Book,Page,LineNumber,Text 42,0027,001,เรียกชื่อสุงกฆาต. 42,0027,002,๒๕/๑๑/๒๔๖๕ 42,0027,003,ถ. ถ้ามีคนร้ายลักจีวรของภิกษุไป เจ้าของเห็นวิ่งไล่ตามแย่ง 42,0027,004,คืนมาได้ ภายหลังมีภิกษุบางรูปรังเกียจเธอ ขอให้พระวินัยธรวินิจฉัย 42,0027,005,นักวินัยจะควรปรับเธอด้วยอวหารข้อไร หรือจะพึงวินิจฉัยว่ากระไร ? 42,0027,006,ต. ไม่ปรับด้วยอวหารข้อไหนหมด. ด้วยวินิจฉัยว่า อาการ 42,0027,007,ที่ภิกษุเจ้าของวิ่งไล่ตามไปนั้น ก็แปลว่าเธอยังถือสิทธิในจีวรของเธอ 42,0027,008,อยู่ เมื่อยังมีสิทธิในของของเธออยู่เช่นนั้น การที่เธอแย่งเอาจีวร 42,0027,009,มาจากผู้ร้าย ก็เท่ากับเอาของของตนมาเอง ไม่ได้เอาของผู้ร้าย จะ 42,0027,010,ปรับอะไรแก่เธออย่างไรหาได้ไม่ แต่ของที่ผู้ร้ายลักไปเป็นสิทธิ์แล้ว 42,0027,011,ภิกษุขออารักขาทางบ้านเมือง ด้วยยังถือกรรมสิทธิ์ในของของตนอยู่ได้ 42,0027,012,กลับคืนมายังไม่เป็นไร เทียบได้ด้วยภิกษุผู้ยักยอกของที่เขาฝากไว้ในมือ 42,0027,013,เจ้าของยังถือกรรมสิทธิ์อยู่เพียงใด ท่านยังไม่จัดเป็นอวหารเพียงนั้น 42,0027,014,นี่ก็เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายไม่ควรรังเกียจเธอเลย. 42,0027,015,๒๖/๑๐/๒๔๖๓ 42,0027,016,ถ. ภิกษุรับฝากของเขาไว้อันควรค่าปาราชิก มีไถยจิต 42,0027,017,จับเอาซุกซ่อน เหตุไฉนท่านไม่ปรับเป็นปาราชิกในขณะนั้น เหมือน 42,0027,018,ลักของบางอย่างที่ปรับในขณะทำของให้เคลื่อนที่ ? 42,0027,019,ต. เพราะเธอผู้รับฝากต้องสำนองของนั้น ในฐานะเช่นนี้ท่าน 42,0027,020,ปรับด้วยเจ้าของขาดกรรมสิทธิ์. ส่วนการลักที่ท่านปรับในขณะทำของ 42,0027,021,ให้เคลื่อนที่นั้น ผู้ลักไม่ต้องสำนอง ถ้าเขาจับไม่ได้. 42,0027,022,๙/๑๑/๒๔๖๐