Book,Page,LineNumber,Text 42,0015,001,ชนิดไรล่อแหลมต่อความเสียหายแก่หมู่ แม้ผู้ประพฤติจะไม่ตั้งใจทำ 42,0015,002,ก็ทรงวางโทษไว้ เพื่อเป็นทางให้ภิกษุสงฆ์ช่วยกันระวัง ประพฤติและ 42,0015,003,บริหารหมู่ ทั้งเพื่อเป็นอุบายตัดทางแก้ตัวแห่งอลัชชีภิกษุด้วย เพราะ 42,0015,004,หมู่จะตั้งอยู่โดยความสวัสดีได้ ก็ด้วยอาศัยคนในหมู่ประพฤติกาย วาจา 42,0015,005,เรียบร้อยถูกระเบียบของหมู่ เพียงใจใครจะทราบกันได้ว่าดีชั่วเพียงไร. 42,0015,006,๒๖/๑๒/๒๔๖๓ 42,0015,007,ถ. สมุฏฐานแห่งอาบัติมีประเภทเป็นอย่างไร ? ในสิกขาบทที่ ๖ 42,0015,008,แห่งสหธรรมิกวรรค เป็นอาบัติด้วยสมุฏฐานไหน ? 42,0015,009,ต. สมุฏฐานแห่งอาบัติ มีประเภทโดยตรง ๔ คือ ลำพังกาย ๑ 42,0015,010,ลำพังวาจา ๑ กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑ แต่ในบาลีท่านถือเอาอีก ๒ 42,0015,011,คือ กายกับวาจาควบกันเข้าเป็น ๑ กายกับวาจานั้นเติมจิตเข้าด้วย 42,0015,012,เป็น ๑ จึงรวมเป็นสมุฏฐาน ๖. สิกขาบทที่ ๖ แห่งสหธรรมิกวรรค 42,0015,013,เป็นอาบัติด้วยสมุฏฐาน ๒ คือ วาจากับจิต. 42,0015,014,๒๔๗๕ 42,0015,015,ถ. อาบัติที่เป็นอจิตตกะและสจิตตกะ จะสันนิษฐานให้ทราบได้ 42,0015,016,โดยวิธีอย่างไร ? ถ้าเช่นนั้นมูลแห่งความฟั่นเฝือมีไหม ? 42,0015,017,ต. ทราบโดยวิธีกำหนดรูปความโวหารในสิกขาบทนั้นเอง เช่น 42,0015,018,สำนวนโอมสวาทสิกขาบทว่า เป็นปาจิตตีย์เพราะกล่าวเสียดแทงดังนี้ 42,0015,019,รูปความบ่งว่ามีความจงใจจึงเป็นอันกล่าวเสียดแทง เช่นนี้ เป็นสจิตตกะ 42,0015,020,สำนวนแห่งสุราปานสิกขาบทว่า เป็นปาจิตตีย์เพราะดื่มสุราและเมรัย 42,0015,021,ดังนี้ รูปความหาได้บ่งถึงเจตนาไม่ เช่นนี้ เป็นอจิตตกะ.