Book,Page,LineNumber,Text
33,0021,001,"อธิกรณ์มีมูลเพลาทำให้มั่นเข้า ผู้โจทก์ต้องสังฆาทิเสสเหมือนกัน,"
33,0021,002,แม้ผู้ต้องโจทต้องอาบัติปาราชิกแล้ว แต่ผู้โจทก์ไม่รู้ โจทด้วยอธิกรณ์อัน
33,0021,003,ไม่มีมูล ซึ่งมีโทษถึงปาราชิก ผู้โจทก์ต้องสังฆาทิเสส. สิกขาบทนี้ ไม่มี
33,0021,004,บุพพประโยค และเป็นสาณัตติกะ.
33,0021,005,สิกขาบทที่ ๙ แกล้งหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก.
33,0021,006,เลส คืออาการที่อ้างเอาเป็นอุบาย มี ๒ อย่าง คือ :-
33,0021,007,๑. เป็นเรื่องของภิกษุอื่น เช่น เห็นคนมีผิวอย่างนั้น ๆ สันนิษฐาน
33,0021,008,อย่างนั้น ๆ ทำการเช่นนั้น ๆ ผู้นั้นจะเป็นภิกษุหรือไม่ใช่ภิกษุก็ตาม.
33,0021,009,๒. เป็นเรื่องของภิกษุผู้จำเลยเอง เช่น รู้ว่าจำเลยประพฤติล่วง
33,0021,010,สิกขาบทบางข้อ แต่ไม่ถึงปาราชิก โจทให้แรงถึงปาราชิก.
33,0021,011,สิกขาบทที่ ๑๐ พากเพียรเพื่อทำลายสงฆ์ให้แตกกัน.
33,0021,012,สงฆ์ หมายถึงภิกษุทั้งหมู่ผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน.
33,0021,013,อธิกรณ์ ในสิกขาบทนี้ คือ วิวาทากรณ์ ได้แก่การเถียงกัน
33,0021,014,ว่า นั่นธรรม นั่นวินัย นั่นมิใช่ธรรม นั่นมิใช่วินัย.
33,0021,015,ภิกษุผู้พากเพียรทำลายสงฆ์ คือ พยายามก่อเรื่องให้เกิดขึ้นใน
33,0021,016,หมู่สงฆ์ เพื่อให้แตกแยกกันด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง. ภิกษุผู้รู้เรื่อง
33,0021,017,ต้องห้าม ถ้าไม่ห้าม ต้องทุกกฏ. ภิกษุผู้พยายามก่อเรื่อง เมื่อถูกห้าม
33,0021,018,"ปรามในคราวแรก ถ้าเลิกเสียได้ไม่ต้องอาบัติ, ถ้าไม่เลิกต้องอาบัติทุกกฏ,"
33,0021,019,ตั้งแต่ถูกห้ามปรามครั้งที่ ๒ เรื่อยไปทุกครั้ง จนถึงสงฆ์สวดญัตติจบ
33,0021,020,"ต้องอาบัติทุกกฎ ทุกคราวที่ภิกษุห้ามปรามและสงฆ์เตือน, เมื่อสงฆ์สวด"
33,0021,021,อนุสาวนา จบคราวที่ ๑ และที่ ๒ ต้องอาบัติถุลลัจจัยทั้งสองคราว
33,0021,022,เมื่อสงฆ์สวดอนุสาวนาครั้งที่ ๓ จบ ต้องสังฆาทิเสส.