Book,Page,LineNumber,Text 39,0009,001,นั้นความสับสนในด้านจิตใจ อาการชะงักงันต่าง ๆ ก็จะต้องเกิดขึ้น ใน 39,0009,002,ฐานะของพุทธศาสนิกชนนั้น อาจจะแสดงความเคลือบแคลงสงสัยใน 39,0009,003,พระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา 39,0009,004,ในเรื่องชีวิตที่เป็นอดีต เรื่องชีวิตในอนาคต อาจจะสงสัยสับสนทั้งอดีต 39,0009,005,ทั้งอนาคต จนถึงกับเคลือบแคลงสงสัยในกฎของเหตุผลที่เรียกว่าปฏิจจ- 39,0009,006,สมุปมาท สภาพจิตที่ประกอบด้วยความสงสัยเหล่านี้ อุปมาเหมือนกับการ 39,0009,007,เดินทางไกลกันดารและหลงป่า ไม่ทราบ ไม่มั่นใจในหุบเหว หลุมบ่อใน 39,0009,008,อันตรายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข้างหน้า 39,0009,009,สิ่งเหล่านี้ท่านเรียกได้ว่าสนิมใจ หรือสิ่งที่กั้นจิตบุคคลไว้ไม่ให้ 39,0009,010,บรรลุความดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกัมมัฏฐาน คือการงานที่จะต้อง 39,0009,011,ทำทางใจไว้ เพื่อบุคคลใช้สติสัมปชัญญะด้วยความเพียร ระลึกอยู่ในเรื่อง 39,0009,012,ใด เรื่องหนึ่ง ให้จิตสงบอยู่ในเรื่องเหล่านั้น ที่เรียกว่าเป็นอารมณ์ของ 39,0009,013,กัมมัฏฐาน ซึ่งทรงจำแนกแสดงไว้ถึง ๔๐ ประการ แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป 39,0009,014,แล้ว การตั้งสติระลึกอยู่ที่อารมณ์อะไรก็ตาม ถ้าหากว่าใจของผู้ปฏิบัติ 39,0009,015,สามารถสงบนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการลงไปได้ การกระทำเหล่านั้นเรียกว่า 39,0009,016,สมถกัมมัฏฐาน คือกัมมัฏฐานที่เป็นอุบายวิธี กระทำใจของบุคคลให้สงบ 39,0009,017,เช่นบุคคลตั้งสติระลึกดูอยู่ที่ลมหายใจเข้า ลมหายใยออก ซึ่งอาจจะนับ 39,0009,018,ลมหายใจเข้าออกเป็นคู่ ๆ เป็นชุด ๆ หรืออาจจะภาวนาทว่า พุทโธ โดย 39,0009,019,หายใจเข้า พุท หายใจออก โธ หรือหายใจเข้าพุทโธ หายใจออกพุทโธ 39,0009,020,หรือตั้งสติระลึกดูอยู่ที่จุดที่ลมกระทบ ถ้าจิตของบุคคลนั้นสมารถสงบอยู่ 39,0009,021,กับอารมณ์ที่ตระลึกได้ ในยามนั้นนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ประการ ข้อใดข้อ 39,0009,022,หนึ่งได้สงบไปจากจิต การปฏิบัติโดยวิธีนี้จึงชื่อว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน