Book,Page,LineNumber,Text 14,0049,001,เพื่อเข้าสิง. อาตฺมนฺ นั้น ท่องเที่ยวไป ในที่สุด ย่อมถึงความบริสุทธิ์ 14,0049,002,"จากบาปด้วยประการทั้งปวง ได้ชื่อว่า ""มหาตฺมนฺ"" เทียบกับมคธ" 14,0049,003,"ว่า "" มหตฺตา"" แปลว่า ""อัตตาใหญ่."" ศัพท์มคธนี้มาในคาถานิคม" 14,0049,004,แห่งธัมมคารวสูตร จตุกกังคุดร ว่า 14,0049,005,ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน มหตฺตมภิกงฺขตา 14,0049,006,สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ สรํ พุทฺธาน สาสนํ. 14,0049,007,เพราะเหตุนั้นแล ผู้รักตนจำนงมหัตตา มาระลึกถึงคำสอน 14,0049,008,แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงทำเคารพพระสัทธรรม. 14,0049,009,แต่แปลบทมหัตตาว่า ประโยชน์ใหญ่บ้าง ความเป็นใหญ่บ้าง 14,0049,010,อย่างต้นความไม่ได้กับพยัญชนะ อย่างหลังตามพยัญชนะเป็นมหัตตะ 14,0049,011,"ก็ได้ แต่ความเข้ากับพากย์ไม่สนิท. อีกศัพท์หนึ่งคือ ""มหคฺคตํ""" 14,0049,012,ที่แปลว่า ถึงความเป็นใหญ่ บางทีเลียนศัพท์นี้ก็ได้ แต่มีอธิบาย 14,0049,013,ต่างว่า ได้แก่จิตและสัมปยุตด้วยฌาน. ศัพท์นี้มาในนิเทศแห่ง 14,0049,014,"จิตตานุปัสสนาในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า ""มหคฺคตํ วา จิตฺตํ" 14,0049,015,"มหคฺคตํ จิตฺตนฺติ ปชานาติ"" ภิกษุย่อมรู้ชัดซึ่งจิตเป็นมหรคตก็มี" 14,0049,016,"ว่าจิตเป็นมหรคต. ""มหาตฺมนฺ"" นี้ จุติจากร่างที่สุดแล้ว ย่อม" 14,0049,017,"กลับเข้าหา ""ปรมาตฺมนฺ"" อันเป็นต้นเดิม เป็นอยู่ยืนที่ ไม่จุติอีก" 14,0049,018,"นี้เป็นที่สุดแห่งสงสารของเขา เรียกว่า ""นิรฺวาณมฺ"" แปลอย่าง" 14,0049,019,"เดียวกับนิพพานของเรา. เขามีปกรณ์ชื่อ ""นิรฺวาณปุราณมฺ""" 14,0049,020,ไม่เคยอ่าน ดูทีได้กันกับมหาสาวกนิพพานของเรา. นิพพานมีชื่อเรียกใน