Book,Page,LineNumber,Text 06,0048,001,มีมูลมาจากความรู้ ๒ อย่างนี้โดยมาก. 06,0048,002,การทำใจให้เป็นสมาธิพึงรู้อย่างนี้ :- ใจนี้อบรมดีแล้ว ย่อม 06,0048,003,เห็นอรรถเห็นธรรมแจ้งชัด ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ. แต่ใจนี้โดยปกติ 06,0048,004,มีอารมณ์ไม่ดีเข้าขัดขวางไม่ให้แน่แน่วลงได้ซึ่งเรียกว่านิวรณ์. นิวรณ์ 06,0048,005,ท่านแจกเป็น ๕ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม เรียกว่ากาม- 06,0048,006,ฉันท์ ๑ ความงุ่นง่านด้วยกำลังโทสะ อย่างสูง ถึงให้จองล้างจอง 06,0048,007,ผลาญผู้อื่น เรียกชื่อตามอาการถึงที่สุดว่าพยาบาท ๑ ความท้อแท้ 06,0048,008,หรือคร้านและความง่วงงุน รวมเรียกว่าถีนมิทธะ เพราะเป็นเหตุ 06,0048,009,หดหู่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก ๑ ความฟุ้งซ่าน หรือ 06,0048,010,คิดพล่าน และความจืดจางเร็ว รวมเรียกว่า อุทธัจจกุกกุจจะ 06,0048,011,เพราะเป็นเหตุกำเริบไม่อยู่ที่แห่งจิตเหมือนกัน นี้จัดเป็นนิวรณ์อีก ๑ 06,0048,012,ความลังเลไม่แน่ลงได้ เรียกวิจิกิจฉา ๑ การทำจิตให้ปลอดจาก 06,0048,013,นิวรณ์เหล่านี้ รักษาให้แน่แน่ว ชื่อว่าสมาธิ. สมาธินั้น ที่เป็น 06,0048,014,อย่างต่ำไม่แน่แน่วจริง ๆ ทำได้เป็นอย่างดีก็เป็นแต่เฉียด ๆ ใกล้ ๆ 06,0048,015,เรียกอุปจารสมาธิ. ที่เป็นอย่างสูง เป็นสมาธิอย่างแน่นแฟ้น แน่แน่ว 06,0048,016,ลงไปจริง ๆ เรียกอัปปนาสมาธิ. สมาธิอย่างต่ำ มีได้แก่สามัญชน 06,0048,017,ท่านไม่จัดว่าเป็นอุตตริมนุสสธรรม สมาธิอย่างสูง เฉพาะมีแก่ 06,0048,018,บางคนที่เป็นผู้วิเศษ ท่านจึงถือว่าเป็นอุตตริมนุสสธรรม เรียกว่า 06,0048,019,ฌานโดยมากกว่าอย่างอื่น. ฌานนั้นในคัมภีร์วิภังค์แจกเป็น ๔ ตาม 06,0048,020,ที่นิยมมากในพระพุทธศาสนา เรียกว่ารูปฌาน เพราะมีรูปธรรม 06,0048,021,อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์. ฌาน ๔ นั้น เรียกชื่อตามลำดับปูรณ-