Book,Page,LineNumber,Text 06,0037,001,ด้วยทำนิมิต ซึ่งเรียกว่าใช้ใบ้ มีขยิบตาหรือพยักหน้าเป็นต้น อาบัติ 06,0037,002,ถึงที่สุดในขณะที่ผู้รับสั่งเข้าในแล้วทำตามสั่งสำเร็จ ต้องด้วยกันทั้ง 06,0037,003,๒ รูป ถ้าทำพลาดขณะไป ไม่จัดว่าได้ทำตามสั่ง ท่านจึงกล่าวว่า 06,0037,004,ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้สั่ง เป็นเฉพาะแก่ผู้ทำ. สั่งกำหนดเวลาให้ทำใน 06,0037,005,เช้าหรือในคำก็พึงรู้โดยนัยนี้. สั่งหลายต่อ เช่นภิกษุแดงสั่งภิกษุเขียว 06,0037,006,ให้บอกภิกษุดำ เพื่อทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจะสั่งต่อออก 06,0037,007,ไปอีกก็ตาม อาบัติถึงที่สุดในขนะภิกษุรูปหลังทำสำเร็จตามสั่งอันไม่ 06,0037,008,ลักลั่น. ถ้าคำสั่งนั้นลักลั่นในระหว่าง เช่นภิกษุเขียวหาบอกภิกษุดำไม่ 06,0037,009,ไพล่สั่งภิกษุขาวแทน เช่นนี้สั่งผิดตัว ผู้สั่งเดิมคือภิกษุแดงรอดตัว 06,0037,010,คงต้องอาบัติถึงที่สุดเฉพาะผู้ใช้กับผู้ทำ. สั่งหลาย ๆ ต่อ ผู้รับข้าม 06,0037,011,เสียบ้าง ต้องอาบัติเฉพาะภิกษุผู้เนื่องในลำดับ ที่เขาข้ามเสียในระหว่าง 06,0037,012,นั้น ไม่รู้ไม่เห็น ไม่ต้องอาบัติ. 06,0037,013,ภิกษุมีไถยจิต สั่งให้เขาทำโจรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ 06,0037,014,สำนวนไม่จำกัดลงไป ซึ่งเรียกว่าพูดไม่ตายตัว แต่ชัดพอจะให้ 06,0037,015,ผู้ฟังเข้าใจความประสงค์ของตน ผู้รับสั่งนั้นทำสำเร็จและเอาของมา 06,0037,016,ให้ตามปรารถนา แม้เช่นนี้ ภิกษุผู้สั่งนั้นก็ไม่พ้นอาบัติ. อธิบายนี้ 06,0037,017,อาศัยอวหารชื่ออัตถสาธกะในอรรถกถา ซึ่งแปลว่ายังอรรถให้สำเร็จ. 06,0037,018,แต่ในอรรถกถานั้น ท่านหาได้อธิบายเช่นนี้ไม่ ท่านอธิบายไว้ 06,0037,019,๒ นัย อย่างหนึ่งว่า ได้แก่ภิกษุสั่งภิกษุไว้เสร็จทีเดียวว่า เมื่อใด 06,0037,020,อาจจะลักของชื่อนั้น จงลักมาเมื่อนั้น หากว่าของนั้นอันผู้รับสั่งจักลัก 06,0037,021,มาได้เป็นแท้แล้ว โดยไม่มีอันตรายในระหว่าง ผู้สั่งเป็นปาราชิกใน