Book,Page,LineNumber,Text 21,0014,001,ด้วยภาวนา ความทำอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณให้เกิดเจริญขึ้นด้วยดี. 21,0014,002,พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพระนามว่า ' วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน 21,0014,003,เพราะพระองค์ถึงพร้อมบริบูรณ์แล้ว ด้วยวิชชาและจรณะ เครื่องประ- 21,0014,004,พฤติเพื่อวิชชา. วิชชานั้นท่านแจกเป็น ๓ อย่างบ้าง ๘ อย่างบ้าง. วิชชา ๓ 21,0014,005,นั้น คือ บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่ตามระลึกรู้ซึ่งขันธ์ที่ตนอยู่ 21,0014,006,แล้วในภพก่อน ๆ คือระลึกชาติก่อนๆ ได้ ๑ จุตูปปาตญาณ ปัญญา 21,0014,007,อันกำหนดรู้ซึ่งจุติและปฏิสนธิอุปบัติของสัตว์ทั้งสิ้น ๑ อาสวักขยญาณ 21,0014,008,ปัญญาอันรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวกิเลส ๑ รวมเป็น ๓ ฉะนี้ 21,0014,009,วิชชา ๘ นั้น คือวิปัสสนาญาณ ปัญญาอันเห็นกายนี้สักว่าเป็นธาตุ ๔ 21,0014,010,คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม มีวิญญาณอาศัยอยู่ มิใช่สัตว์มิใช่บุคคลเป็น- 21,0014,011,ต้น ๑ มโนมยิทธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ คือนิรมิตซึ่งรูปอื่นออกจากกายนี้ 21,0014,012,ดังชักไส้หญ้าปล้องออก ๑ อิทธิวิธิ ฤทธิ์สำเร็จด้วยอธิบายตามประสงค์ 21,0014,013,คือคนเดียวอธิษฐานให้เป็นคนมาก คนมากอธิษฐานให้เป็นคนเดียวได้ 21,0014,014,เป็นต้น ๑ ทิพพโสต โสตเป็นดังทิพย์ คิดจะฟังเสียงมนุษย์หรือเสียง 21,0014,015,ทิพย์ในที่ไกลหรือใกล้ย่อมได้ยิน ๑ เจโตปริยญาณ รู้กำหนดจิตของผู้ 21,0014,016,อื่นว่าดีและชั่ว มีกิเลสและไม่มีกิเลส ๑ กับวิชชา ๓ ที่กล่าวแล้ว 21,0014,017,ก่อนนั้นจึงรวมเป็น ๘ ฉะนี้. ธรรมมีประเภท ๓ ประเภท ๘ เหล่านี้ 21,0014,018,เรียกวิชชา เพราะเป็นความรู้วิเศษยิ่งกว่าความรู้อื่น ๆ. จรณะ เครื่อง 21,0014,019,ประพฤติเพื่ออวิชชานั้นมี ๑๕ คือ สีลสังวร สำรวมกายวาจาให้เป็น 21,0014,020,ปรกติดีงามอยู่เสมอ มิให้เป็นทุจริตความประพฤติชั่วขึ้นได้ ๑ อินทริย- 21,0014,021,สังวร ระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต ไว้มิให้อภิชฌาโทมนัสบาป-