Book,Page,LineNumber,Text 50,0031,001,กับวิราคะที่หมายถึงในอธิการแห่งวิราคะนั้น ต่างกันอย่างไร ? 50,0031,002,ต. วิราคะอันเป็นอาการของปัญจขันธ์ เป็นขยวิราคะ วิราคะ 50,0031,003,เพราะสิ้นไป ได้แก่ปัญจขันธ์ย่อยยับไป วิราคะที่หมายถึงในอธิการ 50,0031,004,แห่งวิราคะเป็นอัจจันตวิราคะ วิราคะเพราะล่วงพ้น ได้แก่ความ 50,0031,005,สิ้นกำหนัดสิ้นสุด. 50,0031,006,๒๔๗๔ 50,0031,007,ถ. วิราคะนั้น เป็นทั้งอริยมรรคและอริยผล จงวิจารณ์ว่า 50,0031,008,ในที่เช่นไรเป็นอริยมรรค ในที่เช่นไรเป็นอริยผล ? 50,0031,009,ต. ในที่ใดวิราคะมาในลำดับแห่งนิพพิทา หรือมาต่อกับวิมุตติ 50,0031,010,ในที่นั้นวิราคะเป็นอริยมรรค เช่นในคำว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ ๑<\sup> 50,0031,011,วิราคา วิมุจฺจติ ฯ ในที่ใดวิราคะมาตามลำพัง ในที่นั้นวิราคะเป็น 50,0031,012,อริยผล เช่นในคำว่า วิราโค เสฏฺโฐ ธมฺมานํ ๒<\sup> เป็นต้น. 50,0031,013,๒๔๗๕ 50,0031,014,ถ. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นตัวกามใช่ไหม ? 50,0031,015,เพราะเหตุไรจึงเฉลยเช่นนั้น ? 50,0031,016,ต. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่ใช่เป็นตัวกาม แต่เป็น 50,0031,017,เพียงวัตถุเครื่องล่อของกาม ดุจเหยื่อที่เกี่ยวเบ็ด ความกำหนัดหรือ 50,0031,018,ราคะอันอาศัยความดำริต่างหากจัดเป็นตัวกาม ถ้ารูป เสียง กลิ่น 50,0031,019,รส โผฏฐัพพะ เป็นตัวกามด้วยแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ 50,0031,020,ที่ชั่ว ก็ต้องเป็นตัวกามด้วย ถ้าเช่นนั้นก็ไม่สมกับคำที่เรียกว่า กาม 50,0031,021,ประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย. ส. ป.