Book,Page,LineNumber,Text 06,0014,001,"""เป็นปาจิตติยะ เพราะดื่มน้ำเมา คือสุราเมรัย"" ดังนี้ รูปความหาได้บ่งถึง " 06,0014,002,"เจตนาไม่ เช่นนี้เป็นอจิตตกะ. คำว่า ""แกล้ง"" หรือ ""รู้อยู่"" เป็นต้น " 06,0014,003,มีใจสิกขาบทใด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น เป็นสจิตตกะ เช่น 06,0014,004,"สำนวนแห่งสิกขาบทหนึ่งว่า ""ภิกษุใดแกล้งก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น" 06,0014,005,ด้วยคิดว่า ด้วยอุบายนี้ความไม่ผาสุกจัดมีแก่เธอแม้ครู่หนึ่ง ต้องปาจิต- 06,0014,006,"ติยะ"" แห่งอีกสิกขาบทหนึ่งว่า ""ภิกษุใด รู้อยู่ ชักชวนแล้วเดินทาง " 06,0014,007,กับพวกพ่อคาเกวียน หรือตั่ง ผู้ลักลอบภาษี โดยที่สุดแม้สิ้น 06,0014,008,"ระยะบ้านหนึ่งต้องปาจิตติยะ"" ดังนี้ เป็นสจิตตกะ. ในสิกขาบทใด" 06,0014,009,คำเช่นนั้นไม่มี และรูปความไม่ได้บ่งชัด อาบัติเพราะล่วงสิกขาบทนั้น 06,0014,010,เป็นอจิตตกะ. เช่นสำนวนแห่งสิกขาบทต่อข้อหลังนั้นว่า ภิกษุใด 06,0014,011,ชักชวนแล้วเดินทางกับมาตุคาม คือหญิงชาวบ้าน โดยที่สุดแม้สิ้น 06,0014,012,"ระยะบ้านหนึ่ง ต้องปาจิตติยะ"" ดังนี้ เป็นอจิตตกะ. สันนิษฐาน" 06,0014,013,ตามโวหารเช่นนี้ ถ้าถ้อยคำแห่งสิกขาบทตกหล่นมาแต่เดิมก็ดี จำทรง 06,0014,014,พลาดไปในระหว่างก็ดี ความสันนิษฐานนั้นอาจผิดไปก็ได้. นี้เป็น 06,0014,015,มูลแห่งความฟั่นเฝือของอาบัติ อันเป็นอจิตตกะและสจิตตกะ. 06,0014,016,ความผิดของคน ใช่ว่าจะมีเพราะทำเท่านั้นก็หาไม่ บางทีอาจ 06,0014,017,มีเพราะไม่ทำก็ได้ เช่นถูกเกณฑ์ไปทัพ แต่ไม่ไป เช่นนี้ ความผิด 06,0014,018,ย่อมมีเหมือนกัน ข้อนี้ฉันใด อาบัติก็เป็นฉันนั้น ต้องเพราะไม่ทำก็มี 06,0014,019,เช่นเห็นของที่เขาลืมไว้ในที่อยู่ของตนแล้ว ไม่เก็บไว้ให้เจ้าของเขา 06,0014,020,พระอรรถกถาจารย์ถือเอาอธิบายนี้ กล่าวพรรณนาไว้โดยละเอียด 06,0014,021,แต่เกินต้องการในที่นี้ ผู้ใคร่จะรู้จงค้นดูในบุพพสิกขาววัณณนานั้นเถิด.