Book,Page,LineNumber,Text 36,0038,001,ไว้ในระหว่างประนมมือ แล้วหัวหน้านำว่า นโม และนำสวดมนต์บทต่าง ๆ ไป 36,0038,002,ตามแบบนิยม (ในการประนมมือนั้น ดูในเรื่องประนมมือหมวดปกิณกะ) 36,0038,003,การเจริญพระพุทธมนต์ในงานมงคล มีกำหนดเป็นหลักดังนี้ เจ็ดตำนาน 36,0038,004,ใช้ในงานมงคลทั่วไป สิบสองตำนาน ธรรมจักร มหาสมัยใช้ในงานมงคลบางอย่าง 36,0038,005,สุดแต่เจ้าภาพประสงค์ หรือสุดแต่พระสงฆ์เห็นเป็นการสมควร ที่ถือกันมา 36,0038,006,เป็นธรรมเนียม เช่น ในงานทำบุญอายุใหญ่ สวดธรรมจักรและเจ็ดตำนานย่อ 36,0038,007,งานมงคลสมรสสวดมหาสมัยและเจ็ดตำนานย่อ การเจริญพระพุทธมนต์ในงาน 36,0038,008,มงคลต่าง ๆ ทั้งแบบย่อแบบเต็ม หรืออย่างอื่น จักกล่าวถึงโดยพิสดารในศาสนาพิธี 36,0038,009,เล่ม ๒ 36,0038,010,ในการเจริญพระพุทธมนต์งานมงคลทุกแบบ มีตั้งภาชนะน้ำมนต์ไว้ด้วย 36,0038,011,ก็เพื่อให้พระสงฆ์ทำน้ำมนต์ในขณะสวด การทำน้ำมนต์นิยมว่า เป็นหน้าที่ของ 36,0038,012,หัวหน้าสงฆ์ (นี้หมายถึงเจ้าภาพต้องการน้ำมนต์ที่เดียว ถ้าข้าพเจ้าตั้งภาชนะ 36,0038,013,น้ำมนต์หลายที่ หน้าที่ทำน้ำมนต์เคลื่อนมาตามลำดับพระสงฆ์ผู้เจริญพระพุทธมนต์) 36,0038,014,เจ้าภาพจะจุดเทียนน้ำมนต์ตั้งแต่เริ่มสวดมงคลสูตร พอสวดรตนสูตรถึงตอน 36,0038,015,ขีณํ ปุราณํ นวํ นตฺถิ สมฺภวํ.... หัวหน้าสงฆ์พึงใช้มือขวาปลดเทียนน้ำมนต์ 36,0038,016,ออกากที่ปัก ถ้าที่น้ำมนต์เป็นครอบ พึงเปิดฝาครอบ แล้วจับเทียนความกับ 36,0038,017,สายสิญจน์เอียงให้หยดลงในน้ำทีละหยดๆ พร้อมกับสวด พอสวดถึงคำว่า 36,0038,018,นิพฺ ในคำว่า นิพฺพนฺติ ธีรา ยถายมฺปทีโป ก็ให้จุ่มเทียนลงดับในน้ำมนต์ 36,0038,019,ทันที พอถึงคำว่า ปทีโป จึงยกขึ้นแล้ววางหรือติดเทียนไว้ตามเดิม (นี้กล่าว 36,0038,020,ตามธรรมเนียมแต่ก่อน แต่ในปัจจุบันนี้ พอสวดถึง เย สุปฺปยุตฺตา... เตรียม 36,0038,021,ปลดเทียนน้ำมนต์ และเริ่มหยดเรื่อยไปดังตรงคำว่า นิพฺ เช่นเดียวกันก็มี) 36,0038,022,เป็นอันเสร็จพิธีทำน้ำมนต์ ต่อนั้นจึงสวดมนต์ต่อไปจนจบ 36,0038,023,อนึ่ง ในงานมงคล เมื่อตั้งน้ำมนต์และทำน้ำมนต์ในขณะเจริญพระ- 36,0038,024,พุทธมนต์แล้ว เสร็จพิธีหรือเสร็จการเลี้ยงพระในวันนั้น มักมีประเพณีขอให้ 36,0038,025,พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์ให้เจ้าภาพ และบริเวณสถานที่บ้านเรือนเป็นต้น 36,0038,026,ด้วย ถ้าเจ้าภาพประสงค์ให้มีการพรม คือ หญ้าคา หรือก้านมะยมนัดเป็นกำไว้ 36,0038,027,ให้พร้อม การใช้หญ้าคาเป็นประเพณีติดมาแต่คติพราหมณ์ ซึ่งมีเรื่องเล่าไว้ใน 36,0038,028,คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ว่า เมื่อครั้งอสูรกับเทวดาร่วมกันกวนเกษียรสมุทร