Book,Page,LineNumber,Text
14,0009,001,ในทางที่ละเอียดกว่านั้น ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยความแปรใน
14,0009,002,ระหว่างเกิดและดับ ได้ในบาลีว่า :-
14,0009,003,อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย
14,0009,004,วโยคุณา อนุปฺพฺพํ ชหนฺติ.๑
14,0009,005,กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป.
14,0009,006,ระยะกาลในระหว่างเกิดและดับนั้น ท่านปันเป็น ๓ ปูน เรียก
14,0009,007,ว่าวัย ปูนต้นเรียกปฐมวัย ปูนกลางเรียกมัชฌิมวัย ปูนหลังเรียก
14,0009,008,ปัจฉิมวัย. ท่านแบ่งวัยละเท่า ๆ กัน เอา ๑๐๐ ปีเป็นเกณฑ์ ด้วยเพ่ง
14,0009,009,สังขาร คือ มนุษย์. คงกำหนดด้วยอาการแห่งความแปรนั้นเอง แต่
14,0009,010,แบ่งระยะเท่า ๆ กันนั้น น่าจะไม่ถูกแก่ความเป็นจริง. อาการแปร
14,0009,011,แห่งสังขาร ในเบื้องต้น แปรมาฝ่ายเจริญ พึงเห็นในระยะตั้งแต่
14,0009,012,เกิดจนเป็นหนุ่มเต็มที่ ในระหว่างนี้ รูปกายเติบขึ้น ๆ นามกาย คือ
14,0009,013,จิตเจตสิกว่องไวขึ้น ระยะนี้จัดเป็นปฐมวัย มีระยะไม่เกิน ๒๕ ปี
14,0009,014,ประเพณีกำหนดอายุ ๒๕ เป็นอภิลักขิตกาลคราวหนึ่ง น่าได้แก่
14,0009,015,เต็มปฐมวัย แต่นั้น สังขารหยุดเจริญ แต่ขยายตัว พึงเห็นเช่น
14,0009,016,รูปกายผึ่งผายออก นามกายหนักแน่นเข้า เช่น มีสติรู้จักเหนี่ยวรั้ง
14,0009,017,ตั้งอยู่ในความไม่เลินเล่อ ระยะนี้จัดเป็นมัชฌิมวัย มีระยะอยู่ใน ๕๐ ปี
14,0009,018,ประเพณีกำหนดอายุ ๕๐ เป็นอภิลักขิตกาลอีกคราวหนึ่ง น่าได้
14,0009,019,แก่เต็มมัชฌิมวัย แต่นั้น สังขารทรุดโทรมลงไปจนปรากฏ รูปกาย
14,0009,020,หง่อมและชำรุด นามกายเงื่องและเลือนเข้าทุกที ระยะนี้จัดเป็น