Book,Page,LineNumber,Text
50,0034,001,มรรค  ด้วยบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาโดยลำดับ  ปัญญาวิมุตติ   ได้ 
50,0034,002,แก่ปฏิปทาแห่งกพระอรหันต์ผู้สำเร็จด้วยเจริญวิปัสสนาอย่างเดียว.  อีก
50,0034,003,วิกัปป์หนึ่ง  ตทังควิมุตติ    เป็นกามาพจร  วิกขัมภนวิมุตติ   เป็น
50,0034,004,รูปาพจร   สมุจเฉทวิมุตติ   ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ   เป็นโลกุตตระ   วิมุตติ  ๒
50,0034,005,ตามบาลี   วิมุตติ  ๕  ตามอรรถกถา.
50,0034,006,๖/๙/๖๕
50,0034,007,ถ.  พูดถึงวิมุตติ   ทำให้น่าฉงนถึงการจัดประเภท   ในอรรถกถา
50,0034,008,ท่านจัดสมุจเฉทวิมุตติแล้ว    ไฉนจึงจัดปฏิปัสสัทธิและนิสรณวิมุตติ
50,0034,009,เข้าอีก   ไม่เป็นการซ้ำซากหรือ  มีอธิบายว่าอย่างไร  ?
50,0034,010,ต.  การจัดวิมุตติในอรรถกถา  ถ้านึกถึงการจัดโลกกุตตรธรรม
50,0034,011,ที่จัดเป็นอริยมรรคอริยผลและนิพพาน   เป็น  ๓   ประเภท   ก็ไม่น่าฉงน
50,0034,012,อะไร   เพราะโลกุตตรวิมุตติก็ได้แก่โลกุตรธรรมนั่นเอง   อีกอย่าง
50,0034,013,หนึ่ง   ความหลุดพ้นจากกิเลสโดยอาการย่อมมีเป็น   ๓   ทาง  การตัด
50,0034,014,กิเลสให้เด็ดขาดก็เป็นความหลุดพ้นได้ทางหนึ่ง   อีกทางหนึ่ง   การ
50,0034,015,ออกไปเสียให้พ้นจากกิเลสไม่หลงหมกจมอยู่    ก็จัดเป็นความหลุดพ้น
50,0034,016,ได้เหมือนกัน  เมื่อความหลุดพ้นได้มีเป็น  ๓ เช่นนี้    ก็ไม่น่าฉงน  เห็น
50,0034,017,เป็นการซ้ำซากไป  เพราะอาการพ้นเป็นไปต่าง ๆ  กัน  หรืออีกอย่าง
50,0034,018,หนึ่ง   เมื่อว่าโดยเหตุผล  วิมุตติทั้ง   ๓  ต่างเป็นเหตุผลของกันและกัน
50,0034,019,สมุจเฉทเป็นเหตุของปฏิปัสสัทธิ  ๆ  เป็นเหตุของนิสสรณะ    เมื่อกล่าว
50,0034,020,โดยเหตุแล้ว   ผลของเหตุนั้นยังเป็นเหตุต่อไปได้อีก    ก็ควรกล่าวเสีย
50,0034,021,ให้สิ้นเชิง    จงถึงผลที่สุดซึ่งไม่ต้องกลายเป็นเหตุอีก   เพื่อเป็นความ