Book,Page,LineNumber,Text 42,0011,001,อานิสงส์แห่งการสำรวมจากโทษอย่างนั้น ยังสงฆ์ให้รับว่าชอบแล้ว 42,0011,002,กล่าวคือได้อนุมัติแห่งสงฆ์แล้ว จึงทรงบัญญัติสิกขาบทขึ้น เพื่อห้าม 42,0011,003,ปรามและปรับภิกษุผู้ฝ่าฝืน. 42,0011,004,เมื่อทรงบัญญัติมูลสิกขาบทขึ้นแล้วยังไม่พอดี ทรงอนุบัญญัติ 42,0011,005,ดัดแปลง เพื่อรัดสิกขาบทอันหลวมเข้าบ้าง เพื่อหย่อนสิกขาบท 42,0011,006,อันตึงลงบ้าง ไม่ทรงเลิกทีเดียว นี่เป็นอาการที่ทรงบัญญัติ. 42,0011,007,๙/๙/๒๔๖๗ 42,0011,008,ถ. พระวินัยคือมูลบัญญัติและอนุบัญญัติถูกหรือไม่ ? ถ้าอย่าง 42,0011,009,นั้น จงยกอุทาหรณ์แห่งมูลบัญญัติและอนุบัญญัติมาแสดง. 42,0011,010,ต. ถูกแล้ว ข้อที่ทรงตั้งไว้เดิมเรียกว่ามูลบัญญัติ ข้อที่ทรง 42,0011,011,เพิ่มเติมทีหลังเรียกว่าอนุบัญญัติ อุทาหรณ์เช่น เดิมทรงตั้งพระ 42,0011,012,บัญญัติห้ามไม่ให้ล้างผลาญชีวิตมนุษย์ ยังไม่พอจะเข้าใจว่าทรงห้าม 42,0011,013,ตลอดจนถึงพรรณนาคุณแห่งความตาย หรือยั่วให้เขาฆ่าตัวตายเสีย 42,0011,014,เอง จึงทรงบัญญัติเพิ่มความตอนนี้ไว้ด้วย. 42,0011,015,๒๔๖๕ 42,0011,016,ถ. พระวินัยเป็นหลักสำคัญแห่งพระศาสนาอย่างไร ? มีตำนาน 42,0011,017,มาอย่างไร ? จงแสดงมาพอได้ความ. 42,0011,018,ต. พระวินัยเป็นหลักสำคัญแห่งพระศาสนา คือป้องกันผู้ปฏิบัติ 42,0011,019,ไม่ให้ประพฤติชั่วช้าเลวทรามอันจะให้เกิดความเสียหาย และควบคุมไว้ 42,0011,020,ให้มีความประพฤติเรียบร้อยอันเป็นที่น่าเลื่อมใส ควรเป็นที่บรรจุคุณ- 42,0011,021,ธรรมที่ประณีตยิ่งขึ้น มีตำนานเล่าว่า ท่านพระอุบาลีเข้าใจมาก ได้