Book,Page,LineNumber,Text 17,0036,001,นี้เป็นพุทธเจดีย์อีกชนิดหนึ่งซึ่งสร้างกันเป็นพื้นในภายหลังมา. และการ 17,0036,002,สร้างพระพุทธปฏิมากรนั้น เป็นพระราชกุศลพิเศษ ที่สมเด็จพระ 17,0036,003,มหากษัตริยาธิราชได้ทรงกระทำเป็นลำดับมา ดังมีตำนานเล่าว่า สมเด็๗ 17,0036,004,พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก ผู้ดำรงเอกราชในประเทศลานนาไทยข้างฝ่าย 17,0036,005,เหนือ ตั้งพระนครที่เมืองเชียงแสน ได้เสด็จยกพยุหแสนยาลงมาสร้าง 17,0036,006,เมืองพิษณุโลก และทรงหล่อพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ และ 17,0036,007,พระศาสดามุนี เชิญประดิษฐานไว้ในพระวิหารหลวง ณ วัดพระศรี 17,0036,008,รัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกนั้น เป็นพระพุทธรูปสำคัญ ปรากฏ 17,0036,009,พระนามมาในพระราชพงศาวดาร. สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร 17,0036,010,เจ้าทรงบำเพ็ญพระราชกุศลมีประการต่าง ๆ เสร็จด้วยกำลังพระราช- 17,0036,011,ศรัทธา นี้จัดว่าสัทธาสัมปทา นับเป็นมงคลวิเสสที่ต้น. 17,0036,012,สามัตถิยะนั้น คือความเป็นผู้สามารถในกิจน้อยใหญ่ คุณข้อนี้ 17,0036,013,มีในผู้ใด ก็ยังผู้นั้นให้ประกอบกิจนั้น ๆ ลุล่วงไปได้ไม่ขัดข้อง สำเร็จ 17,0036,014,ประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ดังพระอานนทเถรเจ้า ได้คิดทำตัวอย่าง 17,0036,015,จีวรขึ้นถูกต้องตามพระบรมพุทธาธิบาย ได้ความสรรเสริญแต่สมเด็จ 17,0036,016,พระบรมศาสดาจารย์ มีนิทานเล่าไว้ในจีวรขันธกะคัมภีร์มหาวรรคพระ 17,0036,017,วินัยว่า สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกโปรดสัตว์ไปใน 17,0036,018,ตำบลทักขิณาคิรี ทอดพระเนตรเห็นนาในแคว้นมคธอันมีคันนากั้นเป้น 17,0036,019,อัน รับสั่งถามพระอานนท์ว่า จักสามารถจัดจีวรให้มีรูปอย่างนี้ได้หรือ 17,0036,020,ไม่ พระเถรเจ้าทูลรับแล้ว ครั้นเสด็จถึงกรุงราชคฤห์แล้ว ท่านจัด 17,0036,021,ทำจีวรมีรูปเหมือนเช่นนั้น ถวายสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ให้ทอด