Book,Page,LineNumber,Text 06,0034,001,รื้อเรือน กำหนดว่าถึงที่สุดด้วยทำให้เคลื่อนที่สำเร็จ ดุจนัยในทรัพย์ 06,0034,002,เป็นสังหาริมะ. 06,0034,003,ยังมีอวหารที่จะพึงกำหนดด้วยอาการอย่างอื่น จากทรัพย์ อยู่อีก 06,0034,004,กำหนดด้วยกรรมสิทธิ์บ้าง ด้วยอย่างอื่นบ้าง ดังต่อไปนี้ :- 06,0034,005,ภิกษุรับของฝาก มีไถยจิตคิดเอาเสีย ครั้นเจ้าของมาขอคืน 06,0034,006,กล่าวปฏิเสธว่าไม่ได้รับไว้ หรือได้ให้คืนแล้วก็ตาม เช่นนี้พึงกำหนด 06,0034,007,ต้องอาบัติด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ดังกล่าวแล้วในบทตู่นั้น. 06,0034,008,เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ฉ้อ. หากจะมีคำถามสอดเข้ามาว่า เหตุ 06,0034,009,ไฉนไม่กำหนดเป็นอาบัติ ด้วยทำให้เคลื่อนจากฐาน. แก้ว่า อวหาร 06,0034,010,ที่กำหนดเป็นอาบัติ ด้วยทำให้เคลื่อนจากฐานนั้น เพ่งอาของที่ 06,0034,011,ภิกษุไม่ต้องสำนอง คือรับผิดหรือรับใช้ในเมื่อหายไปแล้ว ส่วนของ 06,0034,012,ที่ภิกษุรับฝากไว้นั้น ภิกษุต้องเป็นผู้สำนอง คือต้องรับใช้ในเมื่อ 06,0034,013,ของนั้นหาย เหตุดังนั้น ในการรับฝาก ท่านจึงกำหนดเป็นอาบัติ 06,0034,014,ด้วยขาดกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของ ที่ภิกษุนั้นพ้นจากความเป็นผู้จะต้อง 06,0034,015,สำนองต่อไป. 06,0034,016,ภิกษุมีกรรมสิทธิ์ในอันรักษาของซึ่งตั้งอยู่ในที่ใด เช่น ภิกษุผู้เป็น 06,0034,017,ภัณฑาคาริก มีหน้าที่รักษาเรือนคลัง แม้มีไถยจิตถือเอาของใน 06,0034,018,ที่นั้น ยังไม่นำออกไปพ้นเขตเพียงใด อาบัติยังไม่ถึงที่สุดเพียงนั้น 06,0034,019,ต่อเมื่อเอาออกพ้นเขตที่ตนมีกรรมสิทธิ์ในอันรักษานั้น อาบัติจึงถึง 06,0034,020,ที่สุด. เพื่อจำง่าย ควรเรียกว่า ยักยอก. อธิบายนี้อาศัยอวหาร 06,0034,021,เรียกชื่อว่าสังเกตวีตินามนะในอรรถกถา. ในที่นั้นท่านแสดงว่า ภิกษุ