Book,Page,LineNumber,Text 35,0027,001,"๑. ประนมมือ ในบาลีเรียกว่า ""ทำอัญชลี"" คือประกบฝ่ามือ " 35,0027,002,ให้นิ้วแนบชิดติดตรงกัน ประคองไว้ตรงระหว่างอก ปลายนิ้วเชิดขึ้น 35,0027,003,ศอกแนบชิดชายโครง. ในเวลาสวดมนต์ ฟังสวด ฟังเทศน์ รับศีล 35,0027,004,และเวลาพูดกับพระผู้ใหญ่ เป็นต้น. 35,0027,005,"๒. ไหว้ ในบาลีเรียกว่า ""นมัสการ"" คือยกมือประนม ก้ม" 35,0027,006,ศีรษะลงเล็กน้อย หัวแม่มือจดระหว่างคิ้ว นิ้วชี้จดส่วนบนหน้าผาก. ใน 35,0027,007,เวลาพระนั่งเก้าอี้ หรือยืน เดินอยู่ในที่อันไม่ควรกราบ. 35,0027,008,"๓. กราบ ในบาลีเรียกว่า ""อภิวาท"" คือกราบลงด้วยองค์ ๕" 35,0027,009,"เรียกว่า ""เบญจางคประดิษฐ์"" องค์ ๕ คือหน้าผาก ๑ ฝ่ามือตลอด" 35,0027,010,ถึงข้อศอก ๒ เข่า ๒ จดพื้น. 35,0027,011,"การกราบ ผู้ชายนั่ง ""ท่าพรหม"" คือคุกเข้า ฝ่าเท้ายันพื้นกับ" 35,0027,012,"กัน, ผู้หญิงนั่ง ""ท่านเทพธิดา"" คือคุกเข่า ฝ่าเท้าเหยียดออกไปรองกัน." 35,0027,013,กราบในเวลาทำวัตร และเวลาแสดงคารวะอย่างสูง. 35,0027,014,๒. วิธีประเคนของพระ 35,0027,015,การประเคนของพระ คือการถวายของให้ถึงมือพระ. ถ้าผู้หญิง 35,0027,016,ประเคน ต้องวางบนผ้าหรือภาชนะ เช่นบาตร เป็นต้น ที่พระถืออยู่. 35,0027,017,ของที่ประเคน ต้องไม่เป็น วัตถุอนามาส หรือของที่พระไม่ควร 35,0027,018,จับ เช่น เงิน ทองคำ และไม่เป็นของที่หนักถึงกับต้องหาม. แม้ 35,0027,019,อาหารทุกชนิด ถ้าเลยเที่ยงแล้ว ก็ไม่ต้องประเคน. 35,0027,020,ผู้ประเคน พึงเข้าใกล้พระประมาณ ๑ ศอก ไม่เกินศอกคืบ จะนั่ง 35,0027,021,หรือยืน แล้วแต่สถานที่. จับของสองมือ (บางอย่างต้องจับมือเดียว เช่น 35,0027,022,ช้อนตักของใส่บาตร) ยกขึ้น น้อมถวาย เสร็จแล้วไหว้หรือกราบ