Book,Page,LineNumber,Text 27,0042,001,หรือจีวรกาล ภิกษุผู้มิได้รับประโยชน์จากกาลนี้ พึงทรงอติเรกจีวร 27,0042,002,ได้ ๑๐ วันเป็นอย่างยิ่ง. 27,0042,003,ประเภทแห่งจีวร ๖ 27,0042,004,๑. โขมํ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้ เช่นผ้าลินิน. 27,0042,005,๒. กปฺปาสิกํ ผ้าทำด้วยฝ้าย คือผ้าสามัญ. 27,0042,006,๓. โกเสยฺยํ ผ้าทำด้วยไหม คือแพร. 27,0042,007,๔. กมฺพลํ ผ้าทำด้วยขนสัตว์ [ ยกผมขนมนุษย์ ]. เช่น 27,0042,008,สักหลาด. 27,0042,009,๕. สาณํ ผ้าทำด้วยเปลือกไม้สาณะ ซึ่งแปลกันว่าป่าน. 27,0042,010,๖. ภงฺคํ ผ้าทำด้วยสัมภาระเจือกัน เช่นผ้าด้ายแกมไหม. 27,0042,011,ผ้ามีกำเนิด ๖ นี้ มีประมาณตั้งแต่ยาว ๘ นิ้ว กว้าง ๔ นิ้วขึ้นไป 27,0042,012,เข้าองค์กำหนดแห่งผ้าต้องวิกัปเป็นอย่างต่ำ ชื่อว่าจีวร. 27,0042,013,กิริยาว่าทรง 27,0042,014,แต่เดิมดูเหมือนจะหมายเอาคารองหรือนุ่งห่ม ตั้งแต่มีอนุบัญญัติ 27,0042,015,ผ่อนให้ ๑๐ วันแล้ว หมายความตลอดถึงมีไว้เป็นสิทธิ์. 27,0042,016,วิธีนับวันล่วง 27,0042,017,กำหนดนับเป็นวันล่วงนั้น เมื่ออรุณคือแสงเงินขึ้น ภิกษุทรง 27,0042,018,อติเรกจีวรนั้นให้ล่วง ๑๐ วัน ถึงอรุณที่ ๑๑ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์. 27,0042,019,การเสียสละ 27,0042,020,อาบัตินี้ ต่อเมื่อภิกษุสละของอันเป็นเหตุต้องแล้ว จึงแสดง 27,0042,021,อาบัติได้ การสละแก่ผู้สมควรมี ๓ คือ :-