Book,Page,LineNumber,Text
38,0019,001,กัณฑ์ที่ ๑๓
38,0019,002,นิสัย
38,0019,003,มูลเหตุที่ทรงอนุญาตให้มีพระอุปัชฌายะ คือ
38,0019,004,๑. มีพุทธบัญญัติและอภิสมาจารมากขึ้น.
38,0019,005,๒. ผู้มาใหม่ไม่สามารถจะรู้ทั่วถึงและประพฤติให้ถูกระเบียบ ด้วยลำพัง
38,0019,006,ใช้ความสังเกตทำตามกัน จำจะศึกษาจึงจะรู้ได้.
38,0019,007,วิธีถืออุปัชฌายะและรับ คือ ให้ภิกษุนวกะทำผ้าห่มเฉวียงบ่า
38,0019,008,"และ กราบเท้าแล้ว นั่งกระหย่งประณมมือกล่าวว่า ""อุปชฺฌาโย"
38,0019,009,"เม ภนฺเต โหหิ"" ""ขอท่านแจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า"" ๓ หน"
38,0019,010,"เมื่อภิกษุที่นวกะนั้นอาศัยรับว่า ""สาหุ"" ""ดีละ"" ""ลหุ"" ""เบา"
38,0019,011,"ใจดอก"" ""โอปายิกํ"" ""ชอบแก่อุบาย"" ""ปฏิรูปํ"" ""สมควรอยู่"""
38,0019,012,"หรือว่า ""ปาสาทิเกน สมฺปาเทหิ"" ""ให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่า"
38,0019,013,"เลื่อมใสเถิด"" อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอันถืออุปัชฌายะแล้ว."
38,0019,014,ภิกษุผู้รับให้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าอุปัชฌายะแล้ว แปลว่า ผู้ฝึกสอน
38,0019,015,หรือผู้ดูแล ภิกษุผู้พึ่งพิง ได้ชื่อว่าสัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วย
38,0019,016,กิริยาที่พึ่งพิง เรียกว่านิสัย.
38,0019,017,เหตุนิสัยระงับจากอุปัชฌายะมี ๕ คือ
38,0019,018,๑. อุปัชฌายะหลีกไป.
38,0019,019,๒. สึกเสีย.