Book,Page,LineNumber,Text 11,0033,001,สติสมาธิปัญญากล้าก็มี มีอินทรีย์อ่อนก็มี มีอาการอันดีก็มี มีอาการ 11,0033,002,อันชั่วก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้โดยง่ายก็มี จะพึงสอนให้รู้ได้โดยยากก็มี 11,0033,003,เป็นผู้สามารถจะรู้ได้ก็มี ไม่สามารจะรู้ได้ก็มี มีอธิบายเป็นคำเปรียบ 11,0033,004,ว่าในกออุบลหรือในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวที่เกิดแล้ว 11,0033,005,ในน้ำ เจริญแล้วในน้ำ น้ำเลี้ยงอุปถัมภ์ไว้ บางเหล่ายังจมอยู่ในน้ำ 11,0033,006,บางเหล่าตั้งอยู่เสมอน้ำ บางเหล่าตั้งขึ้นพ้นน้ำ ในดอกบัว ๓ อย่าง 11,0033,007,นั้น ดอกบัวที่ตั้งขึ้นพันน้ำแล้วนั้น คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จัก 11,0033,008,บาน ณ วันนี้ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอนำนั้นจักบาน ณ วันพรุ่งนี้ ดอกบัวที่ 11,0033,009,ยังไม่ขึ้นจากน้ำ ยังตั้งอยู่ภายในน้ำนั้น จักบาน ณ วันต่อ ๆ ไป ดอก 11,0033,010,บัวที่จักบานมี ๓ อย่างฉันใด บุคคลที่สามารถจะรู้ธรรมพิเศษได้ ก็ 11,0033,011,เป็น ๓ จำพวกฉันนั้น คือ อุคฆติตัญญู ๑ วิปจิตัญญู ๑ เนยยะ ๑ 11,0033,012,ในบุคคล ๓ จำพวกนั้น บุคคลผู้ใดมีอุปนิสัยสามารถจะรู้จักธรรม 11,0033,013,พิเศษได้โดยพลัน พร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอน 11,0033,014,บุคคลผู้นั้นชื่อว่าอุคฆติตัญญู บุคคลผู้ใดต่อท่านแจกความแห่งคำที่ 11,0033,015,ย่อให้พิสดารออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมพิเศษได้ บุคคลผู้นั้นชื่อว่า 11,0033,016,วิปจิตัญญู บุคคลผู้ใดเมื่อพากเพียรจำอุทเทสถามความทำในใจโดย 11,0033,017,อุบายที่ชอบ คบสมาคมด้วยกัลยาณมิตร จึงจะตรัสรู้ธรรมพิเศษได้ 11,0033,018,บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเนยยะ. ส่วนบุคคลผู้ใด แม้ฟังแล้วจำไว้ได้แล้ว ได้ 11,0033,019,บอกกล่าวธรรมแก่ผู้อื่นเป็นอันมาก ก็ไม่อาจรู้ธรรมพิเศษได้ บุคคล 11,0033,020,ผู้นั้นเป็นคนอภัพ ควรเปรียบด้วยดอกบัวอันจักไม่บาน จักเป็น 11,0033,021,ภักษาแห่งเต่าและปลาฉะนั้น.