Book,Page,LineNumber,Text 39,0010,001,( ๒ ) วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา 39,0010,002,เป็นการสอนให้บุคคลใช้ปัญญา สติและความเพียรพยายามเพ่ง 39,0010,003,พินิจดูสิ่งที่เราเรียกว่า ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 39,0010,004,หรือพูดโดยสรุปว่า รูป นาม คำว่ารูปนั้น คือสิ่งที่เราเห็นด้วยตา ได้ยินด้วย 39,0010,005,หู สูดดมด้วยจมูก ลิ้มด้วยลิ้น ถูกต้องด้วยกาย สิ่งที่เรียกว่านาม ได้แก่ 39,0010,006,สิ่งที่เรารู้ด้วยใจ เช่นความสุข ความทุกข์ ความรัก ความเมตตา ความ 39,0010,007,กรุณา เป็นต้น นั้นเป็นนาม เพราะฉะนั้น สิ่งใดที่เป็นรูป เสียง กลิ่น รส 39,0010,008,เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ซึ่งบุคคลสัมผัสได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย สรุปรวม 39,0010,009,เรียกว่าเป็นรูป บุคคลได้ใช้ปัญญาพินิจพิจารณามองดูรูปนามเหล่านั้น ใน 39,0010,010,แง่ของความเป็นจริง ตามหลักของสามัญลักษณะ คือลักษณะที่เสมอกัน 39,0010,011,ในสัตว์และสังขารทั้งหลาย ได้แก่ความเป็นของไม่เที่ยง เพราะ 39,0010,012,ไม่ว่ารูปหรือนามก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความเกิดขึ้น และมีความ 39,0010,013,เสื่อมไปเป็นธรรมดาในขณะที่เกิดมาแล้ว ก็มีการแปรปรวนเปลี่ยนแปลง 39,0010,014,ไปตลอดเวลา ไม่หยุดอยู่กับที่ สิ่งเหล่านั้นดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะ ชั่วครั้ง 39,0010,015,ชั่วคราวเท่านั้น ดังนี้รูปนามทั้งหมดจึงตรงกันข้ามกับความเที่ยงแท้แน่ 39,0010,016,นอน มองเห็นว่าเป็นทุกขตา คือความเป็นทุกข์ รูปนามชื่อว่าเป็นทุกข์ 39,0010,017,อย่างไร 39,0010,018,รูปนามชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัย มีการเบียดเบียน 39,0010,019,ทั้งกายและจิต ก่อให้เกิดความเร่าร้อนและตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นสุข 39,0010,020,มองให้เห็นในแง่ของความเป็นอนัตตา คือความไม่ใช่ตัวใช่ตน 39,0010,021,เพราะว่าไม่มีใครสามารถบังคับบัญชา รูปนามให้เป็นไปตามที่ตนต้องการ