Book,Page,LineNumber,Text 09,0023,001,อธิบาย: ภิกษุผู้เจริญกัมมัฏฐาน เพ่งดูวัตถุอย่างในอย่างหนึ่ง 09,0023,002,เป็นอารมณ์ คือกสิณ ๑๐ หรืออสุภ ๑๐ วัตถุนั้นที่ภิกษุเพ่งดูและ 09,0023,003,นึกเป็นอารมณ์ ซึ่งเรียกว่าบริกรรม จัดเป็นปริกัมมนิมิตต์. ภิกษุ 09,0023,004,เพ่งดูวัตถุนั้นจนติดตา หลับตาเห็น จัดเป็นอุคคหนิมิตต์. ในลำดับ 09,0023,005,นั้น ภิกษุอาจนึกขยายส่วน หรือย่นส่วนแห่งอุคคหนิมิตต์นั้นได้ 09,0023,006,สมรูปสมสัณฐาน จัดเป็นปฏิภาคนิมิตต์. 09,0023,007,ภาวนา ๓ 09,0023,008,ปริกัมมภาวนา ภาวนาในบริกรรม 09,0023,009,อุปจารภาวนา ภาวนาเป็นอุปจาร 09,0023,010,อัปปนาภาวนา ภาวนาเป็นอัปปนา. 09,0023,011,อภิ. สงฺ ๕๑. 09,0023,012,อธิบาย: กิริยาที่ทำบริกรรมในขณะเจริญกัมมัฏฐานอย่างใด 09,0023,013,อย่างหนึ่ง ทั้งที่เพ่งดูวัตถุดังกล่าวแล้วในนิมิตต์ ๓ ก็ดี ทั้งเป็นแต่ 09,0023,014,ลำพังนึก เช่นเจริญอนุสสติก็ดี จัดว่าปริกัมมภาวนา ภาวนาในขณะ 09,0023,015,อุคคหนิมิตต์ปรากฏ ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ หรือในขณะ 09,0023,016,นิวรณ์สงบ ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่ลำพังนึก จัดว่าอุปจาร- 09,0023,017,ภาวนา แปลว่าภาวนาเฉียด หรือภาวนาใกล้เข้าไป. ภาวนาในขณะ 09,0023,018,ปฏิภาคนิมิตต์ปรากฏ ในการเจริญกัมมัฏฐานเพ่งดูวัตถุ จัดเป็น 09,0023,019,อัปปนาภาวนา แปลว่าภาวนาแน่แน่ว ในการเจริญกัมมัฏฐานเป็นแต่ 09,0023,020,ลำพังนึก ท่านว่าไม่ถึงอัปปนา.