Book,Page,LineNumber,Text 13,0043,001,"ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด "" อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอันถือ " 13,0043,002,อุปัชฌายะแล้ว. ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าอุปัชฌายะ แปลว่า 13,0043,003,ผู้ฝึกสอนหรือผู้ดูแล ภิกษุผู้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าสัทธิวิหาริก แปลว่า 13,0043,004,ผู้อยู่ด้วย กิริยาที่พึ่งพิง เรียกว่านิสัย. ส่วนผู้มาขออุปสมบทใหม่ 13,0043,005,ทรงพระอนุญาตให้ถืออุปัชฌายะมาแต่แรก ถือเอาอุปัชฌายะนั้นเอง 13,0043,006,เป็นผู้นำเข้าหมู่และเป็นผู้รับรอง ให้ออกชื่อในกรรมวาจาสวด 13,0043,007,ประกาศด้วย คำขอและคำรับก็เช่นเดียวกัน แต่ในบัดนี้ว่าคำขอ 13,0043,008,นิสัยนำและว่าคำรับเป็นธุระกันข้างท้าย ดังมีแจ้งในอุปสมบทวิธี. 13,0043,009,ตรัสสั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก ตั้งจิตสนิทสนมในกัน 13,0043,010,และกัน ให้อุปัชฌายะสำคัญสิทธิวิหาริกฉันบุตร ให้สัทธิวิหาริก 13,0043,011,นับถืออุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างจะมีเคารพเชื่อฟังถูก 13,0043,012,กันอยู่ ย่อมจะถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย. ตรัส 13,0043,013,สั่งให้อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริก ต่างเอื้อเฟื้อประพฤติชอบในกันและ 13,0043,014,กัน หน้าที่อันสัทธิวิหาริกจะพึงทำแก่อุปัชฌายะ เรียกอุปัชฌายวัตร 13,0043,015,หน้าที่อันอุปัชฌายะจะพึงทำแก่สัทธิวิหาริก เรียกสัทธิวิหาริกวัตร 13,0043,016,จักกล่าวถึงข้างหน้า. 13,0043,017,นิสัยอันมีในระหว่างสัทธิวิหาริกกับอุปัชฌายะนั้น ยังอยู่ด้วย 13,0043,018,กันเพียงใด ก็ยังมีเพียงนั้น ถ้าแยกจากกันชั่ววันหนึ่ง นิสัยระงับ 13,0043,019,ขาดจากปกครอง ในบาลีแสดงเหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะไว้ ๕ 13,0043,020,ประการ คือ อุปัชฌายะหลีกไปเสีย ๑ สึกเสีย ๑ ตายเสีย ๑ ไป 13,0043,021,เข้ารีตเดียรถีย์เสีย ๑ สั่งบังคับ ๑ องค์เหล่านี้ยกสั่งบักคับเสีย ได้