลราชธานี-เมืองปากเซ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ
สายที่
๓ จังหวัดอุบลราชธานี-เมืองปากเซ[๑]
ด้วย คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารระหว่างประเทศ
สายที่ ๓ จังหวัดอุบลราชธานี-เมืองปากเซ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๓ จังหวัดอุบลราชธานี-เมืองปากเซ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑ (ถนนเลี่ยงเมือง) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๗ ผ่านอำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอสิรินธร ด่านช่องเม็ก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร
วี.ไอ.พี. ตลาดแลง หลักสอง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก
ประกาศ
ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๓/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483780 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1641 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 375 ฉะเชิงเทรา-บ้านบางขนาก-ปราจีนบุรี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๔๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๓๗๕ ฉะเชิงเทรา-บ้านบางขนาก-ปราจีนบุรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๘๙๔ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ
ณ วันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๓๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่
๓๗๕ ฉะเชิงเทรา-บ้านบางขนาก-ปราจีนบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๗๕ ฉะเชิงเทรา-บ้านบางขนาก-ปราจีนบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๓๗๕ ฉะเชิงเทรา-บ้านบางขนาก-ปราจีนบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๐ ผ่านวัดเกาะจันทร์
วัดโพรงอากาศ ถึงบ้านบางสายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๘๑ ผ่านบ้านคันสำโรง บ้านบางอ้อ
บ้านชีปะบาง บ้านบางขนาก บ้านบางแตน บ้านบางเตย บ้านบางกะเบา อำเภอบ้านสร้าง ถึงวัดหัวไผ่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๙๓ ผ่านบ้านบางพลวง โรงเรียนวัดเทวบุตร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๒/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483778 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1640 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 158 นครสวรรค์-ตาคลี (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่
๑๖๔๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด
๓ สายที่ ๑๕๘ นครสวรรค์-ตาคลี (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง ฉบับที่
๒๖๐ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๔ กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค)
หมวด ๓ สายที่ ๑๕๘ นครสวรรค์-ตาคลี (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๘ นครสวรรค์-ตาคลี
(ข) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑๕๘ นครสวรรค์-ตาคลี (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ถึงทางแยกเข้าอำเภอมโนรมย์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงทางแยกเข้าจังหวัดชัยนาท
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอตาคลี
ประกาศ
ณ วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์
สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๑/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483776 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางฉบับที่ 1639 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 612 เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๑๒
เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๒
เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๒
เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๑๒ เชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๗ ผ่านอำเภอแม่ริม ถึงบ้านแม่มาลัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๕ ผ่านอำเภอปาย บ้านแม่ละนา บ้านปางหมู
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๗๐/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483672 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1638 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 727 ภูเก็ต-เกาะสมุย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๒๗
ภูเก็ต-เกาะสมุย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๒๗
ภูเก็ต-เกาะสมุย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๒๗ ภูเก็ต-เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒ ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕
ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกบ้านปากลาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์
ถึงสามแยกบ้านเขาวัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน
ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงทางแยกบ้านหนองขรี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงอำเภอพุนพิน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ ถึงสามแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรืออำเภอเกาะสมุย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔ และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
ช่วงภูเก็ต-เกาะพะงัน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒
ผ่านอำเภอถลาง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕
ถึงอำเภอทับปุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงทางแยกบ้านปากลาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านเขาต่อ บ้านทับคริสต์
ถึงสามแยกบ้านเขาวัง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน
ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ถึงทางแยกบ้านหนองขรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงอำเภอพุนพิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์
ถึงสามแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก
ถึงท่าเรืออำเภอดอนสัก ลงเรือข้ามฟากไปขึ้นที่ท่าเรือ อำเภอเกาะพะงัน
ไปตามทางถนนสายท้องศาลา-บ้านใต้ และไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะพะงัน
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๖๘/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483670 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1637 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ 1005 บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์ เป็น เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 700 บางปะอิน-นวนคร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๕ บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์ เป็น
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๐๐ บางปะอิน-นวนคร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๐๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารในชนบท
(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) สายที่ ๑๐๐๕ บางปะอิน-ประตูน้ำพระอินทร์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๑๐๐๕ บางปะอิน-ประตูนํ้าพระอินทร์เป็น
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๐๐ บางปะอิน-นวนคร
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๐๐ บางปะอิน-นวนคร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางปะอิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘ (ถนนอุดมสรยุทธ) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางนวนคร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๖๗/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483668 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1636 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 768 พัทลุง-ระโนด
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๖๘
พัทลุง-ระโนด[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓
สายที่ ๗๖๘ พัทลุง-ระโนด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๖๘ พัทลุง-ระโนด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดพัทลุง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๗
ผ่านบ้านควนมะพร้าว บ้านแร่ ถึงบ้านลำปำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช.
พท. ๐๐๗ ผ่านบ้านลำปำ บ้านเตาปูน บ้านยางห้าต้น บ้านปากประเหนือ ผ่านโรงเรียนบ้านชายคลอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔๘ ถึงบ้านทะเลน้อย ย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. พท. ๔๐๐๗
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทสายไสกลิ้ง-หัวป่า ถังบ้านหัวป่า
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สข.๔๐๑๐ ผ่านบ้านปากบาง บ้านตะเครี๊ยะ
วัดศาลาธรรม์ บ้านโคกคราม บ้านคลองไผ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอระโนด
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๖๖/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483666 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1635 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 824 เลย-ระยอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๘๒๔
เลย-ระยอง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๑๗ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓
สายที่ ๘๒๔ เลย-ระยอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๘๒๔ เลย-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเลย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอวังสะพุง ทางแยกเข้าอำเภอภูกระดึง
ถึงบ้านโนนหัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงอำเภอชุมแพ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอภูเขียว อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ
บ้านหนองบัวโคก อำเภอด่านขุนทด อำเภอสีคิ้ว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านอำเภอปากช่อง ทางแยกอำเภอมวกเหล็ก ถึงอำเภอแก่งคอย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๒๒ ถึงบ้านบ้านนา
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ถึงอำเภอบ้านนา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕๑ ถึงแยกบางอ้อ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๕ ถึงอำเภอองครักษ์ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นย. ๓๐๐๑ ถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๐
ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ถึงแยกบางปะกง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา
อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง บ้านมาบตาพุด ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๖๕/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483664 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1634 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 95 กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๕
กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๕๙ (พ.ศ. ๒๕๑๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
กำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด
(เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร) หมวด ๒ สายที่ ๙๕ กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๙๕
กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข) โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๙๕
กรุงเทพฯ-นครสวรรค์ (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๖๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483662 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1633 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 2 สายที่ 12 กรุงเทพฯ-ลพบุรี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๑๒
กรุงเทพฯ-ลพบุรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๒๑๔ (พ.ศ. ๒๕๑๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๑๓
ยกเลิกและกำหนดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด (เฉพาะที่เริ่มต้นจากจังหวัดพระนคร)
หมวด ๒ สายที่ ๑๒ กรุงเทพฯ-ลพบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๑๒
กรุงเทพฯ-ลพบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๒ กรุงเทพฯ-ลพบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านอำเภอวังน้อย สี่แยกหินกอง จังหวัดสระบุรีไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลพบุรี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๖๓/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483660 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1632 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๖ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๙๑๘ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุบลราชธานี สายที่ ๑๔๕๕
อุบลราชธานี-พนา (ข) เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๒๙ อุบลราชธานี-พนา (ข)
ฉบับที่
๔๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๗๐
ขอนแก่น-บัวใหญ่
ฉบับที่
๓๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๗๗ กาฬสินธุ์-กระนวน
ฉบับที่
๔๒๖ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๐๖
ยโสธร-อำนาจเจริญ
ฉบับที่
๓๓๕ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๓๑ วงกลมลำนารายณ์-ปากช่อง
ฉบับที่
๘๗๙ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ประกาศ ณ วันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๗๙
นครราชสีมา-ละหานทราย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านทุ่งอรุณ-ครบุรี
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน ๖ เส้นทาง คือ สายที่ ๒๒๙ อุบลราชธานี-พนา (ข), สายที่ ๒๗๐
ขอนแก่น-บัวใหญ่ สายที่ ๒๗๗ กาฬสินธุ์-กระนวน, สายที่ ๕๐๖
ยโสธร-อำนาจเจริญ, สายที่ ๕๓๑ วงกลมลำนารายณ์-ปากช่อง
และสายที่ ๕๗๙ นครราชสีมา-ละหานทราย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๒๙ อุบลราชธานี-พนา
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม
บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก
บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ บ้านสร้างมิ่ง บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา บ้านหนองขุ่น
บ้านหลักชัย ถึงบ้านอำนาจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๔ ผ่านบ้านเปือย
บ้านเปือยหัวดง บ้านกุงชัย บ้านไร่ขี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพนา
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านแมด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ บ้านสร้างมิ่ง
บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา บ้านหนองขุ่น บ้านหลักชัย ถึงบ้านอำนาจ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๓๔ ถึงทางแยกบ้านยางช้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อจ. ๔๐๑๑ ผ่านบ้านยางช้า
บ้านหนองหิ้ง บ้านโคกเจริญ บ้านศาลา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแมด
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านปลาค้าว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา บ้านหนองขุ่น บ้านหลักชัย ถึงบ้านอำนาจ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๔ ผ่านบ้านเปือย บ้านเปือยหัวดง
ถึงบ้านกุงชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. อจ. ๓๐๐๖ ผ่านบ้านดงบัง
บ้านเหล่าฝ้าย บ้านดอนชี บ้านหนองน้ำเกลี้ยง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปลาค้าว
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านนาอุดม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา บ้านหนองขุ่น บ้านหลักชัย ถึงบ้านอำนาจ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓๔ ผ่านบ้านเปือย บ้านเปือยหัวดง บ้านกุงชัย
ถึงบ้านไร่ขี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดี บ้านฟ้าห่วน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาอุดม
สายที่ ๒๗๐ ขอนแก่น-บัวใหญ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอบ้านไผ่ อำเภอพล ถึงบ้านสีดา
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบัวใหญ่
ช่วงอำเภอพล-บ้านโนนเพ็ด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านบ้านท่าหลวง บ้านโนนข่า บ้านหัวนา บ้านโนนเพ็ก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นม. ๑๐๑๗ ผ่านบ้านโนนงิ้ว บ้านโคกสี บ้านโคกพระ บ้านหนองจันทร์สอน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนเพ็ด
ช่วงอำเภอพล-บ้านหนองช้างตาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านบ้านท่าหลวง บ้านโนนข่า บ้านหัวนา บ้านโนนเพ็ก บ้านหนองแวงโสกพระ
ถึงบ้านคึมมะอุ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๓๓๑ ผ่านบ้านคึมหญ้านาง
บ้านโนนภิบาล บ้านหนองคอกควาย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองช้างตาย
ช่วงอำเภอพล-บ้านแดงน้อย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านบ้านท่าหลวง บ้านโนนข่า บ้านหัวนา บ้านโนนเพ็ก บ้านหนองแวงโสกพระ บ้านคึมมะอุ
บ้านหนองผือ ถึงบ้านหนองแวง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นม. ๑๐๐๑
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. นม. ๒๘๑๐๑ ผ่านบ้านหนองหว้า ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแดงน้อย
ช่วงอำเภอพล-บ้านแฝก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอพล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
ผ่านบ้านท่าหลวง บ้านโนนข่า บ้านหัวนา บ้านโนนเพ็ก บ้านหนองแวงโสกพระ บ้านคึมมะอุ
บ้านหนองผือ บ้านหนองแวง บ้านเมืองสูง บ้านดอนโก่ย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแฝก
สายที่ ๒๗๗
กาฬสินธุ์-กระนวน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ ผ่านบ้านโคกศรี อำเภอยางตลาด
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ถึงบ้านฮ่องฮี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑๐ ผ่านบ้านแก บ้านกุดโดน อำเภอห้วยเม็ก
บ้านคำใหญ่ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน
ช่วงบ้านกุดโดน-บ้านโนนลาน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง บ้านกุดโดน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส.
๔๐๑๒ ผ่านบ้านหนองแวงดง บ้านหนองกุงไทย บ้านศรีสำราญ บ้านคำเจริญ บ้านหนองเสือ
บ้านห้วยเตย บ้านหนองแวง บ้านโคกแง้ บ้านนาแก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนลาน
ช่วงห้วยเม็ก-บ้านหนองหว้า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอห้วยเม็ก ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส.
๔๐๒๕ ผ่านบ้านพนมทอง ถึงบ้านหน่อคำ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๓๑๐๗ ถึงบ้านหัวดง
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. กส. ๓๒๐๕ ถึงบ้านเจริญสุข
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๘ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหว้า
ช่วงบ้านแก-บ้านกระบาก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแก ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๔๐๑๗
ถึงบ้านหนองแวงบ่อแก้ว ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสูงบ้านสร้างมิ่ง
ถึงบ้านหนองจาน ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๔๐๒๔ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกระบาก
สายที่ ๕๐๖
ยโสธร-อำนาจเจริญ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยโสธร
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒
ผ่านบ้านดอนมะยาง บ้านหนองแฝก บ้านสะเดา บ้านหนองคู บ้านนิคม บ้านเชียงเครือ
บ้านม่วงไข่ อำเภอป่าติ้ว บ้านหนองแสง บ้านนาดอกไม้ บ้านนายม บ้านนาห้วยยาง
บ้านสองคอน บ้านโพธิ์ศิลา บ้านทุ่งสว่าง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอำนาจเจริญ
ช่วงอำนาจเจริญ-หัวตะพาน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอำนาจเจริญ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒
ผ่านบ้านทุ่งสว่าง บ้านโพธิ์ศิลา บ้านสองคอน บ้านนาห้วยยาง บ้านนายม บ้านนาดอกไม้
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๐ ผ่านบ้านน้ำปลีก บ้านยางคำ บ้านโนนเมือง
บ้านคำพระ บ้านหนองขอน บ้านเสียว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหัวตะพาน
ช่วงอำนาจเจริญ-บ้านนาหมอม้า
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอำนาจเจริญ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๒ ผ่านบ้านทุ่งสว่าง บ้านโพธิ์ศิลา บ้านสองคอน บ้านนาห้วยยาง บ้านนายม
บ้านนาดอกไม้ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อจ. ๓๐๐๑
ผ่านบ้านหนองเรือสถานีประมงน้ำจืด จังหวัดอำนาจเจริญ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาหมอม้า
สายที่ ๕๓๑
วงกลมลำนารายณ์-ปากช่อง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านแยกบ้านบัวชุม ถึงบ้านใหม่ซับเจริญ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๗ ผ่านบ้านซับตะเคียน บ้านเขาน้อย
บ้านเหวตาบัว บ้านท่าพลู บ้านซับดินดำ บ้านลำสมพุง บ้านซับน้อยเหนือ บ้านลำพญากลาง
บ้านหนองไข่น้ำ บ้านป่าไผ่ บ้านซับม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๓
ผ่านบ้านหนองกะจะ บ้านหนองอีเหลอ บ้านหนองผักหนอก บ้านซับสนุ่น บ้านหนองมะค่า
บ้านหัวลำ บ้านคลองไทร บ้านบัวชุม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์
ช่วงปากช่อง-บ้านสอยดาว
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากช่อง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๗ ผ่านบ้านซับม่วง บ้านป่าไผ่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๐๑๗ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสอยดาว
ช่วงปากช่อง-บ้านหนองโป่ง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากช่อง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๗ ผ่านบ้านซับม่วง บ้านป่าไผ่
บ้านหนองไข่น้ำ บ้านลำพญากลาง
ถึงบ้านซับน้อยเหนือแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๒๔
ผ่านบ้านหนองตอตะเคียนไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองโป่ง
ช่วงปากช่อง-บ้านโป่งไทร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากช่อง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๗ ผ่านบ้านซับม่วง บ้านป่าไผ่
บ้านหนองไข่น้ำ บ้านลำพญากลาง บ้านซับน้อยเหนือ บ้านลำสม พุงแยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านลำน้ำอ้อย บ้านเขาช่องลม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโป่งไทร
ช่วงปากช่อง-บ้านลำทองหลาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากช่อง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔๓ ผ่านบ้านหนองกะจะ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านลำทองหลาง
สายที่ ๕๗๙
นครราชสีมา-ละหานทราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ผ่านบ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย บ้านดอนไพล
บ้านดอนเกตุ บ้านโคกสะอาด บ้านนาราก บ้านดอนกรูด อำเภอครบุรี บ้านโคกกรวด บ้านหนองสะแก
บ้านหนองตะแบก บ้านหนองบัว บ้านสระประทีป อำเภอเสิงสาง บ้านโคกเตาเหล็ก
บ้านกุดโบสถ์ บ้านโคกโจด บ้านหินโคนดง บ้านเทพพัฒนา บ้านหนองน้ำขุ่น บ้านโคกปราสาท
อำเภอปะคำ บ้านหนองกี่ บ้านโคกสะอาด บ้านโนนเพชร ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอละหานทราย
ช่วงนครราชสีมา-บ้านทุ่งอรุณ-ครบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔
ผ่านบ้านด่านเกวียน อำเภอโชคชัย ถึงบ้านดอนไพล แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ.
นม. ๐๗๒๐๘ ผ่านบ้านปอพราน บ้านโกรกน้ำใส บ้านทุ่งอรุณ บ้านโนนปอแดง บ้านหนองปรึก
บ้านวังตะแบก บ้านดอนเกตุ ถึงบ้านหนองทองคำ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. นม.
๐๗๓๐๖ ถึงบ้านโคกสะอาด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๔ ผ้านบ้านนาราก
บ้านดอนกรูด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอครบุรี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๕๖/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483658 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1631 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 324 อ่างทอง-วัดพิกุลทอง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๒๔
อ่างทอง-วัดพิกุลทอง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๓
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดอ่างทอง สายที่ ๒๑๔๘ อ่างทอง-วัดไชโย เป็น หมวด ๓ สายที่ ๓๒๔
อ่างทอง-วัดพิกุลทอง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๔
อ่างทอง-วัดพิกุลทอง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๒๔
อ่างทอง-วัดพิกุลทอง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดอ่างทอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ผ่านวัดเจ้าบุญเกิด วัดเทวราช วัดดอนกระต่าย
แยกขวาไปตามทางเข้าวัดไชโย ถึงวัดไชโย แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙ ถึงทางแยกกระทุ่มโพรง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สห. ๓๐๐๘) ผ่านโครงการยางมณี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางวัดพิกุลทอง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๕๕/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483656 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1630 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 102 สระบุรี-ปราจีนบุรี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๐๒
สระบุรี-ปราจีนบุรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๗๙๐ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๒
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง หมวด ๓ สายที่ ๑๐๒
สระบุรี-นครนายก เป็น สระบุรี-ปราจีนบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๐๒
สระบุรี-ปราจีนบุรี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๒
สระบุรี-ปราจีนบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสระบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ถึงแยกหินกอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ (ถนนสุวรรณศร) ผ่านอำเภอวิหารแดง บ้านนา
นครนายก อำเภอปากพลี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดปราจีนบุรี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๕๔/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483654 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1629 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 284 โกสุมพิสัย-ทางแยกบ้านโนนตุ่น
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๘๔
โกสุมพิสัย-ทางแยกบ้านโนนตุ่น[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๙๔๕ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๒๘๔
โกสุมพิสัย-ทางแยกบ้านโนนตุ่น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๔
โกสุมพิสัย-ทางแยกบ้านโนนตุ่น โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๘๔
โกสุมพิสัย-ทางแยกบ้านโนนตุ่น
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๘ ผ่านบ้านโชคชัย บ้านหนองบอน บ้านแพง
ถึงทางแยกบ้านสองคอน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข มค. ๓๐๒๘ ถึงบ้านสองคอน
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. มค.๒๐๒๘ ผ่านบ้านโพนงาม บ้านดอนน้อย บ้านม่วงใหญ่
ถึงบ้านดอนจำปา ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบจ. มค. ๒๐๓๒ ถึงบ้านโคกกลาง
ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนตุ่น ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกบ้านโนนตุ่น
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๕๓/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483652 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1628 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 222 อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๒๒
อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๓๐๔ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๒๒
อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ โดยขอยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๔ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๒๒
อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๒๒
อุบลราชธานี-อำนาจเจริญ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒ ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม
บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก
บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ บ้านสร้างมิ่ง บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา บ้านหนองขุ่น
บ้านหลักชัย บ้านอำนาจ บ้านโคกกลาง บ้านเหล่าน้อย บ้านเหล่ามันแกว บ้านหนองคลอง
บ้านโคกศรีบุญเรือง บ้านบ่อบุ บ้านไก่คำ บ้านโคกจั๊กจั่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอำนาจเจริญ
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านท่าลาด
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา ถึงอำเภอม่วงสามสิบ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านสวนงัว บ้านหนองเมือง บ้านหนองไผ่ ถึงบ้านบัวยาง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าลาด
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านดุมใหญ่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา ถึงอำเภอม่วงสามสิบ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านสวนงัว บ้านหนองเมือง บ้านหนองไผ่ บ้านบัวยาง บ้านดงยาง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดุมใหญ่
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านผักระย่า
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ ถึงบ้านสร้างมิ่ง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๔๑๖๙ ผ่านบ้านหนองผำ บ้านน้ำอ้อม ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านผักระย่า
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านหนองแสง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง ถึงบ้านศรีสวาท แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแสง
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านหนองยอ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง ถึงบ้านศรีสวาท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๕๐๓๔
ถึงบ้านยางโยภาพ ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนรังใหญ่ ถึงทางแยกบ้านผือ
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อจ. ๔๐๐๓ ผ่านบ้านผือ บ้านดู่ใน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองยอ
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านทุ่งมณี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง ถึงบ้านศรีสวาท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๕๐๓๔
ถึงบ้านยางโยภาพ ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนรังใหญ่ ถึงบ้านนาเลิง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่งมณี
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านดอนส้มป่อย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง ถึงบ้านศรีสวาท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อบ. ๕๐๓๔
ถึงบ้านยางโยภาพ ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนรังใหญ่ ถึงบ้านนาเลิง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองบัว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดอนส้มป่อย
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านหนองหลัก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน บ้านหัวเรือ
บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ บ้านสร้างมิ่ง
บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา ถึงบ้านหนองขุ่น แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหลัก
ช่วงอุบลราชธานี-บ้านจิกดู่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุบลราชธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๒
ผ่านบ้านดอนกลาง บ้านด้ามพร้า บ้านห้วยคุ้ม บ้านหนองมะนาว บ้านหนองก่าน
บ้านหัวเรือ บ้านหนองแต้ บ้านสมบูรณ์ บ้านหนองแฝก บ้านเทพา อำเภอม่วงสามสิบ
บ้านสร้างมิ่ง บ้านศรีสวาท บ้านโนนสีมา ถึงบ้านหนองขุ่น
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อจ. ๓๐๐๙ ผ่านบ้านโนนรังน้อย บ้านไผ่ใหญ่
บ้านหนองมะทอ บ้านโพนขวาว ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านจิกดู่
ประกาศ ณ วันที่ ๑๐
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๓ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๔๙/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483650 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ 3)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
(ฉบับที่ ๓)[๑]
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศเรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ และ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการทำงานของประตูทางขึ้นลงที่ใช้กลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าว
ยังไม่ครอบคลุมถึงระบบการทำงานอื่นซึ่งมีความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารเช่นเดียวกัน
จึงสมควรแก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบการทำงานของประตูทางขึ้นลงสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารให้ครอบคลุมและเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฌ) และข้อ ๑๐ (๒) (ช) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ.
๒๕๒๔) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๕/๑
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ลงวันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร (ฉบับที่ ๒)
ลงวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๕/๑
บานประตูทางขึ้นลงสำหรับผู้โดยสารของรถตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔
ที่ใช้กลไกควบคุมการปิดเปิดโดยอัตโนมัติ จะต้องมีระบบการทำงานที่สามารถควบคุมให้บานประตูที่กำลังปิดหากกระทบถูกผู้โดยสารหรือสิ่งกีดขวาง
บานประตูต้องเปิดออกโดยอัตโนมัติ
หรือระบบการทำงานอื่นที่มีความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
และต้องมีสัญญาณไฟกระพริบสีแดงพร้อมทั้งสัญญาณเสียงเตือนแสดงการปิดเปิดของบานประตูบริเวณประตูทางขึ้นลงภายในตัวรถ
และบริเวณที่ผู้ขับรถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่บานประตูมีระบบการทำงานตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีอุปกรณ์ที่สามารถทำให้บานประตูเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกตัวรถโดยสะดวกในกรณีฉุกเฉิน
แม้ในขณะที่ระบบดังกล่าวจะทำงานหรือไม่ก็ตาม
ข้อ
๒ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารตามข้อ
๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ ที่จดทะเบียนไว้แล้วก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ให้ผู้ประกอบการขนส่งหรือเจ้าของรถทำการปรับปรุงแก้ไขประตูปิดเปิด
ให้เป็นไปตามประกาศนี้ภายในวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๓๘/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
483648 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
ประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ (๒) (ฌ) และข้อ ๑๐ (๒) (ช) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกประกาศกำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่จะบังคับให้มีประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉิน
จำนวน
ขนาดและตำแหน่งประตูทางขึ้นลงและประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารไว้
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง ประตูฉุกเฉินสำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร ฉบับลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม
๒๕๒๙
บรรดาประกาศ
ระเบียบ ข้อบังคับและคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในประกาศนี้
หรือซึ่งขัดแย้งกับประกาศนี้ ให้ใช้ประกาศนี้แทน
ข้อ
๒
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๑ (ก) มาตรฐาน ๑ (ข) มาตรฐาน ๒ (ก) มาตรฐาน
๒ (ข) มาตรฐาน ๒ (ค) มาตรฐาน ๒ (ง) มาตรฐาน ๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) มาตรฐาน ๕ (ก)
และมาตรฐาน ๕ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู
และต้องมีประตูฉุกเฉินอย่างน้อย ๑ ประตู
ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๓ (ก) มาตรฐาน ๓ (ข) และมาตรฐาน ๕ (ข) ที่มีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู
จะมีประตูฉุกเฉินตามวรรคหนึ่งหรือไม่ก็ได้
ข้อ
๓
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน ๔ (ก) มาตรฐาน ๔ (ข) มาตรฐาน ๔ (ค)
มาตรฐาน ๔ (ง) มาตรฐาน ๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ)
ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู
และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ชั้นบนอย่างน้อย ๑ ประตู และที่ชั้นล่างอย่างน้อย ๑ ประตู
ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (จ) และมาตรฐาน ๔ (ฉ) ที่ชั้นล่างมีประตูทางขึ้นลง ๒ ประตู
ชั้นล่างจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้
ข้อ
๔ รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๖ (ก) และมาตรฐาน ๖ (ข) ต้องมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู
แต่ไม่เกิน ๒ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู แต่ไม่เกิน ๒ ประตู
และต้องมีประตูฉุกเฉินที่ตอนหน้าอย่างน้อย ๑ ประตู ที่ตอนท้ายอย่างน้อย ๑ ประตู
ในกรณีรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๖ (ข) มีประตูทางขึ้นลงที่ตอนหน้า ๒ ประตูที่ตอนหน้าจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้
และในกรณีมีประตูทางขึ้นลงที่ตอนท้าย ๒ ประตู
ที่ตอนท้ายจะมีประตูฉุกเฉินหรือไม่ก็ได้
ข้อ
๕
ประตูทางขึ้นลงต้องมีขนาดทางขึ้นลงกว้างไม่น้อยกว่า ๕๐ เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า
๑.๖๐ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่า
ต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร
สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประเภทการขนส่งประจำทางในเส้นทางหมวด
๑ ประตูทางขึ้นลงต้องมีขนาดทางขึ้นลงกว้างไม่น้อยกว่า ๗๐ เซนติเมตร สูงไม่น้อยกว่า
๑.๘๐ เมตร อยู่ที่ด้านซ้ายของตัวรถ
และความสูงของพื้นบันไดขั้นต่ำสุดในขณะรถเปล่าต้องอยู่สูงจากพื้นผิวทางไม่เกิน ๔๕
เซนติเมตร
ข้อ
๖
ประตูฉุกเฉินต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า ๔๐ × ๑๒๐
เซนติเมตร อยู่ที่ด้านขวากลางตัวรถหรือค่อนไปทางท้ายหรือด้านท้ายรถ
โดยจะมีบานประตูปิดเปิด
หรือบานปิดเปิดชนิดอื่นใดที่สามารถเปิดออกได้เต็มส่วนกว้างและส่วนสูง
เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ในกรณีที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของประตูฉุกเฉินอยู่เหนือล้อหลังขวา
ส่วนล่างของประตู ณ ที่ระดับความสูงไม่เกิน ๔๕ เซนติเมตร โดยเริ่มวัดจากพื้นรถจะมีความกว้างของทางออกน้อยกว่า
๔๐ เซนติเมตร แต่ไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ก็ได้
ประตูฉุกเฉินตามวรรคหนึ่ง
จะอยู่บนหลังคารถก็ได้
ข้อ
๗ ประตูฉุกเฉินต้องติดตั้ง ณ
บริเวณในห้องโดยสารและต้องเปิดออกได้ทั้งจากภายในและภายนอกโดยไม่ต้องใช้กุญแจ
หรือเครื่องมืออื่นใด โดยผู้โดยสารสามารถออกได้สะดวก เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
และต้องไม่มีสิ่งที่ติดตั้งถาวรซึ่งกีดขวางทางออก
ประตูฉุกเฉินหรือบริเวณใกล้เคียงต้องมีเครื่องหมายข้อความว่า
ประตูฉุกเฉิน
พร้อมด้วยคำอธิบายหรือสัญลักษณ์แสดงวิธีเปิดเป็นภาษาไทยทั้งด้านในและด้านนอกตัวรถ
ณ ตำแหน่งที่เห็นชัดเจน
ข้อ
๘
ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่รถที่จดทะเบียนไว้ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
ยกเว้นรถที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวถังใหม่ภายหลังประกาศนี้ใช้บังคับ
ข้อ
๙
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๖ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖
ศรีพร คำหมาย
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๒ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๗ ง/หน้า ๓๕/๑๖ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482207 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ ฉบับที่ 80 (พ.ศ. 2549) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ 8 วงกลมหมู่บ้านหิมพานต์-สี่แยกศรีไกรลาศ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๘๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์
สายที่ ๘ วงกลมหมู่บ้านหิมพานต์-สี่แยกศรีไกรลาศ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๕) ลงวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๔๕
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๘
วงกลมหมู่บ้านหิมพานต์-สี่แยกศรีไกรลาศขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครสวรรค์ ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๖/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดนครสวรรค์ สายที่ ๘ วงกลมหมู่บ้านหิมพานต์-สี่แยกศรีไกรลาศ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘
วงกลมหมู่บ้านหิมพานต์-สี่แยกศรีไกรลาศ
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านหิมพานต์ ไปตามถนนหิมพานต์ ผ่านหมู่บ้านย่งอัน
แยกขวาไปตามถนนย่งอัน แยกซ้ายไปตามถนนวงษ์สวรรค์ แยกซ้ายไปตามถนนลูกเสือ
แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี แยกขวาไปตามถนนมาตุลี ถึงสี่แยกศรีไกรลาศ
แยกขวาไปตามถนนโกสีย์ แยกขวาไปตามถนนลูกเสือ แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี
แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน ถึงสะพานเดชาติวงศ์ กลับรถไปตามถนนพหลโยธิน
ถึงสามแยกอุทยานสวรรค์ กลับรถไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนวงษ์สวรรค์
แยกซ้ายไปตามถนนเทศบาล แยกซ้ายไปตามถนนหิมพานต์ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านหิมพานต์
เที่ยววนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านหิมพานต์ ไปตามถนนหิมพานต์
แยกขวาไปตามถนนเทศบาล แยกขวาไปตามถนนวงษ์สวรรค์ แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนสวรรค์วิถี
แยกขวาไปตามถนนมาตุลี ถึงสี่แยกศรีไกรลาศ แยกขวาไปตามถนนโกสีย์ แยกขวาไปตามถนนลูกเสือ
แยกขวาไปตามถนนวงษ์สวรรค์ แยกขวาไปตามถนนย่งอัน แยกซ้ายไปตามถนนหิมพานต์
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านหิมพานต์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
วิทยา ผิวผ่อง
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๓๖/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482202 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1627 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 338 รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๓๘
รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๘
รังสิต-ประตูน้ำพระอินทร์ เป็น รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อยนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๓๘
รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อย โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๓๘
รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อย
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านสี่แยกบางขัน สถาบัน เอ.ไอ.ที.
หมู่บ้านนวนคร สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ผ่านประตูน้ำพระอินทร์
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘
ไปสุดเส้นทางที่โรงเรียนเชียงรากน้อย แล้ววนรถกลับ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากโรงเรียนเชียงรากน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ผ่านสะพานต่างระดับ
(ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ บรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ หมู่บ้านนวนคร สถาบัน
เอ.ไอ.ที. สี่แยกบางขัน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๖ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางรังสิต
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๓๔/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482197 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1626 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 283 บ้านไผ่-แก้งคร้อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มจำนวน 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓
บ้านไผ่-แก้งคร้อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่ม
จำนวน ๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๗๗ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓
บ้านไผ่-แก้งคร้อ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙ เมื่อวันที่
๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๘๓ บ้านไผ่-แก้งคร้อ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่ม จำนวน ๒
ช่วง คือ ช่วงมัญจาคีรี-บ้านหัวห้วย และช่วงมัญจาคีรี-บ้านนายาว
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๘๓
บ้านไผ่-แก้งคร้อ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙ ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ
อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น
บ้านหนองม่วง อำเภอมัญจาคีรี บ้านโสกนาดี บ้านนาจาน ถึงทางแยกบ้านช่องสามหมอ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอแก้งคร้อ
ช่วงบ้านไผ่-บ้านหนองแปน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙
ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด
บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น บ้านหนองม่วง
ถึงอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก
ถึงทางแยกบ้านป่าผุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านนาจาน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแปน
ช่วงบ้านไผ่-บ้านหัวช้าง-บ้านหนองแปน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙
ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ อำเภอชนบท บ้านท่านางเลื่อน บ้านโจด
บ้านโนนขี้เหล็ก วิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีขอนแก่น บ้านหนองม่วงถึงอำเภอมัญจาคีรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก ถึงทางแยกบ้านป่าผุ
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๐๘ ผ่านบ้านนาจาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านดอนพันชาติ บ้านหัวช้าง บ้านหนองบัว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองแปน
ช่วงบ้านไผ่-บ้านกุดหมากเห็บ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอบ้านไผ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๙
ผ่านบ้านโนนข่า บ้านเมืองเพีย บ้านโนนสุขใจ ถึงอำเภอชนบท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ถึงทางแยกไปบ้านโนนสมบูรณ์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหูลิง
บ้านโนนข่า ถึงบ้านหนองยายเกลี้ยง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกุดหมากเห็บ
ช่วงมัญจาคีรี-บ้านโนนสำนัก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๖๒ ผ่านบ้านสวนหม่อน บ้านกอก ถึงทางแยกบ้านป่าผุ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ขก. ๔๐๐๘ ถึงบ้านนาจาน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสำนัก
ช่วงมัญจาคีรี-บ้านหัวห้วย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๙ ถึงบ้านหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหัวฝาย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวห้วย
ช่วงมัญจาคีรี-บ้านนายาว
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอมัญจาคีรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๙ ถึงแยกบ้านสงแดง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านสงแดง บ้านหนองหวาย
บ้านหนองแก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนายาว
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๓๒/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482187 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1625 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 659 เชียงใหม่-ระยองให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเชียงใหม่-ตาก-ระยอง (มอเตอร์เวย์) และสายที่ 660 ระยอง-แม่สาย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย (มอเตอร์เวย์)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๕๙
เชียงใหม่-ระยอง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเชียงใหม่-ตาก-ระยอง
(มอเตอร์เวย์)
และสายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยก
ช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย
(มอเตอร์เวย์)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๕๙ เชียงใหม่-ระยอง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงเชียงใหม่-ระยอง (มอเตอร์เวย์) และสายที่ ๖๖๐
ระยอง-แม่สาย ให้มีเส้นทางแยกช่วงระยอง-แม่สาย (มอเตอร์เวย์) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๙
เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๔๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๕๙ เชียงใหม่-ระยอง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเชียงใหม่-ตาก-ระยอง (มอเตอร์เวย์) และสายที่ ๖๖๐
ระยอง-แม่สาย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย (มอเตอร์เวย์)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๕๙ เชียงใหม่-ระยอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง ถึงบ้านปางเคาะ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย ถึงสามแยกทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๔๕ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงอำเภอวังทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดลพบุรี
สระบุรี ถึงสี่แยกหินกอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓ ผ่านจังหวัดนครนายก
ถึงสี่แยกศาลสมเด็จพระนเรศวร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ถึงจังหวัดปราจีนบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔ ผ่านอำเภอพนมสารคาม
ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง แยกขวาไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ
อำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงเชียงใหม่-ระยอง
(มอเตอร์เวย์) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง ถึงบ้านปางเคาะ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ผ่านอำเภอเด่นชัย ถึงสามแยกทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายลเข ๑๑
ถึงบ้านวังสีสูบ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงประตูน้ำพระอินทร์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
[ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่)] แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง แยกขวาไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ
อำเภอบ้านฉาง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ช่วงเชียงใหม่-ตาก-ระยอง
(มอเตอร์เวย์) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดตาก
จังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ถึงประตูน้ำพระอินทร์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ [ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่)] แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
ผ่านจังหวัดชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง แยกขวาไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ อำเภอบ้านฉาง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
สายที่ ๖๖๐ ระยอง-แม่สาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๔ ถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ ถึงจังหวัดปราจีนบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐ ถึงสี่แยกศาลสมเด็จพระนเรศวร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓ ผ่านจังหวัดนครนายก ถึงสี่แยกหินกอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี
ลพบุรี ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย
ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก
กลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ถึงแยกอำเภอร้องกวาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ถึงจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย
ช่วงระยอง-แม่สาย
(มอเตอร์เวย์) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
[ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่)] แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงประตูน้ำพระอินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงจังหวัดพิษณุโลก แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ถึงแยกอำเภอร้องกวาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ถึงจังหวัดเชียงราย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย
ช่วงระยอง-ตาก-แม่สาย
(มอเตอร์เวย์) เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดระยอง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอสัตหีบ แยกซ้ายไปถึงเมืองพัทยา
กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านอำเภอบางละมุง
อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
[ถนนกรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่)] แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๙
(ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงประตูน้ำพระอินทร์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ผ่านจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดตาก จังหวัดลำปาง ถึงอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ถึงจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๘/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482182 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1624 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 616 นครสวรรค์-เพชรบูรณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๑๖
นครสวรรค์-เพชรบูรณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๕๒๔) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๖
นครสวรรค์-เพชรบูรณ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๑๖
นครสวรรค์-เพชรบูรณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๑๖
นครสวรรค์-เพชรบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๗ ถึงบ้านหัวบึง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๖๗ ถึงอำเภอบางมูลนาก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑๘ ถึงอำเภอตะพานหิน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ถึงบ้านวังชมพู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเพชรบูรณ์
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๗/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482177 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1623 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 627 นครสวรรค์-ตะพานหิน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๖๒๗
นครสวรรค์-ตะพานหิน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๖๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๒๗
นครสวรรค์-ตะพานหิน นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๔๐ ตะพานหิน-ชุมแพ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๒๗
นครสวรรค์-ตะพานหิน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕
ถึงอำเภอชุมแสง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๑๘ ถึงอำเภอบางมูลนาก
แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙๙ ผ่านบ้านหอไกร บ้านวังน้ำเต้า ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอตะพานหิน
ประกาศ ณ วันที่ ๓
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๖/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482172 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1622 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 121 นครสวรรค์-นครราชสีมา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๒๑
นครสวรรค์-นครราชสีมา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๓ (พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศ ณ วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๐๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถยนต์โดยสารระหว่างจังหวัด
(เฉพาะจังหวัดในส่วนภูมิภาค) หมวด ๓ สายที่ ๑๒๑ นครสวรรค์-นครราชสีมา นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๒๑
นครสวรรค์-นครราชสีมา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๒๑
นครสวรรค์-นครราชสีมา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครสวรรค์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ (ถนนพหลโยธิน) ผ่านอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดชัยนาท
อำเภอตาคลี อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี ถึงแยกถนนมิตรภาพ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ผ่านอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว
อำเภอสูงเนิน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๕/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482168 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1621 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 714 หาดใหญ่-สุไหงโกลกให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๑ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๑๔
หาดใหญ่-สุไหงโกลก
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๗๘ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๑๔
หาดใหญ่-สุไหงโกลก นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๗๑๔ หาดใหญ่-สุไหงโกลก
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๑๔
หาดใหญ่-สุไหงโกลก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงบ้านคลองหวะ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๓ ผ่านอำเภอจะนะ ถึงสามแยกดอนยาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒
ผ่านจังหวัดปัตตานี อำเภอสายบุรี จังหวัดนราธิวาส ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๘๔ ถึงอำเภอตากใบ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๕๗
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุไหงโกลก
ช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุไหงโกลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๕๗ ถึงอำเภอตากใบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๔ ถึงจังหวัดนราธิวาส
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ ผ่านอำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ ถึงบ้านต้นไทร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๘ ถึงบ้านตาโล๊ะเดอรามัน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๖๐ ผ่านอำเภอกะพ้อ ถึงบ้านตะโละหะลอ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖๖
ผ่านอำเภอรามัน ผ่านบ้านโกตาบารู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖๓ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยะลา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๓/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482161 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1620 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 457 ปัตตานี-สุไหงโกลกให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๔๕๗
ปัตตานี-สุไหงโกลก
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๕๗ ปัตตานี-นราธิวาส
เป็น ปัตตานี-สุไหงโกลก นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๔๕๗ ปัตตานี-สุไหงโกลก
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๔๕๗
ปัตตานี-สุไหงโกลก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดปัตตานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ ผ่านอำเภอยะหริ่ง อำเภอสายบุรี อำเภอบาเจาะ
อำเภอยี่งอ ถึงจังหวัดนราธิวาส ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๔ ถึงอำเภอตากใบ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๕๗ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุไหงโกลก
ช่วงสายบุรี-สนามบินบ้านทอน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสายบุรีไ ปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ผ่านสะพานกอตอ แยกซ้ายไปตามถนนอำเภอไม้แก่น ผ่านอำเภอไม้แก่น บ้านทอน ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสนามบินบ้านทอน
ช่วงสุไหงโกลก-ยะลา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสุไหงโกลก ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๕๗ ถึงอำเภอตากใบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๔ ถึงจังหวัดนราธิวาส
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒ ผ่านอำเภอยี่งอ อำเภอบาเจาะ อำเภอสายบุรี
ถึงแยกกลาพอ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗๔ ผ่านบ้านกะลูแป บ้านมะกอ
บ้านจะมือรำ ถึงบ้านปาแดปาลัส แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๙๒
ถึงสามแยกบ้านน้ำดำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗๑ ผ่านอำเภอทุ่งยางแดง
บ้านแลแวะ บ้านวังพญา ถึงบ้านโต๊ะปาเก๊ะ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘๒
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดยะลา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๒๑/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482157 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1619 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 248 โนนสัง-บ้านหนองวัวซอให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโนนสัง-บ้านโสกก้านเหลือง-บ้านหนองวัวซอ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๔๘
โนนสัง-บ้านหนองวัวซอ
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโนนสัง-บ้านโสกก้านเหลือง-บ้านหนองวัวซอ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๙๑๗ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๓๗๕
โนนสัง-บ้านหนองวัวซอ เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๔๘ โนนสัง-บ้านหนองวัวซอ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๘
โนนสัง-บ้านหนองวัวซอ
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโนนสัง-บ้านโสกก้านเหลือง-บ้านหนองวัวซอ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๔๘
โนนสัง-บ้านหนองวัวซอ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสัง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านโนนศิลา บ้านโสกจาน ถึงบ้านโคกป่ากุง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท หมายเลข นภ. ๔๐๑๓ ผ่านบ้านค้อ ถึงบ้านหนองนกเขียน
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นภ. ๓๐๔๑ ผ่านบ้านหนองแวง ถึงบ้านโสกแคน
ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนิคมศรีวิไล บ้านหนองบัวเงิน ข้ามเทือกเขาภูพานคำ
ผ่านบ้านโคกผักหอม บ้านนาล้อม ถึงบ้านอูบมุง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓๑๕ ผ่านอำเภอหนองวัวซอ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองวัวซอ
ช่วงโนนสัง-บ้านโสกก้านเหลือง-บ้านหนองวัวซอ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสัง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๔๖ ผ่านบ้านโนนศิลา บ้านโสกจาน บ้านหัวขัว บ้านกุดดู่ ถึงบ้านโสกก้านเหลือง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นภ. ๓๐๔๓ ผ่านบ้านนิคมหนองจาน
ข้ามเทือกเขาภูพานคำ ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโคกผักหอม บ้านนาล้อม ถึงบ้านอูบมุง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๑๕ ผ่านอำเภอหนองวัวซอ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองวัวซอ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๙/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482151 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1618 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 243 อุดรธานี-โนนสังโดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๘ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๔๓
อุดรธานี-โนนสัง
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๒๘๙ (พ.ศ. ๒๕๔๔) ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสัง
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโนนสัง-บ้านหนองเล้าข้าว เพิ่มขึ้นอีก ๑ ช่วง
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๗/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสัง
โดยยกเลิกรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านดอนนาดี
และช่วงโนนสัง-บ้านหนองเล้าข้าว และให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๔๓ อุดรธานี-โนนสัง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านปากดง บ้านหนองวัวซอ บ้านโนนทัน
บ้านห้วยเดื่อ ถึงจังหวัดหนองบัวลำภู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม บ้านนามะเฟือง บ้านเนินสูง
บ้านกุดดู่ บ้านโสกจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสัง
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านทรายงาม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม ทางแยกบ้านดอนนาดี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
(ยธ. สายบ้านข้องโป้) ผ่านบ้านโนนหวาย ถึงบ้านข้องโป้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านทางแยกบ้านค้อ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทรายงาม
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโนนสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๘
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔๖ ผ่านบ้านขาม ทางแยกบ้านดอนนาดี
ทางแยกบ้านข้องโป้ บ้านนามะเฟือง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสมบูรณ์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๗/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482147 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1617 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 140 ตะพานหิน-ชุมแพ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๔๐
ตะพานหิน-ชุมแพ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๕๐๒ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๑๘
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางหมวด ๓ สายที่ ๑๔๐
ตะพานหิน-หล่มสัก เป็น ตะพานหิน-ชุมแพ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๔๐
ตะพานหิน-ชุมแพ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๔๐ ตะพานหิน-ชุมแพ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอตะพานหิน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓ ผ่านบ้านเขาทราย อำเภอชนแดน ถึงบ้านวังชมพู
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ถึงอำเภอหล่มสัก
กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านบ้านโนนหัน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอชุมแพ
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๖/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482142 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1616 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1009 ตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงจำนวน 5 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๖ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
สายที่ ๑๐๐๙ ตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน)
เป็น
ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๕ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ ในเขตกรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙
ตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) ให้มีเส้นทางแยกช่วงเพิ่มขึ้นอีก ๑
ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๐๐๙
ตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) เป็น ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๕ ช่วง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๐๐๙
ตลาดยิ่งเจริญ-วัดแป้นทองโสภาราม
เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ
ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง
แยกขวาไปตามถนนสายไหม ผ่านตลาดวงศกร ไปตามถนนหทัยราษฎร์ แยกขวาไปตามซอยวัดแป้นทอง
ผ่านโรงเรียนขุมทองวิทยา โรงเรียนวัดแป้นทองโสภาราม
จนสุดเส้นทางที่วัดแป้นทองโสภาราม
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดอยู่ดีบำรุงธรรม
(วัดออเงิน) เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน
๕๔/๑ ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕
แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน จนสุดเส้นทางที่วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน)
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่มสิน-ตลาดวงศกร
เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑
ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านโรงเรียนศิริวัฒน์วิทยา
วัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน) แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ๕
จนสุดเส้นทางที่ตลาดวงศกร
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-วัดเกาะสุวรรณาราม-วัดพรพระร่วงประสิทธิ์
เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑
แยกขวาไปตามซอยวัดเกาะสุวรรณาราม ผ่านวัดเกาะสุวรรณาราม โรงเรียนวัดเกาะสุวรรณาราม
หมู่บ้านเพชรไพลิน แยกซ้ายไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดอยู่ดีบำรุงธรรม (วัดออเงิน)
แยกขวาไปตามถนนสุขาภิบาล ๕ จนสุดเส้นทางที่วัดพรพระร่วงประสิทธิ์
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนเพิ่มสิน-โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน
เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามซอยพหลโยธิน ๕๔/๑
ถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนเพิ่มสิน ผ่านวัดลุ่มเจริญศรัทธาธรรม
แยกขวาไปตามถนนวัชรพล ผ่านโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๗๕
จนสุดเส้นทางที่โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางเขน
ช่วงตลาดยิ่งเจริญ-ถนนจันทรุเบกษา-ตลาดวงศกร
เริ่มต้นจากตลาดยิ่งเจริญ ไปตามถนนพหลโยธิน แยกขวาไปตามถนนจันทรุเบกษา
แยกซ้ายไปตามถนนเลียบคลองสอง แยกขวาไปตามถนนสายไหม จนสุดเส้นทางที่ตลาดวงศกร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๔/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482135 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1615 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 138 เพชรบูรณ์-สระบุรี เป็น หล่มสัก-พัทยา
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘
เพชรบูรณ์-สระบุรี เป็น หล่มสัก-พัทยา[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๔๔๕ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘
เพชรบูรณ์-หนองไผ่-ลำนารายณ์ เป็น เพชรบูรณ์-สระบุรี นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๓๘ เพชรบูรณ์-สระบุรี
เป็น หล่มสัก-พัทยา โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๓๘ หล่มสัก-พัทยา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหล่มสัก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้านสามแยกวังชมภู
บ้านนาเฉลียง อำเภอหนองไผ่ บ้านราหุล อำเภอบึงสามพัน (ตลาดซับสมอทอด)
บ้านสามแยกวิเชียรบุรี บ้านพุเตย อำเภอศรีเทพ อำเภอชัยบาดาล บ้านม่วงค่อม ถึงแยกพุแค
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอหนองแค อำเภอวังน้อย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๙ (ถนนวงแหวนรอบนอกฝั่งตะวันออก) แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗
ถึงทางต่างระดับบางพระ แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๗ ถึงแหลมฉบัง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ ผ่านนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อำเภอบางละมุง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเมืองพัทยา
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๓/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482130 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1614 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 กรุงเทพมหานคร สายที่ 1450 เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาล 3 เป็น เพชรเกษม 48-พุทธมณฑลสาย 1 และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพชรเกษม 48-คลองราชมนตรี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๔ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
สายที่ ๑๔๕๐ เพชรเกษม-ซอยสุขาภิบาล ๓
เป็น เพชรเกษม
๔๘-พุทธมณฑลสาย ๑
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพชรเกษม
๔๘-คลองราชมนตรี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๔๘๗ (พ.ศ. ๒๕๑๘) ประกาศ ณ วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๑๘
ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๕๐
เพชรเกษม - ซอยสุขาภิบาล ๓ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร สายที่ ๑๔๕๐
เพชรเกษม - ซอยสุขาภิบาล ๓ เป็น เพชรเกษม ๔๘-พุทธมณฑลสาย ๑
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพชรเกษม ๔๘-คลองราชมนตรี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๔๕๐ เพชรเกษม ๔๘-พุทธมณฑลสาย
๑
เริ่มต้นจากซอยเพชรเกษม
๔๘ ไปตามซอยเพชรเกษม ๔๘ ผ่านโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม ไปตามถนนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
ผ่านโรงเรียนวัดไชยฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๑
ผ่านโรงเรียนตรีมิตรวิทยา โรงเรียนผดุงกิจวิทยา จนสุดเส้นทางที่ปากทางถนนพุทธมณฑลสาย
๑
ช่วงเพชรเกษม
๔๘-คลองราชมนตรี เริ่มต้นจากซอยเพชรเกษม ๔๘ ไปตามซอยเพชรเกษม ๔๘
ผ่านโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษฐาราม ไปตามถนนวัดจันทร์ประดิษฐาราม
ผ่านโรงเรียนวัดไชยฉิมพลี แยกซ้ายไปตามถนนบางแวก จนสุดเส้นทางที่คลองราชมนตรี
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๑๒/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482122 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1613 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 3 สายที่ 247 หนองบัวลำภู-นายูง สำหรับการเดินรถแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโคกนก เป็น ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๔๗
หนองบัวลำภู-นายูง สำหรับการเดินรถ
แยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโคกนก
เป็น ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๑๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ประกาศ ณ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๗ หนองบัวลำภู-นายูง
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงเพิ่มอีก ๑ ช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๔๗ หนองบัวลำภู-นายูง
สำหรับการเดินรถแยกช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโคกนก เป็น ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๔๗
หนองบัวลำภู-นายูง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง
บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕
ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง บ้านโนนดู่ บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี บ้านทุ่งโปร่ง
บ้านหนองแสง บ้านเก่ากลอย ถึงบ้านกุดกระสู้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗
ถึงบ้านกุดฮู แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดี บ้านโนนสำราญ บ้านทรายทอง บ้านพนมพัฒนา
ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ถึงบ้านนาตาแหลว ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ยธ. นภ. ๒๐๒๖ ผ่านบ้านดงยาง บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านชำภูทอง ถึงบ้านหินฮาว
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๒๓ ผ่านบ้านโชคเจริญ บ้านสวัสดี บ้านผากลางนา
บ้านสามัคคี ถึงบ้านน้ำซึม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านสามเหลี่ยม
บ้านหนองแวงน้อย บ้านเจริญสุข ถึงอำเภอน้ำโสม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านโนนม่วง
บ้านหัวช้าง บ้านน้อยเจริญสุข บ้านโปร่งคำ บ้านนาคำน้อย ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนายูง
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโนนสว่าง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐
ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕ ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง
บ้านโนนดู่ บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสว่าง
ช่วงหนองบัวลำภู-บ้านโชคชัย
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐
ผ่านบ้านหมากเหลี่ยม บ้านโคกน้ำเกลี้ยง บ้านดอนน้อย ถึงบ้านหว้าทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๓๐๐๕ ผ่านบ้านนาลาดควาย บ้านดอนยานาง
บ้านโนนดู่ บ้านโนนหวาย บ้านโพธิ์ศรี บ้านทุ่งโปร่ง บ้านหนองแสง บ้านเก่ากลอย
ถึงบ้านกุดกระสู้ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๗ ถึงบ้านกุดฮู
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาดี บ้านโนนสำราญ บ้านทรายทอง บ้านพนมพัฒนา
ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๕๒ ถึงบ้านนาตาแหลว
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. นภ. ๒๐๒๖ ถึงบ้านดงยาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
นภ. ๔๐๐๔ ถึงบ้านวังหินซา แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านผาซ่อน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโชคชัย
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโชคชัย แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงแยกไปบ้านดงมะไฟ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านดงมะไฟ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นภ. ๔๐๐๔
ผ่านโรงเรียนบ้านดงมะไฟ ถึงบ้านวังหินซา แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดหนองบัวลำภู
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๗ มีนาคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๐๙/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
482086 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1612 (พ.ศ. 2549) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 338 รังสิต-โรงเรียนเชียงรากน้อย | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๙)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
สายที่ ๑๕๓๓ ตลาดสดปัฐวิกรณ์-ปากซอยรามอินทรา ๖๒[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๖/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร
สายที่ ๑๕๓๓ ตลาดสดปัฐวิกรณ์-ปากซอยรามอินทรา ๖๒
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๑๕๓๓
ตลาดสดปัฐวิกรณ์-ปากซอยรามอินทรา ๖๒
เริ่มต้นจากบริเวณตลาดสดปัฐวิกรณ์
ไปตามซอยหมู่บ้านปัฐวิกรณ์ ผ่านโรงเรียนบดินทร์เดชา หมู่บ้านปัฐวิกรณ์
แยกซ้ายไปตามซอยสำนักสงฆ์ แยกขวาไปตามซอยรามอินทรา ๖๒
จนสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยรามอินทรา ๖๒ (ซอยยังสว่าง)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พัชรินทร์/ผู้จัดทำ
๑๐ เมษายน ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒๓ ง/หน้า ๑๐๘/๙ มีนาคม ๒๕๔๙ |
478721 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2548) เรื่อง การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ 8244 สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด-ดอนสัก-เกาะสมุย เป็น ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-เกาะสมุย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๔๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
การปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สายที่ ๘๒๔๔ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด-ดอนสัก-เกาะสมุย เป็น
ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-เกาะสมุย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๓๗๖ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๔๘
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับรถขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ ๘๒๔๔ สหกรณ์สุราษฎร์ธานีจำกัด-ดอนสัก-เกาะสมุย ขึ้น
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๙/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เป็น
ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-เกาะสมุยโดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
คือ
สายที่ ๘๒๔๔
ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-ดอนสัก-เกาะสมุย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านสหกรณ์สุราษฎร์ธานี จำกัด
ถึงสามแยกหนองขรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ถึงสามแยกอำเภอพุนพิน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๘ ถึงสามแยก กม. ๐
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์
ถึงสามแยกบ้านใน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๔๒ ผ่านอำเภอดอนสัก
ถึงท่าเรือเฟอร์รี่ดอนสัก ลงเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากไปถึงท่าเทียบเรือท้องยาง
(อำเภอเกาะสมุย) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเกาะสมุย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔/หน้า ๑๙๔/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
478716 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๔๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สายที่ ๘๔๒๒ วงกลมบ้านเฉวง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๘๔๒๒ ชื่อเส้นทาง
วงกลมบ้านเฉวง
วนขวา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเฉวง
ไปตามถนนสุขาภิบาล ถึงสามแยกบ้านเฉวง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙
ถึงสามแยกบ้านบ่อผุด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๑ ผ่านบ้านปลายแหลม
บ้านเชิงมน ตรงไปตามถนนสุขาภิบาลไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเฉวง
วนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเฉวง
ไปตามถนนสุขาภิบาล ถึงบ้านเชิงมน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๗๑
ผ่านบ้านปลายแหลม ถึงสามแยกบ้านบ่อผุด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖๙
ถึงสามแยกบ้านเฉวง แยกซ้ายไปตามถนนสุขาภิบาล ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเฉวง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๙๒/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
478711 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ 8423 สุราษฎร์ธานี-ศูนย์ศิลปชีพบ้านท่านหญิง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สายที่ ๘๔๒๓ สุราษฎร์ธานี-ศูนย์ศิลปชีพบ้านท่านหญิง[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๔๕
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
สายที่ ๘๔๒๓ สุราษฎร์ธานี-ศูนย์ศิลปชีพบ้านท่านหญิง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๘๔๒๓ ชื่อเส้นทาง
สุราษฎร์ธานี-ศูนย์ศิลปชีพบ้านท่านหญิง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ถึงสามแยกท่ากูบ แยกซ้ายไปตามถนนศรีวิชัย
ตรงไปตามถนนตลาดใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ยธ. สฎ. ๒๐๗๗ ผ่านบ้านบางโพธิ์
ถึงสี่แยกบางพลา ตรงไปตามทางหลวงชนบท ยธ. สฎ. ๒๐๒๖ ผ่านบ้านบางปอ สี่แยกท่าเคย
ถึงบ้านท่าแซะ ตรงไปตามทางหลวงชนบท ยธ. สฎ. ๒๐๓๗ ผ่านบ้านในพรุ ตรงไปตามทางหลวงชนบท
ยธ. สฎ. ๒๐๓๓ ผ่านบ้านปากฉลุย ถึงสามแยกกอไพร แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๒๖๒ ผ่านกิ่งอำเภอวิภาวดี บ้านตะกุกเหนือ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ร.พ.ช. สฎ. ๔๒๔๙
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางศูนย์ศิลปชีพบ้านท่านหญิง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๙๐/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
478701 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ฉบับที่ 46 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ฉบับที่ ๔๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๗
และการประชุมพิจารณาทบทวนรายละเอียดเส้นทางอีกครั้งหนึ่ง ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๒๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๗ จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสุราษฎร์ธานี สายที่ ๘๔๑๘
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี-ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-รอบเมืองพุนพิน
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๘๔๑๘ ชื่อเส้นทาง
สถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี-
ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี-รอบเมืองพุนพิน
เที่ยววนขวา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๘ ผ่านสามแยกพุนพิน ถึงสามแยก กม. ๐
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านเขาหัวควาย ถึงสี่แยก กม. ๑๘
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านสามแยกหนองขรี
ถึงบริเวณท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านวัดดอนกระถิน ถึงสามแยกพุนพิน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดิน ๔๐๐๘
ไปสิ้นสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
เที่ยววนซ้าย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๘ ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดิน
๔๑๕๓ ผ่านวัดดอนกระถิน ถึงสามแยกหนองขรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ถึงบริเวณท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี แล้วกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงสี่แยก กม. ๑๘
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านบ้านเขาหัวควาย ถึงสามแยก กม. ๐
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๘ ตรงไปผ่านสามแยกพุนพิน ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ธวัชชัย เทอดเผ่าไทย
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
ปฏิบัติราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๑๔ ง/หน้า ๑๘๘/๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ |
475261 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1611 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง สายที่ ต. 118 สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (หมอชิต)-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ต. ๑๑๘
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (หมอชิต)-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
สายที่ ต. ๑๑๘ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (หมอชิต)-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
ต. ๑๑๘ สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส (หมอชิต)-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
เริ่มต้นจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
(หมอชิต) ไปตามถนนพหลโยธิน แยกซ้ายไปตามถนนวิภาวดีรังสิต ถึงด่านรัชดา
ไปตามทางยกระดับอุตราภิมุข ถึงด่านหลักสี่ ไปตามถนนวิภาวดีรังสิต แยกซ้ายไปตามถนนพหลโยธิน
จนสุดเส้นทางที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๔
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
คำรบลักขิ์ สุรัสวดี
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๔ มกราคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๖ ง/หน้า ๘๒/๑๙ มกราคม ๒๕๔๙ |
472978 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ฉบับที่ 37(พ.ศ. 2547) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 1 จังหวัดเชียงราย สายที่ 3 สถานีขนส่ง-วิทยาลัยครูเชียงราย เป็นสายที่ 3 สถานีขนส่ง-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงราย
ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๔๗)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย
สายที่ ๓ สถานีขนส่ง-วิทยาลัยครูเชียงราย เป็น
สายที่ ๓
สถานีขนส่ง-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ฉบับที่ ๗๒๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ลงวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๒๑
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดเชียงราย สายที่ ๓ สถานีขนส่ง-วิทยาลัยครูเชียงราย และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ สายที่ ๓ สถานีขนส่ง-วิทยาลัยครูเชียงราย นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงรายได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนด
(ปรับปรุง) แก้ไขชื่อเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงราย ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขชื่อเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดเชียงราย
สายที่ ๓ สถานีขนส่ง-วิทยาลัยครูเชียงราย เป็น
สถานีขนส่ง-มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายโดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางเดิม
ประกาศ ณ วันที่ ๒๒
ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
วรเกียรติ สมสร้อย
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงราย
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๓ มกราคม ๒๕๔๙
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๓/ตอนที่ ๒ ง/หน้า ๑๑๘/๕ มกราคม ๒๕๔๙ |
568348 | ประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง (ฉบับที่ 2)
| ประกาศนายทะเบียนกลาง
ประกาศนายทะเบียนกลาง
เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง
(ฉบับที่ ๒)
ตามที่
นายทะเบียนกลางได้มีประกาศลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขปรับปรุงการมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลางเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
นายทะเบียนกลางมอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ดังนี้
ข้อ ๑
ให้ยกเลิกความในข้อ ๒๖ แห่งประกาศนายทะเบียนกลาง เรื่อง
มอบหมายกิจการอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนกลาง ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.
๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ ๒๖ ให้หัวหน้าฝ่ายวิชาการขนส่ง
สำนักงานขนส่งจังหวัด เป็นผู้ทำการในส่วนที่เกี่ยวกับ
(๑)
การประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถ
(ค)
การถอนรถ
(ง)
การลดจำนวนรถตามเงื่อนไขลง
ในกรณีที่มิได้นำรถมาดำเนินการทางทะเบียนภายในระยะเวลาที่กำหนด
(๒)
การประกอบการขนส่งส่วนบุคคลด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของระหว่างจังหวัด
สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งซึ่งมีภูมิลำเนาหรือสำนักงานใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ
ดังนี้
(ก)
การบรรจุรถ
(ข)
การเปลี่ยนรถ
(ค)
การถอนรถ
ข้อ ๒[๑]
ประกาศนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๔
เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
นายทะเบียนกลาง
ณัฐดนัย/พิมพ์
๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๐
สุนันทา/ตรวจ
๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๕๐ ง/หน้า ๙๐/๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๘ |
471946 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ฉบับที่ 96 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรปราการสายที่ 1142 สำโรง-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา-บ้านตาเจี่ย (ด้านถนนสุขุมวิท) ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง เป็นช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง-บ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๙๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับ
การขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ
สายที่ ๑๑๔๒
สำโรง-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา-บ้านตาเจี่ย (ด้านถนนสุขุมวิท)
ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง
เป็น
ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง-บ้านเอื้ออาทรบางโฉลง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ฉบับที่ ๖๘ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ สายที่ ๑๑๔๒
สำโรง-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา-บ้านตาเจี่ย (ด้านถนนสุขุมวิท)
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรปราการ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดสมุทรปราการ
สายที่ ๑๑๔๒ สำโรง-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา-บ้านตาเจี่ย (ด้านถนนสุขุมวิท)
ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง เป็น
ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง-บ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่ ๑๑๔๒
สำโรง-องค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา-บ้านตาเจี่ย (ด้านถนนสุขุมวิท)
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเชิงสะพานสำโรง
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์
ผ่านบ้านใหญ่ บ้านหนามแดง บ้านบางแก้ว อำเภอบางพลี ถึงกิโลเมตรที่ ๑๗
แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบล ผ่านที่ว่าการองค์การบริหารส่วนตำบลบางปลา
โรงเรียนวัดราษฎร์บูรณะ หมู่บ้านสุรีวรรณ วัดบางปลา โรงเรียนคลองบางกะอี่
โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม วัดราษฎร์นิยมธรรม ถึงคลองสอง ไปตามถนนสุขาภิบาล ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านตาเจี่ย
(ด้านถนนสุขุมวิท)
ช่วงสำโรง-ซอยธนะสิทธิ์-บ้านคลองแปด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเชิงสะพานสำโรง ไปตามถนนสุขุมวิท
ผ่านสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์ ผ่านบ้านใหญ่
บ้านหนามแดง บ้านบางแก้ว อำเภอบางพลี ถึงกิโลเมตรที่ ๑๔.๘ แยกขวาไปตามซอยธนะสิทธิ์
ผ่านหมู่บ้านสมฤดีษมาพร หมู่บ้านวรารมย์ หมู่บ้านบุศรินทร์ หมู่บ้านชัยพฤกษ์
บ้านกู้พารา ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สป. ๓๐๘๙
(สายบ้านคลองแปด-บ้านกู้พารา)
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคลองแปด
ช่วงสำโรง-ซอยขจรวิทย์-ซอยนาคดี
(ซอยแพรกษา ๑๑) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเชิงสะพานสำโรง
ไปตามถนนสุขุมวิท ผ่านสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ แยกซ้ายไปตามถนนเทพารักษ์
ผ่านบ้านใหญ่ บ้านหนามแดง ถึงกิโลเมตรที่ ๙ แยกขวาไปตามซอยขจรวิทย์ ถึงบ้านน้ำผึ้ง
๒ ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สป. ๓๐๐๓ (แพรกษา-บ้านน้ำผึ้ง ๒) ผ่านบ้านแพรกษา
หมู่บ้านกล่อมพิรุณ ถึงโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ไปตามซอยนาคดี
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณปากซอยนาคดี (ซอยแพรกษา ๑๑)
ช่วงอำเภอบางพลี-องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง-บ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบางพลี ไปตามถนนเทพารักษ์
ถึงกิโลเมตรที่ ๑๗.๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ถนนกรมโยธาธิการ
สายแยกถนนเทพารักษ์-วัดบางโฉลงนอก) ผ่านวัดบางโฉลงนอก ไปตามซอยร่มเย็น
ผ่านหมู่บ้านแสนสุข หมู่บ้านร่มเย็น องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง
แยกซ้ายไปตามถนนบางนา-ตราด แยกซ้ายไปตามถนนอดุลศาสนการ (ซอยวัดบางโฉลงใน)
ผ่านโรงพยาบาลเซ็นทรัลปาร์ค วัดบางโฉลงใน ถึงทางหลวงชนบท (ถนนกรมโยธาธิการ
สายแยกถนนเทพารักษ์-วัดบางโฉลงนอก) จอดรถบริเวณหน้าโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๓
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
สุขุมรัฏฐ์ สาริบุตร
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๙๘/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
471944 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 67 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 4 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-สวนสัตว์ศรีสะเกษเป็น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-บ้านน้ำคำ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๖๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ
สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-สวนสัตว์ศรีสะเกษ
เป็น
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-บ้านน้ำคำ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ลงวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๔๐
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-สวนสัตว์ศรีสะเกษ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๔ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-สวนสัตว์ศรีสะเกษ
เป็น สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-บ้านน้ำคำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
คือ
สายที่ ๔
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์-บ้านน้ำคำ
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ไปตามถนนกสิกรรม
ผ่านวิทยาลัยเกษตรกรรมศรีสะเกษ วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ
ถึงวงเวียนดอกลำดวน แยกขวาไปตามถนนวิเศษภักดี แยกซ้ายไปตามถนนโชติพันธุ์
(ถนนมารี-หนองแคน) ผ่านโรงเรียนมารีวิทยา แยกซ้ายไปตามถนนกวงเฮง
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษ สี่แยกซุ่นเฮง แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ
๔ แยกขวาไปตามถนนศรีสะเกษ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๓ ถึงสี่แยกสำนักงานสาธารณสุข
(เก่า) แยกขวาไปตามถนนกสิกรรม แยกขวาไปตามถนนราชการรถไฟ ๒ ถึงวงเวียนหลังสถานีรถไฟ
ไปตามถนนราชการรถไฟ ๑ แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๓
แยกซ้ายไปตามถนนวิจิตรนคร ผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองศรีสะเกษ โรงเรียนมิ่งเมือง
ไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. ศก. ๓๑๔๔) ผ่านบ้านโนน ถึงสวนสัตว์ศรีสะเกษ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก. ๒๑๒๐) ถึงบ้านหนองโน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
(ยธ. ศก. ๒๐๑๑) ผ่านบ้านหนองคำ บ้านข้าวดอ บ้านหัวนา บ้านหว้าน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำคำ
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านน้ำคำ ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก. ๒๐๑๑)
ไปตามเส้นทางเดิม ถึงถนนขุขันธ์ แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ
๒ ถึงวงเวียนหลังสถานีรถไฟ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ถนอม ส่งเสริม
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๙๖/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
471942 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 66 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 2 โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ-โรงเรียนบ้านหนองครก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๖๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ
สายที่ ๒ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์
ศรีสะเกษ-โรงเรียนบ้านหนองครก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๖๒ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๔๓
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๒ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ-โรงเรียนบ้านหนองครก
ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ
สายที่ ๒ โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์
ศรีสะเกษ-โรงเรียนบ้านหนองครก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๒
โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ-โรงเรียนบ้านหนองครก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ
ไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. ศก. ๓๑๒๐) ถึงบ้านโนนกอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖ ผ่านโรงเรียนไกรภักดีวิทยาคม
โรงเรียนบ้านหนองตะมะ ไปตามถนนอุบล ผ่านโรงเรียนรวมสินวิทยา โรงเรียนสตรีสิริเกศ
แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรรม แยกซ้ายไปตามถนนวันลูกเสือ ผ่านโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ ผ่านสำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๐ ผ่านสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ
ผ่านสี่แยกห้วยปูน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองครก
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ถนอม ส่งเสริม
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๙๔/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
471940 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ ฉบับที่ 65 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ 1 บ้านเล้า-โรงเรียนบ้านกุดโง้งเป็น บ้านหอย-บ้านบก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๖๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ
สายที่ ๑ บ้านเล้า-โรงเรียนบ้านกุดโง้ง
เป็น บ้านหอย-บ้านบก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ลงวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๒
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดศรีสะเกษ สายที่ ๑ บ้านเล้า-โรงเรียนบ้านกุดโง้ง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๖
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๔๗ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดศรีสะเกษ
สายที่ ๑ บ้านเล้า-โรงเรียนบ้านกุดโง้ง เป็น บ้านหอย-บ้านบก
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑ บ้านหอย-บ้านบก
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหอย ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก.
๓๐๒๘) ผ่านบ้านหนองไผ่ ถึงบ้านเล้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖
ผ่านบ้านเพียนาม บ้านโนนแดง บ้านโนนสำนัก บ้านสะพานขาว ไปตามถนนเทพา
ผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แยกขวาไปตามถนนศรีสะเกษ ถึงวงเวียนหลังสถานีรถไฟ
แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๑ แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ แยกขวาไปตามถนนอุบล
ผ่านโรงเรียนสตรีสิริเกศ แยกซ้ายไปตามถนนกสิกรรม แยกซ้ายไปตามถนนวันลูกเสือ ผ่านโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย
แยกขวาไปตามถนนขุขันธ์ ผ่านสำนักงานเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ผ่านสามแยกขุขันธ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑ ผ่านสำนักงานป่าไม้จังหวัดศรีสะเกษ
ถึงโรงเรียนบ้านกุดโง้ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก. ๓๓๐๐๑) ถึงวัดบ้านกุดโง้ง
แยกซ้ายไปตามถนนภายในหมู่บ้าน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก. ๒๐๙๖) ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบก
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านบก ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. ศก. ๒๐๙๖)
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงสามแยกขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนกวงเฮง ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดศรีสะเกษ
แยกขวาไปตามถนนประชาศึกษา แยกซ้ายไปตามถนนขุขันธ์ แยกซ้ายไปตามถนนราชการรถไฟ ๒
ถึงวงเวียนหลังสถานีรถไฟ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหอย
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ถนอม ส่งเสริม
ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๒๑ ง/หน้า ๙๒/๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
470645 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่ สายที่ 52007 ชื่อเส้นทาง เชียงใหม่-ทุ่งปุย, ท่ามะโอ, สองแคว, หนองเหียง, ปากทางเจริญ, วังขามป้อม, ไร่บน, ท่าศาลา, แท่นคำ เป็น เชียงใหม่-แท่นคำ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดเชียงใหม่ สายที่
๕๒๐๐๗ ชื่อเส้นทาง เชียงใหม่-ทุ่งปุย, ท่ามะโอ, สองแคว,
หนองเหียง, ปากทางเจริญ, วังขามป้อม, ไร่บน, ท่าศาลา, แท่นคำ
เป็น เชียงใหม่-แท่นคำ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ฉบับที่ ๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๙) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๒๙
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดเชียงใหม่
สายที่ ๕๒๐๐๗ ชื่อเส้นทาง เชียงใหม่-แท่นคำ, แม่ฮะสะเมิง, หนองตอง, น้ำบ่อหลวง, บ้านกาด-ขุนวาง, มะขามหลวง, ทุ่งเสี้ยว, โรงวัว ไปแล้ว นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตรงตามสภาพถนนข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้อนุมัติในหลักการไว้แล้ว ในการประชุมครั้งที่
๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ และมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเชียงใหม่
ครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๔๗
อนุมัติในหลักการให้ยกเลิกเส้นทางแยกช่วงเชียงใหม่-โรงวัว
เมื่อได้มีการกำหนดเส้นทาง หมวด ๓ สายที่ ๖๙๘ เชียงใหม่-โรงวัว-หนองเกิด ขึ้นทดแทน
จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดเชียงใหม่ สายที่ ๕๒๐๐๗ ชื่อเส้นทาง เชียงใหม่-ทุ่งปุย, ท่ามะโอ, สองแคว, หนองเหียง, ปากทางเจริญ, วังขามป้อม, ไร่บน, ท่าศาลา
เป็น เชียงใหม่-แท่นคำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๒๐๐๗ ชื่อเส้นทาง
เชียงใหม่-แท่นคำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
แห่งที่ ๑ ไปตามถนนสนามกีฬา แยกซ้ายไปตามถนนโชตนา ถึงสี่แยกช้างเผือก
ตรงไปตามถนนพระปกเกล้า ถึงสี่แยกประตูเชียงใหม่ แยกขวาไปตามถนนช่างหล่อ
แยกซ้ายไปตามถนนวัวลาย ถนนทิพยเนตร ถึงสี่แยกสนามบิน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๘ ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง บ้านทุ่งเสี้ยว บ้านแม่ขาน ถึงที่ว่าการอำเภอจอมทอง
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้าน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านแท่นคำ
ช่วงเชียงใหม่-แม่ฮะสะเมิง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เมื่อถึง กม. ที่ ๑๑.๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๑ ผ่านคันคลองชลประทาน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒๖๙ ผ่านบ้านฟ่อน บ้านแม่ฮะ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสะเมิง
ช่วงเชียงใหม่-หนองตอง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เมื่อถึง กม. ที่ ๒๑.๙
แยกซ้ายไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๑๕ ผ่านบ้านสบหาร บ้านป่าลาน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดสดหนองตอง
ช่วงเชียงใหม่-บ้านน้ำบ่อหลวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากสามแยกสันป่าตอง
แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๑๓ ถึง กม. ที่ ๓ แยกขวาไปตามทางเข้าหมู่บ้าน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดน้ำบ่อหลวง
ช่วงเชียงใหม่-บ้านกาด, ขุนวาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากสามแยกสันป่าตอง
แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๑๓ ผ่านบ้านกาด บ้านแม่วิน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านขุนวาง
ช่วงเชียงใหม่-มะขามหลวง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เมื่อถึง กม. ที่ ๒๔ แยกซ้ายไปตามทางเข้าหมู่บ้าน
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านมะขามหลวง
ช่วงเชียงใหม่-ทุ่งปุย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านทุ่งปุย
แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านทุ่งปุย ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่งปุย
ช่วงเชียงใหม่-ท่ามะโอ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านท่ามะโอ แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านท่ามะโอ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่ามะโอ
ช่วงเชียงใหม่-สองแคว
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านสองแคว
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านสองแคว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสองแคว
ช่วงเชียงใหม่-หนองเหียง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านหนองเหียง แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านหนองเหียง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองเหียง
ช่วงเชียงใหม่-ปากทางเจริญ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านปากทางเจริญ
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านปากทางเจริญ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปากทางเจริญ
ช่วงเชียงใหม่-วังขามป้อม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านวังขามป้อม
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านวังขามป้อม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านวังขามป้อม
ช่วงเชียงใหม่-ไร่บน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านไร่บน
แยกขวาไปตามถนนเข้าหมู่บ้านไร่บน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไร่บน
ช่วงเชียงใหม่-ท่าศาลา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ ๑
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ จากแยกถนนเข้าหมู่บ้านท่าศาลา
แยกซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้านท่าศาลา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าศาลา
ประกาศ ณ วันที่ ๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สุวัฒน์ ตันติพัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดเชียงใหม่
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๗ ง/หน้า ๘๕/๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
469398 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง การเพิ่มสมรรถนะในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถเอกชน
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
การเพิ่มสมรรถนะในการตรวจสภาพรถของสถานตรวจสภาพรถเอกชน[๑]
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศ เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
กำหนดให้สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพ
ต้องจัดให้มีเครื่องตรวจสภาพรถด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม ได้แก่
เครื่องทดสอบห้ามล้อและเครื่องทดสอบศูนย์ล้อรถ
ตามชนิดและแบบที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ นั้น
เพื่อให้สถานตรวจสภาพรถที่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวสามารถใช้เครื่องตรวจสภาพรถได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔
(๒) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงให้สถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตให้ตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน
๑,๖๐๐ กิโลกรัม
ซึ่งได้ติดตั้งเครื่องทดสอบและผ่านการตรวจสอบจากกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งจังหวัด
แล้วแต่กรณี สามารถตรวจสภาพรถและออกใบรับรองการตรวจสภาพสำหรับรถที่มีขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน
๒,๐๐๐ กิโลกรัมได้
นับตั้งแต่วันที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องเป็นต้นไป
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๔ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๒ ง/หน้า ๑๙/๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
469266 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ฉบับที่ ๒๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดพะเยา สายที่
๒๔๒๖ เชียงคำ-ช่องกิ่วหก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๒๔๒๖
เชียงคำ-ช่องกิ่วหก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงคำ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๒๑ ผ่านบ้านแดนเมือง บ้านสบบง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ๔๐๑๐ ผ่านบ้านต้นผึ้ง บ้านป่าสัก บ้านม่วงชุม
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๙๓ ผ่านวนอุทยานน้ำตกภูซาง บ้านฮวก
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางช่องกิ่วหก
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อดุลย์ พลประอินทร์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๙๙/๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
469262 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ฉบับที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยากำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
จังหวัดพะเยา สายที่ ๕๓๐๑๓ เชียงคำ-บ้านฮวก ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยาได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพะเยา ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๗ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๑๘
สิงหาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
อดุลย์ พลประอินทร์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพะเยา
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๑ ง/หน้า ๑๙๘/๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
467695 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๔๒๐ นครศรีธรรมราช-สิชล-เขาพลายดำ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่ ๘๔๒๐
นครศรีธรรมราช-สิชล-เขาพลายดำ
รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไปตามถนนกะโรม แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนมณีวัตร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๒ (ถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ) ถึงบ้านท่าแพ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอท่าศาลา บ้านสระแก้ว บ้านต้นเหรียง
ถึงอำเภอสิชล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๒๓๒ ผ่านสี่แยกจอมทอง บ้านบางปอ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางเขาพลายดำ (อ่าวท้องยาง)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พชร/ผู้จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๔๙/๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
467688 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 52 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๔๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๔๒๑ สิชล-สามแยกคลองเหลง-ขนอม โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้
คือ
สายที่ ๘๔๒๑
สิชล-สามแยกคลองเหลง-ขนอม
รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสิชล
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านแยกจอมทอง บ้านตลาดเสาร์ ถึงสามแยกคลองเหลง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔ ผ่านบ้านท่าน้อย โรงเรียนขนอมวิทยาคม
ผ่านสี่แยกบ้านตลาด ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขนอม
(ตลาดบางโหนด)
ช่วงสิชล-สามแยกคลองเหลง-บ้านในเพลา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสิชล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑
ผ่านแยกจอมทอง บ้านตลาดเสาร์ ถึงสามแยกคลองเหลง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๑๔ ผ่านบ้านท่าน้อย โรงเรียนขนอมวิทยาคม ถึงสี่แยกบ้านตลาด
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. นศ. ๒๐๐๒) ผ่านบ้านเปร็ต ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านในเพลา
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พชร/ผู้จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๕๐/๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
467683 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 53 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ 8274 นครศรีธรรมราช-ขนอม เป็น นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช
สายที่ ๘๒๗๔
นครศรีธรรมราช-ขนอม เป็น
นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๒๒ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๒๗๔ นครศรีธรรมราช-ขนอม ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๔๔
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้ปรับปรุงเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๒๗๔ นครศรีธรรมราช-ขนอม เป็น
นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๒๗๔
นครศรีธรรมราช-ขนอม เป็น
นครศรีธรรมราช-สามแยกคลองเหลง-ขนอม-อ่าวท้องหยี
รายละเอียดเส้นทาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครศรีธรรมราช
ไปตามถนนกะโรม แยกซ้ายไปตามถนนราชดำเนิน แยกขวาไปตามถนนมณีวัตร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๒ (ถนนอ้อมค่ายวชิราวุธ) ถึงบ้านท่าแพ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอท่าศาลา บ้านสระแก้ว บ้านต้นเหรียง
อำเภอสิชล บ้านตลาดเสาร์ ถึงสามแยกคลองเหลง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔
ผ่านบ้านท่าน้อย สี่แยกบ้านตลาด ถึงอำเภอขนอม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๒๓๒ ผ่านบ้านหน้าด่าน ไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. นศ. ๒๐๐๒) ผ่านบ้านในเพลา
ไปตามทางหลวงชนบท (สายในเพลา-ท้องหยี) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอ่าวท้องหยี
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
พชร/ผู้จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๕๒/๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
467486 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ลงวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๔๐๒๔
นครศรีธรรมราช-สิชล เป็น นครศรีธรรมราช-สิชล-เขาพลายดำ ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๔ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘
กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
นันทนา/ผู้จัดทำ
๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๕๕/๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
467484 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ฉบับที่ 54 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยสารขนาดเล็ก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๕๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยสารขนาดเล็ก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ลงวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๒๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก จังหวัดนครศรีธรรมราช สายที่ ๘๔๐๐๓
สามแยกคลองเหลง-ขนอม ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชได้พิจารณาแล้วเห็นว่า
เส้นทางสายดังกล่าวข้างต้นหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๓) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๔ เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๔๔
จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๘
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วิชม ทองสงค์
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
นันทนา/ผู้จัดทำ
๗ ธันวาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๑๐ ง/หน้า ๕๔/๑ ธันวาคม ๒๕๔๘ |
466491 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดพิจิตร ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดพิจิตร สายที่ 1 คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร เป็น คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร-หมู่บ้านเอื้ออาทรพิจิตร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิจิตร
ฉบับที่ ๒๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดพิจิตร
สายที่ ๑ คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร เป็น
คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร-หมู่บ้านเอื้ออาทรพิจิตร[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร
ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ลงวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๒๕
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดพิจิตร สายที่ ๑ คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตรได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดพิจิตร ในการประชุมครั้งที่
๑/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดพิจิตร สายที่ ๑ คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร เป็น
คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร-หมู่บ้านเอื้ออาทรพิจิตร
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑
คลองคะเชนทร์-สถานีรถไฟพิจิตร-หมู่บ้านเอื้ออาทรพิจิตร
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดคลองคะเชนทร์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๕ ถึงถนนสระหลวง แยกขวาไปตามถนนสระหลวง
แยกซ้ายไปตามถนนศรีมาลา ผ่านที่ว่าการอำเภอเมือง แยกซ้ายไปตามถนนสระหลวง
แยกซ้ายไปตามถนนบุษบาตอนใต้ ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร
แยกซ้ายไปตามถนนจันทร์สว่าง แยกขวาไปตามถนนราษฎร์เกษมอุทิศ แยกขวาไปตามถนนจิระสุขอุทิศ
แยกซ้ายไปตามถนนบุษบาตอนเหนือ แยกขวาไปตามถนนสายพิจิตร-สากเหล็ก
ข้ามสะพานพระพิจิตร แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖๒ ผ่านสถานีรถไฟพิจิตร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านชุมชนนอกทางรถไฟ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านคลองท่าหลวง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหมู่บ้านเอื้ออาทรพิจิตร
ประกาศ ณ วันที่ ๑๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
พรเทพ พิมลเสถียร
ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดพิจิตร
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๕ ง/หน้า ๙๓/๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466231 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1610 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร ภาคเหนือ จำนวน 10 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร ภาคเหนือ
จำนวน ๑๐ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๙ (พ.ศ. ๒๕๒๕) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๕ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒
กรุงเทพมหานคร-ลำปาง และสายที่ ๙๑๐ กรุงเทพมหานคร-น่าน (ข)
ฉบับที่
๔๐๗ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๑๔๘ เชียงใหม่-เชียงราย
ฉบับที่
๓๓๙ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๑๕๒
ลำปาง-เชียงใหม่
ฉบับที่
๕๙๗ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๓๓
เชียงใหม่-ขอนแก่น (ข)
ฉบับที่
๔๐๙ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๓๕
เชียงใหม่-นครราชสีมา
ฉบับที่
๕๙๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๓๗
เชียงราย-ขอนแก่น
ฉบับที่
๗๕๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๕๑ เชียงราย-นครราชสีมา
เป็นนครราชสีมา-แม่สาย
ฉบับที่
๖๗๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๖๖๑
เชียงราย-นครพนม
ฉบับที่
๗๙๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๕ กำหนด (ปรับปรุง)
เปลี่ยนหมวดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สายที่ ๖๑๔๘ ผักไห่-ป่าโมก เป็น หมวด ๓ สายที่ ๖๗๓
ผักไห่-ป่าโมก นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๒
กรุงเทพฯ-ลำปาง สายที่ ๙๑๐ กรุงเทพฯ-น่าน (ข) หมวด ๓ สายที่ ๑๔๘
เชียงใหม่-เชียงราย สายที่ ๑๕๒ ลำปาง-เชียงใหม่ สายที่ ๖๓๓ เชียงใหม่-ขอนแก่น (ข)
สายที่ ๖๓๕ เชียงใหม่-นครราชสีมา สายที่ ๖๓๗ เชียงราย-ขอนแก่น สายที่ ๖๕๑
นครราชสีมา-แม่สาย สายที่ ๖๖๑ เชียงราย-นครพนม และสายที่ ๖๗๓ ผักไห่-ป่าโมก
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๒ กรุงเทพฯ-ลำปาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ผ่านทางแยกเข้าอำเภอตากฟ้า บ้านเขาทราย อำเภอวังทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงอำเภอเด่นชัย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
สายที่ ๙๑๐ กรุงเทพฯ-น่าน
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ ถึงแยกดอนเมือง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒
ผ่านจังหวัดสิงห์บุรี ถึงอำเภออินทร์บุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ผ่านทางแยกเข้าอำเภอตากฟ้า บ้านเขาทราย อำเภอวังทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ผ่านทางแยกเข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ ถึงอำเภอเด่นชัย ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ผ่านจังหวัดแพร่ อำเภอร้องกวาง อำเภอสา ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดน่าน
สายที่ ๑๔๘
เชียงใหม่-เชียงราย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓๖
ถึงสามแยกบ้านเหมืองง่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ถึงจังหวัดลำพูน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ถึงสามแยกดอยติ
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงจังหวัดลำปาง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภองาว จังหวัดพะเยา อำเภอแม่ใจ
อำเภอพาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
สายที่ ๑๕๒ ลำปาง-เชียงใหม่
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ผ่านบ้านห้วยบอนหวาน ทางแยกอำเภอแม่ทา บ้านจำบอน ถึงสามแยกดอยติ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ถึงจังหวัดลำพูน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ถึงทางแยกบ้านเหมืองง่า
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓๖ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
สายที่ ๖๓๓
เชียงใหม่-ขอนแก่น (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง ถึงบ้านปางเกาะ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย ถึงสามแยกทางไปจังหวัดแพร่
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ถึงสามแยกทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงทางแยกเข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๔๕ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ผ่านอำเภอวังทอง ถึงทางแยกเข้าอำเภอหล่มสัก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑ ถึงอำเภอหล่มสัก กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ผ่านอำเภอชุมแพ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๖๓๕
เชียงใหม่-นครราชสีมา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงใหม่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๓๖
ถึงสามแยกบ้านเหมืองง่า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๖ ถึงจังหวัดลำพูน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๔ ถึงสามแยกดอยติ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ผ่านจังหวัดลำปาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย
ถึงสามแยกเด่นชัย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ถึงสามแยกทางไปจังหวัดอุตรดิตถ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ถึงทางแยกเข้าจังหวัดอุตรดิตถ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕
ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ ถึงอำเภอวังทอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑
ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ถึงสามแยกบ้านชัยบาดาล
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านอำเภอท่าหลวงถึงบ้านกุดม่วง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านอำเภอสีคิ้ว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๖๓๗
เชียงราย-ขอนแก่น
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอพาน จังหวัดพะเยา ถึงอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑
ผ่านจังหวัดแพร่ อำเภอเด่นชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านอำเภอวังทอง ถึงทางแยกเข้าอำเภอหล่มสัก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑
ถึงอำเภอหล่มสัก กลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านอำเภอชุมแพ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๖๕๑
นครราชสีมา-แม่สาย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑
ผ่านอำเภอสีคิ้ว ถึงบ้านกุดม่วง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖
ผ่านอำเภอท่าหลวง ถึงสามแยกบ้านชัยบาดาล ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕
ถึงอำเภอโคกสำโรง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ถึงสี่แยกอำเภอตากฟ้า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๑ ผ่านบ้านเขาทราย ถึงอำเภอวังทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม ถึงบ้านร้องโพธิ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านบุ่งวังงิ้ว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๙ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๔๕ ถึงบ้านวังสีสูบ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ผ่านอำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่
ถึงทางแยกอำเภอร้องกวางแยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงอำเภองาว
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านจังหวัดพะเยา ถึงจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอแม่สาย
สายที่ ๖๖๑ เชียงราย-นครพนม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดเชียงราย
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑ ผ่านอำเภอพาน จังหวัดพะเยา ถึงอำเภองาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๓ ถึงทางแยกอำเภอร้องกวาง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๐๑ ผ่านจังหวัดแพร่ อำเภอเด่นชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑
ถึงบ้านวังสีสูบ แยกขวาไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๔๕ ถึงจังหวัดอุตรดิตถ์
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๑ ถึงบ้านร้องโพธิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๑๒ ถึงจังหวัดพิษณุโลก กลับตามเส้นทางเดิม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
ผ่านอำเภอวังทอง ถึงบ้านแยง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑๓
ผ่านอำเภอนครไทย อำเภอด่านซ้าย ถึงบ้านโคกงาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๓ ถึงจังหวัดเลย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ถึงอำเภอวังสะพุง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ ถึงจังหวัดอุดรธานี
แล้วไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒ ผ่านอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครพนม
สายที่ ๖๗๓ ผักไห่-ป่าโมก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอผักไห่
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๕๔ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๑๒
แยกขวาไปตามถนนคันคลองส่งน้ำสายผักไห่-ป่าโมก ถึงโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาผักไห่
สำนักชลประทานที่ ๑๒ แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ตรงไปตามถนนคันคลองส่งน้ำสายผักไห่-ป่าโมก
ผ่านบ้านอำมฤต บ้านลาดน้ำเค็ม บ้านเอกราช ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอป่าโมก
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๖๑/ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466225 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1609 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 321 ฉะเชิงเทรา-นครนายก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่
๓๒๑ ฉะเชิงเทรา-นครนายก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๐๕ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๒๘
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๑
ฉะเชิงเทรา-นครนายก นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๒๑
ฉะเชิงเทรา-นครนายก โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๒๑
ฉะเชิงเทรา-นครนายก
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๐๐ ผ่านวัดเกาะจันทราราม โรงเรียนสุทธิสุนทร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๔๘๑ ถึงอำเภอบางน้ำเปรี้ยว ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นย. ๓๐๐๑ ผ่านคลองสิบแปด
คลองสิบเก้า คลองยี่สิบ คลองยี่สิบเอ็ด คลองหกวา คลองยี่สิบสอง วัดอรุณรังษี
คลองยี่สิบสาม วัดอารีราษฎร์ ถึงอำเภอองครักษ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครนายก
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๖๐/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466221 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1608 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 317 ชลบุรี-ปลวกแดง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่
๓๑๗ ชลบุรี-ปลวกแดง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๓๑๕ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๒๘ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๑๗
ชลบุรี-ปลวกแดง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๑๗
ชลบุรี-ปลวกแดง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๑๗ ชลบุรี-ปลวกแดง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔ ผ่านอำเภอบ้านบึง วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ถึงบ้านหนองซาก
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ.ชลบุรี) ผ่านโรงงานน้ำตาลชลบุรี บ้านหัวกุญแจ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ผ่านบ้านมาบลำบิด
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑ ถึงแยกมาบปู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ถึงทางแยกเข้าตลาดสุรศักดิ์
แยกขวาเข้าตลาดสุรศักดิ์ แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ผ่านโรงงานน้ำตาลตะวันออก บ้านใต้สุน แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๔๕ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปลวกแดง
ช่วงชลบุรี-บ้านกรำ-ปลวกแดง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๔๔
ผ่านอำเภอบ้านบึง วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ถึงบ้านหนองซาก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
(ถนน อบจ. ชลบุรี) ผ่านโรงงานน้ำตาลชลบุรี บ้านหัวกุญแจ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ผ่านบ้านมาบลำบิด แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๓๑ ถึงแยกมาบปู แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘
ถึงทางแยกเข้าตลาดสุรศักดิ์ แยกขวาเข้าตลาดสุรศักดิ์ แล้วย้อนกลับตามเส้นทางเดิม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๓๘ ถึงโรงงานน้ำตาลตะวันออก
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ถนน อบจ. ระยองหมายเลข ๐๔๐๓) ผ่านบ้านกรำ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปลวกแดง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๑๕๘/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466219 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1607 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๗ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร หมวด ๓
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๘ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๗๐๕ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๓๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดกาฬสินธุ์ สายที่ ๔๓๘๔
ท่าคันโท-บ้านคำใหญ่ เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๑๒ ท่าคันโท-บ้านคำใหญ่-กระนวน
ฉบับที่
๗๘๘ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๔๒๙๕
ด่านขุนทด-คำปิง เป็น หมวด ๓ สายที่ ๒๑๓ ด่านขุนทด-บ้านคำปิง
ฉบับที่
๙๒๐ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๓๗ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๒๑๕ โนนสะอาด-บ้านโนนสมบูรณ์
ฉบับที่
๔๑๕ (พ.ศ. ๒๕๓๐) ประกาศ ณ วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๓๐ กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๐๑
ขอนแก่น-ท่าคันโท
ฉบับที่
๗๓๔ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๓๔ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๐
บ้านผือ-ศรีเชียงใหม่
ฉบับที่
๓๓ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๒๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๓๗
ขอนแก่น-โกสุมพิสัย
ฉบับที่
๒๒๔ (พ.ศ. ๒๕๒๖) ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๒๖ กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๕๔ เชียงยืน-กระนวน
ฉบับที่
๗๒๓ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๓๓ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๗๖ กระนวน-ท่าคันโท
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๒๑๒
ท่าคันโท-บ้านคำใหญ่-กระนวน สายที่ ๒๑๓ ด่านขุนทด-บ้านคำปิง สายที่ ๒๑๕
โนนสะอาด-บ้านโนนสมบูรณ์ สายที่ ๕๐๑ ขอนแก่น-ท่าคันโท สายที่ ๕๓๐
บ้านผือ-ศรีเชียงใหม่ สายที่ ๕๓๗ ขอนแก่น-โกสุมพิสัย สายที่ ๕๕๔ เชียงยืน-กระนวน
และสายที่ ๕๗๖ กระนวน-ท่าคันโท โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒๑๒
ท่าคันโท-บ้านคำใหญ่-กระนวน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าคันโท
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ผ่านบ้านยางอุ้ม บ้านคำบอน บ้านดงกลาง
บ้านดงสมบูรณ์ บ้านหนองหิน บ้านโนนศรีสวัสดิ์ บ้านหนองแข้ บ้านดงมูล บ้านคำขาม
บ้านห้วยยางดง ถึงบ้านโคกเครือ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหนองใหญ่ บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านนามูล บ้านหาดทรายมูล ถึงบ้านคำใหญ่
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๑๐ ผ่านบ้านชัยศรีบ้านน้ำอ้อม บ้านเวียงอินทร์
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน
ช่วงบ้านคำใหญ่-บ้านหนองชุมแสง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหาดทรายมูล บ้านนามูล ถึงบ้านโนนสมบูรณ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองชุมแสง
ช่วงบ้านคำใหญ่-บ้านหนองกบ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหาดทรายมูล บ้านนามูล บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองใหญ่ ถึงบ้านโคกเครือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ถึงบ้านห้วยยางดง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
กส. ๔๐๓๙ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองกบ
ช่วงบ้านคำใหญ่-บ้านหนองสามขา
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหาดทรายมูล บ้านนามูล บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองใหญ่ ถึงบ้านโคกเครือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ผ่านบ้านห้วยยางดง ถึงบ้านคำขาม
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๔๐๓๖ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองสามขา
ช่วงบ้านคำใหญ่-บ้านนาอวน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหาดทรายมูล บ้านนามูล บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองใหญ่ ถึงบ้านโคกเครือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ผ่านบ้านห้วยยางดง บ้านคำขาม บ้านดงมูล
บ้านหนองแข้ ถึงบ้านโนนศรีสวัสดิ์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านนาบง
บ้านหนองสรวง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาอวน
ช่วงบ้านคำใหญ่-บ้านหนองบัวชุม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำใหญ่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๙๐
ผ่านบ้านหาดทรายมูล บ้านนามูล บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านหนองใหญ่ ถึงบ้านโคกเครือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๐๙ ผ่านบ้านห้วยยางดง บ้านคำขาม บ้านดงมูล
บ้านหนองแข้ บ้านโนนศรีสวัสดิ์ ถึงบ้านหนองหิน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ.
กส. ๒๐๙๖ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองบัวชุม
สายที่ ๒๑๓
ด่านขุนทด-บ้านคำปิง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๑๗ ผ่านบ้านถนนหักใหญ่ บ้านใหม่ บ้านดอนใหญ่
บ้านหนองโสน บ้านหนองกราด บ้านหนองแวง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำปิง
ช่วงด่านขุนทด-บ้านเกาะลอย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๑๗ ผ่านบ้านถนนหักใหญ่ บ้านใหม่ บ้านดอนใหญ่ ถึงบ้านหนองโสน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๓๓๖ ผ่านบ้านใหม่ศรีสุข
บ้านหนองขุยคูเมือง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเกาะลอย
ช่วงด่านขุนทด-บ้านใหม่ชัยพฤกษ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๑๗ ผ่านบ้านถนนหักใหญ่ บ้านใหม่ บ้านดอนใหญ่ บ้านหนองโสน ถึงบ้านหนองกราด
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นม. ๕๐๑๔ ผ่านบ้านโกรกสมอ บ้านหนองหัน บ้านวังสนวน
บ้านไร่ชัยพันธุ์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านใหม่ชัยพฤกษ์
สายที่ ๒๑๕ โนนสะอาด-บ้านโนนสมบูรณ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนสะอาด
ไปตามถนนสุขาภิบาลถึงบ้านโสกรัง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. อด. ๒๐๕๘
ผ่านบ้านโพธิ์ศรีสำราญ บ้านกุดดอกคำ บ้านโพธิ์ชัย บ้านป่าเปือย บ้านโคกกลาง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนสมบูรณ์
สายที่ ๕๐๑
ขอนแก่น-ท่าคันโท
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านน้ำพอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๙ ผ่านบ้านเสียว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๘๓ ถึงอำเภอน้ำพอง แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๓๙ ถึงอำเภอกระนวน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ผ่านบ้านทุ่งใหญ่
บ้านคำครึ่ง บ้านโคกกลาง บ้านโคกล่าม บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านภู่เจริญ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าคันโท
ช่วงน้ำพอง-บ้านหนองหว้า
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำพองไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๘๓
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๙ ถึงทางแยกบ้านหนองหว้า
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ขก. ๔๐๐๗ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองหว้า
ช่วงน้ำพอง-บ้านพังทุย
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอน้ำพอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๘๓ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๓๙ ถึงทางแยกเข้าบ้านหัวบึง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหัวบึง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านพังทุย
สายที่ ๕๓๐ บ้านผือ-ศรีเชียงใหม่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านผือ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง
ถึงบ้านกลางใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๖๖ ผ่านบ้านนาสีดา บ้านนางิ้ว
บ้านโพธิ์ตาก บ้านโพนทอง บ้านดอนไผ่ บ้านไร่ บ้านเสียว บ้านหนองปลาปาก บ้านดอนก่อ
บ้านโนนสง่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอศรีเชียงใหม่
ช่วงบ้านผือ-บ้านลาดหอคำ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓๔๘ ผ่านบ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง ถึงบ้านกลางใหญ่ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๖๖ ผ่านบ้านนาสีดา บ้านนางิ้ว ถึงบ้านโพธิ์ตาก แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านคำเจริญ บ้านคำด้วง บ้านสระคลองพัฒนา บ้านห้วยศิลา บ้านตาดน้ำพุ
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านลาดหอคำ
สายที่ ๕๓๗
ขอนแก่น-โกสุมพิสัย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙ ผ่านบ้านหนองใหญ่ บ้านท่าหิน ถึงบ้านกู่ทอง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๙๑ ผ่านบ้านโนนเมืองน้อย บ้านคุยแพง
บ้านคุยเชือก บ้านกอก บ้านหนองผือ บ้านปลาปัด บ้านยางท่าแจ้ง บ้านสว่าง
บ้านโนนเมือง บ้านโนนตุ่น บ้านโนนเนาว์ ถึงบ้านเขื่อน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๓๗ ผ่านบ้านผักหนอก บ้านยางน้อย บ้านยางใหญ่
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโกสุมพิสัย
สายที่ ๕๕๔ เชียงยืน-กระนวน
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอเชียงยืน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ผ่านบ้านหมากหญ้า บ้านโนนสวรรค์ บ้านโนนสูง
บ้านซำสูง บ้านหลุบเลา บ้านห้วยเตย บ้านหัวฝาย บ้านโสกขาแก้ว บ้านหนองกุงใหญ่
บ้านผักหนาม ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน
สายที่ ๕๗๖ กระนวน-ท่าคันโท
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒ ผ่านบ้านหนองแวงเป่ง บ้านทุ่งใหญ่ บ้านชัยเจริญ
บ้านคำครึ่ง บ้านน้ำสามวัง บ้านโคกกลาง บ้านโคกสูง บ้านโคกล่าม บ้านโนนสมบูรณ์
บ้านโคกใหญ่ บ้านภู่เจริญ บ้านกุงเก่า บ้านสร้างแก้ว ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอท่าคันโท
ช่วงกระนวน-บ้านนามูล
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒
ผ่านบ้านหนองแวงเป่ง บ้านทุ่งใหญ่ บ้านชัยเจริญ ถึงบ้านคำครึ่ง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๔๐๓๙ ถึงบ้านคลองชัย ไปตามทางหลวงชนบท
ผ่านบ้านตอประดู่ บ้านภูถ้ำเม่น ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนามูล
ช่วงกระนวน-บ้านหัวนาคำ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒
ผ่านบ้านหนองแวงเป่ง บ้านทุ่งใหญ่ บ้านชัยเจริญ บ้านคำครึ่ง
บ้านน้ำสามวังถึงบ้านโคกกลาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านจอมบึง ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหัวนาคำ
ช่วงกระนวน-บ้านโคกกลาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอกระนวน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๕๒
ผ่านบ้านหนองแวงเป่ง บ้านทุ่งใหญ่ บ้านชัยเจริญ บ้านคำครึ่ง บ้านน้ำสามวัง
บ้านโคกกลาง บ้านโคกสูง บ้านโคกล่าม บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านโคกใหญ่ ถึงบ้านภู่เจริญ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข กส. ๔๐๒๖ ผ่านบ้านกุดจิก ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกกลาง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๒
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา ๑๒๒/ตอนที่ ๙๗ ง/หน้า ๑๕๒/๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466177 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ ฉบับที่ 51 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 3 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ฉบับที่
๕๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทาง
ด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๓ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ฉบับที่ ๔๒ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ลงวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๔๖
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดกาฬสินธุ์ สายที่ ๑ โรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง-หมู่บ้านสุธาธาร
สายที่ ๒ โรงเรียนพณิชยการกาฬสินธุ์-โรงเรียนหนองบัวราษฎร์นิยม และสายที่ ๓ วงกลมบ้านโพนทอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์-บ้านโพนทอง
ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑)
แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน ๓ เส้นทาง คือ
๑. สายที่ ๑
โรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง-หมู่บ้านสุธาธาร เป็น
บ้านดงสวาง-บ้านห้วยสีทนและให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงโรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง-บ้านห้วยสีทน
๒. สายที่ ๒
โรงเรียนพณิชยการกาฬสินธุ์-โรงเรียนหนองบัวราษฎร์นิยม เป็น
โรงเรียนโคกกลางราษฎร์พัฒนา-บ้านท่าลำดวน
๓. สายที่ ๓
วงกลมบ้านโพนทอง-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์-บ้านโพนทอง
เป็นวงกลมบ้านคำเม็ก-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์-บ้านคำเม็ก
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่
๑ บ้านดงสวาง-บ้านห้วยสีทน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดงสวาง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านบ้านดงพยอม บ้านกลางดง บ้านเตาไห วิทยาลัยสารพัดช่าง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน
วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ แยกบ้านสงเปลือย แยกขวาไปตามถนนอรรถเปศล
ผ่านโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์ วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร
ผ่านโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์
แยกขวาไปตามถนนแก่งสำโรง ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แยกขวาไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๑ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
ถึงสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร แยกขวาไปตามถนนเทศบาล
๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์) ผ่านโรงพยาบาลธีรวัฒน์
โรงเรียนวรธรรมพิทยา แยกซ้ายไปตามถนนประชาสามัคคี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๗ ผ่านบ้านดอนกลอย บ้านหัวโนนโก เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์ หมู่บ้านสุธาธาร
ที่ทำการโทรศัพท์จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงสามแยกสหัสขันธ์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยสีทน
เที่ยวกลับ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยสีทน
ไปตามเส้นทางเดิมถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงวัดใต้โพธิ์ค้ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์)
แยกขวาไปตามถนนผ้าขาว แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านดงสวาง
ช่วงโรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง-บ้านห้วยสีทน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง ไปตามทางหลวงชนบท
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔ ผ่านบ้านเตาไห
วิทยาลัยสารพัดช่างศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์
แยกบ้านสงเปลือย แยกขวาไปตามถนนอรรถเปศล ผ่านโรงเรียนเมืองกาฬสินธุ์
วิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ ถึงสำนักงานป่าไม้ จังหวัดกาฬสินธุ์
แยกซ้ายไปตามถนนกาฬสินธุ์ ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร
ผ่านโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามถนนแก่งสำโรง
ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แยกขวาไปตามถนนกาฬสินธุ์ ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๑
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
ถึงสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร แยกขวาไปตามถนนเทศบาล
๒๓ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์) ผ่านโรงพยาบาลธีรวัฒน์
โรงเรียนวรธรรมพิทยา แยกซ้ายไปตามถนนประชาสามัคคี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๗ ผ่านบ้านดอนกลอย บ้านหัวโนนโก เรือนจำจังหวัดกาฬสินธุ์
หมู่บ้านสุธาธาร ที่ทำการโทรศัพท์จังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงสามแยกสหัสขันธ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๒๗ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยสีทน
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยสีทน ไปตามเส้นทางเดิม
ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
แล้วไปตามเส้นทางเดิม ถึงวัดใต้โพธิ์ค้ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓
(ถนนถีนานนท์) แยกขวาไปตามถนนผ้าขาว แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม
ถึงแยกบ้านหลุบ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนบ้านหลุบอินทรราษฎร์บำรุง
สายที่
๒ โรงเรียนโคกกลางราษฎร์พัฒนา-บ้านท่าลำดวน
เที่ยวไป
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนโคกกลางราษฎร์พัฒนา
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. กส. ๒๐๔๓ ผ่านบ้านโคกกลาง ถึงบ้านกุดอ้อ แยกขวาไปตามถนนสงเปลือย
ผ่านบ้านสงเปลือย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านโรงเรียนพณิชยการกาฬสินธุ์
แยกซ้ายไปตามถนน สว.ประศักดิ์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๔
ผ่านศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์
แยกขวาไปตามถนนเลี่ยงเมือง-ทุ่งมน ผ่านองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งศรีเมือง
ผ่านโรงเรียนทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร
แยกซ้ายไปตามถนนสุรินทร์ ผ่านสำนักงานอัยการจังหวัดกาฬสินธุ์ ถึงโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
แยกขวาไปตามถนนอรรถเปศล ผ่านวิทยาลัยเทคนิคกาฬสินธุ์ โรงเรียนมืองกาฬสินธุ์
แยกขวาไปตามถนนภิรมย์ ผ่านโรงเรียนอนุกูลนารี โรงเรียนอนุบาลกาฬสินธุ์ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย
แยกซ้ายไปตามถนนสิทธิเดช แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามถนนแก่งสำโรง
ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง แยกขวาไปตามถนนกาฬสินธุ์ ผ่านโรงเรียนเทศบาล ๑
โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
ถึงสำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนชัยสุนทร
ผ่านห้างกาฬสินธุ์พลาซ่า แยกขวาไปตามถนนอนรรฆนาค แยกซ้ายไปตามถนนแก่งดอนกลาง
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. กส. ๓๐๒๒ ผ่านบ้านหนองบัว โรงเรียนหนองบัวราษฎร์นิยม
ถึงบ้านกุดลาย แยกขวาไปตามถนนชลประทาน ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าลำดวน
เที่ยวกลับ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านท่าลำดวน ไปตามเส้นทางเดิมถึงวัดใต้โพธิ์ค้ำ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์) แยกขวาไปตามถนนผ้าขาว
แยกซ้ายไปตามถนนประดิษฐ์ แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางโรงเรียนโคกกลางราษฎร์พัฒนา
สายที่
๓ วงกลมบ้านคำเม็ก-สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์-บ้านคำเม็ก
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารบ้านคำเม็ก
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์) ผ่าน บริษัท เอเชียซีทริค จำกัด
บ้านโพนทอง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โรงเรียนวรธรรมพิทยา โรงพยาบาลธีรวัฒน์
ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ ไปตามถนนอรรถเปศล ถึงโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์
แล้วกลับเส้นทางเดิม ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนกาฬสินธุ์
ผ่านตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ สำนักงานที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์
ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงเรียนเทศบาล ๑ ถึงศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
แยกซ้ายไปตามถนนแก่งสำโรง ถึงวัดใต้โพธิ์ค้ำ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๑๓ (ถนนถีนานนท์) ถึงห้าแยก (หน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด) แยกขวาไปตามถนนสุจินดา
แยกขวาไปตามถนนประดิษฐ์ ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดกาฬสินธุ์
แยกขวาไปตามถนนแก่งสำโรง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓ (ถนนถีนานนท์)
ผ่านโรงเรียนริมปาว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมือง-ทุ่งมน
ผ่านหมู่บ้านสันสุนีย์ โรงเรียนอนุบาลรัตนา แยกบ้านสงเปลือย
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาฬสินธุ์
สำนักงานขนส่งจังหวัดกาฬสินธุ์ แยกซ้ายไปตามถนนทุ่งศรีเมือง ผ่านโรงเรียนทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์
ถึงสำนักงานป่าไม้จังหวัดกาฬสินธุ์ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๓
(ถนนถีนานนท์) แล้วไปตามเส้นทางเดิม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านคำเม็ก
ประกาศ ณ วันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
นันทนา/ผู้จัดทำ
๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๒ ง/หน้า ๑๖๒/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466108 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 76 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 8328 สมุทรสาคร-วัดบ้านไร่เจริญผล เป็น สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๗๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร
สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-วัดบ้านไร่เจริญผล เป็น
สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๔๓) ลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-วัดบ้านไร่เจริญผล
ให้มีเส้นทางแยกช่วงสมุทรสาคร-บ้านไร่ สมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-สารินซิตี้ และ
สมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-วัดบ้านไร่เจริญผล ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๘ สมุทรสาคร-วัดบ้านไร่เจริญผล เป็น
สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๓๒๘
สมุทรสาคร-ศาลพันท้ายนรสิงห์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่
ถึงวัดพันท้ายนรสิงห์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๒๐๐๔ ข้ามสะพานสนามไชย
แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลพันท้ายนรสิงห์ ถึงหมู่บ้านวิเศษสุข
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๒๐๐๔
ผ่านวัดบ้านไร่เจริญผล วัดบ้านโคก ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณศาลพันท้ายนรสิงห์
ช่วงสมุทรสาคร-บ้านไร่
(ท่าเรือคลองมหาชัย) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทาง จังหวัดสมุทรสาคร
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านไร่
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านไร่
(ท่าเรือคลองมหาชัย)
ช่วงสมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-สารินซิตี้
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านโคกขาม
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๖ (บ้านคอกควาย-บ้านโคกขาม)
ผ่านสถานีรถไฟบ้านคอกกระบือ ข้ามคลองมหาชัย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค.
๓๐๑๙ (สายบ้านปากคลองโคกขาม-บ้านไร่) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณหมู่บ้านสารินซิตี้
ช่วงสมุทรสาคร-ท่าเรือบ้านโคกขาม-วัดบ้านไร่เจริญผล
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข
๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ผ่านมหาชัยเมืองใหม่ ถึงทางแยกไปบ้านโคกขาม
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๖ (บ้านคอกควาย-บ้านโคกขาม)
ผ่านสถานีรถไฟบ้านคอกกระบือ ข้ามคลองมหาชัย แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค.
๓๐๑๙ (สายบ้านปากคลองโคกขาม-บ้านไร่) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณวัดบ้านไร่เจริญผล
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สมบูรณ์ งามลักษณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พชร/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖๖/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466106 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสมุทรสาคร ฉบับที่ 75 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ 8327 สมุทรสาคร-แคราย เป็น สมุทรสาคร-แคราย-โรงเรียนบ้านบางน้ำจืด
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๗๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร
สายที่ ๘๓๒๗ สมุทรสาคร-แคราย เป็น
สมุทรสาคร-แคราย-โรงเรียนบ้านบางน้ำจืด[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ฉบับที่ ๕๑ (พ.ศ. ๒๕๓๙) ลงวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๗ สมุทรสาคร-แคราย ให้มีเส้นทางแยกช่วงสมุทรสาคร-คลองสี่วา
(เนรมิตแฟกทอรี่เฮ้าส์) ขึ้น นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาครได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๔๘
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดสมุทรสาคร สายที่ ๘๓๒๗ สมุทรสาคร-แคราย เป็น
สมุทรสาคร-แคราย-โรงเรียนบ้านบางน้ำจืด โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๘๓๒๗
สมุทรสาคร-แคราย-โรงเรียนบ้านบางน้ำจืด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ถึงมหาชัยเมืองใหม่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๔๒ (ถนนเอกชัย) ถึงสะพานคอกกระบือ
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (สายบ้านบางปิ้ง-บ้านคอกควาย) ถึงสะพานข้ามคลองต้นมะขาม
แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลแคราย (ถนนเลียบคลองแคราย) ถึงบ้านแคราย
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สค. ๔๐๐๙
แยกขวาไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด (ถนนเลียบคลองสี่วาตากล่อม)
ผ่านวัดโพธิ์แจ้ บ้านทุ่งศรีทอง สถานีรถไฟบางน้ำจืด
แยกซ้ายไปตามถนนองค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด (ซอยสถานีอนามัยบางน้ำจืด)
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณโรงเรียนบ้านบางน้ำจืด
ช่วงสมุทรสาคร-คลองสี่วา
(เนรมิตแฟกทอรี่เฮ้าส์) เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร
ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๕ (ถนนพระรามที่ ๒) ถึงมหาชัยเมืองใหม่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๒๔๒ (ถนนเอกชัย) ถึงสะพานคอกกระบือ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
(สายบ้านบางปิ้ง-บ้านคอกควาย) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณคลองสี่วา (เนรมิตแฟกทอรี่เฮ้าส์)
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
สมบูรณ์ งามลักษณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
พชร/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖๔/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466102 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 113 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๑๑๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี ได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่ ๔๖๑๔ บ้านนาสีนวล-บ้านปากดง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๖๑๔
บ้านนาสีนวล-บ้านปากดง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาสีนวล
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด. ๔๐๐๒ ผ่านบ้านกล้วย ถึงบ้านทุ่ง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สปก. อด.๐๓๓๐๒ ผ่านบ้านดงไพรวัลย์ บ้านโนนศรีทอง
บ้านค้อเขียว ถึงบ้านนาจาน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๙๖
ผ่านบ้านหนองแต้ ถึงอำเภอบ้านดุง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. อด. ๒๑๕๑
ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. อด. ๓๐๓๒ ผ่านบ้านโพนสูง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ.
อด. ๒๑๕๑ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปากดง
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พิทยา สุนทรวิภาต
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
พชร/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖๓/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
466092 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดอุดรธานี ฉบับที่ 112 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๑๑๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๖ เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๔๖ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่ ๔๖๑๒ อุดรธานี-บ้านสร้างแป้น-พิบูลย์รักษ์ และมีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงอุดรธานี-บ้านยาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๔๖๑๒
อุดรธานี-บ้านสร้างแป้น-พิบูลย์รักษ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
แห่งที่ ๒ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ ถึงบ้านดงไร่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ.
อด. ๒๐๒๐) ผ่านบ้านดงยวด บ้านงอย บ้านดอนหญ้านาง บ้านโนนตูม ถึงบ้านสร้างแป้น
ไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านหนองซองแมว ถึงบ้านหว้าน แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
ถึงบ้านทอน แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านดอนกลอย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓๑๒ ถึงบ้านดงยาง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (อด. ๔๐๐๘) ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอพิบูลย์รักษ์
ช่วงอุดรธานี-บ้านยาง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี แห่งที่ ๒
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๐ (ถนนเลี่ยงเมือง) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒ ถึงบ้านดงไร่ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. อด. ๒๐๒๐) ผ่านบ้านดงยวด บ้านงอย บ้านดอนหญ้านาง
ถึงบ้านโนนตูม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (ยธ. อด. ๓๑๓๖) ผ่านบ้านขมิ้น ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านยาง
ประกาศ ณ วันที่ ๓๐
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พิทยา สุนทรวิภาต
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดอุดรธานี
พชร/ผู้จัดทำ
๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๑๐๑ ง/หน้า ๑๖๑/๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464293 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1605 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 541 นครราชสีมา-ด่านขุนทด-ลำนารายณ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๔๑
นครราชสีมา-ด่านขุนทด-ลำนารายณ์[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๙๐๐ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ประกาศ ณ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๓๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๔๑
นครราชสีมา-ด่านขุนทด-ลำนารายณ์ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๔๑
นครราชสีมา-ด่านขุนทด-ลำนารายณ์ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๕๔๑
นครราชสีมา-ด่านขุนทด-ลำนารายณ์
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านจอหอ อำเภอโนนไทย
จนถึงสี่แยกบ้านหนองบัวโคก แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑
ผ่านอำเภอด่านขุนทด ถึงบ้านกุดม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖
ผ่านบ้านตะเคียน บ้านห้วยบง สวนป่าเขาผาแดง บ้านลำพญาไม้ บ้านชัยบาดาล
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ ผ่านบ้านท่ามะกอก บ้านหนองจอก
สี่แยกตลาดชัยบาดาลเก่า ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารลำนารายณ์
ช่วงด่านขุนทด-บ้านหินดาด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ถึงบ้านกุดม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ถึงบ้านตะเคียน
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหินดาด
ช่วงด่านขุนทด-บ้านห้วยจรเข้
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ถึงบ้านกุดม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านบ้านตะเคียน
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๑๖๔ ผ่านบ้านทุ่งสว่าง ถึงบ้านท่าขี้เหล็ก
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. นม. ๓๒๘๔ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านห้วยจรเข้
ช่วงด่านขุนทด-บ้านฝายหลวง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ถึงบ้านกุดม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านบ้านตะเคียน
บ้านปราสาท แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านกุดนางทอหูก แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านฝายหลวง
ช่วงด่านขุนทด-บ้านหนองใหญ่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอด่านขุนทด ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๐๑ ถึงบ้านกุดม่วง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ผ่านบ้านตะเคียน
บ้านปราสาท บ้านห้วยบง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข นม. ๔๐๓๓ ผ่านบ้านวังผาแดง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองใหญ่
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ก/หน้า ๖๕/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464291 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1604 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 542 บ้านผือ-สังคม
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๔ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ยกเลิกเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๕๔๒
บ้านผือ-สังคม[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๓๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘) ประกาศ ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๘ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๕๔๒
บ้านผือ-สังคม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นว่า
เส้นทางดังกล่าวหมดความจำเป็นสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้ยกเลิกเส้นทางดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ ๙ สิงหาคม
๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๖๔/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464289 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1603 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดอุดรธานี สายที่ 4403 อุดรธานี-นายูง เป็นเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 823 อุดรธานี-สังคม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน 2 ช่วง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๓ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี
สายที่ ๔๔๐๓ อุดรธานี-นายูง
เป็นเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๘๒๓
อุดรธานี-สังคม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง
จำนวน ๒ ช่วง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดอุดรธานี
ฉบับที่ ๖๐ (พ.ศ. ๒๕๓๓) ประกาศ ณ วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๓๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๔๔๐๓ อุดรธานี-กิ่งอำเภอนายูง
นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดอุดรธานี สายที่ ๔๔๐๓
อุดรธานี-นายูง เป็นเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๘๒๓
อุดรธานี-สังคม ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง จำนวน ๒ ช่วง คือ ช่วงอุดรธานี-นายูง
และช่วงบ้านผือ-บ้านปากเจียง โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๘๒๓ อุดรธานี-สังคม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านดงไร่
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๑ ผ่านบ้านดู่ บ้านเทื่อม บ้านหนองหัวคู
บ้านดงหมู บ้านหนองกุง ถึงอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘
ผ่านบ้านผือ บ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง บ้านกลางใหญ่ บ้านน้ำซึมน้อย
บ้านน้ำซึม ถึงบ้านสามเหลี่ยมแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ผ่านบ้านโคกสะอาด
บ้านนาเก็น บ้านห้วยทราย บ้านสว่าง บ้านปากราง บ้านนาต้อง บ้านโสมสวรรค์
บ้านเชียงดี บ้านโสกกล้า บ้านนาขาม บ้านสังกะสี ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสังคม
ช่วงอุดรธานี-นายูง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดอุดรธานี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
(ถนนมิตรภาพ) ถึงบ้านดงไร่ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๒๑ ผ่านบ้านดู่
บ้านเทื่อม บ้านหนองหัวคู บ้านดงหมู บ้านหนองกุง ถึงอำเภอบ้านผือ
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๔๘ ผ่านบ้านผือ บ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง
บ้านกลางใหญ่ บ้านน้ำซึมน้อย บ้านน้ำซึม ถึงบ้านสามเหลี่ยม
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖ ผ่านบ้านโคกสะอาด บ้านนาเก็น บ้านห้วยทราย
บ้านสว่าง ถึงบ้านปากราง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. อด. ๒๐๑๐
ผ่านบ้านนายูง ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอนายูง
ช่วงบ้านผือ-บ้านปากเจียง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอบ้านผือ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๒๓๔๘ ผ่านบ้านผือ บ้านโนนวารี บ้านติ้ว บ้านผักบุ้ง บ้านกลางใหญ่ บ้านน้ำซึมน้อย
บ้านน้ำซึม ถึงบ้านสามเหลี่ยม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๓๗๖
ผ่านบ้านโคกสะอาด บ้านนาเก็น บ้านห้วยทราย บ้านสว่าง บ้านปากราง บ้านนาต้อง
บ้านโสมสวรรค์ ถึงบ้านเชียงดี แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. อด. ๓๑๒๗
ผ่านบ้านกุดเชือม บ้านท่าโปงทอง ถึงบ้านโนนทอง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข อด.
๖๒๐๐ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านปากเจียง
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๖๒/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464287 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1602 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 704 ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-หาดใหญ่ ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-บ้านเกาะยอ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๗๐๔
ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-หาดใหญ่
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-บ้านเกาะยอ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๗๐๔
ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง เป็น ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-หาดใหญ่ นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่
๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด ๓ สายที่ ๗๐๔
ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-หาดใหญ่
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-บ้านเกาะยอ
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๗๐๔
ปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-หาดใหญ่
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากพะยูน
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๘๑ ผ่านบ้านโพธิ์ บ้านไร่ บ้านหัวควน บ้านท่าไหล
บ้านดอนประดู่ บ้านห้วยลึก ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านเทพา บ้านนาลิง บ้านสระ
ถึงสถานีรถไฟบ้านควนเนียง ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. สข. ๒๐๒๓
ผ่านสถานีตำรวจภูธรอำเภอควนเนียง ศาลาบ่อแก้ว วัดคลองคล้า บ้านบางเหรียง แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข
ร.พ.ช. สข. ๓๑๔๑ ผ่านวัดบางเหรียง วัดบางหยี โรงเรียนวัดบางหยี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สข. ๔๐๖๕ ผ่านสถานีอนามัยบางกล่ำ บ้านเลียบ
บ้านหาร แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข สข. ๒๐๗๘ ผ่านโรงเรียนท่าแซ
แยกซ้ายไปตามถนนลพบุรีราเมศร์ ถึงสามแยกคลองแห แยกขวาไปตามถนนลพบุรีราเมศร์
ถึงวงเวียนน้ำพุ แยกซ้ายไปตามถนนเพชรเกษม ถึงสามแยกคอหงส์ แยกขวาไปตามถนนกาญจนวนิช
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่
ช่วงปากพะยูน-สถานีรถไฟบ้านควนเนียง-บ้านเกาะยอ
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากพะยูน ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๘๑ ผ่านบ้านโพธิ์ บ้านไร่ บ้านหัวควน บ้านท่าไหล บ้านดอนประดู่ บ้านห้วยลึก
ตรงไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านเทพา บ้านนาลิง บ้านสระถึงสถานีรถไฟบ้านควนเนียง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สข. ๔๑๑๑ ผ่านบ้านกรอบ บ้านควนโส
บ้านปากจ่า บ้านบ่อหว้า ไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ยธ. สข. ๒๐๔๐ ผ่านบ้านปากรอ บ้านป่าขาด
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สข. ๒๐๙๑ ถึงบ้านตางหน
ตรงไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ร.พ.ช. สข. ๓๐๑๑ ผ่านบ้านมะม่วงหมู่ บ้านสะทิงหม้อ
ถึงบ้านโพรงจรเข้ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘ ผ่านบ้านเขาเขียว
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเกาะยอ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๖๐/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464283 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1601 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 3 สายที่ 344 ฉะเชิงเทรา-คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็น ฉะเชิงเทรา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๓ สายที่ ๓๔๔
ฉะเชิงเทรา-คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็น
ฉะเชิงเทรา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๕๐๗ (พ.ศ. ๒๕๔๗) ประกาศ ณ วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๔๗ กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๓ สายที่ ๓๔๔
ฉะเชิงเทรา-คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๔/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด
๓ สายที่ ๓๔๔ ฉะเชิงเทรา-คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต เป็น
ฉะเชิงเทรา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้
สายที่ ๓๔๔
ฉะเชิงเทรา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๔ ผ่านบ้านบางพระ ถึงบ้านคลองประเวศ
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทหมายเลข ฉช ๓๐๐๑ ผ่านคลองขุนพิทักษ์ บ้านเทพราช
คลองแขวงกลั่น คลองพระยาสมุทร คลองสวน คลองกระแชงเตย คลองเปรง คลองสรั่งบุญ
คลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต ไปตามถนนหลวงแพ่ง ถนนอ่อนนุช ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๕๙/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464275 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับที่ 1606 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 2 ภาคใต้ และภาคตะวันตก จำนวน 16 เส้นทาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๑๖๐๖ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ ภาคใต้
และภาคตะวันตก จำนวน ๑๖ เส้นทาง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับที่ ๗๔๖ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ สายที่ ๖๒ กรุงเทพฯ-ขนอม
ฉบับที่
๖๔๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๗๐ กรุงเทพฯ-ปราณบุรี สายที่ ๗๗ กรุงเทพฯ-โพธาราม และสายที่ ๘๕
กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก)
ฉบับที่
๖๖๒ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๒๐
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถยนต์โดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด
(เฉพาะที่เริ่มต้นจากกรุงเทพมหานคร) สายที่ ๗๕ กรุงเทพฯ-ปากท่อ
ฉบับที่
๖๖๓ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๔๙ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต (ข) และสายที่ ๙๕๐ กรุงเทพฯ-กระบี่ (ค)
ฉบับที่
๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๓
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๙๕๑
กรุงเทพมหานคร-อ่างทอง-สุพรรณบุรี
ฉบับที่
๕๓๕ (พ.ศ. ๒๕๓๑) ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๓๑
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร สายที่ ๙๗๒ กรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม
(ค)
ฉบับที่
๖๖๑ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๗๓ กรุงเทพฯ-สงขลา
ฉบับที่
๖๕๙ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๗๘ กรุงเทพฯ-หัวหิน (ข) สายที่ ๙๘๒ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ (ข), สายที่ ๙๘๓
กรุงเทพฯ-กระบี่ (ข), สายที่ ๙๘๕ กรุงเทพฯ-ปราณบุรี (ข)
และสายที่ ๙๙๓ กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี
ฉบับที่
๖๔๘ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ประกาศ ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๓๒ กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๒ สายที่ ๙๘๔ กรุงเทพฯ-ตรัง (ข) เป็น กรุงเทพฯ-สตูล (ข) นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางเห็นสมควรให้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเส้นทางดังกล่าวให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงในปัจจุบัน
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๙ (๒) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางที่ได้รับอนุมัติในหลักการไว้แล้ว
ในการประชุมครั้งที่ ๑๕/๒๕๓๙ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๙ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
แก้ไขรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๒ ภาคใต้
และภาคตะวันตก จำนวน ๑๖ เส้นทาง คือ สายที่ ๖๒ กรุงเทพฯ-ขนอม, สายที่ ๗๐
กรุงเทพฯ-ปราณบุรี, สายที่ ๗๕ กรุงเทพฯ-ปากท่อ สายที่ ๗๗
กรุงเทพฯ-โพธาราม, สายที่ ๘๕ กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก), สายที่ ๙๔๙ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต (ข), สายที่ ๙๕๐
กรุงเทพฯ-กระบี่ (ค), สายที่ ๙๕๑
กรุงเทพฯ-อ่างทอง-สุพรรณบุรี, สายที่ ๙๗๒
กรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม (ค), สายที่ ๙๗๓ กรุงเทพฯ-สงขลา, สายที่ ๙๗๘ กรุงเทพฯ-หัวหิน (ข) สายที่ ๙๘๒ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ (ข), สายที่ ๙๘๓ กรุงเทพฯ-กระบี่ (ข), สายที่ ๙๘๔
กรุงเทพฯ-สตูล (ข) สายที่ ๙๘๕ กรุงเทพฯ-ปราณบุรี (ข) และสายที่ ๙๙๓
กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๖๒ กรุงเทพฯ-ขนอม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม ถึงสามแยกวังมะนาว
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี อำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ผ่านอำเภอหลังสวน ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓
ผ่านอำเภอพุนพิน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถึงสามแยกคลองเหลง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑๔
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอขนอม
สายที่ ๗๐ กรุงเทพฯ-ปราณบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๖๘ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตำบลปากน้ำปราณบุรี
สายที่ ๗๕ กรุงเทพฯ-ปากท่อ
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามถนนพุทธมณฑลสาย ๒
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๓
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอปากท่อ
สายที่ ๗๗ กรุงเทพฯ-โพธาราม
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ ถึงสี่แยกปิ่นเกล้า
แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงสี่แยกท่าพระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านจังหวัดนครปฐม แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๘๐
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโพธาราม
สายที่ ๘๕
กรุงเทพฯ-สมุทรสาคร (ก)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ ถึงสี่แยกปิ่นเกล้า แยกขวาไปตามถนนจรัญสนิทวงศ์
ถึงสี่แยกท่าพระ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ ผ่านอำเภอกระทุ่มแบน
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสาคร
สายที่ ๙๔๙ กรุงเทพฯ-ภูเก็ต
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษ ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ผ่านอำเภอหลังสวน ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านอำเภอบ้านตาขุน ถึงบ้านเขาวัง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕ ผ่านบ้านทับคริสต์ บ้านเขาต่อ
ถึงทางแยกบ้านปากลาว แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงอำเภอทับปุด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑๕ ถึงทางแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ถึงจังหวัดพังงา แล้วกลับตามเส้นทางเดิม ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านอำเภอตะกั่วทุ่ง ถึงสามแยกบ้านโคกกลอย แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๒
ผ่านอำเภอถลาง ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดภูเก็ต
สายที่ ๙๕๐ กรุงเทพฯ-กระบี่
(ค)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ผ่านอำเภอหลังสวน อำเภอท่าฉาง ถึงบ้านส้อง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙
ผ่านอำเภอเวียงสระ ถึงอำเภอพระแสง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๕
ถึงทางแยกบ้านม่วงงาม แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๗ ผ่านอำเภอชัยบุรี
อำเภอเขาพนม ถึงอำเภอเหนือคลอง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ถึงบ้านตลาดเก่า
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๑
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
สายที่ ๙๕๑
กรุงเทพฯ-อ่างทอง-สุพรรณบุรี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒ (สายเอเซีย) ถึงทางแยกเข้าจังหวัดอ่างทอง
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๔ ถึงจังหวัดอ่างทอง ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๐๖๔ (สายอ่างทอง-โพธิ์ทอง) ถึงทางแยกไปอำเภอวิเศษชัยชาญ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๑๙๕ (สายโพธิ์พระยา-วิเศษชัยชาญ) ถึงทางแยกไปจังหวัดสุพรรณบุรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๓๙
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสุพรรณบุรี
สายที่ ๙๗๒
กรุงเทพฯ-สมุทรสงคราม (ค)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(จตุจักร) ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑ (ถนนวิภาวดีรังสิต)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๒ ผ่านสี่แยกแคราย
ถึงทางแยกทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ ถึงพุทธมณฑล
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๓๑๐ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ ผ่านอำเภอกระทุ่มแบน ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕ ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๐๙๑ (ถนนเศรษฐกิจ ๑) ถึงจังหวัดสมุทรสาคร
กลับตามเส้นทางเดิม ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๓๕ ถึงทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕ แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๒๕
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสมุทรสงคราม
สายที่ ๙๗๓ กรุงเทพฯ-สงขลา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านอำเภอหลังสวน
ถึงสามแยกหนองขรี แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล
อำเภอท่าศาลา ถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘
ผ่านอำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ เกาะยอ ถึงบ้านน้ำกระจาย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข ๔๐๗
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสงขลา
สายที่ ๙๗๘ กรุงเทพฯ-หัวหิน
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอหัวหิน
สายที่ ๙๘๒
กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านอำเภอหลังสวน
ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอสิชล
อำเภอท่าศาลา ถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๘
ผ่านอำเภอหัวไทร อำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ บ้านหัวเขา บ้านเขาเขียว เกาะยอ
ถึงบ้านน้ำกระจาย แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๗
ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารอำเภอหาดใหญ่
สายที่ ๙๘๓ กรุงเทพฯ-กระบี่
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ผ่านอำเภอหลังสวน
ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙ ผ่านอำเภอบ้านนาสาร บ้านส้อง
ถึงอำเภอพระแสง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓๕ ถึงอำเภออ่าวลึก
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
สายที่ ๙๘๔ กรุงเทพฯ-สตูล
(ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงสี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๑ ผ่านอำเภอหลังสวน ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓
ผ่านอำเภอพุนพิน ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑
ถึงจังหวัดสุราษฎร์ธานีแยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๐๙ ผ่านอำเภอบ้านนาสาร
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑ ถึงอำเภอทุ่งสง
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๓ ถึงอำเภอห้วยยอด แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔ ถึงจังหวัดตรัง ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๔ ผ่านอำเภอย่านตาขาว
ถึงอำเภอปะเหลียน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๖ ผ่านอำเภอทุ่งหว้า
อำเภอละงู ถึงบ้านฉลุง แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖
ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดสตูล
สายที่ ๙๘๕
กรุงเทพฯ-ปราณบุรี (ข)
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๖๘ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตำบลปากน้ำปราณบุรี
สายที่ ๙๙๓
กรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพมหานคร
(สายใต้) ไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๓๓๘ แยกซ้ายไปตามทางหลวงพิเศษหมายเลข ๙
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๕ ผ่านจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม
ถึงสามแยกวังมะนาว แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านจังหวัดเพชรบุรี
อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สี่แยกปฐมพร ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑
ถึงสามแยกพุนพิน แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๑๕๓ ผ่านอำเภอพุนพิน
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๑ ไปสุดเส้นทางที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ประกาศ ณ วันที่ ๓๑
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๖๗/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464281 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 158 (พ.ศ. 2548) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทางหมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 4 หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็นสนามม้าจังหวัดขอนแก่น-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๕๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๔ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็น
สนามม้าจังหวัดขอนแก่น-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๒) ลงวันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๔ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุม
ครั้งที่ ๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๔
หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง เป็น
สนามม้าจังหวัดขอนแก่น-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๔
สนามม้าจังหวัดขอนแก่น-บ้านหนองน้ำเกลี้ยง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณสนามม้าจังหวัดขอนแก่น
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ แยกขวาไปตามถนนเหล่านาดี
ผ่านโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒
ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์ บ้านสำราญ บ้านเพี้ยฟานไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหนองน้ำเกลี้ยง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
เจตน์ ธนวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๗๔/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464251 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 160 (พ.ศ. 2548) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ 19 หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนเรือง เป็นตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านโนนเรือง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๖๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๑๙ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนเรือง เป็น
ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านโนนเรือง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๓๓ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๑
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่
๑๙ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนเรือง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น ในการประชุมครั้งที่
๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๑๙ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านโนนเรือง
เป็น ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านโนนเรือง โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๑๙
ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านโนนเรือง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม
ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกขวาไปตามถนนหน้าเมือง ซอย ๑๙ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง
แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสรผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมาย ๒ ผ่านโรงพยาบาลศรีนครินทร์
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. สายบ้านโนนม่วง-บ้านโคกสูงใหญ่) ผ่านบ้านโนนม่วง
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโนนเรือง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
เจตน์ ธนวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๗๘/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
464249 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดขอนแก่น ฉบับที่ 159 (พ.ศ. 2548) เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด 1 จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๕ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านทุ่ม เป็น ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านทุ่ม และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง 2 ช่วง คือ ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-กรมทหารราบที่ ๘ และช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านเป็ด
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๕๙ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง การกำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๕ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านทุ่ม เป็น
ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านทุ่ม
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง ๒ ช่วง คือ
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-กรมทหารราบที่
๘ และช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านเป็ด[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ฉบับที่ ๑๓๔ (พ.ศ. ๒๕๔๑) ลงวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น
สายที่ ๕ หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านทุ่ม นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่นได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสายดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดขอนแก่น
ในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่
๑๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
รายละเอียดเส้นทางรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ จังหวัดขอนแก่น สายที่ ๕
หมู่บ้านแลนด์แอนด์เฮ้าส์พาร์ค-บ้านทุ่ม เป็น ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านทุ่ม
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง ๒ ช่วง คือ ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-กรมทหารราบที่ ๘
และช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านเป็ด โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๕
ตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านทุ่ม
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม
ไปตามถนนรื่นรมย์ แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่นตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
(ถนนมะลิวัลย์) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านทุ่ม
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-กรมทหารราบที่
๘ เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม ไปตามถนนรื่นรมย์
แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น
ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒ (ถนนมะลิวัลย์) ถึงทางแยกไปกรมทหารราบที่ ๘
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกรมทหารราบที่ ๘
ช่วงตลาดหนองไผ่ล้อม-บ้านเป็ด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางตลาดหนองไผ่ล้อม ไปตามถนนรื่นรมย์
แยกซ้ายไปตามถนนหน้าเมือง แยกซ้ายไปตามถนนประชาสโมสร
ผ่านสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดขอนแก่น ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๒
(ถนนมะลิวัลย์) ถึงแยกไปบ้านเป็ด แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านเป็ด
ประกาศ ณ วันที่ ๒๔
สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
เจตน์ ธนวัฒน์
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดขอนแก่น
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๓ ง/หน้า ๗๖/๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ |
463865 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง
ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ฉบับลงวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๗ กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ๖
ล้อ (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) อัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ๑๐ ล้อ
และกำหนดอัตราค่าบริการในการขนส่งสินค้ามูลค่าสูง
และประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ฉบับลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๖ กำหนด
(ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ๖ ล้อ
และกำหนดอัตราค่าขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ๑๐ ล้อ เฉพาะการขนส่งสินค้าที่เข้า-ออกการท่าเรือแห่งประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร นั้น
บัดนี้
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า
การกำหนดอัตราค่าขนส่งไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากเป็นการตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างโดยตรง และโดยสภาพข้อเท็จจริงเห็นว่า
มีผู้ให้บริการที่เพียงพอ
ทำให้เป็นตลาดที่มีการแข่งขันในด้านคุณภาพและการบริการได้
โดยกลไกตลาดจะทำให้ค่าขนส่งอยู่ในระดับที่เหมาะสม
ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของการขนส่งด้วยรถบรรทุก ดังนั้น
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในปัจจุบัน คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๓/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘
อนุมัติให้ยกเลิกการกำหนดอัตราค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกดังกล่าว และให้การกำหนดอัตราค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกเป็นไปตามข้อตกลงราคาระหว่างผู้ประกอบการขนส่งและผู้ว่าจ้างตามกลไกตลาด
จนกว่าคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางจะพิจารณากำหนดอัตราค่าขนส่งด้วยรถบรรทุกใหม่ต่อไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๖
กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
พชร/ผู้จัดทำ
๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๙๐ ง/หน้า ๒๑๔/๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463558 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 211 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 1306 นครราชสีมา-โนนไทย
ในรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านกระโดน เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกระชาย-บ้านกระโดน
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๑๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทาง
สำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่
๑๓๐๖ นครราชสีมา-โนนไทย
ในรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านกระโดน
เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกระชาย-บ้านกระโดน[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๙๘ (พ.ศ. ๒๕๓๖) ลงวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๓๖ กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑๓๐๖ นครราชสีมา-โนนไทย
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วง นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรให้กำหนด
(ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง) รายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา สายที่ ๑๓๐๖ นครราชสีมา-โนนไทย ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงนครราชสีมา-บ้านกระโดน
เป็น นครราชสีมา-บ้านหนองกระชาย-บ้านกระโดน ดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑๓๐๖ นครราชสีมา-โนนไทย
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ) แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕
(ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านจอหอ บ้านโคกสูง บ้านหนองกระสังข์ ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอโนนไทย
ช่วงนครราชสีมา-บ้านหนองกระชาย-บ้านกระโดน
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านจอหอ ถึงบ้านโคกสูง
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (นม. ๑๐๔๙) ถึงแยกบ้านหนองกระชาย แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท ถึงบ้านหนองกระชาย
แล้วกลับตามเส้นทางเดิม แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (นม. ๑๐๔๙) ผ่านบ้านหนองไข่น้ำ ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านกระโดน
ช่วงนครราชสีมา-บ้านนา
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านจอหอ บ้านโคกสูง
ถึงบ้านหนองกระสังข์ แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท ผ่านบ้านอ้อ บ้านจาน ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนา
ช่วงนครราชสีมา-บ้านสำโรง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดนครราชสีมา ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒ (ถนนมิตรภาพ)
แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๕ (ถนนสุรนารายณ์) ผ่านบ้านจอหอ บ้านโคกสูง
ถึงบ้านหนองกระสังข์ แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทผ่านบ้านด่านติง บ้านเหล่า ไปสุดเส้นทาง
ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านสำโรง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พงศ์โพยม วาศภูติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
พชร/ผู้จัดทำ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๙ ง/หน้า ๓๐๗/๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463554 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดนครราชสีมา ฉบับที่ 210 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดนครราชสีมา สายที่ 4611 สีคิ้ว-เทพารักษ์
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ฉบับที่ ๒๑๐ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๖๑๑ สีคิ้ว-เทพารักษ์[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครราชสีมา
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔ จังหวัดนครราชสีมา
สายที่ ๔๖๑๑ สีคิ้ว-เทพารักษ์ โดยให้มีรายละเอียดเส้นทางดังนี้
สายที่ ๔๖๑๑
สีคิ้ว-เทพารักษ์
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางอำเภอสีคิ้ว
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๐๑ ผ่านบ้านหนองรี ถึงบ้านห้วยทราย
แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. นม. ๔๐๕๙) ผ่านบ้านโนนรัง บ้านวังโรงน้อย
บ้านโคกเพชร บ้านปางละกอ ถึงบ้านห้วยบง ไปตามทางหลวงชนบท (ร.พ.ช. นม. ๓๑๖๕)
ผ่านบ้านเสาร์ห้า บ้านซับยาง บ้านโนนเต็ง ถึงบ้านโนนทอง แยกซ้ายไปตามทางหลวงชนบท
(ร.พ.ช. นม. ๓๔๑๗) ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางกิ่งอำเภอเทพารักษ์
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พงศ์โพยม วาศภูติ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนครราชสีมา
พชร/ผู้จัดทำ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๙ ง/หน้า ๓๐๖/๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463550 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดสตูล ฉบับที่ 32 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 1 จังหวัดสตูล สายที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคสตูล-บ้านนาแค ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวิทยาลัยเทคนิคสตูล-ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสตูล
ฉบับที่ ๓๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๑ จังหวัดสตูล สายที่
๒ วิทยาลัยเทคนิคสตูล-บ้านนาแค
ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวิทยาลัยเทคนิคสตูล-ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสตูล
ฉบับที่ ๓๑ (พ.ศ. ๒๕๔๖) ประกาศ ณ วันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๖ กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑
จังหวัดสตูล สายที่ ๒ วิทยาลัยเทคนิคสตูล-บ้านาแค นั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสตูลได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดสตูล ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘ จึงให้กำหนด (ปรับปรุง)
เส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดสตูล สายที่ ๒
วิทยาลัยเทคนิคสตูล-บ้านนาแค ให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงวิทยาลัยเทคนิคสตูล-ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล
ให้ใช้รายละเอียดเส้นทาง ดังต่อไปนี้
สายที่ ๒ วิทยาลัยเทคนิคสตูล-บ้านนาแค
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าวิทยาลัยเทคนิคสตูล
ไปตามถนนศุลกานุกูล แยกซ้ายไปตามถนนติรสถิตย์ ถึงตลาดสดเทศบาลเมืองสตูล
แล้วกลับไปตามเส้นทางเดิม แยกซ้ายไปตามถนนศุลกานุกูล ตรงไปตามถนนบุรีวานิช
แยกซ้ายไปตามถนนสตูลธานี แยกขวาไปตามถนนยาตราสวัสดิ์ ผ่านเรือนจำจังหวัดสตูล
โรงพยาบาลสตูล แยกซ้ายไปตามถนนปานชูรำลึก แยกขวาไปตามถนนสตูลธานี ตรงไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๖ (ถนนยนตรการกำธร) ถึงทางแยกบ้านคลองขุด แยกขวาไปตามทางหลวงชนบท (สต. ๓๐๑๖)
ผ่านศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสตูล โรงเรียนสตูลวิทยา สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล
ไปสุดเส้นทาง ณ สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านนาแค
ช่วงวิทยาลัยเทคนิคสตูล-ที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางหน้าวิทยาลัยเทคนิคสตูล ไปตามถนนศุลกานุกูล
แยกซ้ายไปตามถนนติรสถิตย์ ถึงตลาดสดเทศบาลเมืองสตูล แล้วกลับไปตามเส้นทางเดิม
แยกซ้ายไปตามถนนศุลกานุกูล ตรงไปตามถนนบุรีวานิช แยกซ้ายไปตามถนนสตูลธานี
แยกขวาไปตามถนนยาตราสวัสดิ์ ผ่านเรือนจำจังหวัดสตูล โรงพยาบาลสตูล
แยกซ้ายไปตามถนนปานชูรำลึก แยกขวาไปตามถนนสตูลธานี
ตรงไปตามถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔๐๖ (ถนนยนตรการกำธร)
ถึงทางแยกบ้านคลองขุด แยกขวาไปตามถนนทางหลวงชนบท (สต. ๓๐๑๖)
ผ่านศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดสตูล โรงเรียนสตูลวิทยา
สำนักงานขนส่งจังหวัดสตูล แยกขวาไปตามถนนราษฎร์อุทิศ ผ่านสถานีโทรทัศน์กองทัพบก
ช่อง ๕ แฟลตกรมการปกครอง ถึงศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดสตูล
แยกขวาไปตามซอยราชการ ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางที่ว่าการอำเภอเมืองสตูล
ประกาศ ณ วันที่ ๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
มานิต วัฒนเสน
ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดสตูล
พชร/ผู้จัดทำ
๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๙ ง/หน้า ๓๐๔/๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463437 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก ประจำจังหวัดชลบุรี ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด 4 จังหวัดชลบุรี สายที่ 1631 (ค) ชลบุรี-แหลมฉบัง ให้มีเส้นทางแยกช่วงชลบุรี-เคหะชุมชนแหลมฉบัง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๕๕ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดชลบุรี
สายที่ ๑๖๓๑ (ค) ชลบุรี-แหลมฉบัง
ให้มีเส้นทางแยกช่วงชลบุรี-เคหะชุมชนแหลมฉบัง[๑]
ตามที่ได้มีประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ลงวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดชลบุรี สายที่ ๑๖๓๑ (ค) ชลบุรี-แหลมฉบัง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดชลบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดชลบุรี สายที่ ๑๖๓๑ (ค) ชลบุรี-แหลมฉบัง ให้มีเส้นทางแยกช่วงชลบุรี-เคหะชุมชนแหลมฉบัง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑๖๓๑ (ค)
ชลบุรี-แหลมฉบัง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี
ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓ (ถนนสุขุมวิท) ผ่านตำบลแสนสุข (หนองมน) ตำบลบางพระ
อำเภอศรีราชา บ้านอ่าวอุดม ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณทางแยกเข้านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
ช่วงชลบุรี-เคหะชุมชนแหลมฉบัง
เริ่มต้นจากสถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดชลบุรี ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓
(ถนนสุขุมวิท) ผ่านตำบลแสนสุข (หนองมน) ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา บ้านอ่าวอุดม
ถึงแยกถนนแหลมทอง (ตลาดสี่มุมเมือง) แยกซ้ายไปตามถนนแหลมทอง ผ่านวัดแหลมทอง ไปตามถนนเมืองใหม่
๓ ผ่านวิทยาลัยเทคโนโลยีแหลมฉบัง โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง ไปสุดเส้นทาง ณ
สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบริเวณเคหะชุมชนแหลมฉบัง
ประกาศ ณ วันที่ ๑๕
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พิสิฐ เกตุผาสุข
ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดชลบุรี
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๑๓/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463330 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ฉบับที่ 38 (พ.ศ. 2548) เรื่อง ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารหมวด 4 จังหวัดกระบี่ สายที่ 1822 กระบี่-เหนือคลอง เป็น กระบี่-บ้านหาดยาวและให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกระบี่-บ้านโคกยาง
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
ฉบับที่ ๓๘ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
ปรับปรุงเส้นทางและรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
หมวด ๔ จังหวัดกระบี่
สายที่ ๑๘๒๒ กระบี่-เหนือคลอง เป็น กระบี่-บ้านหาดยาว
และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกระบี่-บ้านโคกยาง[๑]
ตามที่ได้มีการประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
ฉบับที่ ๕๖ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ลงวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๗
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารในชนบท (จังหวัดกระบี่) สายที่
๑๘๒๒ กระบี่-เหนือคลอง ขึ้นนั้น
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ได้พิจารณาเห็นสมควรให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางดังกล่าว
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดกระบี่ ในการประชุมครั้งที่
๒/๒๕๔๗ วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๗
และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๔๘
วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๔๘
จึงให้ปรับปรุงรายละเอียดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๔
จังหวัดกระบี่ สายที่ ๑๘๒๒ กระบี่-เหนือคลอง เป็น กระบี่-บ้านหาดยาว และให้มีรายละเอียดเส้นทางแยกช่วงกระบี่-บ้านโคกยาง
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังต่อไปนี้ คือ
สายที่ ๑๘๒๒
กระบี่-บ้านหาดยาว
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่
ไปตามถนนอุตรกิจ ถึงแยกตลาดเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔
ผ่านบ้านน้ำจาน บ้านกระบี่น้อย อำเภอเหนือคลอง ถึงบ้านคลองเสียด
แยกขวาไปตามทางหลวงชนบทสายโรงไฟฟ้า-บ้านคลองเสียด ผ่านบ้านเกาะไทร
การไฟฟ้าฝ่ายผลิต บ้านห้วยโศก ไปตามทางหลวงชนบทสายคลองหมาก-ท่ายาง
ผ่านบ้านคลองหมาก ไปตามทางหลวงชนบทสายคลองขนาน-หาดยาว
ทางหลวงชนบทสายคลองยวน-หาดยาว ผ่านบ้านคลองรั้วไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านหาดยาว
ช่วงกระบี่-บ้านโคกยาง
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางจังหวัดกระบี่ ไปตามถนนอุตรกิจ
ถึงแยกตลาดเก่า แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๔ ผ่านบ้านน้ำจาน บ้านกระบี่น้อย
อำเภอเหนือคลอง บ้านคลองเสียด ถึงบ้านบางผึ้ง แยกซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข
๔๐๔๑ ไปสุดเส้นทางที่สถานที่จอดรถโดยสารประจำทางบ้านโคกยาง
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ชาย พานิชพรพันธุ์
รองผู้ว่าราชการจังหวัด
รักษาราชการแทน
ผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดกระบี่
พชร/ผู้จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๑๑/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
463328 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2548) เรื่อง กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
ฉบับที่ ๖๑ (พ.ศ. ๒๕๔๘)
เรื่อง
กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร[๑]
ด้วย
คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรีได้พิจารณาเห็นสมควรกำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสารขึ้น
เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนต่อไป
ฉะนั้น
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐ (๑) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนนทบุรี
ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางในการประชุมครั้งที่
๔/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๔๘
จึงให้กำหนดเส้นทางสำหรับการขนส่งประจำทางด้วยรถโดยสาร หมวด ๑ จังหวัดนนทบุรี
สายที่ ๓ ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
โดยให้ใช้รายละเอียดเส้นทางดังนี้ คือ
สายที่
๓ ปากทางถนนสามัคคี (ด้านถนนติวานนท์)-ถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
เริ่มต้นจากสถานที่จอดรถโดยสารประจำทางปากทางถนนสามัคคี
(ด้านถนนติวานนท์) ไปตามถนนสามัคคี แยกซ้ายไปตามถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด
ไปสุดเส้นทางที่ปากทางถนนเลี่ยงเมืองปากเกร็ด (ด้านถนนติวานนท์)
ประกาศ ณ วันที่ ๑๘
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
พระนาย สุวรรณรัฐ
ผู้ว่าราชการจังหวัดนนทบุรี
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก
ประจำจังหวัดนนทบุรี
พชร/ผู้จัดทำ
๒๕ ตุลาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๘๘ ง/หน้า ๑๑๐/๒๐ ตุลาคม ๒๕๔๘ |
461416 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน 4 (ข) ชนิดที่นั่งพิเศษ
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
มาตรฐาน ๔ (ข)
ชนิดที่นั่งพิเศษ[๑]
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ (๒) (ฎ) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกกำหนดแบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารมาตรฐาน
๔ (ข) ชนิดที่นั่งพิเศษ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑
แบบที่นั่งผู้โดยสารต้องเป็นที่นั่งเดี่ยว มีความสูงพอสมควร
เบาะนั่งต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า ๔๐ เซนติเมตร ที่นั่งและพนักพิงหลังต้องติดตรึงไว้อย่างมั่นคง
แข็งแรง และให้มีลักษณะดังนี้
(๑)
ที่นั่งและพนักพิงหลังต้องมีเบาะหนาพอสมควร มีที่พักเท้าและมีที่วางแขนทั้ง ๒
ข้างทุกที่นั่ง
(๒)
พนักพิงหลังต้องมีเบาะรองรับศีรษะหนาพอสมควร สูงจากเบาะที่นั่งไม่น้อยกว่า ๗๐
เซนติเมตร ในสภาพปกติพนักพิงหลังต้องเอนไปข้างหลังเป็นมุมประมาณ ๙๕ องศา จากแนวราบ
และสามารถปรับเอนไปข้างหลังได้ถึง ๑๓๕ องศา จากแนวราบ
(๓)
มีเข็มขัดนิรภัยแบบ ๒ จุดทุกที่นั่ง รวมที่นั่งผู้ขับรถด้วย
ข้อ
๒
การจัดวางที่นั่งให้จัดวางที่นั่งตามความกว้างของรถ
โดยเว้นให้มีช่องทางเดินตามความยาว ตัวรถกว้างไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร
ที่นั่งต้องติดตรึงแน่นกับตัวรถอย่างมั่นคง แข็งแรง
โดยให้จัดวางที่นั่งแถวข้างซ้ายและข้างขวาข้างละ ๒ ที่นั่ง
และให้มีระยะห่างระหว่างที่นั่งเมื่อวัดในระดับเหนือเบาะที่นั่งไม่เกิน ๕
เซนติเมตร จากด้านหลังพนักพิงหลังของที่นั่งด้านหน้าถึงด้านหน้าพนักพิงหลังของที่นั่งถัดไป
ต้องไม่น้อยกว่า ๙๐ เซนติเมตร
ตัวอย่างการจัดวางที่นั่งผู้โดยสาร
ให้เป็นไปตามแบบที่แนบท้ายประกาศนี้
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๙
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ กันยายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๒ ง/หน้า ๒๒/๘ กันยายน ๒๕๔๘ |
461408 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่ได้มีประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก
ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้โดยสาร) ที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทาง
มักจะทำการเพิ่มเติมจำนวนที่นั่งผู้โดยสารให้แตกต่างไปจากที่จดทะเบียนไว้
และจะปรับปรุงให้คงตามสภาพเดิมที่จดทะเบียนต่อเมื่อจะนำรถมาตรวจสภาพ ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีการถอด ขยับ
หรือเลื่อนเพื่อเพิ่มจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
จึงเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๑ (๒) (ฎ) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
อธิบดีกรมการขนส่งทางบกออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้เพิ่มความต่อไปนี้
เป็นวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๔ (๔) ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
แบบและการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารและรถขนาดเล็ก
ลงวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗
สำหรับรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร มาตรฐาน ๒ (จ) (รถตู้โดยสาร)
ที่ใช้ในการประกอบการขนส่งประจำทางที่มีการจัดวางที่นั่งผู้โดยสารไว้เป็นสี่ตอนตามความกว้างของรถ
โดยที่นั่งหันไปในทางเดียวกัน เฉพาะที่นั่งตอนที่สามนับจากด้านหน้าของรถ
ให้มีการประทับเครื่องหมายรับรอง (Seal) ด้วยลวดและตะกั่ว ณ
บริเวณขาที่นั่งผู้โดยสารตรึงกับพื้นรถ โดยให้เครื่องหมายรับรองอยู่ใต้ท้องรถ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถประทับเครื่องหมายบริเวณดังกล่าวได้
ให้ประทับเครื่องหมายที่ขาที่นั่งผู้โดยสารตรึงกับพื้นรถด้านในห้องโดยสาร หรือที่ส่วนอื่นของที่นั่งตรึงกับตัวถังรถก็ได้
ห้ามมิให้ถอด
ขยับ หรือเลื่อนที่นั่งผู้โดยสารที่ประทับเครื่องหมายรับรอง (Seal) แก้ไขหรือทำลายเครื่องหมายดังกล่าว
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากนายทะเบียน
ข้อ
๒ การประทับเครื่องหมายรับรอง (Seal) ให้ดำเนินการตามกำหนดระยะเวลา
ดังนี้
(๑) รถที่จดทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร
ให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
(๒) รถที่จดทะเบียนในเขตจังหวัดอื่น นอกจาก (๑) ให้ดำเนินการตั้งแต่วันที่
๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๗
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๐ กันยายน ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๗๒ ง/หน้า ๒๐/๘ กันยายน ๒๕๔๘ |
460705 | ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง หมวด 2 หมวด 3 หมวด 1 ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง และหมวด 4 กรุงเทพมหานคร
| ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ประกาศคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
เรื่อง กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) รถโดยสารประจำทาง
หมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร[๑]
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา
๑๙ (๖) แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
ประกอบกับมติคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง ในการประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๘ อนุมัติให้กำหนด (ปรับปรุง) อัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร)
รถโดยสารประจำทางหมวด ๒ หมวด ๓ หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
๑.
กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารประจำทาง หมวด ๒ หมวด ๓
โดยให้ใช้อัตราค่าโดยสารอัตราที่ ๙ และกำหนดอัตราค่าโดยสารขั้นต่ำจากเดิม ๕.๐๐ บาท
เป็น ๖.๐๐ บาท ดังนี้
อัตราที่
ราคาน้ำมันดีเซล
บาท/ลิตร
อัตราค่าโดยสาร
(บาท)
๔๐ กม. แรก กม.
ละ
เกิน ๔๐ กม.
แต่ไม่เกิน
๑๕๐ กม. กม. ละ
เกิน ๑๕๐ กม.
ขึ้นไป
กม. ละ
อัตรา ก
อัตรา ข
อัตรา ค
อัตรา ก
อัตรา ข
อัตรา ค
อัตรา ก
อัตรา ข
อัตรา ค
๑
๑๐.๐๗ - ๑๑.๒๘
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๒๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๒
๑๑.๒๙ - ๑๒.๕๐
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๒๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๓
๑๒.๕๑ - ๑๓.๗๒
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๓๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๔
๑๓.๗๓ - ๑๔.๙๕
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๓๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๕
๑๔.๙๖ - ๑๖.๑๗
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๓๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๖
๑๖.๑๘ - ๑๗.๓๙
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๓๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๗
๑๗.๔๐ - ๑๘.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๓๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๘
๑๘.๖๒ - ๑๙.๘๓
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๓๕
๐.๔๐
๐.๔๕
*๙
๑๙.๘๔ - ๒๑.๐๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๓๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๑๐
๒๑.๐๖ - ๒๒.๒๗
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๓๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๑๑
๒๒.๒๘ - ๒๓.๔๙
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๓๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๑๒
๒๓.๕๐ - ๒๔.๗๑
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๓๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๑๓
๒๔.๗๒ - ๒๕.๙๓
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๔๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๑๔
๒๕.๙๔ - ๒๗.๑๕
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๔๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๑๕
๒๗.๑๖ - ๒๘.๓๗
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๔๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๑๖
๒๘.๓๘ - ๒๙.๕๙
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๔๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๑๗
๒๙.๖๐ - ๓๐.๘๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๔๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๑๘
๓๐.๘๒ - ๓๒.๐๓
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๔๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๑๙
๓๒.๐๔ - ๓๓.๒๕
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๔๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๒๐
๓๓.๒๖ - ๓๔.๔๗
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๔๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๒๑
๓๔.๔๘ - ๓๕.๖๙
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๗๐
๐.๕๓
๐.๕๘
๐.๖๓
๐.๔๘
๐.๕๓
๐.๕๘
๒๒
๓๕.๗๐ - ๓๖.๙๑
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๗๑
๐.๕๔
๐.๕๙
๐.๖๔
๐.๔๙
๐.๕๔
๐.๕๙
๒๓
๓๖.๙๒ - ๓๘.๑๓
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๗๒
๐.๕๕
๐.๖๐
๐.๖๕
๐.๕๐
๐.๕๕
๐.๖๐
๒๔
๓๘.๑๔ - ๓๙.๓๕
๐.๖๓
๐.๖๘
๐.๗๓
๐.๕๖
๐.๖๑
๐.๖๖
๐.๕๑
๐.๕๖
๐.๖๑
๒๕
๓๙.๓๖ - ๔๐.๕๗
๐.๖๔
๐.๖๙
๐.๗๔
๐.๕๗
๐.๖๒
๐.๖๗
๐.๕๒
๐.๕๗
๐.๖๒
ในกรณีที่คำนวณค่าโดยสารได้ต่ำกว่า ๖ บาท ให้คิดค่าโดยสารเท่ากับ
๖ บาท
หมายเหตุ : ๑.
อัตรา ก. หมายถึง อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลาดยางหรือถนนคอนกรีต
๒.
อัตรา ข. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับถนนลูกรังหรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ ๔
ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๓.
อัตรา ค. หมายถึง
อัตราค่าโดยสารที่ใช้กับทางชั่วคราวหรือทางขึ้นลงเขาซึ่งมีความลาดชันตั้งแต่ร้อยละ
๔ ขึ้นไป เป็นระยะทางไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๕ ของช่วงทางขึ้นลงเขานั้น
๒.
กำหนด (ปรับปรุง)
อัตราค่าโดยสารรถโดยสารประจำทาง หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
และหมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ดังนี้
๒.๑
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่มีเส้นทางต่อเนื่องให้ปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารสำหรับรถโดยสารธรรมดา
๑.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว และปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารรถโดยสารปรับอากาศทุกช่วง ๆ ละ
๑.๐๐ บาท ดังนี้
(๑)
รถโดยสารธรรมดาสีครีมแดง ปรับเพิ่มเป็น ๖.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๒)
รถโดยสารธรรมดาลักษณะพิเศษสีขาว ปรับเพิ่มเป็น ๗.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๓)
รถโดยสารมินิบัส ปรับเพิ่มเป็น ๕.๕๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
(๔)
รถโดยสารปรับอากาศธรรมดา ปรับเพิ่มเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๐.๐๐
บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสาร ๑๘.๐๐ บาท
(๕)
รถโดยสารปรับอากาศ EURO I และ EURO II ปรับเพิ่มเป็น ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๔ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๒.๐๐
บาท
ระยะทาง ๔ - ๘ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๔.๐๐
บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๖.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๘.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๒๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๒๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๔ กิโลเมตรขึ้นไป ค่าโดยสาร ๒๔.๐๐ บาท
(๖)
รถตู้โดยสารปรับอากาศ ให้ปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้น ๑.๐๐
บาทต่อคนต่อเที่ยวทุกเส้นทาง
๒.๒
รถโดยสารประจำทาง หมวด ๔ กรุงเทพมหานคร ให้ปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสาร ๑.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
โดยปรับเพิ่มเป็น ๕.๐๐ บาทต่อคนต่อเที่ยว
และปรับเพิ่มอัตราค่าโดยสารปรับอากาศทุกช่วง ๆ ละ ๑.๐๐ บาท ดังนี้
ระยะทาง ๐ - ๘ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๘.๐๐ บาท
ระยะทาง ๘ - ๑๒ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๐.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๒ - ๑๖ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๒.๐๐ บาท
ระยะทาง ๑๖ - ๒๐ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๔.๐๐ บาท
ระยะทาง ๒๐ - ๒๔ กิโลเมตร ค่าโดยสาร ๑๖.๐๐ บาท
สำหรับหลักเกณฑ์ในการคิดค่าบริการและค่าธรรมเนียมการยกเว้นหรือการลดหย่อนค่าโดยสารให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางได้อนุมัติไว้แล้ว
ทั้งนี้
การปรับปรุงอัตราค่าขนส่ง (ค่าโดยสาร) ดังกล่าวข้างต้น
ให้มีผลเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ๘ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑๑
กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
จารึก อนุพงษ์
รองปลัดกระทรวงคมนาคม
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง
ประธานกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๘ ง/หน้า ๑๔๙/๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘ |
460377 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายที่ตัวถังของรถ ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำเครื่องหมายที่ตัวถังของรถ
ที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารประจำทาง[๑]
โดยที่เห็นเป็นการสมควรกำหนดให้รถโดยสารประจำทาง
หมวด ๑ ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ (heavy duty diesel engines) ตามมาตรฐานมลพิษของสหภาพยุโรป (European Union) จะต้องแสดงเครื่องหมายมาตรฐานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับสารมลพิษจากเครื่องยนต์ติดไว้ที่ตัวรถด้วย
เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้แก่ผู้โดยสาร
เนื่องจากมีผลต่อการกำหนดอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทาง
อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๑ (๒) (จ) และข้อ ๑๐ (๒) (ค) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๙ (พ.ศ. ๒๕๒๔)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศ
ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ คำว่า เครื่องหมาย หมายความว่า เครื่องหมายแสดงมาตรฐานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับสารมลพิษจากเครื่องยนต์ของรถ
ตามมาตรฐานสหภาพยุโรปมี ๒ ระดับ คือ ยูโร ๑ (EURO 1) และยูโร ๒ (EURO 2)
ข้อ
๒
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับแก่รถโดยสารประจำทาง หมวด ๑
ในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นที่มีเส้นทางต่อเนื่อง
ข้อ
๓ ให้พนักงานตรวจสภาพพ่นเครื่องหมายไว้
ณ บริเวณกระจกกันลมหน้า
ด้านซ้ายและที่ด้านข้างภายนอกตัวถังบริเวณส่วนหน้าด้านซ้ายตัวรถ ทั้งนี้
ให้พ่นในตำแหน่งที่เป็นพื้นที่ว่างไม่ทับกับตัวอักษร ภาพ
หรือเครื่องหมายอื่นใดที่มีไว้แล้ว
การพ่นเครื่องหมายตามวรรคแรก
ให้ดำเนินการเฉพาะรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่ใช้เครื่องยนต์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยจากสารมลพิษในระดับยูโร
๑ (EURO 1) หรือยูโร ๒ (EURO 2) แล้วแต่กรณี โดยแบบเครื่องหมายให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายประกาศนี้
ข้อ
๔ การพ่นเครื่องหมายตามข้อ ๓
ให้ดำเนินการเมื่อมีการนำรถมารับการตรวจสภาพหรือตรวจสอบรถ แล้วแต่กรณี
หรือกรณีอื่น ๆ ที่กรมการขนส่งทางบกเห็นสมควร
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๗
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
[เอกสารแนบท้าย]
๑.
แบบเครื่องหมาย
(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)
ชัชสรัญ/ผู้จัดทำ
๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๖ ง/หน้า ๒๙/๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘ |
460181 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง หลักเกณฑ์
รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์
รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ ไว้แล้ว
นั้น
โดยที่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า
ข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะอาคารสถานที่และพื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจสภาพของสถานตรวจสภาพรถเอกชนที่กำหนดไว้ตามประกาศดังกล่าว
ยังไม่เหมาะสม อาทิ ความสูงของอาคารสถานตรวจสภาพรถ
พื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจสภาพที่กำหนดให้เป็นพื้นราบได้ระดับเสมอพื้นอาคาร
ซึ่งอาจทำให้วัสดุหรือของเหลวไหลเข้าเครื่องตรวจสภาพรถเกิดความเสียหาย ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์
รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชนมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในข้อ
๓ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.
๒๕๒๒ กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒.๗ ของข้อ ๒
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน
ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๒.๗ มีผนังด้านข้างเป็นวัสดุที่ทนไฟ
โดยความสูงของผนังตลอดแนวความยาวของพื้นที่ตรวจสภาพเมื่อวัดจากระดับพื้นอาคารต้องไม่น้อยกว่า
๑.๒๐ เมตร
ข้อ
๒ ให้ยกเลิกความในข้อ ๓.๓ ของข้อ ๓
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๓.๓ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภทต้องมีขนาดความกว้างของอาคารไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร
และยาวไม่น้อยกว่า ๑๕ เมตร ความสูงภายในต้องไม่น้อยกว่า ๔ เมตร
ข้อ
๓ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔.๑ ของข้อ ๔
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง
หลักเกณฑ์รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๔.๑ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถทุกขนาดน้ำหนัก ทุกประเภท
ต้องมีพื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจสภาพเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง
มีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของช่องตรวจสภาพ และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๒๐ เมตร
โดยสภาพพื้นผิวต้องมีความมั่นคง แข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพ
หรือเรียงลำดับเข้าตรวจสภาพได้
ข้อ
๔ ให้ยกเลิกความในข้อ ๔.๓ ของข้อ ๔
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน
ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
๔.๓ สถานตรวจสภาพรถที่ตรวจสภาพรถขนาดน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลกรัม ทุกประเภท
ต้องมีพื้นที่สำหรับนำรถเข้าตรวจสภาพเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือราดยาง
มีความกว้างไม่น้อยกว่าความกว้างของช่องตรวจสภาพ และมีความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ เมตร
โดยสภาพพื้นผิวต้องมีความมั่นคง แข็งแรง สามารถรองรับน้ำหนักของรถที่เข้าตรวจสภาพ
หรือเรียงลำดับเข้าตรวจสภาพได้
ข้อ
๕ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของข้อ ๔
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักเกณฑ์ รูปแบบอาคารสถานที่
สำหรับสถานตรวจสภาพรถเอกชน ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๔๗
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๒๒/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ |
460167 | ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ (ฉบับที่ 2)
| ประกาศกรมการขนส่งทางบก
ประกาศกรมการขนส่งทางบก
เรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
(ฉบับที่ ๒)[๑]
ตามที่
กรมการขนส่งทางบกได้มีประกาศเรื่อง แบบ ขนาด
และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถและอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถ
ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗ ไว้แล้ว นั้น
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถเป็นการเพิ่มเติมเพื่อให้มีความเหมาะสมในการตรวจสภาพรถมากยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๓ (๒) และข้อ ๔ (๔) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๓๕)
ออกตามความในพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒
กรมการขนส่งทางบกจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ
๑ ให้ยกเลิกความใน (๘) ของข้อ ๒
ของประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง แบบ ขนาด และมาตรฐานของเครื่องตรวจสภาพรถ
และอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพรถลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๗
และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
(๘) สิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจสภาพใต้ท้องรถ ต้องเป็น
(ก) บ่อตรวจสภาพรถตามขนาดสัดส่วนที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด หรือ
(ข) เครื่องยกรถซึ่งมีคุณลักษณะตามที่กรมการขนส่งทางบกให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒๐
มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘
ปิยะพันธ์ จัมปาสุต
อธิบดีกรมการขนส่งทางบก
ฐิติพงษ์/ผู้จัดทำ
๑๘ สิงหาคม ๒๕๔๘
โชติกานต์/ปรับปรุง
๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
[๑] ราชกิจจานุเบกษา
เล่ม ๑๒๒/ตอนที่ ๖๒ ง/หน้า ๒๔/๔ สิงหาคม ๒๕๔๘ |
Subsets and Splits
No saved queries yet
Save your SQL queries to embed, download, and access them later. Queries will appear here once saved.