Book,Page,LineNumber,Text 39,0047,001,สมาธิ ๒ 39,0047,002,อุปจารสมาธิ สมาธิเป็นไปเฉียด ๆ 39,0047,003,อัปปนาสมาธิ สมาธิอันแน่วแน่ 39,0047,004,สมาธิ คือการที่จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปกับอารมณ์ภายนอกที่มา 39,0047,005,กระทบ แต่จะสงบอยู่จุดใดจุดหนึ่ง เช่น อ่านหนังสือ จิตสงบอยู่กับหนังสือ 39,0047,006,ก็เรียกว่า อ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ ทำงานจิตจดจ่ออยู่กับการทำงานก็เรียก 39,0047,007,ว่า ทำงานอย่างมีสมาธิ แต่ว่า สมาธิระดับนั้นเป็นสมาธิที่เกิดขึ้นเพียงชั่ว 39,0047,008,ขณะ ในที่สุดจิตก็จะวิ่งไปรับอารมณ์อื่นต่อไป ฉะนั้นในทางพระพุทธ- 39,0047,009,ศาสนาจึงได้แสดงหลักการปฏิบัติเพื่อ พัฒนาจิตใจของบุคคลให้มีความ 39,0047,010,"สงบเพิ่มขึ้นโดยลำดับ ด้วยการปฏิบัติที่เรียกว่า "" สมถกรรมฐาน "" คือ" 39,0047,011,กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ จะถามว่า สงบใจจากอะไร ก็ตอบได้ว่า สงบ 39,0047,012,"ใจจาก "" นิวรณ์ "" ซึ่งเป็นกิเลสกั้นจิตทั้ง ๕ ประการ โดยการบำเพ็ญสมถ" 39,0047,013,กรรมฐาน จะใช้อะไรเป็นอารมณ์กำหนดระลึกก็ตาม เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้ว 39,0047,014,จิตใจจะสงบอยู่กับอารมณ์ของกรรมฐานนั้น ๆ เช่น ใช้หลักอานาปานสติ 39,0047,015,ใจก็จะสงบอยู่กับอานาปานสติ อยู่กับลมที่จะกระทบ หรืออยู่กับจุดภาวนา 39,0047,016,ว่า พุทโธ เป็นต้น 39,0047,017,ความสงบมีอยู่ ๓ ระดับ ระดับหนึ่งบางทีก็สังเกตไม่ทัน ที่เรียกว่า 39,0047,018,๑ . ขณิกสมาธิ คือ สงบได้ชั่วขณะเดียว ครู่เดียว ท่านจึงไม่จัดเป็น 39,0047,019,สมาธิ สมาธิจริง ๆ จึงเริ่มจาก