Book,Page,LineNumber,Text 26,0009,001,เมื่อรวมเข้า ๒ แผนกคือทั้งพระพุทธบัญญัติและอภิสมาจารเรียกว่าวินัย. 26,0009,002,๔. ในทางวินัย การลงโทษแก่ผู้ผิด ๓ สถาน :- 26,0009,003,ก. โทษอย่างแรง [ ครุโทษหรือมหันตโทษ ] ขาดจากความ 26,0009,004,เป็นภิกษุ อย่างเดียวกับกฏหมายบ้านเมือนลงโทษผู้ผิด ที่เป็นมหันต- 26,0009,005,โทษ ถึงประหารชีวิต. 26,0009,006,ข. โทษอย่างกลาง [ มัชฌิมโทษ ] ต้องอยู่กรรมจึงพ้นโทษ 26,0009,007,ได้ อย่างเดียวกับกฏหมายบ้านเมืองลงโทษผู้ทำผิดในทางอาชญา คือ 26,0009,008,ให้จำคุกไว้มีกำหนดตามโทษมากหรือน้อย. 26,0009,009,ค. โทษอย่างเบา [ ลหุโทษ ] ต้องลุกะโทษหรือปลงอาบัติ จึง 26,0009,010,พ้นโทษได้ อย่างเดียวกับกฎหมายบ้านเมืองลงโทษผู้ทำผิดเล็ก ๆ 26,0009,011,น้อย ๆ ซึ่งไม่ใช่ทางอาชญา ถ้าเห็นว่าผู้ผิดเป็นคนซื่อสัตย์ รับสาร- 26,0009,012,ภาพโดยดี ทั้งไม่เคยทำผิดมาก่อน ก็ภาคทัณฑ์ไว้. 26,0009,013,การตั้งวินัยบัญญัติ 26,0009,014,๑. ตั้งขึ้นเพราะภิกษุทำผิด แล้วประชุมสงฆ์วินิจฉัยความข้อนั้น. 26,0009,015,๒. ตั้งขึ้นแล้วไม่เลิกถอน แต่มีเพิ่มเติมหรือแก้ไขให้เพราะกับที่ 26,0009,016,จะประพฤติได้ ถ้าหละหลวมนัก ก็แก้ไขให้ตึงขึ้น ถ้าตึงนัก ก็แก้ไข 26,0009,017,ให้หย่อนลง เช่นห้ามภิกษุไม่ให้เก็บอติเรกจีวรเกิน ๑๐ วัน ภายหลัง 26,0009,018,จึงเพิ่มข้อสิกขาบทขึ้นอีกว่า อติเรกจีวรนั้นให้วิกัป คือทำให้เป็น 26,0009,019,ของสองเจ้าของเสียก่อน ผู้รับวิกัปถอนวิกัปแล้ว จึงยอมให้ใช้ตลอด 26,0009,020,กาลไม่กำหนดเวลา. 26,0009,021,๓. พระวินัยนั้นเรียกเป็น ๒ อย่าง วินัยที่ทรงตั้งไว้เดิม เรียกว่า