Book,Page,LineNumber,Text
39,0004,001,๓. พระอนาคามี แปลว่าผู้ไม่กลับมาสู่โลกนี้อีกต่อไป หรือหลัง
39,0004,002,จากท่านทำกาลกิริยาไปแล้ว จะบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ๕ ชั้น
39,0004,003,คืออวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา เพราะความแก่กล้าแห่งอินทรีย์
39,0004,004,๕ ประการ หมายความว่า ท่านเกิดด้วยอำนาจอินทรีย์ที่แก่กล้าตามลำดับ
39,0004,005,ท่านผู้มีสัทธินทรีย์แก่กล้า ตายไปแล้วไปเกิดในชั้นอวิหา ท่านที่มีวิริยินทรีย์
39,0004,006,แก่กล้า ตายไปแล้วจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นอตัปปา ท่านที่สตินทรีย์แก่
39,0004,007,กล้า ตายไปแล้วจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสุทัสสา ท่านที่มีสมาธินทรีย์
39,0004,008,แก่กล้า ตายไปแล้วจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสุทัสสี ท่านที่มีปัญญินทรีย์
39,0004,009,แก่กล้า ตายไปแล้วจะบังเกิดในสุทธาวาสชั้นสูงสุดคืออกนิฏฐา
39,0004,010,พระอนาคามีนั้นได้ละสังโยชน์ คือเครื่องผูกใจสัตว์เพิ่มขึ้นอีก
39,0004,011,๒ ประการ ซึ่งเป็นการละได้อย่างเด็ดขาดจริง ๆ นั้น คือ
39,0004,012,๓.๑ กามราคะ ได้แก่จิตที่กำหนัดด้วยอำนาจความยินดี ความ
39,0004,013,เพลิดเพลินในวัตถุกามทั้งหลาย คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่า
39,0004,014,ใคร่น่าปรารถนา น่าพอใจ
39,0004,015,๓.๒ ปฏิฆะ ความหงุดหงิด ความไม่พอใจ ความไม่ชอบใจ
39,0004,016,ในสิ่งที่ตนเห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู สูดดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้อง
39,0004,017,ด้วยกาย แม้แต่ตรึกนึกด้วยใจ ท่านละได้เด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน คือ
39,0004,018,ไม่เกิดกำเริบขึ้นในใจท่านอีกต่อไป แต่ถึงอย่างนั้น พระอริยบุคคลทั้ง ๓
39,0004,019,ประเภทนี้ ยังได้ชื่อว่าเป็นเสขะ เพราะยังต้องประพฤติปฏิบัติเพื่อขจัด
39,0004,020,สังโยชน์ที่ยังละไม่ได้ และทำให้สมบูรณ์ในปัญญาอย่างเต็มที่ เพราะถึง
39,0004,021,ชั้นนี้ ศีลสมบูรณ์ สมาธิสมบูรณ์ แต่ปัญญายังต้องเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น
39,0004,022,จึงได้ชื่อว่าเป็นพระเสขะ