Book,Page,LineNumber,Text 13,0049,001,ปกครองเนื่องด้วยอุปัชฌายะก็ชอบอยู่ เมื่อท่านไปแล้ว นิสัย 13,0049,002,อาจารย์กลับติดอีก กิจด้วยจะต้องขอใหม่ไม่มี ตลอดเวลาอยู่ใน 13,0049,003,ปกครองของท่าน ต่อเมื่อออกจากปกครองของท่านด้วยองค์ ๕ 13,0049,004,ข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง นิสัยจึงระงับ เช่นอันเตวาสิกลาอาจารย์ 13,0049,005,ไปอยู่วัดอื่น ถือภิกษุอื่นเป็นอาจารย์ในวัดนั้น ภายหลังกลับมาวัด 13,0049,006,เดิมอีก เช่นนี้ของนิสัยใหม่ก็ชอบแก่เหตุ. ถ้าเข้าใจอย่างว่ามานี้ 13,0049,007,จะเปลื้องความลำบากของอาจารย์และอันเตวาสิกลงได้ จะทำให้ 13,0049,008,อันเตวาสิกพอใจจะเข้าหน้าอุปัชฌายะของตน ทั้งจะเป็นผลอันดีแก่ 13,0049,009,การปกครอง. 13,0049,010,ภิกษุมีพรรษาหย่อน ๕ เป็นนวกะอยู่ แม้เป็นผู้มีความรู้ทรง 13,0049,011,ธรรมทรงวินัย จะไม่ถือนิสัยอยู่ในปกครองของอุปัชฌายะหรือของ 13,0049,012,อาจารย์ไม่ชอบ ทรงห้ามไว้ ไม่ต้องกล่าวถึงภิกษุผู้ยังไม่รู้อะไร 13,0049,013,เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ยังไม่ตั้งลงเป็นหลักแหล่ง ที่แสดงไว้ในบาลีว่า ภิกษุ 13,0049,014,เดินทาง ภิกษุผู้ไข้ ภิกษุผู้พยาบาลผู้ได้รับขอของคนไข้เพื่อให้อยู่ ภิกษุ 13,0049,015,ผู้เข้าป่า เพื่อเจริญสมณธรรมชั่วคราว. ในที่ใด หาท่านผู้ให้นิสัยมิได้ 13,0049,016,และมีเหตุขัดข้องที่จะไปอยู่ในที่อื่นไม่ได้ จะอยู่ในที่นั้นด้วยผูกใจว่า 13,0049,017,เมื่อใดมีท่านผู้ให้นิสัยได้มาอยู่ จักถือนิสัยในท่าน ก็ใช้ได้. 13,0049,018,ภิกษุผู้มีพรรษาได้ ๕ แล้ว แต่ยังหย่อน ๑๐ ได้ชื่อว่ามัชฌิมะ 13,0049,019,แปลว่าผู้ปานกลาง มีองคสมบัติพอรักษาตนผู้อยู่ตามลำพังได้ ทรง 13,0049,020,พระอนุญาตให้พ้นจากนิสัยอยู่ตามลำพังได้ เรียกว่า นิสสัยมุตตกะ 13,0049,021,ฝ่ายภิกษุผู้มีความรู้ไม่พอจะรักษาตน แม้พ้น ๕ พรรษาแล้ว ก็ต้อง