Book,Page,LineNumber,Text 06,0012,001,"สังฆาทิเสส ๑ มีโทษอย่างกลาง, ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตติยะ ๑ ปาฏิ-" 06,0012,002,เทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาษิต ๑ ทั้ง ๕ นี้มีโทษอย่างเบา. 06,0012,003,อาบัตินี้ไม่เกิดทางใจอย่างเดียว คือเป็นแต่เพียงนึกว่า จะทำ 06,0012,004,เท่านั้น ยังไม่ชื่อว่าเป็นอันล่วงสิกขาบท และชื่อว่ายังไม่เป็นอัน 06,0012,005,พยายามเพื่อจะล่วงสิกขาบท. อาบัตินั้นย่อมเกิดทางกายบ้าง ทาง 06,0012,006,วาจาบ้าง มีใจเข้าประกอบบ้าง ได้แก่ทำหรือพูดด้วยมีเจตนา หา 06,0012,007,มีใจเข้าประกอบด้วยไม่บ้าง ได้แก่ทำหรือพูดด้วยไม่ได้ตั้งใจ อาบัติ 06,0012,008,ที่เกิดตามลำพังกายนั้น เช่น อาบัติปาจิตติยะ เพราะดื่มน้ำเมา แม้ 06,0012,009,ไม่มีความตั้งใจ เพราะไม่รู้ว่าเป็นน้ำเมา ดื่มเข้าไปก็ต้องอาบัติ. 06,0012,010,อาบัติเกิดโดยลำพังวาจานั้น เช่น อาบัติปาจิตติยะ เพราะสอนธรรม 06,0012,011,แก่อนุปสัมบัน ให้ว่าพร้อมกัน แม้จะระวังอยู่ แต่พลาดพลั้งว่าพร้อม 06,0012,012,กันเข้า ก็เป็นอันต้องอาบัติ. อาบัติเกิดโดยทางกายกับจิตนั้น เช่น 06,0012,013,อาบัติปาราชิก เพราะทำโจรกรรมด้วยตนเอง. อาบัติเกิดทางวาจา 06,0012,014,กับจิตนั้น เช่นอาบัติปาราชิก เพราะสั่งให้เขาทำโจรกรรมด้วย 06,0012,015,วาจา. โดยนัยนี้ ได้สมุฏฐานคือทางที่เกิดอาบัติโดยตรงเป็น ๔ คือ 06,0012,016,ลำพังกาย ๑ ลำพังวาจา ๑ กายกับจิต ๑ วาจากับจิต ๑. แต่ 06,0012,017,ในบาลีท่านถือเอาอีก ๒ คือกายกับวาจาควบกันเข้าเป็น ๑ กายกับ 06,0012,018,วาจานั้นเติมจิตเข้าด้วยเป็น ๑ จึงรวมเป็นสมุฏฐาน ๖. อธิบาย 06,0012,019,ความตามบาลีนั้น กายกับวาจานั้น เป็นสมุฏฐานของอาบัติอันเกิด 06,0012,020,ทางกายก็ได้ ทางวาจาก็ได้ ซึ่งยังหาอุทาหรณ์ได้ไม่เหมาะ จึงไม่ 06,0012,021,ปรารถนาจะแสดงไว้ในที่นี้ กายกับวาจาเติมจิตนั้น เป็นสมุฏฐาน