Book,Page,LineNumber,Text 06,0036,001,ภิกษุมีอำนาจข่มเหงเอาทรัพย์ผู้อื่น ดังราชบุรุษเก็บค่าอากร 06,0036,002,เกินพิกัด ต้องอาบัติถึงที่สุดในขณะได้ของมา. เพื่องำง่าย ควรเรียก 06,0036,003,"ว่า กดขี่, อีกอย่างหนึ่ง ขู่ด้วยการทำร้ายให้เจ้าของทรัพย์จำต้องให้" 06,0036,004,ซึ่งเรียกว่ากรรโชก ก็นับเข้าในบทนี้ บางทีจะชัดกว่า. 06,0036,005,ภิกษุเห็นของเขาทำตก มีไถยจิตเอาดินกลบเสีย หรือเอาของ 06,0036,006,มีใบไม้เป็นต้นปิดเสีย ต้องอาบัติในขณะทำสำเร็จ. เพื่อจำง่าย ควร 06,0036,007,เรียกว่า ลักซ่อน. 06,0036,008,ไม่ใช่แต่เพียงภิกษุทำเอง สั่งคนอื่นให้ทำอทินนาทาน เป็นส่วน 06,0036,009,โจรกรรมดังกล่าวแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องอาบัติเหมือนกัน. 06,0036,010,เหตุดังนั้น อาบัติในสิกขาบทนี้ ชื่อว่าต้องเพราะสั่งด้วย เรียก 06,0036,011,สาณัตติกะ. ส่วนอาบัติที่ต้องเฉพาะทำเอง เช่นอาบัติในสิกขาบทต้น 06,0036,012,เรียกอนาณัตติกะ แปลว่าไม่ต้องเพราะสั่ง แต่สั่งในที่นี้พึงเข้าใจว่า 06,0036,013,สั่งให้คนอื่นทำแก่คนอื่น ไม่นับสั่งให้ทำแก่ตน. 06,0036,014,ภิกษุมีไถยจิต สั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อาบัติ 06,0036,015,ถึงที่สุดในขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรมสำเร็จตามสั่ง ถึงกำหนดโดยอาการ 06,0036,016,ดังต่อไปนี้ :- 06,0036,017,สั่งต่อเดียวไม่มีปริกัป อาบัติถึงที่สุดขณะผู้รับใช้ทำโจรกรรม 06,0036,018,สำเร็จตามสั่ง ต้องด้วยกันทั้ง ๒ รูป ทั้งผู้สั่นทั้งผู้รับสั่ง. ครั้นสั่ง 06,0036,019,แล้ว แต่ได้ห้ามเสียก่อนแต่ผู้รับสั่งได้ลงมือทำการ แต่ผู้รับสั่งนั้น 06,0036,020,ขืนทำโดยพละตนเอง ภิกษุผู้สั่งไม่ต้องอาบัติ ต้องแต่ภิกษุผู้รับสั่ง. 06,0036,021,สั่งเจาะจงทรัพย์ แต่ผู้รับสั่งไพล่ลักเอาสิ่งอื่นมา ก็พึงรู้โดยนัยนี้. สั่ง