Book,Page,LineNumber,Text 08,0067,001,เฉลย ประโยค ป. ธ. ๔ 08,0067,002,แปล มคธเป็นไทย 08,0067,003,๑. นัยแห่งอรรถกถามหาปรินิพพานสูตรว่า บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในพุทธวจนะนั้น 08,0067,004,(ดังต่อไปนี้) ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้น ซึ่งเป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรมา 08,0067,005,นุธรรมปฏิปทา ฯ ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้น โดยความได้แก่ พระบัญญัติทางศีลและอาจาระ 08,0067,006,และการสมาทานธุดงค์ คือ สัมมาปฏิปทาจนถึงโคตรภูญาณมาเทียว ฯ ปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้อง 08,0067,007,ต้นนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สามีจิ เพราะเป็นปฏิปทาที่สมควร ฯ ผู้ใดปฏิบัติประพฤติ 08,0067,008,ยังปฏิปทาที่เป็นส่วนเบื้องต้นนั้นให้บริบูรณ์ ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรม 08,0067,009,สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรม ฯ เพราะฉะนั้น บรรพชิตผู้ตั้งอยู่ในอคาร 08,0067,010,วะ ๖ ละเมิดพระบัญญัติ เลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควร 08,0067,011,แก่ธรรม ฯ บรรพชิตไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แก่ตนทุกข้อนั้นแม้เพียงเล็ก 08,0067,012,น้อย เลี้ยงชีพโดยธรรม ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ ฝ่ายคฤหัสถ์กระทำเวร ๕ และ 08,0067,013,อกุศลกรรมบถ ๑๐ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ ส่วนผู้ใดเป็นผู้มีปกติกระทำให้ 08,0067,014,บริบูรณ์ในสรณะและศีล รักษาอุโบสถเดือนละ ๘ ครั้งให้ทาน กระทำการบูชาด้วยของหอมและพวง 08,0067,015,ดอกไม้ บำรุงพ่อแม่ และสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม ผู้นี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯ 08,0067,016,ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเมื่อจะตรัสว่า ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ชื่อว่าทรงแสดงการอธิบาย ความนี้ว่า 08,0067,017,ธรรมดาว่า การบูชาที่ปราศจากอามิส (ปฏิบัติบูชา) อาจดำรงพระศาสนาของเราไว้ได้ ด้วยว่าบริษัททั้ง 08,0067,018,๔ นี้ จักบูชาเราด้วยปฏิบัติบูชานี้ ตราบใด ศาสนาของเราจักรุ่งเรือง เหมือนพระจันทร์เพ็ญท่ากลาง 08,0067,019,ฟ้า ตราบนั้น ฯ 08,0067,020,๒ อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ในอรรถกถาทั้งหลายวา จีวร ภิกษุต้องพิจารณาทุก 08,0067,021,ขณะที่ใช้สอย บิณฑบาตต้องพิจารณาทุกคำกลืน เสนาสนะต้องพิจารณาทุกขณะที่ใช้สอย ฯ 08,0067,022,พระฎีกาจารย์ท่านกล่าวไว้ในฎีกาวิสุทธิมรรคว่า จีวรภิกษุต้องพิจารณาทุกขณะที่เปลื้องจาก 08,0067,023,กายแล้ว (นำกลับมา) ทุกขณะที่ใช้สอย เสนาสนะภิกษุต้องพิจารณาทุกขณะที่ใช้สอย คือ ทุกขณะที่ 08,0067,024,เข้าไป ฯ ส่วนในอนุฎีกาวิมติวิโนทนีแห่งรูปิยสิกขาบท ท่านกล่าวไว้ว่า บทว่า บริโภค ได้แก่ ทุกขณะ 08,0067,025,ที่เปลื้องจากกายแล้วใช้สอย ฯ บทว่า บริโภค คือ ในขณะที่เข้าไปในภายในแต่ชายคา และในขณะ 08,0067,026,ที่นั่งและนอน ฯ 08,0067,027,ถ้าภิกษุไม่สามารถพิจารณาในกาลบริโภคได้ ในกาลภายหลังจากการบริโภค พึงพิจารณา 08,0067,028,แม้ครั้งเดียวก็ได้ด้วยอตีตปัจจเวกขณะว่า วันนี้เรามิได้พิจารณา ได้ใช้สอยจีวรใดแล้ว ดังนี้เป็นต้น ฯ