Book,Page,LineNumber,Text 11,0022,001,เกิดเพราะความเพียรก็ดี แม้ไม่ได้เสวยเลยก็ดี ก็ควรจะตรัสรู้อุบาย 11,0022,002,นั้นได้ เหมือนไม้แห้งที่ไกลจากน้ำ บุคคลตั้งไว้บนบก บุรุษอาจสี 11,0022,003,ให้เกิดไฟขึ้นได้ เพราะเป็นของแห้งและตั้งอยู่บนบกฉะนั้น จำเดิม 11,0022,004,แต่กาลนั้น พระองค์ทรงคิดจะทำความเพียร เพื่อจะป้องกันจิต 11,0022,005,ไม่ให้น้อมไปในกามารมณ์ได้ จึงทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ 11,0022,006,ทรมานพระกายให้ลำบาก ซึ่งเป็นที่นิยมนับถือกันในครั้งนั้นว่าเป็น 11,0022,007,กุศลวัตรอันวิเศษ อาจจะทำให้สิ่งที่ปรารถนาสำเร็จได้ก่อน วาระแรก 11,0022,008,ทรงกดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา ไว้ให้แน่น 11,0022,009,จนพระเสโทไหลออกจากพระกัจฉะประเทศ ในเวลานั้นได้เสวยทุกข- 11,0022,010,เวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังจับบุรุษที่มีกำลังน้อยไว้ที่ 11,0022,011,ศีรษะหรือที่คอ บีบให้แน่นฉะนั้น แม้พระกายกระวนกระวายไม่สงบ 11,0022,012,ระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับ 11,0022,013,กระส่ายได้ พระองค์มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียร 11,0022,014,ไม่ท้อถอย ครั้นทรงเห็นว่าการทำอย่างนี้ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรง 11,0022,015,เปลี่ยนอย่างอื่น วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ 11,0022,016,ไม่ให้เดินสะดวกโดยช่องพระนาสิกและช่องพระโอษฐ์ ก็เกิดเสียงดังอู้ 11,0022,017,ทางช่องพระกรรณทั้ง ๒ และปวดพระเศียร เสียดพระอุทรร้อนใน 11,0022,018,พระกายเป็นกำลัง แม้ถึงได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกข- 11,0022,019,เวทนานั้น ก็ไม่ได้ครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่ายได้ มีพระสติ 11,0022,020,ตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่า 11,0022,021,การทำอย่างนี้ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนอย่างอื่นอีก วาระที่ ๓