Book,Page,LineNumber,Text 31,0011,001,เขตนั้นไป ย่อมเป็นความผิดและเสียหายได้เหมือนกัน. 31,0011,002,๒๔๗๗ 31,0011,003,ถ. เป็นบรรพชิตต้องปฏิบัติพระวินัยให้สมแก่ภาวะของตน ๆ ก็ 31,0011,004,พระวินัยนั้นคืออะไร ? และมีการลงโทษต่างจากกฎหมายบ้านเมือง 31,0011,005,อย่างไร ? 31,0011,006,ต. พระวินัยนั้น คือพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจาร. มีการ 31,0011,007,ลงโทษต่างจากกฎหมายบ้านเมือง คือ กฎหมายบ้านเมือง บุคคลเป็นผู้ 31,0011,008,ลงโทษแก่ผู้ประพฤติผิดอีกชั้นหนึ่ง บางครั้งประพฤติล่วงแล้ว แต่หา 31,0011,009,หลักฐานอะไรมิได้ ไม่ถูกลงโทษก็มี บางครั้งไม่ได้ประพฤติล่วงกฎ- 31,0011,010,หมาย แต่เข้าระหว่างแก้ตัวไม่ได้ ถูกลงโทษก็มี. ส่วนพระวินัยลงโทษ 31,0011,011,เฉพาะผู้ประพฤติล่วงละเมิดเท่านั้น เมื่อประพฤติล่วงละเมิดแล้ว ใคร 31,0011,012,รู้เห็นก็ตาม ไม่รู้ไม่เห็นก็ตาม ก็เป็นอันมีโทษตามพระพุทธบัญญัติ 31,0011,013,กล่าวคือเป็นอาบัติ. 31,0011,014,๒๔๗๓ 31,0011,015,ถ. จงอธิบายประโยชน์แห่งการบัญญัติพระวินัย ? 31,0011,016,ต. อธิบายว่า ประโยชน์แห่งการบัญญัติพระวินัยนั้น เพื่อให้ 31,0011,017,เป็นบรรทัดดัดกายวาจาให้เรียบร้อยดีงาม เพราะผู้ที่มาบวชในพระ- 31,0011,018,พุทธศาสนา เป็นผู้ต่างชาติต่างสกุลต่างนิสัยใจคอกัน เมื่อไม่มีพระวินัย 31,0011,019,ไว้เป็นข้อขีดขั้นความประพฤติแล้ว ไหนเลยความประพฤติจะลงคลอง 31,0011,020,อันหนึ่งอันเดียวกันได้ เมื่อในหมู่หนึ่งต่างมีความประพฤติผิดแปลกกัน 31,0011,021,แล้ว ผลคือความเสียหายอื่นไม่ต้องกล่าวถึง พระวินัยย่อมเป็นเครื่อง