Book,Page,LineNumber,Text 19,0021,001,จตุธาตุววัตถานะ 19,0021,002,บทนี้ แปลว่ากำหนดธาตุ ๔. กัมมัฏฐานนี้ เป็นคู่ปรับแก่ 19,0021,003,วิจิกิจฉา. วิจิกิจฉามีปกติให้ลังเลไม่แน่ใจลงได้ ส่วนกัมมัฏฐานนี้มีปกติ 19,0021,004,ให้กำหนดรู้โดยสภาวะ คนผู้ไม่กำหนดรู้โดยสภาวะ ไม่รู้จักสิ่งนั้น ๆ 19,0021,005,โดยความเป็นจริงอย่างไร จึงมีสงสัย เมื่อเข้าใจตามจริงแล้ว ก็สิ้น 19,0021,006,สงสัยไปได้อย่างหนึ่ง ๆ พระอาจารย์เจ้าแสดงกัมมัฏฐานนี้ไว้ ก็เพื่อ 19,0021,007,จะให้เข้าใจความเป็นจริงของร่างกาย เป็นอุบายกำหนดรู้สภาวธรรม 19,0021,008,อย่างหนึ่ง เป็นเหตุคืบออกไปกำหนดสภาวธรรมอย่างอื่นอีก. 19,0021,009,สาธุชนผู้จะเจริญกัมมัฏฐานนี้ พึงกำหนดรู้จักธาตุและสังขารก่อน 19,0021,010,สภาวะที่มีอยู่โดยธรรมดาอันจะแยกออกไปอีกไม่ได้ เรียกว่าธาตุ. ธาตุ 19,0021,011,เหล่านั้น คุมกันเข้าเองโดยธรรมดา หรือมนุษย์ปรุงขึ้นเรียกว่าสังขาร. 19,0021,012,แสดงอุทาหรณ์พอเป็นตัวอย่าง เช่นกระดูก เนื้อ เลือด ความอุ่น 19,0021,013,และลมอากาศ ถ้าไม่ประสงค์จะกล่าวให้ละเอียดต่อไป เป็นธาตุ 19,0021,014,ละอย่าง ๆ ร่างกายคือประชุมธาตุเหล่านี้ เป็นสังขาร. ฝ้ายและสีเป็น 19,0021,015,สัมภาระอันหนึ่ง ๆ ดุจเดียวกับธาตุ ผ้าที่คนเอาฝ้ายมาปั่นให้เป็นด้าย 19,0021,016,ย้อมด้วยสีแล้วทอขึ้นนั้น เป็นสังขาร. ธาตุหรือสัมภาระที่แสดงมา 19,0021,017,เป็นอุทาหรณ์นั้น ยังเรี่ยราดกระจัดกระจายกำหนดรู้ยาก นักปราชญ์ 19,0021,018,จึงได้ย่นให้สั้นเข้า เพื่อกำหนดรู้ง่าย ครั้งโบราณท่านจัดธาตุที่เป็นส่วน 19,0021,019,รูป ๔ กระดูกก็ดี เนื้อก็ดี ฝ้ายก็ดี สีก็ดี ดังกล่าวไว้ในอุทาหรณ์ 19,0021,020,ข้างต้นนั้น ท่านรวมเรียกเป็นธาตุอันเดียวว่าปฐวีหรือดิน ด้วยเหตุว่า