Book,Page,LineNumber,Text 01,0045,001,พละ คือธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง 01,0045,002,๑. สัทธา ความเชื่อ. 01,0045,003,๒. วิริยะ ความเพียร. 01,0045,004,๓. สติ ความระลึกได้. 01,0045,005,๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น. 01,0045,006,๕. ปัญญา ความรอบรู้. 01,0045,007,อินทรีย์ ๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน. 01,0045,008,องฺ. ปฺจก. ๒๒/๑๑. 01,0045,009,นิวรณ์ ๕ 01,0045,010,ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี ๕ อย่าง 01,0045,011,๑. พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น เรียกกามฉันท์. 01,0045,012,๒. ปองร้ายผู้อื่น เรียกพยาบาท. 01,0045,013,๓. ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม เรียกถิ่นมิทธะ. 01,0045,014,๔. ฟุ้งซ่านและรำคาญ เรียกอุทธัจจกุกกุจจะ. 01,0045,015,๕. ลังเลไม่ตกลงได้ เรียกวิจิกิจฉา. 01,0045,016,องฺ. ปฺจก. ๒๒/๗๒. 01,0045,017,ขันธ์ ๕ 01,0045,018,กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่าขันธ์ ๕ ๑. รูป 01,0045,019,๒. เวทนา ๓. สัญญา ๔. สังขาร ๕. วิญญาณ. 01,0045,020,ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่ารูป.