Book,Page,LineNumber,Text 42,0024,001,ไร ? พระ ก. ชอบประพฤติเป็นคนลอบลักความลับของผู้อื่น ไป 42,0024,002,ด้อมแอบฟังความที่เขาปิดบังมาก็ดี ไปลักลอบรู้ประโยคหรือเฉลยที่ 42,0024,003,เขาสงวน ดังที่ออกสอบในวันนี้ก็ดี จะวางบทปรับโทษเธอในฐาน 42,0024,004,อทินนาทานตามสิกขาบทบัญญัติได้หรือไม่ ? เพราะเหตุไร ? 42,0024,005,ต. สิกขาบทบัญญัติ ท่านเพ่งเฉพาะการลักทรัพย์พัสดุ 42,0024,006,เท่านั้นเป็นอทินนาทาน ไม่ได้เพ่งถึงการลักอย่างอื่น. การที่พระ ก. ไป 42,0024,007,ลอบลักความลับของผู้อื่น ยังวางบทปรับโทษเธอในฐานอทินนาทาน 42,0024,008,คามสิกขาบทบัญญัติยังไม่ได้ เพราะความลับนั้นไม่ใช่เป็นตัวทรัพย์ 42,0024,009,พัสดุ แต่ถึงกระนั้น ความประพฤติเช่นนั้น ก็ส่ออากัปปะของเธอเอง 42,0024,010,ว่า เป็นสมณะเช่นไร แม้จะเป็นโจรไม่ท่วมตัว ก็ต้องว่าท่วมขึ้น 42,0024,011,มาถึงคอแล้ว เพราะกิริยานั้นเป็นกิริยาโจรโดยแท้ แต่หากเคราะห์ดี 42,0024,012,ที่พระบัญญัติจำกัดกรรมของกิริยาเสีย จึงยังพอรอดตัว เพียงเป็น 42,0024,013,พระโจร. 42,0024,014,๓/๙/๒๔๖๘ 42,0024,015,ถ. ภิกษุมีไถยจิตลักทรัพย์ที่เป็นสังหาริมะ พอทำให้เคลื่อน 42,0024,016,จากที่ก็เป็นอันต้องอาบัติ ส่วนที่ภิกษุรับฝากของมีไถยจิตคิดเอาเสีย 42,0024,017,แม้ทำให้ของนั้นเคลื่อนจากที่ก็ยังไม่ต้องอาบัติ ข้อนี้มีความหมาย 42,0024,018,ต่างกันอย่างไร ? 42,0024,019,ต. มีความหมายต่างกันอย่างนี้ คือที่กำหนดให้เป็นอาบัติด้วย 42,0024,020,ทำให้เคลื่อนจากที่นั้น เพ่งเอาของที่ภิกษุไม่ต้องรับสำนอง คือรับผิด 42,0024,021,หรือสำหรับใช้ในเมื่อหายแล้ว ส่วนของภิกษุรับฝากไว้นั้น ภิกษุต้อง