Book,Page,LineNumber,Text 26,0029,001,ภิกษุอื่นว่า ภิกษุใดอยู่ในกุฎีของท่าน ภิกษุนั้นได้บรรลุอุตตริมนุสส- 26,0029,002,ธรรม เช่นนี้เรียกว่าอวดโดยปริยาย ถ้าผู้ฟังเข้าใจเนื้อความที่พูดนั้น 26,0029,003,เป็นอาบัติถุลลัจจัย ; ถ้าไม่เข้าใจปรับเพียงอาบัติทุกกฏ. 26,0029,004,๓. ภิกษุเสียจริตหรืออาพาธ ได้รับทุกขเวทนาหนัก จนถึงกับ 26,0029,005,เพ้อหรือใจลอยสัญญาวิปลาส แล้วพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมโดยไม่รู้ตัว 26,0029,006,และภิกษุต้นบัญญัติ ทำล่วงก่อนแต่มีสิกขาบทที่ห้าม ไม่เป็นอาบัติ. 26,0029,007,องค์ของการอวดที่ให้ต้องอาบัติปาราชิก 26,0029,008,๑. อวดอุตตริมนุสสธรรมที่ไม่มีในตน. 26,0029,009,๒. อวดด้วยมุ่งความสรรเสริญ. 26,0029,010,๓. ไม่อ้างผู้อื่น. 26,0029,011,๔. บอกแก่ผู้ใด ผู้นั้นเป็นชาติมนุษย์. 26,0029,012,๕. ผู้ฟังรู้ความในขณะนั้น. 26,0029,013,เหตุที่ห้ามไม่ให้ภิกษุล่วงสิกขาบททั้ง ๔ 26,0029,014,๑. การที่ห้ามมิให้ภิกษุเสพเมถุน เพราะว่าถ้าภิกษุมีเมีย ก็ต้อง 26,0029,015,มีลูกรุงรัง และการเลี้ยงดูกันจะไม่เพียงพอ เพราะภิกษุจะประกอบการ 26,0029,016,งานหรือแสวงหาอย่างคฤหัสถ์ไม่ได้ ต้องอาศัยทายกเลี้ยงชีวิตไปมื้อ 26,0029,017,หนึ่ง ๆ เท่านั้น ถ้าทำเข้าก็เป็นเหตุขัดข้องแต่การประพฤติพรหมจรรย์ 26,0029,018,เพราะการเสพเมถุนนั้น ย่อมเป็นเหตุสร้างเหย้าตั้งเรือน เป็นไปด้วย 26,0029,019,อำนาจราคะความกำหนัด และราคะความกำหนัดนั้นย่อมเป็นอกุศลมูล 26,0029,020,คือเป็นเหตุให้อกุศลอื่น ๆ ที่ยังไม่เกิด ๆ ขึ้น ที่เกิดมีอยู่แล้วทวีมากขึ้น. 26,0029,021,๒. การที่ห้ามไม่ให้ภิกษุล่วงสิกขาบทที่ ๒-๓ นั้น เพราะภิกษุ