Book,Page,LineNumber,Text
09,0025,001,อธิบาย:    การแสดงฤทธิ์ได้พ้นของสามัญมนุษย์  เช่นนิรมิตตัว  
09,0025,002,ได้ต่าง ๆ  ล่องหนได้  ดำดินได้  เดินน้ำได้  เหาะได้  ท่านจัดเป็น
09,0025,003,ปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง   แต่หมายอาการแสดงฤทธิ์โต้ง ๆ  อย่างนี้  หรือ
09,0025,004,หมายเอาการแสดงฤทธิ์เป็นธรรมาธิษฐาน  เปรียบด้วยบุคคลาธิษฐาน
09,0025,005,ขอฝากปราชญ์ไว้เพื่อสันนิษฐาน.  การดักใจทายใจคนได้  ท่านจัดเป็น 
09,0025,006,ปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง.  คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมไปตาม  ท่าน
09,0025,007,จัดเป็นปาฏิหาริยะอย่างหนึ่ง.   ปาฏิหาริยะ  ๓  นี้  ท่านว่ามีในสมเด็จ
09,0025,008,พระผู้มีพระภาคเจ้า.   และยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริยะว่า  เป็นอัศจรรย์
09,0025,009,ยิ่งกว่า  ๒  อย่างข้างต้น.
09,0025,010,ปิฎก  ๓
09,0025,011,พระวินัยปิฎก		หมวดพระวินัย
09,0025,012,พระสุตตันตปิฎก  	หมวดพระสุตตันตะ  [หรือพระสูตร]
09,0025,013,พระอภิธรรมปิฎก	หมวดพระอภิธรรม.
09,0025,014,วิ.  ปริวาร.  ๘/๑๒๔.
09,0025,015,อธิบาย:   ศัพท์ว่าปิฎก  เป็นชื่อแห่งกระจาดหรือตระกร้า  เอามา
09,0025,016,ใช้ในที่นี้   ด้วยหมายเอาความว่าเป็นหมวดที่รวบรวม  ดุจกระจาดเป็น
09,0025,017,ที่รวมสิ่งของต่าง ๆ  มีผักต่าง ๆ  ที่ซื้อมาจากตลาดเป็นต้น.  ปาพจน์
09,0025,018,ในที่นี้ท่านแบ่งเป็น ๓  พระวินัยคงที่  พระธรรมแบ่งออกเป็น  ๒  หมวด
09,0025,019,ที่แสดงโดยบุคคลาธิษฐาน  หรือเจือด้วยบุคคลาธิษฐาน  จัดเป็นพระสุต-
09,0025,020,ตันตะ  ๑.  หมวดที่แสดงโดยธรรมาธิษฐานล้วน  จัดเป็นพระอภิธรรม ๑.
09,0025,021,ทั้ง  ๓  นี้  เป็นหมวดหนึ่ง ๆ  ที่รวบรวมปกรณ์มีประเภทเดียวกัน  จึง