Book,Page,LineNumber,Text 14,0045,001,ผรุสวาจา กล่าวถ้อยอันสุภาพ นึกในทางเมตตากรุณา พึงทำ 14,0045,002,พึงพูด พึงคิด อย่างนั้น ตลอดถึงพึงหัดจิตให้เป็นไปตามปรมัตถ- 14,0045,003,ปฏิปทาที่หมายกล่าวในบาลีนั้น. ตรัสสอนอย่างนี้ ก็เพราะสุขอื่นยิ่งไป 14,0045,004,กว่าสันติย่อมไม่มี. กามสุขย่อมเจือด้วยความร้อนรุนแห่งกิเลส สุขเพราะ 14,0045,005,ได้ลาภยศและสรรเสริญ ย่อมระคนด้วยทุกข์ดังกล่าวแล้ว สุขเพราะ 14,0045,006,ชนะ ตั้งแต่เล่นกัน แข่งขัน โต้กัน สู้กัน ตลอดถึงรบกัน ย่อม 14,0045,007,เกี่ยวพันด้วยเวร ส่วนสุขเกิดสืบมาแต่ความสงบเป็นแต่เพียงภายนอก 14,0045,008,เช่นความเป็นไมตรีกัน ต่างรักษากายสมาจารวจีสมาจารเรียบร้อย ที่ 14,0045,009,เป็นภายใน นึกถึงการที่อยู่ด้วยความไม่มีภัยไม่มีเวรกับผู้อื่น นึกถึง 14,0045,010,ศีลาจารอันประพฤติมาโดยเรียบร้อย สะกดจิตจากกิเลสอย่างทารุณ 14,0045,011,มีสาราคะคือราคะกล้าและอิสสาเป็นตัวอย่าง ย่อมเป็นสุขอย่างสดชื่น 14,0045,012,ที่เกิดสืบมาจากความสงบกิเลสอย่างสุขุม ย่อมเป็นสุขอย่างแจ่มใส 14,0045,013,อย่างสนิท. ผู้มุ่งสันติอันเป็นสุขอย่างจริงจัง พึงละโลกามิสเสีย. อะไร 14,0045,014,เป็นโลกามิส. ปัญจพิธกามคุณ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ 14,0045,015,อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นโลกามิส เพราะเป็นเครื่อง 14,0045,016,ล่อใจให้ติดในโลกดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่. การทำใจมิให้ติดในปัญจพิธ- 14,0045,017,กามคุณ ย่อมเป็นปฏิปทาของท่านผู้รู้ผู้สงบดีแล้ว แสดงในชราสูตรว่า 14,0045,018,อุทพินฺทุ ยถาปิ เปกฺขเร 14,0045,019,ปทุเม วาริ ยถา น ลิปฺปติ 14,0045,020,เอวํ มุนิ โนปลิปฺปติ