Book,Page,LineNumber,Text 13,0047,001,"คำขอว่า "" อาจริโย เม ภนฺเต โหหิ, อายสฺมโต นิสฺสาย วจฺฉามิ "" " 13,0047,002,"๒ หน ซึ่งแปลว่า "" ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ๆ จักอยู่" 13,0047,003,"อาศัยท่าน "" ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าอาจารย์ ซึ่งแปลว่า " 13,0047,004,ผู้ฝึกมารยาท ภิกษุผู้อิงอาศัยได้ชื่อว่า อันเตวาสิกหรืออันเตวาสี 13,0047,005,ซึ่งแปลว่า ผู้อยู่ในสำนัก. อาจารย์นี้ ในบาลีหมายเอาภิกษุผู้ให้ 13,0047,006,"นิสัยแทนอุปัชฌายะเท่านั้น, แต่ในอรรถกถานับอาจารย์เป็น ๔ คือ" 13,0047,007,ท่านผู้ให้สรณคมน์เมื่อบรรพชา ท่านผู้ลวดกรรมวาจาเมื่ออุปสมบท 13,0047,008,ท่านผู้ให้นิสัย และท่านผู้สอนธรรม จะให้รู้ว่าเป็นอาจารย์ในฝ่าย 13,0047,009,"อะไร ก็ออกชื่อกิจนั้นด้วยดังนี้ว่า ปัพพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา," 13,0047,010,"อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท, นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้" 13,0047,011,"นิสัย, อุทเทสาจารย์ อาจารย์ผู้บอกธรรม, จัดนิสสยาจารย์ไว้ใน" 13,0047,012,ลำดับเป็นที่ ๓. อันเตวาสิกก็ได้ชื่อตามนัยนั้นว่า ปัพพชันเตวาสิก 13,0047,013,"อันเตวาสิกในบรรพชา, อุปสัมปทันเตวาสิก อันเตวาสิกในอุปสมบท" 13,0047,014,"นิสสยันเตวาสิก อันเตวาสิกผู้ถือนิสัย, ธัมมันเตวาสิก อันเตวาสิก" 13,0047,015,ผู้เรียนธรรม. ความสนิทสนมและความเอื้อเฟื้ออันอาจารย์และ 13,0047,016,อันเตวาสิกจะพึงแสดงแก่กันนั้น ก็เช่นเดียวกับอุปัชฌายะและ 13,0047,017,สัทธิวิหาริก เพราะจะต้องนับถือกันจริง ๆ ต่างฝ่ายต่างจะรอพอ 13,0047,018,ให้รู้ว่าเป็นสภาคกันโดยความประพฤติแล้ว จึงขอจึงให้นิสัย ก็ควร 13,0047,019,ทรงพระอนุญาต. ความระงับแห่งนิสัยจากอาจารย์ ก็มีเพราะเหตุ