Book,Page,LineNumber,Text 25,0040,001,ในแคว้นต่าง ๆ ทั่วไป. แต่พึงเข้าใจว่า แม้จะเรียกว่าภาษาปรากฤต 25,0040,002,อยู่อย่างเดิม แต่แม้ลักษณะคำหรือการออกเสียงเป็นต้น ย่อมเปลี่ยน 25,0040,003,แปลงไปตามกาลที่ล่วงไป ทำนองเดียวกับภาษาอื่น ข้อนี้จะพึงเทียบ 25,0040,004,ความต่างในภาษาไทยในสมัยปัจจุบัน กับภาษาไทยสมัยสุโขทัย ซึ่ง 25,0040,005,"ห่างกันเพียง ๖-๗ ร้อยปีก็เห็นจะได้, ถ้าเทียบกับภาษาไทยน่านเจ้า" 25,0040,006,หรือนครลุง นครปา เมื่อประมาณ ๑-๒ พันปี ซึ่งพวกไทยยังมิได้ยก 25,0040,007,"เข้าสู่ดินแดนสุวรรณภูมินี้ด้วยแล้ว ก็ยิ่งต่างกันมาก, อีกอย่างหนึ่ง" 25,0040,008,ภาษาของพวกเดียวกัน แต่ต่างถิ่นต่างภาคย่อมต่างกัน เช่นภาษาไทย 25,0040,009,ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ต่างกันฉันใด ภาษาปรากฤตนี้ก็ต่าง 25,0040,010,"กัน เพราะต่างยุคและต่างถิ่นกัน ฉันนั้น, ในยุคพุทธกาลและยุคต่อมา" 25,0040,011,ปรากฏว่า ภาษาปรากฤตที่สืบ ๆ กันมานั้น ได้ถูกเรียกตามชื่อประเทศ 25,0040,012,หรือคนที่พูดว่าภาษามคธบ้าง ภาษาอุชเชนบ้าง ภาษาปัญจาปบ้าง 25,0040,013,เป็นต้น ตามประเทศและถิ่นนั้น ๆ มีเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง ตาม 25,0040,014,กาลเทศะนิยม. 25,0040,015,ในยุคพุทธกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า คงใช้ภาษามคธหรือภาษา 25,0040,016,พื้นบ้านพื้นเมือง มิได้ใช้ภาษาสํสกฤต แม้ในการสั่งสอนมหาชนชั้น 25,0040,017,"สูง, เล่ากันว่า คราวหนึ่งมีภิกษุที่เป็นวรรณะพราหมณ์ ปรารถนา" 25,0040,018,แต่งคำสอนของพระองค์เป็นฉันท์ (ภาษาสํสกฤต) สำหรับท่องจำ 25,0040,019,ก็ได้ถูกตรัสห้ามเสีย ทั้งที่เพราะอาจจะทำให้พระพุทธโอวาทอยู่ใน 25,0040,020,วงจำกัดหรือเป็นคำตาย แพร่หลายได้โดยยากกระมัง ? แต่มาเมื่อ 25,0040,021,พุทธศาสนามีเกียรติและอิทธิพลมากขึ้น ภาษานี้ก็พลอยเป็นภาษาที่