Book,Page,LineNumber,Text 31,0009,001,ระเบียบสม่ำเสมอกัน อันเป็นเครื่องบริหารคณะให้เป็นไปโดยสวัสดี 31,0009,002,ส่วนธรรมไม่ได้ทรงตั้งไว้เช่นนั้น ทรงแสดงความปฏิบัติ เพื่อเป็นทาง 31,0009,003,นำความประพฤติและอัธยาศัยให้ประณีตขึ้น ธรรมนั้นย่อมลงโทษ และ 31,0009,004,ให้คุณแก่ผู้ประพฤติ คือผิดหรือชอบตามสมควรแก่เหตุ. 31,0009,005,๒๔๖๖ 31,0009,006,ถ. เมื่อพูดถึงเรื่องวินัยแล้ว ท่านจะทราบหรือไม่ว่า จะมีอยู่ 31,0009,007,เฉพาะในพระพุทธศาสนาหรือแม้ในศาสนาอื่นก็มี ? รู้ได้อย่างไร ? 31,0009,008,ต. มิใช่ว่าจะมีอยู่เฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น. รู้ได้อย่างนี้ 31,0009,009,คือ วินัยโดยตรงได้แก่ระเบียบหรือกฎข้อบังคับ สำหรับเป็นเครื่อง 31,0009,010,บริหารหมู่คณะให้มีระเบียบได้ระดับกัน ถ้าหมู่ไหนไม่มีระเบียบ หมู่นั้น 31,0009,011,ก็มีแต่จะแก่งแย่งกัน ตั้งต้นแต่การทำกิจต่าง ๆ ก็มักไม่มีความพร้อม 31,0009,012,เพรียงกัน ยิ่งกว่านั้นผู้มีกำลังมากก็ข่มเหงผู้มีกำลังน้อยเป็นต้น ทุก ๆ หมู่ 31,0009,013,ย่อมมีความต้องการระเบียบด้วยกันทั้งสิ้น แม้ในศาสนาอื่น ๆ นอกจาก 31,0009,014,พุทธศาสนา เขาก็มีระเบียบหรือกฎข้อบังคับ เพื่อให้หมู่ของเขาได้ 31,0009,015,ระเบียบเหมือนกัน เช่นนี้จึงเห็นว่าวินัยแม้ในศาสนาอื่น ๆ ก็มีได้ แต่ 31,0009,016,การบัญญัติย่อมบัญญัติขึ้นต่าง ๆ กันไป ตามแต่หัวหน้าหมู่จัดตั้งขึ้น 31,0009,017,เท่านั้น. 31,0009,018,ส. ป. 31,0009,019,ถ. ในฝ่ายอาณาจักร ผุ้ประพฤติล่วงกฎหมายอาญาของบ้าน 31,0009,020,เมือง ย่อมถูกจับตัวไปลงโทษตามโทษานุโทษ ส่วนในทางพุทธจักร 31,0009,021,ภิกษุผู้ประพฤติล่วงละเมิดพระวินัย มีวิธีลงโทษกันอย่างไร ?