Book,Page,LineNumber,Text 31,0041,001,นั้น ถ้ามีสัทธาปสาทะ จะกลับมาบวชอีกก็ได้ ท่านไม่ห้าม แม้มรรค 31,0041,002,ผลก็อาจบรรลุได้ ฝ่ายผู้ที่ต้องปาราชิกนั้น ท่านกล่าวว่าห้ามมรรคผล 31,0041,003,ตลอดชาติ แต่ถ้าถือเพศเป็นคฤหัสแล้ว ไม่เป็นสัคคาวรณ์ ไม่ห้าม 31,0041,004,สุคติโลกสวรรค์. 31,0041,005,๒๔๕๖ 31,0041,006,ถ. การเสพเมถุนเป็นโทษร้ายแรงอย่างไร ? จึงปรับอาบัติแก่ 31,0041,007,ภิกษุผู้ล่วงถึงกับขาดจากเป็นภิกษุ แม้จะอุปสมบทอีกก็ไม่เป็นภิกษุ. 31,0041,008,ต. การเสพเมถุนเป็นโทษร้ายแรงหลายอย่าง คือ ๑. เป็นเหตุ 31,0041,009,ให้สร้างเหย้าเรือนก่อกังวลอื่นให้มากขึ้น ๒. การเสพเมถุนย่อมเป็น 31,0041,010,ไปด้วยอำนาจแห่งความกำหนัด และความกำหนัดนี้ ย่อมเป็นมูลที่เกิด 31,0041,011,แห่งอกุศลทั้งปวง อกุศลที่ยังไม่เกิดก็จะเกิดมี ที่เกิดมีอยู่แล้วก็เจริญ 31,0041,012,ทวีมากขึ้นไป ๓. ความมุ่งหมายในการบวชเพื่อจะตัดกังวลให้น้อยลง 31,0041,013,ทำกิเลสและกองทุกข์ให้หมดสิ้นไปเท่าที่ทำได้ ถ้าพระองค์ทรงอนุญาต 31,0041,014,ให้ภิกษุเสพเมถุนได้แล้ว การบวชเพื่อจะตัดกังวลกิเลสและกองทุกข์ 31,0041,015,ก็จะกลายเป็นบวชก่อกังวลสะสมกิเลสและกองทุกข์ให้มากขึ้น เมื่อเป็น 31,0041,016,เช่นนี้ ก็จะไม่ต่างอะไรกับคฤหัสถ์ที่ไม่บวช ซึ่งเป็นการผิดจากการ 31,0041,017,มุ่งหมายในพระพุทธศาสนา. การเสพเมถุนเป็นโทษร้ายแรงอย่างนี้ 31,0041,018,พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติและปรับโทษแก่ภิกษุ ผู้ล่วงเป็นอาบัติปาราชิก 31,0041,019,ขาดจากภิกษุ แม้จะอุปสมบทอีกก็ไม่เป็นภิกษุได้. 31,0041,020,๑๒/๑๑/๕๕-๕๗ 31,0041,021,ถ. ภิกษุเสพเมถุน ต้องอาบัติอะไรบ้าง ? จงแสดงให้สิ้นเชิง