Book,Page,LineNumber,Text 13,0044,001,ในฝ่ายสัทธิวิหาริกเหมือนกัน สัทธิวิหาริกหลีกไปเสียเอง สึกเสีย 13,0044,002,เอง ตายเสียเอง ไปเข้ารีตเดียรถีย์เสียเอง นิสัยก็ระงับเหมือน 13,0044,003,กัน. ในองค์คือหลีกไปนั้น ถ้าฝ่ายที่หลีกไปกลับมา หรือฝ่ายที่ 13,0044,004,อยู่ตามไปอยู่ในที่แห่งเดียวกัน นิสัยย่อมกลับมีอีก กำหนดความ 13,0044,005,มีด้วยสัทธิวิหาริกได้ร่วมกับอุปัชฌายะเข้า ที่พระอรรถกถาจารย์ 13,0044,006,แม้ว่า ได้เห็นอุปัชฌายะถนัดจนจำได้ หรือได้ฟังเสียงจำได้ แก้ 13,0044,007,อย่างนี้เผินมาก ควรจะแก้ให้เป็นกิจลักษณะสักหน่อย คำบาลีว่า 13,0044,008,""" อุปชฺฌาเยน สโมธานคโต "" ที่ข้าพเจ้าแปลว่า ร่วมกับอุปัชฌายะ" 13,0044,009,เข้านั้น น่าจะหมายความว่า ได้เข้าอยู่ในปกครองของอุปัชฌายะอีก 13,0044,010,ไม่ควรถือเอาการพบปะตามถนนหนทางชั่วขณะ ที่สุดจนอุปัชฌายะ 13,0044,011,ไม่เห็น เช่นนี้นิสัยไม่มีได้เลย และเป็นเหตุลำบากอย่างไร ของ 13,0044,012,ผู้ให้ผู้ถือนิสัย จักกล่าวในวาระแห่งนิสัยอาจารย์. องค์คือสั่ง 13,0044,013,บังคับนั้น พระอรรถกถาจารย์แก้ว่า ประณามคือไล่เสีย. เมื่อ 13,0044,014,อุปัชฌายะอดโทษ ยอมรับให้เข้าอยู่ในความปกครองอีก นิสัยย่อม 13,0044,015,ติดอย่างเดิม. ข้าพเจ้าเห็นว่า น่าจะหมายความถึงว่า อุปัชฌายะ 13,0044,016,เห็นมีพรรษาพ้น ๕ แล้ว มีความรู้พระธรรมวินัยพอรักษาตัวได้แล้ว 13,0044,017,ปลดจากนิสัย ให้อยู่เป็นนิสัยมุตตกะ นี้ควรจะนับเข้าในองค์คือ 13,0044,018,สั่งบังคับได้เหมือนกัน. 13,0044,019,ประทานอำนาจไว้แก่อุปัชฌายะ เพื่อจะประณามคือไล่สัทธิ- 13,0044,020,วิหาริกผู้ประพฤติมิชอบ. ในบาลีท่านแสดงองค์เป็นเครื่องกำหนด 13,0044,021,ไว้ ๕ คือ หาความรักใคร่ในอุปัชฌายะมิได้ ๑ หาความเลื่อมใส