Book,Page,LineNumber,Text 13,0032,001,ออกได้. 13,0032,002,เข้าใจว่า ครั้งพุทธกาล คงใช้บาตรดินเป็นพื้น บาตรเหล็ก 13,0032,003,คงเป็นของมีน้อย จึงมีธรรมเนียมระวังบาตรอย่างกวดขัน ห้าม 13,0032,004,ไม่ให้วางบาตร เก็บบาตร ในที่จะตกแตก และในที่จะประทุษร้าย 13,0032,005,บาตร ห้ามไว้ในบาลี ไม่ให้วางบาตรบนเตียง บนตั่ง [ คือม้าหรือ 13,0032,006,โต๊ะ ] บนร่ม บนพนัก บนพรึง [ คือชานนอกพนัก ] บนตักก็ 13,0032,007,ไม่ให้วาง [ ฉวยว่าลุกขึ้นด้วยไม่มีสติ บาตรจะตกแตก ] ไม่ให้ 13,0032,008,แขวนบาตร ] เช่นที่ราวจีวร ] แต่จะเอาเข้าถุงมีสายโยคคล้อง 13,0032,009,จะงอยบ่า ท่านอนุญาตไว้ในอรัญยิกวัตรดังกล่าวแล้ว ห้ามไม่ให้ 13,0032,010,คร่ำบาตรที่พื้นคมแข็งอันจะประทุษร้ายบาตร ทรงอนุญาตให้มีเครื่อง 13,0032,011,รอง จะเป็นหญ้าเป็นผ้าเป็นเสื่ออย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เว้นไว้แต่พื้นที่ 13,0032,012,ไม่ประทุษร้ายบาตร เช่นพื้นกระดาน. มีบาตรอยู่ในมือ ห้ามไม่ให้ 13,0032,013,ผลักบานประตู คือเปิดหรือปิดประตู. 13,0032,014,อนึ่ง ให้รู้จักใช้รู้รักรักษาบาตร ห้ามไม่ให้ใช้บาตรต่างกระโถน 13,0032,015,คือทิ้งก้างปลา กระดูก เนื้อ หรืออื่น ๆ อันเป็นเดนลงในบาตร ห้าม 13,0032,016,ไม่ให้ล้างมือหรือบ้วนปากลงในบาตร จะเอามือเปื้อนจับบาตรก็ 13,0032,017,ไม่ควร ฉันแล้วให้ล้างบาตร ห้ามไม่ให้เก็บไว้ทั้งยังเปียก ให้ผึ่ง 13,0032,018,แดดก่อน ห้ามไม่ให้ผึ่งทั้งยังเปียก ให้เช็ดจนหมดน้ำก่อนจึงผึ่ง 13,0032,019,ห้ามไม่ให้ผึ่งไว้นาน ให้ผึ่งสักครู่หนึ่ง. 13,0032,020,บาตรนั้น ทรงพระอนุญาตเชิงไว้สำหรับรอง แต่ห้ามไม่ให้ใช้ 13,0032,021,ของเป็นอกัปปิยะ และของวิจิตรกาววาวด้วยรูปต่าง ๆ ให้ใช้ของ