Book,Page,LineNumber,Text 39,0012,001,เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่ออะไร 39,0012,002,เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งที่สรุปรวมเป็นรูปนาม เมื่อเกิด 39,0012,003,การรู้แจ้งเห็นจริงแล้ว ก็ย่อมจะคลายความหลงผิดความเข้าใจผิด จนกลาย 39,0012,004,เป็นความยึดมั่นถือมั่นในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของเราบ้าง ว่าเป็นเราบ้าง 39,0012,005,ว่าเป็นตัวเป็นตนของเราบ้าง ซึ่งข้อนี้พระพุทธเจ้าทรงสอนให้บุคคลพิจารณา 39,0012,006,เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงว่า 39,0012,007,รูปนามหรือขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี หยาบ 39,0012,008,ก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ไกลก็ดี อยู่ใกล้ก็ดี ขันธ์ ๕ ทั้งหมด 39,0012,009,นั้นก็เป็นเพียงขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวใช่ตนของ 39,0012,010,เรา เมื่อบุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบเช่นนี้แล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่าย 39,0012,011,คลายกำหนัดในขันธ์ ๕ ลงไปได้ และเมื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัดถึงจุดสูงสุด 39,0012,012,จิตก็จะหลุดพ้นจากความยึดถือว่าเป็นของเรา เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา 39,0012,013,เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ญาณคือความรู้จะเกิดผุดขึ้นภายในใจของท่านผู้หลุด 39,0012,014,พ้น รู้ว่าตนเองได้หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสเหล่านั้นแล้ว เสร็จกิจที่ควร 39,0012,015,ประพฤติกระทำเกี่ยวกับการละความชั่ว ประพฤติความดีหรือละกิเลส 39,0012,016,การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน กับวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นการปฏิบัติที่เกื้อกูล 39,0012,017,ซึ่งกันและกัน ผู้ปฏิบัติอาจจะเริ่มต้นที่สมถกัมมัฏฐาน แล้วไปเจริญ 39,0012,018,วิปัสสนาหรืออาจจะเริ่มที่วิปัสสนา แต่ในที่สุดท่านเหล่านั้น ก็จะประสบ 39,0012,019,ผลเช่นเดียวกัน เมื่อถึงจุดหมายปลายทางของการประพฤติปฏิบัติ ดังนั้น 39,0012,020,กัมมัฏฐานทั้ง ๒ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า เมื่อบุคคล 39,0012,021,อบรมกระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เป็นไปเพื่อความรู้ดี 39,0012,022,เป็นไปเพื่อความดับ กัมมัฏฐานทั้ง ๒ ประการ ก็คือหลักของจิตสิกขา และ 39,0012,023,ปัญญาสิกขาในทางพระพุทธศาสนานั้นเอง