Book,Page,LineNumber,Text 25,0026,001,"เป็นหัวหน้า, มอบให้มีอำนาจในการดูแลความสงบของหมู่ จัดการ " 25,0026,002,ปักปันเขตแดนให้แก่กันอย่างถูกต้อง จึงชื่อว่ากษัตริย์ ซึ่งแปลว่า 25,0026,003,"หัวหน้าแห่งการนา, และชื่อว่าราชา เพราะให้หมู่ชนพอใจในการ" 25,0026,004,ปกครอง. เช่นนี้เราจะเห็นได้ว่า ยิ่งโบราณขึ้นไปเท่าใด ความเป็น 25,0026,005,พระราชาอย่างมีอำนาจเด็ดขาดยิ่งหาได้ยากเท่านั้น พระราชาโดยมาก 25,0026,006,ย่อมทรงปกครองตามธรรมนูญของหมู่. แต่เมื่อถอยลงมาหาปัจจุบัน 25,0026,007,ก็พบการปกครองที่พระราชามีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น และพบว่า 25,0026,008,มีอำนาจเด็ดขาดอย่างที่ควรเรียกว่า สมบูรณาญาสิทธิราชเป็นครั้งแรก 25,0026,009,ในยุคอุปนิษัทกับยุคพุทธกาล เช่น ในแคว้นมคธ รัชกาลพระเจ้า 25,0026,010,พิมพิสาร ในยุคเดียวกันนั้นเอง มีการปกครองโดยสามัคคีธรรมอยู่ 25,0026,011,หลายแคว้น เช่นวัชชีและมัลละเป็นต้น และต่อมาจะพบพระราชา 25,0026,012,ที่มีอำนาจที่เด็ดขาดที่สุด กว้างขวางที่สุด และเป็นธรรมที่สุดคือพระ 25,0026,013,เจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดียในศตวรรษที่ ๓ ของพุทธศักราช. 25,0026,014,"เมื่อสังเกตจากบาลี, จะพบนามที่เป็นคำสำหรับเรียกผู้ปกครอง" 25,0026,015,แผ่นดิน ว่ามีต่าง ๆ กันเป็นชั้น ๆ พอที่จะหยั่งทราบถึงลักษณะการ 25,0026,016,ปกครองในสมัยนั้นได้บ้างเป็นเค้า ๆ คือคำว่า มหาราช ราชา 25,0026,017,และราชัญญะ ลงมาจนถึงการเรียกนามพวกนั้น ๆ อย่างลอย ๆ